น่าจะมีการเรียงรายชื่อที่ไม่ได้ประกอบกิจการแต่มีพนักงานตรึม ปัญหาคือจะเอาคนไปไว้ไหน ลดก็ไม่ได้เพราะเป็นข้าราชการ บางอย่างมันไม่ได้ใช้งานมานานหลายปีแล้ว
การบินไทยจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ล่าสุดของโลก หวังเพิ่มศักยภาพด้านการบิน ซึ่งคุณสมบัติของเครื่องบินลำใหม่ เป็นอย่างไรนั้น ติดตามจากรายงานคุณกานต์กมล วงศ์วิลัย แม้ที่ผ่านมาการจัดซื้อเครื่องบินไทยลำใหม่ ของบริษัทการบินไทยจะถูกมองว่า เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง แต่ด้วยสภาพการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจการบิน ทำให้การบินไทยต้องตัดสินใจจัดซื้อเครื่องบินใหม่อีกครั้ง โดยสั่งตรงจากประเทศฝรั่งเศส รวม 12 ลำ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันและการให้บริการ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 8 ของโลก และเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียน รองจากเวียดนาม ที่ได้ใช้เครื่องบินรุ่นล่าสุดของโลก ซึ่งตัวเครื่องมีความทันสมัย สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 25% รองรับผู้โดยสาร 321 คนต่อลำ ผู้โดยสารสามารถใช้บริการ Wifi ระหว่างเดินทางได้ด้วย ส่วนเครื่องบินที่เหลืออีก 11 ลำ จะทยอยส่งมอบเข้ามาจนครบทั้งหมดในปี 2561 ทุกลำได้รับชื่อพระราชทาน เป็นชื่ออำเภอต่างๆ คล้องจองกัน โดยจะเริ่มทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ภูเก็ตในวันที่ 4-15 กันยายนนี้ก่อน จากนั้นจะใช้ในเส้นทางบินกรุงเทพฯ-เมลเบิร์น และขยายสู่เที่ยวบินข้ามทวีปเส้นทางอื่น ๆ ด้วย ก้าวสำคัญของสายการบินประจำชาติจากนี้ คือเร่งเดินหน้าพัฒนาขีดความสามารถด้านการให้บริการ รองรับการแข่งขันของธุรกิจสายการบินจากทั่วโลก เพื่อให้ไทยเป็น"ศูนย์กลางการบินในอาเซียน"ได้ในเร็วๆนี้ หมายข่าวเจาะ กับ สันติสุข มะโรงศรี พลิกชีวิตการรถไฟ แค่ขายฝัน หรือทำได้จริง ร.ฟ.ท.จ่อเปิดประมูลที่ดินทำเล'สถานีแม่น้ำ' 277 ไร่ให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์กลางปี 60 หวังปั้นแลนด์มาร์กแห่งใหม่กลางกรุง นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า รฟท.เตรียมเดินหน้าแผนพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์แปลงใหญ่ขนาด 277.5 ไร่ บริเวณสถานีแม่น้ำ พระราม 2 ตามแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท. ที่ต้องการให้หารายได้อื่นมากกว่าการเดินรถ เพื่อมีรายได้เพียงพอโดยไม่พึ่งงบประมาณจากรัฐบาล ได้ส่งแผนให้กับกระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนกลางปี 2560 เบื้องต้นประเมินมูลค่าที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ 1หมื่น 3 พันล้านบาท คาดว่าต้องใช้เม็ดเงินลงทุนพัฒนาพื้นที่รวม 8 หมื่น 8 พันล้านบาท ก่อนหน้านี้ได้แลกที่ดินบริเวณมักกะสันใช้หนี้กับกระทรวงการคลังกว่า 6 หมื่นล้านบาท หวังลดภาระหนี้แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถตกลงในรายละเอียดได้เนื่องจากติดปัญหาข้อกฎหมาย องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ค. ตั้งเป้าแบรนด์ไทย-เดนมาร์คเป็น "นมแห่งชาติ"ภายใน5 ปีข้งหน้า คาดยอดขายโตถึง 1 หมื่นล้านบาท ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ค.บอกว่า อ.ส.ค.เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลหวังให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งในแผนงานปี 2560-2564 อ.ส.ค.ได้วางเป้าหมาย จะยกระดับผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์คให้ก้าวสู่แบรนด์นมแห่งชาติภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยมีแผนหลักเพื่อไปสู่เป้าหมาย ประกอบด้วย การส่งเสริมการเลี้ยงโคมนมให้เป็นอาชีพเกษตรกรอย่างมั่นคง การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมนมให้ครบวงจร สร้างแหล่งความรู้ด้านกิจการโคนมและอุตสาหกรรมนม และมุ่งบริหารจัดการองค์กรให้มีขีดความสามารถด้วยหลักธรรมาภิบาล ซึ่งภายปี 2564 ยอดขายจะต้องไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท ส่วนยอดขายในปีนี้ คาดว่าจะมีรายได้ที่ 8,500 ล้านบาท ปัจจุบันผลิตภัณฑ์นมในตลาด นอกจากตัวทำตลาดจะเป็นนมยูเอชที และนมพาสเจอร์ไร์ทแล้ว ไทย-เดนมาร์คจะขยายการผลิต นมออร์แกนิคและหันมาเพิ่มสัดส่วนตลาดนมพาสเจอร์ไร้ทมากขึ้น โดยตลาดหลักยังเป็นในประเทศ ส่วนตลาดส่งออกปัจจุบัน มี สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ปีหน้าจะรุกตลาดมาเลเซีย
คณะรัฐมนตรี เริ่มเดินหน้าปฏิรูปองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.และการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. โดยกรณี ขสมก.เริ่มที่ปฏิรูปการเดินรถโดยสารประจำทาง ที่ให้กรมการขนส่งทางบก ทำหน้าที่กำกับดูแลการเดินรถแทน ขสมก.ทั้งหมด ส่วน ขสมก.มีฐานะผู้ประกอบการ เช่นเดียวกับเอกชนทั่วไป เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และแก้ไขปัญหาเส้นทางเดินรถทับซ้อนกันระหว่าง ขสมก. และรถร่วมบริการด้วย ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทาง มาบกะเบา สระบุรี - ชุมทางจิระ นครราชสีมา 251 กิโลเมตร วงเงินเกือบ 30,000 ล้าน ซึ่งจะเป็นการปฏิรูปรถไฟครั้งสำคัญ และสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนที่ดีขึ้น เป็นการเชื่อมต่อโลจิสติกส์ ภาคอีสาน โดยคาดว่าภายใน 20 ปี เส้นทางนี้จะยกระดับการขนส่งได้สูงขึ้นถึง 2.5 เท่า ส่วนที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอวันที่ 10 ตุลาคมเป็นวันหยุดราชการเพราะวันที่ 8-10 ตุลาคม ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย หรือเอซีดี ครั้งที่ 2 และให้การต้อนรับผู้นำ และรัฐมนตรีต่างประเทศ 33 ประเทศทั่วเอเชีย เรื่องนี้คณะรัฐมนตรีเห็นว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นช่วงปิดภาคเรียนอยู่แล้ว และสามารถควบคุมดูแลการจราจรเพื่อต้อนรับขบวนผู้นำประเทศทั่วโลกที่มีเพียง 15 ขบวนได้ จึงไม่จำเป็นต้องประกาศเป็นวันหยุดราชการ นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า หลังคณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกมติเดิม ทำให้รถเมล์ร่วม ขสมก. จะต้องขอใบอนุญาตและอยู่ในการกำกับดูแลของกรมการขนส่งทางบก แต่เพียงผู้เดียว ส่วน ขสมก. จะเป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถรายหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันด้านบริการเดินรถเมล์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างเป็นธรรม โดยกรมการขนส่งทางบก จะดำเนินการตามแผนปฏิรูประบบรถเมล์ เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และจะเกิดการแข่งขันด้านคุณภาพบริการในระยะยาว โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต และการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ เพื่อออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ สำหรับแผนการปฏิรูประบบรถเมล์ จะแก้ไขปัญหาการเดินรถเมล์ในปัจจุบัน ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งคุณภาพของตัวรถ ความปลอดภัย และความสะดวกรวดเร็ว โดยภาครัฐสามารถกำกับดูแลการให้บริการอย่างใกล้ชิด ส่วนแนวทางปรับปรุงเส้นทางรถเมล์ใหม่ทั้งระบบ จะลดการทับซ้อนของเส้นทาง แก้ปัญหาเส้นทางไม่ครอบคลุม และปรับปรุงเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ เช่น โครงข่าวรถไฟฟ้า รถไฟ การสัญจรทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนแทน “สมคิด”ให้ร.ฟ.ท.ตั้งหน่วยงานขึ้นมาบริหารทรัพย์สินให้มีรายได้เข้ามา เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงิน รองนายกรัฐมนตรี สั่งการรถไฟแห่งประเทศไทย เร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ใช้ทรัพย์สินสร้างรายได้แต่ห้ามขาย หวังล้างยอดขาดทุนสะสมกว่า 80,000 ล้านบาท นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยให้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ10 ปี จัดตั้งหน่วยงานดูแลงบการเงินขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อวางแผนพัฒนา และบริหารสินทรัพย์ของการรถไฟฯ ที่มีอยู่กว่า 600,000 ล้านบาท โดยแผนดังกล่าวจะต้องคำนวณอัตราค่าเช่าพื้นที่ของการรถไฟฯ ให้เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ แต่ต้องไม่มีการขายทรัพย์สินของการรถไฟฯ เลย เพื่อลดการขาดทุนสะสมของการรถไฟฯ ที่มีอยู่กว่า 80,000 ล้านบาท โดยการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ และงบการเงินในการดูแลทรัพย์สินจะทำให้การรถไฟฯ มีการพัฒนาและต้องพัฒนาด้านนวัตกรรมในอนาคต ให้เป็นการรถไฟฯ 4.0 นอกจากนี้ นายสมคิดยังได้เร่งรัดโครงการต่างๆ ของการรถไฟฯ โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่เฟสแรก 7 เส้นทาง รวมระยะทาง 995 กิโลเมตร จะต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีภายในสิ้นปีนี้รวมทั้งให้จัดทำรถไฟทางคู่ ขนานไปกับรถไฟความเร็วสูง เส้นทางระยอง-มาบตาพุด โดยรถไฟทางคู่ใช้ในการขนส่งสินค้าเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เพราะเป็นเส้นทางเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกสำหรับการประมูลโครงการต่างๆ ของการรถไฟฯ ต้องปรับเงื่อนไขสัญญา เปิดกว้างให้มีการแข่งขันมากขึ้น และต้องให้บุคคลภายนอก และเอกชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใสในการประมูลงานด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ถือเป็นหน่วยงานที่มีหนี้สินมากเป็นลำดับต้นๆของรัฐวิสาหกิจ โดยขณะนี้มีแผนปรับปรุงองค์กร และล้างหนี้ที่ค่อนข้างชัดเจน
นางสิริมา หิรัญเจริญเวช รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน เปิดเผยถึงแผนพัฒนาตลาดนัดจตุจักร ให้เป็น market smart ตลาดนัด 4.0 ว่าจะหาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าให้ผู้ค้าสามารถขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ เนื่องจากปัจจุบันชาวต่างชาตินิยมมาจับจ่ายสินค้าภายในตลาดนัดจตุจักร เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ได้เปิดเผยถึงแนวทางการพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟฯ ตามกรอบระยะเวลา 10 ปี ตามที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบาย ซึ่งการพัฒนาพื้นที่จะรวมไปถึงพื้นที่บริเวณมักกะสัน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย จะทบทวนแนวทางสร้างรายได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอกฤษฎีกา ตีความว่าจะสามารถขายพื้นที่ดังกล่าวให้กรมธนารักษ์ เพื่อลดภาระหนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้หรือไม่ และในช่วงเทศกาลกินเจ ตลาดนัดจตุจักร ได้จัดงานเทศกาลกินเจฟรี ประจำปี 2559 บริเวณลานอเนกประสงค์ ประตู 1 โดยมีผู้มีจิตศรัทธาและผู้จำหน่ายสินค้าภายในตลาดนัดจตุจักร ร่วมกันจัดโรงทานตลอด 9 วัน ช่วงเทศกาลเจ บริการประชาชน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ไปจนถึงเวลา 15.00 น. นมไทยเดนมาร์กฟาร์มโคนมแห่งแรกของคนไทย ที่วันนี้ตั้งเป้าจะก้าวสู่ "แบรนด์นมแห่งชาติ" ให้ได้ภายใน 5 ปี ซึ่งล่าสุดได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในประเทศผลิตนมออกมาให้ได้ดื่มกัน ฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทยเดนมาร์ก เป็นอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2505 โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ผลิตจากเกษตรกรคนไทย และใช้นมโคสด 100% ช่วงแรกๆ การตลาดไม่ดี เพราะคนไทยดื่มนมน้อย แต่ปัจจุบันดื่มนมกันมากขึ้น กิจการฟาร์มโคมนมแห่งแรกของคนไทยจึงเติบโตขึ้นเรื่อยมา โดยส่งเสริมให้เกษตรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ ใช้อาหารสำเร็จรูป (สูตรTMR) ซึ่งจะได้น้ำนมดิบคุณภาพดี ปริมาณสูงขึ้นแต่ต้นทุนการผลิตลดลง ควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนมที่ครบวงจร และมีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ไปพร้อมๆ กัน เช่น การผลิตนมออแกร์นิกและนมคุณภาพ (เกรดพรีเมี่ยม) เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค รวมถึงการใช้เทคโนโลยีความเร็วสูงเข้ามาพัฒนาระบบผลิตนม U.H.T.พร้อมดื่ม เช่น โรงนม อ.ส.ค.ภาคเหนือตอนบน จ.สุโขทัย ขณะนี้เดินเครื่องผลิตนม U.H.T. ด้วยระบบ Hi-Speed ที่มีกำลังการผลิตสูง 24,000 กล่องต่อชั่วโมง เรียกว่าทันสมัยที่สุดในประเทศ และยึดนโยบายใช้นมโคสดแท้ 100% โดยทุกฟาร์มโคนมจะต้องได้มาตรฐาน GAP เพราะน้ำนมดิบที่ป้อนโรงนม มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยเป็นหัวใจสำคัญในการผลิต เพื่อก้าวสู่แบรนด์นมแห่งชาติและอยู่ในตำแหน่งแบรนด์ที่ติดอยู่ในใจคนไทย (Top of Mind) ตลอดไป [ คณะรัฐมนตรี มีมติให้ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ และเร่งแก้ไขเส้นทางเดินรถที่ทับซ้อน ซึ่งเชื่อว่า จะทำให้การแก้ไขปัญหาหนี้คล่องตัวขึ้น คณะทำงานกำกับติดตามการพัฒนาที่ดิน ที่ไม่ใช่ที่ดินเพื่อการเดินรถ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้สรุปจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว ของ ร.ฟ.ท.