เป็นคำขอตรงๆ ให้กับแผนเดินหน้าการปฏิรูป และวางยุทธศาสตร์ชาติที่ช่วงต้นจำเป็นต้องมีกลไกพิเศษผ่านรัฐธรรมนูญและกฎหมายสำคัญเพื่อให้การประคับประคองบ้านเมืองในระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด ด้านหนึ่งเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อวางกรอบกำหนดทิศทางบริหารประเทศ20 ปี 4 รัฐบาลต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการ 2 ชุดกำกับดูแลและควบคุมพร้อมบทลงโทษหนักๆสำหรับรัฐบาลรัฐสภาและหน่วยงานรัฐที่ไม่ปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ซึ่งแน่นอนว่าผู้รักษาการณ์ตามกฎหมายไม่พ้นคนในแม่น้ำ4 สาย อีกด้าน บรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านการเรียงร้อยถักทอเป็นโครงสร้างทางการเมืองแบบใหม่ผ่านระบบการเลือกตั้งสส.ที่มาสว. นายกรัฐมนตรีคนนอก การเพิ่มอำนาจองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงการคงอำนาจการใช้มาตรา44 อย่างต่อเนื่องไว้ในบทเฉพาะกาล ล่าสุดกับข้อเสนอของคณะรัฐมนตรี ที่ส่งตรงถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ให้จัดหากลไกและอำนาจพิเศษรองรับการบริหารงานในระยะเปลี่ยนผ่านโดยกำหนดช่วงเวลาเฉพาะกิจเพื่อจัดการเลือกตั้ง สส. และช่วงเวลาเฉพาะกาลเพื่อการบังคับใช้รัฐธรรมนูญจนกว่าทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่ง 2 ปรมาจารย์ด้านร่างรัฐธรรมนูญ อย่าง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และนายวิษณุเครืองาม คงไม่มีปัญหาในการหาช่องบัญญัติที่มาของกลไกพิเศษไว้ในร่างรัฐธรรมนูญที่ว่ากันว่าช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านกินเวลาอย่างน้อย 3-5 ปี ทั้งหมด ทำให้มีคำถามดังๆ กับคำว่า "ระยะเปลี่ยนผ่าน" เพราะถูกมองว่าคล้ายไปทับซ้อนกับคำว่า "ต่อท่ออำนาจ" และ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" จนหลายฝ่ายเริ่มเป็นกังวลใจว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางของปัญหาในอนาคตหรือไม่ นั่นจำเป็นที่รัฐบาลและ คสช.ต้องให้คำตอบ
21 ก.พ.59 12.00 กรธ.เตรียมหาข้อสรุป ข้อเสนอ ครม.เรื่องการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2 ช่วงเวลา ในสัปดาห์หน้า 21 ก.พ. – ขณะนี้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กำลังอยู่ระหว่างการทบทวนและปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ แล้ว และข้อเสนอที่ถูกเพ่งเล็งอย่างมากก็คือข้อเสนอข้อที่ 16 จากคณะรัฐมนตรีที่ให้แบ่งช่วงบังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็น 2 ช่วง. –สำนักข่าวไทย
พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอแนะปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ของ คณะรัฐมนตรี ที่ส่งไปยัง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ ว่า นายกรัฐมนตรี ยืนยันชัดเจนแล้วว่า จะเดินหน้าตามโรดแมปแต่สุดท้ายไม่ว่าจะออกมาอย่างไร ผู้ตัดสินใจ รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญคือประชาชน ส่วนกรณี ข้อเสนอของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้ คสช.เชิญกลุ่มการเมืองไปพูดคุยเรื่องรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดการยอมรับที่ตรงกันทุกฝ่าย พลเอกธนะศักดิ์ ขอให้ผู้ที่เห็นต่าง ส่งความเห็นไปตามช่องทางที่ถูกต้องซึ่งยังพร้อมเปิดรับฟังอยู่ พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์โจมตีร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ กำลังวางเงื่อนไขให้เกิดบันได 4 ขั้น คือ พรรคเพื่อไทยต้องไม่ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้ง แต่ถ้าได้เสียงข้างมาก และเป็นรัฐบาลจะเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอที่สุด แก้ปัญหาไม่ได้ หรืออาจต้องยอมสนับสนุนคนนอกพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี และการขับไล่ รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ไม่ต้องอาศัยการรัฐประหาร แต่ทำได้โดยศาลรัฐธรรมนูญ นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย เห็นว่า ข้อเสนอของคณะรัฐมนตรี ที่แบ่งระยะเวลาการบังคับใช้ร่างรัฐธรรมนูญ เป็น 2 ช่วง เพื่อให้มี อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ และอยู่ต่อไปอีก 20 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี โดยปล่อยให้ เลือกตั้งตามปกติ เมื่อความขัดแย้งกลับมาจากนั้นจะอาศัยช่องทางรัฐธรรมนูญกลับเข้ามาสู่อำนาจ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะรัฐมนตรี ที่แบ่งระยะเวลาการบังคับใช้ร่างรัฐธรรมนูญ เป็น 2 ช่วง เพราะได้ออกแบบให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจแก้ไขวิกฤติอยู่แล้ว ดังนั้นข้อเสนอนี้ของครม.จึงเท่ากับเป็นการสืบทอดอำนาจ และต้องการให้ล้มรัฐธรรมนูญอีกรอบนั่นเอง นายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น ขณะที่รัฐบาล และ คสช. ควรเปิดเวทีกลางถกแถลงร่างรัฐธรรมนูญอย่างเปิดกว้าง โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง สิทธิเสรีภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อดีข้อเสียก่อนตัดสินใจออกเสียงประชามติ สำหรับความคืบหน้าการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้จัดทำแล้วเสร็จไปแล้ว 5 หมวด ซึ่ง นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า การปรับเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เอาใจผู้ใด หรือตามข้อเสนอแนะของผู้ใดเป็นหลัก แต่ใช้หลักพิจารณาทุกความเห็น ส่วนจะนำข้อความใดมาปรับปรุงนั้น ต้องพิจารณาเนื้อหาที่อยู่บนหลักการที่ถูกต้อง พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงถึงโครงการ รด.จิตอาสา ที่หลายฝ่ายมีความกังวล โดยยืนยัน นักศึกษาวิชาทหารที่จะลงไปทำความเข้าใจกับประชาชนนั้น เป็นการลงไปให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อใกล้ช่วงลงประชามติ จะจัดอบรม ในโครงการพลเมืองดี ตามวิถีประชาธิปไตย สร้างความพร้อมให้ นักศึกษาเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่ประชาชนหน้าหน่วยลงประชามติ
ความคืบหน้าในการปรับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญล่าสุด ภายหลังได้รับความเห็นและข้อเสนอแนะจากฝ่ายต่างๆ ปรากฏว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ยอมถอย และปรับแก้ในหลายๆ ประเด็น นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษก กรธ. แถลงภายหลังการประชุม กรธ.วันนี้ว่า กรธ.ได้พิจารณาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิทธิชุมชน ที่หน่วยงานทางสังคม // ชุมชน // เอ็นจีโอ // และสื่อมวลชนเสนอมา // โดยได้ปรับแก้แล้วในหมวดสิทธิและเสรีภาพ มาตรา 41, 42, 43 และ 43/1 รวมทั้งในหมวดหน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 โดยข้อความตามร่างใหม่ที่ปรับแก้แล้ว ในหมวดสิทธิและเสรีภาพ สรุปได้ดังนี้ มาตรา 41 บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยเร็ว // มีสิทธิฟ้องหน่วยงานรัฐให้รับผิดจากการกระทำ หรือละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานรัฐนั้น // บุคคลหรือชุมชนมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรืองดเว้นการดำเนินการที่กระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบของประชาชน มาตรา 42 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น มาตรา43 บุคคลและชุมชนมีสิทธิอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ // ชุมชนมีสิทธิจัดให้มีระบบสวัสดิการชุมชน มาตรา43/1 บุคคลมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ หน่วยงานรัฐ ที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงหรือความลับทางราชการ และในหมวดหน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 การดำเนินการใดๆ ของรัฐ หรือที่รัฐอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย คุณภาพชีวิต ส่วนได้เสียสำคัญของประชาชนหรือชุมชน รัฐต้องดำเนินการศึกษาและประเมินผลรับฟังความคิดเห็นของประชาชน นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อเสนอของรัฐบาลที่ส่งไปให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะข้อเสนอที่ระบุว่าต้องการให้รัฐธรรมนูญบังคับใช้เป็น 2 ช่วง ว่า ที่ร่างทั้งหมด คือ รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 200 กว่ามาตรา โดยความหมายจุดนี้ คือ บทเฉพาะกาล เพราะถ้าต้องปฏิรูปในช่วงระยะเวลาแรกที่เปลี่ยนผ่าน ก็ควรต้องมีระยะเวลา จึงมียกเว้นในบทเฉพาะกาลเพื่อให้เกิดการปฏิรูป วันนี้เรามองระยะยาว 20 ปี แผนปฏิรูปครั้งละ 5 ปี แต่ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องของรัฐบาลหน้าที่ต้องดำเนินการ โดยหลังการเลือกตั้ง จะเป็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจะเป็นอย่างไรหลังการเลือกตั้ง ไม่ต้องมาสนใจ เพราะที่ผ่านมามีหน้าที่ให้บ้านเมืองสงบ เดินหน้าประชาธิปไตย อยากให้บ้านเมืองเป็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับประชาชน ทั้งนี้ จะต้องมีช่วงเปลี่ยนผ่านที่อยู่ในกรอบระยะเวลา 5 ปี ช่วงนี้อาจมีการยกเว้นกฎหมายบางส่วน เปิดโมเดล "ส.ส.-ส.ว." ช่วงเปลี่ยนผ่าน มีประเด็นเกี่ยวกับการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่วิพากษ์วิจารณ์กันข้ามสัปดาห์ คือประเด็นที่คณะรัฐมนตรีเสนอให้แก้ไขรวม 16 ข้อ โดยข้อสุดท้ายระบุว่า "ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ระดับหนึ่งอย่างมีดุลยภาพ" จนเกิดคำถามว่า "การเลือกตั้ง ส.ส.ระดับหนึ่ง" หมายถึงอะไร ล่าสุดมีความชัดเจนในเรื่องนี้มากขึ้นแล้ว เมื่อมีรายงานจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ว่า แนวคิดหนึ่งซึ่งเป็นที่มาของข้อเสนอนี้ คือ การกำหนดให้มี ส.ส.เพียงระบบเดียวในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง คือ ส.ส.ระบบแบ่งเขต และให้ ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา มาจากการสรรหาทั้งหมด และกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกของรัฐสภา คือ ให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกฯด้วย และเปิดให้นายกฯเป็น ส.ส. หรือ ส.ว.ก็ได้ สำหรับที่มาของ ส.ส.เขต ให้มาจากการเลือกตั้งเขตใหญ่ โดยอาจจะเป็นเขตละ 3 คน หรือใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือก ส.ส.ได้เพียงคนเดียว เหมือนกับการเลือกตั้ง ส.ว.ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังไม่ชัดว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.จะเห็นด้วยและดำเนินการตามข้อเสนอหรือไม่ ปชป.แนะ 3 ข้อควรหลีกเลี่ยงในร่าง รธน. อีกด้านหนึ่ง มีความเห็นจากพรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค แถลงว่า การที่พรรคออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ควรปรับแก้ในร่างรัฐธรรมนูญ นั้น ไม่ได้เพื่อประโยชน์ของพรรคหรือนักการเมือง แต่เพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคม ทั้งนี้ อยากสนับสนุน กรธ.ให้คงเนื้อหาที่สำคัญไว้ 5 ประการ ได้แก่ 1.สนับสนุนมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทุกรูปแบบ ซึ่งเขียนไว้อย่างเข้มข้นอยู่แล้ว 2.สนับสนุนการเข้มงวดกวดขันคุณสมบัติผู้ที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3.สนับสนุนการเพิ่มโทษกรณีบุคคลทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อให้มีกระบวนการคัดกรองผู้จะเข้าสู่อำนาจและผู้ใช้อำนาจรัฐ 4.สนับสนุนให้มีบทบัญญัติป้องกันผู้มีอำนาจในฝ่ายบริหารใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ และ 5.สนับสนุนให้คงบทบัญญัติเรื่องวินัยการเงินการคลังเอาไว้ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ส่วนประเด็นที่ กรธ.ควรหลีกเลี่ยง หากต้องการให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ เพราะจะนำไปสู่การไม่ยอมรับและคัดค้าน มีด้วยกัน 3 ประเด็น คือ 1.หลีกเลี่ยงการสร้างกลไกใดๆ ก็ตามที่ให้มีอำนาจเหนือรัฐบาลหลังเลือกตั้ง 2.การกำหนดให้มีองค์กรหรือบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้มีอำนาจแอบแฝงทั้งในโครงสร้างบริหารราชการแผ่นดิน และโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ 3.หลีกเลี่ยงการทำให้สังคมเห็นว่าส่อเจตนาสืบทอดอำนาจให้กับทั้งรัฐบาล และคสช. หรือผู้เกี่ยวข้องผ่านช่องทางต่างๆ ของการร่างรัฐธรรมนูญ นายกฯชี้แจงข้อเสนอครม.ต่อกรธน. ยืนยันไม่ได้ให้แบ่งใช้รธน.ออกเป็น2ช่วง วันนี้ (23ก.พ.59) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชี้แจงข้อเสนอของครม.ที่ส่งให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยเฉพาะข้อที่ 16 ว่า ไม่ใช่ให้แบ่งใช้รัฐธรรมนูญออกเป็น 2 ช่วง แต่หมายถึงในบทเฉพาะกาล ที่เห็นว่าในช่วงเปลี่ยนผ่าน ต้องมีการบัญญัติกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูปที่ง่ายต่อการปรับแก้สถานการณ์เอาไว้ นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า กรธ.จะเป็นผู้พิจารณารายละเอียดในเรื่องนี้ พร้อมยืนยันเจตนาของข้อเสนอดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัว อีกทั้ง ไม่ต้องการให้มาโทษตอนหลังว่า ดำเนินการไม่ได้ผล
