วันนี้คุณไปนั่งสมาธิที่ไหนดี....มาเล่าให้เพื่อนๆฟัง

กระทู้ใน 'ห้องนั่งเล่น' โดย dolly natwarin, 14 ต.ค. 2014

  1. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95
    วันนี้เลิกงานเพื่อนชวนไปนั่งสมาธิที่วัดนางโน อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี....ย่างก้าวแรกที่เข้าไปในอาณาเขตบริเวณพระนอนก็ได้กลิ่นพฤกษชาติที่หอมอวลทั่วบริเวณทำให้ขนลุกชูชันตลอดเวลา...
    ได้โอกาสพักกายาหลังเหนื่อยล้ามาทั้งวัน...นั่งสมาธิสัก 20-30 นาทีพักกายและใจ....อธิษฐานบารมีขอเทพเทวาคุ้มครอง...เมื่อเริ่มเข้าสมาธิจิตดิ่งสู่กระแสแห่งธรรมหล่อเลี้ยงจิตใจที่ว้าวุ่นมาทั้งวันให้สงบระงับดำดิ่งเข้าสู่อาณาจักรแห่งใจ...เมื่อลืมตาตื่นอุทิศปฏิบัติบูชาแด่เทพเทวาทั่วหล้า...เทวัญเป็นพยานอุทิศให้แด่ตัวข้า...เจ้ากรรมนายเวร...บิดามารดา ครูอาจารย์ญาติมิตรสนิทธรรม พญานาคา พญายม ยักษ์ คนธรรพ์ สัมภเวสีมารับส่วนบุญที่ข้าพเจ้าได้ประทำกรรมดี ณ.บัดนี้เทอญ....

    วัดมโนธรรมาราม พระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยา
    [​IMG]

    วัดมโนธรรมาราม จ.กาญจนบุรี
    เดิมชื่อวัดนางโน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด มีเพียงปูชนียวัตถุโบราณที่ปรากฏอยู่ภายในวัดคือ พระปรางค์เจดีย์ และพระพุทธไสยาสน์ ที่ประดิษฐานอยู่ภายในระเบียงคด ซึ่งเป็นศิลปะอยุธยา ภายหลังวัดได้ถูกทิ้งร้างไปเมื่อครั้งศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่า และได้บูรณะต่อมาหลังจากศึกสงครามสงบลง โดยชาวบ้านและ นางโน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ ภายหลังบูรณะเสร็จได้ตั้งชื่อวัดเป็นวัดนางโน เพื่อเป็นเกียรติแก่นางโน ที่ได้ช่วยบูรณะวัดในครั้งนั้น และต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดมโนธรรมราม

    ?

    ปัจจุบันวัดมโนธรรมาราม เป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่ อีกทั้งยังเป็นสถานปฏิบัติธรรมด้านวิปัสสนา โดยมีพระครูวิสุทธิกาญจนคุณ ท่านเจ้าอาวาส ได้เมตตาในการเผยแผ่ธรรมมะและการปฏิบัติธรรม ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.manothammaram.com หรือโทร. 034-602026

    ?

    วัดมโนธรรมาราม ตั้งอยู่ที่ ถนนชลประธาน ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

    แผนที่วัดมโนธรรมาราม

    ?

    [​IMG]

    ประตูทางเข้าระเบียงคด

    ระเบียงคดที่ล้อมรอบพระปรางค์เจดีย์ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธา หลังคาระเบียงคดมุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยที่มักใช้กันในสมัยโบราณ

    ?

    [​IMG]

    พระปรางค์เจดีย์ ศิลปะอยุธยาตอนต้น

    ตั้งอยู่ภายในวิหารคด เป็นเจดีย์ทรงปรางค์สมัยอยุธาตอนต้น ก่ออิฐถือปูน มีซุ้มเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน ส่วนบนสุดประดับด้วยยอดนภศูล เป็นพระปรางค์เจดีย์ที่ได้รับการบูรณะแล้ว ซึ่งน่ายกย่องถึงผู้ดูแลวัดและผู้ร่วมบูรณะ ที่ได้ใส่ใจในการใช้วัตถุดิบที่นำมาบูรณะให้เข้ากับปูชนียวัตถุโบราณ ไม่ว่าจะเป็นปูนตำสูตรโบราณ อิฐที่นำมาก่อ กระเบื้องกาบกล้วยที่มุงระเบียงคด ฯลฯ นับเป็นการใส่ใจกับคุณค่าของโบราณสถานที่ดีอย่างยิ่ง

    ?

    [​IMG]

    พระพุทธไสยาสน์

    ประดิษฐานอยู่ภายในระเบียงคด เป็นพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยา ซึ่งมีพุทธลักษณะงดงาม เดิมทีก่อนการบูรณะ ด้านหลังองค์พระได้ถูกมิจฉาชีพ เจาะตั้งแต่พระเศียรจรดพระบาท เพื่อหาสมบัติ จนเป็นเหตุให้องค์พระเสียหาย

    ?

    [​IMG]

    บริเวณด้านหน้าพระพุทธไสยาสน์

    องค์พระพุทธไสยาสน์ มีความยาว ประมาณ 13 เมตร

    ?

    [​IMG]

    วิหารหลวงพ่อแบน (พระครูประสิทธิธรรมญาณ)

    ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาส ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับอย่างมาก เนื่องด้วยเป็นพระผู้มีวัตรปฏิบัติที่ดี ภายในวิหารมีสังขารของท่าน ที่ไม่เน่าไม่เปื่อย มีผมและเล็บงอกยาวขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์
     
  2. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95
    เมื่อวานเลิกงานได้ชวนเพื่อนไปนั่งสมาธิที่วัดห้วยนาคราช อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี...มีภาพสวยงามของวัดมาฝาก....นั่งสมาธิหน้าพระพุทธรูปปางนาคปรกองค์ใหญ่สวยงามมาก...สงบ ร่มรื่น ร่มเย็นภายใต้เงาบวรพุทธศาสนา เอาภาพมาให้ชมค่ะ....ที่บันไดมีราวพญานาคทั้ง 4 ราว...เป็นรูปปั้นเป็นนาคาและนาคี เดี๋ยววันหลังจะถ่ายภาพมาให้ชมค่ะ

    [​IMG] [​IMG]
    ที่วัดมีบาตรใหญ่ที่สุดในโลก...ได้ทำบุญวัดนี้มีกินมีใช้ตลอดชีวิต...
    [​IMG]
    โบสถ์สีทองอร่าม รายล้อมด้วยเหล่าพญานาคสวยงามมาก

