อือ ไปอ่านเมนท์ ก็ยังมีคนเห็นใจ "ล่าแม่มด" มันไม่มองคนเสียตังค์เลย พวกนี้คงเป็นพวกเอาแต่ได้ ไม่คิดเคยคิดเรื่องเสียเลย
เงื่อนไขแต่ละประเทศไม่เหมือนกันนี่ครับ แหมมมม คอมเมนท์นี้ อ่านเจอในเพจวิจารณ์หนังเพจหนึ่ง ผมว่าน่าสนใจ แต่ก็โปรดใช้วิจารณญาณ
เห็นด้วยเลยครับเรื่อง"คนที่เรียนจบมาสูง ถ้าทำเลว จะพรางตัวได้เนียนกว่า" อิ...อิ....พวกจบดร.ในประเทศเราเอง ก็มีให้เห็นเยอะแยะ
ใช้แบบนี้ก็ดีนะ ถ้าไม่จ่ายหนี้ก็หักจากเงินเดือนไปเลย แต่ว่าเคสนี้มันเป็นหน่วยงานของต่างประเทศ ไม่รู้ใช้วิธีแบบนี้ได้หรือเปล่า กยศ.เสนอให้องค์กรนายจ้าง เข้าร่วมโครงการหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ กยศ.ที่มีผู้กู้ยืมเงินเรียนแล้วไม่ชำระหนี้ ล่าสุด มี 4 องค์กร เข้าร่วมโครงการแล้ว นางสาวฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)ระบุว่าปี 2559 จะเป็นปีที่ใช้หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาใหม่ โดยเฉพาะ นักเรียนมัธยมปลายที่ผู้กู้จะต้องมีเกรดเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป ส่วนเด็กอาชีวะที่เป็นผู้กู้ใหม่ไม่จำกัดเกรดเฉลี่ย คาดว่าปี 59 จะมีผู้กู้รวม 6.7 แสนราย เป็นผู้กู้รายเก่า 4.7 แสนรายและเป็นผู้กู้รายใหม่ 2 แสนราย มีงบประมาณให้กู้ยืม 2.7 หมื่นล้านบาท ส่วนการชำระหนี้ กยศ.มีอัตราดีขึ้นเรื่อยๆ โดยตั้งแต่ปี 2556 มีการชำระ 1.1 หมื่นล้านบาท ปี 2557 มีการชำระ 1.3 หมื่นล้านบาท และ ปี 2558 มีการชำระ 1.7 หมื่นล้านบาท ล่าสุด มียอดค้างชำระ 5 หมื่นล้านบาท คาดว่าปี 2559 จะมีการชำระ 1.9-2 หมื่นล้านบาท เนื่องจาก กยศ.มีโครงการสนับสนุนการชำระหนี้มากขึ้น โดยปี 2559 ได้เริ่มหักบัญชีเงินเดือนผู้กู้จาก 4 หน่วยงานแล้ว คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก บริษัทบาทรูม ดีไซด์ และ กรมบัญชีกลาง ซึ่งทั้ง 4 แห่ง นำร่องในปีนี้ ซึ่งขณะนี้ กยศ.เปิดให้องค์กรนายจ้างเข้าร่วมโครงการ กยศ.กรอ.เพื่อชาติ คือ การหักเงินเดือนไปจนถึงเดือนกันยายน ปี 2559
เมกา ที่เที่ยวแทรกแซงประเทศโน้นนี้ แท้จริงคือ "กุ๊ย" ดีๆนี่เอง รับคนที่ได้ชื่อว่า "โกง" เข้าทำงานในมหาวิทยาลัยชั้นนำของตัวเอง เพียงเพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์
ไอ้กันไม่ช่วยติดตามหนี้สินให้เพราะแม่จอมเบี้ยวแต่งงานกับไอ้เผือกสํญชาติอเมริกันกระมัง ถ้าไปแต่งกับเกาหลีเหนือมันคงช่วยตามยึดทรัพย์ทั้งโคตรเหง้าและอาจมีหย่อนระเบิดแถมให้ด้วย
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378487960/ ม.มหิดล แถลงยืนยันติดตามทวงหนี้คืนจากอาจารย์สาวดลฤดี ยืนยันพยายามช่วยเหลือผู้ค้ำประกันอย่างเต็มความสามารถ เตรียมฟ้องล้มละลายอาจารย์เบี้ยวทุน เร่งดำเนินคดี ก่อน 14 ก.พ. กันหมดอายุความ มาบอกอะไรป่านนี้
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/685247 "กรณีเช่นนี้...หรือว่าภาครัฐควรจะมีการประกาศชื่อนักเรียนทุนที่หนีทุน ไม่ยอมทำงานชดใช้ทุนและ/หรือไม่ยอมชำระเบี้ยปรับ โดยทำเป็นประกาศแห่งชาติประจำทุกปี เพื่อให้หน่วยงานและเจ้าของภาษีทุกคนได้ทราบถึงรายนามคนที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่สามารถแยกแยะชั่วดี" รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร กล่าว น่าเชียร์ให้ทำจังแฮะ แต่คงทำจริงไม่ได้หรอกนะครับ คงผิดกม.เกี่ยวกับพวกสิทธิหรือข้อมูลส่วนบุคคล รึเปล่า?
