รัฐบาลสลิ่ม เตรียมยกเลิก ยาบ้า เป็นยาเสพติด

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย นายพลตัดแปะ, 15 Jun 2016

  1. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
  2. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    รัฐบาลเสื้อแดง เตรียมถอนใบกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด
    http://www.thairath.co.th/content/373498
     
    หนูอ้อย likes this.
  3. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    ดีใจแทน อดีต ส.ส.เผาไทย ด้วย
    ลูก + หลาน + น้อง จะได้ทำมาค้าคล่อง
     
  4. นิจนิรันดร์

    นิจนิรันดร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,472
  5. yoshikiryuichiro

    yoshikiryuichiro อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    472
    อ่านแล้วแปลกๆ แต่ที่แน่ จขกท.มั่ว
    แถมในข่าวก็ยังบอกอยู่ว่ายังไม่ได้ยกเลิก
    ปล.ส่วนตัวคิดว่าข่าวนี้เป็นข่าวปลอม
    แถมที่เล่นข่าวนี้ก็มีแต่เดลินิวส์
    เพิ่มเติม

    Screenshot_2016-06-15-21-13-52.png
     
    Last edited: 15 Jun 2016
    Anduril likes this.
  6. นิจนิรันดร์

    นิจนิรันดร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,472
    ก่อนที่จะตั้งกระทู้ ได้อ่านเนื้อหาของข่าวก่อนหรือเปล่า ตอนนี้ผมได้แคปหน้าจอของ นายพลไว้ไปที่เรียบร้อยแล้ว
    นี่คือผลของการอ่านแต่พาดหัวข่าว โดยไม่อ่านเนื้อหาของข่าว

    ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เรียกร้องให้คำนึงถึงการลงโทษที่ได้สัดส่วน เช่น อันตรายของสารกระตุ้นในกลุ่มแอมเฟตามีนที่มีต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม บทบาทของผู้กระทำผิด มาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุก หลายประเทศนำแนวคิดของประเทศไทยไปใช้ แต่ในไทยทำไม่ได้เพราะติดขัดที่กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ถ้าไม่แก้กฎหมายก็เดินต่อไปไม่ได้ ตนจึงผลักดันให้ยกร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดเป็นการปฏิรูปกฎหมายยาเสพติดทั้งระบบ ขณะนี้กฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างขั้นตอนคณะกรรมการกฤษฎีกา กฎหมายใหม่จะเปิดช่องให้ศาลมีโอกาสใช้ดุลยพินิจในการลงโทษจำคุก หรือการปรับที่น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เมื่อมีเหตุอันสมควรเฉพาะราย โดยพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด ฐานะของผู้กระทำความผิด และพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องดำเนินการให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ปราบปราม ป้องกัน และบำบัด แต่ที่ผ่านมาการบำบัดทำไม่ได้ ติดขัดที่กฎหมาย ... อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/crime/502786
     
  7. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า กระทรวงยุติธรรมต้องพยายามปรับเปลี่ยนโฉมใหม่การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด ก่อนหน้านี้หลายประเทศที่เรานำกฎหมายเขามาใช้ เช่น สหรัฐอเมริกาเคยประกาศสงครามยาเสพติด แต่ท้ายที่สุดเขาก็ยอมจำนน แก้กฎหมาย ขณะที่ไทยไปลอกเรื่องการฟื้นฟูมาใช้เมื่อปี 2545 แต่เราก็ไม่ได้ทำตรงนี้ ตนจึงพูดว่าประเทศไทยควรยุติการใช้การปราบนำ แต่ไม่ใช่ว่าไม่ปราบ ซึ่งการป้องกันยาเสพติดต้องมี 3 ระบบ คือ ระบบปราบปราม ป้องกัน และบำบัดฟื้นฟู ดังนั้น ระบบฟื้นฟูถือเป็นเรื่องสำคัญกับเรื่องนี้ที่จะทำ และการป้องกันก็สำคัญ แต่ตราบใดที่กฎหมายยังเขียนอย่างนี้จะเดินไปถึงตรงนั้นลำบาก

    พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวอีกว่า กฎหมายฟื้นฟูกับกฎหมายยาเสพติดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันขัดแย้งกัน ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมก็พยายามแก้กฎหมายโดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ซึ่งเราได้แก้หลายปมปัญหาสำคัญ เช่น หากโดนจับกุมในคดีพกพายาเสพติด 1 เม็ด ก็มีโทษจำคุก 25 หรือ 15 ปี ซึ่งสวนทางกับเรื่องผู้เสพติดยาเสพติดคือผู้ป่วย ทั้งที่เรารับรู้ว่าการดื่มสุรา สูบบุหรี่ มีโทษมากกว่าเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ด้วยซ้ำไป แต่เรามองว่าเมทแอมเฟตามีน เป็นสิ่งที่ชั่วร้าย ตรงนี้คือสิ่งที่สังคมโลกกำลังจะมองว่าเราจะอยู่กับสารเสพติดได้อย่างไรให้เกิดความปลอดภัยกับสังคม ซึ่งมีหลายประเทศที่กำลังแก้ไขจุดนี้

    "หลายประเทศก็ยกเลิกวิธีแก้ปัญหายาเสพติดด้วยการปราบนาน 10 ปีแล้ว และหลายประเทศก็หมดปัญหาไปแล้ว เขาก็มองผู้ติดยาเสพติดคือผู้ป่วย ต้องได้รับการดูแลจากหมอ จึงอยากทำความเข้าใจกับประชาชนทุกคนให้ยอมรับ ขอถามว่าเราพร้อมที่จะเปลี่ยน "เมทแอมเฟตามีน" กลับมาเป็นยาปกติแล้วหรือยัง ผมกล้าที่จะทำ เพราะสิ่งเหล่านี้มันเป็นความจริง ซึ่งผมกำลังศึกษาอยู่ว่าจะแก้มันอย่างไร ให้มันกลับมาเป็นสารปกติเสียที แต่เราต้องมีหน่วยงานต่างๆ มารองรับการทำงาน" พล.อ.ไพบูลย์ กล่าว

    อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องมีการพูดคุยกันทุกหน่วยงานทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม ป.ป.ส. ตำรวจ อัยการ และศาล ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นแนวโน้มแล้วว่า "เมทแอมเฟตามีน" มีโทษน้อยกว่าบุหรี่และสุรา อีกที่จะทำร้ายสมอง แต่เรากลับมองว่ามันร้ายกว่าเหล้าและบุหรี่อีก เห็นเป็นอาชญากรรม แต่สุราไม่ใช่อาชญากรรม ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้และตนพร้อมที่จะแก้และศึกษาในช่วงเวลาที่ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอยู่
    http://m.naewna.com/view/breakingnews/220852
     
  8. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ไปฟังรัฐมนตรีเค้าพูดแบบเต็มๆ ดีกว่าไหม



    แนวคิดถอดสารตั้งต้นยาบ้าจากยาเสพติด พูดคุยกับ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม , คุณนริน แป้นประเสริฐ แกนนำเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชน , คุณสุภัทรา นาคะผิว มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิ์ด้านเอดส์
     
    Last edited: 17 Jun 2016
    Anduril likes this.
  9. นิจนิรันดร์

    นิจนิรันดร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,472
    คนนี้อธิบายชัดเจน แต่คิดว่า คนตั้งกระทู้จะไม่อ่าน

    Kittitouch Chaiprasith
    - เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ พล.อ.ไพบูลย์ไม่ได้คิดเองนะครับ
    แต่มันอยู่ในวาระการประชุมของ ‪#‎องค์กรสหประชาชาติ‬
    ว่าด้วยเรื่อง การแก้ปัญหายาเสพติดโลก (UNGASS)
    ประจำปี 2016 https://www.unodc.org/ungass2016/
    ที่มีประวาระการประชุมทั้งหมด 5 วาระโดยประกอบด้วย...

     
    อู๋ คาลบี้ และ Anduril ถูกใจ.
  10. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ปัญหาใหญ่ของคนไทย คือขาดความสนใจรับรู้สาระของข่าวสาร มักเน้นจับผิด คำพูดหรือข้อผิดพลาดของเนื้อข่าวนั้น มากกว่าจะสนใจสาระที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนาสติปัญญาได้ หลายต่อหลายเรื่องที่ถูกนำมาลงในนี้ตั้งแต่ การนำรายได้ปชช.มาลงบนบัตรปชช. ซิงก์เกิ้ลเกตเวย์ ฯลฯ สะท้อนให้เห็นแนวคิดและสติปัญญาของคนๆนั้นได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญเป็นช่องทางให้กลุ่มคนนำมาบิดเบือนเพื่อทำลายชื่อเสียงของประเทศได้อีกทางหนึ่ง
     