    [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]

    ภายในพระอุโบสถมีพระประธานประดิษฐานสวยงามมาก
    [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]

    จิตรกรรมฝาผนัง
    [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]
     
  3. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    ขออนุญาตเสริม เรื่อง อานิสงค์การเจริญสมาธิครับคุณ dolly nawarin
    อานิสงส์ของการเจริญสมาธิ
    การทำสมาธิก็คือการรวมกระแสจิต คือจิตของเราก็มีกระแสเหมือนกันกับแม่น้ำ แม่น้ำที่ไม่ได้รวมกระแส ก็จะไหลไปตามทางของมัน ไหลไปทางนั้นทางนี้ ไปตามห้วยหนองคลองบึง น้ำที่ไหลไปตามปกติธรรมชาติของมัน ไม่ได้รวมกระแสน้ำ น้ำก็จะไม่มีพลังหรือว่าไม่แรง ถ้าเรารวมกระแสน้ำ ให้ไหลไปทางเดียวกัน หรือในช่องเดียวกันตามที่เราต้องการ กระแสน้ำก็มีกำลังแรง สามารถนำไปใช้ในการเกษตรกรรมต่างๆ หรือสามารถที่จะเอามาใช้ในการผลิต กระแสไฟฟ้า ดังที่พวกเราได้เห็นอยู่ทุกวันนี้ เช่นไฟฟ้าที่ใช้อยู่บ้านเราก็ส่งมาจากเขื่อนโดมน้อยหรือเขื่อนสิรินธร ซึ่งน้ำโดมนั้นไหลอยู่ตลอดกาลทั้งหน้าฝน หน้าแล้ง เขาก็รวมกระแสน้ำที่อยู่ในลำโดมน้อยทั้งหมดให้ไหลลงในช่องเดียวกันที่เขาต้องการ เมื่อไหลลงในช่องเดียวกัน ก็มีกำลังแรง จนสามารถที่จะผลิตกระแสไฟฟ้า มาให้เราใช้จนทั่วภาคอีสานได้

    แม่น้ำที่รวมกระแส มีกำลังมากมีอานุภาพมาก สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้เหลือที่พรรณนา แต่ถ้าไม่ได้รวมกระแสก็จะไม่มีอานุภาพไม่เป็นประโยชน์เท่าที่ควร และอาจจะไหลบ่าไปก่อให้เกิดความเสียหายได้อีกด้วย ข้อนี้ฉันใด จิตของเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าจิตใจไม่ได้รวมกระแส ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ก็ไม่มีกำลังไม่มีอานุภาพ

    อะไรเป็นกระแสของจิต ความคิดเป็นกระแสของจิต ทุกคนเกิดขึ้นมาแล้วต้องคิด ตื่นขึ้นมาก็คิดแล้ว ยังไม่ได้ลุกจากที่นอนก็คิดแล้ว อันนี้จิตของเราไม่ได้รวมกระแส มัวแต่คิดในเรื่องครอบครัว เรื่องสมบัติเป็นต้น ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นไปในอนาคต ทั้งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

    เมื่อกระแสจิตนี้ไหลไปอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่มีอานุภาพ ไม่มีพลัง เหมือนกับไฟฉายอย่างนี้ หากว่าเราไม่ใส่กรวยปรับแสง เราเปิดสวิตซ์ขึ้นมาไฟก็สว่างเหมือนกัน แต่สว่างไม่ได้ไกล ไม่สามารถจะมองเห็นไกลๆ หากว่าเราเอากรวยปรับแสงใส่เข้าไป แสงสว่างก็เพิ่มขึ้นมาอีก แต่ยังไม่อาจมองดูได้ไกลเท่าไรนัก แต่เมื่อใดเราปรับกรวยให้รวมแสงกันเข้าไปๆ เมื่อรวมกันได้ถึงที่แล้ว ก็สามารถฉายไปได้ไกลๆ ส่องดูไกลๆ เห็นได้

    จิตของเราก็เหมือนกัน เมื่อใดเราทั้งหลาย รวมกระแสจิตลงไปๆ คือรวมความคิดหลายๆ ความคิดนั้นให้เหลือความคิดเดียว เช่น เราเอาอาการพองอาการยุบมาเป็นอารมณ์ ภาวนาว่าพุทโธๆ หรือ พองหนอ ยุบหนอ ร่ำไป จิตใจของเราก็อยู่ที่อาการพองอาการยุบตลอดไป ไม่คิดไปเรื่องอดีต ไม่คิดไปเรื่องอนาคต กำหนดแต่ปัจจุบันธรรม คือ เรากำหนดอาการพองอาการยุบนี้ได้อยู่ตลอดเวลา ก็แสดงว่าเรารวมกระแสจิตได้แล้ว

    เมื่อใดเรารวมกระแสจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว กำหนดอยู่ในอารมณ์อย่างเดียว ซึ่งเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ได้อย่างนี้ คือสามารถทิ้งอารมณ์เล็กๆ น้อยๆ ได้ จะเกิดขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็ดี เราทิ้งอารมณ์เล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้นได้ ก็แสดงว่าเรารวมกระแสจิตได้มาก เมื่อรวมกระแสจิตได้มากแล้ว จิตก็จะเข้าสู่ฌานธรรมทันที คือฌานชวนะวิถีจะเกิดขึ้นทันที เมื่อฌานชวนะวิถีเกิดขึ้น ก็บรรลุถึงปฐมฌานคือฌานที่ ๑

    เมื่อฌานที่ ๑ เกิดขึ้นแล้ว เราก็รวมกระแสจิตให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก ทิ้งอารมณ์ที่เหลือออกไปอีก จิตก็จะเข้าสู่ ทุติยฌาน คือฌานที่ ๒

    เมื่อถึงฌานที่ ๒ แล้วก็รวมกระแสจิตให้ยิ่งเข้าไปอีก ทิ้งอารมณ์ออกไปอีก ผู้ใดทิ้งอารมณ์ได้มากเท่าไร และรวมกระแสจิตได้มากเท่าไร ก็สามารถเข้าสมาธิได้มากเท่านั้น จนกระทั่ง ถึงตติยฌาน คือฌานที่ ๓ จตุตถฌาน คือฌานที่ ๔ แล้วก็เข้าสู่อรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนะ อรูปฌานที่ ๒ คือ วิญญานัญจายตนะ อรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนะ อรูปฌานที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไปตามลำดับๆ

    ทีนี้หากว่าจิตของเราตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อันเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ และพร้อมกันนั้น เราเคยได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ผ่านอนาคามิมรรคญาณ อนาคามิผลญาณ หรืออรหัตตมรรคญาณ อรหัตตผลญาณมาแล้ว ก็สามารถที่จะเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธได้ ผู้ที่เข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว ชื่อว่าได้ดับทั้งจิตทั้งเจตสิก ดับสัญญาดับเวทนาได้ สามารถเข้าสมาธิอยู่ได้ถึง ๗ วัน ๗ คืน โดยที่ไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต เพราะอาหารที่เราบริโภคเข้าไป เกิดเป็นโอชะหล่อเลี้ยงร่างกายไว้ไม่ให้เป็นอันตรายแก่ชีวิต

    นี้เป็นเรื่องสมาธิโดยคร่าวๆ หรือโดยหยาบๆ

    ที่มา http://www.watpit.org/index.php?opt...49-41&catid=86:2009-12-17-06-19-38&Itemid=131
     
  4. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95
    อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณอาวุโสโอเค
     
  5. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    ไปได้ไปที่ไหนเลย เพราะถ้าจิตอยู่กับตัวแล้ว นั่งที่ไหนก็เป็นสมาธิทั้งนั้น
     
    ไดโกโระ และ dolly natwarin ถูกใจ.
  6. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95
    วัดถ้ำกูปนฬวัน อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

    ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านวังดุม หมู่ที่ 8 ต.บ้านใหม่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นพื้นที่อยู่ในบริเวณหุบเขา เป็นสถานที่สงบเหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติสมถะธรรม ภายในวัดมีถ้ำซึ่งทางวัดได้ใช้เป็นอุโบสถตลอดทั้งภายในถ้ำนั้นมีพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใดสร้างและยุคสมัยใด และส่วนบริเวณบนผนังถ้ำจะมีลักษณะคล้ายกูปช้าง ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกถ้ำกูป

    ตามประวัติวัดถ้ำกูปได้ตั้งเมื่อ พศ. ๒๔๘๒ และมีหลวงพ่อสงบ มานิโต จากวัดศรีอุปลารามมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และจากนั้นทางวัดได้ถูกทิ้งร้างมาเป็นระยะเวลานานซึ่งถาวรวัตถุต่างๆ ได้ชำรุดและเสียหายเป็นอย่างมากจะมีบ้างเพียงเล็กน้อยเช่น พระปฏิมากรที่ตั้งวางอยู่บริเวณผนังถ้า ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าพระแก้บนซึ่งเป็นพระตะกั่วหลอมและลงรักปิดทอง มีเสียงเล่าลือว่ามากไปด้วยความคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม

    ตลอดเวลาที่ผ่านมาทางวัดถ้ำกูป ได้มีพระภิกษุสงฆ์เดินธุดงค์ผ่านมาค้างแรมอยู่ปฏิบัติธรรม เช่นหลวงพ่อทรัพย์ ซึ่งเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎรบำรุง จนกระทั่งปี พศ.๒๕๔๒ ได้มีพระภิกษุเดินธุดงค์ผ่านมาเห็นว่าเป็นสถานที่สงบ และเหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ ประกอบกับชาวบ้านได้อาราธนานิมนต์ให้บูรณะวัดถ้ำกูปขึ้นใหม่ พระภิกษุสงฆ์กลุ่มดังกล่าวจึงได้เริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์พร้อมกับสร้างเสนาสนะเรื่อยมาจนถึงวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา ครบ ๖ รอบ ทางวัดจึงได้ยกขึ้นเป็นวัดถูกต้องตามกฏหมายมาจนถึงปัจจุบัน และได้มีพระอธิการจิตเซ็ง สิริปัญโญ(พระอาจารย์จะหละ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และมีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

    ในปัจจุบันทางวัดถ้ำกูปได้จัดงานบรรพชาอุปสมบท และบวชชีพราหมณ์ เป็นประจำทุกปี ประกอบพิธีบรรพชาอุปสมบท บวชในวันที่ ๑ ธันวาคมของทุกปี และร่วมปฏิบัติธรรม ๑๐ วัน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเพื่อเป็นสิริมงคลแด่ผู้บวชและเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอญู่คู่กับชาวไทยสืบต่อไป

    ภายในถ้ำนั่งสมาธิจิตสงัดดิ่งสู่ธรรมล้ำลึก

    [​IMG]

    พระพุทธรูปโบราณไม่ทราบที่มา...สร้างด้วยตะกั่วทั้งองค์...ภายหลังทาสีทับบนองค์พระให้ดูสวยงาม
    [​IMG]


    [​IMG]

    ทางขึ้นถ้ำกูป
    [​IMG]

    มีพระธุดงถ์แวะเวียนมาปักกลดเพื่อปฏิบัติสมาธิ

    [​IMG]
    ศาลาการเปรียญ ตอนนี้สร้างเสร็จแล้ว
    [​IMG]

    กุฏิพระแฝงอยู่ในเงาไม้

    [​IMG]

    ภายในบริเวณวัดเงียบสงัดเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

    [​IMG]
     
    ไดโกโระ และ กีรเต้ ถูกใจ.
  7. Takob

    Takob อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ....ได้แต่อ่าน ไม่มีปัญญาทำ... อ่านก็ยังไม่จบเลย เฮ้อ !!
     
  8. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    ทำไมต้องมีเวลา มีสติอยู่กับตัวไม่ปล่อยออกนอกกาย ก็คือการทำสมาธิอย่างหนึ่งแล้ว :)
     
    ไดโกโระ และ dolly natwarin ถูกใจ.
  9. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95
    วัดวังก์วิเวการาม
    วัดวังก์วิเวการาม อยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ "หลวงพ่ออุตตมะ" ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงและพม่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อขาว จากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยามีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวกผ้า แป้งพม่า เครื่องไม้ ราคาย่อมเยา

    ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดงานคล้ายวันเกิดหลวงพ่ออุตตมะ ในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา การแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงของชมรมวัฒนธรรมท้องถิ่นเช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และในงานประชาชนจะพร้อมใจกันแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญและจัดเตรียมสำรับอาหารทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด
    [​IMG]

