อันนี้ข่าวสดๆร้อนๆ เห็นด้วยกับคอมเม้นต์นี้ของเพื่อนผมมากว่ะ ไอ้ผู้บริหารกรม... มันควรคิดให้ฉลาดกว่านี้ ว่าทำไมประชาชนถึงหันไปใช้บริการของเถื่อนมากกว่า ทั้งที่มันก็ไม่ได้ถูกกว่าเท่าไหร่ ไม่ใช่เอะอะแมร่งก็จะใช้แต่อำนาจบาตรใหญ่ จนสมองตัวเองเล็กลงทุกวัน ยิ่งจะไปใช้ ม.44 ด้วยเนี่ย จะบ้าตาย รัฐบาลจะเสื่อมเพราะพวกสอพลอตอแหลพวกนี้นี่แหละ (ผมเคยบอกแล้ว อะไรที่เห็นว่ามันไม่เหมาะ ไม่ถูกต้อง ก็ไม่อยากอวย)
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งถือเป็นการประชุมนัดแรก ว่าได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคม เร่งรัดเปิดประมูลรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ ทั้งนี้ เพื่อจะผลักดันท่าอากาศยานอู่ตะเภา ให้เป็นมหานครแห่งการบิน เชื่อมโยงกับท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่จะมีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ เชื่อมโยงทั้ง 3 สนามบิน โดยใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพียง 45 นาที เท่านั้น โดยขณะนี้โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง ได้ผ่านการศึกษา EIA แล้ว (Environmental Impact Assessment - การศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน) และกำลังเร่งรัดให้จัดทำเอกสารชี้ชวนการลงทุน ให้เสร็จไม่เกินเดือนมิถุนายนนี้ และเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมประมูลเพื่อหาผู้ก่อสร้างโครงการฯ ให้ได้ภายในปีนี้ เบื้องต้น ให้เร่งศึกษาเพิ่มเติมและสรุปแผนเสนอคณะกรรมการฯ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในการประชุมวันที่ 5 เมษายนนี้ และจะเสนอให้มีการลงมติประกาศเป็นเขตสิทธิพิเศษ "เมืองการบินทางภาคตะวันออก" ด้วย ผู้ว่า กทม.พร้อมคณะ เปิดการทพลองเดินรถไฟฟ้า สถานีแบริ่ง-สำโรง ส่วนต่อขยายสายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ ก่อนจะเปิดให้บริการ 3 เมษายนนี้ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย พร้อมด้วยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือรฟม.ร่วมกันเปิดพิธีการเดินรถเสมือนจริง ช่วงแบริ่ง-สำโรง จำนวน1สถานี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเป็นเส้นทางข้ามจังหวัดแห่งแรก ระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ช่วยอำนวยความสะดวกและเกิดการเดินรถอย่างต่อเนื่องให้แก่ประชาชน โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายขบวนรถระหว่างสถานีแบริ่งและสถานีสำโรง สตูล 16 มี.ค.-การศึกษาทบทวนความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม “โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา” ปี 2546 พบว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจที่ประเมินไว้ มากถึงราว 200,000 กว่าล้านบาท ตลอดอายุการใช้งาน 30 ปี โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราอยู่ใน จ.สตูล ห่างจากเกาะตะรุเตา 12 กิโลเมตร ห่างจากเกาะหลีเป๊ะ 56 กิโลเมตร เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้เคียง และเขตการค้าเสรีกับหลายประเทศ เช่น ไทย-จีน, ไทย-อินเดีย มีแนวร่องน้ำลึกโดยธรรมชาติเหมาะสม สำหรับเดินเรือสินค้าขนาดใหญ่ รวมเป็นพื้นที่ยังไม่ห่างจากเส้นทางเดินเรือหลักของโลก คือ จากบริเวณช่องแคบมะละกาใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง ตั้งอยู่ฝั่งเดียวกันกับตลาดการค้าใหญ่ของโลก เช่น เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป บริเวณพื้นที่จังหวัดและใกล้เคียง หรือ Hinter Land มีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลายรายการ เช่น แผนการพัฒนาปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมทางถนน ทางรถไฟ การส่งเสริมและสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมสะอาดต่างๆ เช่น การผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง, ปลากระป๋อง, อาหารฮาลาล, ผลิตภัณฑ์จากยางพาราอันเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า เป็นต้น ซึ่งสามารถเชื่อมโยงการคมนาคมจากฝั่งทะเลตะวันตกที่ จ.