  11. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    ผมนึกถึงกัญชากับใบกระท่อมเลย ที่เคยมีคนส่วนหนึ่งเรียกร้องให้พิจารณาเรื่องการใช้เพื่อสุขภาพ
     
    Alamos และ Anduril ถูกใจ.
  12. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    คนหลังข่าว 17/06/59 (ช่วงเย็น) : อยู่กับยาบ้า (แอมเฟตามีน) อย่างไรให้ปลอดภัย



    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สังคมช่วยคิดหาวิธีให้ยาเสพติดไม่เป็นภัยต่อสังคม ตั้งคำถาม เหล้า-บุหรี่ ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทแต่ยังยอมให้ขายเสรี

    ความคิดหน้าแนวคิดของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่จะเปลี่ยนยาบ้าให้เป็นยารักษาโรค ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ได้รายงานนายกรัฐมนตรีภายหลังประชุม UNGASS ว่าขณะนี้การปราบยาเสพติดโดยใช้วิธีรุนแรงอาจไม่ได้ผลและกระแสโลกเปลี่ยนไป มีผลวิจัยหลายชิ้นระบุว่าองค์ประกอบของยาเสพติด เมทแอมเฟตามีน ต้นโคคา และฝิ่น สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรค ขณะที่กัญชาสามารถนำมารักษาโรคมะเร็ง ที่ผ่านมามาตรการปราบยาเสพติดเน้นแต่การทำลายแหล่งผลิต สกัดเส้นทางขนส่งสารตั้งต้นและจัดการกับผู้ค้ารายใหญ่ ในขณะที่พบว่าผู้ที่ถูกจับกุมเป็นผู้ค้ารายย่อยทำหน้าที่เพียงรับจ้างขนและจำหน่ายกับผู้เสพรายย่อย สร้างปัญหาอาชญากรรม นักโทษล้นเรือนจำออกมาก็สร้างปัญหาสังคม

    พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวต่อว่า เมื่อไม่สามารถปราบได้หมดจึงควรหาแนวทางอยู่กับยาเสพติดให้ได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ยาเสพติดต้องไม่เป็นภัยต่อสังคม ซึ่งข้อเสนอของตนเป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้น ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างชัดเจน จึงต้องถามสังคมว่ามีความเห็นอย่างไร

    พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่าขณะนี้ ป.ป.ส.ได้แก้ปัญหาด้วยการยกร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.... รวมทั้งกำลังพิจารณาว่าการแก้กฎหมายโดยเฉพาะการกำหนดโทษ ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้จำหน่ายและผู้เสพ รุนแรงเกินไปหรือไม่ นอกจากนี้ยังให้สังคมช่วยพิจารณาว่าสุรา บุหรี่และกาแฟเป็นสารเสพติดหรือไม่แล้วเหตุใดจึงไม่มีการจับกุมแต่ปล่อยให้มีการค้าแบบเสรี เพราะสุรา บุหรี่ กาแฟล้วนมีผลต่อจิตประสาทเช่นเดียวกับยาบ้า

     
    Last edited: 19 Jun 2016
    Alamos และ นิจนิรันดร์ ถูกใจ.
  13. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ผบช.ปส.) เปิดเผยกับสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ว่า สังคมกำลังเข้าใจผิดในสิ่งที่ พล.อ.ไพบูลย์ ต้องการนำเสนอ ทั้งที่เราไม่เคยมีนโยบายลดการป้องกันปราบปรามยาเสพติดเลย แต่แนวคิดในการยกเลิกเมทแอมเฟตามีนออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 นั้น เพราะต้องการนำมาใช้ในกระบวนการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ซึ่งปัจจุบันพบว่า ล้มเหลว เนื่องจากผู้เคยผ่านการบำบัดหลายคน กลับไปเสพยาอีก จึงมีการพูดคุยปรึกษากัน

    (อ่านประกอบ:ตัวเลขสูงขนาดไหน ความเสียหายด้านเศรษฐกิจ-สังคม จากนโยบายยาเสพติด 17 ปี)