    [​IMG]
    ศาลาวัดวังก์วิเวการาม เป็นเสนาสนะที่สร้างอย่างสวยงามมากหลังหนึ่งด้านหน้าเป็นลานกว้างมีเพียงหอกลองอยู่กลางลานกว้าง เราจึงใช้บริเวณลานนี้เป็นที่จอดรถ รอบๆ ลานกว้างมีเสนาสนะ อาคารของวัดรอบด้านทั้ง 4 ทิศ จากด้านหน้าจะเห็นศาลาหลังนี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจมากที่สุดทำให้เราต้องใช้เวลาเก็บภาพกันนานที่สุด ภายในศาลาเป็นที่ตั้งของปราสาท 9 ยอด และรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะ ปราสาท 9 ยอดนี้เองเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อว่างดงามมากของวัด ก่อนที่จะเข้าไปชมภายในวัดจะกล่าวถึงประวัติของวัดแห่งนี้พอสังเขป

     วัดวังก์วิเวการามเดิมสร้างอยู่บริเวณที่เรียกว่า สามประสบ เป็นจุดที่แม่น้ำสามสายไหลมาบรรจบกัน ได้แก่ บิคลี ซองกาเรีย และรันตี หลังการก่อสร้างเขื่อนวชิราลงกร์หรือเขื่อนเขาแหลมและทำการกักเก็บน้ำใน พ.ศ. 2521 จึงต้องทำการย้ายวัดวังก์วิเวการามขึ้นมาอยู่ในพื้นที่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจัดไว้ให้ อยู่บนเนินเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในที่ตั้งปัจจุบัน วัดวังก์วิเวการามเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้แหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันทั่วไปคือ สะพานไม้อุตตมานุสรณ์ เจดีย์พุทธคยาจำลอง ชุมชนชาวมอญ และวัดวังก์วิเวการามซึ่งภายในวัดยังเป็นที่ตั้งประดิษฐานสังขารของพระราชอุดมมงคลฯ หลวงพ่ออุตตมะ บรรจุในปราสาทเก้ายอดรูปแบบสถาปัตยกรรมมอญ ไว้ให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้สักการะเพื่อระลึกและสำนึกในพระคุณของหลวงพ่อ และบริเวณวัดปัจจุบันประกอบด้วย อาคารศาสนสถานที่สำคัญๆ ต่างๆ เช่นวิหารพระหินอ่อน อุโบสถ และเจดีย์พุทธคยาจำลอง


    [​IMG]

    วิหารพระหินอ่อน อาคารหลังนี้สร้างเป็นตึกก่ออิฐถือปูนอยู่ทิศตรงข้ามกับศาลา มีทางเดินหลังคาคลุมเชื่อมต่อจากตัวอาคารออกไปอีกยาว แม้แต่บันไดทางขึ้นลงอาคารก็สร้างหลังคาแบบลดหลั่นกันลงไป เดินเข้าไปจะเห็นทางเดินไปยังวิหารพระหินอ่อน ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรรูปหินอ่อนสีขาวที่งดงามของวัดวังก์วิเวการาม และเป็นสถานที่แรกที่เราจะเข้าไปกัน อีก 2 ด้านรอบลานจอดรถ เป็นศาลาอยู่ซ้ายมือ กับพระอุโบสถอยู่ขวามือ ซึ่งเอาไว้ค่อยออกมาเก็บภาพทีหลัง


    [​IMG]

    ทางเดินเข้าวิหารพระหินอ่อน เป็นทางเดินหลังคาคลุมโค้งไปตามพื้นที่ของวัดตรงเข้าประตู ด้านข้างวิหารพระหินอ่อนมีสระบัวขนาดไม่ใหญ่นัก


    [​IMG]

    พระพุทธรูปหินอ่อน ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในวิหาร แม้แต่องค์พระอัครสาวกก็สร้างจากหินอ่อนสีขาวอมเหลืองด้วยเหมือนกันฐานและด้านหลังขององค์พระพุทธรูปตกแต่งลวดลายที่งดงามมาก มีรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะขนาดเท่าจริงนั่งอยู่บนธรรมาสน์ อยู่ด้านขวามือ ด้านหน้าสุดยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยสีเทาอีก 1 องค์


    [​IMG]

    รอบวิหารพระหินอ่อน หลังจากไหว้พระขอพรกันแล้วมาลองชมรอบๆ บริเวณวิหารหลังนี้กันครับ จุดสนใจก็มีประตูมีลวดลายประดับเหนือประตู ภาพจิตรกรรมบนฝาผนังด้านในวิหารอยู่รอบด้านชิดขอบผนังด้านบนสุด เชิงเทียนขนาดใหญ่ตั้งอยู่นอกประตู (ไม่ให้เข้ามาจุดธูปเทียนในวิหาร) ด้านข้างฐานพระพุทธรูปด้านซ้ายมือของเราจะมีงาช้างแมมมอธ มีความยาวมากกว่าช้างทั่วไปตั้งแสดงไว้ให้ชมพร้อมป้ายบอกว่าห้ามจับ


    [​IMG]

    พระพุทธรูปแปดกร เป็นครั้งแรกที่ได้พบเห็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะแตกต่างจากพระพุทธรูปที่เคยเห็นที่อื่น เป็นพระพุทธรูปมีแปดกร ประทับยืน ประดิษฐานอยู่บนบุษบก พระหัตถ์ขององค์พระพุทธรูปคล้ายปางต่างๆ กันหลายปางรวมอยู่ในองค์เดียวกันได้แก่ ปางรำพึง ปางถวายเนตร ปางประทานพร ส่วนภาพขวาเป็นพระพุทธรูป พระนามว่า พระพุทธรัชมงคลอุบลบพิตร (พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลผู้สร้างแห่งความเป็นพระราชา) พร้อมกับเอกสารการถวายนามพระพุทธรูป จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ข้อความปรากฏบนเอกสาร ดังนี้

     ขอถวายนามพระพุทธรูป ในวโรกาส ทูลกระหม่อมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา ขอพระพุทธรูปที่ถวายนามแล้วนี้ จงสถิตเป็นที่สักการะเจริญเป็นอุดมมงคล ให้เกิดความสวัสดีแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ตลอดจิรกาล

     พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานบนบุษบกสีทองซึ่งตั้งซ้อนกันอยู่ 2 หลังข้างฐานพระหินอ่อน


    [​IMG]

    ภาพจิตรกรรมวิหารพระหินอ่อน เป็นภาพจิตรกรรมขนาดไม่ใหญ่นัก เขียนบนฝาผนังของวิหาร ช่องละ 2 ภาพ ด้านล่างของภาพจิตรกรรมเหล่านี้สร้างให้เป็นช่องลึกเข้าไปในผนัง ตั้งพระองค์เล็กๆ ไว้หลายองค์จนเต็มช่อง หลายคนที่ได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยววัดในเขตลาวใต้ ก็จะพบเห็นการสร้างผนังเป็นช่องสำหรับตั้งพระจำนวนมากแบบนี้ได้หลายแห่ง