ถ้าอยู่ในไทยไม่จ่ายก็ยังใช้หมายศาลบังคับนายจ้างได้ ถึงนายจ้างไม่ให้ความร่วมมือก็ตาม หรือจะฟ้องล้มละลายก็ได้ แต่ต่างประเทศนั้นอำนาจศาลไทยไปถึงรึครับ ลองใช้วิธีถอนปริญญาน่าได้ผลกว่า เพราะมีคุณสมบัติข้อหนึ่งของผู้รับปริญญาว่าต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี เหมาะสมแก่ศักดิ์ศรีแห่งปริญญา
ฝรั่งเข้าใจผิดมั่ง มันไม่ใช้lond แต่เป็น conditional student fund คือกลับมาทำงานครบตามข้อตกลงก็ไม่ต้องคืนเงิน และถ้าไม่กลับต้องเสียค่าปรับ3เท่า Scholarship อเมริกันจะเป็นให้เปล่า ฝรั่งเลยไม่เข้าใจ เดี๋ยวฝรั่งจะเข้าใจเป็นว่ากู้เงินต้องคืน3เท่าอีก (ของฝรั่งก็โหดใช้ย่อย เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษามันคิดที่ 8%ต่อปี)
เห็นข่าวล่าสุดว่าโพสต์(จำ)ยอมจะจ่ายหนี้ให้ผู้ค้ำฯคืน โดยขอเบอร์โทร.เพื่อพูดคุย แต่ทางผู้ค้ำ น่าจะรู้ทันว่าเจตนาถ่วงเวลาเพื่อให้หมดอายุความฟ้อง http://www.nationtv.tv/main/content/social/378488072/ ......................................................................................... อยากให้ฟ้องให้เป็นเยี่ยงอย่างไปเลยครับ จะได้สำนึกบ้าง ที่แน่ๆทำให้คนรุ่นใหม่ๆลำบากมากขึ้นในการหาคนค้ำประกัน
ไม่ใช่คนแรกที่หนีทุน.. อืม.. แล้วคนพวกนี้ตอนนี้ทำหน้าระรื่นอยู่แถวไหนหรือ? ถ้ายังอยู่ในไทยแล้วมีหน้าที่การงานใหญ่โตนี่ ผมว่าเมืองไทยเราจบเห่จริงๆ ละ
http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/44551-open02_44551.html ลึกสุดใจ 'ภัทรวดี' เหยื่อค้ำราย3 กับความหวังในตัว 'ดลฤดี' ก่อน-หลังหนีทุนมหิดล วันพุธ ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 16:17 น. "ที่ต้องมาเป็นแบบนี้ คงเป็นเพราะเราเห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมมากเกินไปหน่อย" นี่คือประโยคคำตอบ ของ 'ผศ.ทพญ.ภัทรวดี ลีลาทวีวุฒิ' รองหัวหน้าภาควิชาทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หลังถูก สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตั้งคำถามต่อกรณีที่ น.ส.ดลฤดี จำลองราษฎร์ อดีตอดีตอาจารย์ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทย์ ม.มหิดล หนีทุนเรียนเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และไม่เดินทางกลับมาประเทศไทย ส่งผลทำให้ 'ผศ.ทพญ.ภัทรวดี' ซึ่งปรากฎชื่อเป็นหนึ่งหนึ่งในบุคคลที่เซ็นค้ำประกันการเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ดังกล่าว ให้แก่ น.ส.ดลฤดี ต้องรวมชดใช้หนี้ค้ำประกันทุนเรียน เป็นจำนวนเงินกว่า 2 ล้านบาท ผศ.ทพญ.ภัทรวดี เปิดฉากย้อนความหลังในวันที่ได้รู้จักกับ น.ส.ดลฤดี ครั้งแรกว่า "ดิฉันเคยทำงานอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข ก่อนจะลาออกไปเป็นอาจารย์อยู่ที่ มหาวิทยาลัยมหิดล พอเข้าไปทำงานก็ได้รู้จักกับ น.ส.ดลฤดี ซึ่งเข้ามาทำงานก่อนอยู่แล้ว เมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง ก็ได้การขอร้องจาก น.ส.