มีจิตอาสาจัดทำคลิปใช้ชื่อว่า"รู้ก่อนด่า รธน.59" เผยแพร่ในยูทูป เพื่ออธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ขณะที่ประธาน กรธ.แนะให้ดูคลิปนี้ ระบุสั้น กระชับ เข้าใจง่าย เชื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงประชามติ คลิปดังกล่าวไม่ได้ระบุผู้ผลิต และ ผู้เผยแพร่ว่าเป็นบุคคลหรือหน่วยงานใด แต่เนื้อหาในคลิปได้อธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แบบเข้าใจได้ภายใน 3 นาที ในรูปแบบของกราฟฟิก การ์ตูน พร้อมคำอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายๆ โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กัน ทั้งในเรื่องของระบบการเลือกตั้ง ส.ส.การได้มาซึ่ง ส.ว. และ ศาลรัฐธรรมนูญ (ขอบคุณภาพจาก www.youtube.com) ซึ่งล่าสุดคลิปนี้ แจ้งเพียงว่าเป็นเรื่องของผู้ที่มีจิตอาสาจัดทำขึ้นมาเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน อย่างไรก็ตาม นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.ยอมรับว่าได้ดูคลิปดังกล่าวแล้วเช่นกัน และเห็นว่าเนื้อหาสั้น กระชับ เข้าใจง่ายดี น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงประชามติของประชาชน และ อยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันเผยแพร่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความคิดเห็นถึงความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ว่าอาจนำรัฐธรรมนูญปี 50 มาปรับปรุงบังคับใช้หาก ร่างรธน.ไม่ผ่านการทำประชามติ และมีการเขียนบทเฉพาะกาลเพิ่มขึ้นในเรื่องของอำนาจของ คสช. ในช่วงที่ผ่านมาด้วย สำหรับความเคลื่อนไหวทางการเมือง เมื่อวานนี้นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงถึงข้อเสนอแนะการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญของคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะประเด็นการแบ่งใช้รัฐธรรมนูญ เป็น 2 ระยะ นายกฯ แจงข้อเสนอแก้ไขร่าง รธน. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ข้อเสนอแนะข้อที่ 16 ที่มีการวิจารณ์ว่า เป็นการแบ่งใช้รัฐธรรมนูญออกเป็น 2 ช่วงเวลานั้น เป็นการใช้ถ้อยคำที่ผิดเพราะเจตนาที่แท้จริงแล้วในช่วงแรกที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านอาจเสนอให้ยกเว้นการบังคับใช้ในบางเรื่องเพื่อให้กระบวนการเปลี่ยนผ่าน สามารถเดินหน้าต่อไปได้ซึ่งคาดว่าจะเป็นระยะเวลาประมาณ5 ปี แต่หากทุกอย่างเป็นไปได้ ด้วยดีอาจลดระยะเวลาลงได้ เพื่อกลับไปสู่กลไกตามปกติ มีชัย ไม่เข้าใจข้อเสนอ ครม. ประเด็นนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ระบุ จะหารือกับรองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมายถึงสาระสำคัญตามข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีโดยเฉพาะในข้อเสนอที่16 ที่เกี่ยวกับการ แบ่งการบังคับใช้ร่างรัฐธรรมนูญ ออกเป็น 2 ช่วง และเปิดช่องให้ยกเว้นกลไกในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อดูแลสถานการณ์ว่า มีความหมายว่าอย่างไร นายกฯ ไม่กังวลคำเตือนสหรัฐฯ สำหรับคำเตือนของสหรัฐ ที่ให้ระวังการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ไอเอส ที่อาจโจมตีเป้าหมายสำคัญทางเศรษฐกิจของไทยพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีระบุว่าเป็นเพียงการแจ้งเตือนเท่านั้นซึ่งประเทศไทยมีแผนรองรับสถานการณ์โดยเฉพาะการดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่เสี่ยง ครม.ทุ่ม 9 หมื่นล้านแก้ปัญหาภัยแล้ง ขณะที่การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ที่ประชุม ได้รับทราบสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยที่ประชุมเห็นว่าสถานการณ์ยังอยู่ในระดับที่รัฐบาลสามารถ ประคับประคองได้แต่ทั้งนี้ต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งโดยเฉพาะกับผู้ประกอบการใหม่ เพื่อส่งเสริมรายได้ในทุกพื้นที่นอกจากนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 3 มาตรการ วงเงินรวมกว่า 9 หมื่นล้านบาท ช่วยเหลือสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถภาคการเกษตร ทั้งการอนุมัติวงเงินกู้ฉุกเฉิน6 พันล้านบาท โครงการ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอี ภาคการเกษตรวงเงิน72,000 ล้านบาท และโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตของเกษตรกร วงเงินไม่เกิน3 ล้านบาทต่อกลุ่ม วงเงิน 15,000 ล้านบาท นายกรัฐมนตรี ชี้แจงเพิ่มเติมถึงข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีข้อที่ 16 ว่าไม่ได้แบ่งการบังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็น 2 ช่วงเวลา เป็นเพียงระบุช่วงแรกอาจให้มีการยกเว้นบังคับใช้รัฐธรรมนูญในบางมาตราเพื่อปรับการบริหารราชการให้ระยะเปลี่ยนผ่านเดินหน้าไปได้เช่นจำเป็นต้องมีสว.หรือไม่ในช่วงนี้ส่วนกลไกพิเศษในระยะเปลี่ยนผ่านเป็นอย่างไรจะให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญหรือกรธ. พิจารณาต่อไป ด้าน นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.เตรียมหารือรัฐบาลถึงสาระสำคัญในข้อเสนอ16 ข้อโดยเฉพาะข้อที่ 16 เรื่องการแบ่งเป็น 2 ช่วง และการออกแบบกลไกพิเศษไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาว่ามีความหมายอย่างไรและจะมีแนวทางอย่างไรต่อไป
25 ก.พ. l ข่าว 09.00 น.ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยืนยัน ไม่มีแนวคิดที่จะตั้งองค์กรพิเศษใดๆ พร้อมระบุว่า คสช.จะไม่มีอำนาจเหนือรัฐบาลหลังมีการเลือกตั้ง ส่วนข้อเสนอรัฐบาลส่งความเห็นมายังอยู่ระหว่างการพิจารณา 25 ก.พ.| ข่าว 19.00 น. ประธาน กรธ. ย้ำว่า การพิจารณารับข้อเสนอของ ครม. ต้องไม่ทำให้สูญเสียหลักการเดิมของร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่กรรมการการเลือกตั้ง ยืนยันหลักเกณฑ์การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญสามารถรณรงค์รับและไม่รับได้ “มีชัย”ยันร่างรธน.ฉบับนี้เป็นประโยชน์ป้องกันทุจริต ช่วยทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงดีขึ้น วันนี้ (25ก.พ.59) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงการหารือเกี่ยวกับข้อเสนอในการปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ข้อที่ 16 ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) กับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เมื่อวานนี้ (24ก.พ.) ยืนยันว่า ข้อเสนอข้อที่ 16 ไม่ได้มีอำนาจหรือกลไกใดอยู่เหนือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วรัฐบาลชุดปัจจุบัน และคสช.จะต้องพ้นจากอำนาจไปทันที ส่วนข้อเสนอเรื่องการอยู่ต่อ 5 ปี เพื่อทำเรื่องการปฏิรูปให้แล้วเสร็จในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ถือเป็นความเข้าใจผิดเพียงแต่จะมีการระบุไว้ในบทเฉพาะกาลเพื่อให้การปฏิรูปเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลา นายมีชัย กล่าวในการเสวนาเรื่อง "การรับรู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อความผาสุกอันยั่งยืน" ให้กับข้าราชการ, นักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์, นักเรียนโรงเรียนบดินทรเดชา,และประชาชน ในพื้นที่ กว่า 800 คน โดยระบุตอนหนึ่งว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กรธ.ได้สร้างกลไกเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้ง โดยเฉพาะการทุจริต ที่จะทำให้ประเทศชาติล่มสลาย โดยเลือกที่จะกำหนดบทลงโทษให้รุนแรง ตัดสิทธิคนทุจริตห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมืองตลอดชีวิต เพราะที่ผ่านมาการตัดสิทธิ์เพียง 5 ปี ไม่สามารถเปลี่ยนนิสัยของคนได้ กรุงเทพฯ 25 ก.พ.-EXCLUSIVE TALK วันนี้ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พูดชัดว่าเมื่อ คสช.เข้ามาแก้ปัญหาบ้านเมือง การร่างรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องแก้ปัญหาไม่ให้เหตุการณ์ก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กลับมาอีก รวมถึงประเด็นที่ถูกกล่าวหาว่า คสช.มีความพยายามสืบทอดอำนาจต่อไปอีก 5 ปี ติดตาม EXCLUSIVE TALK ตอนที่ 2 คุยกับ รมว.ยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทย ในช่วง EXCLUSIVE TALK ระบุการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่เขียนในยามปกติ แม้ไม่มีคาดได้ว่าจะเกิดปัญหาอีกหรือไม่ แต่ส่วนตัวคิดว่าจำเป็น อยากให้พี่น้องประชาชนเข้าใจ ยืนยัน คสช.ก็จะต้องหมดไปตามรัฐธรรมนูญ และตนเองไม่สนใจเข้ามาเป็นนายกฯ คนนอก คิดว่าตนไม่มีความสามารถขนาดนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เก่งกว่า เหนื่อยทำงานและตั้งใจ ยังมีคนไม่เข้าใจ ตีรวน ทำไมไม่มาร่วมกันสร้างชาติ ย้ำ คสช.และตนเอง เดินเข้ามาแก้ปัญหา.-สำนักข่าวไทย
พูดได้ตรงดีว่า มีคนตั้งใจจะไม่เข้าใจ คอยปลุกปั่น คอยป่วน ----------------------------------------------------------------------- และตามความเห็นผม ตัวการที่สร้างปัญหานั่นแหละ ที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองคือตัวปัญหา พอเขาเขียนดักทางเอาใว้ ก็อ้างประชาธิปไตย อ้างเสรีภาพของประชาชนมาบังหน้า แท้จริงคนที่เดือดร้อนเพราะรธน.ฉบับใหม่ ก็คือพวกมันทั้งหลายนั่นแหละ ประชาชนไม่เกี่ยว ไม่เดือดร้อนอะไรด้วย
รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย เชิญกกต.เข้าหารือเพื่อเดินหน้าการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลัง กกต.ยกร่างพ.ร.บ.ประชามติเสร็จเรียบร้อย พร้อมเสนอ 3 แนวทางในการประกาศใช้ ทั้งนี้ นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.บอกว่าเบื้องต้นได้เสนอแนวทางในการประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว 3 แบบ คือ ออกเป็นคำสั่ง คสช. ออกเป็นพระราชกำหนด และ ออกพระราชบัญญัติ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับ ครม.จะเลือกทางใดที่สะดวก และรวดเร็วที่สุด สำหรับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่ กกต.ร่างเสร็จแล้วมี 16 มาตรา มีการกำหนดความผิด อาทิ ผู้ใดขัดขวางเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานออกเสียง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และถ้าขัดขวาง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ทำลายบัตรที่มีไว้การออกเสียง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท ผู้ที่ทำเครื่องหมายไว้ที่บัตรออกเสียง เพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นบัตรออกเสียงของตน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท แต่ถ้าก่อความวุ่นวายไม่ให้การออกเสียงเป็นไปด้วยความเรียบร้อยบังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคามผู้มีสิทธิออกเสียง ไม่ให้ไปออกเสียง มีโทษหนักจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ผู้ใดเผยแพร่ ข้อความ ภาพ เสียงในสื่อที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงมีลักษณะก้าวร้าว ปลุกระดมฯ เพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้กระทำผิดต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการออกเสียงประชามติใหม่ และถ้าความผิดนั้นพิสูจน์ได้ว่าพรรคการเมืองรู้เห็นเกี่ยวข้อง มีสิทธินำไปสู่การถูกยุบพรรคได้อีกด้วย ซึ่งล่าสุด 11.30 น.นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)มาหารือ ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อสอบถามความชัดเจน และ แนวทางที่จะเดินหน้าต่อในส่วนของ พ.ร.บ.ประชามติ รวมถึง เรื่องที่จะต้องแจกจายร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนให้ได้ครบ 80 เปอร์เซ็นต์ จะทำอย่างไรด้วย รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย วิษณุ เครืองาม ยืนยันว่า คณะรัฐมนตรีไม่ได้เสนอให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดตั้งกลไกพิเศษ หรือองค์กรที่มีอำนาจเช่น คปป. ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเพียงเรื่องกระบวนการ สำหรับการเปลี่ยนผ่านประเทศเท่านั้น ขณะที่แกนนำพรรคเพื่อไทย ภูมิธรรม เวชชยชัย เรียกร้องให้รองนายกฯ ผลักดันกระบวนการเลือกตั้งให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว มากกว่าหาข้ออ้างเพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง 27 ก.พ.|ข่าว 19.00 น. แม้จะได้หารือกันระหว่างนายมีชัย ฤชุพันธุ์ กับนายวิษณุ เครืองาม แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่า ข้อเสนอข้อที่ 16 ของคณะรัฐมนตรี หมายถึงบุคคล คณะบุคคล หรือองค์กรไหนลักษณะไหนที่จะบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ย้ำรัฐบาลมีโรดแมปชัดเจน ยืนยันข้อเสนอของรัฐบาลต่อกรรมการร่าง รธน.ให้มีข้อกำหนดในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ไม่ได้ต้องการให้นายกรัฐมนตรี และ คสช.อยูต่ออีก 5 ปี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังเห็นว่ากรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะไปบรรยายบทบาทของไทยในเวทีโลก ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สามารถทำได้แต่ต้องพูดในเรื่องที่เป็นประโยชน์กับประเทศ และ เป็นข้อมูลจริง ไม่ควรพูดอะไรที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ควรทำให้ประเทศเดินหน้า ทั้งนี้ มั่นใจว่านายทักษิณ รักประเทศไทยเพราะเป็นคนไทย ด้านพลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันรัฐบาลไม่เคยหวั่นไหว กรณีกลุ่มการเมืองออกมาโจมตีการร่างรัฐธรรมนูญ ย้ำรัฐบาลยังคงตั้งใจจริง มุ่งมั่นเดินหน้าทำงาน ดูแลความสงบสุขในสังคม และวางรากฐานให้ประเทศไทย ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน เพื่อประชาชน คณะรัฐมนตรี ส่งกฎหมายประชามติ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจตรวจสอบแล้ว ก่อนส่งให้ สนช.พิจาณาต่อไป โดยทั้งหมดมี 16 มาตรา เน้นการควบคุม กรณีวิพากษณ์วิจาณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ปลุกระดม ข่มขู้ ให้เกิดความวุ่นวายในการทำประชามติ มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า คณะรัฐมนตรีได้ส่งร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจความเรียบร้อยก่อนส่งให้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยร่าง พ.ร.บ.ดังนี้มีเนื้อหาควบคุมการวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญอย่างเข้มข้น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีทั้งสิ้น 16 มาตรา โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่มาตรา 12 ว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างการออกเสียงประชามติ บัญญัติว่า ผู้ใดดำเนินการเผยแพร่ ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม ข่มขู่ หรือลักษณะอื่นใด โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียง ไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ชาติชาย ณ เชียงใหม่ บอกว่า การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ทุกคนมีสิทธิสามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย คนที่พยายามรณรงค์ให้คนออกมาลงประชามติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญควรจะตอบให้ได้ว่าหากประชาชนออกมาลงคะแนนอย่างนั้นแล้วจะได้อะไร คุณชาติชาย บอกว่า ต่อต้านกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้หนักใจ ตอนนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ยังไม่ออกมาชัดเจน แต่บางคนก็ตั้งป้อมวิจารณ์แล้ว ดังนั้นควรรอดูร่างสุดท้ายก่อนแล้วค่อยวิจารณ์ ซึ่งมีบางกลุ่มออกมารณรงค์ให้โหวตโน คิดว่านี่คือการไม่เป็นประชาธิปไตย หรือเป็นเผด็จมากกว่า
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้เสนอแนวคิดการให้ สว.สรรหา สามารถร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ยืนยันว่า ข้อเสนอที่เสนอไปต้องการให้ ส.ว.สรรหาร่วมผลักดันการปฏิรูปประเทศ เพราะถ้าไม่มีส่วนนี้อาจจะทำให้การปฏิรูปประเทศไม่เป็นไปตามแผน รวมทั้งให้ ส.ว.สรรหา ทำหน้าที่ปกติของตัวเองในวุฒิสภา ส่วนการที่จะมีบุคคลใน คสช.ได้รับสรรหาเป็น ส.ว.หรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่าต้องช่วยกันทำหน้าที่เพื่อไม่ให้ถูกวิจารณ์ได้ว่าที่ผ่านมาทำ เสียของ พล.อ.ประวิตร ยืนยันว่า ยังไม่ได้หารือกับทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ถึงข้อเสนอของตัวเอง ร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวถึงสนช.แล้ว ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น ขณะนี้ รัฐบาลได้ส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรียบร้อยแล้ว หลังจากผ่านที่ประชุมร่วม คสช.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (1 มี.ค.) ส่วนข้อเสนอ พล.อ.ประวิตร ที่ให้ ส.ว.สรรหาดูเรื่องการปฏิรูปประเทศ นั้น ไม่ขอแสดงความเห็น โดยข้อเสนอเกี่ยวกับ ส.ว.ต้องรอความชัดเจนจาก กรธ.ก่อน และการที่นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นสนับสนุนแนวคิด พล.อ.ประวัตร นั้น นายกฯ ระบุว่า เป็นการแสดงความเห็นในฐานะคนไทยคนหนึ่ง “อภิสิทธิ์” เตือน คสช. นั่ง สว.สรรหา ตามข้อเสนอ กรธ.-ประวิตร สร้างจุดชนวนขัดแย้งให้เกิดขึ้น จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลได้เสนอให้มี ส.ว. สรรหา 200 คน ในระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี นั้น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ องอาจ คล้ามไพบูลย์ ออกมาแสดงความเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ย้อนยุคมากเกินไป แม้จะใช้คำว่าสรรหา แต่ดูในทางปฏิบัติแล้วหนีไม่พ้นการแต่งตั้งที่คสช. และรัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ทางตรงก็ทางอ้อมซึ่งชาวบ้านเรียกว่าการ ลากตั้ง “ในทางปฏิบัติคสช. - รัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ทางตรงก็ทางอ้อมซึ่งชาวบ้านเรียกว่าการลากตั้ง” และถ้าการแต่งตั้งมีคนจากคสช. เข้ามา ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็จะหนีไม่พ้นที่จะถูกครหา นินทา อยู่ดี แม้ว่าคสชและรัฐบาล จะมีเจตนาดีต่อบ้านเมือง อยากให้มีส.ว. มาช่วยสานงานต่อด้านปฏิรูป แต่คนในสังคมอาจจะคิดว่าทำไมต้องแต่งตั้งเฉพาะคนจากคสช. และรัฐบาลเท่านั้นจึงจะทำการปฏิรูประยะเปลี่ยนผ่านได้ แต่ถ้าต้องเลือกระหว่าง ส.ว. สรรหา หรือ ส.ว. แต่งตั้ง กับรูปแบบการได้มาซึ่ง ส.ว. ตามร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ควรนำรูปแบบตามร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกมาปรัปแก้ไข ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น น่าจะเกิดประโยน์มากกว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พรเพชร วิชิตชลชัย นัดประชุมสนช.ในวันที่ 10 มี.ค.เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติม ที่คณะรัฐมนตรี และ คสช. เป็นผู้เสนอ โดยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีจำนวน 4 มาตรา โดยเน้น 5 ประเด็นหลัก คือ 1.เมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้แจ้งครม.และสนช.ทราบ และให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ พร้อมกับให้คณะกรธ.จัดทำคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ และส่งให้กกต.ภายใน 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่แจ้งครม. 2.คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิลงประชามติต้องใกล้เคียง กับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้าย ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับอายุ ให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันออกเสียงประชามติเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 3.การจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ต้องกระทำในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ในการนี้ สนช.จะมีมติเสนอประเด็นอื่นใด ไม่เกินหนึ่งประเด็นที่สมควรให้ กกต.จัดให้มีการออกเสียงประชามติเพิ่มเติมว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบพร้อมไปในคราวเดียวกันด้วยก็ได้ แต่ต้องเสนอภายใน 15 วัน 4.ให้กกต.ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติ ซึ่งต้องไม่เร็วกว่า 90 วันแต่ไม่ช้ากว่า 120 วันนับแต่วันถัดจากวันที่คณะกรธ.ส่งคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญให้กกต. 5.ในการออกเสียงประชามติ ถ้าคะแนนเสียงข้างมากของผู้ออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผลการออกเสียงประชามติ และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ให้คณะกรธ.ดำเนินการปรับปรุงคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์และสอดคล้องกับผลการลงประชามติ
กรธ.ปรับลดอำนาจศาลรธน.ให้เรียกประชุมร่วมกัน กรณีไม่มีบทบัญญัติใดรองรับ เพื่อแก้การผูกขาดอำนาจ วันนี้ (8มี.ค.59) นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาปรับแก้ในหมวดศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ได้ปรับเนื้อหาสำคัญตั้งแต่อำนาจการวินิจฉัย กรณีที่ไม่มีบัญญัติไว้ให้เป็นไปตามประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากเดิมที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว ได้ปรับให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเรียก ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระ เข้าหารือและวินิจฉัยร่วมกัน นายอุดม กล่าวว่า ยังได้ปรับแก้ในส่วนองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคดีจากเดิมให้องค์คณะไม่น้อยกว่า 5 คน ปรับเป็นอย่างน้อย 7 คน เพื่อความรอบคอบในการพิจารณาคดี ส่วนการออกเสียงชี้ขาดยังใช้เสียงข้างมากเช่นเดิม สำหรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น นายอุดม กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นควรกำหนดให้อำนาจศาลฎีกา เข้ามามีส่วนพิจารณาถ้อยคำดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับคดีซึ่งมีกฎหมายบังคับไว้ชัดเจน หรือเป็นกรณีเข้าข่ายผิดมาตรฐานจริยธรรม ส่วนกรณีอื่นๆ เช่น อยู่ระหว่างการระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งชั่วคราว หรือเคยรับโทษจำคุก แต่พ้นโทษมาไม่ถึง 10 ปี ให้เป็นการพิจาณาของศาลรัฐธรรมนูญ นาย อุดม กล่าวย้ำว่า การปรับบทบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากถูกครหาว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมากเกินไป จึงได้ปรับอำนาจบางอย่างไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นศาลฏีกา สำหรับประเด็นที่มาสว.ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ยังคงยึดหลักการเดิม ทั้งนี้ ต้องรอรวบรวมทุกความเห็นมาประกอบการพิจารณาด้วยเหตุผลอีกครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมแม่น้ำ 4 สายเมื่อวานนี้ (8 มี.ค.) ประกอบด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สทป.) ในขณะที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมเมื่อวานเพื่อหารือความคืบหน้าในขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามของประชาชน รวมไปถึงการแก้ไขรัฐมนูญชั่วคราว เรื่องการจัดทำประชามติ พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า ที่ประชุมเมื่อวานมีการพูดคุยกันถึงประเด็น ส.ว.สรรหา ว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ยังไม่ได้ลงในรายละเอียด ซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับการมี ส.ว.สรรหา ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านประเทศ แต่ไม่เห็นด้วยในการให้ ส.ว.มีหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ส่วนเหตุผลที่ทาง กรธ.ไม่ได้เข้าร่วมประชุมเมื่อวานนี้นายกกล่าวว่า กรธ.มีภารกิจอยู่แล้ว จึงไม่ได้เชิญมา แต่ที่ประชุมเมื่อวานมีการนำปัญหาการทำงานของ กรธ.เข้ามาหารือด้วย กรธ.ย้ำ"สภาสูง"ต้องยึดโยงประชาชน ภายหลัง พลเอกประยุทธ์ ส่งสัญญาณว่า ไม่ได้ต้องการให้ ส.ว.ช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองมีอำนาจถึงขนาดเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ทำให้ประเด็นนี้ผ่อนคลายไประดับหนึ่ง โดยล่าสุดคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.