ดูแล้วจะเห็นว่ามีพัฒนากันหลายด้านมาก ทั้งถนน ราง อากาศ และน้ำ หวังว่าเมื่อโครงการทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้วจะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนและลดต้นทุนของประเทศได้
อยากเห็นการพัฒนาระบบรางของประเทศไทยมานานแล้ว ผมเชื่อว่าจะทำให้คุณภาพชีวิตคนไทยดีขึ้นแน่นอน อย่างน้อย ช่วงปีใหม่หรือสงกรานต์ ถ้าคนหันมาใช้รถไฟกันมากขึ้น ความแออัดและอุบัติเหตุบนท้องถนนคงลดลงได้เยอะ
เสียดายระบบรถไฟรางคู่ที่ได้เริ่มต้นมาสมัยคุณชวน แต่มาถูกยกเลิกไปไม่สานต่อในสมัยพวกเผาไทย ไม่งั้น การเดินทางและโลจิสติกส์ไทยคงดีกว่านี้
แถวบ้านมีรถถูกยึดมาขาย สภาพรถเก๋งแบบดีมาก มีแอร์ มีเครื่องเสียง อุปกรณ์ครบ ราคาแค่ห้าหมื่น เสียดายซื้อไม่ทัน
ได้แต่เพ้อเจ้อไปวันๆ จริงๆ ความจริงอยู่ตรงหน้าก็ยังคิดจะปิดตาตัวเองซะงั้น หลอกคนอื่นไม่ได้ หลอกตัวเองได้ก็ยังดี ระบบทางคู่ ข้อเท็จจริงรถไฟไทย (ตอนที่ 9): 11 รัฐบาลกับนโยบายรถไฟ “ทางคู่” วางแผน 3,000 กม. สร้างจริง 300 กม. ถึงแม้การปฏิรูปรถไฟไทยจะยังมีประเด็นต่างๆ ที่ยังถกเถียงไม่เป็นที่ยุติ ไม่ว่าจะเป็นความจำเป็นของการสร้างรถไฟความเร็วสูง, การเลือกใช้ขนาดรางที่เหมาะสม, การเลือกสร้างเส้นทางใหม่ๆ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการหรือแม้แต่เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศจีนในอนาคต แต่ประเด็นการสร้างรถไฟให้เป็น “ทางคู่” ถือว่าเป็นที่ยุติตรงกันว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้รถไฟไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เนื่องจากปัจจุบันระบบรถไฟเกือบ 90% เป็นทางเดี่ยว จนทำให้การเดินรถล่าช้าและไม่สามารถแข่งขันกับระบบขนส่งอื่นๆ ได้ แม้รถไฟจะมีต้นทุนขนส่งต่อหน่วยที่ต่ำกว่าก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลต่างๆ ได้มีความพยายามผลักดันเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องในเชิงนโยบายตลอดเวลา 20 ปี แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่สามารถสร้างได้ตามแผนที่วางไว้ จึงเป็นความท้าทายภายใต้นโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะสามารถผลักดันจนสำเร็จหรือไม่ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2557 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบและมีมติเห็นชอบ (http://thaipublica.org/2014/10/ncpo-cabinet-2557-8) แผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ปี 2558 ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ 8 ปี ซึ่งมีแผนจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ แบ่งเป็น 1) ขนาดราง 1 เมตร ขนานไปกับเส้นทางเดิมในระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง ระยะทาง 903 กิโลเมตร วงเงิน 129,308 ล้านบาท และระยะที่ 2 ซึ่งจะเริ่มศึกษาออกแบบในปีงบประมาณ 2558 อีก 8 เส้นทาง ระยะทาง 1,626 กิโลเมตร รวม 2 ระยะ 2,529 กิโลเมตร 2) ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทาง 1,060 กิโลเมตร ส่งผลให้ในอนาคตจะมีรถไฟทางคู่ทั้งสิ้น 3,589 กิโลเมตร เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีเพียง 251 กิโลเมตร(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย) 17 ปี “ชวน–สมชาย” สร้างจริง 2 โครงการ 5 เส้นทาง 309 กม. ทั้งนี้ เมื่อดูพัฒนาการของรถไฟ “ทางคู่” พบว่าในปี 2485 ประเทศไทยก่อสร้างรถไฟทางคู่แล้ว 90 กิโลเมตร ซึ่งถูกสร้างในสมัยกรมรถไฟหลวง (รฟล.) แต่ต่อมาไม่ได้มีนโยบายก่อสร้างรถไฟทางคู่เพิ่มเติมอีก จนกระทั่งปี 2536 หลังจากก่อตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 42 ปี ในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ซึ่งมี พ.อ. วินัย สมพงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ผลักดันแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ระยะทาง 2,744 กิโลเมตร วงเงิน 76,826 กิโลเมตร แต่ ครม. อนุมัติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2536 ให้ก่อสร้างในเส้นทางรถไฟชานเมืองช่วงแรก 4 เส้นทาง ระยะทาง 231 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างงานโยธาและระบบอาณัติสัญญาณ 6,290 ล้านบาท ได้แก่ เส้นทางคลองรังสิต-ชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรี, เส้นทางหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา, เส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน-นครปฐม, เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-มาบกะเบา ต่อมา ครม. ได้อนุมัติ (http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Pr...id2=&owner_dep=%A4%A4&Input=+%A4%E9%B9%CB%D2+) ขยายวงเงินการก่อสร้างเพิ่มเติม รวมทั้งขยายระยะเวลาผูกพันงบประมาณอีกหลายครั้ง ส่งผลให้งบประมาณรวมเพิ่มขึ้นจาก 6,290 ล้านบาท เป็น 23,504 ล้านบาท ดังนี้ 1) วันที่ 6 พฤษภาคม 2540 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานโยธา เส้นทางคลองรังสิต-ชุมทางบ้านภาชี จากเดิม 1,802 ล้านบาท เป็น 3,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,621 ล้านบาท 2) วันที่ 11 เมษายน 2543 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานโยธา เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรี, เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-มาบกะเบา, เส้นทางตลิ่งชัน-นครปฐม จากเดิม 2,258.30 ล้านบาท เป็น 7,700.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,442 ล้านบาท 3) วันที่ 16 พฤษภาคม 2543 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานโยธาและงานระบบอาณัติสัญญาณ เส้นทางหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา โดยให้สร้างทางรถไฟเพิ่มจากเดิมอีก 2 ราง รวมของเดิมเป็น 3 ราง จากเดิม 1,319 ล้านบาท เป็น 8,783 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,464 ล้านบาท 4) วันที่ 25 กรกฎาคม 2543 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานระบบอาณัติสัญญาณ เส้นทางคลองรังสิต-ชุมทางบ้านภาชี จากเดิม 578 ล้านบาท เป็น 1,684 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,106 ล้านบาท 5) วันที่ 26 กันยายน 2543 มีมติอนุมัติขยายวงเงินก่อสร้างงานระบบอาณัติสัญญาณ เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรี, เส้นทางชุมทางบ้านภาชี-มาบกะเบา และเส้นทางตลิ่งชัน-นครปฐม จากเดิม 1,538 ล้านบาท เป็น 2,489 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 951 ล้านบาท ทั้งนี้ แหล่งข่าวอดีตผู้บริหาร รฟท. ระบุว่า เส้นทาง 4 เส้นทางนี้ ปัจจุบันได้สร้างและเปิดใช้งานตั้งแต่ประมาณปี 2547(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
นอกจากเส้นทางรถไฟทางคู่สมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ที่สามารถผลักดันจนก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง เป็นอีกเส้นทางที่ผลักดันจนสร้างแล้วเสร็จในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยโครงการริเริ่มตั้งแต่ปี 2539 ในสมัยรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2539 เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ตามแนวชายฝั่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2540 ในสมัยรัฐบาลของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีมติ ครม. อนุมัติในหลักการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย โดยให้ รฟท. ศึกษาออกแบบแล้วเสร็จก่อนที่จะอนุมัติวงเงินก่อสร้างต่อไป ต่อมาอีก 4 ปี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร คณะกรรมการ รฟท. มีมติเห็นชอบก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ส่วนศรีราชา-ฉะเชิงเทรา พร้อมทั้งก่อสร้างทางเลี่ยงเมือง (chord line) ก่อน ระยะทาง 69 กิโลเมตร วงเงิน 5,822 ล้านบาท และส่งให้กระทรวงคมนาคมเสนอต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอเข้าที่ประชุม ครม. เมื่อ 2 ตุลาคม 2544 และได้รับการตอบรับจากคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2545 ว่าให้ชะลอการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองออกไปก่อน ขณะที่โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ให้ รฟท. ปรับปรุงให้มีความชัดเจนมากขึ้นก่อนจะเสนอเรื่องขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งนี้ รฟท. ได้ปรับปรุงโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางศรีราชา-ฉะเชิงเทรา ตามมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และเสนอเรื่องต่อกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2546 โดยปรับวงเงินลงจาก 5,822 ล้านบาท เป็น 5,044 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2550 ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 รฟท. ได้ปรับปรุงโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางศรีราชา-ฉะเชิงเทราอีกครั้ง เป็นเส้นทางฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่าควรจะสร้างรถไฟทางคู่ต่อเนื่องออกไปจากศรีราชาถึงแหลมฉบังอีก 9 กิโลเมตร เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าในท่าเรือ ระยะทางรวม 78 กิโลเมตร วงเงินรวม 5,235 ล้านบาท โดยเป็นของเส้นทางศรีราชา-แหลมฉบัง 440 ล้านบาท พร้อมเสนอกระทรวงคมนาคมให้นำเข้าที่ประชุม ครม. ต่อไป ซึ่ง ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 อนุมัติการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย) ทั้งนี้ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ (http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000152790) และเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2554 5 ปี “อภิสิทธ์-ยิ่งลักษณ์” มีแต่แผนไม่ได้สร้างจริง หลังจากการก่อสร้างรถไฟทางคู่ใน 2 โครงการดังกล่าวแล้ว ระยะต่อมาก็ไม่มีการผลักดันก่อสร้างรถไฟทางคู่ใดๆ อีก จนกระทั่งปี 2552 ในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งทำรายละเอียด “แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วน ช่วงปี 2553–2557” ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยมีวงเงินงบประมาณรวม 1 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ในแผนการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟทางคู่ แบ่งเป็นระยะเร่งด่วน ปี 2553-2557 เส้นทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ ซึ่งมีสภาพเป็นคอขวดและเต็มความจุของทางในปัจจุบัน จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 767 กิโลเมตร ได้แก่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น, ช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ขณะเดียวกัน ได้วางแผนระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2558-2567 อีก 2 ระยะ ได้แก่ 1) ช่วงปี 2558-2562 ประกอบด้วย 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,025 กิโลเมตร ได้แก่ แก่งคอย-บัวใหญ่, ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, ปากน้ำโพ-ตะพานหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร-สุราษฎร์ธานี และ 2) ช่วงปี 2563-2567 ประกอบด้วย 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,247 กิโลเมตร ได้แก่ ตะพานหิน-เชียงใหม่, สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์, คลองสิบเก้า-กบินทร์บุรี, หาดใหญ่- สุไหงโกลก, ทุ่งสง-กันตัง และกบินทร์บุรี-คลองลึก ทั้งนี้ ความคืบหน้าจนถึงปี 2555 ในสมัยรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า “แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วน ช่วงปี 2553–2557” ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ต่อมาจึงถูกย้ายไปในเอกสารประกอบการพิจารณา (http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/hr24/apl015-2556.pdf) ของร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. …. หรือ พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน โดยระบุแผนโครงการรถไฟทางคู่ทั้งสิ้น 11 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ, เส้นทางปากน้ำโพ-เด่นชัย, เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, เส้นทางถนนจิระ-ขอนแก่น, เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย, เส้นทางชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, เส้นทางนครปฐม-หัวหิน, เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, เส้นทางชุมพร-สุราษฎ์ธานี, เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ วงเงินรวม 249,259.7 ล้านบาท http://thaipublica.org/2014/12/the-truth-of-thailand-rail-system-9/
เริ่มสร้างกันแล้ว นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ทำพิธีเปิดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ -ขอนแก่น ที่สถานีรถไฟท่าพระ จังหวัดขอนแก่น ถือเป็นการเริ่มต้นลงมือก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางนี้อย่างเป็นทางการ โดยพื้นที่ก่อสร้างจะเริ่มจาก 2 สถานี คือ สถานีรถไฟขอนแก่น และสถานีรถไฟหนองบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากมีความพร้อมทั้งวัสดุ และแรงงาน มากที่สุด สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น อยู่ภายใต้กรอบวงเงิน 23,400 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 187 กิโลเมตร รวม 19 สถานีโดยสาร และ 3 สถานีขนถ่ายตู้สินค้า ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี โดยมี บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ช. ทวีก่อสร้าง ดำเนินการก่อสร้าง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า โครงการนี้ เป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคทั้งการท่องเที่ยว และ การขนส่งสินค้า ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สามารถสร้างความเข้มแข็งต่อเศรษฐกิจในประเทศได้ ส่วน ความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ช่วงฉะเชิงเทรา -คลองสิบเก้า-แก่งคอย ในสัปดาห์จะจัดให้มีการประกวดราคา เพื่อดำเนินการสร้าง โครงการรถไฟทางคู่ เป็นโครงการที่จะช่วยพัฒนาการขนส่งทางรางของไทย แต่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น ยังรอความชัดเจนในการเยียวยา หลังโครงการได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ววันนี้ ติดตามรายงานจากคุณอันชลี ศิริมั่ว
ความคืบหน้าปี 2559 รัฐบาลพร้อมกดปุ่มโครงการรถไฟฟ้าเพิ่ม 5 เส้นทาง ทีมข่าว TNN24 สำรวจความคืบหน้ารถไฟฟ้า 4 เส้นทาง ไทย-ญี่ปุ่น เดินหน้าเปิดทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก พัฒนาระบบรางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ ที่สถานีรถไฟหนองปลาดุกถึงสถานีรถไฟบางซื่อ . (5 ก.พ. 59) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประเทศไทย และนายซึโตะมุ ชิมุระ รองอธิบดี กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ได้เป็นประธานร่วมปล่อยขบวนรถสินค้า เพื่อแสดงสัญลักษณ์ในพิธีเปิดการทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็กภายใต้ความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น และกล่าวแสดงความยินดีในความร่วมมือด้านระบบราง เส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ (กาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง) โดยมี นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจนภาครัฐและเอกชนจากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นร่วมงาน 5 ก.พ.| ข่าว 19.00 น. ทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพ-แหลมฉบัง และกรุงเทพ-อรัญประเทศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ บอกว่า โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่สถานีรถไฟองครักษ์ วิหารแดง บุใหญ่ จ.นครนายก สุดปลายทางที่สถานีแก่งคอย ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 36 เดือน หรือเสร็จราวเดือนกุมภาพันธุ์ 2562 ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลกำลังเจรจากับทางรัฐบาลจีนในเรื่องของการลงทุนดังกล่าวอยู่ และหลังจากเสร็จรถไฟสายนี้ ก็จะมีรถไฟทางคู่สายอื่นๆเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคมเดินหน้าทำความเข้าใจกับประขาชน โครงการก่อสร้างรถไฟขนาดรางมาตรฐานระหว่างไทย-จีน ติดตามจากคุณขวัญ โม้ชา รายงานเข้ามาจากจังหวัดขอนแก่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยัน เริ่มก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ตามกำหนดเดิม ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ พร้อมกับย้ำว่าการปรับลดขนาดโครงการไม่กระทบต่อการให้บริการ ขสมก. นำรถเมล์ไฟฟ้ามาทดลองวิ่งในเส้นทาง A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-จตุจักร เป็นเวลา 3 เดือน
ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางสู่หาดใหญ่จำนวนมาก เนื่องจากเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคใต้ ทำให้หาดใหญ่ต้องมีการปรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะเดียวกันบางธุรกิจ อย่างสายการบินก็เห็นโอกาสจากการเติบโต จึงเข้าไปขยายเส้นทางบินในหาดใหญ่ ภูเก็ต: อนาคตที่มาพร้อมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจุบันภูเก็ตมีการลงทุนในหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากตัวเลขการท่องเที่ยวล่าสุดในปี 2556 มีมากถึง 12 ล้านคนและเพิ่มขึ้นกว่า 30% จากปีก่อนหน้า และจากการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดส่งผลให้ภาครัฐมีความจำเป็นต้องขยายสนามบินนานาชาติภูเก็ต รวมถึงขยายถนนและแก้ปัญหารถติด ให้การเดินทางคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เหล่านั้น ได้แก่ โครงการขยายสนามบิน Phuket International Airport เป็นโครงการส่วนต่อขยายสนามบินภูเก็ตเดิม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ ทภก. ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้5 ล้านคนต่อปี (แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 5 ล้านคนต่อปี และผู้โดยสารภายในประเทศ 7.5 ล้านคนต่อปี) รองรับผู้โดยสารและปริมาณการจราจรทางอากาศได้ถึงปี พ.ศ.2561 โครงการทางลอดต่างๆ จากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า และจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาภายในจังหวัดส่งผลให้จังหวัดภูเก็ตมีการจราจรที่ค่อนข้างหนาแน่น การสร้างทางลอดก็เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาจราจรให้มีความคล่องตัวและช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางให้สั้นลงอีกด้วย โครงการขยายทุ่นจอดเรือยอชต์และเรือสำราญ จุดจอดเรือสำราญ รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะเห็นว่าปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นหากการพัฒนาเรื่องดังกล่าวสำเร็จจะส่งผลดีต่อด้านการท่องเที่ยวของประเทศเป็นอย่างมาก อุโมงค์ทางด่วนกะทู้–ป่าตอง จะช่วยย่นระยะทางการเดินทางจากตัวเมืองไปยังชายหาดป่าตอง และช่วยลดอุบัติเหตุจากสภาพการขับรถขึ้น-ลงเขาในขณะที่ฝนตก หรือทัศนวิสัยไม่ดีบนถนนสาย 4029 ทำให้การเดินทางมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการรถไฟฟ้ารางเบาท่านุ่น–ห้าแยกฉลอง ภายหลังโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ ประชาชนสามารถเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง แก้ปัญหาการจราจรติดขัดของจังหวัดภูเก็ต เป็นการสร้างทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว ด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน สามารถบรรเทาปัญหาการคมนาคมที่คับคั่งของจังหวัดภูเก็ต และลดต้นทุนการขนส่งให้ถูกลงจากเดิมที่เดินทางด้วยรถยนต์เป็นหลัก ทุกโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณูปโภคที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ลงทุนไปนั้น เพื่อรองรับการเติบโตและความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจเมืองภูเก็ต และเพื่อให้ภูเก็ตเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบที่ทั้งตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนเมือง และพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มากขึ้นในทุกๆปี http://www.sansiri.com/blog/2016/02/19/video-2/future_infrastructure_phuket/ การเจรจารถไฟไทย-จีน ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บอกว่าจะเร่งหารือสัดส่วนการลงทุน และตั้งบริษัทร่วมทุนของทั้ง 2 ประเทศ แต่ข้อสังเกตว่าเหตุใดการเจรจาล่าช้า เป็นเพราะมีข้อตกลงบางข้อที่ไทยไม่สามารถรับข้อเสนอของจีนได้ ติดตามรายงานจากวิภูษา สุขมาก ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส เตรียมเสนอแผนพัฒนาดอนเมือง ใช้งบ 1 หมื่นล้านบาท 2016/03/01 2:50 PM กรุงเทพฯ 1 มี.ค. – ชงบอร์ด ทอท. พิจารณาแผนแม่บท พัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง 23 มี.ค. นี้. ตั้งเป้าลงทุน ถึงเฟส 3 กว่า 1 หมื่นล้านบาท เสร็จปี 2564 รองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านคนต่อปี นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวถึง โครงการพัฒนา ท่าอาศยานดอนเมือง (ทดม.) ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของ ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี ภายหลัง ทอท.ได้ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 สำหรับเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศและได้เปิดให้บริการแบบบางส่วน (Soft Opening) ไปเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสารและลดความหนาแน่นภายในอาคารผู้โดยสาร อาคาร 1 นอกจากนี้ ทดม.ยังได้เปิดให้บริการอาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 5 (Pier5) และแนวทางเดินด้านทิศใต้ (South Corridor) เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อลดความคับคั่งของผู้โดยสารบริเวณทางออกขึ้นเครื่องภายในประเทศซึ่งเดิม มีเพียง Pier 3 และ Pier 4 ให้บริการเท่านั้น อย่างไรก็ตามจำนวนผู้โดยสารขณะนี้ ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเติบโต ทันต่อจำนวนผู้โดยสาร ในวันที่ 23 มีนาคมนี้ ฝ่ายบริหาร ทอท. จะเสนอแผนแม่บท (มาสเตอร์ แพลน ) พัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองให้คณะกรรมการ ทอท .พิจารณา มูลค่าการลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท เพื่อเดินหน้าโครงการสำคัญต่างๆ นายเพ็ชร ชั้นเจริญ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง กล่าวว่า สำหรับอาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 มีพื้นที่ทั้งหมด 106,586.5 ตารางเมตร แบ่งเป็น 4 ชั้น ได้แก่ ชั้น 1 เป็นพื้นที่ผู้โดยสารขาเข้าภายในประเทศ และระบบขนส่งสาธารณะ มีพื้นที่ 28,469.39 ตารางเมตร มีสายพานลำเลียงกระเป๋าจำนวน 6 สายพาน ชั้น 2 เป็นสำนักงานสายการบิน ชั้น 3 เป็นพื้นที่ผู้โดยสารขาออกภายในประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ 27,262.90 ตารางเมตร และเป็นพื้นที่จุดเปลี่ยนเครื่องบิน 1,802.50 ตารางเมตร มีประตูทางเข้า 6 ประตู เริ่มตั้งแต่ประตู 9 – 15 แถวเช็คอินแบ่งเป็น 7 แถว เริ่มด้วยแถวที่ 9 – 10 เป็นเคาน์เตอร์เช็คอินสายการบินไทยแอร์เอเชีย แถวที่ 11 เป็นเคาน์เตอร์เช็คอินสายการบิน R airline โอเรียนท์ไทย และไทยไลอ้อนแอร์ แถวที่ 12 เป็นเคาน์เตอร์เช็คอินสายการบินไทยไลอ้อนแอร์และไทยสมายล์ และแถวที่ 14 – 15 เป็นเคาน์เตอร์เช็คอินสายการบินนกแอร์ โดยมีเคาน์เตอร์เช็คอินจำนวนทั้งสิ้น 80 เคาน์เตอร์ (รวมเคาน์เตอร์บริการสำหรับผู้พิการจำนวน 10 เคาน์เตอร์) และ ชั้น 4 เป็นโซนร้านอาหารประเภทต่างๆ ซึ่งมีจำนวน 276 ร้านค้า และมีส่วนพื้นที่พักผ่อน สำหรับ Pier 5 มีพื้นที่ประมาณ 8,000 ตารางเมตร และมีทางออกขึ้นเครื่อง (Gate) 6 ทางออก โดยมีห้องน้ำภายในอาคารที่ดำเนินการปรับปรุงแล้วทั้งหมด 44 จุด ซึ่งครอบคลุมการให้บริการผู้โดยสาร ทั้งส่วนผู้โดยสารขาเข้าและขาออก แนวทางเดินด้านทิศใต้และ Pier 5 นอกจากนั้น ในส่วนพื้นที่ปฏิบัติการเขตการบิน (Airside) ของท่าอากาศยานดอนเมืองมีหลุมจอดอากาศยานทั้งหมด 101 หลุมจอด แบ่งเป็นหลุมจอดที่เชื่อมต่อกับประตูทางออกอาคารผู้โดยสาร (Contact Gate) จำนวน 35 หลุมจอด และเป็นหลุมจอดระยะไกล (Remote Parking) จำนวน 66 หลุมจอด ทั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ AOT Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 1722 หรือประชาสัมพันธ์ ทดม.หมายเลขโทรศัพท์ 0 2535 1192 นายนิตินัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทดม.มีอาคารผู้โดยสาร 2 อาคาร คือ อาคารผู้โดยสาร อาคาร 1 ใช้สำหรับรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินระหว่างประเทศ และอาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 ใช้สำหรับรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินภายใน ประเทศ ทำให้ปัจจุบัน ทดม.มีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี และในอนาคต ทอท.จะดำเนินการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร อาคาร 1 เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะดำเนินโครงการพัฒนา ทดม.ระยะ 3 ประกอบด้วย การปรับปรุงอาคารผู้โดยสารภายในประเทศหลังเดิมซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้เปิดใช้ งาน การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (Junction Terminal) โดยจะมีการก่อสร้างทางเชื่อมระหว่างตัวอาคารกับสถานีรถไฟฟ้าดอนเมืองที่จะ เป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้าสายสีแดงเส้นทาง บางซื่อ – รังสิต และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์สายพญาไท – ดอนเมือง และการสร้างอาคารจอดรถเพื่อรองรับรถยนต์ได้อีกกว่า 3,000 คัน ซึ่ง ทอท.คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ในปี 2564 สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของ ทดม.ได้เป็น 40 ล้านคนต่อปี ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมือง มีผู้โดยสาร ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 80,000 -110,000 คนต่อวัน หรือ 28 ล้านคนต่อปี. มี่ที่ยวบิน วันละ 650-680 เที่ยวบิน ต่อวัน.-สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/414685
รถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีชมพูจะได้เริ่มกันซักที นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. เปิดเผยว่า สนามบินดอนเมืองได้เปิดให้บริการอาคารหลังที่ 2 ไปบางส่วนแล้ว จะเตรียมเปิดใช้อาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 3, 4 และ 5 เพิ่มเติม เพื่อลดความแออัดของผู้โดยสารขณะรอขึ้นเครื่อง และปรับปรุงห้องน้ำให้เพียงพอภายในเดือนนี้ นอกจากนี้มีแผนพัฒนาสนามบินดอนเมืองระยะที่ 3 โดยปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังแรก และก่อสร้างทางเชื่อมระหว่างอาคารกับสถานีรถไฟฟ้าดอนเมืองที่จะเป็นสถานีในโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เส้นทางบางซื่อ-รังสิต และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เส้นทางพญาไท-ดอนเมือง รวมทั้งก่อสร้างอาคารจอดรถรองรับรถยนต์ได้อีก 3,000 คัน ซึ่งใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งหากก่อสร้างเสร็จจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้เป็นปีละ 40 ล้านคน ลดความแออัดภายในสนามบินได้ไปจนถึงปี 2564 เนื่องจากแต่ละปีสนามบินดอนเมือง มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นปีละ 26-30%
สิ่งที่ ลุงตู่ควรทำให้เสร็จ ในด้านการคมนาคม ก่อน ส่งต่อ คือต้องเร่งเซ็นสัญญา 1. สุวรรณภูมิเฟส 2 พร้อม รันเวย์ที่ 3 ให้ได้ เดือนก่อนบินที่สุวรรณภูมิ รู้สึกได้ว่า รันเวย์มัน แย่ เป็นลอนๆ และเห็นเครื่องจักร์หนัก มาซ่อมรันเวย์เยอะมากเห็นว่าจากปัญหาน้ำใต้ดินอยู่ในระดับสูง 2. รถไฟทางคู่เร่งด่วน ระยะ1 ต้องเซ็นให้หมด และควรจะมีการเซ็นรถไฟรางคู่ ระยะ 2 ให้ได้สัก โครงการ พร้อมรีบอนุมัติพวก การจัดซื้อหัวรถจักร์ และตู้โดยสารรุ่นใหม่ๆ 3. รถไฟฟ้า หลากสี ควรจะเร่งที่สุด 4. ส่วนรถไฟความเร็วสูง ผมเฉยๆ
อิตาเลียนไทย จับมือจีนเจรจารัฐบาลเมียนมาร์ก่อสร้างเส้นทางพุน้ำร้อน - ทวาย ให้แล้วเสร็จ ขสมก.วางแผนจัดหารถเมล์เพื่อบริการประชาชนหลายรูปแบบ ทั้งนำรถเมล์เก่ามาปรับปรุงใหม่ และจัดซื้อรถเมล์ใหม่หลายระบบ ไปติดตามจากรายงาน หลังจาก ขสมก.ยกเลิกการประมูลจัดซื้อรถเมล์ NGV 489 คันเพราะคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรกนิกส์ หรือ กวพ.อ. พบช่องโหว่ของหลักเกณฑ์การประมูล ที่อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม ทำให้ ขสมก.ต้องหาวิธีจัดหารถมาวิ่งบริการประชาชนให้เพียงพอ ในช่วงที่การจัดซื้อรถเมล์ใหม่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง ด้วยการคืนชีพรถเมล์เก่า นำมาปรับโฉมใหม่ เพื่อนำมาวิ่งให้บริการผู้โดยสาร ต่อไปอีกกว่า 10 ปี โดยการซ่อมรถเมล์เก่า ต้องยกเครื่องยนต์ใหม่ทั้งระบบ ปรับปรุงระบบเกียร์ไฟ และเบรก พร้อมกับติดตั้งระบบ GPS ให้ติดตามได้ตลอด 24 ชั่วโมง และติดตั้งกล้อง CCTV ทั้งในและนอกตัวรถ 4 จุด โดยใช้งบประมาณถึงคันละ 1.5 ล้านบาท - 2.7 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับสภาพรถและราคาอะไหล่ของรถเมล์แต่ละคัน การนำรถเมล์เก่ามายกเครื่องใหม่ ที่ต้องใช้งบประมาณต่อคันสูงกว่า 1 ล้านบาท แม้ราคาจะค่อนข้างสูงมาก แต่ ขสมก.ยืนยันว่า จะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ลงไปถึง 50 % ซึ่งคุ้มค่าต่อการลงทุน รถเมล์เก่าที่จะนำมาซ่อมใหม่ มีถึง 671 คัน ซึ่งต้องใช้งบประมาณขั้นต่ำรวมกว่า 1 พันล้านบาท โดยจะทยอยนำเข้าซ่อม และทั้งหมดจะเสร็จภายใน1 ปีครึ่ง ขสมก. ยังได้ว่าจ้างให้สถาบันการศึกษา เข้ามากำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้โดยสารด้วย ส่วนการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ ขสมก.ก็จะเดินหน้าโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV 489 คัน ต่อไป และยังเตรียมจัดซื้อรถเมล์ไฟฟ้าอีก 200 คัน ภายในปีนี้ การที่มีรถเมล์หลายระบบ ทั้งรถเมล์เก่า รถเมล์ NGV และรถเมล์ไฟฟ้า คงต้องติดตามกันต่อไปว่า ขสมก.จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าในอู่จอดรถเมล์ รองรับรถเมล์หลากหลายรูปแบบกันอย่างไร
ผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง จะได้ใช้บริการที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น เพราะใช้ระบบเช็คอิน และตรวจสอบสัมภาระแบบใหม่ ที่เรียกว่า ระบบอินไลน์สกินนิ่ง โดยวันนี้ได้เปิดใช้อาคารผู้โดยสารภายในประเทศหลังใหม่อย่างเป็นทางการแล้ว ติดตามจากคุณขวัญ โม้ชา รายงานสดจากท่าอากาศยานดอนเมือง หลังจากมีกระแสข่าวว่าในปี 2564 คสช.จะยกเลิกรถตู้รถโดยสารวิ่งข้ามจังหวัด และนำรถมินิบัสมาวิ่งให้บริการแทน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุนั้น นายนพรัตน์ การุณยะวนิช รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส.ยอมรับว่า นโยบายดังกล่าวเป็นแนวทางจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะของ คสช. ซึ่งยังไม่ได้ยกเลิกในทันที แต่เป็นการเริ่มนำรถมินิบัสเข้ามาวิ่งให้บริการ เนื่องจาก ข้อดีของรถมินิบัส มีขนาดใหญ่กว่ารถตู้ มีอัตราบรรทุกได้ 20 ที่นั่ง เทียบกับรถตู้บรรทุกได้ 14 ที่นั่ง และรถมินิบัสยังมีความคงทนแข็งแรงมากกว่า มีความเหมาะสมที่จะวิ่งได้ในระยะเกินกว่า 300 กิโลเมตร โดยขณะนี้ บขส. มีรถตู้โดยสาร และรถร่วมให้บริการอยู่กว่า 6,800 คัน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถทยอยเปลี่ยนมาใช้รถมินิบัสได้ และรถตู้ที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานจะค่อยๆหายไปจากระบบ และคาดว่าในปี 2564 การเดินทางข้ามจังหวัดจะใช้รถมินิบัสได้ทั้งหมด พร้อมทั้งขอให้รัฐบาลออกมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการในการจัดซื้อรถใหม่ โดยการลดหย่อนภาษีการซื้อรถมินิบัสเพื่อลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ ปัจจุบันการยื่นจดทะเบียนรถตู้โดยสารสาธารณะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.8 ต่อปี และที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย คือ จำนวนอุบัติเหตุ และผู้เสียชีวิต โดยในปี 2549 มีรถตู้โดยสารสาธารณะจดทะเบียนใหม่ 512 คัน ต่อมาในปี 2553 เพิ่มขึ้นมาเป็น 4,560 คัน และปีที่แล้ว 2558 รถตู้ยื่นจดทะเบียนใหม่ถึง 14,938 คัน แต่ที่สวนทางกัน คือ เรื่องในอนุญาตประกอบการที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 0.3 ต่อปีเท่านั้น ทำให้ยังพบเห็นรถตู้ป้ายดำ คือ ที่ไม่ได้จดทะเบียนวิ่งอยู่เต็มท้องถนน สถาบัน TDRI เปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2557 ถึงมิถุนายนปี 2558 รถตู้โดยสารสาธารณะมีสถิติเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น ร้อยละ 41 มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละ 9 คน ทำให้ภาครัฐต้องเข้ามาจัดระเบียบเรื่องนี้ โดยตั้งเป้าในช่วง 10 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2554-2563 จะต้องลดอัตราการเสียชีวิตทางถนนจากรถทุกประเภทลงให้ได้ต่ำกว่า 10 คน ต่อประชากร 100,000 คน คสช.มีแผนในการจัดระเบียบรถตู้ในปี 2564 โดยจะไม่ให้มีการวิ่งข้ามจังหวัด เพื่อความปลอดภัย LOOK FORWARD 10/03/59 ทอท.ลุยขยายสุวรรณภูมิรับนักท่องเที่ยวบูม
ท่าอากาศยานดอนเมืองเตรียมเปิดให้บริการ Sleep Box โรงแรมขนาดจิ๋ว ดีเดย์วันแรก 14 มี.ค. นี้ กทม. 10 มี.ค. – มีข่าวดีสำหรับผู้โดยสารที่ต้องไปรอขึ้นเครื่องนานๆ หรือเจอปัญหาเที่ยวบินล่าช้า เพราะท่าอากาศยานดอนเมืองมีห้องพักที่เรียกว่า Sleeep box เตรียมเปิดให้บริการต้นเดือนเมษายนนี้ ไปดูว่าห้องพักนี้หน้าตาเป็นอย่างไร สะดวกสบายแค่ไหน สำหรับค่าบริการการเข้าพักราคา 1,800 บาท/คืน ตั้งแต่เวลา 21.00-06.00 น. พร้อมคูปองรับประทานอาหารเช้าราคา 200 บาท เลือกรับประทานอาหารได้ทุกร้านในสนามบิน หากอาหารมีวงเงินเกินต้องออกค่าใช้จ่ายเพิ่ม นอกจากนี้ยังมีให้บริการเข้าพักเป็นรายชั่วโมง ขั้นต่ำ 3 ชั่วโมง ค่าบริการ 1,000 บาท พร้อมคูปองอาหาร จากนั้นชั่วโมงถัดไปคิดค่าบริการ 200 บาท หากอาบน้ำอย่างเดียวคิดค่าบริการ 300 บาท นับว่าราคาถูกกว่าสนามบินญี่ปุ่นคิดราคา 400 บาท/หัว อินเดียคิดค่าบริการ 300 บาท คาดว่าสามารถปรับปรุงห้องบริการครบทั้งหมด 25 ห้อง ภายในต้นเดือนเมษายน 2559 . – สำนักข่าวไทย สำนักการจราจรและขนส่ง กทม. พาทีมข่าววอยซ์ทีวี ชมเรือโดยสารคลองภาษีเจริญโฉมใหม่ ที่จะเริ่มออกให้บริการต้นเดือนเมษายนนี้ โดยเรือโฉมใหม่นี้จะมาพร้อมกับฟังก์ชั่นเพื่อความปลอดภัยอย่างเต็มรูปแบบ มาตรการความปลอดภัยการโดยสารเรือสาธารณะ กลายเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายต้องกลับมาทบทวนมากขึ้น หลังเกิดอุบัติเหตุ เรือคลองแสนแสบระเบิดเมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่ voice news โดยเป็นสื่อแรกและสื่อเดียวที่ได้รับเกียรติจากสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. พาชมเรือโดยสารคลองภาษีเจริญโฉมใหม่ ที่จะเริ่มให้บริการต้นเดือนเมษายนนี้ โดยนอกจากจะยังคงความเป็นทางเลือกการเดินทางให้กับคนกรุงแล้ว เรือโฉมใหม่ยังมาพร้อมกับฟังก์ชั่นเพื่อความปลอดภัยอย่างเต็มรูปแบบ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานเปิดงานการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง ผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน ระหว่างวันที่ 16-17 มีนาคม ซึ่งจัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมการประชุม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการและนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2 แนะผลิตบุคลากรป้อนตลาดและความคำนึงปลอดภัยสูงสุด ติดตามรายงานสด จากผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี วุฒินันท์ นาฮิม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการและนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง "ผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน" ที่สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ มักกะสัน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณรัฐ ว่า ขณะนี้รัฐบาลพยายามทำการใช้จ่ายงบประมาณรัฐเกิดความคุ้มค้า และต่อไปนี้การพิจารณางบประมาณจะต้องปรับแก้ใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนา ต้องพิจารณาทุกมิติและบูรณาการร่วมกัน ไม่ว่าจะเรื่องน้ำหรือรถไฟทุกคนต้องทำงานร่วมกัน หากไม่เกิดการเชื่อมต่อเราจะไม่สามารถกำหนดอะไรได้เลย นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องการใช้งบประมาณ หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (15 มี.ค.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ เพื่อให้มีการสร้างกรอบรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลให้โปร่งใส และการใช้งบมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ บนเวทีประชุมวิชาการวันนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการพัฒนาระบบรางว่า การสร้างทางรถไฟไม่ใช้แค่สร้างแล้วจบไป เพราะการลงทุนด้วยงบประมาณจำนวนมาก และจะรอเก็บเพียงค่าโดยสารอย่างเดียวจะขาดทุน จึงต้องคำนวนให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาพื้นที่ 2 ข้างทางรถไฟ เพื่อให้การลงทุนเกิดประโยชน์ยั่งยืน และผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงระบบราง ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีรางรถไฟ 4,000 กิโลเมตร และมีแผนจะสร้างรางเพิ่มขึ้นอีก 3,000 กิโลเมตร หากเป็นไปตามแผนจะทำให้ปี 2565 มีรางรวมระยะทาง 7,000 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่มากพอจะลงทุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนระบบราง รวมทั้งรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้การลงทุนระบบรางมีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากขึ้น การพัฒนาระบบราง ถือเป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศ แต่ปัจจุบันวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ยังต้องนำเข้าจากประเทศ ภาครัฐจึงรวบรวมผลงานวิจัย และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการขนส่งทางรางมาจัดแสดงกว่า 40 ผลงาน ติดตามจากคุณขวัญ โม้ชา
หลังจากโครงการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าระบบรางเบา จังหวัดขอนแก่น ผ่านการอนุมัติหลักการจากรัฐบาล เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ขั้นตอนหลังจากนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ ก่อนจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในขั้นตอนต่อไป หากได้รับการอนุมัติ คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี ซึ่งไม่เกินปี 2563 จะสามารถเปิดให้บริการได้ และถือเป็นจังหวัดแรกของไทย ที่จะมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนนอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด เปิดเผยความคืบหน้า โครงการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าระบบรางเบา จังหวัดขอนแก่น ภายหลังผ่านการอนุมัติหลักการว่า ขั้นตอนจากนี้จะร่วมหารือหลายหน่วยงาน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันว่าจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร โดยก่อนหน้านี้ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ได้สนับสนุนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาโครงการรถไฟฟ้าระบบรางเบา ถึงความคุ้มทุน รูปแบบการดำเนินการ และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ คาดว่าการศึกษาจะใช้เวลาอีก 10 เดือนจะแล้วเสร็จ หลังจากนั้นผลการศึกษาจะถูกนำเสนอให้ คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก และคณะรัฐมนตรีพิจารณา หากได้รับการอนุมัติจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 ปี คาดว่าในช่วงปลายปี 2562 ถึงต้นปี 2563 จะสามารถเปิดให้บริการได้ ส่วนกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชน นอกเหนือจากการทำประชาพิจารณ์ จะมีการดำเนินการในรูปแบบการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของชาวขอนแก่น โดยใช้วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินการนำรายละเอียดโครงการลงพื้นที่ไปสอบถามความคิดเห็นประชาชนร้อยละ 70 ของชาวขอนแก่น แล้วนำข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ โครงการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าระบบรางเบา จังหวัดขอนแก่น จะใช้รถรางเบาขนาดเล็ก ความกว้างประมาณ 2 เมตร 60 เซ็นติเมตร ความจุ 3 ตู้โดยสาร 180-200 คน ระยะแรก สายสีแดง วิ่งจาก เทศบาลตำบลสำราญ-เทศบาลตำบลท่าพระ ระยะทาง 26 กิโลเมตร เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทางจังหวัดขอนแก่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่มีแนวคิดจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัด ทำให้มีการระดมทุน 200 ล้านบาท จาก 20 บริษัทในจังหวัดขอนแก่น จัดตั้งเป็น บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด เพื่อดำเนินโครงการ หากโครงการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าระบบรางเบา ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก็จะมีการระดมทุนเพิ่ม จากภาคเอกชนในจังหวัดขอนแก่น และนักลงทุนจากทั่วประเทศ โดยหลังจากเปิดดำเนินการได้ 2 ปี ก็จะนำโครงการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในลักษณะกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจังหวัดขอนแก่น นายสุรเดช ระบุว่า โครงการนี้ยังเป็นโครงการที่มีเป้าหมายว่าจะนำโครงการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะทำให้เป็นโครงการที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งจังหวัดขอนแก่นและประเทศไทย และถือเป็นจังหวัดแรกของไทย ที่มีระบบขนส่งมวลชนเป็นของตนเองนอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร อีกหนึ่งโครงการที่รัฐบาลเดินหน้าผลักดัน คือ โครงการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย โดยระดมผู้เชี่ยวชาญจากทุกหน่วยงานและสถาบันการศึกษา ร่วมจัดแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทยครั้งที่ 2 เน้นที่ผลิตชิ้นส่วนอย่างไรให้ได้มาตรฐาน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยแนะนำให้ไทย เพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอ ครม.อนุมัติโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ซึ่งจะนำร่องที่สนามบินอู่ตะเภา ภายในเดือนเมษายนนี้ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ผ่านขั้นตอนการสำรวจพื้นที่โครงการเรียบร้อยแล้ว และจะนำผลรายงานต่อกระทรวงคมนาคม ร่วมกับกองทัพเรือ เจ้าของพื้นที่ ในวันที่ 1 เมษายนนี้ จากนั้นก็จะสรุปความเห็นชอบ เสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีทันที โดยคาดว่าจะนำเรื่องเข้าที่ประชุม ครม.ได้ภายในเดือนเมษายนนี้ โดยศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา มีแผนดำเนินการในช่วง 2 ปีนี้ เพื่อเป็นโครงการนำร่อง เม็ดเงินลงทุนทั้งโครงการ 1.5 หมื่นล้านบาท โดนจะเป็นลงทุนร่วมระหว่างรัฐกับเอกชน โดยภาครัฐเป็นคนจัดสรรที่ดิน ส่วนเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ อาคารและโรงงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมถึงการให้บริการ ซึ่งประเภทการซ่อมบำรุงที่เหมาะสม คือ การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์และการซ่อมบำรุงโครงสร้างเครื่องบินลำตัวแคบ เช่น รุ่น A320 เป็นต้น เพราะมีสายการบินต้นทุนตํ่าหลายสายใช้อยู่ และมีอัตราการเติบโตสูง โดยโบอิ้ง ระบุว่า หลังเปิด เออีซี ธุรกิจการบินในอาเซียนเติบโตถึง 3 เท่า โดยเฉพาะกลุ่มโลคอส และประเมินว่า ภายในปี 2576 ความต้องการเครื่องบินใหม่ในภูมิภาคนี้จะพุ่งสูงถึง 3,080 ลำ หรือ คิดเป็นมูลค่า 1.39 ล้านล้านบาท โดยตลาดที่มีการเติบโตสูงสุด คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ซึ่งหากศูนย์ซ่อมอากาศยานประสบความสำเร็จ จะสร้างโอกาสให้ไทยเกิดกิจกรรมการลงทุนการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานตามมา โดยรัฐเตรียมส่งเสริมให้ผู้ผลิต ที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วใน นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด แตกไลน์การผลิต รวมถึงดึงให้เกิดผู้ผลิตรายใหม่ด้วย อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน เป็น 1 ใน 4 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือ นิว เอส เคิร์ฟ ที่รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาเพื่อก้าวสู่ยุคของการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งบริษัทของคนไทยแห่งเดียวของประเทศที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ รัฐอุดหนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยานรับการเติบโตธุรกิจการบิน
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้โครงการ 1 แถบเส้นทางของจีนประสบความสำเร็จ มาจากเส้นทางรถไฟที่จีนเชื่อมต่อทั้งในประเทศ และพยายามขยายไปภูมิภาคอื่นทุกภูมิภาค รถไฟความเร็วสูงของจีนที่ปัจจุบันครองสัดส่วนเส้นทางมากที่สุดในโลก ความเร็ว ความนุ่มนวล ความสะดวกสบาย และเทคโนโลยีของจีน ปัจจุบัน จีนถือว่าไม่เป็น 2 รองใคร หลังจากที่พาไปสัมผัสรถไฟความเร็วสูงของจีนมาแล้ว วันนี้ไปดูบริษัทที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จคือ บริษัทก่อสร้างการรถไฟจีน หรือ CRCC ผู้ก่อสร้างราง หัวรถจักร และเทคโนโลยี บำรุงรักษา เป็นรัฐวิสาหกิจจ้าวใหญ่ของประเทศจีน ที่ได้รับการยกย่อง และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จรถไฟความเร็วสูงของจีน ทั่วทั้งโลก ผู้ว่าฯกทม.นำทดสอบเดินเรือต้นแบบในคลองภาษีเจริญ 2016/03/20 11:25 AM กรุงเทพฯ 20 มี.ค.-กทม.ทดสอบเรือรูปแบบใหม่เตรียมให้บริการเส้นทางคลองภาษีเจริญ เม.ย.นี้ คาดราคาโดยสารตลอดเส้นทาง10-15บาท ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ทดสอบการเดินเรือต้นแบบในคลองภาษีเจริญ ซึ่งเป็นเรือรูปแบบใหม่ที่จะนำมาให้บริการประชาชนแทนเรือลำเก่าในเส้นทาง คลองภาษีเจริญ พร้อมทั้งตรวจเส้นทางการเดินเรือจากท่าเรือสะพานตากสิน –เพชรเกษม (ใกล้สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า) เขตภาษีเจริญ ไปยังท่าเรือตลาดน้ำตลิ่งชัน ระยะทางรวม 8 กิโลเมตร ทั้งนี้ กทม.ได้ว่าจ้าง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ทดลองเดินเรือในคลองภาษีเจริญโดยเปิดให้บริการฟรีประชาชนตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย.2557 จนถึงเดือน มี.ค.2559 ปรากฏว่า ตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการ มีประชาชนสนใจใช้บริการเฉลี่ยถึงวันละ 3,000 คน โดยช่วงเวลา07.00 น.จะมีผู้ใช้ บริการมากที่สุด ดังนั้นเพื่อให้การเดินเรือในคลองภาษีเจริญมีความปลอดภัย สะดวกสบาย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทางบริษัทจึงจัดหาเรือลำใหม่ที่ได้ปรับรูปแบบเรือให้มีความเหมาะสม ลดคลื่น ลดผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งคลอง และไม่รบกวนสิ่งแวดล้อมมาให้บริการประชาชนแทนเรือลำเก่าทั้งหมด 12 ลำ ด้วยงบประมาณ40ล้านบาท ขณะนี้ต่อเสร็จแล้ว 2ลำ อยู่ระหว่างทดสอบเรือ และคนขับให้เกิดความชำนาญในการบังคับเรือ โดยร่วมกับกองทัพเรือในการฝึกอบรมพนักงานขับเรือ คำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกของผู้โดยสารเป็นสำคัญ จากนั้นจะนำมาให้บริการร่วมกับเรือลำเก่าไปก่อน ส่วนเรือรูปแบบใหม่อีก 10ลำ คาดว่าจะต่อแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.2559 และเมื่อต่อแล้วเสร็จจะนำมาให้บริการแทนเรือลำเก่าทั้งหมด เพื่อเป็นต้นแบบที่จะใช้เดินเรือในคลองอื่นๆ ของ กทม.ต่อไปในอนาคต สำหรับเรือต้นแบบ หรือรูปแบบใหม่โครงสร้างเรือ ใช้วัสดุไฟเบอร์กลาส เครื่องยนต์ประเภท MARINE สำหรับการเดินทางในน้ำโดยเฉพาะ เป็นเรือที่สร้างคลื่นต่ำมีขนาด 40 ที่นั่ง รองรับผู้โดยสารได้ไม่เกิน 60 คน และมีระบบ GPS ควบคุมความเร็ว พร้อมมีเบาะชูชีพ (Safe Board) ภายในเรือติดตั้งกล้อง CCTVลำละ 4 จุด มีบริการ wifi มีพื้นที่สำหรับวีลแชร์รองรับ ผู้พิการหรือผู้สูงอายุได้จำนวน 2 คัน และมีพื้นที่สำหรับรถจักรยาน จำนวน 2 คัน ส่วนค่าโดยสารทาง กทม.จะพิจารณาตามความเหมาะสมคาดว่าจะเริ่มเก็บในเดือนกรกฎาคม ค่าบริการตลอดเส้นทางประมาณ10-15บาท อย่างไรก็ตามต้องรอสรุปหลังประชุมกับคณะผู้บริหารอีกครั้ง .-สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/428112 เรือโดยสารคลองภาษีเจริญรูปแบบใหม่เริ่ม 1 เม.ย. 2016/03/20 8:17 PM กรุงเทพฯ 20 มี.ค. – กทม.เปิดตัวเรือโดยสารยุคใหม่ที่มาพร้อมความ ปลอดภัย และทันสมัย เตรียมนำร่องเปิดให้บริการรับ-ส่งฟรี ที่คลองภาษีเจริญ ต้นเดือนเมษายนนี้. -สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/428417
เปิดใช้แล้วถนนเชื่อมถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน แก้ปัญหารถติดหลังใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 15 ปี ผ่านผู้ว่าฯ กทม.มา 4 คน แผนที่จาก Google Earth ชี้เส้นทางตัดใหม่ถนนเลียบคลองบางเขน ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร จากถนนวิภาวดีรังสิต ข้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปออกถนนพหลโยธิน 49/1 เยื้องมหาวิทยาลัยศรีปทุม ผ่านระยะเวลาปัญหาอุปสรรคการเวนคืนที่ดิน และการก่อสร้างที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2543 วันนี้ เปิดให้ใช้งานแล้วอย่างไม่เป็นทางการ ช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดคับคั่ง ระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำสำรวจเส้นทางเลียบคลองบางเขน เป็นถนน 2 เลน รถที่จะไปบางบัว ไม่ต้องวิ่งอ้อมเข้าถนนงามวงศ์วานตัดผ่านถนนเลียบคลองบางเขน ตรงออกถนนพหลโยธินได้เลย ถนนตัดใหม่ยังอำนวยความสะดวกให้นิสิตเกษตร อาจารย์ และบุคลากรด้วย วันที่ 24 มีนาคมนี้ กรุงเทพมหานคร จะเปิดใช้ถนนเส้นนี้ อย่างเป็นทางการ และจากนี้ จะเดินหน้าขยายจาก 2 เลน เป็น 4 เลน ทำแนวคันกั้นน้ำเส้นทางจักรยาน และสวนหย่อม ตามโครงการที่จะใช้งบประมาณ 300 ล้านบาท กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ กรุงเทพฯ 24 มี.ค.- ผู้ว่าฯ กทม. เปิดถนนเลียบคลองบางเขน ถนนสายรอง ที่เชื่อมต่อระหว่างถนนพหลโยธิน 49 /1 หรือ ซอยบางบัว กับบริเวณสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ถนนวิภาวดีรังสิต ระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร ขนาด 2 ช่องทางจราจร เพื่อจะช่วยระบายการจราจรที่ติดขัดจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยสามารถระบายปริมาณรถยนต์ในชั่วโมงเร่งด่วน จาก 4 ถนนหลัก คือ งามวงศ์วาน วิภาวดีรังสิต พหลโยธิน และแจ้งวัฒนะ ขณะที่ในอนาคตจะพัฒนาถนนสายนี้ให้มี 4 ช่องจราจร สร้างเขื่อนกันตลิ่ง รองรับกลุ่มใช้จักรยาน.-สำนักข่าวไทย สนามบินสุวรรณภูมิ ติดอันดับ 1 ใน 5 ท่าอากาศยานดีเด่นของโลก จากการจัดอันดับของ SKYTRAX เสนอรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง รฟม. หวังเชื่อมเดินทางเข้าเขตเมือง นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.เตรียมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ พิจารณาผลการเจรจาระหว่าง รฟม.กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) ผู้เดินรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กิโลเมตร หรือเดินรถต่อจากรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อต่อไปอีก 1 สถานี เพื่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน ทั้งนี้ การลงทุนติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร ระบบตั๋วโดยสารที่สถานีเตาปูน มีวงเงิน 693 ล้านบาท โดยรัฐจะทยอยจ่ายคืนให้เอกชน และรัฐจะจ่ายค่าจ้างเอกชนเดินรถ 2 ปี ปีแรก 52 ล้านบาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) นายธีรพันธ์ กล่าวว่า หากการก่อสร้างและวางระบบรถไฟฟ้าเสร็จไม่ทันการเปิดรถไฟฟ้าสายสีม่วงในเดือน ส.ค.นี้ รฟม.เตรียมรองรับการขนส่งผู้โดยสารจากระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงมารถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีบางซื่อ 2 แนวทาง คือ 1. เจรจากับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถเมล์มาเป็นชัตเติลบัส ขนส่งผู้โดยสารจากสถานีเตาปูน มาที่สถานีบางซื่อ 2. เจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดขบวนรถไฟ ขนส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟบางซ่อน ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสีม่วงที่สถานีบางซ่อน ขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟมาที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อ ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา หลังจากรัฐบาลตัดสินใจที่จะลงทุนเอง โดยไม่พึ่งจีน อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร. อักษรศรี พานิชสาส์น ในฐานผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน บอกว่า คำถามที่ถูกถามบ่อยคือ ในเมื่อไทยจะลงทุนเองทั้งหมด แล้วทำไมต้องจ้างจีนมาสร้างนั้น ก็เพราะ การดำเนินการในโครงการดังกล่าว เป็นไปตามกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 และไทยมีการเดินหน้าร่วมมือกับจีนมาในหลายส่วนแล้ว รวมทั้งมีการศึกษาร่วมกัน ตลอดจนเทคโนโลยีรถไฟจีนเป็นที่ยอมรับระดับสากล ดังนั้น การดำเนินการนี้ ยังคงเป็นไปในลักษณะของความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศต่อไป แม้ว่าไทยจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดก็ตาม