สตูล ไปยังฝั่งตะวันออกของประเทศได้ ส่วนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารามีแผนตั้งแต่ปี 2559-2563 ระยะเวลาก่อสร้าง 60 เดือน ขนาดพื้นที่ 292 ไร่ มีหน้าท่ายาว 750 เมตร ตลอดหน้าท่า และท่าเทียบเรือบริการ 220 เมตร โดยคาดว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตลอดอายุของท่าเรือ 30 ปี รวมผลตอบแทนราว 220,454 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากสินค้าที่มาใช้ท่าเรือ 44,429 ล้านบาท ประหยัดค่าขนส่งสินค้าของภาคใต้ 38,272 ล้านบาท ประหยัดค่าขนส่งสินค้าของภาคอื่น 3,764 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มของที่ดินอยู่ที่ 27,653 ล้านบาท การจ้างแรงงานที่ 82,671 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย วันนี้มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย หรือเวที ค.1 โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล โดยกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่ถูกกลุ่มผู้คัดค้านเข้ายึดพื้นที่จนไม่สามารถดำเนินการได้ สถานการณ์ตึงเครียดและมีการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ แต่ในที่สุดสถานการณ์ก็ได้คลี่คลายลงแล้ว ติดตามจากรายงาน
โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่สตูล เป็นหนึ่งในโครงข่ายการพัฒนาขนาดใหญ่ทางภาคใต้ ที่ภาครัฐหลายรัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเล ทางฝั่งอันดามัน ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจทั้งในจังหวัดสตูลและภาคใต้ แต่ที่ผ่านมาก็มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านออกมาเคลื่อนไหว โดยกลุ่มคัดค้านนั้นมองว่า การเอาทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดสตูล ไปแลกกับการลุงทุนทางด้านอุตสาหกรรม จะส่งผลกระทบตามมามากมาย และอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน บอร์ดสิ่งแวดล้อม มีมติตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาสภาวะแวดล้อมเพิ่มเติม ในโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับประชาชนในพื้นที่ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ บอกว่าที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติอนุมัติให้ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาสภาวะแวดล้อมเพิ่มเติมในโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แม้จะผ่านคณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(คชก.) แล้วก็ตาม โดยคณะอนุกรรมการชุดนี้จะลงพื้นที่ศึกษาเพิ่มเติมลงลึกในรายละเอียดทั้งหมดของโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เพื่อให้แก้ไขแล้วเสร็จและพื้นที่ยอมรับก่อนเข้าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา เนื่องจากประชาชนและหลายฝ่ายไม่เชื่อมั่นกระบวนการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ในพื้นที่ที่ต้องจัดจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการสำรวจ ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรับฟังความคิดเห็น ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ขึ้นบัญชีบริษัทที่เข้ามาทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้ 70 บริษัท โดยนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) เพื่อมองภาพรวมของพื้นที่และโครงการทั้งหมดทุกมิติ หากเกิดปัญหาหรือกระทบสิ่งแวดล้อมจะไม่ดำเนินการต่อ แลวหาทางเลือกอื่นต่อไป รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ย้ำว่า คณะอนุกรรมการฯชุดดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางจริงๆ และมีความรู้เรื่องโครงการปากบาราเข้ามาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าช่วงเปลี่ยนผ่าน ฝ่ายความมั่นคง เช่น กอ.รมน.ที่มีข้อมูลด้านการข่าวอื่นๆมาประกอบ ประชาชนในพื้นที่จริงๆ ที่มีข้อมูลรายละเอียดในพื้นที่ จะเข้าร่วมพูดคุยหาทางออกหรือแนวทางอื่นๆ เพื่อให้เห็นที่มาที่ไปของโครงการชัดเจน รายงานพิเศษ : สนามบินเบตงรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใต้ ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจที่ไทยจะได้รับหากโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราเกิดขึ้นที่ จ.สตูล
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุ ภูเก็ตเป็นจังหวัดแรกในการแก้ไขปัญหาจราจร บก น้ำ ราง และอากาศ ส่วนระบบรถไฟฟ้ารางเบาคาดว่าจะสามารถเสนอให้พิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ในปีนี้ นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางชุมทาง ถนนจิระ-ขอนแก่น พร้อมเปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขแบบก่อสร้างบริเวณสถานีบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากแบบเดิม จะก่อสร้างคันดินเป็นทางยกระดับ ตัดข้ามถนนเข้าตัวเมือง ซึ่งประชาชนในพื้นที่เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพ การเดินทาง และเศรษฐกิจในท้องถิ่น ขอให้กระทรวงคมนาคมเปลี่ยนรูปแบบ ไม่ให้บดบังทัศนียภาพเดิม จึงได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. แก้ไขรายละเอียดโครงการ แล้วจัดทำประชาพิจารณ์ และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง เพื่อให้เสนอต่อกระทรวงคมนาคมใหม่ โดยยืนยันว่า จะแก้ไขรูปแบบให้เหมาะสม และกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ โครงการรถไฟทางคู่ในเส้นทางดังกล่าว ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วบางส่วน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ใช้งบประมาณกว่า 24,000 ล้านบาท หากมีการแก้ไขรูปแบบช่วงสถานีบ้านไผ่ จะทำให้มูลค่าโครงการเพิ่มขึ้น ไม่เกิน 5% และยืนยันว่าจะบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปตามแผน ให้สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2562 ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ทั้งหมด ยอมรับว่า อาจทำให้กระบวนการด้านเอกสารล่าช้า แต่จะเร่งรัดให้แล้วเสร็จตามกำหนด และเชื่อว่าจะมีความโปร่งใสมากขึ้น การพิจารณาปรับเงื่อนไขทีโออาร์ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางคู่ของรัฐ เพื่อให้ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างไทยรายใหม่ ๆ มีโอกาสเข้ามาแข่งขันมากขึ้น แต่ผู้รับเหมาฯ รายย่อยยังมองว่าจะเข้าถึงยากเช่นเดิม เพราะมีเงื่อนไขหลายข้อที่หลายย่อยไม่สามารถปฎิบัติตามได้ ผู้อำนวยการขสมก. ระบุ 5 เมษายนจะเคาะประมูลโครงการระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ อี-ทิกเก็ตได้ ส่วนโครงการรถเมล์เอ็นจีวีขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป เพราะต้องรอความชัดเจนการระบุแหล่งกำเนิดของรถ การผลักดันให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำและโลจีสติกส์ ที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่อาเซียน ทำให้กระทรวงคมนาคมต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีไทย เพื่อยกระดับการขนส่งทางน้ำเพื่อประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ ติดตามจากรายงาน
รมว.คมนาคม ระบุจะเร่งเดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และช่วงบ้านไผ-มุกดาหาร-นครพนม คาดเสนอครม.พิจารณาเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนนี้ โฆษกรัฐบาลแจงรัฐบาลไม่ละเลยโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อมโยงภูมิภาค ยืนยันเป็นไปตามแผนที่กำหนด วันนี้ (26มี.ค.60) พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีมีนักการเมืองออกมาวิจารณ์รัฐบาลว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไม่มีความเชื่อมโยงระดับภูมิภาค ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยง กับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ทั้งการเชื่อมโยงคนกับคน โครงสร้างพื้นฐาน กฎกติกา โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างกัน ควบคู่กับการสร้างความพร้อมภายในประเทศ ในปี 2560 รัฐบาลมีแผนลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 สาย คือ กทม.-นครราชสีมา (ภายใต้ความร่วมมือไทยจีน) กทม.-พิษณุโลก (ภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น) กทม.-ระยอง และกทม.หัวหิน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต เช่น สายกทม.-นครราชสีมา จะก่อสร้างเพิ่มเติมไปยังหนองคาย เชื่อมกับ สปป.ลาว เข้าสู่จีนและยุโรป นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังมีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กทม.-กัวลาลัมเปอร์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม พร้อมกันนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ยังได้เสนอโครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ซึ่งจะเสนอขึ้นมาให้พิจารณาเร็วๆ นี้ โดยทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่กำหนดอยู่บนพื้นฐานที่ประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า การจะเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆนั้น ต้องพร้อมทั้งดูศักยภาพของตัวเองด้วย เพราะแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลานาน เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ มีความซับซ้อนและใช้งบประมาณสูง ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ที่มีการวิจารณ์ว่าไม่เชื่อมโยงกับระดับภูมิภาคนั้นโฆษกรัฐบาลยืนยัน รัฐบาลไม่ได้ละเลยเรื่องนี้ โครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงในประเทศ จะเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านตามแผน โดยเน้นดำเนินการด้วยความรอบคอบ รองปลัดคมนาคมนั่งรักษการ ผอ.ขสมก. ตั้งเป้าเตรียมยกเลิกสัญญาบริษัท เบสรินทร์ นำเข้ารถเมล์เอ็นจีวี 489 คัน