ดลฤดี ให้ช่วยเซ็นค้ำประกันการขอทุนให้ เราก็ตัดสินใจเซ็นให้ไป เพราะเห็นว่าตอนนี้ภาควิชาของเรา ไม่มีบุคลากรที่ประสบการศึกษาขั้นสูงสุดเลย ถ้าเขาได้ไปศึกษาต่อ และกลับมาทำงานรับใช้ประเทศชาติ ภาควิชาเรา จะได้มีบุคคลากร ที่ประสบการศึกษาขั้นสูงสุด เหมือนภาควิชาหรือคณะเรียนอื่น" "เราอยากทำเพื่อส่วนรวมก็เลยตัดสินใจเซ็นค้ำประกันให้ไป" ผศ.ทพญ.ภัทรวดี หยุดคิดนิดหนึ่ง ก่อนจะเล่าต่อว่า "แต่วันนี้ สิ่งที่เราได้รับตอบแทนกลับมา คือ เราต้องมานั่งชดใช้หนี้ให้กับเขา เป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท ทั้งที่ เราไม่ได้ทำผิดอะไรเลย" ผศ.ทพญ.ภัทรวดี ยังย้อนความหลังให้ฟังจุดเริ่มต้นของปัญหาการหนีทุนเรียนครั้งนี้ว่า หลังจากที่ น.ส.ดลฤดี ศึกษาจบในระดับปริญญาเอกแล้ว เขาได้ทำหนังสือแจ้งกับมาที่มหาวิทยาลัยว่า จะขอขยายเวลาการกลับมาใช้ทุน เพราะต้องทำงานวิจัยต่อ จากนั้นเขาก็แจ้งให้เราทราบว่า จะไม่เดินทางกลับมาประเทศไทยแล้ว แต่ยินยอมชดใช้หนี้ทุนเรียนคืนให้ "ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นเลย เพราะถ้าเขายินยอมชดใช้หนี้คืน ทุกอย่างมันก็จบ และเรื่องก็ดูเหมือนจะเงียบไป จากนั้นเขาก็ส่งหนังสือแจ้งลาออกแจ้งมาเป็นทางการ ผศ.ทพญ.ภัทรวดี ยังย้ำด้วยว่า ตอนที่ น.ส.ดลฤดี ส่งจดหมายลาออกมา ซึ่งเป็นการลาออกย้อนหลังด้วย ในขณะนั้นเธอยังไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะคิดว่า น.ส.ดลฤดี จะกลับมาชดใช้เงินแน่นอน ตามที่ได้สัญญาเอาไว้ จนกระทั่งระยะเวลาผ่านไป จึงมารู้ตัวว่า น.ส.ดลฤดี ไม่กลับมาแล้ว พร้อมกับการหนีทุนเรียน และเธอต้องชดใช้หนี้จากการที่ได้ลงนามค้ำประกันไว้ เมื่อมีจดหมายท้วงหนี้ และหมายศาลฟ้องคดีส่งมาถึงโดยตรง "ดิฉันไม่รู้ตัวอะไรเลย ทุกอย่างมันเงียบมาก จนกระทั่งมีหนังสือแจ้งท้วงหนี้จากมหิดล ส่งมาถึง และตามมาด้วยหมายศาลฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ตอนนั้นก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน เพราะวงเงินที่ต้องชดใช้มันมีจำนวนมากเป็นหลักล้าน" เมื่อถามถึงการต่อสู้คดีความเรื่องหนี้สิน ผศ.ทพญ.ภัทรวดี ตอบว่า อย่าใช้คำว่าต่อสู้เลย ใช้เป็นคำว่าขอความเห็นใจดีกว่า "หลังจากที่รู้ตัวว่าต้องชดใช้หนี้ค้ำประกัน ตอนนั้นกลุ้มใจมาก ทำอะไรไม่ถูก กลัวว่าจะถูกยึดทรัพย์ เพราะวงเงินที่ผู้ค้ำประกันจะต้องชดใช้ร่วมกันมันจำนวนมากถึง 30 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสองเท่าจากเงินทุนที่ใช้ไป แต่ยังดีที่หนึ่งในผู้ค้ำประกัน คือ นายประสิทธิ์ จำลองราษฎร์ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นญาติของ น.ส.ดลฤดี เขาเห็นใจทางฝ่ายเรา เอาข้อมูลมาแจ้งให้ทราบว่ามันมีระเบียบกระทรวงการคลัง และมติครม.อยู่ เพื่อร้องขอความเห็นใจจากเรื่องนี้ เราก็เลยเสนอเรื่องไปตามขั้นตอน จนกระทั่งได้รับการลดวงเงินชดใช้เหลือประมาณ 10 ล้านบาท จากทั้งหมด 30 ล้านบาท" ผศ.ทพญ.ภัทรวดี ยังอธิบายว่า การค้ำประกัน น.ส.ดลฤดี จริงๆ แล้วมี 3 สัญญา ผู้ที่ต้องรับผิดชอบแบ่งออกเป็นกลุ่ม สัญญาแรกเป็นสัญญานักศึกษา เพื่อศึกษาวิชาทันตแพทยศาสตร์ เป็นเงินจำนวน 232,975 บาท สัญญานี้ คนที่รับผิดชอบ คือ นายประสิทธิ์ จำลองราษฎร์ แต่ทางฝ่ายพ่อแม่ของ น.ส.