วันนี้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทยได้นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมภารกิจการควบคุมจราจรทางอากาศ ณ หอบังคับการบินดอนเมือง เพื่อติดตามถึงความพร้อมในการรองรับการให้บริการและการจัดการจราจรทางอากาศ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย คุณสาริณี แสงประสิทธิ์ บอกว่า วิทยุการบินเตรียมแผนบริหารจัดการปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งภายใน และ ระหว่างประเทศ จนทำให้เกิดความหนาแน่นของการบิน จากธุรกิจการบินที่จะเติบโตประมาณ 13% ในปีนี้ ดังนั้น จึงคาดการณ์ว่า ปลายปีนี้เที่ยวบินจะสูงถึง 1 ล้านเที่ยวบิน/ปี และอีก 3-5ปี จะเพิ่มขึ้นอีก 1.5 -3 ล้านเที่ยวบินต่อปี สิ่งที่ต้องเร่งวางแผนคือ การสร้างขีดความสามารถในการรองรับ สำหรับปริมาณเที่ยวบินช่วงสงกรานต์ระหว่างวันที่ 8 - 17 เมษายน 2559 ของท่าอากาศยานดอนเมือง และ สุวรรณภูมิ คาดว่า มีสายการบินขอเพิ่มเที่ยวบินพิเศษเฉลี่ย 60 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้น 7.81% จากเดิมมีปริมาณเที่ยวบินเฉลี่ยทั้ง 2 สนามบิน รวม 1,642 เที่ยวบินต่อวัน โดยดอนเมืองเฉลี่ย 700 เที่ยวบินต่อวัน สุวรรณภูมิ 900 เที่ยวบินต่อวัน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าว เป็นการประเมินเบื้องต้น แต่จะประเมินตัวเลขเที่ยวบินที่แน่ชัดอีกครั้งช่วงใกล้เทศกาล คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก ขณะที่ความล่าช้าชองเที่ยวบิน หรือการดีเลย์ ปัจจุบันประเทศไทย ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8 นาที ส่วนมาตรการดูแลความปลอดภัย หลังจากเหตุก่อการร้ายที่ประเทศเบลเยียม คุณสาริณี บอกว่า วิทยุการบินได้ยกระดับความปลอดภัยในระดับที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งสนามบินในไทยยังติดอันดับและได้รับการยอมรับว่าการรักษาความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุดในโลก การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมนำรถไฟขบวนใหม่จากจีน 9 ขบวนมาให้บริการรถไฟชั้น 1 และ 2 ในเดือนสิงหาคมนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานเปิดงาน "119 ปี การรถไฟฯ จากอดีตถึงปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต" โดยมีการจัดนิทรรศการความเป็นมาของกิจการรถไฟไทย ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้จนถึงวันพรุ่งนี้ สำหรับโครงการพัฒนาระยะเร่งด่วนในปีนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย จะนำเข้ารถไฟขบวนใหม่จากจีน 115 ตู้ รวม 9 ขบวน เป็นมูลค่า 4,981 ล้านบาท ภายในติดตั้งกล้องวงจรปิด พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการ ซึ่งจะนำมาให้บริการในขบวนรถไฟชั้น 1 และ 2 โดยรถไฟขบวนแรกจากจีนจะมาถึงไทยในเดือนกรกฎาคมนี้ และจะเริ่มนำมาให้บริการในเดือนสิงหาคมนี้ ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งขบวนรถไฟจากจีนจะส่งครบทั้งหมดภายในต้นปีหน้าโดยจะเก็บค่าโดยสารเพิ่มขึ้นจากขบวนรถไฟปกติ 5-10 % นอกจากนี้ จะนำรถไฟเก่าที่ปรับปรุงใหม่ โดยใช้ต้นแบบจากรถไฟญี่ปุ่น 4 ตู้ ซึ่งเป็นขบวนรถไฟเฉพาะ มีห้องประชุม ห้องอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ พร้อมเปิดให้ผู้โดยสารเป็นกลุ่ม หรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่าใช้บริการได้แล้ว 28 มี.ค.| ข่าว 19.00 น. ผู้ว่าฯ กทม. เผย กทม. จะเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่จะเปิดให้บริการในปี 62 ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือร.ฟ.ท. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร ระบุ ในปีนี้จะเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่ 4 เส้นทาง มูลค่ากว่า 9 หมื่นล้านบาท โดยจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาสัปดาห์หน้า คือช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ช่วงนครปฐม - หัวหิน ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร และช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ ส่วนช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ จะเสนอให้กระทรวงฯเห็นชอบเร็วๆนี้
คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เร่งดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง หลังครม.ได้อนุมติแล้ว คาดจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปีนี้ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะเสนอครม.พิจารณาได้เดือนพฤษภาคม ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 นั้น เมื่อวานนี้จึงมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ครั้งที่3/2559 หรือ PPP โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม ได้หารือการให้เอกชนมาลงทุนในโครงการดังกล่าว นายสมคิด กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง ภายหลังที่ครม.ได้อนุมัติแล้ว ในขั้นตอนต่อไป ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. และคณะกรรมการการคัดเลือก จะดำเนินการเชิญชวน พร้อมคัดเลือกเอกชนให้มาลงทุน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือนเมษายน และจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงกลางปี ภายใต้มาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ PPP Fast Track ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง–บางแคและช่วงบางซื่อ–ท่าพระ ในการประชุมครั้งหน้าจะสามารถได้ข้อสรุป และนำเสนอให้ครม.พิจารณาได้ในเดือนพฤษภาคมนี้ ขสมก.นำรถเก่ามาปรับปรุงสภาพใหม่ เพื่อวิ่งให้บริการผู้โดยสาร ซึ่งนอกจากจะทำให้รถมีความปลอดภัย ยังช่วยประหยัดการจัดซื้อรถใหม่ได้ถึงคันละ 2 ล้านบาท โดยรถ 3 คันต้นแบบ ที่ผ่านการปรับปรุงรูปแบบใหม่ จากรถเก่าที่ผ่านการใช้งานมามากกว่า 25 ปี ได้มีการปรับปรุง ทั้งระบบช่วงล่าง โครงสร้างตัวถังทั้งภายในและภายนอก มีการยกเครื่องยนต์ใหม่ และเดินระบบไฟใหม่ทั้งหมด พร้อมกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เพื่อประโยชน์ของผู้โดยสาร ทั้งชุดแจ้งสถานีที่เป็นระบบป้ายไฟ LED มีเสียงบอกสถานีสำหรับผู้พิการ ติดตั้งไวไฟ กล้องวงจรปิด ทั้งด้านหน้าและประตูขึ้น-ลง และอุปกรณ์เก็บข้อมูลการให้บริการ ซึ่งรถที่ผ่านการปรับปรุง ช่วยประหยัดค่าใช่จ่ายเทียบการนำเข้ารถใหม่ได้ถึง 3 คัน มีอายุการใช้งาน 10 ปี โดยทั้ง 3 คัน จะเริ่มวิ่งทดสอบให้บริการช่วงสงกรานต์นี้ ขณะที่ทางด้าน บริษัทท่าอากาศยานไทย ได้นำระบบบริหารจัดการคิวรถแท็กซี่เข้ามาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ที่บริเวณพื้นที่รอรถแท็กซี่ ใต้อาคารจอดรถ 7 ชั้น ซึ่งติดกับอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ อาคาร 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการรถแท็กซี่ และเพิ่มสะดวกให้กับผู้โดยสาร โดยได้ติดตั้งตู้กดบัตรคิว พร้อมจัดเจ้าหน้าที่แนะนำผู้โดยสาร ซึ่งจะมีการจดรายละเอียดการเดินทาง เพื่อป้องกันการหลงลืมทรัพย์สิน และรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสาร ขณะที่ผู้โดยสารที่เป็นสตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และพระภิกษุ ได้จัดระบบคิวพิเศษแยกออกจากคิวปกติด้วย ขสมก.ลงนามสัญญากับบริษัทเอกชนผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นำพื้นที่ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ฟรีนาน 20 ปี นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก. และผู้บริหารบริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และศูนย์การค้าครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย ร่วมลงนามสัญญาให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดย โชว์ ดีซี คอร์ป มอบพื้นที่บริเวณปากทางเข้าวัดอุทัยธาราม จำนวน 1 ไร่ ให้ ขสมก.ใช้ประโยชน์โดยไม่คิดค่าตอบแทน เป็นเวลา 20 ปี เพื่อใช้เป็นสถานีปล่อยรถ และลานจอด ที่ทำการสำนักงาน โดย ขสมก.จะจัดเส้นทางเดินรถ จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ สาย 36 วิ่งจากสถานีปล่อยรถบริเวณพื้นที่ห้างสรรพสินค้า ถนนจตุรทิศ ไปสุดเส้นทางที่ท่าน้ำสี่พระยา และสาย 54 วงกลมรอบเมือง-ห้วยขวาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ที่อาศัยในบริเวณดังกล่าว ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะเข้ามาใช้บริการในห้างสรรพสินค้า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ กรุงเทพฯ 1 เม.ย.-เปิดให้บริการแล้วสำหรับเรือรูปแบบใหม่ที่ทาง กทม. นำมารับส่งผู้โดยสารในคลองภาษีเจริญ ซึ่งวันนี้เป็นวันแรก และยังไม่คิดค่าบริการ โดยที่ท่าเรือเพชรเกษม 69 เช้าวันนี้ มีประชาชนมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง มีเรือ 6 ลำ ให้บริการทุก 20 นาที และในอนาคตจะขยายเป็น 12 ลำ รวมทั้งเพิ่มท่าจอด ผู้ใช้บริการบอกว่ารู้สึกปลอดภัย และพร้อมที่จะจ่ายค่าบริการ 15-20 บาท เรือรูปแบบใหม่มีขนาดเล็กลง ใช้ระบบ GPS ควบคุมความเร็วเพียง 10 กม.ต่อ ชม. มีเบาะชูชีพทุกที่นั่ง ติดตั้งกล้อง CCTV ลำละ 4 ตัว มี Wifi ฟรี มีพื้นที่สำหรับวีลแชร์รองรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และพื้นที่จอดรถจักรยานส่วนบุคคล. –สำนักข่าวไทย รฟท.ลงทุนรถไฟสายสีแดง เสนอเลิก "พีพีพี" ชี้เจรจากู้เงินไจก้าไว้
รัฐมนตรีช่วยคมนาคม เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบรถไฟทางคู่ 4 เส้นทาง ประกอบด้วย ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ , มาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ , นครปฐม - หัวหิน และช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร รัฐมนตรีช่วยคมนาคม ออมสิน ชีวะพฤกษ์ บอกว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ 4 เส้นทาง ประกอบด้วย ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ /มาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ นครปฐม - หัวหิน และช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ได้ผ่านการพิจารณาจากบอร์ดการรถไฟฯแล้ว หลังจากนี้จะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป ส่วนกรณีการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อีก 7 ขบวน มองว่า ผู้บริหารของการรถไฟฯควรพิจารณาตามความเหมาะสม ขณะที่ความคืบหน้าในการก่อสร้างเครื่องกั้นบริเวณจุดตัดทางรถไฟ ขณะนี้เปิดใช้แล้ว 1 จุด เหลืออีก 19 แห่ง จะเร่งรัดให้เปิดใช้ได้โดยไม่ต้องรอเอกสารมอบอำนาจ คาดว่าปลายสัปดาห์นี้จะเปิดใช้บริการได้ครบ 20 แห่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา คาดสงกรานต์ปีนี้ สนามบินอู่ตะเภา จะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เพิ่มขึ้นจากปี 58 และทั้งปีนี้จะรองรับนักท่องเที่ยวได้ 3 ล้านคน ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา พล.ร.อ.วรพล ทองปรีชา บอกว่า ปัจจุบันมีสายการบินเข้ามาลงจอดทั้งแบบเช่าเหมาลำ และเที่ยวบินปกติประจำสัปดาห์ เช่น สายการบินไช่น่าเซาท์เทิร์น แอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ ไอก้าของรัสเซีย รองรับนักท่องเที่ยวทั้ง จีน รัสเซีย เดินทางเข้าไทยเพิ่มมากขึ้น และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จึงสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น จากปี 58 ทั้งปีมีนักท่องเที่ยวผ่านเข้าออกสนามบิน 1.15 แสนคน ขณะที่ยอดนักท่องเที่ยวเพียง 4 เดือนแรกของปี 59 มีนักท่องเที่ยวใช้บริการสนามบินอู่ตะเภา 1.5 แสนคน เป็นเที่ยวบินขนาด 120 ที่นั่ง บินเข้าหลุมจอด 12 เที่ยวต่อวัน จึงมีแนวโน้มของนักท่องเที่ยวผ่านเข้ามายังอู่ตะเภาเพิ่มขึ้น ขณะนี้มีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยวผ่านเข้าออกประมาณ 3 ล้านคนต่อปี ในส่วนของการพัฒนาสนามบินเฟส 2 ต้องใช้วงเงินลงทุน 800 ล้านบาท ทั้งสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร ลานจอด ซึ่งได้เริ่มทะยอยพัฒนาไปแล้วในปี 59 จากนั้นในปี 60 ต้องดำเนินการข้อกำหนดของ ICAO คาดว่าจะให้สามารถบริการนักท่องเที่ยว 6 หมื่น เที่ยวบินต่อปี หรือเครื่องบินผ่านเข้าลงจอด 5 นาทีต่อเครื่อง โดย ICAO เตรียมเดินทางเข้ามาตรวจในช่วงไตรมาส 2 ของปี 60 คืบหน้าพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเชิงพาณิชย์ สแกน "สายสีส้ม" หนุนการพัฒนาจากเมืองสู่เมือง "สายสีม่วงใต้" พระเอกระบบรางปลุกกรุงเทพชั้นใน
ช่วงเทศกาลสงกรานต์ สนามบินอู่ตะเภารับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาลงยังสนามบินเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน และปลายปีนี้ยังเตรียมที่จะเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ติดตามจากรายงาน คณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตร ใน 2 เส้นทางใหม่ วงเงินรวมกว่า 1.4 แสนล้านบาท คือเส้นทางบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร และเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทรวงสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติได้ในเดือนพฤษภาคมนี้
ร.ฟ.ท.ดิ้นสุดตัวขอเดินรถสายสีแดงเอง... กางแผนธุรกิจไม่ซ้ำรอยแอร์พอร์ตลิงก์ "จุดเปลี่ยน รถไฟ...โฉมใหม่..." ในที่สุด การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงนามสัญญา 3 โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) กับ กิจการร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และบริษัท Sumitomo Corporation) มูลค่าสัญญา 32,399.99 ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2559 หลังจากที่ต้องใช้เวลาประมูลยาวนานเกือบ 2 ปี นับจากเปิดซองราคาประมูล เนื่องจากกิจการร่วมค้า MHSC เสนอราคาสูงถึง 49,000ล้านบาท ทำให้ สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน ที่ดำเนินการก่อสร้างก่อนเมื่อปี 2552 และเสร็จเมื่อปี 2555 ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ประกอบด้วย 3 สถานี คือ สถานีตลิ่งชัน สถานีบางบำหรุ และสถานีบางซ่อน ต้องปล่อยทิ้งโครงสร้างและเสียค่าดูแลบำรุงรักษา กว่า 3 ปี เพราะไม่มีรถวิ่งให้บริการ เนื่องจากต้องรอระบบรถไฟฟ้า ที่นำไปรวมไว้กับสัญญาการจัดหาระบบรถไฟฟ้าในส่วนของ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ทั้งนี้ ขอบเขตงาน สัญญา 3 สายสีแดง คือ งานออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟ, ระบบไฟฟ้าและส่งกำลัง, ระบบอาณัติสัญญาณ, ระบบติดต่อสื่อสาร, ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสารระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (48 เดือน) นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ร.ฟ.ท. มีเป้าหมายในการบริหารจัดการโครงการสายสีแดงเอง ในขณะที่ มติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด ต้องการให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการโครงการ ในรูปแบบการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน หรือ PPP ดังนั้น ร.ฟ.ท. จึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความพร้อมและแผนธุรกิจ ความสามารถของ ร.ฟ.ท.กรณีที่จะรับผิดชอบการเดินรถสายสีแดงเอง “ถ้าเราจะเดินรถเอง จะต้องมีแผนที่ชัดเจน มีรายละเอียดในทุกด้าน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาเหมือนแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ที่รัฐต้องคอยอุ้ม ซึ่งที่ปรึกษาจะมาช่วยสังเคราะห์ข้อมูลดิบที่ร.ฟ.ท.ส่งให้ไป และจะเร่งสรุป และนำเสนอไปยังกก. PPP “ สำหรับข้อเสนอของร.ฟ.ท.นั้น จะเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเอง เนื่องจากเชื่อว่ามีศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเข้าใจและเชี่ยวชาญในการเดินรถไฟ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุน พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะในส่วนที่ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญ เช่น การซ่อมบำรุงรักษา เป็นต้น โดยการบริหารจัดการเอง มีข้อดี 4 ข้อคือ1. สามารถให้บริการได้โดยคำนึงถึงการเดินรถไฟทุกระบบในภาพรวม เนื่องจาก ระบบรถไฟสายสีแดง จะประกอบด้วยระบบรถไฟปัจจุบัน (รถโดยสารและสินค้า) รถไฟชานเมือง ซึ่งมีโครงข่ายสัมพันธ์กัน การที่ร.ฟ.ท.บริหารรายเดียวจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการทุกระบบได้ หากให้เอกชนเดินรถไฟฟ้า จะมุ่งประโยชน์เฉพาะรถไฟฟ้า ซึ่งอาจะมีผลไปถึงกรณีมีเหตุขัดข้องหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ร.ฟ.ท.จะสามารถเข้าไปแก้ขได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพอีกด้วย 2. มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการให้บริการ สามารถปรับเปลี่ยนตารางการเดินรถ ให้สอดคล้องกับระบบอื่นได้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถบริหารจัดการทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหาพิพาทและแบ่งปันผลประโยชน์ 3. ยกระดับการให้บริการและเทคโนโลยีของร.ฟ.ท. และ4. เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่สำคัญของร.ฟ.ท. สำหรับแผนการดำเนินการร.ฟ.ท.จะต้องทำการสำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ ประมาณการปริมาณผู้โดยสาร ,จัดทำแผนการปฏิบัติการเดินรถ (Operation Plan) และพัฒนาระบบควบคุมขบวน, จัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) และทำโครงสร้างองค์กร ขณะที่การให้เอกชนเข่าร่วมดำเนินงานในระบบการซ่อมบำรุงนั้น จะต้องมีการวางแผนการจัดหาอะไหล่ 3-5 ปีแรก แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งกระทรวงคมนาคม พิจารณาแนวทางแล้ว การที่ร.ฟ.ท.จะเดินรถสายสีแดงเอง มีความเหมาะสม เพราะสายสีแดงนั้น ถูกกำหนดบทบาทตามแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางจากชานเมืองด้านทิศเหนือกับพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ และมีสถานีเชื่อมต่อกับระบบรถไฟความเร็วสูง แอร์พอร์ตลิงก์ รถไฟทางไกล การบริหารเองจะมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ และเห็นว่าควรให้โอกาส ร.ฟ.ท.บริหารและประเมินผลเมื่อครบ 5 ปี เหตุผลอีกข้อที่ร.ฟ.ท.ควรเดินรถเอง คือ รัฐได้อนุมัติเงินกู้ JICA และเงินกู้ในประเทศ เพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ระบบควบคุมการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณและระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด (Mechanical and Electrical :M&E) รวมถึงขบวนรถไฟฟ้า (Rolling Stocks) จึงไม่ใช่โครงการที่เอกชนจะเข้ามาลงทุนและบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่การให้เอกชนร่วมลงทุนในงานบำรุงรักษานั้น สามารถดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 หรือตั้งบริษัทร่วมทุนกับเอกชนที่เป็นเจ้าของระบบเข้ามารับงานส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ตามแผน คาดว่าสายสีแดงจะเปิดเดินรถได้ในปี 2563 ประมาณการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 200,000 คน/วัน และเพิ่มเป็น 400,000 คน/วัน ในปี 2580 ในขณะที่มีขีดสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิต - บางซื่อได้ไม่น้อยกว่า 306,608 คน/วัน และหากขยายเส้นทางจากบางซื่อไปถึงชุมทางบ้านภาชี จะรองรับปริมาณผู้โดยสารเพิ่มประมาณ 449,080 คน/วัน วางแผนความถี่ของการเดินรถ (Headway) อยู่ระหว่าง 3 นาที-15 นาที/ขบวน โดยจะมีการจัดซื้อรถไฟฟ้าประมาณ 25 ขบวน หรือ 130 ตู้ โดยเบื้องต้นประมาณการรายได้สำหรับช่วงบางซื่อ-รังสิตในปี 2563 ที่ประมาณ 2,412 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 7,374 ล้านบาทในปี 2580 ส่วนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ประมาณ 1,129 ล้านบาทในปี 2563 และเพิ่มเป็น 3,455 ล้านบาทในปี 2580 ส่วนค่าใช้จ่ายช่วงบางซื่อ-รังสิตในปี 2563 ประมาณ 755 ล้านบาท และปี 2580 เพิ่มเป็น 2,014 ล้านบาท ช่วง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ประมาณ 641 ล้านบาทในปี 2563 และเพิ่มเป็น 1,433 ล้านบาทในปี 2580 เรียกว่า EBITDA เป็นบวกตั้งแต่เปิดให้บริการ เหตุผลต่างๆ ที่ร.ฟ.ท.อ้างอิง ข้อดี ผลประโยชน์ความคุ้มค่า และผลประกอบการเชิงตัวเลข ดูแล้วอาจจะมีข้อสงสัย เป็นไปได้หรือที่ ระบบขนส่งสาธารณะแบบรถไฟฟ้าจะมีกำไร เพราะทั้ง BTS และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM (ผู้รับสัมปทานเดินรถสายเฉลิมรัชมงคล) ต่างก็บาดเจ็บเพราะเผชิญกับภาวะขาดทุนจากผลประกอบการกันอย่างหนักตั้งแต่เปิดให้บริการ แล้วร.ฟ.ท.มีดีกว่า ตรงไหน ? และสุดท้าย คนร.จะตัดสินยอมให้ร.ฟ.ท.บริหารการเดินรถสายสีแดงเองตามที่เสนอหรือไม่นั้น ล้วนเป็นจุดเปลี่ยน โฉมใหม่รถไฟไทยทั้งสิ้น... อ้างอิง : http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000038850 -------------------------------------------------------------------------- ม่ายยยยยยยยยยย.....ไม่จริงงงง... โธ่...รถไฟสายสีแดงของผ๊มมมม... ไม่น่าเลย....ม่ายยยยย..... #หวาดเสียวหนักมาก
นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้จัดทำร่างเอกสารการประกวดราคา (TOR) โครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) พร้อมซ่อมแซมและบำรุงรักษา จำนวน 489 คัน เสร็จแล้ว และจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction) โดยประกาศร่าง TOR ในเวปไซด์ ขสมก. ครั้งที่ 1 วันนี้ โดยจะกำหนดเคาะราคา E-Auction ในวันที่ 8 ก.ค.59 และจะส่งมอบรถล็อตแรกได้ภายใน 90 วัน หลังลงนามสัญญาในเดือนตุลาคมปีนี้ ระบบขนส่งมวลชน ของจังหวัดขอนแก่น กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อรัฐบาลได้อนุมัติโดยหลักการให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาในเส้นทางสายหลักถนนมิตรภาพเขตเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและรองรับการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต ที่สำคัญจะเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ใช้เงินทุนจากการร่วมแรงร่วมใจของคนท้องถิ่นไม่พึ่งงบประมาณจากรัฐบาล ไปติดตามรายงานนี้กัน ขสมก. ประกาศเงื่อนไขการประมูลรถเมล์ NGV ใหม่ จำนวน 489 คัน โดยเปลี่ยนจากการประมูลเฉพาะตัวรถ มูลค่า 1,700 ล้านบาท มาเป็นประมูลทั้งจัดซื้อตัวรถและทำสัญญาค่าซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 10 ปี ทำให้ราคากลางประมูลเพิ่มขึ้นมาเป็น 4,000 ล้านบาท คาดว่าจะเคาะราคาประมูลได้วันที่ 8 กรกฎาคมนี้ และรับรถล็อตแรกได้ในเดือนตุลาคมนี้ รัฐมนตรีคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เผย การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 คาดว่าการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 จะแล้วเสร็จภายใน 3 - 5 ปี รัฐมนตรีคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ บอกถึงการลงทุนพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเร่งรัดการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งโครงการนี้ มีมูลค่าการลงทุนกว่า 8.3 หมื่นล้านบาท โดยรัฐลงทุน 3.7 หมื่นล้านบาท และเอกชนลงทุน 4.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเอกชนขอลงทุนเองทั้งหมด แต่มีเงื่อนไขขอต่ออายุสัมปทาน 60 ปี และให้สิทธิภาคเอกชนในการลงทุนแต่ต้องศึกษาและดูข้อกฎหมายว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ โดยจะต้องเร่งรัดการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อเสนอให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณา คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยท่าเรือแหลมฉบัง สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 3 ล้านตู้ หากเฟส 3 แล้วเสร็จ จะสามารถรองรับได้อีก 3 ล้านตู้ รวมกว่า 6 ล้านตู้ คาดว่าการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 จะแล้วเสร็จภายใน 3 - 5 ปี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงต่อขยายศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงิน 82,907ล้านบาท พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ได้มีการปรับแก้ให้มีราคาก่อสร้างลดลง โดยเฉพาะในส่วนการก่อสร้างงานโยธา 2,300 ล้านบาท ทำให้เหลือ 76,632 ล้านบาท และค่าการจ้างที่ปรึกษา ลดได้ 83 ล้านบาท และเน้นการใช้วัสดุในประเทศให้มากขึ้น ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณได้เพิ่ม 2,576 ล้านบาท โดยที่ประชุมอนุมัติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รฟฟท.ดำเนินการต่อไป และให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม
"สายสีม่วงใต้" พระเอกระบบรางปลุกกรุงเทพชั้นใน เปิดนั่งสายสีม่วง มิ.ย.นี้ บอร์ด รฟม.เคาะค่าโดยสาร 14-42 บาท ที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เมื่อวานนี้ (20 เม.ย.) มีมติกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) และเตรียมที่จะเปิดให้ประชาชนทดลองโดยสารในเดือน มิ.ย.นี้ พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ รฟม. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดสอบระบบรถไฟฟ้า โดย รฟม.จะให้ประชาชนทดลองโดยสารได้ในเดือน มิ.ย.นี้ โดยคณะกรรมการฯ เห็นชอบอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงเริ่มต้นที่ 14 บาท และราคาเพิ่มขึ้นสถานีละ 2 บาท รวมแล้วระคาตลอดสายที่ 42 บาท และ คณะกรรมการฯ กำหนดให้ยกเว้นอัตราค่าแรกเข้าสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง กับรถไฟฟ้าสายน้ำเงิน (รถไฟฟ้าใต้ดิน) เพื่อให้ค่าโดยสารตลอดเส้นทางจากสถานีบางใหญ่ (สีม่วง) ถึงสถานีหัวลำโพง (สีน้ำเงิน) ไม่เกิน 70 บาท เชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินค่าโดยสารไม่เกิน 70 บาท ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ กำหนดให้ค่าโดยสารเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย ที่ 70 บาท นี้ ครอบคลุมค่าโดยสารของจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูน กับ สถานีบางซื่อด้วย ซึ่งจุดนี้ยังมีปัญหาในการเชื่อมเส้นทาง 1 กิโลเมตร และกำหนดให้ รฟม.สรุปแนวทางการเชื่อมต่อ 1 สถานี ให้เสร็จภายในวันที่ 10 พ.ค.เพื่อเตรียมความพร้อมให้ทันก่อนที่จะเปิดให้ประชาชนทดลองโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา รฟม.วางไว้ 2 แนวทาง คือ 1.ประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขนมก.) จัดรถชัตเติลบัส เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน-บางซื่อ 2.ประสานการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดรถไฟขนส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟบางซ่อน (จุดเชื่อมรถไฟฟ้าบางซ่อน) มาที่สถานีรถไฟบางซื่อ (จุดเชื่อมรถไฟฟ้าบางซื่อ) ประมูลรถไฟฟ้า 3 สาย มิ.ย.นี้ คาดเปิดบริการรถไฟฟ้าสีเหลือง-ชมพู ปี 63 นอกจากนี้ ที่ประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าที่ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว 3 สาย คือ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) จะเปิดประมูลในเดือน มิ.ย.นี้ ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสีเหลืองและสีชมพู จะเป็นรถไฟฟ้าแบบโมโนเรล คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2563 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นรถไฟฟ้าแบบเฮฟวีเรล เหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า จะมีการการหารือผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับฝ่ายจีนอย่างไม่เป็นทางการเรื่อง โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน และเรื่องสินค้าเกษตร โดยได้นัดการประชุมความร่วมมือครั้งที่ 10 ที่ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 11-13 พ.ค.นี้ โดยในเรื่องของรถไฟนั้น จะมีประเด็นหารือ คือ 1. สรุปต้นทุนโครงการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องสรุปรายละเอียดประเด็นทางเทคนิค เพื่อสรุปค่าก่อสร้างช่วง กรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา เป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งยังมีความแตกต่างกันประมาณ 2 หมื่นล้านบาท 2. รูปแบบการลงทุน ซึ่งไทยจะลงทุนเองทั้งหมด แต่เปิดช่องในการใช้เงินกู้จากจีน หากเงื่อนไขของจีนดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งเงินอื่น เนื่องจากเมื่อไทยลงทุนเองทั้งหมด จะสามารถจัดสรรว่าจะใช้งบประมาณเท่าไร หรือใช้เงินกู้เท่าไร โดยกู้ในประเทศทั้งหมด หรือกู้จากแหล่งใด ซึ่งทางกระทรวงการคลังจะพิจารณาแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนการเดินรถนั้น ไทยจะตั้งบริษัทเอง แต่หากจีนสนใจจะมาร่วมทุนก็ทำได้ เพราะเป็นรูปแบบร่วมทุนระหว่างรัฐบาลและเอกชน หรือ PPP ซึ่งจะมีการกำหนดสัดส่วนต่อไป โดยหาก การรถไฟฯ ถือหุ้นเกิน 50% บริษัทเดินรถจะเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ถ้าไม่เกิน 50% บริษัทนี้จะเป็นเอกชน ส่วน เทคโนโลยีต่างๆ เป็นของ จีน ตามข้อตกลง โดยจีนจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ทั้งหมดและทันทีที่เปิดเดินรถคนขับต้องเป็น คนของบริษัท ซึ่งต่างจากเดิมที่มีระยะเวลาในการถ่ายโอนเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ระบุ การว่าจ้างกลุ่มไอทีดี-ดับเบิลยูเอช คอนซอร์เตียม ในโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟของท่าเรือแหลมฉบัง วงเงิน 2,944 ล้านบาท จะช่วยให้สัดส่วนการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟมายังท่าเรือแหลมฉบังเพิ่มขึ้นเป็น 15% จาก 7% ในปัจจุบัน และยังช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์โดยรวมของประเทศ โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2561
นายออมสิน ชีวพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้สถานีรถไฟกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การพัฒนาเชื่อมต่อโครงข่ายการเดินทางและสิทธิการพัฒนาพื้นที่รอบ หรือโซนดี เนื้อที่กว่า 83 ไร่ สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ประมาณ 1 ล้านตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ใจกลางเชื่อมต่อระหว่างแนวแกนทางเดินทั้งแบบเหนือดิน และบนดินระหว่างสถานีระบบขนส่งทางรางต่างๆ ตลอดจนสถานีขนส่งย่อย บขส. คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาท หากพัฒนาเต็มพื้นที่จะมีมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 20,000 ล้านบาท ส่วนที่ 2 การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง ด้วยรูปแบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT พร้อมศูนย์ซ่อมบำรุงเนื้อที่กว่า 7 ไร่ โดยมีจุดขึ้นลงทั้งหมด 16 สถานี ครอบคลุมระบบขนส่งหลัก และพื้นที่เชิงพาณิชย์ 2,325 ไร่ มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1,700 ล้านบาท หลังจากได้ข้อสรุปจากภาคเอกชนในวันนี้ การรถไฟฯ จะต้องนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในปี 2562 การทางพิเศษแห่งประเทศไทยให้ทีมข่าวเศรษฐกิจ ช่อง 3 สำรวจความพร้อม ก่อนเปิดใช้จริงในต้นเดือนสิงหาคม หลังการก่อสร้างคืบหน้าถึง 96% ทางด่วนเส้นนี้มีชื่อว่าสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพฯ เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องทางจราจร ส่วนใหญ่ก่อสร้างบนเส้นทางรถไฟสายใต้ที่มีอยู่เดิม มีจุดเริ่มต้นจากถนนกาญจนาภิเษก บริเวณใกล้กับโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ แนวเส้นทางจะขนานกับทางรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน รวมระยะทาง 16.2 กิโลเมตร ทางด่วนเส้นนี้มีจุดเชื่อมต่อกับถนนสายหลัก และทางด่วนถึง 8 แห่ง คือ ด่านกาญจนาภิเษก, ด่านราชพฤกษ์, ด่านบรมราชชนนี, ด่านบางบำหรุ, ด่านจรัญสนิทวงศ์ 2, ด่านจรัญสนิทวงศ์ 1,ด่านพระราม 6 และด่านศรีรัชกิโลเมตรที่ 16 โครงการนี้ ตามกำหนดการเดิม บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานก่อสร้าง จะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม แต่การทางพิเศษได้เร่งเปิดใช้ก่อน 4 เดือน คาดว่าจะมีรถมาใช้บริการประมาณวันละ 8 หมื่นคัน และช่วยลดการจราจรติดขัดบนพื้นล่างไม่ต่ำกว่า 10% เมื่อวานนี้ (22 เม.ย.) กระทรวงคมนาคมจัดงานสัมมนาทดสอบความสนใจนักลงทุน โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีกลางบางซื่อ ที่จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางในอนาคต นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) ได้ออกแบบไว้แล้วมีพื้นที่รวม 2,325 ไร่ คาดว่าเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2562 และเปิดใช้งานได้ในปี 2565 โดยถ้าได้ข้อสรุปเรื่องการใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเสนอให้เอกชนร่วมพัฒนาในรูปแบบ PPP สำหรับการพัฒนาโซน D ซึ่งเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 83 ไร่ เช่น ห้างสรรพสินค้า โดยขณะนี้มีปัญหาเรื่องการย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 ไปรังสิต ก่อนจึงจะเปิดให้เอกชนเข้าไปพัฒนาพื้นที่ได้ แต่บริษัท ขนส่ง จำกัด ยังติดปัญหาหาพื้นที่ตั้งสถานีขนใหม่ที่รังสิตไม่ได้ ด้านนายอธิป ธำรงสมบัติสกุล นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า เอกชนสนใจพัฒนาพื้นที่นี้ แต่ต้องรอความชัดเจนของภาครัฐมากกว่านี้ เพราะถ้าเปิดบริการแล้ว แต่ความต้องการของผู้บริโภคไม่เกิดขึ้นอาจทำให้เอกชนขาดทุนได้ และเอกชนเห็นว่าสัญญาเช่าพื้นที่ 30 ปี น้อยเกินไป สำหรับโครงการขนาดใหญ่ ควรเพิ่มเป็น 50 ปีขึ้นไป เพื่อให้เอกชนมั่นใจในการลงทุนร่วมกับภาครัฐมากขึ้น นอกจากนี้ ภาคเอกชนเห็นว่า อาคารในพื้นที่โซน D ควรเชื่อมต่อกันทั้งหมด เพราะถ้าต้องการให้ศูนย์คมนาคมพหลโยธินเป็นศูนย์กลางการขนส่งของกรุงเทพฯ แห่งใหม่ ต้องทำให้ครบรูปแบบ โดยให้รถไฟฟ้าใต้ดินและบนดินเชื่อมต่อกันในตัวอาคาร และภายในตัวอาคาร รวมทั้งพื้นที่ระหว่างทางเดิน ควรเปิดให้เอกชนเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ บอกถึงความคืบหน้าโครงการระบบตั๋วร่วมว่า สนข. ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบตั๋วร่วม และการดำเนินโครงการด้านงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ตามมติ ครม.เพื่อจัดทำนโยบายกำหนดมาตรฐานระบบเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม พิจารณา และคาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้ จะเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบในหลักการ ทั้งนี้ ในส่วนของการบริหารจัดการและการลงทุน จะเปิดให้เอกชน ร่วมลงทุนแบบ PPP ซึ่งจะต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะร่วมลงทุนทั้งหมดหรือจะแบ่งความรับผิดชอบแต่ระบบตั๋วร่วมนั้น จะมีประโยชน์ในส่วนของระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพและปริมณฑลในภาพรวม และช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้น ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง เรือโดยสาร และทางพิเศษ กทม.เตรียมเซ็น "ไอคอนสยาม" ลงทุนก่อสร้าง
สนข.เผยผลศึกษาลงทุน 1.2 หมื่นล้านสุดคุ้ม รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. เตรียมเปิดทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ฟรี ในช่วงเดือน มิ.ย.นี้ โดยจะมีการแบ่งรอบในการทดลองใช้บริการ สำหรับคณะเยี่ยมชมและวีไอพี และรอบสำหรับประชาชนทั่วไป โดยจะมีการเปิดแถลงข่าวรูปแบบการทดลองใช้บริการ อย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันที่ 10 พฤษภาคม 59 สำหรับในรอบคณะเยี่ยมชม และแขกวีไอพี สามารถติดต่อขอทดลองใช้บริการ โดยแจ้งกำหนดการล่วงหน้า 3 สัปดาห์ ซึ่งทาง รฟม. จะมีการกำหนดรอบให้กับแต่ละคณะ โดย 1 รอบจะรองรับได้ประมาณ 30-50 คน และสำหรับรอบของประชาชนทั่วไปสามารถทดลองใช้บริการได้ในช่วงเดือนมิถุนายน ทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เริ่มจันทร์ ที่ 13 มิถุนายนนี้ โดย BEM จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนและรับบัตรทดลองใช้บริการได้ที่ 3 สถานี ได้แก่ สถานีแยกนนทบุรี สถานีเตาปูน และสถานีคลองบางไผ่ จำกัดจำนวนวันละ 5,000 คน อย่างไรก็ตาม รายงานจากบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ระบุว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับ รฟม. เพื่อหาแนวทางสำหรับประชาชนทั่วไปในการลงทะเบียนรับบัตรทดลองโดยสาร เพื่อให้สามารถกระจายการทดลองโดยสารได้อย่างทั่วถึง พัฒนาสนามบินหาดใหญ่ ดันแผนสร้างอาคารใหม่รับผู้โดยสาร 10 ล้านคน/ปี ที่ดินราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ ที่อยู่ในพื้นที่เขตท่าอากาศยานไทย เป็นหนึ่งในพื้นที่ ที่นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. มีแนวคิดจะนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ทอท.มีรายได้จากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับสายการบินเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 50 เทียบเท่ากับสนามบินชั้นนำในต่างประเทศ โดยภายในเดือนพฤษภาคมนี้ จะเข้าหารือกับกรมธนารักษ์ ถึงการนำพื้นที่มาใช้ ซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติหลายขั้นตอน และบางพื้นที่ติดปัญหาการนำมาใช้ เช่น ติดแนวร่อนอากาศยาน ติดเงื่อนไขสัญญาของกรมท่าอากาศยาน คาดว่าไม่เกิน 2 เดือน จะมีความชัดเจนว่าจะใช้พื้นที่ใดได้บ้าง ส่วนแผนการลงทุนพัฒนาท่า อากาศยานทั้ง 6 แห่ง ในความดูแลของ ทอท.ระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2570 รวมวงเงินลงทุนกว่า 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท จะทำให้อีก 5 ปีข้างหน้า จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้รวม 165 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันที่ 83 ล้าน 5 แสนคนต่อปี ส่วนการเดินหน้าโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ล่าสุดสามารถขายซองประกวดราคาการจ้างงานได้แล้ว 3 สัญญา กรอบวงเงินประมาณ 16,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 7 สัญญา โดยจะเร่งขายให้ครบทั้ง 7 สัญญา ในปีนี้ และคาดว่าเม็ดเงินลงทุนใน 3 สัญญาแรก จะเข้าสู่ระบบภายในเดือนสิงหาคมปีนี้ คืบหน้าก่อสร้างสายสีเขียว กทม.รับรื้อสะพานข้ามแยกล่าช้า
