รัฐบาลกับปัญหา IUU และแรงงานผิดกฏหมาย

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Ricebeanoil, 15 Jan 2016

  1. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    สัปดาห์หน้า EU จะมาประเมินผลแล้ว ถ้าไม่ผ่านนี่มีผลกระทบเยอะมาก





    กว่า 9 เดือนที่ไทยได้ใบเหลืองจากสหภาพยุโรป(อียู) ต่อปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ความพยายามในการแก้ไขปัญหานี้ดำเนินการไปแล้วกว่า 70% โดยศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ ศปมผ. วันนี้ได้มีการแถลงผลความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและขาดการควบคุม หรือ ไอยูยู ในไทย ทั้งทางด้านกฎหมาย ด้านระบบการควบคุมติดตามเรือและระบบตรวจสอบย้อนกลับ และการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงปัญหาการค้ามนุษย์ที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งการแถลงข่าววันนี้มีตัวแทนจากสหภาพยุโรป เข้ารวมรับฟัง พร้อมสื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจมาร่วมทำข่าวเป็นจำนวนมาก

    การแถลงข่าววันนี้เป็นความพยายามในการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย และการสร้างความเข้าใจกับสหภาพยุโรป และสื่อมวลชนต่างชาติ ก่อนที่ตัวแทนจากสหภาพยุโรปจะเข้ามาตรวจผลการดำเนินการแก้ไขประมงผิดกฎหมายในวันที 18-22 มกราคมที่จะถึงนี้

    พลเรือโทจุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือ กล่าวว่า ศปบผ.ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อสังเกตและข้อแนะนำจากสหภาพยุโรปอย่างละเอียดทุกประเด็น เริ่มจากด้านกฎหมายที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย พร้อมเสนอร่างกฎหมายและการประกาศใช้พระราชกำหนดประมง ปี พ.ศ.2558 / กฎหมายลูกอีก 91 ฉบับ และทำคู่มือรู้กฎหมายประมงที่ประชาสัมพันธ์ให้ชาวประมง และแรงงานประมงได้รับทราบข้อกฎหมายด้านระบบควบคุมติดตามเรือและระบบตรวจสอบย้อนกลับ คือให้เรือประมงพาณิชย์ติดตั้งระบบ VMS หรือระบบติดตาม

    เรือที่สามารถระบุตำแหน่งขณะออกเรือ ส่วนระบบตรวจสอบย้อนกลับ ได้พัฒนาระบบจัดระเบียบเรือ / อาชญาบัตรแบบเรียลไทม์และออนไลน์ ครอบคลุมสู่ศูนย์ย่อยทั่วประเทศและด้านการบังคับใช้กฎหมายทั้งการทำประมง และแรงงานประมง

    ทางศปมผ.ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายแล้วกว่า 70% และมั่นใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหา ทำให้สหภาพยุโรปยอมรับ และยังสามารถทรัพยากรทางทะเลให้คงอยู่ได้

    โดยการแถลงข่าวในวันนี้ ได้มีกลุ่มผู้ประกอบการล้งได้เข้าร่วมรับฟัง และได้เสนอปัญหาคือขณะนี้กลุ่มล้งไม่ได้สามารถดำเนินการล้งได้ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาหยุดซื้อกุ้ง จากการจับกุมคดีค้ามนุษย์เมื่อปลายปีก่อน

    ผู้ประกอบการล้งจึงเรียกร้องให้รัฐบาล และศปมผ.ได้รับฟังข้อเรียกร้อง และเปิดโอกาสให้ประกอบการล้งต่อไป เนื่องจากกลุ่มล้งทั้งหมดได้ดำเนินการตามกฎหมาย IUU ทุกประการ
     
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  3. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    จากมุมมองผู้ปฏิบัติและมีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นนี้แบบเต็มๆ
    สิ่งที่รัฐบาลและ คสช.ทำที่ผ่านมา ผมว่ามาถูกทาง 100 %
    คือมันสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง
    การจัดตั้งศูนย์แจ้งเข้า-แจ้งออกเรือประมง(Port In-Port Out)
    หรือ PIPO สิ่งนี้ทำให้ ผู้ประกอบการเรือประมงขนาด 30 ตันกรอส
    ขึ้นไป ต้องปฏิบัติการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็น
    ทะเบียนเรือที่ถูกต้อง มีอาชญาบัตร คนทำงานในเรือ(ต่างด้าว)
    มีใบอนุญาตถูกต้อง มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆตามที่
    กำหนด สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน
    อย่างเข้มงวดโดย จนท.รัฐประจำศูนย์ PIPO บอกตรงๆนะครับว่า
    ถ้างานนี้ไม่ผ่าน ผมว่าจะต้องทบทวนความสัมพันธ์กับชาติหมาอำนาจ
    กันบ้างละครับ แต่สิ่งที่ผมอยากให้รัฐบาลและ คสช.ทำเพิ่มเติมเพื่อ
    เป็นทางหนีทีไล่ในเรื่องนี้ก็คือ การแสวงหาตลาดส่งออกอาหารทะเล
    แปรรูป ลดได้ไหม อียูกะเมกา ส่งไปรัสเซีย เอเซียกลาง(5-6 สถานที่
    แยกตัวมาจากรัสเซีย)รวมไปถึงอินเดียและแอฟริกา ทำได้ไหมครับ
    กระทรวงพาณิชย์ เรื่องนี้ต้องรับผิดชอบด้วย อย่าทำเป็นทองไม่รู้ร้อน
    ทูตพาณิชย์มีไว้ทำไม จ้างไว้เพื่ออะไร ช่วยๆกันสิครับ
     
    ridkun_user, Anduril และ conservative ถูกใจ
  4. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    ทำไมผมถึงมองเรื่องนี้ว่าเป็นแค่ปัญหาของนายทุนกับแรงงานต่างด้าว

    เรือใหญ่ๆที่ออกจับปลาทะเลลึกก็มีแต่ของนายทุน คนงานบนเรือก็แรงงานต่างด้าว

    การแปรรูปสัตว์น้ำก็ใช้แรงงานต่างด้าวอีก มีแรงงานไทยที่เกี่ยวข้องกับการประมงน้ำลึกและการแปรรูปสัตว์น้ำจำนวนน้อยมาก

    ถ้าเรามีปัญหาการส่งออกสัตว์น้ำเนื่องจากปัญหาการประมงผิดกฏหมาย เราก็จับสัตว์น้ำแต่น้อยเพื่อพอขายแค่ภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน

    ผมว่าดีเสียอีก
     
  5. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ลงนามความร่วมมือกับ 36 หน่วยงาน ภายใต้ข้อตกลง ไม่ซื้อ ไม่นำเข้า หรือ จำหน่ายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำประมงผิดกฏหมาย หวังก้าวผ่านสถานะใบเหลืองจากสหภาพยุโรป
     
  6. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    ให้มันแบนไทยเถอะครับ
    ทรัพยากรของเรา
    เก็บไว้ให้ลูกหลานใช้มั่งเถอะ
     
  7. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    เห็นด้วยครับ ผมว่าอุตสาหกรรมประมงไทย รวยกันอยู่ในหมูคนแค่หยิบมือเดียว
     
  8. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    ควรหาตลาดใหม่ที่ไม่ใช่ EU หรือ USA รองรับด้วย เพราะพวกนี้จะแบนบางทีก็มาจากเหตุผลการเมือง
     
  9. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    ผมเดาใจว่าไม่น่าจะถึงขั้นให้ใบแดง แต่อาจจะมีเงื่อนไขหยุมหยิม
     
  10. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    มันตั้งธงมาแล้วนี่ครับ ว่า กุมภาพันธ์ 59 นี้ จะให้ใบเหลืองไทย
    และให้เวลาอีก 6 เดือน แก้ปัญหาเพื่อปลดใบเหลือง
    เนื่องจากผลการประเมินการแก้ไขปัญหาการทำ ประมงผิดกฎหมาย
    ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบ IUUของสหภาพยุโรป
     
    Anduril likes this.
  11. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    มาตรวจแล้วครับ



    วันนี้ (19 ม.ค.) l ข่าวค่ำ 19.00 น.คณะกรรมการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ได้ส่งรายงานความคืบหน้าให้สหรัฐฯ ขณะที่วันพรุ่งนี้ผู้บริหารของสหภาพยุโรป เดินทางมาติดตามการแก้ปัญหาประมงของไทย
     
  12. อาวุโสโอเค

    อาวุโสโอเค อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,527
    เช้านี้สิครับที่ตัวแทนจะเข้าพบ พล.อ. ประวิทย์ ลุ้น
     
  13. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ดูแนวโน้มแล้วคิดว่าน่าจะคงใบเหลืองไว้ซักพัก แล้วประเมินอีกที 6 เดือนข้างหน้านะครับ
    เหมือนว่าถึงยังไม่ดีขึ้นทันตาเห็น แต่ก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะแย่ลง คิดว่า 6 เดือนข้างหน้าคงหลุดใบเหลืองแน่นอน
    ********************************************


    คณะที่ปรึกษา IUU Fishing ชื่มชมไทยในการแก้ปัญหาประมง พร้อมแนะนำขยายการแก้ปัญหาแรงงานไปทุกกลุ่มไม่ให้ใช้แรงงานทาส

    ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่า จากการพูดคุยกับคณะทูตอียู ประจำประเทศไทย พร้อมคณะที่ปรึกษา IUU Fishing ยังไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะปลดล็อคใบเหลืองให้กับไทยหรือไม่ แต่ขอให้ไทยทำให้ดีที่สุด พร้อมแนะนำว่าไทยควรแสดงท่าทีให้ชัดเจนว่าไทยไม่สนับสนุนเรือประมงนอกน่านน้ำที่ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายสากล และยังขอให้ไทยคุ้มครองการทำประมงชายฝั่งในระยะ 12 ไมล์ทะเล รวมถึงต่อต้านการค้ามนุษย์

    นอกจากนี้ คณะอียูได้แนะนำไทย 3 ประเด็นหลัก คือ 1.ไทยต้องเร่งรัดในการบังคับใช้กฎหมายประมง และ ทุกฝ่ายต้องทำตามกฎหมาย 2.หากพบเรือ โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์ใดมาจากการทำประมงผิดกฎหมาย จะต้องเข้าแซงชั่นทันที 3.ไทยต้องร่วมมือกับทุกฝ่ายและส่งสัญญาณไปยังนานาชาติให้เห็นความจริงใจและตั้งใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา

    ขั้นตอนหลังจากนี้ผู้แทนสหภาพยุโรป จะนำข้อมูลกลับไปวิเคราะห์ เพื่อว่าจะประเมินให้ไทยอยู่ในระดับใด คาดว่าจะมีการประกาศผลภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้ง 3 แนวทาง คือ 1.ยกเลิกการให้ใบเหลือง 2.คงการให้ใบเหลืองเพื่อให้เวลาแก้ปัญหาอีก 6 เดือน และ 3.ใบแดงสินค้าประมงของไทย
    *****************************************


    มาตามนัด ที่กระทรวงกลาโหม ที่คณะผู้แทนสหภาพยุโรป หรืออียู เข้าพบพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวกลาโหม เมื่อช่วง 11.30 น.ที่ผ่านมา เพื่อติดตามการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายของไทย

    ผู้แทนอียูไม่ได้บอกว่าจะให้เราหลุดจากใบเหลืองเมื่อไหร่ เพียงแต่บอกให้เราพยายามทำต่อไป

    พล.อ.ประวิตร ให้สัมภาษณ์ว่าผู้แทนอียูบอกว่าเวลาปีกว่า เราทำมาดีขึ้นมาก แต่ต้องทำให้เป็นไปตามหลักสากลและยั่งยืนต่อไปในอนาคต แต่ผู้แทนอียูไม่ได้ บอกเวลาว่าจะให้เราหลุดจากใบเหลืองเมื่อไหร่ เพียงแต่บอกให้เราพยายามทำต่อไป จะโดนใบแดง ใบเหลือง หรือใบเขียวก็ต้องทำแบบนี้อยู่แล้ว อย่าไปกังวล เราจะทำให้ดีที่สุด ทางอียูต้องการเห็นการบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ทำงานจริงจัง

    พล.ต.คงชีพ ตันตระวานิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่าอียูแจ้งว่าการประกาศผลการตรวจสอบขึ้นอยู่กับประเทศอื่นๆ ด้วย และเขาอยากให้เราส่งสัญญาณว่าเรามีความตั้งใจและจริงใจในการทำเรื่องนี้ให้นานาชาติได้รับรู้

    พล.ต.คงชีพ ยังกล่าวอีกว่า ผู้แทนอียู หวังว่า 6 เดือนคงมีความชัดเจนและความคืบหน้า ทั้งนี้เราได้เน้นย้ำว่า สิ่งที่เราตั้งใจทำอยู่ขณะนี้คือการแก้ปัญหาที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน โดยเราทำ3 เรื่องหลัก 1.ยึดถือกฎหมายสากล 2.ทำตามคำแนะนำของคณะอียู 3. ทำตามกฎหมายใหม่ของไทยที่ออกบังคับใช้ ที่เราต้องสร้างความรับรู้เข้าใจทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างจริงจัง

    ผู้แทนอียูหวังว่า 6 เดือนคงมีความชัดเจนและความคืบหน้า สุดท้ายเราได้ขอเวลาเขาและขอให้เขาเชื่อมั่นว่า....เราตั้งใจสู่การแก้ไขปัญหาที่ยังยืน

    สุดท้ายเราได้ขอเวลาเขาและขอให้เขาเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เราพยายามทำอยู่ในขณะนี้ เราตั้งใจสู่การแก้ไขปัญหาที่ยังยืน ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
     
    Anduril likes this.
  14. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ลุงตู่แกพูดจริงทำจริงนะ
    *******************************************


    ยังคงมีความพยายามของเจ้าหน้าที่ไทยในการดำเนินคดีกับผู้ประกอบการประมงผิดกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงาน และไม่มีการควบคุม หรือ ไอยูยู ฟิชชิ่ง ของสหภาพยุโรป

    เมื่อวานนี้ พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แถลงผลการจับกุม นายทนงศักดิ์ รักษาวงศ์ และ นายสุวิทย์ เทพประสิทธิ์ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา เลขที่ 125/2559 และ 127/2559 ลงวันที่ 21 มกราคม 2559 ในข้อหา "นำเรือประมงออกไปทำการประมงในน่านน้ำของรัฐต่างประเทศหรือในทะเลหลวง // นำเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็นออกไปในน่านน้ำของต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย หรือ ศปมผ." อันเป็นความผิดตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    พลตำรวจเอก ศรีวราห์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่ามีเรือประมงที่ใบอนุญาตทำประมงหมดอายุทั้งหมด 6 ลำ คือ 1.เรือมุกอันดามัน 028 ขนาด 372 ตันกรอส 2.เรือมุกอันดามัน 018 ขนาด 434 ตันกร๊อส โดยทั้งสองลำเป็นของ บริษัท สยาม ทูน่า ฟิชเชอรี่ จำกัด มี นายทนงศักดิ์ รักษาวงศ์ เป็นกรรมการผู้จัดการ

    และ 6.เรือเซริบู ขนาด 347 ตันกรอส ของ บริษัท ทรี วันเดอร์ฟูล จำกัด มี นายไตรรงค์ นิ่มอนุสรณ์สุข เป็นกรรมการผู้จัดการ

    พลตำรวจเอก ศรีวราห์ บอกว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่พบความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบ หากพบการกระทำผิดเพิ่มเติมก็จะแจ้งข้อหาดำเนินคดีต่อไป

    นายสุวิทย์ หนึ่งในเจ้าของเรือที่กระทำผิดกฎหมาย กล่าวว่า ยินดีให้ความร่วมมือ และเพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจ ตนจะเร่งให้ลูกน้องนำเรือทั้ง 2 ลำเข้าฝั่ง เพื่อให้ตำรวจตรวจสอบ คาดว่าไม่เกินวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ ในส่วนของ นายไตรรงค์นั้น ขณะนี้มีธุระอยู่ต่างจังหวัด ล่าสุดได้ติดต่อผ่านตนว่าจะเข้ามอบตัวกับตำรวจในวันนี้
     
  15. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ผลก็เป็นตามที่คาดไว้ว่า ให้เวลาปรับปรุงตัวไปอีก 6 เดือน แล้วค่อยประเมินอีกที


    *********************************************
    แต่ที่ต้องลุ้นอีก คือ การตรวจ Tier 3 ของสหรัฐ เริ่มมาประเมินผลอีกแล้ว



    สมุทรสาคร 28 ม.ค. – ผู้แทนจากสหรัฐอเมริกาลงพื้นที่ จ.สมุทรสาคร เพื่อตรวจสอบการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในภาคธุรกิจประมง ภาพรวมพอใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ไทย ติดตามจากรายงาน

    การประเมินผลการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย อียูยังคงสถานะใบเหลืองให้ไทย และให้เวลา 6 เดือน ปรับปรุงการปฏิบัติงาน ผลที่ออกมาถือว่าน่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่อีกหนึ่งปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข คือ สถานการณ์ค้ามนุษย์ที่ไทยถูกปรับอันดับจากเทียร์ 2 เป็นเทียร์ 3 ที่ผ่านมาไทยดำเนินการไปแล้วหลายด้าน อาทิ ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในอุตสาหกรรมประมง จัดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว

    ล่าสุดผู้แทนจากสำนักงานเพื่อการตรวจสอบและต่อสู้กับการค้ามนุษย์สหรัฐอเมริกา ลงพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง รวมถึงสะพานปลา ซึ่งปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย มีความเชื่อมโยงกันในมิติของการใช้แรงงานทั้งไทยและต่างด้าว

    สิ่งที่สหรัฐกังวล ก่อนประเมิน TIP Report เน้นที่การบังคับใช้แรงงานโดยผิดกฎหมาย แต่จากการลงพื้นที่ เจ้าหน้าที่สหรัฐให้ข้อมูลกับทีมข่าวว่าค่อนข้างพอใจ และเห็นว่าสถานการณ์ไม่เป็นอย่างที่คิด

    ด้านเจ้าหน้าที่ไทยระบุว่า หลังรัฐเข้มงวด เอาผิด ปราบปรามการใช้แรงงานผิดกฎหมายจริงจัง ส่งผลสภาพการจ้างงานเปลี่ยนไป เพราะตลาดขาดแคลนแรงงาน โดยแรงงานมีสิทธิต่อรองมากขึ้น พร้อมย้ำสหรัฐพอใจ

    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สหรัฐยังเดินหน้าตรวจสอบอีกหลายพื้นที่ แต่ไม่ระบุจุดชัดเจน โดยบางพื้นที่จะไม่มีเจ้าหน้าที่ไทยเดินทางด้วย หวังเห็นภาพจริง แม้ไทยยืนยันได้ขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ปัญหาค้ามนุษย์ตามมาตรฐานสากล ผลงานหลายด้านเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศาลแผนกคดีค้ามนุษย์โดยตรง ซึ่งมีการพิจารณาคดีค้ามนุษย์โรฮิงญาอยู่ แต่ที่สุดไทยจะได้ปรับอันดับขึ้นจากเทียร์ 3 หรือไม่ ยังต้องรอการประกาศรายงานประจำปีจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐปีนี้ ซึ่งจะเป็นบทพิสูจน์ผลงานของไทย. – สำนักข่าวไทย
     
    Anduril likes this.
  16. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    เอาจริงเอาจังดีนะ



    จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานบนเรือประมง ทำให้นายหน้ายังคงหลอกลวงและบังคับใช้แรงงานลงเรือประมงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเร่งแก้ไขปัญหานี้ เพื่อให้ไทยหลุดจากเทียร์ 3 ไปติดตามรายงานนี้จากผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี แมรี่ แบรดลี่
     
    Anduril likes this.
  17. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    เริ่มบุกทลายขบวนการใหญ่ๆ กันแล้ว




    ข่าว 7 สี - ตำรวจเร่งล่าตัว "โกแป๊ะ" ตัวการใหญ่ขบวนการค้ามนุษย์และกักขังแรงงานชาวเมียนบังคับทำประมง เชื่อว่าอยู่ระหว่างหลบหนีกลางทะเล

    ความคืบหน้าการติดตามจับกุมตัวนายโส วิน อัง โซ (Soe Win Aung Zo) หรือ โกแป๊ะ หัวหน้าขบวนการค้ามนุษย์และกักขังแรงงานชาวเมียนมาใน จังหวัดภูเก็ต หลังตำรวจบุกช่วยเหลือแรงงานเมียนมาออกมาได้ 19 คน

    พลตำรวจตรีกรไชย คล้ายคลึง ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ หรือ ปคม. ระบุว่า จากการสืบสวนหาข่าว ทราบว่า "โกแป๊ะ" ได้หลบหนีขึ้นเรือออกทะเลไปแล้ว คาดว่าน่าจะออกจากน่านน้ำของไทย เข้าไปยังน่านน้ำของประเทศเมียนมา จึงได้ประสานข้อมูลกับตำรวจ ปคม.ของประเทศเมียนมาเพื่อติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี ทั้งนี้จากข้อมูลยังมีผู้ต้องหาที่ร่วมขบวนการที่ยังหลบหนีอีกกว่า 10 คน และยังมีแรงงานชาวเมียนมาอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกกักขังในลักษณะเดียวกันอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนและพื้นที่ใกล้เคียงไทยกับเมียนมา อยู่ระหว่างการเร่งสืบหาและเข้าช่วยเหลือ

    นอกจากนี้ตำรวจยังเปิดเผยอีกว่า ตามที่เมื่อวานนี้ได้มีการนำเสนอภาพของเรือประมงชื่อเรือ ส.โชคสมุทร 11 และเรือ ส.โชคสมุทร 1 ในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น ขอยืนยันว่าเรือดังกล่าวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีแต่อย่างใด ทั้งนี้ได้ประสานและส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงรายละเอียดในส่วนนี้แล้ว

    ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ไทยกำลังเร่งปราบปรามการประมงผิดกฎหมายหลังสหภาพยุโรปให้เวลาไทยในการแก้ไขปัญหาภายใน 6 เดือนและเพิ่งต่ออายุอีก 6 เดือน ในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนผ่านการทำประมงผิดกฎหมาย
     
  18. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU ของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง หรือ ศูนย์ไปโป้ (PIPO) ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เพื่อติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ และระบบตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ รวมทั้งได้ลงเรือประมงตรวจการณ์ ออกสุ่มตรวจการทำประมง ด้วย เบื้องต้น ผู้ประกอบการเรือ ก็ให้ความร่วมมือในการแจ้งเข้าและออก และไม่พบผู้กระทำความผิด

    หลังจากมีการบังคับใช้กฎหมาย IUU มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ที่จังหวัดตรัง มีปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ ลดลงจากปี 2557 แต่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งปลาปากคม ปลาตาหวาน และหมึกต่างๆ

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าที่ผ่านมา การบังคับใช้กฎหมาย IUU ของไทยได้ผลดี และน่าพอใจ เพราะทุกฝ่ายให้ความร่วมมืออย่างดี
     
  19. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
  20. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    จากรณีพบเรือประมง 2 ลำ คือ เรือ YU LONG 6 และเรือ YU LONG 125 ซึ่งเป็นเรือประมงเบ็ดราวทูน่าและประมงนอกน่านน้ำที่เดินทางกลับจากการทำ ประมงในมหาสมุทรอินเดียโดยมีพฤติกรรมในการทำการประมงผิดกฎหมาย IUU เบื้องต้นทำผิดกฎหมาย พรก.ประมง พ.ศ.2558 และขัดคำสั่ง คสช.ที่ 10/2558 คือ การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดรายงานและไร้การควบคุม ทำให้ทั้ง 2 ลำ ถูกเพิกถูกเพิกถอนทะเบียนเรือกองทัพเรือจึงเร่งติดตามให้เดินทางกลับเข้ามา ดำเนินการตามกฎหมายที่จังหวัดภูเก็ต

    โดย 21.00 น.ของคืนวันที่ 13 ก.พ. สามารถควบคุมเรือทั้งสองลำได้และให้เดินทางมายังท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ตามคำสั่งการของผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ในฐานะผู้อำนวยการ3/ศูนย์ประสานการปฎิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทาง ทะเลเขต 3 (ศรชล.เขต3) พลเรือโทสายันต์ ประสงค์สำเร็จ ที่สั่งการให้เรือหลวงแกลง และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง991 เดินทางไปควบคุมเรือทั้งสองลำดังกล่าว เมื่อเข้ามาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย สนับสนุนด้วยการลาดตระเวนทางอากาศด้วยเครื่องบินลาดตระเวนแบบที่ 1 (DO-228)จากหมวดบินเฉพาะกิจ กองเรือปฏิบัติการกองทัพเรือภาคที่ 3

    จากนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมประมง กรมเจ้าท่า ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ตรวจคนเข้าเมือง แรงงานจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และศูนย์การควบคุมแจ้งเข้าออกเรือประมงPIPO)ภูเก็ต จะได้ดำเนินการตรวจสอบ หากพบการกระทำความผิดกฎหมายที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ ก็จะดำเนินตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
     
    Anduril likes this.
  21. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ในระหว่างที่รอฟังการประเมินผลการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายจากกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูในเดือนพฤษภาคมนี้ ศปมผ.ยังคงเดินหน้าจัดทำระบบต้นแบบตรวจสอบย้อนกลับ ตามที่อียูเสนอแนะให้เร่งดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

    ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย หรือ ศปมผ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตรวจเยี่ยมการทำงาน ของศูนย์ควบคุมการแจ้ง เข้า-ออก เรือประมง หรือ PIPO จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน การพัฒนาระบบการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ และตรวจเยี่ยมโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อนำไปสู่การจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับที่เชื่อมโยงครบวงจร

    นาวาเอก เบญจมาพร วงศ์นครสว่าง เลขานุการส่วนประชาสัมพันธ์ ศปมผ. เปิดเผยว่า หลังจากที่สหภาพยุโรป หรือ อียู เดินทางมาติดตามผลการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของไทยเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้เสนอแนะให้ไทยเร่งดำเนินการเพิ่มเติม ในระบบตรวจสอบย้อนกลับ หรือ Traceability ซึ่งขณะนี้ ศปมผ. อยู่ระหว่างจัดทำระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสัตว์น้ำนำเข้า Processing Statement and PSM Linked System หรือ PPS ซึ่งคาดว่าจะสามารถทดสอบระบบได้ในเดือนสิงหาคมนี้ และจะใช้งานได้เต็มรูปแบบภายในสิ้นปี

    นอกจากนี้ ยังได้ขยายเวลาให้ลงทะเบียนเพิ่มเติมทั้งแรงงานประมงทั้งไทยและต่างด้าว ให้เข้าสู่ระบบและถูกกฎหมาย ส่วนในระยะยาวจะพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน

    แม้ว่าจนถึงขณะนี้จะยังไม่มีผลตอบกลับมาจากอียู แต่เชื่อว่า การทำงานของ ศปมผ.ทั้งการจัดระเบียบเรือประมง การออกใบอนุญาต รวมไปถึงการออกกฎหมาย ที่มีความคืบหน้าไปมาก จะทำให้อียูเห็นถึงความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาประมง

    ขณะที่สงขลา เมื่อเช้าที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านหลายร้อยคน ได้ยื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรม เร่งรัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เร่งรัดดำเนินการทำการประมงโดยผิดกฏหมาย หากยังปล่อยปละละเลย ก็จะรวบรวมหลักฐานฟ้องหน่วยงาน ฐานละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ และยังปล่อยให้ประมงพื้นบ้านบางส่วนหาผลประโยชน์ และไม่เป็นธรรมต่อประมงพื้นบ้านที่ยินยอมรื้อถอนโพงพางและใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องตามกฏหมาย



    นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า เจ้าของเรือประมงที่ออกทำประมง จะต้องขอใบอนุญาตการทำประมงพาณิชย์ ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 โดยจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตที่สำนักงานประมงพื้นที่ หรือ ที่ว่าการอำเภอ ที่มีอาณาเขตติดทะเล ระหว่างวันที่ 1-15 มีนาคมนี้ ซึ่งผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน จะสามารถออกจับปลาได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้เป็นต้นไป หากฝ่าฝืน มีโทษสูงสุดอยู่ที่ 30 ล้านบาท รวมทั้งอาจยึดเรือประมง และถอนใบอนุญาตทำประมง

    ส่วนการกำหนดปริมาณการจับสัตว์น้ำปีนี้ไว้ที่ 1 ล้าน 4 แสน 7 หมื่นตัน ฝั่งอ่าวไทย 1 ล้าน 1 แสน 18,704 ตัน แบ่งเป็นสัตว์น้ำหน้าดิน 7 แสน 15,294 ตัน ปลาผิวน้ำ 2 แสน 30,803 ตัน และปลากะตัก 1 แสน 72,607 ตัน ฝั่งอันดามัน 3 แสน 56,273 ตัน แบ่งเป็นสัตว์น้ำหน้าดิน 2 แสน 16,467 ตัน ปลาผิวน้ำ 1 แสน 10,156 ตัน และปลากะตัก 29,650 ตัน

    ซึ่งในการกำหนดปริมาณของเรือแต่ละลำ จะกำหนดเป็นวัน โดยคำนวณจากความสามารถในการจับสัตว์น้ำ ตามประเภทเครื่องมือที่ใช้ เช่น เรืออวนลากเดี่ยว สามารถจับปลาได้ 250 วันต่อปี
     
    Last edited: 20 Feb 2016
  22. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    อันนี้ของฝั่งอเมริกา



    ก.แรงงานสรุปข้อมูลแก้ปัญหาค้ามนุษย์ด้านแรงงานส่งไปยัง ก.พัฒนาสังคมฯ เพื่อจัดทำเป็นทริปรีพอร์ตของไทยส่งให้ ก.ต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ภายในเดือน มี.ค.นี้

    ปลัดกระทรวงแรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ บอกว่ากระทรวงแรงงานได้รวบรวมข้อมูลสถานการณ์และการดำเนินงานแก้ปัญหาค้ามนุษย์ด้านแรงงานส่งไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แล้ว เพื่อนำไปจัดทำเป็นรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทริปรีพอร์ต) ของประเทศไทยและจัดแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อส่งให้กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาภายในเดือนมีนาคมนี้

    โดยกระทรวงแรงงานได้สรุปผลดำเนินงานที่ผ่านมา 13 ประเด็น เพื่อปรับปรุงข้อมูลความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาจากที่เคยเสนอต่อสหรัฐอเมริกาไปเมื่อปลายปีที่แล้ว เช่น การจัดทำร่างกฎหมายเพื่อควบคุมการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเน้นดูแลบริษัทจัดหางานและกำหนดบทลงโทษ เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

    นอกจากนี้ได้เสนอผลการตรวจแรงงานสถานประกอบการต่างๆ รวมถึงผลการตรวจแรงงานบนเรือประมงด้วย ทั้งนี้ มองว่าการทำงานของไทยมีความก้าวหน้าไปในทางที่ดี หลังจากที่มีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ อย่างเป็นระบบ
     
    Anduril likes this.
  23. คนกลาง

    คนกลาง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    383
  24. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :D งบศึกษาธิการให้ไปเท่าไหร่ คนแบบด้านบน ^ ก็ไม่ฉลาดขึ้นสักที น่าสงสารจริงๆ...
     
    Anduril likes this.
  25. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พล.ร.ท.จุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือ และโฆษกศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เปิดเผยว่าการแก้ปัญหามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยในสัปดาห์หน้าจะเริ่มมีการจัดทำสมุดประจำเรือประมง หรือการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของเรือที่กำลังจะหมดอายุ ในวันที่ 31 มี.ค. ให้เรียบร้อยภายในวันที่ 1-15 ม.ค.นี้ ตามกฎหมายใหม่ที่ได้ประกาศใช้ และจะเป็นการขึ้นทะเบียนใหม่ทั้งระบบในทุก ๆ ด้าน เพื่อยกระดับการทำประมงไทยเป็นสากลมากขึ้น

    โดยทุกขั้นตอนในการแก้ปัญหาของ ศปมผ. ได้มีการชี้แจงต่อสหภาพยุโรป ผ่านกระทรวงต่างประเทศ และสถานทูตมาโดยตลอด เพื่อให้เข้าใจถึงแนวทางการทำงาน ส่วนการประเมินในวงรอบครั้งต่อไป จะมีขึ้นในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. นี้ มั่นใจว่า มีความพร้อมให้ตรวจสอบตลอดเวลา และพร้อมชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติ ตามข้อแนะนำได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการ เพื่อยกระดับการประมงไทยให้ผ่านมาตรฐานสากล และเพื่อการทำประมงที่ยั่งยืน



     
    Last edited: 9 Mar 2016
  26. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนขยายความร่วมมือด้านการประมงกับ 7 ประเทศ ประกอบด้วย สาธารณรัฐเกาหลี สเปน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิจิ จีน และไต้หวัน ล่าสุดกรมประมงของไทยได้ประชุมหารือร่วมกับกรมประมงของไต้หวัน ในการร่วมมือกันต่อต้านการประมง IUU เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ มีการทำประมงร่วมกัน โดยไต้หวันเป็นผู้จับปลารายใหญ่ ซึ่งไทยต้องนำเข้าปลาทูน่าจากไต้หวัน ถึงปีละประมาณ 150,000 ตัน เพื่อเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นทูน่ากระป๋อง ส่งออกไปขายยังยุโรปและอเมริกา

    เบื้องต้น มีข้อตกลงที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำประมงของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับระหว่างกันได้ โดยจะตั้งคณะทำงานระดับอธิบดีขึ้นมาทำงาน ทั้งนี้ได้ร่างข้อตกลง เตรียมลงนามพัฒนาความร่วมมือและแก้ไขปัญหาร่วมกันในเร็วๆ นี้
     
  27. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    ขันน็อตหน่วยงานราชการให้ตึงขึ้นใครปล่อยปะละเลยต้องมีการคาดโทษหรือลงโทษ
    ที่บ้านเมืองมีปัญหาวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการทำงานของระบบราชการที่เช้าชามเย็นชามขั้นตอนเยอะพวกมึงพวกกูมือใครยาวสาวได้สาวเอากินใต้โต๊ะบ้าอำนาจบ้ายศ
     
  28. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    1458209385-4f46ff6b96f9fc4cdd9dcc3df305fcf8.jpg

    อียู-ไอแอลโอ ชมไทยแก้ปัญหา IUU ตามมาตรฐานสากล
    2016/03/17 5:11 PM

    ก.แรงงาน 17 มี.ค.-สหภาพยุโรปและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ชื่นชมไทยแสดงเจตนารมณ์ แก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย( IUU) ตามมาตรฐานสากล คาด 1 ปีเห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น

    มิสเตอร์ เคซุส มิเกล ซันซ์ (Jesús Miguel SANZ) เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวภายหลังลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อต่อต้านรูปแบบการทำงานที่ไม่ เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล(Combatting Unacceptable Forms of Work in the Thai Fishing and Seafood Industry) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า รัฐบาลไทยได้แสดงให้เห็นเจตจำนงและความตั้งใจ ในการแก้ไขปัญหาการประมงที่ผิดกฎหมาย หรือ IUU และขจัดรูปแบบการทำงานที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งมีความชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงในกรอบการกำกับดูแลแผนการทำงาน โดยที่ผ่านมา อียูกับรัฐบาลไทยมีการทำงานร่วมกันเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ดังนั้น โครงการนี้ที่ได้นำเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมาทำงานร่วมกัน และมีกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานประสานทุกฝ่าย ตั้งแต่ภาคอุตสาหกรรม คนงาน นายจ้าง และทุกหน่วยงานมาร่วมกันในการแก้ไขปัญหา ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาท้าทายทั่วโลก ไม่ใช่เพียงเรื่องตัวเลข แต่เป็นเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคนงานทุกคนที่มีสิทธิในงานที่มีคุณค่า เพราะห่วงโซ่อุปทานเชื่อมโยงกันทั่วโลก ผู้บริโภคไม่ว่าอยู่ที่ไหนจะให้ความสำคัญกับที่มาของสินค้า

    มิสเตอร์ เมาริซิโอ บุซซี (Mr. Maurizio Bussi) รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศประจำประเทศไทย กัมพูชาและลาว กล่าวว่า วันนี้เป็นการประกาศที่จะแปรรูปคำพูดเป็นการกระทำในทางปฏิบัติตามมาตรฐานแรง งานสากลเป็นการทำงานแบบบูรณาการ โดยมีกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพหลัก ที่มีความพร้อมในเรื่องเครื่องมือในการปฏิบัติการต่างๆ คาดว่านับจากวันนี้ไปอีก 1 ปี จะเห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

    http://www.tnamcot.com/content/426554



    กรมประมงผ่อนผันให้ผู้ประกอบการเรือประมง ไม่ต้องนำเรือกลับเข้าฝั่งภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ เพื่อขอรับใบอนุญาตทำการประมง แต่ย้ำว่า เรือทุกลำต้องมีใบอนุญาตการทำประมงแสดงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อมีการเรียกตรวจ โดยเจ้าหน้าที่จะเริ่มตรวจสอบใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้