ดลฤดี เอาเงินมาชำระแทนให้แล้ว ส่วนสัญญาที่ 2 เป็นสัญญาเรื่องการรับเงินเดือนค่าราชการ คนที่รับผิดชอบ คือ นางอารยา พงษ์หาญยุทธ อาจารย์อีกคนหนึ่งมหิดล ส่วนสัญญาที่ 3 เป็นสัญญารับทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ มีวงเงินมากที่สุด และคิดรวมการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทด้วย คนที่รับผิดชอบ คือ ตน นายเผด็จ พูลวิทยกิจ และน.ส.พัชนีย์ พงศ์พียะ เพื่อนของน.ส.ดลฤดี ซึ่งทุกคนก็ต้องไปพยายามหาเงินมาชดใช้คืนให้ เฉลี่ยคนละประมาณ 2 ล้านกว่าบาท สำหรับขั้นตอนการหาเงินมาใช้หนี้ในส่วนของตนเองนั้น ผศ.ทพญ.ภัทรวดี กล่าวย้ำระหว่างการพูดคุยหลายครั้งว่า เดือนร้อนมากจริงๆ เพราะเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2559 ที่ผ่านมา เพิ่งหาเงินจำนวน 2 ล้านกว่าบาท ไปชดใช้ให้กับม.มหิดล จากปัญหาการค้ำประกันการเดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศของน.ส.ดลฤดี ได้ครบถ้วน แต่ตนเองก็ยังคงเป็นหนี้เหมือนเดิม เพราะเงินจำนวน 2 ล้านกว่าบาทที่นำไปใช้หนี้ ได้รับมาจากกลุ่มเพื่อนเตรียมอุดมศึกษาที่รวบรวมเงินมาให้เพราะเห็นใจ "ดิฉันไม่ใช่คนร่ำรวยอะไร เงินที่ชดใช้คืนให้กับมหิดลไป มาจากเพื่อนสมัยเรียนเตรียมอุดมฯ ที่สงสารและเห็นใจ ตอนนี้แม้จะชำระหนี้คืนให้กับราชการไปได้แล้ว แต่เราก็ยังต้องหาเงินไปทยอยผ่อนใช้เพื่อนๆ เหมือนเดิม ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะหมดสิ้นเมื่อไหร่" เมื่อถามว่า ได้ติดต่อกับ น.ส.ดลฤดี บางหรือไม่ ผศ.ทพญ.ภัทรวดี ตอบว่า ก็ติดต่อมาตลอด ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันนี้เขาก็เพิ่งส่งอีเมลแจ้งมา บอกว่า จะหาเงินมาชดใช้ให้ เมื่อถามว่า แต่ในโลกออนไลน์มีการนำข้อมูลมาเผยแพร่ว่า น.ส.ดลฤดี ได้งานที่ม.ฮาร์วาร์ด เพิ่งซื้อบ้านใหม่ในราคาหลายสิบล้านบาท ผศ.ทพญ.ภัทรวดี ตอบว่า ข้อมูลเหล่านี้ตัวเองไม่ทราบหรอก และจริงๆไม่อยากพูดอะไรถึงเรื่องนี้มาก แต่เราอยากบอกให้เขารู้ว่า เราเดือนร้อน จากการหนีทุนเรียนของเขาจริงๆ และต้องการให้กลับมารับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อถามว่า แต่ น.ส.ดลฤดี บอกว่ายังไม่มีเงิน ผศ.ทพญ.ภัทรวดี ระบุว่า ประโยคคำพูดนี้ ตนเองก็ได้รับแจ้งเหมือน กับผู้ค้ำประกันคนอื่นๆ แต่เขาบอกว่าจะชดใช้ให้เราก็กำลังรอดูอยู่ "สิ่งที่หวังอยู่ตอนนี้ คือ ขอให้เขาเห็นใจและเปลี่ยนใจรับผิดชอบปัญหาให้ ตอนนี้ก็กำลังรอดูอยู่ว่าเขาจะช่วยเหลืออะไรเราได้บ้าง แม้ว่าเขาจะพูดเหมือนเดิมว่ายังไม่มีเงิน แต่เราก็ยังมีความหวังอยู่ว่าเขาจะเห็นใจและเปลี่ยนใจมารับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น" "เพราะเราเดือดร้อนมากจริงๆ " --------------------------------------------------------------------------------------------------------- คำตอบที่บอกว่าเห็นแก่ส่วนรวมมากไปหน่อย ผมว่าพูดไม่ถูก อาจจะหวังดีที่อยากเห็นคนเรียนต่อเมืองนอก แล้วกลับมาทำงานใช้ทุน ช่วยเหลือประเทศ ก็นึกไม่ถึงว่าจะทำให้คนที่ช่วยเหลือ เดือดร้อนขนาดนี้
