ปทุมธานี - วันที่ 17 เม.ย. 59 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า แปลงเผือกที่รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกช่วงภัยแล้ง เพื่อลดการใช้น้ำทำนา บัดนี้เริ่มทยอยตายแล้ว เกษตรกรต่างขอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสภาพน้ำในคลองแห้งจนสามารถลงไปนอนกลางคลองได้แล้ว "อีกอย่างเนื่องจากการปลูกเผือกเป็นนโยบายคำแนะ นำของรัฐบาลที่ให้กระทรวงเกษตรฯ ได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวนาต่างหันมาปลูกเผือก เนื่องจากใช้น้ำน้อย แต่นี้กลับไม่มีน้ำเลย จึงได้รับความเสียหายอย่างที่เห็นกัน" นายสำพันธ์กล่าว http://daily.khaosod.co.th/view_new...nid=TURNek1nPT0=&day=TWpBeE5pMHdOQzB4T0E9PQ== ............................................................................... ชาวนาปทุมธานี หันปลูกเผือก ตามคำแนะนำรัฐบาล ขาดน้ำหนัก เผือกที่ปลูกยืนต้นแห้งเหี่ยวตายเกือบหมด http://news.sanook.com/1981050/ .................................................................................... ถ้ารัฐบาลส่งเสริมจริงและทำให้เกษตรกรเสียหายก็สมควรรับผิดชอบค่าเสียหายให้กับเกษตรกร แต่ หาข่าวจากที่อื่นไม่เจอเลย มีเพียง ข่าวสด และเวบ สนุก(ที่ไม่ใช่สำนักข่าว) ที่อ้างอิงสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น เท่านั้นที่นำมาลง และจากเนื้อข่าวที่ลงเหมือนกัน มีเกษตรกรเพียงรายเดียวเท่านั้น
20 เม.ย. 59 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯ เปิดเผยถึงกรณีชาวนา จ.ปทุมธานี ร้องเรียนผ่านสื่อว่าทำตามกระทรวงเกษตรฯ แนะนำเปลี่ยนการทำนาไปปลูกเผือก ช่วงหน้าแล้งใช้น้ำน้อยแต่เผือกกลับตายเสียหายหมดไม่มีน้ำรด ว่าได้ตรวจสอบแล้วไม่มีเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ คนไหนไปแนะนำให้ปลูกเผือก เพราะเผือกเป็นพืชใช้น้ำมาก และใช้เวลานานกว่าปลูกข้าว กว่าจะเก็บเกี่ยวได้ใช้เวลาเกือบ 8 เดือน "ได้ให้กรมชลฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้วพื้นที่ จ.ปทุมธานี มีชาวนาหันมาปลูกเผือกกันมากจนเป็นอาชีพ ซึ่งช่วงภัยแล้งที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ชี้แจงสร้างความเข้าใจแล้วว่าปลูกเผือกอาจมีปัญหา แต่เมื่อเป็นอาชีพปลูกประจำคงไม่หยุดปลูก ซี่งก็เห็นใจ แต่ไม่สามารถส่งน้ำให้ได้ จึงสั่งการให้อธิบดีกรมชลฯ ลงไปช่วยเหลือหาทางแก้ไขให้แล้ว" รมว.เกษตรฯ กล่าว http://www.naewna.com/local/212335 ................................................................ รมต. เกษตรชี้แจงว่า ไม่มีการส่งเสริม และอ่านแล้วเข้าใจว่า ปลูกเผือกกันมาก่อนแล้วเป็นประจำ( ก่อนที่จะมีข่าวอีก ) ................................................................. ถ้ารัฐบาลยืนยันว่าไม่มีการส่งเสริมจริง ก็ต้องดูแล้วครับว่า สื่ออย่างข่าวสด รายงานข่าวอย่างนี้ออกมาได้ไง เจตนาบิดเบือนข่าวสารเพื่อสร้างความเข้าใจผิดหรือเปล่า และหากสื่อฯ ผิดจริง สมาคมสื่อจะพิจารณาอย่างไรกับเรื่องนี้