ได้ย้ำจุดยืนว่าวุฒิสภาต้องมีจุดยึดโยงกับประชาชน ซึ่งนั่นหมายความว่าไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการสรรหาทั้งหมด นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. กล่าวว่า ขณะนี้กรธ.ยังคงหลักการในจุดเดิมของร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น คือ ส.ว.มาจากการเลือกกันเองของประชาชน 20 กลุ่มอาชีพ ยังไม่ได้พิจารณาข้อเสนอแนะของบางฝ่าย โดยเฉพาะสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ให้ ส.ว.มาจากการสรรหาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ทั้งหมด โดยท่าทีของ กรธ ขณะนี้คือรับทราบข้อเสนอ และจะนำมาพิจารณาอีกครั้งในที่ประชุม นายอุดม กล่าวอีกว่า แนวทางการได้มาซึ่ง ส.ว.ที่ กรธ.เสนอในร่างรัฐธรรมนูญฉบับเบื้องต้น เป็นการเลือกไขว้จาก 20 กลุ่มอาชีพ มีวัตถุประสงค์ให้ปลอดจากอิทธิพลการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม และมีจุดยึดโยงกับประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง นายอุดม ยังแถลงผลการประชุมปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราของ กรธ.ในวันนี้ว่า ได้ปรับแก้ไขในประเด็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ จากเดิมที่ให้มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องใดก็ตามที่ไม่มีบทบัญญัติในร่างรัฐ ธรรมนูญเขียนเอาไว้ จนถูกมองว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจล้นฟ้า ล่าสุด กรธ.ได้ปรับแก้ให้อำนาจวินิจฉัยมาจากการประชุมร่วมกันระหว่างประธานสภาผู้ แทนราษฎร // ประธานวุฒิสภา // นายกรัฐมนตรี // ประธานศาลฎีกา // ประธานศาลปกครองสูงสุด // ประธานศาลรัฐธรรมนูญ // และประธานองค์กรอิสระ แทนที่จะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเพียงองค์กรเดียว คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ยอมปรับแก้เนื้อหาสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญฉบับเบื้องต้นที่มีการวิพากษ์ วิจารณ์กันมาตลอด นั่นก็คืออำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในภารกิจผ่าทางตันการเมือง นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. แถลงหลังการประชุมปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราว่า หลังจากพิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ แล้ว กรธ.ปรับแก้ไขในประเด็นอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ โดยลดบทบาทอำนาจหน้าที่ของศาลศาลรัฐธรรมนูญลงจำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.อำนาจวินิจฉัยในกรณีรัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติบังคับกับเรื่องใดไว้ เดิมให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญองค์กรเดียวในการวินิจฉัย เพื่อแก้ปัญหาเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ร่างที่ กรธ.ปรับแก้ใหม่ ให้อำนาจการวินิจฉัยมาจากการประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎร // ประธานวุฒิสภา // นายกรัฐมนตรี // ประธานศาลฎีกา // ประธานศาลปกครองสูงสุด // ประธานศาลรัฐธรรมนูญ // และประธานองค์กรอิสระ 2.อำนาจในการวินิจฉัย กรณีมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เดิมให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบ และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ล่าสุดปรับแก้ใหม่ให้เป็นอำนาจวินิจฉัยของศาลฎีกา นอกจากนั้น กรธ.ยังปรับแก้วาระการดำรงตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จากเดิมกำหนดไว้ 9 ปี เหลือเพียง 7 ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว รัฐสภา 10 มี.ค. – การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้ พิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในประเด็นการออกเสียงประชามติให้เกิดความชัดเจน โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในครั้งนี้จะทำให้การออกเสียงประชามติเป็นไป ด้วยความราบรื่น. – สำนักข่าวไทย กทม. 10 มี.ค. – สาระสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว รวม 4 มาตรา จาก 5 ประเด็นที่ ครม. และ คสช. มีมติร่วมกันเพื่อรองรับการออกเสียงประชามติ หลังกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ให้แจ้งคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยให้ กรธ.จัดทำคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนเข้าใจ โดยส่งให้ กรธ.ภายใน 15 วัน ถัดจากวันที่แจ้ง ครม. จากนั้น กกต.มีหน้าที่จัดการออกเสียงประชามติ และจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ และคำอธิบายเพื่อเผยแพร่ด้วยวิธีการใดๆ ให้ประชาชนทราบโดยสะดวกและเป็นการทั่วไป โดยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิลงประชามติในส่วนที่เกี่ยวกับอายุ ให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันออกเสียงประชามติ เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ การให้ออกเสียงประชามติว่าให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร โดย สนช.จะมีมติเสนอประเด็นอื่นเพื่อให้ทำประชามติไปด้วยไม่เกิน 1 ประเด็น แต่ต้องเสนอภายใน 15 วัน ถัดจากที่ได้รับแจ้งจาก กรธ. สำหรับกำหนดวันออกเสียงประชามติ ต้องไม่เร็วกว่า 90 วัน แต่ไม่ช้ากว่า 120 วัน ถัดจากวันที่ กรธ.ส่งคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญให้ กกต. และการออกเสียงประชามติ ถ้าเสียงข้างมากของผู้ออกเสียงเห็นชอบ ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 30 วันนับแต่วันประกาศผล และก่อนนายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ให้ กรธ.ปรับปรุงคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ และสอดคล้องกับผลการลงประชามติ. – สำนักข่าวไทย
เมื่อวานนี้ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. มีมติผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว พุทธศักราช 2557 เพื่อปลดล็อกการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แบบ 3 วาระรวด การประชุม สนช.มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีวาระพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกเสียง ประชามติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรณ รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมทั้ง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมกับ สนช. ทั้งนี้ ประเด็นการแก้ไขมีมาตราเดียว คือ มาตรา 39/1 แต่มี 5 ประเด็น ซึ่ง สนช.เห็นชอบด้วยในวาระแรกตามที่เสนอ ได้แก่ 1.หลักเกณฑ์เรื่องการผ่านประชามติ ให้ใช้คะแนนเสียงข้างมากของผู้ออกมาใช้สิทธิประชามติที่ออกเสียงให้ความเห็นชอบ 2.การกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามผู้มาใช้สิทธิลงประชามติ ต้องไม่มีคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามกฎเกณฑ์การเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุด ท้ายเมื่อต้นปี 2557 และกำหนดให้ผู้ที่มีอายุอย่างน้อย 18 ปีในวันลงประชามติ เป็นผู้มีสิทธิลงประชามติ 3.การแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องใช้หลักเกณฑ์การแจกร่างรัฐธรรมนูญให้ได้ร้อยละ 80 ของครัวเรือที่มีสิทธิออกเสียงประชามติ แต่เปิดโอกาสให้เผยแพร่รัฐธรรมนูญโดยวิธีอื่นได้ตามที่คณะกรรมการการเลือก ตั้ง หรือ กกต.กำหนด 4.การกำหนดให้ สนช.ตั้งประเด็นคำถามเพิ่มเติมในการทำประชามติ นอกเหนือจากเรื่องร่างรัฐธรรมนูญได้ 5.การให้ กกต.ออกกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และการออกเสียงประชามติ จากนั้น นายวิษณุ ได้เสนอประเด็นที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใน วาระ 2 เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้นอีก โดยถือเป็นข้อเสนอของคณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แก่ - เรื่องการตั้งคำถามทำประชามติเพิ่มเติมของ สนช. จากเดิมที่ให้ สนช.เป็นผู้เสนอคำถามเพียงฝ่ายเดียว แก้ไขเป็นให้ สนช.รับฟังความคิดเห็นจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ประกอบการพิจารณาตั้งคำถามภายในเวลา 10 วัน - เรื่องเกณฑ์การชี้ขาดการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเป็น "ถ้าผลการออกเสียงประชามติมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญมากกว่า คะแนนเสียงไม่เห็นชอบ ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 30 วัน" ในที่สุดที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ในวาระ 3 ด้วยคะแนน 192 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง โดยใช้เวลาพิจารณาทั้งหมด 6 ชั่วโมง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.บอกว่า รัฐบาล และ สนช.เตรียมออกกฎหมายเพื่อให้การลงประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นธรรม และสะท้อนความต้องการของประชาชน ดังนั้นหากมีการกระทำเพื่อล้ม หรือบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ ถือว่าทำผิดกฎหมาย ซึ่งบทลงโทษอยู่ที่พฤติกรรมและการกระทำผิด โดยสูงสุดจำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ประธาน สนช.ยังเห็นด้วยกับแนวคิดของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ให้มี สว.แต่งตั้ง 5 ปีเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ควรมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ อย่างไรก็ตามต้องมีวิธีการสรรหาที่ดี เพื่อลดข้อครหาของสังคมให้มากที่สุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งข้อเสนอประกอบการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นความเห็นร่วมของแม่น้ำ 4 สาย มายัง กรธ.แล้ว ด้านนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยอมรับเป็นข้อเสนอที่มีน้ำหนัก เตรียมนำเข้าที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ประชามติ เตรียมส่งให้สนช.พิจารณาตามกระบวนการ วันนี้ (15มี.ค.59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ประชามติตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต.) เสนอ โดยที่ประชุมไม่มีการให้ความเห็นเรื่องบทลงโทษ จากนี้ไปจะต้องส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ( สนช.) พิจารณาส่วนจะปรับแก้ไขหรือไม่ยังไม่ทราบตามกระบวนการ
กรธ.เปิดข้อเสนอคสช.ปรับแก้ร่างรธน. ให้มีสว.สรรหา250คน ผบ.เหล่าทัพเป็นสว.โดยตำแหน่ง วันนี้ (15มี.ค.59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้เผยแพร่ข้อเสนอของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถึงข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงบทเฉพาะกาลในร่าง รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมดจำนวน 6 หน้ากระดาษ โดยมี 3 ประเด็นหลักที่เสนอให้ทบทวน ประกอบด้วย ที่มาสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้มาจากการคัดสรร หรือการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 250 คน เพื่อเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับส.ส.ที่มีจำนวน 500 คน โดยมีวาระ 5 ปี และให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม (กห.) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นสว.โดยตำแหน่ง ส่วนการ เลือกตั้งส.ส.ในระยะเริ่มแรก เห็นควรให้ทบทวนเรื่องการใช้บัตรใบเดียว มาเป็นการใช้บัตร 2 ใบ ตามที่มีผู้เสนอรวมทั้งการใช้สิทธิลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียง ก็ให้มีการทบทวนเช่นกัน ส่วนบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี ในระยะเริ่มแรกก็เห็นสมควรให้ทบทวน ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. กล่าวชี้แจงข้อเสนอดังกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ทำเพื่อให้บ้านเมืองสงบ และไม่มีความขัดแย้งกับกรธ. แต่หากกรธ.ยังไม่พิจารณาตามที่เสนอไปคสช.ก็จะเขียนข้อเสนอส่งไปอีก สำหรับร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ มีเนื้อหาสำคัญ อยู่ที่การจำคุกผู้ปั่นป่วนประชามติถึง 10 ปีกกต.ชงกฏหมายประชามติ ใครป่วนโคนคุก 10 ปี มีรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีทั้งหมด 65 มาตรา แบ่งเป็น 3หมวด ประกอบด้วย หมวดเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและขั้นตอนการออกเสียง หมวดหลักเกณฑ์ และวิธีการออกเสียง และหมวดกำหนดโทษ ร่างกฏหมายฉบับนี้กำหนดว่า บัตรลงคะแนนจะใช้บัตรเพียงแค่ 1 ใบ และจะไม่มีช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเหมือนกับบัตรเลือกตั้งทั่วไป โดย กกต.จะไม่นับคะแนนบัตรเสีย และสามารถประกาศผลประชามติได้ทันที เมื่อนับถึง 95 เปอร์เซ็นต์ กกต.ยังต้องกำหนดวันออกเสียงประชามติภายใน 90 ถึง 120 วันนับตั้งแต่วันที่ กกต.ได้รับร่างรัฐธรรมนูญมาจาก กรธ.โดยรัฐบาลเห็นว่าควรกำหนดให้วันที่ 7สิงหาคม เป็นวันออกเสียงประชามติ ไม่ใช่วันที่ 31 ก.ค. อย่างที่ กกต.เสนอไป นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ กกต.ต้องจัดเวทีแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ และเท่าเทียมกันของทุกฝ่ายในเรื่องที่ทำประชามติ แต่ก็ได้กำหนดบทลงโทษชัดเจนว่า หากผู้ใดเผยแพร่ ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อทุกประเภทหรือในช่องทางอื่นที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง และ ก่อความวุ่นวายต่อการทำประชามติ จะต้องโทษจำคุกต่ำสุดตั้งแต่ไม่เกิน 3 เดือน ถึงสูงสุด 10 ปี รวมทั้ง ปรับเงินตั้งแต่ไม่เกินหกพันบาทถึงสองแสนบาท และในกรณีที่ผู้ใดทำให้ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติใหม่ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการออกเสียงประชามติในคราวถัดไป
ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ผมไม่กังวลกับร่าง รธน.ใหม่ฉบับนี้เลย เพราะเชื่อว่า จะทำให้การทุจริต คอร์รับชั่นลดลงไปมาก และทำให้ประเทศชาติเจริญขึ้น ไม่กลัวในเรื่องการสืบทอดอำนาจ เชื่อในเจตนาที่ดีของ คสช. อยากฝากคำถามกลับไปยังนักการเมืองว่า ทำไมไม่รอให้ลงประชามติล่ะ เพราะเราทุกคนล้วนมีสิทธิ เสียงคนละ 1 เสียงเท่ากัน พวกคุณไม่ควรมาตัดสินใจแทนประชาชน
เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงประชาชนจริงๆ ตามที่เขาพร่ำพูด เขานึกถึงประชาชนจริงจัง เฉพาะตอนเลือกตั้งเท่านั้น ไม่งั้นประชาชนประเทศเราคงมีความสุขจนประเทศอื่นๆอิจฉาไปนานแล้ว เพราะในความคิดผม ประเทศไทยตั้งอยู่ในทำเลที่สมบูรณ์แบบ ติดอันดับต้นๆของโลก (อิ....อิ.....ถ้าไม่กลัวถูกหาว่าเวอร์ ผมว่าติดอันดับหนึ่งแน่นอน)
เอ้า....เชิญครับ ใครจะร่วมด้วยช่วยกันกะคน คนนี้ ------------------------------------------------------------------------------------------- เพื่อแม้วเรียกร้องทุกสีเสื้อลืมอดีต ร่วมต้านรธน.ฉบับใบสั่ง Wednesday, March 16, 2016 - 12:01 คนของพรรคเพื่อไทยจวกข้อเสนอคสช.แก้ร่างรธน. ล็อกสเปกนายกฯคนนอกแต่หน้าตาคุ้นๆ ชี้เกมนี้หวังลากยาวอีก8ปี ตั้งฉายา"รธน.ฉบับใบสั่ง"เรียกร้องทุกสีเสื้อลืมอดีต ร่วมกันแสดงพลังต่อต้าน วันนี้(16 มี.ค.)นายวัฒนา เมืองสุข อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เห็นหน้าตาของร่างรัฐธรรมนูญที่จะออกมาตามข้อเสนอคสช แล้วเดาได้ไม่ยากว่า ผู้มีอำนาจบางคนคงไม่อยากให้บางพรรคได้เป็นรัฐบาล หรือบางคนอาจอยากกลับมามีอำนาจอีกโดยไม่ต้องลงเลือกตั้ง จึงได้กำหนดสูตรเลือกตั้งที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักการในระบอบประชาธิปไตย http://www.thaipost.net/?q=เพื่อแม้วเรียกร้องทุกสีเสื้อลืมอดีต-ร่วมต้านรธนฉบับใบสั่ง
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อวานนี้ ถูกจับตาอยู่ที่ข้อเสนอเพื่อขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ของ คสช. ซึ่งมีประเด็นซึ่งเป็นที่จับตาของหลายฝ่าย โดยเฉพาะที่มาของสว.ในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยข้อเสนอดังกล่าว มี 6 หน้า 3 ประเด็นหลัก โดยประเด็นแรก คือการกำหนดที่มาของสว.ในช่วงเปลี่ยนผ่านคือให้มี สว.แต่งตั้ง 250 คน วาระ 5 ปี เปิดทางให้ผู้นำเหล่าทัพเข้าเป็น สว.โดยตำแหน่ง มีอำนาจหน้าที่ขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศพร้อมเพิ่มอำนาจตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจส่วนระบบการเลือกตั้งให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง2 ใบ พร้อมให้เลือก สส.แบ่งเขตเป็นแบบพวงใหญ่เขตละไม่เกิน3 คน พร้อมให้ทบทวนการให้พรรคการเมืองเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี 3 คน ทั้งนี้ คสช. ยืนยันไม่มีการสืบทอดอำนาจ และพร้อมยุติการทำหน้าที่ตามโรดแมป พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันข้อเสนอของ คสช. ไม่ได้เป็นการกดดันคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะเสนอไปจนกว่า กรธ.จะเห็นคล้อยตาม เพราะ คสช.ต้องการกลไกที่ให้เกิดความมั่นใจว่าจะเกิดความสงบในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน และถ้าข้อเสนอนี้ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ก็พร้อมที่จะยกร่างฉบับใหม่อีกครั้ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ระบุไม่หนักใจ หรือถูกกดดันพร้อมเห็นว่าข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีมีเหตุผลสูงมากดังนั้นจะนำข้อเสนอของคสช. นี้เข้าหารือในที่ประชุมซึ่งเชื่อว่าจะโน้มน้าวให้คณะกรรมการกรธ. เห็นไปในทิศทางเดียวกันได้ เมื่อวานนี้ คณะรัฐมนตรี ได้ผ่านความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ ตามที่ กกต.เสนอ โดยจะนำเข้าสู่ที่ประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 18 มีนาคมนี้ พร้อมกำหนดพิจารณา วาระ ที่ 2 และ 3 ในวันที่ 7 เมษายน สำหรับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้ปรับแก้เพื่อเพิ่มโทษ และบทกำหนดโทษ ให้เข้มข้น โดยมีโทษจำคุกสูงถึง 10 ปี ทั้งนี้เพื่อป้องกันการล้มการทำประชามติ ส่วนภารกิจของนายกรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ ได้ร่วมกิจกรรมรณรงค์ ปิดไฟ1 ชั่วโมง ในเวลา 2 ทุ่มครึ่ง - 3 ทุ่มครึ่ง วันที่ 19 มีนาคมนี้ พร้อมชักชวนให้ ร่วมกันปิดปรับปลดและเปลี่ยนซึ่งก็คือการปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น ปรับอุณหภูมิแอร์อยู่ที่26 องศาเซลเซียส ปลดปลั๊กที่ไม่ใช้ และเปลี่ยนหลอดไฟประหยัด พลังงาน ระหว่างเดือนมีนาคมจนถึงพฤษภาคมนี้ นายกรัฐมนตรี ยังนำคณะรัฐมนตรี ไปเที่ยวชมงาน "เพลินพลังงาน งานวิจัยขายได้" ซึ่งจัดที่ตลาดคลองผดุงกรุงเกษมโดย พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ นำชมร้านค้าภายในงาน ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานวิจัยที่น่าสนใจ อาทิ เครื่องกรองน้ำ พลังแสงอาทิตย์ และเตาชีวมวล ซึ่งประชาชนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และ ระหว่างวันที่ 21-27 มีนาคมนี้ ศูนย์จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า จะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ที่ประหยัดไฟสูงสุด มาจำหน่ายในราคาพิเศษด้วย 16 มี.ค.| ข่าว 16.00 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ย้ำว่า คสช.ไม่ได้กดดันการทำหน้าที่ของ กรธ.และเป็นสิทธิที่ กรธ.จะพิจารณา 3 ข้อเสนอของ คสช.เพื่อประกอบการปรับแก้บทเฉพาะกาล 16 มี.ค.| ข่าว 12.00 น. พล.อ.ประวิตร ยืนยันจะไม่มีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร เป็นนายกรัฐมนตรี คนต่อไป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง “ผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน” ที่สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ มักกะสัน ตอนหนึ่งว่า ขณะนี้มีเรื่องเข้ามาที่ทำให้ต้องคิดมากอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ ดังนั้น รัฐบาลจึงจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี เพื่อผลักดันการปฏิรูปต่างๆ แต่ขอทุกคนต้องช่วยกันทั้งประชาชน และนักการเมืองต้องมองอนาคต เลิกมองแต่ตัวเอง นายกรัฐมนตรี ย้ำถึงรัฐบาลชุดถัดไปที่เข้ามาต้องทำนโยบายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้การเมืองเข้มแข็งและประเทศมีเสถียรภาพ และการพัฒนาประเทศต้องมีการดำเนินการจากภูมิภาค ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศพัฒนาล่าช้าเพราะคนในประเทศไม่สามัคคี ยืนยันรัฐบาลจะเร่งรัดเรื่องของการตรวจสอบการทุจริตทั้งหมด เพื่อทำให้ประเทศปลอดจากการคอรัปชั่น และจะไม่ปล่อยให้มีโครงการที่มีทุจริตเกิดขึ้น หากมีการจ่ายเงินภาครัฐก็ให้นำเบาะแสมาแจ้งได้ ส่วนการที่ใช้คำสั่งมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อลดขั้นตอนต่างๆ ที่ทำให้โครงการล่าช้า ไม่ได้ออกคำสั่งไปเพื่อยกเลิกการประชาพิจารณ์ จึงสั่งการว่าทุกโครงการต้องทำประชาพิจารณ์ควบคู่กันไป ขออย่าบิดเบือนการใช้มาตรา 44 นายกรัฐมนตรี ระบุว่า บางคนที่ต้องการอำนาจ หากอำนาจใช้ในทางที่ผิดก็ไม่ควรมีอำนาจ หากใช้ในทางที่ถูกเพื่อพัฒนาประเทศก็ใช้ไป แต่จะใช้บังคับขู่เข็ญใครไม่ได้ และนายกรัฐมนตรี ย้ำประเทศไทยรวมเลือดเนื้อจากหลายเชื้อชาติจนเกิดเป็นประชารัฐ ซึ่งรัฐบาลจะไม่ยอมให้ประเทศเกิดความแตกแยกขึ้นอีก
ผมว่ารัฐบาลต้องตั้งคำถามกลับไปที่กลุ่มนักเลือกตั้งด้วย อย่าเอาแต่ตอบคำถามอย่างเดียว คำถามง่าย ๆ ฝากนักข่าวที่ชอบไปถามรายวันให้ไปถามนักเลือกตั้งก็ได้ ว่า พวกนักเลือกตั้งนี่ คิดว่าประเทศอังกฤษ เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ถ้าตอบว่า เป็น ก็ถามต่อว่า แล้ว สว ของอังกฤษนี่ เขามาจากการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้ง อังกฤษนี่เป็น สว ไปตลอดชีวิตก็มี เรียกว่าเป็นไปจนตายเลย แบบนี้ประชาธิปไตยไหม นักเลือกตั้งอาจแย้งว่าประเทศที่เป็นผู้นำด้านประชาธิปไตย คือ เมริกา นับถืออเมริกายิ่งกว่าแม่อีก ประเทศนี้ สว เขามาจากการเลือกตั้งหมด เขายึดโยงกับประชาชน ก็บอกให้เขาแง้มกะลาออกมาดูบ้างว่า อเมริกา เขาเป็นระบบประธานาธิบดี มันต่างกับของเราและของอังกฤษ แต่ที่มันน่าขำมาก ๆ ถ้าไปดูการหาเสียงชิงประธานาธิบดีของอเมริกาปรากฏว่ามันมีการป่วนล้มเวทีหาเสียงของคู่แข่งด้วย ถือว่าประชาธิบไตยสุด ๆ เลยหรือเปล่า แล้วประเทศที่บอกว่าเป็นประชาธิบไตยสุด ๆ นี่ มีอำนาจพิเศษคุมหรือเปล่า ต้องไปดูที่ ฮิลลารี่ หาเสียง เธอบอกว่าถ้าได้เป็นประธานาธิบดี เธอจะตามหาเอเลี่ยนเพื่อเอามาตีแผ่ให้ประชาชนได้รู้ความจริง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ 51 เนี่ยะ มันทำอะไรกันมีลับลมคมใน ขนาดประธานาธิบดียังเข้าไปไม่ได้เลย สว ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีใครรู้เรื่อง ไอ้คนที่มันไม่อนุญาตให้ประธานาธิบดีเข้าไปยุ่มย่ามในเขตพื้นที่ 51 เนี่ยะ มันเป็นใครมันถึงมีอำนาจพิเศษขนาดนั้น แล้ว สว นักเลือกตั้งประชาธิบไตยทั้งหลายแหล่ก็นอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็นกันเป็นแถว นี่แสดงประชาธิบไตยสุด ๆ หรือเปล่า โอบาม่า ผู้นำโลกด้านประชาธิบไตย อยากให้เลิกคุกกวนตานาโม แต่พูดเหมือนขอร้องว่า เลิกเถอะพ่อเจ้าประคุณทูลหัว (มันขอใครวะ) เหมือนขอกับอำนาจพิเศษยังงั้นแหละ จนป่านนี้มันยังไม่เลิกเลย พวกนักเลือกตั้งบอกว่าตนเองยึดโยงอยู่กับประชาชน คำหนึ่งก็ประชาชน สองคำก็ประชาชน แล้วคุณกลัวอะไรกับการเลือกตั้งแบบ พวงเล็ก หรือพวงใหญ่ เพราะพวงมันจะขนาดไหน ถ้าคุณเป็นคนของประชาชน เขาก็เลือกคุณอยู่แล้ว เดือดร้อนอะไรหรือ