ส่วนใหญ่ที่ได้ยิน จะเป็น ญ ที่ไปเรียนจนได้สามี แล้วเลือกจะอยู่เมืองนอก แต่ในประเทศก็มีครับ ทีแรกหนีทุนไปทำกินเมืองนอก พอกำลังจะโดนฟ้องก็รีบกลับมาติดต่อรับราชการ พอไม่ฟ้องแน่แล้วก็รอเช็คอายุความ แล้วก็ลาออก หลังจากนั้นมีทั้งที่ไปทำส่วนตัว เอกชน และองค์กรมหาชน บางคนบ้านรวยเป็นร้อยล้านอยู่ก่อนแล้ว บางคนแค่เฉพาะตัวเองก็ยังมีแตะๆร้อย แต่สรุปคือไม่จ่าย เคยเห็นมาเช่นนี้ จึงเชียร์อันนี้ครับ
Nation TV - เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย " ทันตแพทยสภาจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการทันตแพทยสภาภายในสัปดาห์หน้า เพื่อพิจารณาบทลงโทษต่อไป ส่วนจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับประเด็น และข้อมูลต่างๆ ซึ่งต่อจากนี้จะทำเรื่องขอข้อมูลไปยังหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนซึ่งการจะลงโทษทันตแพทย์ต้องดูที่แต่ละประเด็น ดูหลักฐานประกอบ ซึ่งบทลงโทษจะมีตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือน ภาคฑัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะทำผิดเรื่องมาตรฐานวิชาชีพจึงทำการว่ากล่าวตักเตือนเท่านั้น ยังไม่เคยมีความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกง" อ่านต่อที่: http://www.nationtv.tv/main/content/social/378488001/ ...................................................................... ลองตามกันดูครับ จะทำได้แค่ไหน ยิ่งกรณีนี้เข้าข่ายฉ้อโกงด้วย การพิจารณาโทษไม่น่าจะยากอะไร ยกเว้นว่าจะช่วยเหลือกัน แต่นั้นก็จะกลายเป็นแบบอย่างให้คนไม่กลัว และสะท้อนให้เห็นมาตรฐานของวิชาชีพนี้ได้ รวมทั้งศรัทธาด้วย
อ้อ...เพิ่มเติมอีกนิด ด้วยแนวคิดแบบเดียวกันหรือปล่าว ทำให้ทักษิณหนีคดี แค่เซ็นเอกสารแผ่นเดียว ติดคุกตั้ง 2 ปีเลยรับไม่ได้ และคนที่หนีคดีทั้งหลายอาจคิดแบบเดียวกันหรือเปล่า แค่ปล้น แค่ขโมย แค่ข่มขืน แค่ๆๆๆๆ ฯลฯ ทำไมติดคุกตั้งมากมายหลายปี
เช้านี้มีเวลา เลยตามเรื่องนี้ดู จาก อิศราครับ ข้อมูลที่น่าสนใจ พบว่า 1 ใน 8 โครงการ มีโครงการทุนพัฒนาอาจารย์ 16 สาขาขาดแคลน ประกอบด้วย สาขาแพทย์ศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สถาปัตยกรรมศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สาขาภาษา เภสัชศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สัตว-แพทยศาสตร์ สหเวชศาสตร์ อัญมณีและเครื่องประดับ บัญชี ครุศาสตร์อุตสาหกรรม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (ศึกษาในประเทศ และต่างประเทศ ระดับปริญญาโท-เอก) ระยะเวลาโครงการการจัดสรรทุน 14 ปี ตั้งแต่ปี 2535 -2548 สิ้นสุดการจัดสรรทุนปี 2548 และสิ้นสุดการจัดสรรงบประมาณในปี 2558 โครงการทุนพัฒนาอาจารย์ 16 สาขาขาดแคลนนี้เอง ที่น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวล่าสุดว่า กรณีอดีตอาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ ชดใช้ทุนรัฐบาลตามสัญญา ณ อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่า เป็นทุนที่ ทพญ.ดลฤดี ได้รับ โดยในจำนวนนี้มีผู้ที่มีผิดสัญญาการรับทุน 23 คน โดยบางคนเรียนไม่จบ หรือทำงานไม่ครบตามเงื่อนไขการใช้ทุน แต่ทุกคนก็ใช้เงินคืนครบหมด มีเพียง ทพญ.