    “กระทรวงสาธารณสุขในต่างประเทศใช้เมทแอมเฟตามีนบำบัดผู้ป่วยติดยา อย่างเช่นโปรตุเกส ออสเตรเลีย ที่ประสบความสำเร็จ” ผบช.ปส.กล่าว และว่า สมัยก่อน สารมอร์ฟีน เคยเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 เช่นกัน แต่ภายหลังได้ยกเลิกและใช้ในการรักษา

    พล.ต.ท.เรวัช ยังกล่าวว่า เราไม่ได้นำเม็ดยาบ้าหรือเม็ดเมทแอมเฟตามีนมาให้ผู้ติดยากินฟรี แต่จะแพทย์จะต้องวิเคราะห์ วิจัย โดยอาจนำมาสกัดเป็นยาน้ำฉีดผ่านเข้าร่างกายทางสายน้ำเกลือ เพื่อทำการบำบัด ทั้งนี้ ในวันที่ 22 มิถุนายน 2559 จะเข้าพบ พล.อ.ไพบูลย์ เพื่อหารือร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
    http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-news/item/47831-amphetamine.html
     
  14. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Korn Chatikavanij ระบุถึงแนวคิดของ พล.อ.ไพบูลย์ ว่า ชอบความกล้าคิดของท่านรมต. ยุติธรรมในเรื่องยาบ้า บางคนมองว่าทำไมถึง 'ยอมแพ้' ในการต่อสู้กับสิ่งที่ไม่มีใครเถียงว่าไม่ดี จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าผู้เสนอแนวคิดที่สุดทันสมัยกลับกลายเป็นอดีตนายทหาร (ซึ่งวันนี้ยังมีไม่กี่ประเทศที่กล้าใช้นโยบายในแนวที่ท่านนำเสนอ)

    เรื่องนี่จริง ๆ แล้วยังคงต้องคุยกันอีกในรายละเอียด และสุดท้ายจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็ไม่แน่ แต่สนับสนุนให้มีการศึกษาและทดลอง เพราะเราฆ่าตัดตอนก็แล้ว จับคนเป็นหมื่นเป็นแสนเข้าคุกก็แล้ว วันนี้ปัญหายาเสพติดกลับแย่ลง น่าคิดจริงๆว่าถ้ายาเสพติดไม่มีราคา ทำให้การค้ายาไม่มีกำไร ปัญหาสังคมจะมากขึ้นหรือลดลง ลองกล้าคิดกันสักนิดดีแล้ว
    http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-news/item/47831-amphetamine.html
    ......................................................
     
  15. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    แนวคิดนี้ใช่ว่าเพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก ย้อนไปเมื่อ 30 เม.ย. 2558 นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยกล่าวในเวทีเสวนา “สงครามยาเสพติด คุกและเหยื่อผู้ต้องขังหญิง” ณ โรงแรมมิคาเคิล แกรนด์ หลักสี่ กทม. ว่า ปัจจุบันเรือนจำต่างๆ ในประเทศไทยประสบปัญหา “นักโทษล้นคุก” ซึ่งจำนวนมากเป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด

    โดยมีสาเหตุมาจากกฎหมายที่ “เหวี่ยงแห” เช่น หากเป็นยาเสพติดประเภท 1 ซึ่งยาบ้าอยู่ในกลุ่มนี้ การนำเข้ามาในประเทศไทยไม่ว่าปริมาณเท่าใดและด้วยเหตุผลใดก็ตาม โทษคือจำคุกตลอดชีวิต อันเป็นผลมาจากนโยบายสงครามยาเสพติด ทำให้สังคมรู้สึก “โกรธแค้นและเกลียดกลัว” ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ว่าจะในมิติใดก็ตาม

    “เจตนารมณ์ของกฎหมายบทนั้นไม่มีความประสงค์จะลงโทษผู้หญิงคนไทยที่ไปซื้อยาบ้าจากประเทศลาวกินเพียงเม็ดสองเม็ด แล้วกินไม่หมดก็เหลือติดตัวเข้ามาในประเทศด้วยโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่ผู้หญิงคนนั้นก็ถูกจับกุมดำเนินคดีด้วยข้อหาเป็นอาชญากรร้ายแรง ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ถูกฟ้องโดยอัยการ และถูกศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตในนามแห่งกฎหมาย