    [​IMG]

    ระเบียงคด ทางเดินที่เชื่อมต่อจากอาคารสีขาวซึ่งน่าจะเป็นกุฎิสงฆ์เป็นแนวยาวไปทางด้านหลังวิหารพระหินอ่อน


    [​IMG]

    หอระฆังและแผนที่ประเทศไทย ลักษณะการสร้างหอระฆังของวัดวังก์วิเวการาม ก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่น ด้วยการสร้างบันไดวนรอบนอกของหอระฆัง ดูสวยงามแปลกตา ภาพขวาเป็นแผนที่ประเทศไทยสร้างโดยวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ (วัดพระพี่นาง) จังหวัดนครสวรรค์ มีเพียง 3 แห่งในประเทศไทย


    [​IMG]

    พระอุโบสถวัดวังก์วิเวการาม เป็นพระอุโบสถที่มีหลังคายอดซุ้ม 3 ยอด สวยงามตั้งอยู่บนเขา หากมองจากสะพานมอญอีกฝั่งหนึ่งของลำน้ำซองกาเรีย จะมองเห็นหลังคาพระอุโบสถหลังนี้ได้ เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เราได้มาเห็นมาชมกัน ด้านหน้าพระอุโบสถมีสระน้ำพุรูปหัวช้างทั้ง 2 ข้าง ด้านซ้ายมือตรงซุ้มประตูมีพระพุทธรูปปางโปรดปัญจวัคคีทั้ง ๕ ด้านซ้ายเป็นทางเดินสร้างหลังคาคลุมเข้าไปจนถึงซุ้มประตู


    [​IMG]

    พระพุทธรูปโปรดปัญจวัคคีทั้ง ๕ ด้านหลังในซุ้มประตูกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างระเบียงคดรอบพระอุโบสถ แสดงให้เห็นถึงการทำนุบำรุง การซ่อมแซม ก่อสร้างเพิ่มเติมที่ยังมีอยู่อย่างไม่ขาดสาย แม้ว่าหลวงพ่ออุตตมะจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่กระแสศรัทธาของชาวบ้านในละแวกนี้และทั่วประเทศก็ยังคงอยู่กับวัดวังก์วิเวการาม อย่างเหนียวแน่น


    [​IMG]

    รอบพระอุโบสถ มีคูน้ำเล็กๆ ล้อมรอบพระอุโบสถ มีสะพานข้ามไปยังกำแพงแก้ว นอกจากนี้ยังมีการสร้างระเบียงคดรอบพระอุโบสถซึ่งต่อไปน่าจะเดินได้โดยรอบ


    [​IMG]

    หน้าบันพระอุโบสถ ลวดลายพระพุทธรูปอยู่ชั้นบนสุด ส่วนชั้นกลางเป็นปัญจวัคคี ที่บรรลุพระอรหันต์ ทั้งหมดประดับด้วยลวดลายที่สวยงามสีทองบนพื้นสีฟ้า เสาพระอุโบสถเป็นเงาสะท้อนแสงสวยงาม ซุ้มใบเสมาทั้ง 8 ก็สร้างได้สวยงามด้วยลวดลายที่กลมกลืนกันทั้งหมด พระอุโบสถไม่ได้เปิดให้เข้าชมครับ ส่วนใหญ่คนที่มาวัดวังก์วิเวการาม ก็จะสักการะพระพุทธรูปหินอ่อนในวิหาร


    [​IMG]


     
    ไดโกโระ likes this.
  10. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95
    ศาลาที่ตั้งปราสาทหลวงพ่ออุตตมะ คราวนี้ก็ได้เวลาเข้าไปชมในศาลาหลังนี้กันครับ ศาลาที่สวยงามนี้มียอดสีทองกลางศาลา 3 ยอดเป็นส่วนหน้ามุขที่ยื่นออกมาจากอาคารหลัก ลักษณะการสร้างยอดสีทองนี้ดูค่อนคล้ายไปทางศิลปะการสร้างเสนาสนะของทางเหนือ ได้แก่วัดจองคำ วัดจองกลาง ที่แม่ฮ่องสอน และวัดหลายแห่งที่เคยได้เห็นตอนข้ามพรมแดนไปฝั่งประเทศพม่า บนหลังคาอาหารหลักสร้างจั่ว 7 จั่ว อยู่ด้านซ้าย 3 จั่ว ด้านขวา 4 จั่ว ยอดจั่วเป็นหัวหงส์ดูสวยงาม ด้านข้างมีส่วนที่สร้างต่อออกมาเป็นบันไดขึ้นลงข้างอาคาร


    [​IMG]

    หลวงพ่ออุตตมะ ภาพถ่ายและรูปเหมือนของหลวงพ่ออุตตมะ หลังจากที่ได้พบเห็นในวิหารพระหินอ่อนแล้วก็มาเห็นที่ด้านหน้าของศาลาหลังนี้อีก รูปเหมือนของหลวงพ่ออุตตมะมักจะสร้างนั่งอยู่บนธรรมาสที่สวยงามเสมอ ใกล้ๆ กับรูปเหมือนของหลวงพ่อที่หน้าศาลาหลังนี้มีรูปกิจกรรม ประเพณีของวัดพร้อมอธิบายความเป็นมาของประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาวบ้านในละแวกนี้ที่เกี่ยวเนื่องกับวัดวังก์วิเวการาม


    [​IMG]

    ปราสาทเก้ายอด เมื่อเข้ามาภายในศาลาหลังนี้จะได้เห็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่งซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัดวังก์วิเวการาม นั่นก็คือปราสาทเก้ายอด โดดเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางโดยมีรูปเหมือนของหลวงพ่ออุตตมะนุ่งห่มจีวร ดูเหมือนยังมีชีวิตอยู่ ด้านหน้ามีปราสาทองค์เล็กมี 5 ยอด คล้ายบุษบก 2 หลัง มีรูปของหลวงพ่ออุตตมะอยู่ภายใน ดอกไม้สดที่ศิษยานุศิษย์นำมาเปลี่ยนทุกวันในช่วงเทศกาลต่างๆ ของวัด เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า ฯลฯ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาอย่างมากที่มีต่อหลวงพ่ออุตตมะ ปราสาทหลวงพ่ออุตตมะทั้งหมดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปะ วัฒนธรรมและความเชื่อของชาวมอญหลายกลุ่มที่แยกย้ายกระจายกันอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย หลอมรวมเป็นโอฬาริกบูชา แด่หลวงพ่อผู้เป็นที่เคารพสักการะของศิษยานุศิษย์ หงส์ทองคู่เป็นสัญญลักษณ์ของชาวมอญที่มีมาแต่โบราณกาล ภายในปราสาทเก้ายอดเป็นที่เก็บสังขารหลวงพ่ออุตตมะ ไว้เป็นที่สักการะของศิษย์และประชาชนทั่วไป