ที่มีอยู่ 39,000 ไร่ ช่วง 5 ปี (2560-2564) มีทั้งการพัฒนาที่ดินผืนใหญ่และการปรับสัญญาการเช่า โดยหวังเพิ่มรายได้ปีละ 1 หมื่นล้านภายใน 10 ปีข้างหน้า นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะทำงานกำกับติดตามการพัฒนาที่ดินของ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า แผน 5 ปีนี้จะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 5-6 พันล้านบาทต่อปี ในช่วงปีท้ายๆ ของแผน จากปัจจุบันมีรายได้จากค่าเช่าที่ดินเพียง 2.5 พันล้านบาทต่อปี และภายใน 10 ปีข้างหน้า หรืออย่างเร็วอาจจะภายใน 6-7 ปี รายได้จากการพัฒนาที่ดินและค่าเช่าจะเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งจะสามารถชดเชยกับการขาดทุนที่การรถไฟที่ปัจจุบันมีการขาดทุนปีละประมาณ 1 หมื่นล้านบาทได้ ปัจจุบันการรถไฟมีที่ดินทั้งหมด 2.49 แสนไร่ แต่เป็นที่ดินที่ไม่ใช่เพื่อการเดินรถจำนวน 39,000 ไร่ โดยคณะทำงานได้แยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ที่ว่างเปล่า ยังไม่เคยมีการจัดให้เช่ามาก่อน จำนวน 23,200 ไร่ 2. พื้นที่ที่มีสัญญาเช่า จำนวน 15,900 ไร่ และ 3.พื้นที่บุกรุก จำนวน 252 ไร่ -ที่ดินในกลุ่มแรก 23,200 ไร่ เป็นที่ดินแปลงใหญ่ที่จะเปิดให้เอกชนมาประมูลร่วมพัฒนา มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท มีอยู่ทั้งหมด 11 แปลง เช่น ที่ดินบริเวณสถานีกลางบางซื่อ ที่ดินสถานีรถไฟแม่น้ำ สถานีรถไฟ กม.11 (หลัง ปตท.สำนักงานใหญ่) ที่ดินในจังหวัดขอนแก่น และเชียงใหม่ -ที่ดินในกลุ่มที่ 2 จำนวน 15,900 ไร่นั้น จะปรับปรุงค่าเช่าใหม่ หลังจากหมดสัญญาเช่าในปัจจุบัน โดยเจรจาเพื่อต่อสัญญากับผู้เช่ารายเดิมก่อน โดยจะทำก่อนหมดสัญญา 5 ปี แปลงที่ดินที่มีความสำคัญ มีมูลค่าสูงกว่าพันล้านบาทและกำลังหมดอายุสัญญาเช่า เตรียมที่จะต้องทำการต่อสัญญาเช่าใหม่ มี 3 แปลง ที่ดินของโรงแรมรถไฟหัวหิน,ที่ดินสนามกอล์ฟหัวหิน และที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงแรม อิสติน ที่มักกะสัน -ส่วนที่ดินบุกรุก 252 ไร่นั้น จะนำมาพัฒนาเป็นโครงการประชารัฐ โดยสร้างที่อยู่อาศัยในแนวสูง มีระบบสาธารณูปโภคต่างๆ รองรับ ให้กับกลุ่มที่อยู่อาศัยเดิม ซึ่งส่วนนี้จะไม่ได้มุ่งหวังกำไร แต่ทำเพื่อชุมชน รายงานพิเศษ : เล็งโอนหนี้ขสมก.ให้คลังหลังแผนหารายได้สะดุด
ธนารักษ์เตรียมปรับค่าเช่าที่ราชพัสดุใหม่กับ บริษัทท่าอากาศยานไทย เชื่อการเปลี่ยนวิธีคิดค่าเช่าใหม่ ทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้น ประธานกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. ประสงค์ พูนธเนศ บอกว่า เดิมกรมธนารักษ์ได้คิดค่าเช่า "สนามบินสุวรรณภูมิ" ในรูปแบบผลตอบแทนต่อการประเมินสินทรัพย์ซึ่งวิธีไม่เป็นธรรมเพราะจะหักผลตอบแทน 2-5% จากการประเมินทรัพย์สินทั้งหมด แต่ ทอท. ไม่ใช้พื้นที่ทั้งหมดในเชิงพาณิชย์ เช่น บริเวณด้านความปลอดภัยของเครื่องบิน ที่ตั้งหน่วยดับเพลิง แต่กลับถูกคิดค่าเช่าด้วย ฉะนั้นเมื่อกรมธนารักษ์เปลี่ยนรูปแบบเป็น Profit sharing ซึ่งคิดผลตอบแทน 5% จากส่วนแบ่งกำไรก็จะทำให้ค่าเช่าเป็นธรรมมากขึ้น และ ทอท. สามารถพัฒนาที่ดินในท่าอากาศสุวรรณภูมิอีกหลายพันไร่ในเชิงพาณิชย์ได้ จากเดิมที่ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะการจัดเก็บรายได้ยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้จะมีการปรับเพิ่มค่าเช่าที่ราชพัสดุใหม่กับผู้เช่ารายใหญ่ทั้ง บริษัทปตท. บริษัทไทยออยล์ ส่วนบริษัทท่าอากาศยานไทยที่ปรับเนื่องจากหมดสัญญาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ภายหลังการหารือร่วมกับบมจ.