ดลฤดีเท่านั้นที่ไม่ใช้เงินคืน ทั้งนี้ สำหรับกรณีผิดสัญญานั้น สกอ. หมายถึง การยุติการศึกษา การพ้นสภาพนักศึกษา ซึ่งมีผลทำให้ผู้รับทุนไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก รวมถึงกรณีลาออกจากราชการก่อนที่ปฏิบัติงานชดใช้ทุนครบถ้วนตามสัญญา http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-news/item/44559-dd0302.html#.VrIYh988jP0.facebook ...................................................................................... ฉะนั้น ที่ มหิดล แถลงน่าจะสื่อฯออกมาผิดพลาดว่าไม่ใช่รายแรก
Siriwanna Jill ตายทั้งเป็น ...... ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แนะ ให้ฟ้องแพ่ง กรณีข่าว “ทันตแพทย์หญิง” ไม่กลับมาใช้ทุนของมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุ ไม่มีเหตุในการฟ้องล้มละลาย เพราะการฟ้องล้มละลาย โจทก์ต้องพิสูจน์ว่า มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินพอ ที่จะจ่ายหนี้ให้เจ้าหนี้ แต่จากข้อมูลที่มี หมอฟัน มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้ เพราะฉะนั้นจะมีปัญหาเรื่องฟ้องล้มละลาย แนะให้ #ฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหาย เรียกค่าปรับเต็มจำนวนบวกดอกเบี้ย เสียค่าธรรมเนียมศาลประมาณ 200,000 บาท เงินส่วนนี้จะเป็นของหลวง และสามารถฟ้อง ที่ศาลในประเทศไทยได้เลย แม้จำเลยที่ถูกฟ้อง จะอยู่ต่างประเทศ หรือโอนสัญชาติไปแล้ว แต่มูลหนี้อยู่ที่ประเทศไทย กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไทย ให้สิทธิ์เจ้าหนี้ ที่จะฟ้องที่ประเทศไทยได้ และส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องได้ มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้มา 20 กว่าปีก่อน สามารถส่งได้ทั้งไปรษณีย์ หรือส่งผ่านทางฑูตได้ แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่มาต่อสู้คดี ก็ถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การ ขาดนัดพิจารณา ศาลก็พิจารณาโจทก์ฝ่ายเดียว แล้วพิพากษาได้เลย เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ว่ามีหนี้ตามสัญญา และเปลี่ยนเป็น #หนี้ตามคำพิพากษา ซึ่ง เจ้าหนี้จะมีเวลาติดตามบังคับหนี้ ตามคำพิพากษาได้อีก ภายใน 10 ปี ถ้าเจอว่าลูกหนี้มีทรัพย์สมบัติ ในประเทศไทย สามารถยึด อายัดได้เลย แล้วถ้าไม่มี ขายหมด ขนไปอยู่เมืองนอก ยังมีช่องทาง ที่จะเอาคำพิพากษาของไทย โดยเฉพาะในอเมริกา มีช่องทางในระบบ Common Law มีการไปฟ้อง ไม่ได้บังคับฟ้องตามสัญญา แต่ #บังคับฟ้องตามคำพิพากษาสามารถบังคับได้ แต่ถ้าไม่สามารถทำอะไรได้ การฟ้องที่อเมริกายืดเยื้อ ที่ไทยก็ไม่มีทรัพย์สินให้ยึด #ค่อยฟ้องล้มละลาย ถ้ามีระยะเวลา 10 ปี ให้ฟ้องในปีที่ 9 คดีล้มละลายจะเดิน พอศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด กระบวนการ ที่จะดำเนินแบบนี้ มีอีกเยอะในทางระบบกฎหมาย ที่สามารถดำเนินการควบคู่ ไปกับทางกฎหมายได้ เช่นจริยธรรม พฤติกรรมเช่นนี้ไม่ว่าที่ไหนก็รับไม่ได้ เรียกว่าต่ำกว่ามาตราฐานของโลก ถ้าองค์กรใดมีผู้ที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ จำเป็นต้องทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการ ถือเป็นมาตราการ ที่จำเป็นต้องทำ เพื่อยืนหยัดมาตรฐาน ทางพฤติกรรมของคน โดยเฉพาะคนที่เป็นข้าราชการ อยู่ในฐานะที่ควรอยู่ ในกฎในเกณฑ์มากกว่าประชาชนทั่วไป ไม่ใช่ข้าราชการธรรมดา เป็นข้าราชการในระดับครูบาอาจารย์ อ.