    [​IMG]

    ปราสาทเก้ายอดวัดวังก์วิเวการาม ขยับใกล้เข้ามาอีกหน่อยครับจะได้เห็นรายละเอียดต่างๆ กันแบบชัดๆ นักท่องเที่ยวที่มากราบไหว้หลวงพ่ออุตตมะ ก็จะมานั่งถ่ายรูปกับปราสาทเก้ายอดนี้กันอย่างต่อเนื่อง


    [​IMG]

    ปราสาทองค์เล็ก ด้านซ้ายจะเห็นมีการนำพานพุ่มดอกไม้ มาเป็นเครื่องสักการะรูปหลวงพ่ออุตตมะ ส่วนภาพขวาจะเป็นพานธูปเทียน ทั้งหมดล้อมรอบด้วยดอกไม้สด ประดับอย่างสวยงาม


    [​IMG]

    สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ภายในศาลาหลังนี้ยังมีสิ่งที่สะดุดตาเราอยู่ คือหงส์ที่ประดิษฐ์อย่างสวยงามมองดูคล้ายการพับจีบใบตองประกอบกันเป็นรูปหงส์ อยู่ในตู้กระจกข้างปราสาทเก้ายอด ส่วนพื้นที่กว้างกลางศาลา มีผ้าป่าที่ทำเป็นรูปหงส์อีกเช่นกัน ตั้งไว้เราสามารถร่วมทำบุญนี้ได้


    [​IMG]

    บานประตูภาพพระพุทธประวัติ ออกจากศาลาที่ตั้งปราสาทเก้ายอดจะมีศาลาอีกหลังหนึ่งสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน ด้านหลังศาลาหลังนี้มีห้องน้ำสำหรับประชาชนทั่วไป ด้านหน้าของศาลามีประตูทางเข้าอยู่ซ้ายมือของอาคาร บานประตู 3 ช่องเรียงกันขนาดเท่ากันทั้ง 6 บาน เป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น ลวดลายบนบานประตูทั้ง 6 เป็นภาพพระพุทธประวัติ ตั้งแต่การประสูติ การพบเห็นอนิจจัง การออกผนวช การบำเพ็ญทุกรกริยา การตรัสรู้ การโปรดปัญจวัคคีทั้ง 5


    [​IMG]

    พระพุทธรูปไม้แกะสลัก วันนี้ที่เราได้เดินทางมายังวัดวังก์วิเวการาม ได้เห็นการสร้างพระพุทธรูปไม้แกะสลัก แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าจะนำไปประดิษฐานที่ไหน แต่เป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักที่งดงาม พระพักตร์เปี่ยมด้วยเมตตา แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย ลายจีวรพลิ้วไหว เป็นงานแกะสลักที่ละเอียดมากองค์หนึ่งครับ
     
    ไดโกโระ likes this.
  11. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95
    [​IMG]

    เจดีย์พุทธคยา หลวงพ่ออุตตมะ เป็นผู้คิดริเริ่มสร้างขึ้น ปี พ.ศ. 2521 โดยจำลองมาจากเจดีย์พุทธคยาประเทศอินเดีย งบประมาณมาจากผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาคเป็นเงินสด ทองคำ และวัสดุ ใช้แรงงาน ชาย หญิง ในหมู่บ้านประมาณ 400 คน ปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างและเผาอิฐมอญขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หนา 3 นิ้ว จำนวน 360,000 ก้อน พ.ศ. 2525 เริ่มสร้างเจดีย์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาว 42 เมตร สูง 59 เมตร เสาเหล็กสี่ทิศ จำนวน 16 ต้น ในปี พ.ศ. 2532 พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนนิ้วหัวแม่มือขวา 2 องค์ ขนาดเมล็ดข้าวสาร มีสีขาวอมเหลืองเป็นเงา บรรจุในผอบ 3 ชั้น ซึ่งหลวงพ่ออัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และฉัตรทองคำหนัก 400 บาท ขึ้นไปประดิษฐานอยู่บนยอดเจดีย์


    [​IMG]

    รอบเจดีย์พุทธคยา ทางเดินที่สร้างหลังคาคลุม โดยการลดหลั่นกันลงมาตามแนวบันไดตั้งแต่กำแพงด้านหน้าซึ่งมีสิงห์คู่ขนาดใหญ่มากนั่งอยู่ เดินเข้ามาแล้วจะได้เห็นรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งประชาชนนิยมมาเสี่ยงตั้งเหรียญ เห็นเหรียญหลายอันมีทั้งตั้งอยู่และล้มลงไปแล้ว เดินสูงขึ้นไปจนถึงฐานเจดีย์พุทธคยาชั้นบนจะมีพระพุทธรูปเป็นพระพุทธชินราชจำลอง จากนั้นรอบลานประทักษินเป็นเทพประจำวันเกิด และรูปเหมือนพระอริยสงฆ์ พระบูรพาจารย์ หลายรูปที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หลวงปู่ทวด เป็นต้น อยู่บนฐานโดยรอบ จากลานประทักษินของฐาน มีบันไดเดินขึ้นไปยังลานประทักษินอีกชั้นหนึ่งซึ่งเป็นลานรอบองค์เจดีย์พุทธคยาสีทอง เหลือมอร่ามโดดเด่นอยู่ท่ามกลางหมู่บ้าน


    [​IMG]

    ศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผม ด้านข้างของบันไดทางเดินขึ้นสู่เจดีย์พุทธคยา สร้างศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผมสีแดง ถัดเข้าไปเป็นวิหารพระนอนหลังเล็กๆ อยู่ชิดกับบันได


    [​IMG]

    พระนอน เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะแปลกอีกองค์หนึ่ง ลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์หรือพระนอน เพียงแต่ส่วนพระองค์ ดูเหมือนตั้งตรงขึ้น


    [​IMG]

