เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพล ถนอม กิตติขจร นำไปสู่การใช้กำลังของรัฐบาลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเมื่อเวลา 19:30 นาฬิกาของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเมื่อเวลา 23:30 นาฬิกาของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม
สาเหตุ[แก้] เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐประหารตัวเอง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ซึ่งนักศึกษาและประชาชนมองว่า เป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นอกจากนี้ จอมพล ถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี แต่กลับต่ออายุราชการตนเองในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกไป ทั้งพลเอก ประภาส จารุเสถียร บุคคลสำคัญในรัฐบาล ที่มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพล ถนอม กลับจะได้รับยศจอมพล และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตในวงราชการ สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนอย่างมาก พ.ศ. 2516[แก้] 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกกลางทุ่งนาที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีนักแสดงหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิงล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" จำหน่ายราคา 5 บาท จำนวน 5,000 เล่ม[1] เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขายหมดในเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง และได้รับการขยายผลโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงในชมรมคนรุ่นใหม่ออกหนังสือชื่อ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" ที่มีเนื้อหาตอนท้ายเสียดสีนายกรัฐมนตรี เป็นผลให้ ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดี สั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คนซึ่งเป็นผู้จัดทำหนังสือ ออกจากสถานะนักศึกษา ทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมระหว่างวันที่ 21–27 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ท้ายสุด ศักดิ์ต้องยอมคืนสถานะนักศึกษาทั้ง 9 คน และศักดิ์ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
เริ่มต้นเหตุการณ์[แก้] 6 ตุลาคม มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น จากนั้น บุคคลเหล่านี้ราว 20 คน นำโดย ธีรยุทธ บุญมี ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เช่น ประตูน้ำ สยามสแควร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 7 ที่ส่งถึงรัฐบาลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ แต่ทางตำรวจนครบาลจับได้เพียง 11 คน และจับทั้ง 11 คนนี้ขังไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขน และนำไปขังต่อที่เรือนจำกลางบางเขน พร้อมตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็นคอมมิวนิสต์ โดยห้ามเยี่ยมห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้น ได้มีการประกาศจับก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับไขแสง สุกใส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมอีก เป็นผู้ต้องถูกจับทั้งหมด 13 คน โดยกล่าวหาว่า ไขแสงอยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ บุคคลทั้ง 13 นี้ถูกเรียกขานว่าเป็น "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนอย่างมาก นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งขณะนั้นกำลังสอบกลางภาค แต่ทางองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า "งดสอบ" พร้อมทั้งยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยบุคคลทั้ง 13 ก่อนเที่ยงวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม แต่เมื่อถึงเวลาแล้ว รัฐบาลก็หาได้ยอมกระทำไม่ ก่อนหน้านั้น มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้เข้าพบ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชอดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ณ บ้านพักที่ย่านเอกมัย เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ได้เสนอว่า หากจะจัดการชุมนุม ควรจะจัดในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพราะจะตรงกับวันที่มีตลาดนัดที่สนามหลวงด้วย จะทำให้ได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก[2]