ข้อเสนอของแม่น้ำ 4 สาย ที่ขอให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ปรับปรุงบทเฉพาะกาลในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง โดยต้องการให้ ส.ว.มาจากการสรรหา และให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง ยังเป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่าย ล่าสุด รองนายกฯ ยัน ส.ว.สรรหาไม่มีอำนาจพิเศษเหนือรัฐบาล พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกมายืนยันก่อนเดินทางไปต่างประเทศอีกครั้งว่า แม้ให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพต่าง ๆ จะเข้ามาเป็น ส.ว.ได้ แต่ก็ไม่มีอำนาจพิเศษใด ๆ ที่จะควบคุมการทำงานของรัฐบาลได้ ทั้งนี้เป็นเพียงการเข้ามาสานต่องานด้านการปฏิรูปประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้เท่านั้น และจากข่าวการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี สั่งให้ผู้ร่วมงานประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทยวานนี้ ลุกขึ้นยืนออกกำลังกาย ล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้ออกมาแสดงความไม่พอใจ โดยระบุว่า สื่อบางสำนักมีความพยายามที่จะเขียนยัดเยียดในเนื้อข่าวว่าเป็นการใช้อำนาจ และนำเสนอแต่ข่าวความขัดแย้ง ดังนั้นจากนี้ไปจะเลิกพูดเรื่องการเมือง และจะสั่งรัฐมนตรีทุกคนเลิกพูดเรื่องการเมืองด้วย อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปอยากเห็นสื่อหันมาให้ความสำคัญละครแนวรักชาติบ้านเมืองมากขึ้น ซึ่งตัวเองพร้อมที่จะสนับสนุนด้านงบประมาณ 17 มี.ค.2559 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยืนยัน แนวคิด ส.ว.สรรหา ช่วงเปลี่ยนผ่าน ไม่ได้ให้อำนาจพิเศษก้าวล่วงการทำงานของรัฐบาล พร้อมเชื่อว่าข้อเสนอนี้จะไม่ทำให้ กรธ.ถอดใจในการทำหน้าที่ ถก พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ 20 ปี ตั้งองค์กร-คณะกรรมการชุดใหม่ดูแลปฏิรูปประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ในวาระแรกแล้ว โดยสมาชิกอภิปรายท้วงติงในประเด็นการใช้เครื่องลงคะแนน เพราะเกรงว่าจะทำให้ประชาชนสับสนรวมถึงตั้งคำถามถึงความพร้อมในการอำนวยความ สะดวกผู้สูงอายุและผู้พิการทางสายตา วันนี้ที่รัฐสภามีการประชุม สนช. เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสมาชิกอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ สมาชิก สนช.หลายคน เช่น นายชาญวิทย์ วสยางกูร // พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์ // นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ได้อภิปรายตั้งข้อสังเกตเรื่องที่กฎหมายเขียนเปิดช่องให้สามารถใช้เครื่องลง คะแนนในการออกเสียงประชามติได้ เพราะกังวลว่ายังไม่มีความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ และประชาชนอาจไม่เข้าใจ จึงเสนอให้นำไปทดลองใช้ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นก่อน ขณะที่ นายแพทย์ เจตน์ ศิรธรานนท์ และ นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกสนช. อภิปรายว่า เรื่องการทำคูหาคนพิการและผู้สูงอายุ ยังไม่มีรายละเอียดในร่างกฎหมาย จึงเกรงว่าการออกเสียงประชามติจะเข้าไม่ถึงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน จึงขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.ชี้แจงด้วย ต่อมานายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนคณะรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การใช้เครื่องลงคะแนนเสียงเป็นสิ่งที่รัฐบาลห่วงเช่นกัน เพราะมีการทดลองใช้เป็นครั้งแรก ปกติเรื่องนี้ก็ควรจะทดลองใช้ในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่มีพื้นที่เล็ก หรือเป็นการเลือกตั้งในบางแห่งมากกว่า หากใช้ในการออกเสียงทั้งประเทศ และเป็นการใช้ที่นำไปสู่ผลในเรื่องที่ต้องมีการถกเถียงกันมาก อาจเป็นปัญหาได้ จึงขอฝากให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯพิจารณาด้วยในวาระ 2 นอกจากนั้นในมาตรา 56 ของร่างกฎหมาย ที่ระบุว่าหาก กกต.กระทำโดยสุจริต บุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะพ้นจากความรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครองนั้น ประเด็นนี้อาจเกิดข้อครหาได้ ก็ขอให้ทบทวนว่าจำเป็นหรือไม่ ขณะที่นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการ กกต. ในฐานะรักษาการเลขาธิการ กกต. ชี้แจงว่า เครื่องลงคะแนนใช้งานได้จริง กกต.เตรียมการมาตั้งแต่ปี 2545 แต่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ ครั้งนี้จะใช้เป็นตัวอย่าง โดยมีทั้งหมด 14 เครื่อง แบ่งใช้ในเขตกรุงเทพฯ 5 เครื่อง ส่วนที่เหลือจะอยู่ในต่างจังหวัด การใช้เครื่องลงคะแนนถือเป็นทางเลือก โดยผู้ใช้สิทธิ์สามารถเลือกใช้บัตรลงคะแนนหรือใช้เครื่องก็ได้ตามความสะดวก สำหรับการอำนวยความสะดวกแก่คนพิการและผู้สูงอายุนั้น ทุกครั้งกฎหมายจะกำหนดไว้ และกกต.จะมีระเบียบให้แต่ละหน่วยลงคะแนนอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือคนพิการทางสายตา โดยใช้บัตรที่พิมพ์เป็นอักษรเบรลล์ รวมทั้งมีการจัดคูหาเป็นพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้วีลแชร์อยู่ แล้ว จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติการออกเสียง ประชามติฯ ในวาระแรก ด้วยคะแนน 153 และงดออกเสียง 5 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 21 คน เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายในวาระ 2 ต่อไป 18 มี.ค.| ข่าว 14.00 น. สนช. รับหลักการร่าง พ.ร.บ. การออกเสียงประชามติด้วยเสียงเอกฉันท์ เห็นด้วย 153 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง
ทุบโต๊ะดังๆ ส่งสัญญาณเข้มๆ และเคลียร์ให้ชัดเจนถึงเป้าหมายของรัฐบาลและคสช.ที่ต้องการให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญหรือกรธ.กำหนดบทเฉพาะกาลในระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี แบบที่เมื่อเปิดข้อเสนอขึ้นมา ก็ถึงกับทำเอาอุณหภูมิการเมืองร้อนฉ่ากว่าเปลวแดดของเที่ยงวันกันเลยทีเดียว เพราะข้อเสนอให้มี สว.แต่งตั้ง 250 คน กับบทบาทและอำนาจที่ท่วมท้น ระบบเลือกตั้ง ส.ส. ที่ว่ากันว่าจะไม่มีพรรคได้เสียงข้างมากและเป็นรัฐบาลผสม และสุดท้ายการให้งดเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งที่อาจมีนายกรัฐมนตรีคนนอกโผล่มาภายหลังนั้น ทั้งหมดเป็นไปตามโมเดลรัฐธรรมนูญปี 2521 ที่ นายวิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรีเสนอไว้เมื่อ3 เดือนก่อน เป็นโมเดลบ้านเมืองในยุคที่คำนึงถึงความสงบและความมั่นคงคือสิ่งสำคัญสูงสุด ขณะเดียวกัน ก็เป็นข้อเสนอที่ทำให้กลุ่มองค์กรต่าง ๆ และพรรคการเมืองต่างขั้ว ต่างประสานเสียงคัดค้านมากที่สุดเช่นกัน เพราะเป็นโมเดลของการควบคุมอำนาจรัฐบาลเลือกตั้งผ่านกลไกต่างๆแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด นั่นทำให้วันที่ 21 มีนาคม น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง ต้องดูว่า กรธ.ก็จะมีทางออกกับข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้อย่างไรเพราะลึกๆก็รู้ดีว่าขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญเข้าสู่ภาวะเสี่ยง พวกเขาจึงหวังมีปาฏิหาริย์ ให้ประชาชนยอมรับร่างรัฐธรรมนูญในการทำประชามติ7 สิงหาคม ฉบับที่พาเราย้อนกลับไปเริ่มต้นปี 2521 หรือ 38 ปีที่แล้ว ยุคที่มีประชาธิปไตยแบบข้าราชการประจำยุคที่เรียกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ
38 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยของเราพัฒนาขึ้น จนเกิดการโกงไปทุกระดับชั้น โดยที่นักการเมืองในระบบเองก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขให้ดีขึ้น มีแต่เข้าร่วมด้วยช่วยกัน ดังเช่นที่เราได้เจอกันมาแล้ว ถ้าจะย้อนอดีตดูบ้าง ก็คงไม่ถึงกับเลวกว่าเดิม และผมเชื่อว่าปัจจุบัน ประชาชนเข้าถึงข่าวสารได้ดีและเร็วกว่าในอดีตมาก ถ้าเลวกว่าเดิม โกงมากกว่าเดิม ไม่ว่ารัฐบาลจะมีอำนาจมากขนาดไหน การต่อต้านเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเลวๆ จะเกิดขึ้นแน่นอน ขออย่าให้นักการเมืองและนักประชาธิปไตยทั้งหลาย มโนไปล่วงหน้า และทำเป็นเดือดร้อนแทนประชาชนมากนักเลยครับ เพราะที่เรามาถึงจุดนี้ได้ ก็พวกคุณนั่นแหละคือหนึ่งในตัวปัญหาหลักของประเทศ
ดูจากข่าวแล้วทาง ปชป. ก็ไม่ได้คัดค้านอะไรมากมายกับ ร่าง รธน. ฉบับนี้ สรุปความเห็นเกี่ยวกับร่าง รธน. ฉบับนี้ของ ปชป. คือ ประเด็นนายกฯ คนนอก ก็ไม่ติดใจอะไร แค่อยากให้เป็น ส.ส. แต่ถ้าจะให้เป็นคนนอก ก็ขอให้กำหนดเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมด้วย ประเด็น สว.สรรหา ก็ไม่ได้คัดค้านการมี สว.สรรหา แต่ไม่อยากให้ สว.สรรหา มีอำนาจอภิปรายไม่ไว้วางใจ และไม่อยากให้ คสช. เป็น สว.สรรหา ประมาณว่าร่างกฎเองแล้วลงเล่นเองประมาณนั้น ปชป.ให้กำลังใจ กรธ.พิจารณาข้อเสนอส.ว.สรรหา ของคสช. 2016/03/20 1:42 PM พรรคประชาธิปัตย์ 20 มี.ค.- “องอาจ” ให้กำลังใจ กรธ. ถกข้อเสนอคสช. 21 มี.ค. แนะเป็นตัวของตัวเอง อยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นด้วย ให้ผู้นำเหล่าทัพเป็นส.ว.โดยตำแหน่งในช่วงเปลี่ยนผ่าน ค้านส.ว.อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การพิจารณาข้อเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ( กรธ.) ในวันพรุ่งนี้ (21มี.ค.59) ว่า ขอให้กำลังใจ กรธ.ในการพิจารณาข้อเสนอ คสช.อย่างรอบคอบ รอบด้าน ตรงไปตรงมา เป็นตัวของตัวเอง และอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับของประชาชน เชื่อว่าทาง กรธ.คงหนักใจในการพิจารณาและตัดสินใจ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องการเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรี มาจากผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นั้น ขอยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีควรจะต้องมาจาก ส.ส. ซึ่งหากกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ยังคงจะเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้ ก็ควรให้เป็นช่วงภาวะวิกฤติ หรือหากในภาวะปกติควรจะต้องมีการกำหนดให้ได้รับเสียงเห็นชอบมากกว่าครึ่ง หนึ่ง นายองอาจ กล่าวถึงข้อเสนอให้มีวุฒิสภา(ส.ว.) มาจากการสรรหา ช่วงเปลี่ยนผ่าน ว่า หาก กรธ.ยังคงยืนยันจะทำตามข้อเสนอของ คสช.ก็ควรจะให้มีที่มาจากหลากหลายกลุ่มอาชีพ และต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ไม่เห็นด้วยที่จะให้ผู้นำเหล่าทัพ 6 ตำแหน่ง เข้ามาเป็นส.ว.โดยตำแหน่ง และอำนาจ ส.ว.สรรหานั้น ไม่ควรให้เกี่ยวข้องกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่หากจะให้อภิปรายได้ ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้แตกต่างจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ส่วนข้อเสนอเรื่องระบบเลือกตั้ง ในช่วงเปลี่ยนผ่านนั้น ควรเป็นระบบที่ประชาชนได้ใช้สิทธิที่แท้จริงและจะต้องไม่กระทบกับการพัฒนา ทางการเมือง “หาก กรธ.ไม่ปรับปรุงและหยิบยกข้อเสนอของ คสช.มาบัญญัติไว้ทั้งหมด เชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการทำประชามติได้ยากยิ่งขึ้นและไม่เป็นผลดีกับ ประเทศ” นายองอาจ กล่าว นายองอาจ กล่าวว่า จากการติดตามการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ. ๆ ได้ปรับแก้ตามข้อเสนอของภาคประชาชน ภาคสังคม หน่วยงาน และบุคคลต่าง ๆ แต่ขอเรียกร้องให้บัญญัติเรื่องการเรียนฟรี 12 ปี ถึงระดับมัธยมปลายเหมือนรัฐธรรมนูญปี 50 แม้ว่า กรธ.ได้ปรับปรุงให้มีการเรียนฟรี 12 ปี แต่เป็นการไปเพิ่มในช่วงวัยก่อนเรียน ซึ่งการเพิ่มเรียนฟรีในช่วงวัยก่อนเรียนนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีแต่ไม่ควรลบ เรียนฟรีในระดับมัธยมปลาย .-สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/428239
ประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หาข้อยุติเกี่ยวกับข้อเสนอการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของ คสช.ว่าจะแก้ตามหรือไม่ ถ้าแก้จะแก้ประเด็นอะไรบ้าง โดยข้อเสนอของ คสช.เป็นเรื่องการกำหนดที่มาของ ส.ส.ส.ว.และ นายกรัฐมนตรี ในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านอำนาจ มี 3 ประเด็น -ส.ว.(250 คน) มาจากการสรรหา โดยให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง วาระ 5 ปี มีอำนาจหน้าที่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ -ส.ส.(500 คน) มาจากแบ่งเขต 350 คน และ บัญชีรายชื่อ 150 คน แยกบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เลือกตั้งเขตใหญ่ (ไม่เกิน 3 คน) -นายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองไม่ต้องประกาศรายชื่อก่อนเลือกตั้ง โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.นัดประชุมกันบ่ายวันนี้ เพื่อหาข้อยุติให้ได้ภายในวันนี้ว่า จะยอมแก้ตาม คสช.ประเด็นใดบ้าง ซึ่งกรรมการหลายคนบ่นหนักใจเพราะ คสช.เป็นรัฐาธิปัตย์ คุมอำนาจการปกครองทั้งประเทศ แต่ถ้าแก้ตาม อาจทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านประชามติ เพราะ 2 พรรคใหญ่ที่มีฐานมวลชนรวมกัน 26 ล้านคนทั่วประเทศ ประกาศชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ คสช. ซึ่งทีมข่าวการเมืองได้ตรวจสอบล่าสุดกับคณะกรรมการร่างฯ ขณะนี้ค่อนข้างชัดเจนว่า กรธ.จะยอมแก้แค่ประเด็นเดียว คือ ที่มา ส.ว.ช่วงแรกให้มาจากการสรรหา ผบ.เหล่าทัพ และ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นโดยตำแหน่ง มีวาระ 5 ปี ส่วนประเด็นหลักที่ กรธ.เป็นห่วง คือ เรื่องการทำประชามติ ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 เห็นชอบ 57.81% ไม่เห็นชอบ 42.19% ถ้าแบ่งตามรายภาค จะพบว่าภาคใต้ ประชาชนลงมติเห็นชอบมากที่สุด 88.30% รองลงมา คือ ภาคกลาง เห็นชอบ 66.53% ภาคเหนือ เห็นชอบ 54.47% แต่ภาคอีสาน ประชามติไม่ผ่าน มีคนเห็นชอบแค่เพียง 37.20% ซึ่งตัวเลขดังกล่าว จะเป็นการบ้านให้ทั้งคณะกรรมการร่างฯ และ คสช. ต้องเตรียมแผนรองรับหลังการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกำลังประชุม เพื่อหาข้อสรุปเรื่องข้อเสนอขอแก้ไขบทเฉพาะกาลของ คสช.ว่า จะยอมปรับแก้ตามที่เสนอมาหรือไม่ โดยเริ่มประชุมกันตั้งแต่ 14.00 น.