ท่าอากาศยานไทยเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าตอบแทนในการใช้พื้นที่ราชพัสดุในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เบื้องต้นได้ข้อตกลงร่วมกันจะใช้รูปแบบการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) ในอัตราร้อยละ 5 ตามเดิม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับภาคประชาชน และต้นทุนของสายการบิน และในส่วนที่ 2 หลักการการคิดค่าเช่าส่วนพื้นที่ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ จะมีการจัดเก็บตามค่าตอบแทนจากสินทรัพย์ หรือ ROA ในอัตราต่ำสุดที่ร้อยละ 3 ซึ่งจากนี้เป็นหน้าที่ของAOT ที่จะต้องไปคำนวณความชัดเจนของพื้นที่ว่าพื้นที่ใดที่จำเป็นต้องกันไว้สำหรับทำการบิน หรือพื้นที่ใดต้องการใช้เชิงพาณิชย์ อาเซียนเป็นตลาดสำคัญสำหรับสินค้ากลุ่มยาสูบ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ ซีแอลเอ็มวี (CLMV) ยังมีความต้องการสูง ทำให้โรงงานยาสูบขยายตลาดเปิดศูนย์จัดจำหน่าย กระจายสินค้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ติดตามจากรายงาน คุณลินดา อุตตะมะ สระบุรี 23 ก.พ. – เลี้ยงโคนม เป็นอาชีพที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่เกษตรกรไทย จากการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเดนมาร์ก ทำให้เดนมาร์กมาตั้งฟาร์มโคนมทดลองแห่งแรกที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกรไทย ปัจจุบันฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก จัดตั้งเป็นองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ลุงวิชัย เจิดจะโป๊ะ เป็นนักเรียนฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก รุ่นที่ 3 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ลุงวิชัยสมัครเป็นนักเรียนฟาร์มเพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่แทบไม่มีเกษตรกรทำตอนนี้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเดนมาร์ก จนเดนมาร์กมาจัดตั้งฟาร์มเพื่อสอนอาชีพนี้แก่เกษตรกรไทย ลุงตั้งฟาร์มมานานกว่า 40 ปีแล้ว ยังคงนำความรู้เรื่องการดูแล การขุนอาหาร การดูแลสุขภาพ การผสมและพัฒนาสายพันธุ์จากการเรียนมามาใช้ นมจากฟาร์มของลุงวิชัย เกษตรกรและสหกรณ์รายอื่นๆ จะส่งมาที่โรงงานของ อ.ส.ค. ซึ่งรับซื้อน้ำนมดิบในราคาประมาณกิโลกรัมละ 18 บาท จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นทั้งน้ำนมกล่อง โยเกิร์ต ไอศกรีม รวมถึงทดลองทำนำน้ำนมมาทดลองทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์โคนม กล่าวว่า ต้องการให้ อ.ส.ค.เป็นต้นแบบในการทำวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นม รวมถึงเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรและสหกรณ์ต่างๆ มีความรู้ว่าทำอย่างไรจะสามารถผลิตน้ำนมได้มีปริมาณมากขึ้นและมีคุณภาพมากขึ้น คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมยังมีนโยบายส่งเสริมให้นำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์นมให้มีคุณภาพ อร่อย และมีความหลากหลายขึ้น เช่นปัจจุบันมีนมออร์แกนิก นมปรุงแต่งรสธรรมชาติ รวมถึงนมที่ปราศชาติน้ำตาลแลคโตส สำหรับผู้ที่ไม่มีน้ำย่อยแลคเตส ดื่มน้ำแล้วท้องเสีย จะสามารถดื่มนมแบบปราศจากน้ำตาลแลคโตสได้ เป็นนวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์น้ำนมไทย และทำให้รายได้ไปสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมากขึ้น. – สำนักข่าวไทย คสช.