    ผู้หญิงคนนั้นรับสารภาพว่าซื้อยาเสพติดมากินแล้วเหลือจึงพาเข้ามาในประเทศจริง ก็ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 25 ปีเราออกกฎหมายแบบนี้ ใช้บังคับแล้วตีความกันแบบนี้มาเล่นงานประชาชนของเราได้หน้าตาเฉย ทั้งๆ ที่ชัดเจนว่าไม่ได้เป็นผู้ค้ายาเสพติด เราปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นตำตาอยู่ไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลย” นายจรัญ ระบุ
    http://www.naewna.com/scoop/221689
     
  16. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ด้าน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวกับ “สกู๊ปแนวหน้า” ยืนยันว่า “ไทยเป็นประเทศเดียวในโลก” ที่กำหนดให้แอมเฟตามีนเป็น“ยาเสพติดร้ายแรง” ขณะที่ประเทศอื่นๆ กำหนดให้เป็นเพียง “ยาควบคุม”ที่การซื้อหาและการใช้จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัดเท่านั้น จึงต้องผลักดันให้เกิดการแก้ไข เพราะปัจจุบันมีผู้ถูกจับกุมคุมขัง โดยเฉพาะ “ผู้หญิง” อยู่ในเรือนจำเป็นจำนวนมาก

    ทั่วโลกมองว่า “โทษนั้นรุนแรงเกินไป”!!!

    “ขณะนี้ผลกระทบสำคัญคือผู้หญิงไทยติดคุกอยู่ในเรือนจำเป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก ทั่วโลกเขารู้กันแล้วเขาคิดว่าประเทศไทยแก้ปัญหานี้โอเวอร์เกินไป เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ผ่านครม. ไปแล้ว กำลังอยู่ในชั้นกฤษฎีกา ส่วนจะลดลงมาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 3 4 หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อันนี้ก็ต้องคุยรายละเอียดกันในชั้นกฤษฎีกาและ สนช. แต่ไม่ใช่การซื้อหากันเสรี มันต้องควบคุม คือแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยในกรณีผู้มีความเจ็บป่วย และจ่ายในปริมาณเท่าที่จำเป็น” นพ.อภิชัย อธิบาย
    http://www.naewna.com/scoop/221689
    ..........................................................................
     
    Alamos likes this.
  17. suraphan07

    suraphan07 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,284
    Location:
    BKK.
    https://www.facebook.com/poojidtakorn?ref=stream

    เน้นย้ำ...:giggle:
    ลูกอีช่างด่า มารดาอีช่างแชร์ก็เมาน้ำลาย เนื้อข่าวไม่อ่าน ด่ากันอุตลุต
     
    Alamos และ นิจนิรันดร์ ถูกใจ.
  18. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    พวกเขาไม่แยกแยะหรอก
    เขากลัวว่ามันจะสำเร็จ
    เพราะเรื่องยาเสพติดเป็นตัวชูโรงหล่อเลี้ยงควายแดง
    แถมพ่อค้าในพรรคอาจเสียผลประโยชน์
     
    Alamos likes this.
  19. ridkun_user

    ridkun_user อำมาตย์น้อย Staff Member

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,648
    จริง ๆ จากการวิจัย การเลิกแอมเฟตามีน ไม่ต้องทำถึงขนาดนั้นครับ โดยทั่วไปก็หักดิบแล้วระวังอาการก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นเฮโรอีน การบำบัดแบบค่อย ๆ ลดปริมาณก็มีทำกันในหลายประเทศอยู่ครับ
     
    Alamos, Anduril และ AlbertEinsteins ถูกใจ
  20. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา ออกมายืนยันว่า แนวคิดปรับทิศทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดใหม่ ไม่ใช่การทำให้ยาบ้าถูกกฎหมายตามที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เป็นแต่เพียงการปรับปรุงกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย พร้อมยืนยันใช้มาตรการปราบปรามต่อไป แต่โฟกัสไปที่กลุ่มผู้ค้า

    พลเอกไพบูลย์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยระดมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณาแนวทางการควบคุม “เมทแอมเฟตามีน” ที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า อันเป็นผลส่วนหนึ่งจากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยยาเสพติดโลก หรือ UNGASS ประจำปี 2016 ว่า ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับทราบทิศทางและขั้นตอนการทำงาน เพราะช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สหประชาชาติและประเทศไทยใช้วิธีการต่อสู้และประกาศสงครามกับยาเสพติดมาโดยตลอด แต่ผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ผล และได้ข้อเสนอแนะว่าควรใช้วิธีแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขแทน โดยจัดให้ผู้ที่เสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วย