รถเมล์เก่าของ ขสมก. ที่ผ่านการปรับปรุงใหม่ ตั้งแต่การเปลี่ยนเครื่องยนต์ ไปจนถึงทำสีตัวรถ ทั้งติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจอแอลอีดี บอกเส้นทางการเดินรถ กล้องวงจรปิดระบบ GPS รวมไปถึงเครื่องส่งสัญญาณไวไฟให้ผู้โดยสารได้ใช้บริการระหว่างการเดินทาง โดยรถ 4 คันแรกที่ ปรับปรุงเสร็จจะเริ่มออกให้บริการประชาชนแล้ววันนี้ ขสมก. ได้จัดพิธีเปิดใช้งานรถโดยสาร ขสมก. ที่ปรับปรุงสภาพใหม่ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาโดยมี นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รชค. เป็นประธานพิธี หลังจากที่รถโดยสารต้นแบบทั้ง 4 คันได้ดำเนินการปรับปรุงสภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยรถเมล์ทั้ง 4 คันจะถูกนำไปวิ่งให้บริการประชาชนในเส้นทางสาย 178 (แฟชั่นไอส์แลนด์ -นวมินทร์-เกษตร-สวนสยาม) สาย 168, สวนสยาม-อนุสาวรีย์ชัย สาย73ก. สวนสยาม-สะพานพุทธ และ สาย 36ก. สวนสยาม-อนุสาวรีย์ชัยฯ ในอนาคต ขสมก.จะทยอยนำรถโดยสารเก่ามาปรับปรุงสภาพตามรถต้นแบบ ให้ครบ 672 คันตามแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อรถใหม่ เนื่องจากการนำรถเก่าที่มีมาปรับปรุงสภาพรถใหม่เกือบทั้งหมด จะทำให้การใช้งานรถเมล์เหมือนกับรถใหม่ สามารถวิ่งให้บริการได้อีกนับ 10 ปี แต่ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงรถ จะถูกกว่าการซื้อรถเมล์ใหม่ทั้งคันกว่า 50% สำหรับการปรับปรุงสภาพ รถเก่าให้เป็นรถโดยสารใหม่ ทั้ง 672 คัน ในครั้งนี้จะแบ่งเป็น รถโดยสารธรรมดายี่ห้อมิตซูบิชิ จำนวน 501 คัน รถโดยสารปรับอากาศยี่ห้อเบนซ์ จำนวน 119 คัน และรถโดยสารปรับอากาศยี่ห้อแดวู จำนวน 52 คัน โดยความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และบริษัท ไทยเจริญยางบริการ จำกัด ในการศึกษาและดำเนินการปรับปรุงสภาพรถเก่าเป็นรถใหม่ จำนวน 4 คัน เพื่อเป็นรถต้นแบบ และมีการติดตั้งระบบ GPS และกล้อง CCTV เพิ่มเติม และหลังจากนี้ภายในเดือนกรกฎาคม นี้ ขสมก.จะนำรถเมล์ เก่า อีกกว่า 40 คัน เข้ารับการปรับปรุงสภาพและคาดว่าจะทยอยนำเข้าให้บริการในระบบได้ไม่เกินกันยายนนี้ วันที่ 10 พฤษภาคมนี้ จะมีการเปิดทดสอบเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ก่อนเปิดใช้จริงในวันที่ 6 สิงหาคม แต่ประชาชนในจังหวัดนนทบุรี ห่วงอัตราค่าโดยสาร หากทำงานอยู่ย่านใจกลางเมืองต้องใช้ไฟฟ้า 2 ระบบ อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน ล่าสุด บอร์ด รฟม.เคาะราคาค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุดตลอดสายที่ 42 บาท ขณะที่สายสีน้ำเงิน หรือ MRT บางซื่อ-หัวลำโพง ปัจุบันค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 16 บาท และสูงสุดที่ 42 บาท หากบ้านอยู่ย่านบางใหญ่ หรือ บางบัวทอง ซึ่งต้องใช้บริการจากต้นสาย มาลงเตาปูน และต่อสายสีน้ำเงิน ตรงสถานีบางซื่อ มาลงสีลม ต้องเสียค่าโดยสาร 2 ระบบ ถึง 84 บาท ไป-กลับเท่ากับ 168 บาท เฉพาะค่าโดยสารรถไฟฟ้าอย่างเดียวยังไม่รวมค่าใช้จ่ายระบบขนส่งอื่นที่ต้องเดินทางมาขึ้นรถไฟฟ้า และการเดินทางตรงจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนกับสถานีบางซื่อ ที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะทำอย่างไร หากให้บริการฟรี ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระให้ผู้โดยสารได้ส่วนหนึ่ง แต่ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่คาดว่าจะอยู่ที่ 100,000 คนต่อวัน หรือ 6,000 คนต่อชั่วโมง คงเป็นเรื่องใหญ่สำหรับระบบขนส่งที่จะมารองรับ และเชื่อว่าหลายคนอาจต้องหันไปพึ่งระบบขนส่งอื่น เช่น เเท็กซี่ หรือ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง เพื่อความรวดเร็ว ซึ่งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม อีกประเด็นที่จะเข้ามาเป็นภาระค่าใช้จ่ายสำหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง คือ ค่าจอดรถ ในอาคารจอดและจร ซึ่งมีให้บริการ 4 แห่ง คือ ที่สถานีคลองบางไผ่, สถานีสามแยกบางใหญ่, สถานีท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 ล่าสุด เคาะราคาที่ 2 ชั่วโมง 15 บาท ซึ่งค่อนข้างสูง เพราะต่อคนจะต้องจอดรถอย่างน้อย 10 ชั่วโมง (คำนวณจากนำรถเข้าจอด 07.00 น. และนำรถออก 17.00 น.) ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 75 บาทต่อการจอด 1 ครั้ง ซึ่งเท่ากับว่า เมื่อรวมกับค่าโดยสาร (ไป-กลับ) และค่าจอดรถ สำหรับประชาชนที่เดินทางจากต้นสาย จะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจากการเดินทางสูงถึง 243 บาท ขณะที่ค่าโดยสารจาการเดินทางในปัจจุบัน หากโดยสารรถตู้สาธารณะ ค่าโดยสารจะอยู่ที่ราว 50 บาทต่อเที่ยว หรือ ใช้บริการรถ ขสมก. รถร้อน อยู่ที่ 6.50 บาท/เที่ยว และรถปรับอากาศ สูงสุด 18 บาท/เที่ยว ซึ่งเมื่อเทียบค่าใช้จ่ายของระบบขนส่งต่าง ๆ บวกกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าต้องควักกระเป๋าจ่ายในอัตราสูง แต่ก็เเลกด้วยความสะดวก รวดเร็ว และตรงเวลา รฟม.ชี้แจงว่าจะมีการแถลงรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในวันที่ 10 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันเปิดทดสอบเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงวันแรก โดยข้อสรุปเบื้องต้น ในระยะเเรก จะทำตั๋วโดยสาร 2 แบบ คือ แบบเเรก สำหรับการเดินทางเฉพาะสายสีม่วง คือ บางใหญ่-เตาปูน และแบบที่ 2 คือ สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ได้ โดย รฟม.จะเข้ามารับภาระค่าแรกเข้าระบบ ซึ่งเป็นจำนวนเงิน 16 บาท แทนผู้โดยสาร ซึ่งเท่ากับว่าเมื่อเดินทางมาถึงสถานีเตาปูน และจะต่อเข้า MRT ที่สถานีบางซื่อ ผู้โดยสารจะเสียเฉพาะค่าโดยสารที่จะเก็บเพิ่มสถานีละ 2 บาท ขณะที่ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ในปัจจุบัน แบบบัตรรายเดือน หรือ บัตรเติมเงิน หากต้องเดินทางต่อสายสีม่วง ทาง BEM ผู้รับสัมปทานเดินรถ MRT กำลังประชาสัมพันธ์ให้ผู้ถือบัตร นำบัตรมาเปลี่ยนบัตร เพื่อให้เดินทางเชื่อมต่อทั้ง 2 ระบบได้ แต่อนาคตจะมีการออกแบบให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อกันได้ทุกระบบ ในบัตรใบเดียวกัน 6 พ.ค. – หลัง ครม.มีมติให้การเดินรถรถไฟฟ้าช่วงสถานีเตาปูน-บางซื่อ 1 กม. รวมอยู่ในสัญญาที่ 5 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ที่มาของปัญหาดังกล่าว เป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน. -สำนักข่าวไทย
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เดินหน้าเสนอรถไฟฟ้า 5 สาย วงเงิน 2.59 แสนล้าน ให้ ครม.อนุมัติภายในปีนี้ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล บอกว่า รฟม.มีแผนจะเสนอโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีก 5 สาย วงเงินรวม 2.59 แสนล้านบาท ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติภายในปีนี้ คือ 1.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 1.31 แสนล้านบาท 2.สายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู 1.37 หมื่นล้านบาท 3.สายสีเขียวต่อเนื่อง ช่วงคูคต-ลำลูกกา 1.19 หมื่นล้านบาท 4.สายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม 8.53 หมื่นล้านบาท และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 1.72 หมื่นล้านบาท ขณะที่ก่อนหน้านี้ ครม.มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าไปแล้ว 3 สาย คือ สายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 2.สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และ 3.สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งทั้ง 3 โครงการอยู่ระหว่างเปิดประมูลหาผู้รับเหมา หากโครงการรถไฟฟ้าทยอยเปิดให้บริการจนครบทั้งโครงข่ายภายในปี 2565 ผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่า จะมีผู้ใช้บริการเพิ่มเป็น 3 ล้านคน/วัน จากปัจจุบันที่มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า 1 ล้านคน/วัน โดยจะเป็นการทดสอบเดินรถตลอดเส้นทางตั้งแต่สถานีศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่ จนถึง สถานีเตาปูน รวม 16 สถานี ซึ่งจะหยุดจอดเพื่อดูความพร้อมของสถานีสะพานพระนั่งเกล้า ที่ในอนาคตจะมีการพัฒนาเป็นจุดเชื่อมโยงการเดินทางรถ-ราง-เรือ จากนั้นเดินทางต่อไปยังสถานีเตาปูนเพื่อดูจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) สถานีบางซื่อ ซึ่งการทดสอบระบบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาการเดินทางเชื่อมต่อการเดินรถระหว่าง สถานีเตาปูน-สถานีบางซื่อ ระยะทาง 1 กม. ล่าสุดมีการยืนยันจาก รฟม.ว่า จะสามารถเชื่อมต่อได้ 2 จุด จุดแรกที่สถานีบางซ่อน ซึ่งจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดง เบื้องต้นมีการประสานไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดขบวนรถ 3 ขบวน วิ่งรับส่งผู้โดยสารแบบชัทเทิล ทุกๆ 15 นาที และจุดที่ 2 คือที่สถานีเตาปูน ที่ได้ประสานขอรถเมล์ ขสมก. จำนวน 16 คัน วิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีดังกล่าว โดยจะเดินรถเป็นรอบ รอบละ 4 คัน ทุกๆ 5-10 นาที ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร โดยจะเป็นการให้บริการผู้โดยสารที่จะเดินทางฟรี ส่วนตั๋วโดยสารซึ่งมีการปรับเปลี่ยนใหม่เป็นตั๋ว MRT PLUS ซึ่งจะใช้เดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายได้อยู่แล้ว ทำให้ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางสามารถซื้อตั๋วเพียงครั้งเดียว เดินทางได้จนถึงสถานีที่ต้องการ ตั้งแต่สถานีศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่ (สายสีม่วง)-สถานีหัวลำโพง (สายสีน้ำเงิน) โดยค่าโดยสารสายสีม่วงจะเริ่มต้นที่ 14 - 42 บาท ส่วนสถานีต่อไป (กรณีเชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน) จะคิดค่าโดยสารสถานีละ 2 บาท สูงสุดที่ 70 บาท ที่สถานีหัวลำโพง รฟม. มีแผนจะพัฒนาสถานีสะพานพระนั่งเกล้า ให้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทาง ระหว่างทางรถ ทางราง และทางน้ำ หลังจากที่ ครม.ได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 99 ล้านบาท ในการจัดสร้างทางเดินเชื่อมต่อจากสถานีไปยังท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คาดว่าทางเชื่อมจะสามารถก่อสร้างได้เสร็จภายในกลางปี 60 นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยความคืบหน้าโครงการดังกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับกรมโยธาธิการ และกรมเจ้าท่า ในการออกแบบท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยา คาดว่าจะได้รายละเอียดแบบก่อสร้างภายในปีนี้ และเริ่มก่อสร้างได้ภายในต้นปีหน้า ซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้างจริงไม่เกิน 1 ปี ก็จะสามารถเปิดให้บริการได้ ทั้งนี้มีรายงานว่า บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา ได้เสนอขอเข้ามาเป็นผู้บริหารการเดินเรือ ซึ่ง รฟม. ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้แล้ว ประชุม ครม.วันนี้ กระทรวงคมนาคมเสนอแผนปรับปรุงรถเมล์ 3 แพ็คเกจ วงเงิน 4,300 ล้านบาท แผนงานนี้ แต่เดิมคือโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV 4,000 คัน ใช้งบกว่า 1 หมื่นล้านบาท สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนัก แล้วถูกดองเอาไว้ คราวนี้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.จึงปรับแผนใหม่ เสนอเป็น 3 แพ็คเกจ 1. ซื้อรถเมล์ NGV 489 คัน 2. ซื้อรถเมล์ไฟฟ้า 200 คัน 3. ปรับปรุงรถเก่า 672 คันให้มีสภาพใหม่ ใช้งบประมาณทั้งหมด 4,300 ล้านบาท ประหยัดกว่าโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV 4,000 คัน ถึง 8,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน กระทรวงคมนาคมยังขอต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพ รถเมล์ รถไฟฟรี เพื่อประชาชนต่อไปอีก 6 เดือน เท่ากับว่า ประชาชนจะได้ใช้รถเมล์ รถไฟฟรี ไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม อนุมัติพีพีพี 2 แสนล้าน สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเปิดทางเอกชนลงทุน
www.facebook.com/Dr.Samart/posts/818182031660035:0 www.facebook.com/samart.ratchapolsitte/posts/10206280211549341 "1 กม.ที่หายไป" ..........คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงจะสามารถขนผู้โดยสารจากชานเมืองเข้าสู่บางซื่อได้โดยตรง เพราะชื่อของรถไฟฟ้าสายนี้คือรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ (เพิ่งเปลี่ยนเป็นช่วงเตาปูน-บางใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้) แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ ผู้โดยสารจะต้องเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่สถานีเตาปูน เพื่อเดินทางไปสู่สถานีบางซื่อซึ่งเป็นสถานีถัดไป ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร.......... ..........ก็เพราะรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่ได้มีเส้นทางไปถึงสถานีบางซื่อ แต่สิ้นสุดแค่สถานีเตาปูนเท่านั้น ในขณะที่ยังก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-บางซื่อไม่เสร็จ ทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถใช้รถไฟฟ้าเดินทางจากสถานีเตาปูนไปสู่สถานีบางซื่อได้ หน่วยงานที่กำกับดูแลรถไฟฟ้าสายนี้คือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จึงแก้ปัญหาโดยการจัดรถ Shuttle Bus.......... อ่านแล้วสงสัยครับ สายสีม่วงมันโดนตัดระยะไป? หรือว่ามันไม่เคยมีระยะส่วนนี้อยู่แต่แรกแล้ว โดยตั้งใจจะให้สายน้ำเงินยืดออกมาเชื่อม? เห็นคนเม้นๆแชร์ๆกันทำนองว่าเงินเท่าเดิมแต่ระยะทางหาย ยังกะว่า แผนเดิมมันมีทั้ง2สีซ้อนกันในช่วงเตาปูน-บางซื่อเหรอไง??? มันหาย หรือมันมาช้า? พาดหัวชวนงงจังครับ
รัฐมนตรีช่วยฯคมนาคม ชงให้คณะรัฐมนตรี เห็นชอบสร้างรถไฟรางคู่อีก 5 เส้นทาง ชี้ ทุกอย่างเป็นไปตามแผนงาน มั่นใจว่าจะดำเนินการได้ในปี 2559 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ เปิดเผยถึงโครงการรถไฟไทย - จีน จะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ส่วนรถไฟรางคู่นั้น ล่าสุดได้ทำสัญญาไปแล้ว 2 เส้นทางและกำลังดำเนินการก่อสร้าง คือ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ,ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ส่วนอีก 5 เส้นทางจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในเดือน พ.ค. นี้ โดยมั่นใจว่าจะดำเนินการได้ในปี 2559 ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามแผนงาน โดยล่าสุดได้แจ้งไปยังผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งรัดผู้รับเหมาดำเนินการก่อสร้างรถไฟรางคู่ อย่างน้อยให้มีความยาว 40 กม.ในปี 2560 เพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้มาเปิดใช้งาน เตรียมใช้ระบบตั๋วร่วม "บัตรแมงมุม" นำร่อง เชื่อมต่อ 2 เส้นทาง เดือน ส.ค.นี้ สถานีขนส่งหมอชิตในปัจจุบัน จะต้องถูกย้ายไปพื้นที่ย่านรังสิต เนื่องจาก บขส.ต้องคืนพื้นที่เดิมให้การรถไฟฯ จะมีแนวทางการจัดการอย่างไร ติดตามจากรายงาน สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ หรือสถานีขนส่งหมอชิต 2 ในปัจจุบันย้ายมาจากสถานีขนส่งหมอชิตเก่าเมื่อปี 2541 มีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 74,000 คน แต่ในปีนี้ บขส.จะต้องเร่งย้ายสถานีขนส่งแห่งใหม่ไปในพื้นที่ย่านรังสิตเนื่องจากจะต้องคืนพื้นที่สถานีในปัจจุบัน ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาเป็น ศูนย์คมนาคมขนส่งทางราง เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ที่ผ่านมา บขส.ได้ประกาศให้เอกชนเข้ามาเสนอพื้นที่เช่า แต่พบว่ายังมีอุปสรรคด้านการก่อสร้าง เนื่องจากมีสิ่งกีดขวาง เช่น เสาไฟฟ้าแรงสูง และ คูคลองในพื้นที่ ทำให้การจัดหาที่ดินล่าช้า บขส.จึงตัดสินใจเสนอใช้พื้นที่สถานีขนส่งรังสิตเป็นสถานีขนส่งแห่งใหม่ บขส.ได้เตรียมการก่อสร้าง เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก สร้างจุดจำหน่ายตั๋วให้เหมือนกับเคาน์เตอร์เช็คอินในสนามบิน พร้อมทั้งเตรียมเปิดให้บริการซื้อตั๋ว จองตั๋วและเช็คอินได้ด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชัน รองรับการเดินทางของผู้พิการรองรับรถได้ 67 เส้นทาง นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ที่สถานีขนส่งหมอชิตในปัจจุบัน อีก 16.43 ไร่ที่การรถไฟฯจัดสรรให้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารในระยะไม่เกิน 300 กิโลเมตรรองรับรถได้ 30 เส้นทาง รองรับผู้โดยสารเฉลี่ย 15,000 คนต่อวัน และพื้นที่สุดท้ายคือ พื้นที่ลานจอดรถใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต จำนวน 25 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่จอดรถตู้โดยสารทั้งหมดของ บขส. รวมถึงรถตู้โดยสารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รองรับผู้โดยสารได้วันละ 24,000 คน ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จภายในปี 2562 บขส. ระบุว่า การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน จะช่วยลดปัญหาการจราจรในเมืองได้ แม้ว่าจะมีนักวิชาการบางส่วนไม่เห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน แต่บขส.ยืนยันว่าได้เตรียมมาตรการรองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีขนส่งให้ผู้โดยสารแล้ว ประชาชนบางส่วนยอมรับว่าการย้ายสถานีขนส่ง จะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่กังวล เพราะเชื่อว่ายังมีทางเลือกในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีได้ การย้ายสถานีขนส่งครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งของไทย ให้ขับเคลื่อนไปตามยุคสมัย และเชื่อมต่อการเดินทางให้สะดวกสบายมากขึ้นในอนาคต ศูนย์ซ่อมบำรุงและตรวจสภาพรถย่านรังสิต บนพื้นที่ 45 ไร่ เป็นหนึ่งในพื้นที่หลัก ที่ใช้เป็นจุดรับส่งผู้โดยสารสายเหนือและสายอีสาน ตามแผนย้ายสถานีขนส่งหมอชิตในอีก 2 ปีข้างหน้า เนื่องจากเป็นที่ดินของบขส.เอง และน่าจะรองรับผู้โดยสารได้เพียงพอ ตามแผนของบขส.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพเดิม จะใช้เป็นสถานีขนส่งสำหรับเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยว อีกจุดหนึ่ง บริเวณจุดจอดรถ ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นที่ดินของกรมขนส่งทางบนและที่ราชพัสดุเนื้อที่ 25 ไร่ จะใช้เป็นพื้นที่จอดรถตู้ออกต่างจังหวัด สำหรับผลกระทบต่อประชาชนในการย้ายสถานีหมอชิต อยู่ระหว่างสำรวจและศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คาดว่าจะได้ผลสรุปภายใน 120 วัน