    ศปมผ. บูรณาการ แก้ปัญหาการค้ามนุษย์และคุ้มครองแรงงานประมงของไทย



     
    Last edited: 30 Mar 2016
    Anduril likes this.
  29. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    31 มี.ค.l ข่าว 09.00 น.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ย้ำให้ผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์กว่า 1 หมื่นลำ ที่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำประมงไว้ มาติดต่อขอรับใบอนุญาตก่อนวันที่ 1 เมษายน



    ข่าว 7 สี - เจ้าหน้าที่สนธิกำลังกว่า 200 นาย เข้ารื้อถอนโพงพางที่กีดขวางร่องน้ำในทะเลสาบสงขลา ท่ามกลางการคัดค้านของชาวบ้าน แต่ไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น

    เจ้าหน้าที่กว่า 200 นาย ได้นำเรือตรวจการณ์เข้ารื้อถอนโพงพางที่กีดขวางร่องน้ำการเดินเรือในทะเลสาบสงขลา จำนวน 150 ช่อง ตั้งแต่หัวพญานาคพ่นน้ำ ถึงท่าเทียบเรือประมงใหม่

    แต่มีชาวบ้านที่เป็นเจ้าของโพงพาง ไม่พอใจขับเรือเข้าไปเฝ้าดูและอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมาจากตำบลหัวเขาแดง อำเภอสิงหนคร นำเรือหางยาวเกือบ 100 ลำ ไปปิดร่องน้ำบริเวณท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา

    เจ้าหน้าที่ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์บินลาดตระเวน เพื่อคอยสังเกตุการณ์และคุ้มกันชุดที่ทำงานทางน้ำ จนทำให้รื้อถอนโพงพางได้ โดยไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งชาวบ้านบอกว่า อยากให้เจ้าหน้าที่เห็นใจ เพราะเมื่อถูกรื้อโพงพางจะทำให้ขาดรายได้ เนื่องจากต้องส่งลูกเรียนหนังสือ และที่สำคัญได้ลงทุนไปมากแล้ว

    สำหรับการรื้อถอนโพงพางในทะเลสาบสงขลา เป็นการจัดระเบียบเครื่องมือประมง เพื่อขุดลอกร่องน้ำคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ทะเลสาบสงขลา กลับคืนมา แต่มีบางช่วงที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะถูกขัดขวางจากชาวบ้าน



    1 เม.ย.|ข่าว 19.00 น. นายกรัฐมนตรี ย้ำถึงการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นตามกรอบโรดแมป พร้อมปฏิเสธถึงการสืบทอดอำนาจ ทั้งด้วยตัวเอง หรือ ผ่านนอมินี



    เรือประมงพาณิชย์หลายลำกำลังเจอปัญหาอุปกรณ์ติดตามตำแหน่งเรือประมงสัญญาณขาดหายขณะออกทำประมงในน่านน้ำ ทำให้เรือถูกแจ้งว่าเข้าข่ายการทำประมงผิดกฎหมายบ่อยครั้ง จึงเกิดข้อสงสัยจากเจ้าของเรือ จึงมีการเตรียมถกปมการแก้ปัญหาประมงทั้งระบบจากทุกฝ่ายในต้นเดือนเมษายนนี้ ติดตามกับผู้สื่อข่าวเนชั่น นิธิศ นาเจริญ



    1 เม.ย.l ข่าว 12.00 น.รายงานสดจาก จ.สมุทรสาคร วันแรกของการเริ่มการทำประมงรอบใหม่ กำหนดให้เรือประมง ต้องมีใบอนุญาตทำประมงพาณิชย์ และเอกสารประจำเรือ โดยผู้ประกอบการเรือประมงจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีใบอนุญาต ได้ออกหาปลาตามปกติ
     
    Last edited: 2 Apr 2016
  30. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พลเรือโท จุมพล ลุมพิกานนท์ โฆษกศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย หรือ ศปมผ.เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับตัวแทนชาวประมงพื้นบ้าน ว่าได้กำหนดวันหยุดทำประมงใหม่ตามที่ชาวประมงร้องขอมา โดยยกเลิกประกาศเดิม ที่ให้หยุดทำประมง แบบ 5 วัน และ 8 วันตามปฏิทินจันทรคติ

    เบื้องต้นได้กำหนดวันทำประมงตามประเภทของเครื่องมือ มีคณะกรรมการประมงระดับจังหวัด เป็นผู้กำหนดวันและเวลาทำประมงให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งต้องไม่กระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่ โดย ศปมผ.จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมั่นใจว่ารัฐบาลแก้ปัญหาได้ตรงจุดแล้ว และพร้อมรับตัวแทนอียูมาประเมินผล

    ส่วนปัญหาเรือประมงที่ไม่แจ้งเข้า-ออกตามระยะเวลาที่กำหนดนั้น ก็กำลังเร่งสอบสวนว่าเป็นเพราะสาเหตุใด โดยได้ตรวจสอบและคืนสิทธิ์ให้ชาวประมงแล้ว 157 ลำ และอยู่ระหว่างการประเมินอีก 500 ลำ

    ด้านกรมประมง ได้เชิญชวนเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งทะเล ที่จะขอสินเชื่อกับ ธ.ก.ส.ยื่นรายชื่อให้ตรวจสอบคุณสมบัติในระหว่างวันที่ 7-20 เมษายนนี้ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงระบบการเลี้ยงกุ้งทะเล และแก้ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน โดยภาครัฐจะชดเชยดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี



    ตลาดกีบหมู ย่านคลองสามวา เป็นแหล่งรวมของแรงงานก่อสร้าง ทุกๆ เช้าก่อนแสงแรกของวันจะมาถึง กลุ่มแรงงานจะมารอขึ้นรถกระบะที่เทียวมารับไปทำงานเป็นรายวัน

    ปฏิบัติการกวาดล้างเริ่มตั้งแต่เช้ามืด เข้าพื้นที่ที่แรงงานจับกลุ่มรอนายจ้าง เมื่อถึงที่หมายเจ้าหน้าที่แสดงตัวขอตรวจเอกสารสำคัญ แยกแรงงานไทยออก ที่สุดค้นเจอแรงงานเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมาย

    นายซอนกีดา ชาวกัมพูชา เปิดใจกับทีมข่าว แอบเข้ามาโดยรถตู้ของนายหน้าชาวกัมพูชา ผ่านด่านจังหวัดสระแก้ว เมื่อ 2 เดือนที่แล้ว เสียเงินค่าหางาน 2,000 บาท แล้วพาไปส่งที่บริษัทรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดชลบุรี
    ทยอยขนคนเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ อีกที เข้าพักในห้องเช่าใกล้ตลาดกีบหมู รับจ้างเป็นช่างปูกระเบื้อง ถือเป็นแรงงานฝีมือ ได้ค่าจ้างรายวันกว่า 800 บาท หวังเก็บเงินกลับบ้าน และยอมรับว่าเสียใจที่ถูกจับเสียก่อน

    กระทรวงแรงงาน คาดย่านกีบหมู มีชุมชนแรงงานเพื่อนบ้านไม่น้อยกว่า 10,000 คน เตรียมขยายผลตรวจค้นห้องเช่า คาดโทษใครให้ความร่วมมือเป็นธุระหาที่อยู่อาศัย หรือเป็นนายหน้า มีโทษถึงจำคุก

    โหมโรงบุกจับไปแล้ว จากนี้ไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะปูพรมกวาดล้างบุกจับเอาผิดกับขบวนการขนแรงงานเถื่อนเข้ามาทำงานผิดกฎหมายและจะไม่มีพื้นที่ใดใช้เป็นที่หลบซ่อนของแรงงานผิดกฎหมายได้อีกแล้ว



    กรมการจัดหางานจัดระเบียบแรงงานก่อสร้างถนนกีบหมู เขตคลองสามวา ดันเป็นแหล่งจ้างงานช่างก่อสร้างของ กทม. หลังลงพื้นที่พบแรงงานก่อสร้างอาศัยกว่า 2 พันคน ไม่มีใบอนุญาตต่างด้าว 6 คน เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ดูแลให้ความรู้เรื่องสิทธิ

    อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน นายอารักษ์ พรหมณี บอกว่า จากการลงพื้นที่ป้องปรามการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ที่ถนนกีบหมู เขตคลองสามวา กทม. พบมีแรงงานด้านก่อสร้างทั้งไทย และต่างด้าวกว่า 2,000 คน โดยรับเหมารายวันค่าจ้างเฉลี่ย 600-800บาท และมีแรงงานต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงาน 6 คน จึงส่งตัวให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนี้มีแนวคิดจัดระเบียบถนนกีบหมู ให้เป็นแหล่งจ้างงานช่างก่อสร้างของกทม. โดยจะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปดูแลให้ความรู้เรื่องสิทธิกับแรงงาน ตั้งหน่วยดูแลการจ้างงานร่วมกับเขตคลองสามวา เพื่อให้เป็นตัวกลางระหว่างแรงงานกับผู้รับเหมา และให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครอง



    หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งที่ 17/2559 เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงในสังกัดกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    คำสั่งดังกล่าวได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ระบุว่า เพื่อให้การปฏิรูปการบริหารราชการ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ให้ นายวิมล จันทรโรทัย ตำแหน่ง อธิบดีกรมประมง ขาดจากตำแหน่งหน้าที่ และอัตราเงินเดือนเดิม เพื่อย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ นายอดิศร พร้อมเทพ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมประมง และ ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมประมง แทน