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. มีมติเกี่ยวกับข้อเสนอการปรับแก้บทเฉพาะกาลร่างรัฐธรรมนูญ ที่เสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จากความเห็นชอบขององค์กรแม่น้ำ 4 นายแล้ว ภายหลังหารืออย่างเคร่งเครียดตลอดช่วงบ่ายที่ผ่านมา นายนรชิต สิงหเสนี โฆษก กรธ. แถลงว่า กรณีคสช.ต้องการให้ระบบเลือกตั้งส.ส. ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบเหมือนที่เคยเป็นมา สำหรับเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รวมทั้งให้เขตเลือกตั้งเป็นเขตใหญ่ มี ส.ส.ได้ไม่เกิน 3 คนนั้น กรธ.เห็นว่าข้อเสนอนี้ไม่เข้ากับหลักการที่ กรธ.วางไว้ จึงยืนยันให้ใช้ระบบบัตรเลือกตั้งใบเดียว และจะไม่มีการระบุไว้ในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อเสนอเรื่องให้มีสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.จากระบบสรรหาโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 250 คน วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปีนั้น กรธ.จะปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาลให้ระยะแรกหลังรัฐธรรมนูญมีผล บังคับใช้ จะมี ส.ว.จากการสรรหา 250 คน ตามข้อเสนอของ คสช. แต่ให้ ส.ว จำนวน 200 คนมาจากการสรรหาโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ // และอีก 50 คนมาจากการสรรหาจากผู้ทีได้รับเลือกจากสาขาวิชาชีพ 20 สาขาวิชาชีพ ตามแนวทางเดิมของ กรธ. สำหรับข้อเสนอที่ให้มี ส.ว.โดยตำแหน่งจากผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รวม 6 คนนั้น กรธ.เห็นชอบตามข้อเสนอ ขณะที่อำนาจพิเศษของ ส.ว. คือมีอำนาจในการผลักดันการปฏิรูป และพิทักษ์รัฐธรรมนูญโดยการประชุมร่วมในรัฐสภา ขณะที่อำนาจในการควบคุมการบริหารประเทศ การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร นายนรชิต แถลงอีกว่า ในประเด็นที่ คสช.ขอให้กรธ.ไม่บัญญัติให้พรรคการเมืองต้องเสนอชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรี 3 รายชื่อ เพราะอาจเกิดกรณีหานายกรัฐมนตรีไม่ได้นั้น กรธ.เห็นว่าการเลือกนายกฯอาจเป็นอุปสรรคในการจัดตั้งรัฐบาล กรณีไม่มีพรรคการเมืองเสียงข้างมาก หรือผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองขาดคุณสมบัติ ฉะนั้นกรธ.จึงได้เสนอให้มีการประชุมร่วมของรัฐสภา คือสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อขอยกเว้นให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีพรรคการเมือง 3 คนได้ ถ้าเสียงข้างมากของรัฐสภา หรือคะแนน 2 ใน 3 เห็นด้วย ก็สามารถกระทำได้ “มีชัย” เตรียมตั้งอนุกรรมการเผยแพร่ข้อมูล ก่อนการประชุม กรธ. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. กล่าวว่า กรธ.จับประเด็นข้อเสนอของ คสช.ได้แล้ว ก่อนที่จะไปประชุมรอบสุดท้ายที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนบรรยากาศในที่ประชุม กรธ.เมื่อวาน ก็ไม่ได้มีการถกเถียงกัน เพราะคณะกรรมการทุกคนจะพิจารณาโดยยึดหลักการใครได้ประโยชน์ นายมีชัย กล่าวอีกว่า มีประชาชนเรียกร้องเรื่องสิทธิในรัฐธรรมนูญ ซึ่ง กรธ.ได้ปรับแก้แล้ว แต่อาจไม่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล ประชาชนจึงไม่ได้รับทราบ ปัญหาของ กรธ.ตอนนี้คือจะทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าใจเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น อาจต้องตั้งคณะอนุกรรมการเผยแพร่ หรือค่อยๆ ปล่อยเนื้อหาออกมาสู่สาธารณะ ประธาน กรธ.ยังเรียกร้องให้สื่อมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเข้าใจยากอยู่แล้ว การเขียนเรื่องให้ได้อรรถรสโดยการบิดเบือน จะทำให้ประชาชนไม่ทราบความจริง สื่อไม่ควรทำตามคำสั่งใคร เพราะ กรธ.ก็ไม่ได้ทำตามคำสั่งของใคร 22 มี.ค. | ข่าว 19.00 น. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.ตอบรับข้อเสนอของ คสช. แต่มีการปรับเปลี่ยนบางส่วนในสอดคล้องกับหลักการเดิม นายกรัฐมนตรี ยืนยัน ข้อเสนอให้ กรธ.แก้ไขบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นความหวังดี ที่ต้องการให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกถึงข้อเสนอแม่น้ำ 4 สาย ให้แก้บทเฉพาะกาลร่างรัฐธรรมนูญว่า คสช.เสนอแนวคิดนี้เพราะหวังดีกับประเทศ ส่วนกรณีให้สว. 6 คนมาจากกองทัพ ยืนยันว่า การให้มีผู้บัญชาการเหล่าทัพเข้าไปเป็น ส.ว.สรรหาด้วยนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะมั่นใจว่า จะทำหน้าที่ได้อย่างดีที่สุด ด้านรองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม บอกว่า ข้อเสนอของแม่น้ำ 4 สายที่ให้มี ส.ว.สรรหาในบทเฉพาะกาลร่างรัฐธรรมนูญ เป็นแนวคิดที่ขัดต่อหลักการในบทถาวรได้ เนื่องจากเนื้อหาทั้ง 2 ส่วนนี้มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน พร้อมยอมรับว่าเห็นใจ และเชื่อว่า กรธ.ลำบากใจกับข้อเสนอนี้ แต่เมื่อเป็นหน้าที่ ก็คงต้องทำต่อไป เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า บทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญ ได้เปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ แต่เงื่อนไขสำคัญ คือต้องผ่านการลงมติถึง 3 วาระ โดยมติที่ประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. เมื่อวานนี้ สามารถสรุปขั้นตอนสู่การมีนายกฯคนนอกได้เป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือ ในกรณีที่ ส.ส. ไม่สามารถเลือกนายกฯได้ภายใน 90 วัน จะสามารถขอมติโดยใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง เพื่อเปิดประชุมนัดพิเศษร่วมกับ ส.ว. ต่อมาในขั้นตอนที่สอง ที่ประชุมร่วมกันระหว่าง ส.ว. และ ส.ส. จะต้องลงมติ เพื่อรับรองหลักการให้มีนายกฯคนนอกได้ โดยใช้เสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนที่สาม คือ ส.ส.จะกลับมาประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อคัดเลือกคนนอก ที่จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นนายกฯ ซึ่งถ้าหากผ่านขั้นตอนนี้ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัวนายกฯ ตามธรรมเนียมปฏิบัติคือ ต้องยุบสภาและกลับไปเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด โฆษก กรธ. นรชิต สิงหเสนี ชี้แจงว่า บทบาทของ ส.ว. จะเข้ามามีส่วนร่วมเพียงขั้นตอนลงมติรับหลักการเท่านั้น โดยจะไม่มีสิทธิ์เข้าไปคัดเลือกตัวนายกฯโดยตรง และนายกฯคนนอก จะเกิดขึ้นได้ ในกรณีที่ คนที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯถอนตัวออกไป หรือการรวมตัวของพรรคต่างๆ โดยไม่สามารถตกลงบุคคล จนไม่สามารถเลือกนายกฯได้ภายในเวลาที่กำหนด ประธานกรธ.ส่งข้อสรุปการปรับแก้บทเฉพาะกาลให้นายกฯแล้ว หวังจะไม่มีการปรับแก้อีก วันนี้ (23มี.ค.59) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้มาประชุมนอกสถานที่ที่โรงแรมอิมพีเรียล หัวหิน บีช รีสอร์ท อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพิจารณาทบทวนรายมาตรา ก่อนเคาะออกมาเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. เปิดเผยว่า ได้ส่งข้อสรุปในบทเฉพาะกาลที่กรธ.ปรับแก้ให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว พร้อมอธิบายเหตุผลเพื่อให้แจ้งต่อนายกรัฐมนตรีรับทราบ ซึ่งหวังว่าจะไม่มีการปรับแก้อีก เพราะเป็นการพิจารณาตามเหตุผลและสิ่งที่เป็นไปได้ ทั้งนี้ เข้าใจถึงเจตนารมณ์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการให้มี ส.ว.สรรหามาสานต่อการปฏิรูปในรัฐธรรมนูญให้สำเร็จ แต่ขณะเดียวกันกรธ.อยากให้ทดลองเลือกกันเองตามระบบที่กรธ.ได้วางไว้ด้วย เพื่อเป็นการทดสอบไปในตัว จึงเสนอสูตรของกรธ.ไป 50 คน ส่วนส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ที่มาจากข้าราชการประจำ ได้เว้นไว้ให้คณะกรรมการสรรหาที่ตั้งขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา แต่ไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นฝ่ายความมั่นคง ขณะเดียวกันให้งดเว้นการลาออกจากตำแหน่งภายใน 90 วัน เนื่องจาก ส.ว.ตามตำแหน่งเหล่านี้ ไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะได้รับเลือกให้เป็นส.ว. พร้อมยืนยัน ส.ว.ไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี แต่จะเข้ามามีบทบาทร่วมรัฐสภาพิจารณา งดเว้นข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรี ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยใช้เสียง 2 ใน 3 เสียง แต่การเลือกนายกรัฐมนตรี ยังเป็นอำนาจของ ส.ส.แต่หากท้ายที่สุดแล้ว สภาฯ ไม่สามารถเลือกบุคคลที่เหมาะสมได้ตาม 2 แนวทางนี้ ก็จะต้องยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ข่าว 7 สี - คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.ยอมเพิ่มบทเฉพาะกาลตามข้อเสนอ โดยให้ คสช.เลือก สว.ทั้งหมด 244 คน ส่วนอีก 6 คนมาจากฝ่ายความมั่นคง เป็นมติที่ประชุมนอกสถานที่ ซึ่งพิจารณาข้อเสนอของ คสช.เพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็นที่มาของสว.แต่งตั้งที่ยอมตามข้อเสนอคสช.แต่เพิ่มขั้นตอนที่ให้สรรหาบุคคลที่เหมาะสม400 คนให้ คสช.เลือกเหลือ 194 คน รวมกับ สว.โดยตำแหน่งที่เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรวมเป็น200 คน ส่วน สว.อีก 50 คนให้ กกต.เลือกไขว้สาขาอาชีพ 200 คน เสนอให้คสช.เลือก50 คน และมีบัญชีสำรองอีก 50 คน ซึ่ง สว.ทั้ง 250 คน คสช.เลือกทั้งหมดพร้อมเปิดทางให้รัฐมนตรีและคสช.เป็นสว.ได้โดยให้ยกเลิกเกณฑ์90 วันห้ามดำรงตำแหน่งอื่นในบทเฉพาะกาลด้วย สำหรับอำนาจหน้าที่ คือพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ขับเคลื่อนการปฏิรูป ที่รัฐบาลเลือกตั้งต้องรายงานต่อที่ประชุมสว.ทุก3 เดือน แต่ยังยืนยันตัดอำนาจการอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจออกไป เช่นเดียวกับที่มานายกรัฐมนตรี ที่ยืนตามมติ กรธ.ที่ให้สภาผู้แทนราษฎร เลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีพรรคการเมือง แต่หากไม่สามารถเลือกตั้ง ให้เปิดประชุมร่วมรัฐสภาที่มีสส.