จรัญย้ำว่า ต้องกลับไปดูว่าตัวหนังสือ เรียกร้องความเป็นธรรม หรือหลักฐานที่แจ้งกลับมา อาจเป็นลักษณะ การรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความหยุดลง โดยให้ยึดฉบับสุดท้าย เป็นการเริ่มนับหนึ่งใหม่ ซึ่งกฎหมายมาตรา 193/28 วรรค 2 ความว่า ถึงแม้อายุความจะขาดไปแล้ว แต่ถ้าลูกหนี้ ได้ทำสัญญา หรือแสดงเจตนารับสภาพ ความรับผิด โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้สามารถฟ้องบังคับได้ ความใหม่เริ่มเดิน ไม่ใช่ 10 ปี แต่เป็น 2 ปี เป็นกฎหมายเฉพาะ ที่ต้องดูหลักฐานข้อมูลของทางมหาวิทยาลัย ทั้งแสดงความเห็นว่า ถ้ามหาวิทยาลัยไม่ดำเนินการเข้มงวดในเรื่องนี้ จะทำให้เสียความรู้สึกของสังคม ดังนั้นจำเป็นต้องทำ
ฟังจากที่อาจารย์พูดแล้ว ทางม.มหิดลใจเย็นเกินไปจริงๆ แล้วไปอนุมัติให้ลาออกแทนที่จะไล่ออก เหมือนช่วยๆกันเลย
ข่าวล่า http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9590000012833 -------------------------------------------------------------------------------------------------------- "ทพ.เผด็จ" โพสต์เฟซบุ๊กเผย "ดลฤดี" ถูก "Ombud" หน่วยงานตรวจสอบภายในของฮาร์วาร์ดสอบสวนแล้ว อาจต้องถูกลบชื่อจากการเป็น Leadership ของมหาวิทยาลัยชื่อดัง วันนี้ (4 ก.พ.) เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น. ทพ.เผด็จ พูลวิทยกิจ 1ใน 4 ผู้ค้ำประกันให้ ทพญ.ดลฤดี จำลองราษฎร์ ที่ต้องใช้หนี้แทน โพสต์เฟซบุ๊กเฟซบุ๊ก "เผด็จ พูลวิทยกิจ" ว่า "งานเข้าเธอแล้วครับ แหล่งข่าวของผมจากสหรัฐอเมริกาแจ้งว่า ตอนนี้มีผลกระทบต่อหน่วยงานที่เธอทำงานอยู่ในฮาร์วาดแล้ว คงอาจจะถูกลบชื่อออกจากการเป็น leadership จาก HSDM ชื่อย่อของฮาร์วาดค่ะ !!!" "มีคนถามเข้าเยอะครับ บอกได้เลยครับว่าเธอถูกขอสอบสวนจาก Ombud ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบภายในของ Harvard Medical School ครับ อันนี้มาจากแหล่งข่าวของผมในสหรัฐอเมริกาครับ" ทพ.เผด็จ ระบุ
กรรม คือ การกระทำ ทำอย่างไรต้องได้รับผลแห่งการกระทำนั้น หลายคนคิดว่า หนี ผลแห่งการกระทำ ของ ตัวเองได้ หนีไปอยู่ไกลถึงอเมริกา แต่หนีไปไกลแค่ไหน ก็ หนีไม่พ้น ผลของมันกลับมาเร็วและรุนแรงเหลือเกิน หลวงตาฯ ; ธรรมชโย ฯลฯ ดู ไว้เป็นตัวอย่างนะเจ้าคะ 555+ ตะนิ่นตาญี วันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา๑๙.๔๐ นาฬิกา
