ลาก่อน...น้ำท่วมน้ำแล้งด้วย "บางระกำ โมเดล" ???

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Ricebeanoil, 20 Jan 2016

  1. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ชาวนาอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก หลายครัวเรือนต้องมาปลูกพืชน้ำน้อย ไม่สามารถทำนาปรังได้ เพราะขาดแคลนน้ำ ขณะที่ทางเกษตรอำเภอ ให้ทบทวนแผนโครงสร้างน้ำของบางระกำ ติดตามรายงานจากคุณทินณภพ พันธะนาม

    พื้นที่เกษตรกรรม กว่า 1 แสนไร่ จากทั้ง. 3 แสนไร่ ในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ถูกปรับเปลี่ยนจากนาปรัง มาปลูกอ้อย ข้าวโพด และพืชน้ำน้อย หลังได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

    ลุงพอ รุ่งเรือง บอกว่าการปลูกข้าวโพด ใช้น้ำน้อยดูแลง่าย ไม่ถึง4 เดือนก็ได้ผลิตนำไปขายสู่ท้องตลาด เช่นเดียวกับ กำนัน ธีรพงษ์ ที่ได้ใช้พื้นที่กว่า 40 ไร่ หันมาปลูกอ้อย เพราะนอกจากดูแลง่ายกว่าการปลูกข้าวแล้ว ลงทุนปลูก 1ครั้ง สามารถตัดอ้อยได้ถึง 3-5 ครั้ง ให้ผลกำไรทางผลิตอย่างเห็นได้ชัด แต่ต้องอาศัยการจุดเจาะน้ำบาดาล

    ด้วยพื้นที่บางระกำ เดิมทีมีโมเดล การขุดลอกคูคลอง ที่ถูกสร้างไว้เพื่อเร่งผันน้ำออกจากพื้นที่ ลงสู่จ.พิจิตร เพราะปกติจะเกิดน้ำท่วมขัง ปีหนึ่งถึง 4 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วงเดือน ก.ค ถึง พ.ย. แต่ในระยะ 3 ปีหลัง ขาดแคลนน้ำอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้าน จึงต้องอาศัยการขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อทำการเกษตร ทั้งหมด 11 ตำบล กว่า 3แสนไร่ ขุดเจาะไปแล้วกว่า 9 พันบ่อ แต่ปัจจุบันมีฝายกักเก็บน้ำเพียง1แห่ง ที่ไปหล่อเลี้ยงชีวิตเกษตรไม่ถึง 1 หมื่นไร่

    หาก มีโครงสร้างน้ำ ทำการเกษตร รูปแบบใหม่ ทั้งการทำคลองท่อทองแดง ที่รับน้ำมาจาก จังหวัดกำแพงเพชรและเขื่อนภูมิพล ให้มาอยู่ในระบบชลประทาน การสร้างประตูระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำ และการขุดเจาะท่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ จึงเป็นความหวังของเกษตรกรชาวบางระกำ ที่หวังว่าภาครัฐ จะมีการทำโครงสร้างใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

    http://www.nationtv.tv/main/content/social/378485910/

    pictureForBlogFlood.jpg

    pr8-002.jpg
     
  2. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    images?q=tbn:ANd9GcQllEnoh1FxyEGLTi5SFnWgIwjmvdFGYfbjgbdoAPEI0SLuikCt.jpg


    มีด้วยเหรอโครงการนี้ นู๋ฯปลูกเห็ดอยู่ค๋าาาาา?
     
  3. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  4. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
  5. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    โพยมายังไง อีปูก็อ่านยังงั้น
     
  6. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    บางระกำตามชื่อเลย
     
  7. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ตอนนี้ลุงตู่ใช้แผนใหม่ "บางระกำโมเดล 60" ดูมีแนวโน้มน่าจะประสบผลสำเร็จอยู่นะ



    อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นพื้นที่หนึ่งที่น้ำท่วมเกือบทุกปี หลังจากปี 2554 จึงมีความพยายามแก้ปัญหาโดยใช้บางระกำเป็นโมเดล และเวอร์ชั่นล่าสุด คือ บางระกำโมเดล 60 นี่จะเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ที่ชาวนาในพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 100%

    http://www.krobkruakao.com/economy/46768
     
    Last edited: 23 พ.ย. 2017
    อาวุโสโอเค, Gop, Alamos และอีก 1 คน ถูกใจ.
  8. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ไอเดียดีมากๆ ช่วงหน้าแล้งทำนา ช่วงหน้าฝนเป็นแก้มลิงรับน้ำเหนือ แต่สงสัยนิดนึงว่า ช่วงเมษาไปเอาน้ำมาจากไหน?