ออกต่างจังหวัดกันบ้าง โครงการ ทำถนนตัดใหม่วงแหวนรอบนอกเมืองโคราช สมัยรัฐบาลเลือกตั้ง วางแผนสร้าง 14 กิโล รัฐบาล คสช.ตรวจโครงการใหม่ จัดทำยาวขึ้น 29 กม. ในราคาเดิม ย้ำครับ ในราคาเดิม ที่รัฐบาลเลือกตั้งทำโครงการไว้
การ ย้าย บขส ไปอยู่นอกเมืองไม่ตอบโจทย์คนเดินทางเลยครับ ควรจะเอาไว้แถวหมอชิตเหมือนเดิม เพราะยังไงอนาคต รถทัวร์ จะเริ่มใช้น้อยลงจากรถไฟรางคู่ บขส ควรจะเน้นไปทำ ระบบ freeder ทางหัวเมืองไปอำเภอต่างๆแทน
ตั๋วร่วม หรือ บัตรแมงมุม ที่ผู้ที่ใช้บริการรถไฟฟ้า จะใช้เดินทางเชื่อมต่อในระบบรถไฟฟ้า ภายในปลายปีนี้ ก่อนขยายระบบไปยังรถเมล์และทางด่วน โดยขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบการเชื่อมต่อการเดินทางของผู้ให้บริการที่จะใช้ตั๋วร่วม ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่จะเปิดให้บริการจริงในปลายปีนี้ นำร่องในระบบรถไฟฟ้า 4 สาย คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง หรือ แอร์พอร์ตลิ้งค์, รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT บางซื่อ-หัวลำโพง, สายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน และรถไฟฟ้า บีทีเอส โดยนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรว่า เบื้องต้นได้เตรียมบัตรแมงมุม จำนวน 200,000 ใบ สำหรับแจกให้ประชาชนที่มาลงทะเบียนทดสอบใช้ระบบ เพื่อฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการจริง โดยจะให้สิทธิ์ผู้ที่เดินทางโดยรถไฟฟ้าเป็นประจำก่อน และในอนาคตจะทยอยเชื่อมต่อการใช้บัตรแมงมุมกับระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ เช่น รถไฟฟ้าสายใหม่ รถเมล์ เรือโดยสาร ทางด่วน และ ร้านค้า ซึ่งการใช้งานบัตรแมงมุม จะสามารถรองรับการใช้งานผ่านระบบ ANY ID เพื่อเติมเงินในบัตร สำหรับชำระค่าบริการต่าง ๆ รวมทั้งสวัสดิการจากรัฐได้ด้วย รัฐบาลไทย เล็งเห็นศักยภาพของเศรษฐกิจเมียนมา จึงได้เพิ่มงบประมาณ เพื่อเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานระหว่างสองประเทศ ล่าสุดได้เร่งพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 พร้อมพัฒนาพื้นที่โดยรอบ เชื่อมแม่สอด-เมียวดี กรุงเทพฯ 10 มิ.ย.-วันนี้รองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคมเร่งเปิดประมูลรถไฟฟ้า 3 สายในปลายเดือนนี้ ซึ่งการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้า เพื่อแก้ปัญหาการจราจรภายในเมือง จะประสบความสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับหัวใจหลักคือระบบตั๋วโดยสารร่วม กระแสตอบรับของประชาชนจำนวนมากที่แสดงความประสงค์ต้องการร่วมใช้บริการ ทดสอบรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ สะท้อนถึงความต้องการของประชาชนชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ต้องการให้เกิดโครงข่ายรถไฟฟ้า ที่เป็นเหมือนแสงสว่างช่วยแก้ปัญหาจราจรยกระดับชีวิตการเดินทางคนเมืองในอนาคต และแม้ว่าปัจจุบันพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ จะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าให้บริการอยู่แล้ว 3 ระบบ แต่ด้วยระยะทางเพียงกว่า 80 กม. เทียบกับเส้นทางถนน และการเติบโตของทุกย่านธุรกิจชุมชนเมือง คงไม่เพียงพอต่อการใช้บริการ เป็นที่มาของแผนแม่บทของรัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าอีก 11 เส้นทาง ระยะทาง 241 กิโลเมตร เชื่อมเมืองชั้นในออกสู่เขตชานเมืองให้การเดินทางเข้าออกเมืองเกิดความสะดวก อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญที่จะทำให้การเดินทางเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นคือระบบตั๋วร่วม หรือการใช้บัตรโดยสารใบเดียวสามารถเดินทางเข้าออกทุกระบบขนส่งได้ การพัฒนาระบบตั๋วร่วมของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. จะนำร่องใช้กับระบบรถไฟฟ้า 4 สาย คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง แอร์พอร์ตลิ้งก์, รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT บางซื่อ-หัวลำโพง, สายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน และรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมที่ผู้ที่ใช้บริการรถไฟฟ้าจะใช้เดินทางเชื่อมต่อในระบบรถไฟฟ้าภายในปลายปีนี้ ก่อนขยายระบบไปยังรถเมล์และทางด่วนในปีหน้า ผู้อำนวยการ สนข.ระบุว่า เบื้องต้นได้เตรียมบัตรแมงมุมจำนวน 200,000 ใบ สำหรับแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาลงทะเบียนทดสอบใช้ระบบ เพื่อฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการจริง โดยจะให้สิทธิ์ผู้ที่เดินทางโดยรถไฟฟ้าเป็นประจำก่อน และในอนาคตจะทยอยเชื่อมต่อการใช้บัตรแมงมุมกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ รวมถึงสามารถรองรับการใช้งานผ่านระบบ ANY ID เพื่อเติมเงินในบัตร ใช้ชำระค่าบริการต่าง ๆ รวมทั้งสวัสดิการจากรัฐได้ด้วย โดยบัตรตั๋วร่วมแมงมุมนี้จะเริ่มเปิดทดสอบระบบในเดือนก่อนที่ระบบจะสมบูรณ์ในปลายปีนี้ โดย สนข. ประเมินว่าในปี 2560 จะมีประชาชนใช้ระบบตั๋วร่วมกว่า 1 ล้านคน/วัน และเพิ่มเป็นกว่า 3.5 ล้านคนต่อวันใน 5 ปีข้างหน้า.-สำนักข่าวไทย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ และนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ทดลองนั่งรถเมล์ไฮบริด ซึ่งพรุ่งนี้จะให้บริการทดลองวิ่ง 10 เส้นทาง เส้นทางละ 15 วัน เก็บค่าโดยสารตามอัตราปกติจนถึงวันที่ 15 พ.ย.นี้ กระทรวงคมนาคมเปิดตัวรถเมล์ไฟฟ้าคันแรกในไทย เริ่มวิ่งพรุ่งนี้เป็นต้นไป รถเมล์ปรับอากาศไฟฟ้า หรือไฮบริดคันแรกของ ขสมก. มูลค่า 8 ล้านบาท มี 2 ระบบ ขณะจอดใช้กำลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และขณะวิ่งใช้น้ำมัน มีขนาด 26 ที่นั่ง ใช้ระบบเกียร์กึ่งอัตโนมัติ เมื่อเปิดประตูขณะจอดจะเข้าเกียร์ว่างอัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร อีกทั้งมีทางลาดให้คนพิการเข็นรถวิวแชร์ขึ้นได้ด้วย นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม บอกว่า รถไฮบริดนำมาวิ่งเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ โดยจะวิ่งให้บริการตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (16 มิ.ย.) เส้นทางละ 15 วัน รวม 10 เส้นทาง ได้แก่สาย 510, 522, 138, 140 และ 145) ซึ่งหากได้ผลดี ขสมก.จะนำเข้ามาอีก 20 คัน เพื่อวิ่งในวันที่ 1 พ.ย.ที่จะถึงนี้ หลังจากที่นายกฯ สั้งการให้ปรับแผนการซื้อรถเมล์ NGV 3,000 คัน แบ่งมาซื้อรถเมล์ไฮบริด 200 คัน
ความฝันที่จะเชื่อมโยงเส้นทางทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียใกล้เป็นความจริง หลังจากอินเดียลงนามร่วมกับเมียนมาและไทย เพื่อสร้างทางด่วนเชื่อมต่อระหว่าง 3 ประเทศ ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มการค้าระหว่างประเทศเหล่านี้ได้มาก นอกจากนี้ทางอินเดียยังมีความตกลงให้เงินกู้สำหรับการขยายโครงการทางหลวงดังกล่าวออกสู่ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนามต่อไปในอนาคตอีกด้วย เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่ชื่อว่า "Act East" ที่อินเดียให้ความสำคัญกับภูมิภาคอาเซียน มากขึ้น โครงการทางด่วนเชื่อมต่อ 3 ประเทศ เป็นโครงการขนาดใหญ ระยะทางทั้งหมด 1,600 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างเมืองอิมฟาลในอินเดีย ไปถึงเมืองมัณฑะเลย์ในเมียนมา ผ่านแม่สอดและไปยังจังหวัดพิษณุโลกของไทย จากนั้นเชื่อมต่อไปถึงกรุงเทพฯ ทั้งนี้ทางการเมียนมาได้เรียกร้องให้อินเดียบริหารและปรับปรุงสะพาน 73 แห่งในเมียนมา ซึ่งอินเดียตกลงรับดำเนินการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย อีกทั้งอินเดียยังให้เงินกู้แก่เมียนมา เป็นมูลค่า 18,000ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จภายใน 1 ปีครึ่ง นอกจากนี้รัฐบาลอินเดียยังมีข้อตกลงให้เงินกู้สำหรับการขยายโครงการไปยัง สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนามในอนาคต เนื่องจากมองว่าอาเซียนมีเทคโนโลยี มีแรงงาน มีนวัตกรรม ที่จะช่วยให้เอเชียเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลกได้ ด้านผู้เชี่ยวชาญมองว่า อินเดียทุ่มงบประมาณมากขนาดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Act East ที่ต่อยอดจากนโยบายในอดีตที่ให้มุ่งเข็มมาที่โลกตะวันออกคือจีนและญี่ปุ่น และมองว่าอินเดียต้องการใช้โครงการนี้เป็นแผนยุทธศาสตร์ เพื่อเตรียมเจรจาความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค ที่เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง ASEAN 10 ประเทศ กับคู่ภาคีที่มีอยู่ 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ทั้งนี้ไทยและอินเดียมีมูลค่าการค้าระหว่างกันปีล่าสุด 10 ล้านล้านบาท โดยมีนักท่องเที่ยวอินเดียมาไทยปีละกว่า 1 ล้านคน นอกจากนี้ยังมาจัดงานแต่งงานปีละ 300 คู่ ในขณะที่บริษัทเอกชนอินเดียที่ลงทุนในไทย คือ ทาทา กรุป, Aditya Birla และอินโดรามา อีกด้านหนึ่งนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในอินเดียมีมากมาย ทั้งกลุ่ม CP, เดลต้า อิเลคทรอนิกส์, อิตัลไทย และพฤกษา อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับอานิสงส์ของการขยายเส้นทางด่วนเชื่อมทั้ง 3 ประเทศในครั้งนี้ เดินหน้าซื้อรถเมล์ใหม่ 8 ก.ค.เปิดเคาะประมูลเอ็นจีวี 489 คัน บริษัทอิตาเลียนไทยจ่อคว้างานสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 หลังเสนอค่าก่อสร้างต่ำสุด 1.2 หมื่นล้าน ต่ำกว่าราคากลางกว่า 1.3 พันล้าน น.ท.สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง บริษัทท่าอากาศยานไทย (ทอท) กล่าวว่า ผลการเปิดซองประมูลงานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ พบว่า บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ชนะการประมูลเนื่องจากเสนอราคาต่ำสุด 12,050 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางกว่า 1.3 พันล้านบาท จากที่กำหนดไว้ 13,420 ล้านบาท ส่วนผู้เสนอราคาต่ำเป็นอันดับสอง คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า UN-SH มีบริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นแกนนำ เสนอราคา 13,291 ล้านบาท และผู้เสนอราคาอันดับสาม คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ และบริษัทคริสเตียนีและนีลเส็น เสนอราคา 14,293 ล้านบาท น.ท.สุธีรวัฒน์ กล่าวว่า ครั้งนี้ถือป็นครั้งแรกที่ ทอท.รับซองราคา และเปิดทั้ง 3 ซอง คือซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค และซองราคาก็ผ่านกันทั้งหมด เพราะคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร. เห็นว่าไม่ควรเก็บซองราคาไว้เปิดภายหลัง จึงได้เปิดซองราคาเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ในวันเดียวกัน หลังจากนี้ ทอท.จะเจรจาต่อรองกับผู้เสนอราคาต่ำสุด ก่อนเสนอคณะกรรมการให้ความเห็นชอบต่อไป โดยคาดว่า จะเซ็นสัญญาว่าจ้างได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ หรือเร็วกว่าแผนงานประมาณ 1 เดือน ส่วนในวันนี้ ทอท.จะเปิดซองราคางานจ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ราคากลาง 2,265.291 ล้านบาท ซึ่งมีเอกชนซื้อซองประมูล 12 ราย กรมการขนส่งฯ เตรียมเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแม่บทเพื่อพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางใน กทม.และปริมณฑล ในเดือนกันยายนนี้ รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลมีความชัดเจนในการดำเนินการเรื่องต้นทุนและกำไร กทม.เตรียมชง ครม.ของบสนับสนุน 345 ล้านบาท เปิดเดินเรือ "คลองผดุงกรุงเกษม" ระยะทาง 5.5 กิโลเมตร ตั้งแต่ท่าเรือหัวลำโพง-ท่าเรือตลาดเทเวศน์ พร้อมจัดเส้นทางจักรยาน-ปรับภูมิทัศน์รองรับผู้พิการ เชื่อมโยงระบบขนส่งทั้ง ทางบก-ทางน้ำ
จังหวัดระยอง มีความพร้อมด้านจุดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงทั้งทางน้ำทางอากาศ ทำให้นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดระยองเพื่อติดตามความคืบหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ติดตามบรรยากาศจากคุณอันชลี ศิริมั่ว รายงานสดมาจาก สนามบินนานาชาติ อู่ตะเภา จ.ระยอง การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อยกระดับเป็นท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 3 รองรับการเดินทางทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และใช้เป็นสนามบินสำรองกรณีที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองมีปัญหา ล่าสุด การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มีความคืบหน้าไปมาก รัฐเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฟื้นเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ กรมเจ้าท่าเสนอแนวทางพัฒนาระบบบริหารจัดการท่าเรือสินค้า และท่าเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเปิดทางให้เอกชนเข้าร่วมประมูลและบริหารจัดการท่าเรือ ญี่ปุ่น สนใจลงทุนระบบรางเพิ่มเติม โดยศึกษาเส้นทาง มุกดาหาร-พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด เชื่อมทวาย ด้านรองนายกรัฐมนตรี ระบุเตรียมเสนอเรื่องครม.อังคารนี้ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ บอกว่า ทูตของประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาเข้าพบ วานนี้ (24 มิ.ย.) พร้อมแสดงความสนใจที่จะศึกษาเส้นทางรถไฟสาย มุกดาหาร-พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ที่จะมีการลงทุนร่วมกันอีกหนึ่งโครงการ ซึ่งโครงการนี้ ก็ยังเชื่อมต่อไปถึง โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยจะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 28 มิถุนายนนี้ พร้อมกับโครงการเส้นทางรถไฟ กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉะบัง และ โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์ สัตหีบ แผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา รวมถึง การพัฒนาเส้นทางถนนและทางรางที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าหารือร่วมกันด้วย เพื่อจัดทำแผนพัฒนาระบบการคมนาคมในเส้นทางดังกล่าวให้มีความชัดเจนอีกครั้ง กล่าวถึงผลการลงประชามติ สหราชอาณาจักร ออกจากสหภาพยุโรป หรือ อียู ว่าในส่วนของประเทศไทย ไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล เป็นเรื่องของความผันผวนในระยะสั้นเท่านั้น โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้เตรียมรับมือมาแล้วก่อนหน้านี้ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งไทยไม่ควรไปตื่นตัวตาม เนื่องจาก ผลกระทบคงมีแต่ในยุโรปเท่านั้น นายสมคิด ยังกล่าวถึงเป้าหมายการส่งออกของไทยว่า ยังคงตั้งเป้าไว้ที่ 5% และคงไม่ต้องคิดถึงการปรับ หรือไม่ปรับเป้า เพราะรัฐบาลจะเร่งเดินหน้า และผลักดันให้การส่งออกขยายตัวให้ดีที่สุด เพราะจาการลงประชามติของอังกฤษที่ต้องการออกจากสหภาพยุโรปนั้น คงมีผลกระทบแต่ในยุโรปเท่านั้น ไทยไม่ควรที่จะตื่นตาม
นายกรัฐมนตรีพูดถึงการพัฒนาศักยภาพของสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ และเพื่อเป็นสนามบินพาณิชย์แห่งที่ 3 ของไทย ในโอกาสที่สถานีรถไฟหัวลำโพง มีอายุครบ 100 ปีในวันนี้ การรถไฟฯ ได้ทำการปรับโฉมสถานีใหม่ให้ทันสมัย เพื่อพร้อมให้บริการต่อไปอีก 3 ปี ก่อนที่จะเก็บไว้เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ ติดตามรายงานจาก คุณชาญวิทย์ ลัภโต สีเฉดเดิม ที่ทาทับใหม่บนผนังและโครงสร้างอาคาร ช่วยฟื้นสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ สถานีรถไฟหัวลำโพง ให้กลับมามีสภาพใหม่อีกครั้ง แต่ยังคงเอกลักษณ์และกลิ่นอายความเก่าแก่ที่รับใช้ผู้โดยสารมานานถึง 100 ปี จอแสดงตารางการเดินรถไฟ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นจอ LED ที่เพิ่มช่องแจ้งเวลาขบวนรถล่าช้าแบบนาทีต่อนาที และยังเปลี่ยนกล้องวงจรปิดใหม่ ให้ภาพคมชัดขึ้น พร้อมติดตั้งกล้องเพิ่มรอบนอกสถานีอีกกว่า 100 ตัว ปัญหาควันไอเสียและอากาศอบอ้าว บริเวณชานชาลาที่มีหัวรถจักรจอดติดเครื่องรอผู้โดยสาร มีพัดลมดันอากาศนับ 20 ตัว ที่ติดตั้งใหม่ กำลังดันลมได้ไกล 30 เมตร ช่วยให้อากาศบริเวณชานชาลาถ่ายเทดีขึ้น ส่วนห้องจำหน่ายตั๋ว ได้แยกส่วนเฉพาะสำหรับชาวต่างชาติเพราะจากสถิติชาวต่างชาติใช้เวลาซื้อตั๋ว 3-6 นาที ต่อรายการ ทำให้ผู้โดยสารอื่นต้องรอคิวนาน อุณหภูมิในโถงรับรองผู้โดยสาร จะถูกรักษาระดับไว้ที่ 25-26 องศาเซลเซียส หลังเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นระบบใช้น้ำหล่อเย็น 3 ล้านบีทียู ทำความเย็นได้เร็วภายใน 30 นาที ช่วงผู้โดยสารหนาแน่น จะเปิดทั้ง 2 เครื่อง รับมือกับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น ขบวนรถไฟทั้งหมด ที่สถานีหัวลำโพงแห่งนี้ จะย้ายไปอยู่ที่สถานีบางซื่อ ในปี 2562 ส่วนสถานีรถไฟหัวลำโพง ที่รับใช้ผู้โดยสารมากว่า 100 ปี จะเปลี่ยนไปทำหน้าที่เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ และจุดขึ้นขบวนรถไฟสายท่องเที่ยวแทน ปักธง"อู่ตะเภา"นิคมอุตสาหกรรมการบินแห่งแรก แนวคิดคนขอนแก่นในการร่วมมือกันในจังหวัดผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากท้องถิ่นโดยตรง ซึ่งหากรถไฟฟ้าสายแรกของจังหวัดขอนแก่น เกิดขึ้นจริง จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