     
    ไดโกโระ likes this.
  12. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95
    ภาพปิดท้ายของวัดวังก์วิเวการาม สิงห์คู่ขนาดใหญ่สูงเด่นหน้าทางเข้าเจดีย์พุทธคยา พระพุทธรูปองค์ใหญ่ด้านหน้าเจดีย์ มีพระพุทธรูปโปรดองค์คุลีมาร สองภาพด้านล่างเป็นซุ้มประตูของวัดในช่วงขากลับ จบการเดินทางชมวัดไว้เพียงเท่านี้ครับ เพื่อให้รู้จักวิถีชีวิตชาวมอญ ซึ่งเป็นชาวบ้านที่อยู่ละแวกวัดวังก์วิเวการามกันมากขึ้น ขอแนะนำประเพณีของคนที่นี่ให้รู้จักครับ เผื่อว่าจะได้เดินทางมาเที่ยวชมกัน

     ประเพณีตำข้าวเม่า จัดขึ้นในเดือนอ้าย (ประมาณธันวาคม) ข้าวใหม่เริ่มออกรวงเป็นน้ำนมข้าว ส่วนข้าวเหนียวเริ่มเป็นเมล็ดข้าวอ่อนๆ เหมาะสำหรับตำข้าวเม่า เมื่อทำเสร็จจะแบ่งส่วนแรกไว้ตักบาตร หรือถวายพระในวันรุ่งขึ้น อีกส่วนก็จะนำไปใส่น้ำกะทิ น้ำตาล เกลือ ปรุงรสกลมกล่อมรับประทานกัน ข้าวเม่าที่เหลือก็จะเก็บไว้แห้งๆ อย่างนั้น เพื่อเก็บไว้รับประทานในวันต่อๆ ไป การเก็บไว้แห้งๆ โดยยังไม่คลุกอะไรเลยจะเก็บได้นาน
     ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวและลงแขกกวัดข้าว เดือนยี่ (ประมาณมกราคม) ในช่วงเดือนยี่นี้เป็นฤดูเก็บเกี่ยวหลังจากเกี่ยวและเก็บข้าวเข้าลานเสร็จก็จะเป็นการนวดข้าวในลานข้าว หลังจากนั้นจะดอการกวัดข้าวเพื่อเอาพวกเศษฟาง และข้าวลีบออก ชาวบ้านใกล้เคียงรวมทั้งญาติพี่น้องคนรู้จักก็จะมารวมตัวกันตั้งแต่เช้าตรู่ แค่ครั้งวันก็กวัดข้าวเสร็จ หลังจากนั้นก็จะบรรทุกใส่เกวียนนำกลับบ้านใส่ยุ้งฉาง
     ประเพณีทำข้าวยาคู เดือน 3 (กุมภาพันธ์) ในช่วงเดือนสามนี้ พืชผลของชาวบ้านเก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อยแล้ว พวกข้าว งา ถั่ว ล้วนแต่เป็นของใหม่ที่เพิ่งได้จากฤดูการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะพากันทำข้าวยาคูในวันพระใหญ่ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) และเก็บไว้ใส่บาตรตอนเช้า
     ประเพณีบูชาสักการะพระเจดีย์ เดือน 4 ตรงกับเดือนมีนาคม ช่วงนี้ชาวบ้านมอญจะหาเวลาไปแสวงบุญกันด้วยการเดินทางไปไหว้สักการะบูชาพระเจดีย์ หรือสถานที่พุทธสถานทั้งใกล้และไกล ในเดือนสี่นี้จะมีงานประจำปีพระเจดีย์พุทธคยา จะมีการสวดมนต์ตลอด 7 คืน บ้าง 9 คืน บ้าง
     ประเพณีมหาสงกรานต์ เดือน 5 (เมษายน) วันสงกรานต์ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวรามัญ ลูกหลานจะต้องกลับมาเปลี่ยนผ้านุ่งใหม่ ที่นอนใหม่ ให้กับพ่อแม่ ก่อพระเจดีย์ทรายสรงน้ำพระ และกรวดน้ำสงกรานต์ ในตอนเช้าจะมีการแห่ผ้าป่าสงกรานต์ขึ้นวัด อันดับสุดท้ายจะมีการโปรยฝนรัตนะ เป็นเสร็จประเพณีสงกรานต์ประจำปี
     ประเพณีสรงน้ำต้นโพธิ์ เดือน 6 (พฤษภาคม) การสรงน้ำต้นโพธิ์เพื่อรักษาต้นโพธิ์ เนื่องจากเชื่อกันว่า ต้นโพธิ์ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับ และช่วงกลางเดือนสอง จะค้ำต้นโพธิ์ในกิ่งที่ห้อยมากเพื่อเป็นการรักษากิ่งให้กับต้นโพธิ์
     ประเพณีขอขมาพระอุปัชฌาย์ ประเพณีบรรพชาอุปสมบท เดือน 7 ตรงกับเดือนมิถุนายน เป็นช่วงก่อนเข้าพรรษาหนึ่งเดือน คนมอญนิยมบรรพชา อุปสมบท บุตรหลาน เมื่อถึงวัน 15 ค่ำ เดือน 7 พระภิกษุสงฆ์ที่เคยได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อที่อยู่ในที่ต่างๆ ห่างไกล จะมารวมกันพร้อมกันที่วัดวังก์วิเวกาาม เพื่อขอขมาพระเถระผู้ใหญ่
     ประเพณีเข้าพรรษา เดือน 8 ตรงกับเดือนกรกฎาคม วันพระใหญ่ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา) ชาวบ้านมอญวังกะจะถือดอกไม้ผ้าอาบ เทินเครื่องไทยธรรม พากันขึ้นวัด ช่วงบ่ายพระภิกษุจะเดินเป็นแถวตามวิหารคดลงโบสถ์ชาวบ้านจะนำดอกไม้ธูปเทียนถวายพระ พอถึงช่วงค่ำชาวบ้านจะพากันฟังพระธรรมเทศนา
     ประเพณีบุญหม้อนิธิ เดือน 9 ตรงกับสิงหาคม เป็นเดือนแห่งการเก็บทรัพย์ มีประเพณีบุญหม้อนิธิ (นิธิ แปลว่า ขุมทรัพย์) จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะทำบุญด้วยการถวายหม้อนิธิ คือ บรรจุวัตถุทาน ตามแต่ต้องการจะถวายพระลงในหม้อ เพื่อเป็นการฝังขุมทรัพย์คือบุญนี้ไว้เพื่อตนจะได้ใช้ในสัมปรายภพ ผลบุญที่ทำไว้นี้จะส่งผลให้ได้ความสุขกาย สุขใจ
     ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เดือน 10 ตรงกับเดือนกันยายน มีประเพณีที่ทำกันอยู่ 2 อย่างคือ ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระรัตนตรัย และเหล่าเทพเทวดา ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่ชาวบ้านต้องการถวายเภสัช 5 ชนิด ได้แก่ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เนยใส เนยข้น น้ำมันงา ให้แด่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษา ก่อนออกพรรษา 1 เดือน
     ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ เดือน 11 ตรงกับเดือนตุลาคม มีประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ เป็นงานบุญฉลองวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากโปรดพุทธมารดาที่เทวโลกดาวดึงส์ 1 พรรษา ซึ่งจัดขึ้นในวันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี) ชาวบ้านเตรียมของแห้งสำหรับตักบาตรแต่งกายงดงามสะอาดสอ้าน มารวมในสถานที่ที่จัดไว้
    ประเพณีทอดกฐิน เดือน 12 ตรงกับเดือนพฤศจิกายน มีประเพณีทอดกฐิน ซึ่งนิยมกำหนดวันทอดกฐินให้อยู่ในส่วนข้างขึ้นของเดือน 12 เมื่อทราบกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ชาวบ้านจะรวมตัวกันจัดตั้งต้นผ้าป่า และร่วมกันตัดเย็บจีวร อังสะ สบง และผ้าผืนยาว สำหรับห่มเจดีย์พุทธคยา
     