http://news.mthai.com/hot-news/general-news/479351.html แบบนี้ก็มีด้วย!! ข้าราชการอ้างเข้าใจผิด เหตุไม่ชำระหนี้ กยศ. ปลัดกระทรวงการคลัง ชี้แจง เหตุข้าราชการกว่า 60,000 คน ผิดชำระเงินกู้ กยศ. เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเงินให้เปล่า รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 9 ก.พ. 59 ที่ผ่านมา นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ออกมาเปิดเผยถึงสาเหตุภายหลังมีข้าราชการกว่า 60,000 คน ผิดชำระเงินกู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ว่า เป็นเพราะข้าราชการเข้าใจผิดคิดเป็นเงินได้เปล่า จึงไม่มีการชำระเงินกู้ยืมดังกล่าว ซึ่งข้าราชการของกระทรวงการคลังมีอยู่กว่า 1,000 คน ระดับสูงสุดเป็นถึง ซี 8 และซี 9 ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ทางกระทรวงการคลัง ร่วมกับทุกกระทรวง เตรียมจะลงนามเป็น MOU ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ นี้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการเปิดโอกาสให้ข้าราชการในสังกัดที่ผิดชำระหนี้ กยศ. เข้ารับการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการหักจากเงินเดือน ถึง 30 กันยายน 2559 หากพ้นกำหนดแล้วจะดำเนินคดีตามกฎหมายทันที นาทีประมาณ 0.50 หากยินยอมให้หักเงินเดือน จะไม่ต้องเสียค่าปรับ 100% หากชำระทั้งหมด จะให้ผลตอบแทน 1% ของเงินต้นคงเหลือ นึกว่าให้ฟรี เหตุผลน่าเกลียดมาก จงใจหลบเลี่ยงชัดๆ โกหกกันซึ่งๆหน้า หรือถ้าอินโนเซนท์อ่านหนังสือไม่ออกจริงๆ จนแม้กระทั่งชื่อกองทุนฯก็ยังไปแปลความว่าให้ฟรีๆ ด้อยสามารถขนาดนี้สอบผ่านภาค ก,ข มาได้ยังไง? ยิ่งเป็นขรก.คลังซะด้วย อ่านหนังสือไม่ออกแล้วจะมีความเข้าใจระบบบัญชี&งบประมาณเหรอครับ ยิ่งกว่านั้น กลับปล่อยกันจนโตถึงซี8ซี9ซะอีก ที่จริงแค่ไม่สั่งให้ออก ปลดออก ไล่ออก ก็น่าจะปราณีพอแล้วนะครับ ยังจะลดแลกแจกแถมอีกเหรอ
เงินกู้นะครับ เงินกู้ .......... ไม่รู้นะว่า ทำไมพวกนั้นยังแกล้งตีมึน หวังว่าเรื่องเบี้ยวหนี้เบี้ยวทุนจะไม่ใช่ไฟไหม้ฟาง
กระทรวงการคลัง เตรียมใช้มาตรการผ่อนปรน ปรับโครงสร้างหนี้กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หลังพบข้าราชการเบี้ยวจ่าย กยศ. ถึง 6 หมื่นราย แม้การติดตามการชำระคืนเงินกู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. จะมีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง แต่จากข้อมูลผู้กู้ กยศ. ทั้งหมด 4.5 ล้านราย พบยังผู้ค้างชำระสูงถึง 2 ล้านราย เป็นข้าราชการ 60,000 ราย ซึ่งกว่า 1,000 ราย เป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงการคลัง จึงเป็นที่มาให้กระทรวงการคลัง ริเริ่มโครงการ กยศ. กรอ.เพื่อชาติ หวังเร่งรัดการชำระคืนเงินกู้ ในกลุ่มข้าราชการที่ผิดสัญญา เข้าอบรมผ่อนปรน การปรับโครงสร้างหนี้ และให้สิทธิพิเศษคืนเงินบางส่วนสำหรับผู้ที่จ่ายหนี้คืนทั้งก้อน หวังเป็นกระทรวงนำร่อง ข้าราชการปลอดหนี้ กยศ. ก่อนให้ทุกกระทรวงส่งรายชื่อข้าราชการในสังกัดที่เข้าร่วมโครงการ ภายในวันที่ 15 ก.พ. 2559 นี้ เพื่อทำบันทึกข้อตกลง ไม่เกินปลายเดือนมีนาคม และเริ่มชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.นี้เป็นต้นไป พร้อมเร่งออกกฎหมายกองทุนเพื่อการศึกษา ให้นายจ้างหักเงินเดือนผู้ค้างชำระ ผ่านกรมสรรพากร ไปถึง กยศ.โดยตรง และเปิดให้เอกชนเข้าถึงข้อมูลเพื่อตรวจสอบก่อนรับบุคลดังกล่าวเข้าทำงาน หวังลดความเสี่ยงการเลี่ยงชำระ