โดยการประชุม ครม วันนี้ กระทรวงคมนาคมได้นำแผนพัฒนาระบบคมนาคมภาคตะวันออกเข้าหารือในที่ประชุม ครม. เพื่อขอความชัดเจนในการดำเนินงาน ประกอบด้วย โครงการรถไฟเส้นทางอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ (East-West Corridor) ที่มี 3 เส้นทาง คือ เส้นทางแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-มุกดาหาร, เส้นทางพุน้ำร้อน (กาญจนบุรี)-กรุงเทพ-ระยอง และเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พร้อมกับโครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์ สัตหีบ และแผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นสนามบินพาณิชย์แห่งที่ 3 และศูนย์ซ่อมอากาศยานของภูมิภาค ซึ่งในส่วนของรถไฟ ล่าสุดทูตของประเทศญี่ปุ่นได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และให้ความสนใจที่จะศึกษาเส้นทางอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ และเส้นทางน้ำพุร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่จะมีการลงทุนร่วมกัน บริษัทท่าอากาศยานไทย เตรียมแผนพัฒนาสนามบิน 6 แห่ง ให้เป็นศูนย์กลางการบินอาเซียน พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นปีละกว่า 12 % อุตสาหกรรมการบินของไทย ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการเปิดเส้นทางการบินใหม่ๆ จำนวนมาก แต่ละปีมีผู้เดินทางผ่านสนามบินหลัก 6 แห่ง มากกว่า 106 ล้านคน แต่ศักยภาพรวมของสนามบิน สามารถรับผู้โดยสารได้จำกัดเพียง 81 ล้าน 500,000 คน สนามบินบางแห่ง จึงเริ่มหนาแน่น ไม่สะดวกในการใช้บริการ แผนพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 จะเริ่มก่อสร้างในเดือนหน้า เริ่มจากการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบิน และปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคภายในสนามบิน จากนั้นจะก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบินได้เพิ่มขึ้น และก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เมื่อเสร็จตามแผน จะรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ขณะที่ สนามบินดอนเมืองเตรียมก่อสร้างเฟส 3 ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังเก่า และเพิ่มหลุมจอดเครื่องบิน เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็นปีละ 40 ล้านคน ส่วนสนามบินภูเก็ตและหาดใหญ่ จะมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ปรับปรุงอาคารหลังเดิม และขยายลานจอดเครื่องบิน โดยสนามบินภูเก็ตโฉมใหม่จะเปิดให้บริการในปีนี้ และเมื่อแผนก่อสร้างทั้งหมดเสร็จในปี 2571 สนามบินในภาคใต้ จะรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 28 ล้านคน สำหรับสนามบินในภาคเหนือ มีแผนระยะยาว ที่จะปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังเดิม ก่อสร้างอาคารหลังใหม่ และขยายลานจอดเครื่องบิน ทั้งที่สนามบินเชียงใหม่ และสนามบินแม่ฟ้าหลวง เชียงราย การพัฒนาสนามบินทั้ง 6 แห่ง ที่ต้องใช้งบประมาณสูงกว่า 190,000 ล้านบาท เพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 181 ล้านคน เป็นความหวังในการยกระดับมาตรฐานด้านการบินของไทย ให้เป็นศูนย์กลางการบินของอาเซียนในอนาคต ข่าวดีสำหรับคน กทม.ที่กำลังจะได้ใช้บริการรถโมโนเรลสายใหม่ ผ่านใจกลางเมืองในเร็ว ๆ นี้ การแก้ไขปัญหาจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงสถานีเตาปูน กับสายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ ล่าสุด รฟม.เตรียมทดสอบระบบ ก่อนเปิดให้บริการจริงวันที่ 6 สิงหาคมนี้ โดยช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้ รฟม.จะมีการซ้อมความพร้อมระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงสถานีเตาปูน และสายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ โดยจะใช้รถโดยสารปรับอากาศ ของ ขสมก.จำนวน 15 คัน ให้บริการรอบละ 4 คัน ทุก ๆ 5-10 นาที โดยจะให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.00-24.00 น. ขณะที่การเชื่อมต่อโดยรถไฟที่บริเวณสถานีบางซ่อน จะมีรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 3 ขบวน วิ่งให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงเช้าจะเริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 6.30-9.30 น. และช่วงเย็นเริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 16.30-20.30 น. วิ่งให้บริการในทุก ๆ 15 นาที ซึ่งในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะลงพื้นที่ตรวจความพร้อมในการซักซ้อมระบบดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่า เมื่อเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ การเดินทางของประชาชนจะเป็นไปอย่างสะดวก และไม่มีปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย เร่งมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง กรมทางหลวงวางแผนเปิดใช้งานปี 63
รฟม.เปิดเอกชนลงทุนพีพีพี ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร วงเงิน 2.1 หมื่นล้านบาท รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล ระบุจะเสนอให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบพีพีพี ในโครงการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร วงเงิน 2.1 หมื่นล้านบาท โดยเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนบริหารจัดการเดินรถและลงทุนระบบอาณัติสัญญาณ โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี คาดว่าจะเปิดประกวดราคากลางปี 2560 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี และเปิดบริการในปี 2563 ทีดีอาร์ไอ เสนอรัฐบาลสร้างรถไฟความเร็วสูงเฉพาะเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ต้องกำหนดค่าโดยสารกิโลเมตรละไม่เกิน 3 บาท เพื่อให้แข่งขันกับสายการบินโลว์คอสต์ได้ ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่ความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอยู่แล้ว พร้อมขอให้ทบทวนการก่อสร้างรถไฟสายกรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งใช้งบประมาณสูงเสี่ยงต่อการลงทุน ล่าสุด ครม. ไฟเขียวโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว- สำโรง) ไปแล้ว ส่วนขั้นตอนการดำเนินงานหลังจากนี้ รวมทั้งรายละเอียดแผนการก่อสร้างเป็นอย่างไร
ปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวางแผนการเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง ผ่านเว็บไซต์ ซิตี้ไกลด์ดอทคอม ลดปัญหาการสูญเสียเวลามากขึ้น วันนี้(7 ก.ค.59) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) พร้อมด้วยนายสยาม ศิริมงคล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท สถานีสำโรง ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ โดยเยี่ยมชมการก่อสร้างห้องน้ำคนพิการ ลิฟต์คนพิการ ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า และทางเชื่อมสกายวอร์ค วันนี้ ขสมก. เปิดประมูลโครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ(NGV) พร้อมซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารจำนวน 489 คัน วงเงิน 4,021.7 ล้านบาท องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือขสมก. จะเปิดประมูลโครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ(NGV) พร้อมซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารจำนวน 489 คัน วงเงิน 4,021.7 ล้านบาท การประมูลครั้งนี้มีเอกชนจำนวน 2 ราย เข้าประกวดราคา ได้แก่ กิจการร่วมค้า เจวีซีซี ที่มี บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน) รายที่ 2 คือ บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป ประเด็นที่น่าสนใจ คือ กรณีบริษัท เบสท์ทริน กรุ๊ป ที่ยื่นซองประมูล รถเมล์เอ็นจีวี เคยถูกกรมศุลกากรและกรมสรรพากร ดำเนินคดีข้อหาสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้ารถยนต์โดยสาร ยี่ห้อ Golden Dragon รุ่นต่างๆ และอุปกรณ์จากประเทศจีน กรมศุลกากรและกรมสรรพากร จึงยื่นฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง 4 คดี เพื่อขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้บริษัทจ่ายภาษีพร้อมเงินเพิ่ม แก่กรมศุลกากรและกรมสรรพากร วงเงินรวมกว่า 232.331 ล้านบาท ซึ่งทางด้าน ผู้อำนวยการ ขสมก. นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ระบุว่า กรณีนี้ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาออกมา ขสมก.ไม่สามารถห้ามไม่ให้เอกชนรายนี้เข้ามาประมูลได้ การประมูลจึงต้องเดินไปตามกระบวนการ // ขณะที่ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส บอกว่า ขสมก.ควรพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตามมา รวมไปถึง คุณสมบัติของเอกชนผู้เสนอราคาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งเห็นว่าไม่ควรส่งเสริมให้เอกชนที่เคยหลีกเลี่ยงภาษีเข้ามารับงานกับหน่วยงานรัฐ ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ล่าสุดเตรียมเปิดให้บริการ สถานีสำโรง เป็นสถานีแรก ในเดือนมีนาคม 2560 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในเขตบางนา และสมุทรปราการ ก่อนจะเปิดให้บริการครบทั้ง 9 สถานีในปี 2561 วันจันทร์ที่ 11ก.ค. ขสมก.จะเปิดเผยรายละเอียดว่าเอกชนรายใดที่ชนะการประมูลโครงการจัดซื้อรถเมล์NGV 489คัน ที่ประมูลไปเมื่อวันศุกร์ที่ 8 ก.ค. ซึ่งการประมูลรอบนี้ที่ประเด็นที่น่าสนใจอย่างไร ติดตามจากรายงานชิ้นนี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือขสมก. เปิดประมูลโครงการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ(NGV) พร้อมซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสารจำนวน 489 คัน กว่า 4 พันล้านบาท การประมูลครั้งนี้มีเอกชนจำนวน 2 ราย เข้าประกวดราคา ได้แก่ กิจการร่วมค้า เจวีซีซี ที่มี บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำ รายที่ 2 คือ บริษัท เบสท์ริน กรู๊ป แม้ว่าการประมูลครั้งนี้จะเป็นการประมูลภายใต้ข้อตกลงคุณธรรม ที่มีเป้าหมายให้การประมูลเป็นไปอย่างโปร่งใส ปราศจากการคอร์รัปชั่น แต่ยังมีคำถามว่า หลังจากประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลแล้ว โครงการรถเมล์เอ็นจีวี รอคอยกันมาเกือบ 10 ปี จะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ เพราะหลังจาก ขสมก. ล้มประมูลโครงการในรอบที่ผ่านมา กลุ่มกิจการร่วมค้า เจวีซีซี ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูล ได้ ยื่นฟ้องขสมก.ต่อศาลปกครอง กรณียกเลิกสัญญาการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 489 คัน ทำให้ เจวีซีซี เกิดความเสียหาย 1500 ล้านบาท เพราะบริษัทได้เตรียมรถที่จะส่งมอบให้ขสมก.ไว้แล้วกว่า 200 คัน //ขสมก. จึงมีความเสี่ยงที่จะต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ กิจการร่วมค้า เจวีซีซี จากการยกเลิกผลการประมูลในครั้งนั้น ขณะที่ บริษัท เบสท์ทริน กรุ๊ป ผู้เข้าร่วมประมูลอีกราย เคยถูกกรมศุลกากรและกรมสรรพากร ดำเนินคดีข้อหาสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้ารถยนต์โดยสาร ยี่ห้อ Golden Dragon จากประเทศจีน ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 99 และ 27 แห่งพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 กรมศุลกากรและกรมสรรพากร จึงยื่นฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง 4 คดี เพื่อขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้บริษัทจ่ายภาษีพร้อมเงินเพิ่ม แก่กรมศุลกากรและกรมสรรพากร วงเงินรวมกว่า 232 ล้านบาท มีคำถามตามมาว่าการเปิดทางให้เอกชนที่ถูกหน่วยงานรัฐเข้ามาร่วมประมูลโครงการรถเมล์เอ็นจีวี ภายใต้ข้อตกลงคุณธรรม มีความเหมาะสมหรือไม่ นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการขสมก. ระบุว่า กรณีนี้ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาออกมา ขสมก.ไม่สามารถห้ามไม่ให้เอกชนรายนี้เข้ามาประมูลได้ การประมูลจึงต้องเดินไปตามกระบวนการ ขณะที่นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มองว่า แม้ว่าตามหลักการการพิจารณาคัดเลือกเอกชนที่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการประกวดราคา แต่ขสมก.ก็ต้องพิจารณาความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นตามมา รวมไปเรื่องธรรมาภิบาล เกี่ยวกับคุณสมบัติของเอกชนผู้เสนอราคาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ไม่ควรส่งเสริมให้เอกชนที่เคยหลีกเลี่ยงภาษีเข้ามารับงานกับหน่วยงานรัฐ ในเรื่องนี้ สตง.จะดูว่าแนวโน้มจะตัดสินใจอย่างไร ถ้ามีแนวโน้มขัดต่อหลักการบริหารจัดการที่ดี สตง.ก็จะส่งสัญญาณแจ้งเตือน
อีกไม่นานเกินรอ ผู้ใช้บริการรถไฟเดินทางไปเชียงใหม่ อุบลราชธานี หนองคาย และหาดใหญ่ ก็จะได้ขึ้นรถไฟโฉมใหม่ ที่นอกจากจะออกแบบทันสมัย ยังสะดวกสบายมากขึ้น ก่อนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย จะนำขบวนจริงมาเผยโฉมให้ดูกัน ไทยรัฐทีวี ได้ใช้เทคโนโลยีกราฟิก จำลองให้คุณผู้ชมได้เห็นกันก่อน กทม.เวนคืน 25 จุดแก้รถติด เชื่อม 3 วงแหวนเพิ่มประสิทธิภาพคนกรุงเดินทาง ในอนาคต ภาครัฐจะพัฒนาให้ท่าเรือระนองเป็นประตูการค้าสู่กลุ่มประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดีย ตามแผนอันดามันเกตเวย์ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งได้ถึง 3 เท่าตัว ติดตามจากรายงานของคุณขวัญ โม้ชา กระทรวงคมนาคม เสนอแนวทางแก้ปัญหาท่าเทียบเรือ ที่ถูกทิ้งร้างกว่า 20 แห่ง โดยให้กรมเจ้าท่าร่วมกับกรมธนารักษ์เลือกเอกชนร่วมทุนบริหาร พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ เพื่อดำเนินโครงการให้เกิดความสอดคล้องกับงบประมาณ กระทรวงคมนาคม เสนอแนวทางแก้ปัญหาท่าเทียบเรือทั่วประเทศ ที่รัฐบาลลงทุนก่อสร้าง แต่ไม่มีการบริหารจัดการ และปล่อยทิ้งเป็นท่าเรือร้างมากกว่า 20 แห่ง โดยกรมเจ้าท่าและกรมธนารักษ์ กำหนดวิธีการคัดเลือกเอกชนเข้ามาร่วมทุน ซึ่งจะให้ผู้ที่เสนออัตราจัดเก็บค่าบริการแก่ผู้ใช้บริการท่าเรือต่ำสุดได้สิทธิ์เป็นผู้บริหารท่าเรือดังกล่าว กระทรวงคมนาคม เดินหน้าแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของไทย หรือ มอเตอร์เวย์ ระยะ 20 ปี จำนวน 21 เส้นทาง โดยจะเริ่มการสร้าง เส้นทางนครปฐม-ชะอำ ภายในปี 2560 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงการมอเตอร์เวย์ 21 เส้นทาง ระยะทางรวม 6,612 กิโลเมตร เงินลงทุนรวม 2 ล้าน 1 แสนล้านบาท ระยะเวลา 20 ปี โดยระยะเร่งด่วนในปี 2560 จะเร่งรัดการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สายนครปฐม - ชะอำ ระยะทาง 120 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 8 หมื่นล้านบาท และเส้นทางแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี-นครราชสีมา เพื่อเชื่อมต่อระหว่างภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองรับอีสเทิร์นซีบอร์ด เบื้องต้นวางแผนให้เอกชนลงทุนทั้งก่อสร้างและบริหาร โดยขอดูผลการศึกษาก่อน ส่วนแผนให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนบริหารจัดการและซ่อมบำรุงนั้น เบื้องต้นจะใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ สาย 6 บางปะอิน-นครราชสีมา และสาย 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี ซึ่งทั้งสองโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนกรณีคณะรัฐมนตรี เห็นชอบการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ วงเงิน 1 แสนล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลัง ดำเนินการจัดตั้งภายในเดือนนี้(ก.ค.) วงเงินเริ่มต้น 1 หมื่นล้านบาท และเสนอขายหน่วยลงทุนที่เหลือ 9 หมื่นล้านบาท ให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศภายในเดือนธันวาคมนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุ จะนำโครงการมอเตอร์เวย์ สาย 7 บางนา-ชลบุรี และสาย 9 บางปะอิน-บางนา เข้าระดมทุน เพื่อนำเงินมาก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายใหม่ เบื้องต้น วางแผนใช้เงินจากกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ ก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 12-14 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดโครงการ
คณะรัฐมนตรี เห็นชอบการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ ไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ วงเงิน 100,000 ล้านบาท เตรียมเสนอสำนักงาน ก.ล.ต. จดทะเบียนและจัดตั้งกองทุนรวมภายในเดือนนี้ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มอบหมายกระทรวงการคลัง ดำเนินการจัดตั้งกองทุนไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ วงเงินเริ่มต้น 1 หมื่นล้านบาท และจะเสนอขายหน่วยลงทุนที่เหลืออีก 90,000 ล้านบาท ให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในเดือนธันวาคมนี้ โครงการแรกที่เสนอเข้ากองทุนฯ ได้แก่ โครงการของกรมทางหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งคัดเลือก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี เป็นผู้จัดการกองทุนในระยะแรก คาดว่าจะเสนอสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อจดทะเบียนและจัดตั้งกองทุนรวมฯ ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ หลังจากนี้ กระทรวงคมนาคม , สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการคลัง จะเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับจ้างคณะที่ปรึกษาทางการเงินทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจัดตั้งและกำกับการดำเนินงานของกองทุนฯ และนำโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เร่งระดมทุนจากนักลงทุน โดยเร็ว คาดจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ กองทุนดังกล่าว จะระดมทุนจากนักลงทุนทั่วไป ช่วยลดข้อจำกัดการใช้แหล่งเงินทุนจากงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และช่วยให้การบริหารจัดการหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระยะยาว เร่งรถไฟทางคู่อีสานเปิดใช้ก่อนสิ้นรัฐบาล "คสช." นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุเร่งผลักดันเส้นทางเชื่อมต่อมอเตอร์เวย์สาย 7 และ สาย 9 เป็นโครงการนำร่องในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับมอบรถไฟโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ ล็อตแรก 39 คัน ปรับอากาศทุกคัน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัย เตรียมวิ่งให้บริการขวนด่วนพิเศษใน 4 เส้นทางหลัก ภายในเดือนธันวาคมนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับโฉมรถโดยสารใหม่เทียบชั้นสายการบิน หวังแข่งขันโลว์คอสต์แอร์ไลน์ เริ่มบริการเส้นทางกรุงเทพ – เชียงใหม่สิงหาคมนี้