และสว.มีมติจากเดิม2 ใน 3 หรือ 500 เสียงเปลี่ยนเป็น 3 ใน 5 หรือประมาณ 450 เสียงเพื่อเปิดช่องให้ สภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ ก่อนหน้านี้ ประธาน กรธ.บอกว่าพร้อมปรับแก้บทเฉพาะกาลตามข้อเสนอคสช. พร้อมเชื่อว่าคสช.จะไม่เป็นกรรมการสรรหารหรือเป็นสว.เพื่อป้องกันข้อครหาเช่นกัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เปิดเผยภายหลังเดินทางกลับจากการประชุมแม่โขง - ล้านช้าง ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนว่า ได้หารือพูดคุยกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. มาตลอด และรับรู้การปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของ คสช. เพราะตนเป็นหัวหน้า คสช. ดังนั้นอย่านำเสนอให้เกิดความเสียหายว่า การแต่งตั้งทหารเพื่อสืบทอดอำนาจ เพราะทหารมีวินัย ไม่มีปัญหากับผู้บังคับบัญชา ขอให้สั่งในสิ่งที่ถูกต้อง ทหารทำได้หมด และยืนยันตนไม่ต้องการอำนาจ แต่เต็มใจที่จะทำให้บ้านเมืองเดินหน้า ขอให้เลิกเอาชนะแล้วกล่าวหาล่วงหน้าว่ารัฐธรรมนูญและประชามติไม่ผ่านเพราะรัฐบาลอยากอยู่ต่อ เพราะตอนนี้อยากเลือกตั้ง อยากมีรัฐธรรมนูญตนก็ดำเนินการให้ ทั้งนี้พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องประชุมแม่น้ำ 4 สาย เพราะ กรธ.ได้ข้อยุติรัฐธรรมนูญแล้ว และไม่ต้องมาถามว่าตนพอใจหรือไม่ แต่ให้ถามประชาชน พร้อมย้อนถามสื่อว่าสิ่งที่ตนทำห่วงตนและประเทศชาติหรือไม่ ห่วงทหารที่เสียสละชีวิตมาเพื่อประเทศหรือไม่ หรือจะตีกันต่อไปก็ตามใจ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ยอมรับได้หารือกับนายกรัฐมนตรี ในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด และก็พอใจกับการปรับแก้ไขครั้งนี้ หลังจากนี้เป็นการกำหนดกรอบเวลาสรรหา สว.ทั้งในส่วนกรรมการสรรหา คัดเลือกผู้เหมาะสม 400 คนให้ คสช.เลือก 194 คน รวมกับ สว.โดยตำแหน่งจากฝ่ายความมั่นคง ส่วนอีก 50 คนได้ให้ กกต.จัดเลือกไขว้ 200 คนเพื่อให้ คสช.เลือก ก่อนเลือกตั้ง ส.ส. 15 วัน โดยยืนยันการให้ คสช.เลือก สว.ทั้ง 250 คน ไม่ใช่การสืบทอดอำนาจตามที่มีการกล่าวหา นายมีชัย ยังบอกด้วยว่า ถึงจะเป็นหนึ่งใน คสช.แต่จะไม่เป็นกรรมการสรรหา หรือ สว.ชุดนี้แน่นอน เพราะไม่ต้องการให้สังคมครหา พร้อมยอมรับเป็นความผิดพลาดของตนเอง ที่พิมพ์เอกสารในเรื่องจำนวนเสียงของที่ประชุมร่วมรัฐสภา กรณีเปิดช่องให้เลือกนายกรัฐมนตรีคนนอก โดยยืนยันยังใช้ 2 ใน 3 เสียงของที่ประชุม ไม่ใช่ 3 ใน 5 เสียงที่แถลงไปก่อนหน้านี้ สำหรับการประชุม กรธ.นอกสถานที่ วันนี้ เป็นการทบทวนหมวดที่ว่าด้วยรัฐสภา ซึ่งส่วนใหญ่ กรธ. ยังยืนยันหลักการเดิมตามร่างแรก ให้ผู้นำฝ่ายค้านร่วมแก้วิกฤติทางการเมือง 2016/03/25 7:52 PM กรุงเทพฯ 25 มี.ค.-กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ปรับเพิ่มให้ผู้นำฝ่ายค้านร่วมแก้วิกฤติกรณีไม่มีทางออกทางการเมือง พร้อมกำหนดมาตรการเข้มป้องกันคนทุจริตลงเลือกตั้ง.-สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/432628
การประชุมปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ของกรรมการรร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ สิ้นสุดลงแล้ว โฆษก กรธ.สรุปว่า ร่างรัฐธรรมนูญมี 279 มาตรา รวมบทเฉพาะกาล เชื่อว่า สามารถทำกฎหมายลูกได้ทันใน 8 เดือน และร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะตอบโจทย์การปฏิรูปและป้องกันการทุจริต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.นายนรชิต สิงสเสนี แถลงหลังเสร็จสิ้นการประชุมการพิจารณาปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญว่า ที่ประชุม กรธ. ได้ข้อสรุปสำหรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว มีทั้งสิ้น 279 มาตรา รวมบทเฉพาะกาล และเตรียมร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ประกอบร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีทั้งสิ้น 11 ฉบับ ให้ทันภายในระยะเวลา 8 เดือน นายนรชิตบอกว่า เมื่อออกกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 150 วัน และกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรต่างๆ ต้องเว้นวรรคก่อนไม่น้อยกว่า 90 วัน หากจะสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. โดยเงื่อนไขนี้ไม่รวมถึงผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการได้มาซื่ง ส.ว. สำหรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้มีการปฏิรูปประเทศในหลายด้านทั้ง การเมือง / การบริหารราชการแผ่นดิน / กฎหมาย / กระบวนการยุติธรรม/ การศึกษา และด้านอื่นๆ พร้อมกับปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน นายนรชิต ยังเผยถึงกำหนดการเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ในวันที่ 29 มีนาคมนี้ เวลา 13.39 น. ที่อาคารรัฐสภา 3 และในวันที่ 30 มีนาคม ก็จะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ / สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ "มีชัย" ย้ำร่างรัฐธรรมนูญปฏิรูป-ปราบโกง ขณะที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มั่นใจในตัวร่างรัฐธรรมนูญ และเตรียมพร้อมสรุปสาระสำคัญเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน นายมีชัยย้ำถึงเจตนาที่ต้องการให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นกฎหมายสูงสุดที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว ให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข มีความเที่ยงธรรม ขจัดความเหลื่อมล้ำ และมีช่องทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งหากทุกคนทำตามกลไกที่วางไว้ การรัฐประหารก็จะไม่เกิดขึ้นอีก ส่วนแนวทางการปฏิรูปประเทศที่ระบุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษา การปรับบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ที่ปรับแก้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความอุ่นใจ ซึ่งรวมไปถึงการบัญญัติในหน้าที่ของรัฐด้วย หากรัฐไม่ทำตามก็จะมีกลไกเพื่อจัดการ นายมีชัยบอกด้วยว่า การร่างรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถทำตามที่อยากได้ทั้งหมด เพราะต้องคำนึงถึงความพอใจของคนอื่นด้วย บางเรื่องตอบโจทย์ไม่ได้ทั้งหมด แต่สิ่งสำคัญที่กรธ.พิจารณาคือ เหตุผลของข้อเสนอจากทุกฝ่ายที่เข้ามา ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น คนที่วิจารณ์เองก็ไม่สามารถบอกได้ชัดว่าจุดไหนของบทบัญญัติไม่เป็นประชาธิปไตย คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.เคาะร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายแล้ว รวมทั้งสิ้น 279 มาตรา ที่ประชุมนอกสถานที่วันสุดท้ายของ กรธ.ได้ข้อสรุปร่างรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาลรวมทั้งสิ้น 279 มาตรา ซึ่งตอบโจทย์ตามรัฐธรรมนูญเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ป้องกันไม่ให้คนทุจริตเข้าสู่การเมือง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ระบุพอใจภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญแต่ไม่ 100 % เพราะต้องทำตามที่หลายฝ่ายขอมา แต่ยังถือว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ กรธ.วางไว้แต่แรก หลังจากที่ส่งมอบร่างให้กับนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว กรธ.จะจัดทำร่างฉบับย่อ แจกจ่ายให้กับประชาชน โดยจะให้หน่วยงานราชการช่วยเผยแพร่ร่าง ให้ประชาชนทำความเข้าใจ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ประชาชนมีความสุข เพราะได้กำหนดให้ มีการแก้ไขปัญหาของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ หากทุกฝ่ายได้ปฎิบัติตามกลไกที่รัฐธรรมนูญกำหนด การรัฐประหารจะไม่เกิดขึ้นอีก ขณะที่เวทีถกแถลงปัญหาประชามติ ซึ่งจัดโดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ศูนย์สันติภาพและความขัดแย้ง รวมทั้งสถาบันสร้างอนาคตไทย ร่วมกันจัดขึ้น ผู้ร่วมเสวนาส่วนใหญ่เห็นว่า การจัดเวทีแสดงความเห็นร่างรัฐธรรมนูญ ควรเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นมากกว่าให้ กกต.เป็นผู้ดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว และรัฐควรสร้างบรรยากาศ ให้เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการเลือกตั้ง โดยถือโอกาสนี้ ผ่อนปรนกฏเกณฑ์เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงความรู้และเนื้อหา ภายใน ร่างรัฐธรรมนูญให้มากที่สุด
กรธ.คลอดร่างรธน.279มาตรา ฉบับก่อนลงประชามติ เปิดให้ปชช.สนใจดาวน์โหลดแล้ว วันนี้ (29มี.ค.59) เวลา 13.39 น. ที่ผ่านมา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะเป็นผู้นำแถลงด้วยตัวเอง ถึงเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น จำนวน 279 มาตรา และจะนำส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การออกเสียงประชามติต่อไป ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่สนใจ และติดตามร่างรัฐธรรมนูญ สามารถดาวน์โหลดเอกสารร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นได้ที่ cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=429&filename=index%20 (คลิป) ถาม-ตอบ "มีชัย" หลังเปิดร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยส.ว.สรรหา, มาตรา 44, และนายกฯ คนนอก
พูดไปเลื่อย... มันพูดโดยไม่เคยย้อนดูพฤติกรรมของพวกมันเองเลย ***ถ้ามันไม่หวงอำนาจ ยอมฟังเสียงประชาชน คงไม่เกิดคสช. ***ถ้ามันไม่โกงกินกันมูมมาม รธน.ฉบับปราบโกง เขียนขึ้นเพื่อป้องกันการโกง คงไม่มี ***ถ้ามันบริหารประเทศด้วยความโปร่งใส คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าส่วนตน เขาคงไม่เขียนรธน.เพื่อ ให้มีการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้น (แต่มันอ้างว่า จะทำให้รัฐบาลทำงานลำบาก) -----------------------------------------------------------------------------------------------