    ทั้งนี้ มติที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในวันนี้เห็นว่า การทำสงครามกับยาเสพติดไม่ใช่ทางแก้ที่ดี เพราะมีผลกระทบทางด้านสิทธิมนุษยชนกับตัวผู้เสพ และประเทศไทยเองก็ยังมีความไม่พร้อมกับตัวบทกฎหมายที่มุ่งลงโทษรุนแรงเกินไป ด้วยเหตุนี้จึงมีข้อเสนอว่า การลงโทษผู้เสพต้องได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับการกระทำความผิด ขณะนี้ประเทศไทยกำลังแก้กฎหมายยาเสพติดให้เป็นประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งจะมีการแยกรูปแบบการลงโทษที่ชัดเจน เช่น นายทุนต้องรับโทษอย่างรุนแรง // ส่วนผู้ที่ขนยา หรือเป็นแรงงาน รวมถึงผู้เสพจะได้รับโทษตามความเหมาะสม

    การบำบัดผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด จะให้กระทรวงสาธารณสุขเข้ามารับผิดชอบโดยตรง โดยจะปรับปรุงโครงสร้างให้มีเอกภาพมากขึ้น ทั้งงบประมาณและกำลังเจ้าหน้าที่ ส่วนกรมคุมประพฤติจะมีบทบาทลดลง เป็นแค่หน่วยงานรองลงมาที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน ที่สำคัญต้องสร้างความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการทำงานให้ถูกต้อง

    (มาตรการปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มข้น จะเดินหน้าต่อไปเหมือนเดิม ทั้งในและนอกประเทศ และขอยืนยันว่ายาเสพติดเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ส่วนกรณีควบคุมเมทแอมเฟตามีน จะต้องรอการจัดระบบการทำงานให้เรียบร้อยทุกด้านก่อนจึงจะสามารถทำต่อได้ รวมถึงการจัดให้หน่วยงานใดเข้ามาดูแล ในอนาคตอาจจะมีการแบ่งงบประมาณของกระทรวงยุติธรรมไปให้กระทรวงสาธารณสุขเพื่อใช้ในการดูแลเรื่องนี้)
     
  21. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม เข้าประชุมร่วมกับศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ เพื่อพิจารณาแนวทางควบคุมสารเมทเมทแอมเฟตามีน หากปลดล็อกออกมาจากบัญชียาเสพติดร้ายแรง ติดตามจากคุณกลกร เวียงดอนก่อ รายงานสดจากกระทรวงยุติธรรม
     
  22. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน ประจำปี 2559 มีแนวทางปราบปรามยาเสพติด เน้นที่ผู้เสพเป็นผู้ป่วย ต้องได้รับการบำบัด พร้อมกวาดล้างคนค้ายาบ้ารายใหญ่จนร่ำรวย 60 ราย ถูกจับไปแล้ว 20 ราย พบบางรายหลบซ่อนที่ประเทศเพื่อนบ้าน



    ปลดล็อคยาบ้า ยกเครื่องนโยบายให้ผู้เสพกลับตัวสู่สังคม
     
    Last edited: 29 Jun 2016
  23. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    การถอดสารเมทแอมเฟตามีนหรือสารตั้งต้นยาบ้าออกจากบัญชียาเสพติดเป็นเพียงวัตถุออกฤทธิ์ ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในสังคม ว่าหากถอดออกจากบัญชียาเสพติดแล้วจะทำให้ยาบ้าระบาดมากขึ้นในสังคมหรือไม่ และ ที่ระบุว่าสารแอมเฟตามีน สามารถใช้รักษาโรคได้นั้นมีข้อเท็จจริงอย่างไร

    นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ยืนยันว่าสารตั้งต้นยาบ้า หรือ เมทแอมเฟตามีน สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีสมาธิสั้น แต่หากไม่ควบคุมใช้เกินปริมาณจะกดประสาทจนหยุดหายใจได้ ดังนั้นการเปลี่ยนสถานะจากสารเสพติด เป็นวัตถุออกฤทธิ์ จึงไม่ใช่การส่งเสริมให้คนมาใช้สารเสพติดมากขึ้นแต่เพื่อรักษาโรคเท่านั้น เชื่อว่าข้อเสนอนี้เป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อลดจำนวนผู้เสพ-ผู้ขายในตลาดมืด