การจลาจล[แก้] การเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ออกไปตามถนนราชดำเนิน สู่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก (คาดการกันว่ามีราว 500,000 คน) ระหว่างนั้น แกนนำนักศึกษาเข้าพบเจรจากับรัฐบาล และบางส่วนเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว แต่ด้วยอุปสรรคทางการสื่อสาร และมวลชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่อาจควบคุมดูแลได้หมด จึงเกิดการปะทะกัน ระหว่างกำลังตำรวจปราบจลาจลกับผู้ชุมนุม ที่บริเวณถนนราชวิถีตัดกับถนนพระราม 5ช่วงหน้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งเป็นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะใช้เดินทางกลับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับไม่ยอมให้ผ่าน เมื่อเวลาประมาณ 06:30 นาฬิกา ของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม โดยการปะทะกันดังกล่าว บานปลายเป็นการจลาจล และลุกลามไปยังท้องสนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และถนนราชดำเนินตลอดสาย รวมถึงย่านใกล้เคียง โดยในเวลาบ่าย พบเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง บินวนอยู่เหนือเหตุการณ์ และมีการยิงปืนลงมา เพื่อสลายการชุมนุม ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เชื่อว่า บุคคลที่ยิงปืนลงมานั้นคือ พันเอก ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายของจอมพล ถนอม และบุตรเขยของจอมพล ประภาส ซึ่งคาดหมายว่าจะสืบทอดอำนาจ ต่อจากจอมพล ถนอม และจอมพล ประภาส ต่อมาในเวลาหัวค่ำ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศว่า จอมพล ถนอม ขอลาออกจากตำแหน่งแล้ว และมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้นไม่นาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยด้วยพระองค์เอง แต่เหตุการณ์ยังไม่สงบ กลุ่มทหารเปิดฉากยิงปืนเข้าใส่นักศึกษาและประชาชนอีกครั้ง หลังจากพระราชดำรัสทางโทรทัศน์เพียงหนึ่งชั่วโมง นักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับ เข้าใส่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้ชุมนุมนับพันยังไม่วางใจในสถานการณ์ จึงประกาศท้าทายกฎอัยการศึก ในเวลา 22:00 นาฬิกา และประกาศว่าจะปักหลักชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตลอดทั้งคืน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ถูกหลอกอีกครั้ง จนกระทั่งในเวลาหัวค่ำของวันที่ 15 ตุลาคม ได้มีประกาศว่า จอมพล ถนอม จอมพล ประภาส และพันเอก ณรงค์ เดินทางออกนอกประเทศแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง และวันที่ 16 ตุลาคม ผู้ชุมนุมและประชาชน ต่างพากันช่วยทำความสะอาด พื้นถนนและสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหาย[3]
หลังเหตุการณ์[แก้] ภายหลังเหตุการณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ได้พระราชทานเพลิงศพที่ทิศเหนือท้องสนามหลวง และอัฐินำไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้าง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ขึ้นที่ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง โดยกว่าจะผ่านกระบวนต่าง ๆ และสร้างจนแล้วเสร็จนั้น ต้องใช้เวลาถึง 28 ปี หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นที่ร่าง เรียกกันว่า "สภาสนามม้า" นำไปสู่การเลือกตั้งในต้น พ.ศ. 2518 ช่วงนั้นเรียกกันว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้านจากการรุกคืบของลัทธิคอมมิวนิสต์และผลกระทบจากสงครามเวียดนาม แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ นำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2519 คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา
นอกจากนี้ เหตุการณ์ 14 ตุลา ยังนับเป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในยุคศตวรรษที่ 20 และยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้น[4] พ.ศ. 2546 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเอกฉันท์กำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เป็นวันสำคัญของชาติ ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ 30 ปี[5] รายชื่อ 13 ขบถรัฐธรรมนูญ[แก้] ก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ไขแสง สุกใส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ชัยวัฒน์ สุรวิชัย อดีตอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตกรรมการบริหารศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ทวี หมื่นนิกร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธัญญา ชุนชฎาธาร นักศึกษา ปี 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขานุการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นพพร สุวรรณพานิช นักหนังสือพิมพ์มหาราษฎร์ บัณฑิต เฮงนิลรัตน์ นักศึกษาปี 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุญส่ง ชเลธร นักศึกษาปี 2 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชร อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนักการเมืองแห่งขบวนการรัฐบุรุษ ปรีดี บุญซื่อ นักศึกษาปี 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มนตรี จึงศิริอารักษ์ นักศึกษาปี 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักหนังสือพิมพ์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ วิสา คัญทัพ นักศึกษาปี 3 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/เหตุการณ์_14_ตุลา
