มูลนิธิ ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้จัดทำราคาค่าก่อสร้างอาคารมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นการดำริของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ตั้งแต่สมัยที่เป็นกรรมการสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย โดยดำเนินการครั้งแรกในปี 2543 และ ดร.โสภณ ก็เป็นผู้รับผิดชอบงานนี้มาโดยตลอด แต่ในช่วงปี 2556 สมาคมฯ ไม่ได้จัดทำราคาค่าก่อสร้างเพิ่มเติม ดร.โสภณ จึงรับดำเนินการในนามของมูลนิธิฯ อย่างไรก็ตามในขณะนี้ สมาคมฯ ได้กลับมาดำเนินการเพิ่มเติมอีก แต่คงมีการปรับปรุงราคาเป็นรายปี หรือเป็นรายสะดวก มูลนิธิฯ จึงยังดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินค่าทรัพย์สิน และสำหรับประชาชน และนักลงทุนทั่วไปได้ใช้ต่อไป ในการดำเนินการของมูลนิธิฯ มูลนิธิฯ ได้แต่งตั้งให้ นายสุรพงษ์ ตรีสุกล เป็นประธานคณะทำงาน และได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากทางราชการและภาคสนามมาดำเนินการจัดทำราคาค่า ก่อสร้าง และต่อไปนี้เป็นรายงานการเปลี่ยนแปลงราคาค่าก่อสร้างล่าสุด สำหรับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 -ธันวาคม 2559 (ไตรมาสที่ 4) สรุปว่ามีการเพิ่มขึ้นของวัสดุต่างๆ เฉลี่ย +0.59% โดยปัจจัยสำคัญก็คือ ซีเมนต์ที่ลดลง 4.8% ส่วนวัสดุที่เพิ่มขึ้น เหล็กเพิ่มขึ้น 4.6% อุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 0.60% และวัสดุก่อสร้างอื่นที่เพิ่มขึ้น 0.10% โดยมีรายละเอียดเป็นดังนี้: ค่าวัสดุข้างต้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ราคาค่าก่อสร้างยังประกอบด้วยค่าแรง และภาษีและค่าดำเนินการต่าง ๆ ดังนั้นค่าก่อสร้างที่แท้จริง จึงขึ้นเพียง 0.35% ในไตรมาสที่ 4 เท่านั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้: โดยสรุปแล้วการปรับราคาค่าก่อสร้าง โดยใช้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของทางราชการของเดือนธันวาคม 2559 มีผลออกมาดังนี้: พิจารณาโดยเทียบเคียงกับเดือนกันยายน ถึงธันวาคม 2559 ผลจากการเปรียบเทียบเบื้องต้นพบว่าในช่วงเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม 2559 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้น 0.59% สำหรับในรายละเอียดพบว่า กลุ่มซีเมนต์ ราคาปรับลดลง แต่กลุ่มเหล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้า และวัสดุอื่นๆ ปรับราคาเพิ่มขึ้นภาพรวมของวัสดุโดยรวมปรับเพิ่มขึ้น ค่าแรงงาน พิจารณาเท่าเดิม ไม่มีการปรับเพิ่ม เมื่อวิเคราะห์ทั้งค่าวัสดุ และค่าแรงงาน ทำให้ภาพรวมราคาค่าก่อสร้างอาคารปรับเพิ่มขึ้น 0.35% ราคาค่าก่อสร้างจะส่งผลต่อราคาบ้านอย่างไรบ้าง หากสมมติกรณีนี้เป็นอาคารบ้านเดี่ยวหลังหนึ่ง ต้นทุนค่าก่อสร้างบ้าน จะเป็นประมาณ 1 ส่วน ส่วนต้นทุนที่ดินเป็น 2 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน ดังนั้นหากต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.35% ส่วนต้นทุนที่ดินเพิ่มขึ้น 0.5% โดยประมาณ จึงทำให้ราคาบ้านไม่เปลี่ยนแปลง ตามรายละเอียดดังนี้ = {1 * (1+0.35%)} + {2 * (1 + 0.5%)} = 3.0085 หรือราว ๆ 3.0 ซึ่งถือว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ดังนั้นราคาบ้านจึงไม่ได้เพิ่มขึ้นในรอบไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจของประเทศยังไม่กระเตื้องมากนัก การก่อสร้างต่าง ๆ จึงยังไม่มากนัก รวมถึงยอดขายบ้านที่ขายได้ลดลง ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1799.htm