    640_j5jfe5agh58agaag5ij77.jpg

    “บิ๊กป้อม” เผย เหตุ ใช้ “ม.44” เด้ง “อธิบดีกรมประมง” พ้นตำแหน่ง

    "บิ๊กป้อม" เผย เหตุ คสช.ใช้อำนาจ "ม.44" เด้ง "วิมล จันทรโรทัย" อธิบดีกรมประมง พ้นตำแหน่ง เหตุแก้ปัญหาประมงไม่ทัน

    เมื่อวันที่ 20 เม.ย.59 เวลา 15.50 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษถึงกรณีออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2559 ที่ให้นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมงขาดจากตำแหน่งเดิม ว่า ไม่มีอะไร เป็นเพราะแก้ปัญหาประมงไม่ทัน

    http://www.nationtv.tv/main/content/politics/378498678/
     
    Last edited: 21 Apr 2016
    Anduril likes this.
  31. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ประยุทธ์ใช้อำนาจ ม.44 ปลด "อธิบดีกรมประมง"



    รัฐบาลยังคงพยายามแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง หลังจากสหภาพยุโรปให้ได้ใบเหลืองไทยเมื่อเดือนเมษายน 2558 ซึ่งล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 21 เมษายน 2559 ก็ออกประกาศ แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย โดยระบุว่า เพื่อให้การแก้ปัญหามีความเป็นเอกภาพ จึงมีคำสั่งเพิ่มเติม กรณีเป็นเรื่องสำคัญตามนโนยบายของรัฐบาลและมีผลกระทบอย่างกว้างขวางให้ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย( ศปมผ.) นำเรื่องขอความเห็นชอบ คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฎิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ

    นอกจากนี้ หากเป็นเรื่องทั่วไป หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของหลายหน่วยงานของรัฐ ทั้งที่เป็นและมิได้เป็นส่วนราชการ ให้ ศปมผ. เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ ศปมผ. พิจารณาสั่งการ หรือดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

    พล.อ.ประวิตรรับอียูติงไทยแก้ประมงผิดกม.ไม่ตรงเป้า

    ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวยอมรับว่า ไทยถูกตำหนิจากสหภาพยุโรปกรณีปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ไม่ตรงเป้าหมาย ซึ่งก็ได้ชี้แจงให้อียูรับทราบ รวมถึงเรื่องการออกกฎหมายที่มีความล่าช้า ส่วนการปรับย้ายนายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เพราะว่าทำงานล่าช้า และทางพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็เตรียมหาคนใหม่มาแทน

    ด้านพล.ร.ท.จุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศปมผ. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับอียูว่า ทางไทยจะเดินทางไปพบ เพื่อรายงานถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาในเดือนพฤษภาคม หรือทางอียูจะส่งเจ้าหน้าที่มาไทย



    ข่าว 7 สี - ครบ 1 ปีที่สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองด้านประมงไทย มาติดตามกันว่า ถึงวันนี้การแก้ไขปัญหาภาคประมงเดินหน้าถึงไหนแล้ว ติดตามรายงานกับคุณวรัญญู นวกาลัญญู

    วันที่ 21 เมษายน 2558 สหภาพยุโรป หรือ อียู เตือนไทยให้ใบเหลือง ต้องเร่งแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมาย ครบ 1 ปี ทุกหน่วยงานไม่รีรอ เดินหน้าขจัดปัญหา จัดระเบียบเรือให้ได้มาตรฐาน มีอาชญาบัตร มีสมุดบันทึกรายละเอียดจับสัตว์น้ำ ขณะที่แรงงานประมงทุกชีวิต มีหลักประกัน สัญญาจ้าง ค่าจ้าง โอที วันหยุดพร้อม

    ผู้ประกอบการประมง จังหวัดสมุทรสาคร ยอมรับ 1 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงวิกฤติ ต้องหยุดปรับปรุงเรือให้ได้มาตรฐาน แรงงานที่เคยมีก็หายหน้าไป แต่ไม่ว่าวิกฤติแค่ไหนก็พร้อมทำตาม เพื่อไม่ให้ธุรกิจประมงเสียหาย

    ไต้ก๋งเรือบอก การจัดระเบียบแรงงานให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ทำให้คนไทยหันกลับมาลงเรือหาปลามากขึ้น

    ความมั่นคงที่ลูกเรือประมงได้รับ บ่งบอกถึงความสุข แม้ต้องออกเดินเรือหลายวัน แต่ถึงวันหยุดก็ได้พัก พร้อมรับค่าแรงตรงเวลา

    จากนี้ไป ธุรกิจประมงไม่ใช่แค่ออกหาปลาทีละมากๆเท่านั้น ทุกธุรกิจ ทุกชีวิต ต้องตั้งอยู่บนกฎระเบียบที่เป็นสากล เพื่อให้คุณภาพสินค้าทะเลไทยเป็นที่ยอมรับ ทีมข่าวสังคม รายงาน



    ข่าว 7 สี - ศปมผ.เตรียมส่งตัวแทนไทยเจรจาอียูอีกรอบ หลังครบ 1 ปี แจกใบเหลืองประมงไทย

    พลเรือโท จุมพล ลุมพิกานนท์ โฆษกศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย หรือ ศปมผ. เปิดเผยว่า ในเดือนหน้า ไทยจะส่งตัวแทนไปเจรจาและรายงานผลความคืบหน้า การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายและไร้การควบคุม หรือไอยูยู กับตัวแทนสหภาพยุโรป หรืออียูเอง หลังครบ 1 ปี ที่ไทยได้รับใบเหลืองด้านประมง

    ทั้งนี้ ก็ยังมั่นใจการดำเนินงานของไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยรัฐบาลไทยได้วางระบบตามที่อียูแนะนำ และมีการประกาศใช้กฎหมายเป็นพระราชกำหนดประมง 2558 รวมทั้งเร่งรัดอนุบัญญัติออกมาบังคับใช้ให้ครบ 91 ฉบับ ซึ่งขณะนี้ประกาศใช้ไปแล้ว 53 ฉบับ แต่อย่างไรก็ตามยังเป็นห่วงปัญหาแรงงานประมง โดยเฉพาะแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ที่มาใช้แรงงานประมงในบ้านเรา ซึ่งยังอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำบันทึกข้อตกลง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นประเด็นที่อียูให้ความสำคัญ แต่ก็ยังเชื่อว่าอียูจะรับฟังปัญหาที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของไทย

    ด้าน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องที่มีรายงานว่าไทยจะได้ใบแดงจากอียู แต่ยอมรับว่าอียูตำหนิไทยเรื่องทำงานไม่ตรงเป้าหมาย ซึ่งได้ชี้แจงให้อียูทราบแล้วในทุกประเด็น
     
    Alamos และ Anduril ถูกใจ.
  32. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    อ่านข่าวมาว่า นักข่าวสอบถามรองนายกฯประวิตรว่า ท่านฑูตวีรชัย รายงานว่าไทยอาจได้รับใบแดง จริงหรือ ? หมายถึงว่า ท่านฑูตรายงานอย่างนั้นหรือไง แต่ใจผมไม่อยากเชื่อนะ เพราะคิดว่าท่านฑูตน่าจะรายงานตรงกับนายกมากกว่า สงสัยว่าจะเป็นข่าวปล่อยเพื่อดิสเครดิตรัฐบาลและประเทศไทยมากกว่า
     
    Alamos likes this.
  33. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ได้ใบเหลืองต่ออีก 6 เดือนครับ



    คณะกรรมาธิการประมงของสหภาพยุโรป (EU) ลงมติคงใบเหลืองประเทศไทยต่อไปถึงเดือนตุลาคมนี้ เนื่องจากการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายยังไม่ดีพอ ขณะที่รัฐบาลเตรียมสรุปข้อมูลให้ทูตไทยประจำสหประชาชาติไปชี้แจง ที่กรุงบรัสเซลส์ เดือนพ.ค.นี้

    แม้ว่ารัฐบาลได้แก้กฎหมายประมง และ เดินหน้าจัดการปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง แต่ล่าสุด กรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเล แล ะการประมงของสหภาพยุโรป ได้ออกแถลงการณ์ ให้คงใบเหลืองประเทศไทย ต่อไปอีก 6 เดือนจนถึงเดือนตุลาคม โดยให้เหตุผลว่า กฎหมายด้านการประมง ระบบการเฝ้าระวัง และ การควบคุมยังไม่ดีพอ

    สหภาพยุโรป เป็นห่วงวิธีการแก้ปัญหาของไทย และ ยังมีคณะกรรมาธิการชุดอื่นๆ กำลังตรวจสอบปัญหาการค้ามนุษย์ และคุณภาพชีวิตแรงงานภาคประมงของไทยอยู่ จึงไม่สามารถยกเลิกใบเหลืองของไทยได้ และนัดประชุมร่วมกันในเดือนหน้า เพื่อติดตามการแก้ปัญหาของไทยต่อไป

    ด้านกระทรวงการต่างประเทศของไทย ออกแถลงการณ์ชี้แจงทันทีว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาในภาคประมงทั้งระบบ แม้จะยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข แต่การทำงานในรอบปีที่ผ่านมาก็มีความคืบหน้าที่เห็นเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมายประมง การบังคับใช้กฎหมาย และ จัดการกับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย

    ซึ่งไทยจะเร่งติดตามผลการปฏิบัติ และมอบหมายให้ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทย ประจําสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ร่วมกับผู้แทน จากกรมประมง และ ศปมผ.เป็นผู้ไปชี้แจงให้คณะกรรมาธิการประมงทราบ ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งจากข้อมูล พบว่าแผนการทำงาน หรือ แอคชั่นแพลน ที่ EU ส่งมาให้ไทยมีทั้งหมด 65 ข้อ ซึ่งไทยทำเสร็จไปแล้ว 36 ข้อ ถือว่า เกินครึ่ง
     
    Last edited: 22 Apr 2016
    Anduril และ Alamos ถูกใจ.
  34. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ขอบคุณครับ
     
  35. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    หลายหน่วยงานไทยเร่งประสาน จากกรณีอียูหรือสหภาพยุโรปประกาศได้พิจารณาคำประกาศเตือนทางการไทย และให้ใบเหลือง สินค้าประมงไทยต่อไป



    รัฐ-เอกชนวางระบบตรวจสอบสินค้าประมงย้อนกลับ



    27 เม.ย.l ข่าว 12.00 น. ภาคเอกชนยืนยันไทยเร่งแก้ปัญหา IUU อย่างเต็มที่หลังได้ใบเหลือง พร้อมหนุนจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะได้ใบแดงในอนาคต



    มั่นใจแก้ไขประมงถูกทาง ศปมผ.ติดตามความคืบหน้าก่อนรายงานอียู 17 พ.ค.นี้

     
    Last edited: 3 May 2016
  36. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482




    กรมประมงเร่งจัดระเบียบประมง เพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งริมชายฝั่งทะเลและแหล่งน้ำจืด โดยภายในวันที่ 11 พฤษภาคม ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทุกชนิดต้องยื่นขอใบอนุญาต หากฝ่าฝืนจะถูกปรับสูงสุด 1 แสนบาท

    เหตุที่ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทุกชนิดต้องไปยื่นขอใบอนุญาติตามวันเวลาที่ กำหนด เป็นผลมาจากพระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558 ได้กำหนดให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งจริงแล้วกฎหมายได้กำหนดให้มายื่นขออนุญาตตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่ขณะนี้เหลือเวลาอีกเพียง 10 วันนายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งในแม่น้ำ ชายฝั่งทะเลและทะเลสาบจำนวนมาก เกินความสามารถของแหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย ประชาชนที่นำน้ำไปอุปโภคก็ได้รับความเดือดร้อน ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ จึงขอให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมายื่นขอรับใบอนุญาตทำการเพาะเลี้ยงที่ประมง จังหวัดทั่วประเทศ ไม่เช่นนั้นจะมีโทษปรับสูงสุด 100,000 บาท และปรับวันละ 10,000 บาท ตลอดระยะเวลาฝ่าฝืนที่ผ่านมามีผู้มายื่นแล้ว 16,000 ราย ทั้งนี้เมื่อครบกำหนดคาดว่าจะมีผู้มายื่นขอรับใบอนุญาต 30,000 ราย ส่วนการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ทางศปมผ.จะนัดประชุมในวันที่ 4 พฤษภาคมนี้ ก่อนที่จะเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปหรืออียู ที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยมในกลางเดือนนี้ เพื่อรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหา



    กรมประมงคุมเข้ม เร่งให้ผู้ประกอบการและผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่สาธารณะอีกกว่า 7 พันราย ยื่นคำร้องขอใบอนุญาต หวังคุมปัญหาผลกระทบน้ำเน่าเสีย

    หลังออกคำสั่งให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตสาธารณะทั่วประเทศ ต้องยื่นคำร้องขอใบอนุญาตตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว จนถึงขณะนี้มีผู้มาดำเนินการแล้วประมาณ 9,000 ราย จากทั้งหมด 16,000 ราย โดยคำสั่งนี้เป็นหนึ่งในพระราชกำหนดการประมงฉบับใหม่ ที่ครอบคลุมเรื่องการควบคุมพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งคณะกรรมการประมงแต่ละจังหวัด จะพิจารณาจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่

    นางอุมาพร พิมลบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมประมง เปิดเผยว่า สาเหตุที่ต้องออกคำสั่งนี้ เนื่องจาก มีผู้ประกอบการใช้แหล่งน้ำสาธารณะที่ไม่มีเอกสารสิทธิทั้ง ห้วย หนอง คลอง บึง หรือทะเล สร้างบ่อเลี้ยงปลา เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจนเกินความสามารถของแหล่งน้ำที่รองรับได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำเน่าเสียกระทบกับใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคของประชาชน และตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคมนี้ หากมีผู้ฝ่าฝืนไม่แจ้งขออนุญาตจะมีโทษปรับ 10,000-100,000 บาท



    เจ้าของเรือกว่า 200 ลำ ที่ถูกกรมประมงแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากไม่ติดตั้งระบบ VMS เข้ารับทราบข้อหากับตำรวจนครบาลแล้ว

    กลุ่มผู้ประกอบการเรือประมงกว่า 200 ราย มารับทราบข้อกล่าวหาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล หลังจากกรมประมงได้แจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากเป็นเรือที่ไม่มีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง VMS ตามคำสั่งของกรมประมง ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558

    พลตำรวจตรี จารุวัฒน์ ไวศยะ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล บอกว่า วันนี้ผู้ประกอบการที่ถูกออกหมายเรียกชุดแรก 200 ราย เดินทางมาเกือบครบ ส่วนที่เหลือประมาณ 1,800 ราย จะทยอยออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาต่อไป พร้อมยืนยันจะให้ความเป็นธรรม หากเรือประมงลำใดไม่ได้ประกอบอาชีพทำประมงแล้วจะพิจารณาไม่ฟ้องเป็นราย ๆ ไป จากการสำรวจล่าสุดพบว่าทั่วประเทศมีเรือประมงที่ยังฝ่าฝืนอยู่ประมาณ 2,008 ราย



    ชาวประมงจากหลายจังหวัดเดินทางเข้า กทม.เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ไม่ติดอุปกรณ์ติดตามตำแหน่งเรือ (VMS)
     
    Last edited: 11 May 2016
  37. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ทางช่อง 7 สี จะนำเสนอที่มาที่ไป ว่าทำไมไทยจึงได้ใบเหลืองการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายจากสหภาพยุโรป และต่อจากนี้ไทยจะแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อขอปลดล็อกใบเหลือง ซึ่งวันนี้เป็นวันแรกที่เราจะนำเสนอถึงจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ไทยต้องมาเร่งแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง ติดตามในรายงาน

    การทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือไอยูยู (IUU) ถือเป็นภัยร้ายแรงต่อความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล โดยสหภาพยุโรป หรือ อียู เป็นกลุ่มประเทศแรกที่นำมาตรการป้องกันไอยูยู มาบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2553 เพื่อให้ทุกประเทศที่ส่งสินค้าสัตว์น้ำไปยังกลุ่มประเทศอียู จำเป็นต้องปฏิบัติตาม

    ประเทศไทย ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไปยังกลุ่มอียู เป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เมื่ออียู บังคับใช้กฎดังกล่าว ไทยจึงถูกจับตามอง ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำรายใหญ่

    แม้กรมประมง ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ จะพยายามปรับปรุงข้อบังคับต่างๆ ภายใต้พระราชบัญญัติประมง พุทธศักราช 2490 แต่เป็นกฎหมายเก่า ไม่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหา ไอยูยู, ไม่มีนโยบายการประมงแห่งชาติ รวมถึงแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน

    โดยเฉพาะช่องโหว่ของกฎหมายเก่า ทำให้เรือประมงไทย มีจำนวนมากเกินทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่, เกิดปัญหาลักลอบใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่ทำลายล้างท้องทะเล และที่สำคัญการค้ามนุษย์ รวมทั้งใช้แรงงานภาคประมงที่ไม่เป็นธรรม

    จนเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 อียู ประกาศให้ใบเหลืองไทย เพื่อเตือน ว่ามีความเสี่ยงที่จะไม่ให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหาไอยูยู

    มีการประเมินกันว่า หากไทยถูกใบแดง อุตสาหกรรมประมงไทยทั้งระบบจะเสียหายไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท ห้วงเวลาที่ถูกใบเหลือง ที่ยังคงส่งออกได้ตามปกติ ไทยจึงต้องดิ้นรนหาทางออกแก้ไขปัญหานี้โดยเร็วที่สุด ทีมข่าวเกษตร รายงาน



    หลังอียู ประกาศให้ใบเหลืองด้านประมงกับไทย รัฐบาลได้เร่งทบทวน และเกิดการปฏิรูปประมงไทยอย่างชัดเจน ติดตามจากรายงานปลดล็อกไอยูยูแก้ปัญหาประมงไทย

    สหภาพยุโรป หรือ อียู ได้ประกาศให้ใบเหลืองด้านประมงกับไทย ถือเป็นจุดเปลี่ยนให้ไทยต้องหันมาปฏิรูปภาคประมงทั้งระบบ เพราะหากถูกตัดสิทธิ์ อียูไม่สั่งซื้อสินค้าสัตว์น้ำจากไทย จะทำให้สูญเสียรายได้หลายร้อยล้านบาท

    หลังจากนั้น 10 วัน หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ มีคำสั่งให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย หรือ ศปมผ. ขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาด้านประมงไทย โดยมีผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้บัญชาการศูนย์ฯ มีอำนาจเบ็ดเสร็จ