ในปี 2556 ฝั่ง นปช พยายามยึดโยงกับการชุมนุมเผาราชประสงค์ ปี 53 ว่าเป็นเจตนาของประชาชนอย่างแท้จริง ตามบทวิเคราะห์ http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49197 ซึ่งช่วงนั้นได้เกิดปรากฏการชุมนุมนกหวีด ทำให้รัฐบาลเกิดครั่นคร้าม ทำให้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างเช่น โพลบิดเบือน บังคับสื่อให้ออกข่าวสนับสนุนรัฐบาล ฯลฯ แต่ก็มีสื่อบางคนที่รับไม่ได้กับการกระทำนั้นจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ ทีวี บลูสกายที่มีเรตติ้งสูงเป็นประวัติการณ์ ที่น่าสนใจคือการชุมนุมครั้งนั้นเกิดคำว่าอารยะขัดขืน หรือการต่อต้านรัฐบาลโดยเดินตามแนวทางสันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธ จากประสบการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุม กปปส แม้ว่าจะมีอาวุธบ้างเพียงเพื่อป้องกันตนตามควรแก่เหตุ มิได้มุ่งหวังให้ถึงแก่ชีวิต สำหรับผมถือว่าเป็นการยกระดับการชุมนุมสู่การเป็นอารยะมากขึ้น คือสู้กันภายใต้กฏหมาย ที่ใช้บังคับของผู้ชุมนุมกับผู้บังคับใช้กฏหมายที่พยายามเลี่ยงกฏหมาย
แหม่ บทความเมากาวของประชาไทข้างบนมีบอกด้วยนะว่า 14 ตุลา นี่เป็นการชุมนุมของพวกนิยมเจ้า ก็เพราะมันบิดเบือนแบบนี่นี่แหละถึงได้ทำอะไรก็ล้มเหลว จะเอาผิดใครก็ไม่ได้ รัฐบาลพวกตัวเองก็หลอกใช้เป็นโล่มนุษย์ จริง ๆ นะ ไอ้พวกเขียนบทความเมากาวแบบนี้ให้มันหายตัวไปซัก 10 - 20 คน บ้านเมืองคงสงบขึ้นอีกเยอะ
ตอน 14 ตุลา 16 ประชาธิปไตยยังไม่ฉายแววชัดเจนครับ ส่วนตอนนี้ ประชาธิปไตย ยังไม่สามารถกลับบ้านแบบเท่ๆได้
ขอถาม เสกสรรค์ ตอนนั้นเกลียดอเมริกาหรือเปล่า แล้วทำใมตอนออกจากป่าไปเรียนเมกา แล้วได้ทุนได้เงินจากใหนไปเรียน
ปรากฏการณ์ไทยฆ่าไทย เพราะยึดมั่นความคิดตัวเอง น่าสมเพศจริง ๆ ขอรับ แต่ถ้าสังเกตให้ดี ฝ่ายที่ใช้ธรรมะในการต่อสู้ จะได้รับชัยชนะในที่สุด
ตอนนี้มีตำนานนักสู้รุ่นใหม่ นักสู้เสื้อหลากสี นักสู้ที่จงรักภักดีต่อสถาบัน นักต่อสู้หลายคนยังยึดถืออุดมการณ์ของคนเดือนตุลา เป็นต้นแบบ แต่ภาพพจน์ต้นแบบที่ว่า กำลังจะโดนไอ้พวกกาก สวะ สถุน อย่างไอ้จาตุรง ไอ้เหวง ไอ้เลี้๊ยบ และขี้ข้าเหลี่ยมอีกหลายตัว ทำลายจนเสื่อมภาพป่นปี้ไปหมดแล้ว ถ้าคนเดือนตุลา ส่วนใหญ่ ยังปล่อยให้พวก ตุลาตะบักตะบวย ใช้ชื่อเสียง ใช้เครดิต คนเดือนตุลา ไปรับใช้ทรราชย์ รับใช้พวกโกง รับใช้ทุนนิยมสามานต์ โดยไม่รวมตัวเป็นกลุ่มก้อนแล้วออกประกาศแถลงการณ์ถึงจุดยืนที่ชัดเจน คิดว่า อีกไม่กี่ปี ตำนานคนเดือนตุลา จะไม่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างยกย่องอีกต่อไป
คนเดือนตุลาที่สู้อย่างถวายชีวิตในยุคนั้น แล้วเปลี่ยนอุดมการณ์ อย่าง จาตุรนต์ เหวง นกแสก ฯลฯ ที่ยอมแปรพักต์ไปรับใช้อำนาจทุนสามานย์ ไม่น่าแปลกใจหรอกครับ พวกเขาแค่คนธรรมดาที่ต้องหาเงินทอง ไว้สำหรับเลี้ยงตัวเมื่อตัวเองชรา เพียงแต่น่าเสียดายที่หลายคนมาเสียชีวิตไปก่อนได้เสพสุขกับกองเงินบนคราบน้ำตาคนไทย หลายคนต้องหลบหนีเพียงหวังว่าจะกลับมาใช้อุบายเดิมเพื่อชนะเลือกตั้ง แล้วจะย้อนกลับมาทบดอกทบต้น แต่คนพวกนี้ขาดความเข้าใจในพลวัตรของปวงชนชาวไทย อาจจะเผลอไผลไปบางช่วงบางเวลา กลไกของรัฐที่เคยหย่อนยานวันนี้ ไม่ใช่แบบเดิม เจ้าหน้าที่รัฐไม่กล้าทำผิดเพื่อเอาใจนายใหญ่ ถามว่าสภาพการณ์นี้จะคงอยู่เมื่อพ้นจากรัฐบาล คสช ไหม การตื่นตัวของปวงชนชาวไทยที่ผ่านมาเป็นสิ่งการันตีอย่างหนึ่งว่าความมุ่งมั่นของมวลชนวันนั้นคงไม่ใช่การมาชมคอนเสิร์ท แต่เป็นการแสดงจุดยืนของมติมหาชนว่า เราต้องการเปลี่ยนแปลงการยึดอำนาจของคนตระกูลชิน ก็ได้แค่หวังว่าคนเดือนตุลาที่เคยได้รับการยอมรับแล้วมาเสียคนตอนแก่จะกลับตัวกลับใจ มองเห็นสัจจธรรม ตอนนั้นมีอำนาจทุกอย่างในมือยังไปไม่รอด ปีหน้าเลือกตั้งใหม่ แม้ได้เป็นรัฐบาล แค่มีประเด็นเพียงนิดเดียว มวลชนก็พร้อมจะรวมตัวกันเพื่อขับไล่ ทุกวันนี้ยังเห็นคนใส่เสื้อสัญญลักษณ์ กปปส ไม่ได้หมายความว่าใส่เท่ห์ ๆ แต่เป็นการเตือนว่า พวกกุพร้อมจะมารวมพลอีก หากพวกทรราชย์กลับมาครองเมือง