ส่วนเพื่อไทย ก็โหนกระแสตามปกติ ชาวนาปทุมธานี หันปลูกเผือก ตามคำแนะนำรัฐบาล ขาดน้ำหนัก เผือกที่ปลูกยืนต้นแห้งเหี่ยวตายเกือบหมด แปลงเผือก ที่รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกช่วงภัยแล้ง บัดนี้เริ่มทยอยตายแล้ว เกษตรกรต่างขอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยแก้ปัญหา และเกษตรกรอีกหลายรายที่ตัดสินใจหันมาปลูกเผือกตามคำแนะนำของรัฐบาลต่างได้รับความระทมน้ำตานองไปตามๆกัน เช่น เพ็ญศรี ชมแค เกษตรกรเจ้าของนาเผือก 7 ไร่ ที่จ.ปทุมธานี โอดครวญอยู่หน้าแปลงเผือกวัย 4 เดือน ที่ขอบใบกำลังไหม้หงิกงอ ยืนต้นรอน้ำมาหล่อเลี้ยง เธอกล่าวว่า “อุตส่าห์ทำตามที่รัฐบาลแนะ ให้เลิกปลูกข้าว หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย ฉันก็เชื่อ ทำตามทุกอย่าง แล้วไง นี่จะเล่นไม่ปล่อยน้ำสักหยดมาให้กันเลยหรือ ถ้าเล่นยังงี้ ปลูกอะไรก็ตายเกลี้ยง” http://www.ptp.or.th/news/494 ........................................................................ แต่ของเพื่อไทย อ้างอิงข่าวจากไทยรัฐมาอีกราย แต่อ่านข่าวแล้วหลักๆน่าจะมีปัญหาจากการที่กรมชลฯไม่ปล่อยน้ำมาให้เสียมากกว่า เพ็ญศรี ชมแค เกษตรกรเจ้าของนาเผือก 7 ไร่ ที่หมู่ 9 ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี โอดครวญอยู่หน้าแปลงเผือกวัย 4 เดือน ที่ขอบใบกำลังไหม้หงิกงอ ยืนต้นรอน้ำมาหล่อเลี้ยง “อุตส่าห์ทำตามที่รัฐบาลแนะ ให้เลิกปลูกข้าว หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย ฉันก็เชื่อ ทำตามทุกอย่าง แล้วไง นี่จะเล่นไม่ปล่อยน้ำสักหยดมาให้กันเลยหรือ ถ้าเล่นยังงี้ ปลูกอะไรก็ตายเกลี้ยง” http://www.thairath.co.th/content/606069 .................................................................................
โทษฟ้าโทษดิน และ โทษรัฐบาล ผมเป็นหลานชาวนามาก่อน ยายไม่เคยว่าอะไร ตอนหลังเสือกฟังเพลงคนกับควาย คนเลยกลายเป็นควายเห็นหญ้าที่อื่นาเขียวกว่า
ภาคการเกษตรเราควรจะปรับปรุงไหมครับ ทำไมเราถึงมีอาชีพที่ต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากรัฐบาลทุกปี เข้าใจครับว่าไม่รู้จะไปทำอาชีพอะไร แต่ก็ควรจะมีความรู้ว่าควรจะทำอย่างไรให้อยู่รอดได้หรือเปล่า
หน้าที่ของรัฐที่ควรสนับสนุนภาคเกษตร คือแหล่งเงินทุน ( ธกส.) ซึ่งทำอยู่แล้ว การสร้างตลาดสินค้าล่วงหน้าที่กำหนดราคาขายในอนาคต เห็นว่ามีความพยายามอยู่ ไม่รู้สำเร็จหรือยัง การสนับสนุนแหล่งน้ำให้เข้าถึง ก็คือระบบชลประทาน การลดต้นทุนการผลิต ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ พันธุ์สัตว์ ค่าอาหาร ค่ายา วัคซีน ซึ่งในส่วนนี้ เท่ากับ 80 % ของต้นทุนทั้งหมด การกำหนดโซนนิ่งของการผลิตทั้งปริมาณและชนิดของสินค้าเกษตรเพื่อควบคุมราคาสินค้า ซึ่งก็ต้องสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรด้วย อันนี้เป็นหน้าที่ของภาครัฐครับ จริงๆแล้วอีกอย่างหนึ่งที่เริ่มกันมานานแล้วก็คือ สหกรณ์ซึ่งแต่ละชุมชนก็นำสินค้ามาจัดจำหน่ายได้ เป็นโครงการที่ดี ซึ่งณ ปัจจุบันก็คือ โอทอปนั่นเอง ทั้งหมดนี้ผมอ่านข่าวแล้วเห็นมีความพยายามในรัฐบาลชุดนี้ครับ เพียงแต่การวางรากฐานต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อให้เกษตรกรเกิดความเคยชินและเปลี่ยนแปลง ส่วนตัวมองว่าเกษตรกรบ้านเราเก่งครับ ถึงแม้ล้มลุกคลุกคลานกันมาตลอดแต่ก็เอาตัวรอดได้ ปัญหาของการเรียกร้องต่างๆ ผมมองว่า พวกเขาถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมากกว่า จนกลายเป็นความเคยชินที่ถูกมองว่า มักชอบเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ
เผือกใช้น้ำน้อยฮะ น้อยกว่าข้าว แต่ตามหลักถือว่ายังเป็นพืชใช้น้ำมากอยู่ดี ผมว่าเกษตรกรไทยแยกระหว่างพืชใช้น้ำน้อย กับพืชใช้น้ำมากไม่ออก แค่คิดว่ามันน้อยกว่าพืชที่ปลูกอยู่ปกติ ก็ถือว่าใช้น้ำน้อยแล้ว