ใช้ ม.44 เด้งบอร์ดรถไฟยกชุด และปลดผู้ว่า รฟท. ให้เหตุผลเพื่อปรับปรุงการบริหารงานรถไฟให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยในคำสั่งได้ให้เหตุผลในการโละบอร์ดฯ และปลดผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยว่า เพื่อปรับปรุงการบริหารงานรถไฟให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยในส่วนของผู้ว่าการฯ ให้ไปดำรงตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และให้นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย อีกตำแหน่งหนึ่ง จนกว่านายกรัฐมนตรีจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ซึ่งจากการตรวจสอบเหตุผลของคำสั้งนี้ นอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแล้ว แหล่งข่าวในการรถไฟฯ บอกว่า ในส่วนของการโละบอร์ด น่าจะมาจากกรณีนายคณิศ แสงสุพรรณ ลาออกจากการเป็นบอร์ด รฟท. เพื่อไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ขณะเดียวกันขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแก้กฎหมายเพิ่มบอร์ด รฟท. เป็น 10 คน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนการปลดผู้ว่าการฯ น่าจะมาจากเรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางมูลค่ากว่าแสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดความโปร่งใสมากที่สุด
วันนี้ (23 ก.พ. 2560) นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้า คสช.ใช้อำนาจมาตรา 44 ปลดบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งคณะ พร้อมสั่งย้ายผู้ว่าการฯ ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี การบินไทยพลิกมีกำไรเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี กระทรวงคมนาคม สั่ง บขส.ปรับแผนธุรกิจใหม่เพิ่มช่องทางหารายได้จากธุรกิจด้านโลจิสติกส์และท่องเที่ยวอาเซียน พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งนิติบุคคลรถร่วมบขส. ซึ่งจะช่วยให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิผล ประชาชนปลอดภัยในการใช้บริการ การบินไทยเสนอบอร์ด 15 มี.ค.นี้ ปรับใหญ่ "นกแอร์-ไทยสมายล์" ดันตั้ง "Thai Group" เปิดทางการบินไทยร่วมวางยุทธศาสตร์ การบิน ลดปัญหาขาดทุน เตรียมเปลี่ยน "ซีอีโอนกแอร์" ใหม่แทน "พาที สารสิน" พร้อมเพิ่มทุนคาดดำเนินการเสร็จภายใน 6 เดือน
ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นอีกหนึ่งกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช. ซึ่งมีความสำคัญต่อการปฏิรูป และพัฒนาศักยภาพของรัฐวิสาหกิจ ให้เป็นองค์กรที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื้อหาสาระของกฎหมายฉบับนี้จะเป็นอย่างไรติดตามจากรายงาน หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. มีมติรับหลักการวาระแรก ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแล และบริหารรัฐวิสาหกิจ ซึ่งแม้เนื้อหาของร่างกฎหมายจะเป็นการพัฒนาการทำงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพการทำงาน ตอบโจทย์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังมีความเป็นห่วงจากกลุ่ม เอ็นจีโอ รวมถึงความเห็นจากสื่อสังคมออนไลน์ ว่ากฎหมายฉบับนี้ จะส่งผลให้เกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคตหรือไม่ ช่วงเราจะไปพูดคุยกับคุณเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. กระทรวงการคลัง