    ถ้าให้เดา ก็คงให้สิทธิที่บางระกำเป็นพิเศษ คือไม่ให้ที่อื่นทำนา แต่อนุญาตให้เฉพาะที่บางระกำ ส่วนพื้นที่อื่นๆห้ามเพาะปลูก ใช้อุปโภคบริโภคเท่าน้ัน
     
  9. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ตามในคลิปเหมือนว่าให้กรมชลฯ จัดหาน้ำมาให้ที่บางระกำตั้งแต่เดือนเมษายนเพื่อทำนา และเก็บเกี่ยวก่อนที่อื่นประมาณ 1 เดือน หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จก็ทำเป็นแก้มลิงครับ

    น้ำคงผันมาจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ที่อยู่ทางเหนือของ จ.พิษณุโลกครับ



    พิษณุโลก 13 ก.ค. - สำนักชลประทานที่ 3 เร่งแก้ปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำในลุ่มน้ำยม เพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เกษตรในโครงการบางระกำโมเดล ซึ่งข้าวออกรวงแล้ว และอีกไม่นานจะเก็บเกี่ยวได้

    ในแม่น้ำยมสายเก่า สะพานที่ใช้สัญจรข้ามฝั่งเป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำ เนื่องจากแม่น้ำกว้าง 100 เมตร แต่สะพานยาวเพียง 24 เมตร เกิดคอคอดบีบทางน้ำ

    น้ำระบายผ่านใต้สะพานระหัน ได้เพียง 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระยะเวลาก่อสร้างสะพาน 180 วัน จึงต้องมีแผนแก้ปัญหาเร่งด่วน โดยทำทางผันน้ำและนำสะพานแบลีย์มาใช้สัญจร ใต้สะพานทำช่องระบายน้ำเพิ่มได้อีก 265 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หากน้ำเหนือไหลมามาก นาในทุ่งบางระกำซึ่งยังไม่ได้เก็บเกี่ยวก็จะไม่ถูกน้ำท่วม

    เกษตรกรตำบลบ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก อุ่นใจขึ้น เมื่อรับทราบแนวทางแก้ไขสะพานระหัน ที่บีบทางน้ำ ซึ่งทำให้น้ำท่วมนาของพวกเขาทุกปี จากนี้ไปจะได้รับการแก้ปัญหาอย่างถาวร หากสะพานแล้วเสร็จ น้ำแม่น้ำยมสายเก่าจะระบายผ่านได้ 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

    แม่น้ำยมสายเก่าเป็นหนึ่งในลำน้ำหลักของลุ่มน้ำยมที่เลี้ยงพื้นที่เกษตรในบางระกำโมเดล พื้นที่ในโครงการบางระกำโมเดลประกอบด้วย อ.เมือง พรหมพิราม และบางระกำ พิษณุโลก รวมทั้งอำเภอกงไกรลาศ จ.สุโขทัย รวม 260,000 ไร่

    รมว.เกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้กรมชลประทานส่งน้ำเข้าสู่ทุ่งบางระกำให้เร็วขึ้น เพื่อให้ชาวนาปลูกข้าวตั้งแต่ 1 เมษายน และเก็บเกี่ยวให้หมดภายในวันที่ 15 สิงหาคม จากนั้นจะใช้ทุ่งบางระกำเป็นแก้มลิงรับน้ำเหนือ เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลหลากลงสู่ตอนล่าง หากปีนี้นาข้าวทุ่งบางระกำไม่ถูกน้ำท่วมเสียหาย และยังใช้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำช่วยพื้นที่อื่นให้ปลอดภัยด้วย นับว่าเป็นความสำเร็จตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งเป้าหมายไว้ และจะเป็นตัวอย่างเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ลุ่มต่ำอื่น ๆ ต่อไป. - สำนักข่าวไทย
     
    Last edited: 14 Jul 2017
    อาวุโสโอเค และ Gop ถูกใจ.
  10. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    ละกรรมโมเดิล อีกละรึ?????
     
  11. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    บางระกำโมเดล แก้แล้ง แก้น้ำท่วม
     
    Alamos likes this.
  12. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พิษณุโลก 22 ส.ค.-ทุ่งบางระกำ เป็นที่ลุ่มต่ำที่สุดในภาคกลางตอนบน ปีนี้ รมว.เกษตรฯ มีนโยบายให้กรมชลประทานส่งน้ำให้ทำนาก่อนฤดูทำนาปกติ 1 เดือน เพื่อจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนช่วงน้ำหลาก และต่อยอด โดยทำทุ่งบางระกำเป็นแก้มลิงรับน้ำ