    ส่วนกรณี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุว่าสารเมทแอมเฟตามีนทำลายสุขภาพ และสมองน้อยกว่าบุหรี่ และสุรานั้น นายแพทย์ภาสกร บอกว่างานวิจัยของเดวิสนัทในประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.2010 ได้จัดอันดับสิ่งที่อันตรายต่อสุขภาพ และ สังคมมากที่สุด คือ สุรา เมื่อเทียบกับยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย และ ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ส่วนกาแฟหากดื่มมากไปก็ถือเป็นสารเสพติดประเภทหนึ่ง แต่ไม่ค่อยถูกกล่าวถึง

    ขณะที่ นายณรงค์ รัตนุกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เปิดเผยว่า ข้อเสนอถอนสารตั้งต้นยาบ้าออกจากบัญชียาเสพติด เป็นเพียงแนวทางในการปราบปรามเท่านั้น เพื่อควบคุมสารตั้งต้นของยาบ้าในกลุ่มเมทแอมเฟตามีน ให้มีความเหมาะสมและได้สัดส่วน ส่วนการนำสารตั้งต้นยาบ้าไปรักษาโรคนั้น อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้ยาเสพติดถูกต้องตามกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยที่จะให้ยาเสพติดทุกประเภท ถูกต้องตามกฎหมาย



    หมายข่าวเจาะ วันนี้คุณ สันติสุข มะโรงศรี พาไปเปิดโปงยุทธศาสตร์ปราบยาบ้ายุค คสช.



    เวที แลกเปลี่ยนความเห็นนำเสนอนโยบายยาเสพติดที่เหมาะสมกับประเทศไทย ของ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ ได้ทำการสำรวจและระดมสมองแลกเปลี่ยนมุมมอง การปฎิรูปแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเฉพาะ สารเมทแอมเฟตามีน หรือ ส่วนผสมของยาบ้า ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยังคงเดินหน้า อยู่คู่กับยาบ้า แทนการปราบปราม

    พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ปาฐกถาบนเวที ว่า ยาบ้า เป็นสินค้าเศรษฐกิจ ที่ให้โจทย์ไปยังกระทรวงสาธารณสุข ทำยาบ้าเหลือเม็ดละ 50 สตางค์ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยไทยใช้งบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขปัญหายาเสพติดแต่ไม่สำเร็จ ยังคงมีนักโทษในคดียาเสพติดเพิ่มขึ้น

    ทั้งนี้ในเวที ชูตัวอย่าง โปรตุเกส โมเดลที่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปฎิบัติและกฎหมายให้ผู้เสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วย โดยแยกจากผู้ครอบครองหรือเป็นผู้ค้า ผู้ผลิต รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขมีความเห็นสอดคล้องว่า หากผู้เสพมีปริมาณยาไม่ถึงปริมาณโดส 10 วัน ต้องให้มาตรการฝ่ายปกครองเข้ามากำกับแทนกฎหมายอาญาเพื่อนำผู้เสพเข้าสู่การบำบัด



    On the Phone พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ตัดวงจรราคายาบ้า ส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาทางระบบ

    พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายาระบุ ยาเสพติดในเมืองไทย ไม่มีทางที่จะทำให้ถูกกฎหมายได้ ขณะที่หลายประเทศกว่าค่อนโลกรณรงค์กันว่าจะทำให้ยาเสพติดถูกต้องตามกฎหมาย ยอมรับโทษที่ถูกกำหนดเกี่ยวกับยาเสพติดนั้นสูงเกินไป เป็นเรื่องที่หารือกันมานานแล้ว เพราะการทำเช่นนั้นมันไม่สำเร็จ ควรมองผู้เสพเป็นผู้ป่วยที่มีโรคทางสมองชุดหนึ่งที่ต้องได้รับยาชุดนี้เยียวยา ยาเสพติดสร้างความเสียหายน้อยกว่าสุรามากมาย



    แก้ยาบ้าใช้ "หมอนำ" เน้นบำบัด-ไร้ตราบาป
     
    Last edited: 17 Sep 2016
    Alamos likes this.

Share This Page