    ไดโกโระ likes this.
  13. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95
    วันนี้ฤกษ์งามยามดีไปนั่งสมาธิที่วัดเบญจมบพิตร เอาบุญมาฝากเพื่อนๆด้วยค่ะ

    [​IMG]

    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต จ.กรุงเทพฯ
    upload_2014-10-18_22-41-22.jpeg

    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กล่าวได้ว่าเป็นวัดที่มีความสวยงามมากที่สุดวัดหนึ่งของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นอีกหนึ่งวัดที่ทางทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.Thongteaw.com) ของเราไม่อาจมองข้ามไปได้ จึงได้เก็บรวบรวมภาพความประทับใจต่าง ๆ เพื่อมาเล่าต่อไป
    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม หรือ บางท่านเรียกสั้น ๆ ว่า วัดเบญฯ ได้ถูกสร้างขึ้นจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก เพื่อให้เป็นการแสดงแบบอย่างของช่างฝีมือไทยโบราณ รวมถึงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมพระพุทธรูปโบราณในสมัยต่าง ๆ กันมากมาย และเป็นที่พัฒนาการศึกษาของเหล่าภิกษุสงฆ์ เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดเบญจมบพิตรนั้น เริ่มตั้งแต่



    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    พระอุโบสถ (สองภาพด้านซ้ายสุด และขวาสุด) ศาลาตรีมุขสะพานน้ำ หอระฆังบวรวงศ์ ตามลำดับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    สะพานเหล็กหล่อทั้งสามแห่ง บริเวณคูคลองน้ำภายในวัดเบญจมบพิตร

     
  14. dolly natwarin

    dolly natwarin สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    95

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    กลองอืด หรือกลองหลวงภายในศาลาสี่สมเด็จ (สองภาพด้านซ้าย)
    และบานประตูของพระอุโบสถที่มีลวดลายที่งดงาม

    พระอุโบสถ (ทำจากหินอ่อนอิตาลีที่เดียวในประเทศไทย) ที่สร้างเป็นแบบจตุรมุข ภายในเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” (พระประธานของพระอุโบสถ ที่จำลองมาจากพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุด) นอกจากนี้ด้านนอกพระอุโบสถมีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นกำแพงแก้ว เสามุมกำแพงเป็นรูปดอกบัวตูม ด้านหลังเป็นรูปเสมาธรรมจักร ภายในกำแพงแก้วพื้นปูด้วยหินแกรนิตสีชมพูอ่อน และสีเทา (กล่าวมาถึงตรงนี้ครั้งสมัยที่ยังเป็นเด็กได้เคยมาทัศนศึกษากับทางโรงเรียน มัคคุเทศก์ผู้นำทีมของเราบอกว่า หากใครเป็นคนดีเดินเท้าเปล่าบนพื้นหินอ่อนกลางแดดเปรี้ยงจะไม่ร้อนเท้า นักเรียนตอนนั้นลองกันใหญ่ แต่ไม่มีใครบอกว่าร้อนเท้าหรือเปล่า แต่ส่วนตัวคิดอยู่ในใจ ทำไมเราร้อนเท้า!!!) ส่วนองค์พระอุโบสถนั้นประดับด้วยแผ่นหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์ มีเสาและสิงห์เฝ้าอยู่ที่ประตู และบริเวณพระระเบียงนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยและปางต่าง ๆ มากมายตลอดพระระเบียงทุกด้าน เช่น พระพุทธปางที่ทุกท่านรู้จักเป็นอย่างดี ปางลีลา (ที่มีพุทธลักษณะที่งดงาม) ปางทุกรกิริยา ปางสมาธิ ปางห้ามญาติ เป็นต้น ส่วนด้านนอกกำแพงแก้วบริเวณหน้าพระอุโบสถทุกท่านจะได้เห็นศาลาเล็ก ๆ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี 2 หลัง บริเวณหน้าบันของทั้งสองหลังจากมีสัญลักษณ์ และคำจารึกปรากฏอยู่



    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    รูปปั้นหินบริเวณริมน้ำ กับนกพิราบทอดอารมณ์บนเสาหิน (ภาพขวาสุด)

    ส่วนถัดไปที่จะกล่าวถึงคือ พระวิหารสมเด็จ (ส.ผ.) เป็นตึกจตุรมุข 2 ชั้น ด้านหน้าบันไดมีราชสีห์เฝ้าอยู่ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณสมัยต่าง ๆ และเครื่องลายครามจีน (ส่วนนี้ทีมงานไม่ได้เข้าไปชม) จากนั้นจึงได้ชมศาลาสี่สมเด็จ เป็นศาลาจตุรมุข บันไดปูหินอ่อนและประดับด้วยสิงห์ศิลาสร้างขึ้นจากทุนทรัพย์ของสมเด็จเจ้าฟ้า 4พระองค์ ปัจจุบันใช้เป็นหอกลอง มีกลองที่น่าสนใจและแปลกเนื่องจากยาวและใหญ่มาก (กลองหลวง หรือกลองอืด) โดยจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี นำมาถวายรัชกาลที่ 5 จึงพระราชทานมาไว้ที่วัดนี้



    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    พระพุทธรูปโบราณปางต่าง ๆ หลากยุคสมัย หลายสัญชาติ บริเวณพระระเบียงของวัด

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

Share This Page