    ข้าวที่ปลูกในโครงการชลประทานโมเดลเก็บเกี่ยวได้แล้ว เป็นครั้งแรกที่กรมชลประทานส่งน้ำให้พื้นที่ลุ่มน้ำยม ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมซำชาก ทำนาได้เร็วขึ้น จากปกติเกษตรกรจะปลูกข้าวช่วงเดือนพฤษาคม หรือล่าไปถึงมิถุนายน ข้าวที่ปลูกมีอายุ 4 เดือน กว่าจะเก็บเกี่ยวได้ก็ราวเดือนกันยายน ซึ่งน้ำเหนือจะมามากเพราะฝนชุก ขณะที่ลำน้ำยมเป็นลำน้ำเดียวของลำน้ำต้นเจ้าพระยา ซึ่งไม่มีพื้นที่เก็บกักน้ำ น้ำจึงบ่า 2 ฝากฝั่งลำน้ำยม แต่เกษตรกรก็เห็นว่าฝนที่ตกมาต่อเนื่องตั้งแต่ 2 สัปดาห์ก่อน ทำให้มีนาข้าวที่ออกรวงแล้วเสียหาย หากจะให้ปลอดภัย ต้องการให้ร่นการส่งน้ำมาตั้งแต่มีนาคม

    รัฐมนตรีว่าการกระทวงเกษตรและสหกรณ์ พึงพอใจความสำเร็จของบางระกำโมเดล ซึ่งปีนี้มีนาเสียหายบ้าง เนื่องจากฝนตกชุกช่วงข้าวออกรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำผลการดำเนินงาน และความต้องการของเกษตรกร มาปรับแผนโครงการบางระกำโมเดล ซึ่งต้องการให้เกษตรกรในท้องถิ่นรับทราบและเห็นพ้องต้องกัน ขณะนี้จากพื้นที่ 265,000 ไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 100,000 ไร่

    หลังเก็บเกี่ยวพื้นที่โครงการบางระกำโมเดลจะรับน้ำได้ 400 ลูกบาศก์เมตร เกษตรกรสามารถทำประมงระหว่างน้ำท่วมทุ่ง พอถึงฤดูกาลเพาะปลูกนาปีต่อไป น้ำจะแห้ง แต่ดินจะชุ่มฉ่ำ มีธาตุอาหารสูง ทำให้ข้าวเจริญงอกงามดี.-สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/view/599bc5bce3f8e4f73e7407b1
     
    อาวุโสโอเค และ Alamos ถูกใจ.
  13. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พิษณุโลก 22 พ.ย. - เกษตรกรในทุ่งบางระกำ ซึ่งปกตินาจะถูกน้ำท่วมเสียหาย ขาดทุนทุกปี แต่ปีนี้ ก.เกษตรฯ ทำโครงการ “บางระกำโมเดล” ประสบผลสำเร็จ ชาวนาได้ข้าวเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังจับปลาเป็นอาชีพเสริมตอนหน้าน้ำ

    ผลผลิตข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 จากทุ่งบางระกำ มีจำหน่ายทั้งในท้องที่และส่งออกไปภายนอก ชาวนาจับปลามาขายในช่วงน้ำหลากลงทุ่งหลังเกี่ยวข้าวแล้ว มีทั้งปลาสด ปลาแดดเดียว น้ำปลา และปลาร้า

    ปีนี้เป็นปีแรกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ปรับเปลี่ยนห้วงเวลาทำนาทุ่งบางระกำ ซึ่งประกอบด้วย อ.บางระกำ อ.พรหมพิราม บางส่วนของ อ.เมือง และ อ.ท่าโบสถ์ จ.พิษณุโลก รวมถึง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย จากเดิมเริ่มทำเมื่อเข้าฤดูฝน กลางเดือนพฤษภาคม แต่กรมชลประทานส่งน้ำให้ปลูกข้าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เกษตรกรเกี่ยวข้าวได้ไม่หมดภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม ทันก่อนน้ำหลาก เมื่อน้ำมา กรมประมงนำพันธุ์ปลามาปล่อย เกษตรกรจึงได้อาศัยจับปลา ทั้งกินและขาย มีรายได้ดีขึ้นกว่าปีก่อนๆ มาก

    ทุ่งบางระกำ ซึ่งมีพื้นที่ 265,000 ไร่ รับน้ำไว้ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร มา 3 เดือนแล้ว กรมชลประทานเริ่มระบายออกทั้งทางคูคลองและระบบชลประทาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารจัดการน้ำ ช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลสู่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างได้มาก

    โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน ระบายออกวันละ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร สู่แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ซึ่งจะเสร็จสิ้นต้นเดือนธันวาคม โดยคงเหลือน้ำไว้ในทุ่งสูงประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อใช้ทำนาปรังได้เลย ประหยัดน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งปกติต้องขอมาใช้ทุกปี แต่ปีนี้ยังคงเก็บน้ำในเขื่อนไว้ใช้ยามจำเป็นในหน้าแล้ง. – สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/view/5a14e2c5e3f8e40adb8e520e
     
  14. tonythebest

    tonythebest อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,730
    ดัน
     

Share This Page