    ภารกิจแรกของ ศปมผ.คือจัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกท่าของเรือประมง หรือ Port in Port out 28 แห่ง ครอบคลุม 22 จังหวัด โดยกำหนดให้เรือประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ต้องแจ้งเข้าและออกทุกครั้งที่ทำประมง

    อีกข้อกำหนดที่ประมงไทยไม่เคยปฏิบัติ คือผู้ประกอบการเรือประมงทุกรายต้องแสดงหลักฐาน 13 รายการ หากเอกสารไม่ครบถ้วน จะไม่สามารถออกทำประมงได้ ทั้งนี้ได้รวมไปถึงประเด็นแรงงานประมง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ได้กำหนดให้มีใบอนุญาตใช้แรงงาน หรือบัตรสีชมพู ให้ถูกต้อง เพื่อรับสวัสดิการดูแลจากภาครัฐเช่นเดียวกับแรงงานไทย โดยยังคงสงวนอาชีพไต้ก๋งเรือ และนายช่างเครื่องไว้สำหรับคนไทยเท่านั้น และกำหนดเพิ่มเติมให้เรือขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบติดตามเรือ

    นอกจากนี้ ยังได้ประกาศยกเลิกเครื่องมือประมง 6 ประเภท ที่ทำลายล้างสัตว์น้ำ

    แนวทางที่เร่งทำ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ให้เกิดการสร้างอาชีพ ไปพร้อมๆกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

    ทีมข่าวเกษตร รายงาน



    ส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ได้ คือการนำอำนาจทางกฎหมายมาบังคับใช้ ไปติดตามในรายงานปลดล็อกไอยูยู แก้ปัญหาประมงไทย

    พระราชกำหนดการประมง 2558 เป็นกฎหมายฉบับใหม่ ที่มีความทันสมัยมากที่สุด ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย หรือ ไอยูยู และถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการปฏิรูปการประมงไทย อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

    ใจความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้มีเพียงมาตรการ และข้อบังคับใช้ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาไอยูยูเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการบริหารจัดการการทำประมงทุกประเภท ต้องมีการขึ้นทะเบียน และขอใบอนุญาตทำประมง

    รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งการบริโภคและส่งออก ต้องได้มาตรฐานสุขอนามัย และตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสินค้าสัตว์น้ำได้ทุกขั้นตอน

    กฎหมายฉบับนี้ เริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่ 14 พฤศจิกายน 2558ซึ่งทุกฝ่ายต้องปรับตัว เพราะมีบทลงโทษที่รุนแรงขึ้น

    ผลของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ อย่างเต็มรูปแบบ จะต้องมีผู้ได้รับผลกระทบ คงต้องเป็นภาระของรัฐบาล ที่จะต้องหาทางเยียวยากันต่อไป ทีมข่าวเกษตร รายงาน



    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งทบทวนกรณีกรมเจ้าท่าออกประกาศให้ประมงทุกประเภทต้องมีซีแมนบุ๊ก

    พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการที่กรมเจ้าท่า ประกาศให้แรงงานประมงทุกประเภท รวมถึงประมงพื้นบ้าน ทั้งแรงงานไทย และแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ต้องมีหนังสือประจำตัว ที่เรียกว่า"หนังสือคนประจำเรือประมง"หรือ Seaman book โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (10 พ.ค.59) ส่วนตัวมองว่ารวดเร็วเกินไป ส่งผลกระทบต่อชาวประมงทั่วประเทศ จึงขอให้กรมเจ้าท่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนประกาศดังกล่าวอีกครั้ง และหาแนวทางลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

    ซึ่งเรื่องนี้ต้องรอความชัดเจนจากกรมเจ้าท่าอีกครั้งหนึ่ง



    "ปลดล็อกไอยูยู แก้ปัญหาประมงไทย" วันนี้ เป็นเรื่องแผนเยียวยาที่รัฐบาลประกาศเป็นมาตรการช่วยเหลือชาวประมง ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาไอยูยู ติดตามในรายงาน

    ประกาศคำสั่งให้แก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือไอยูยู ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องในรอบ 1 ปี ส่งผลกระทบต่อเรือประมงกว่า 7,000 ลำ

    มาตรการเยียวยา จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะบรรเทาความเดือดร้อน โดยเฉพาะจากคำสั่งให้ยกเลิกเครื่องมือประมง 6 ประเภท ที่นักวิชาการประมงศึกษาแล้วว่าทำลายล้างสัตว์น้ำอย่างรุนแรง ก็มี 2 ทางเลือก คือ ให้ปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงให้เหมาะสม หรือหากจะยกเลิกไปทำอาชีพอื่นแทน ก็พร้อมจะช่วยเหลือ และให้สมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับโครงสร้างหนี้และพักชำระหนี้ให้กับชาวประมงในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างการปรับตัว

    และในวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา มติ ครม.เห็นชอบอนุมัติวงเงิน 125 ล้านบาท รับซื้อเรือจากชาวประมงที่ไม่ต้องการทำประมงต่อ และเรือที่ต้องออกนอกระบบตามข้อกฎหมาย

    ล่าสุด เจ้าของเรือ ตัดสินใจขายเรืออวนรุนให้กับรัฐบาลแล้ว 54 ลำ

    นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีวันหยุดทำประมง เพื่อควบคุมปริมาณการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือแต่ละประเภทให้เหมาะสม ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

    การแก้ไขปัญหาไอยูยู ต้องใช้ระยะเวลา และทุกฝ่ายร่วมมือกัน เพื่อให้สามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตประมงนี้ไปให้ได้
     
    Last edited: 13 May 2016
  38. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ไทยเดินหน้าแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว จนขณะนี้พร้อมที่จะเดินทางไปชี้แจงขอปลดล็อกใบเหลืองจากอียู รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปติดตามในรายงาน

    รัฐบาลได้ปฏิรูปภาคประมงไทยทั้งระบบ ประกาศจัดระเบียบการทำประมงทุกประเภท และบังคับใช้พระราชกำหนดการประมง 2558 ที่ครอบคลุมถึงการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือไอยูยู รวมทั้งจัดทำแผนเยียวยาชาวประมงที่ได้รับผลกระทบ ทั้งปัญหาหนี้สิน สนับสนุนเงินทุนปรับเปลี่ยนเครื่องมือทำประมง รับซื้อเรือ และหาอาชีพใหม่ทดแทน

    นอกจากนี้ ยังเดินหน้าทำบันทึกข้อตกลงด้านประมง และแลกเปลี่ยนข้อมูลแรงงานกับประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาใช้แรงงานประมงในประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป หรืออียู ให้ความสำคัญมากที่สุดในขณะนี้ ซึ่งคณะผู้แทนไทยจะเดินทางไปชี้แจงความคืบหน้าทั้งหมดเอง

    ส่วนประเด็นที่อียูจะยังคงใบเหลือง หรือปลดล็อก หรือให้ใบแดงกับไทยนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสภายุโรป เป็นผู้กำหนด

    เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 มีประกาศคำสั่งให้ปรับโครงสร้างการแก้ปัญหาไอยูยู โดยแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้ามาช่วยกำกับดูแล เพื่อให้การแก้ไขปัญหาทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพขึ้น

    แม้ว่าผลการพิจารณาของอียูจะเป็นเช่นไร เป้าหมายของประเทศไทย ไม่ได้เพียงเพื่อแก้ปัญหากับอียูเท่านั้น แต่เป้าหมายใหญ่คือ ต้องการให้ภาคประมงไทยมีความมั่นคง และชาวประมงมีอาชีพที่ยั่งยืน



    คณะผู้แทนประมงไทย พร้อมเจรจาอียูเพื่อขอปลดล็อกใบเหลืองด้านประมง

    พลเรือโท จุมพล ลุมพิกานนท์ โฆษกศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าวเกษตรช่อง 7 สี ว่าขณะนี้คณะผู้แทนไทยได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมด ที่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือไอยูยู ตลอดระยะเวลา 1 ปี จัดทำเป็นเอกสารเรียบร้อยแล้ว และจะเดินทางไปประเทศเบลเยียมในวันอาทิตย์ที่ 15 เดือนนี้ เพื่อเข้าชี้แจงกับสหภาพยุโรป หรืออียู ถึงความคืบหน้าทั้งหมด ในวันที่ 19 และ 20 พฤษภาคมนี้

    เบื้องต้นจะรายงานผลการปฎิบัติงาน ตามที่อียูเสนอแนะ ทั้งเรื่องกฎหมาย แผนบริหารจัดการ การตรวจสอบย้อนกลับ และปัญหาแรงงานประมง โดยมั่นใจว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดี และอียูเห็นถึงความตั้งใจ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของอียูอีกครั้งหนึ่ง



    เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ประมง ได้นำเรือตรวจการณ์ออกไปรื้อฟาร์มเลี้ยงหอยแครงและเครื่องมือทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งบุกรุกพื้นที่ทะเลและกีดขวางเส้นทางเดินเรือบริเวณร่องน้ำคลองบางปอ อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 1 ไมล์ทะเล โดยเกษตรกรได้นำไม้ไผ่มาปักเป็นแนวรวมยาวกว่า 6 กิโลเมตร รวมเนื้อที่กว่า 4,000 ไร่ จนทำให้ชาวประมงพื้นบ้านเดือดร้อนทำมาหากินไม่ได้
    นายบรรเจิด สาริพัฒน์ นายอำเภอท่าฉาง บอกว่าจะดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 วัน จากนั้นจัดระเบียบทางทะเลและเปิดร่องน้ำให้กว้างขึ้น เพื่อให้เรือขนาดใหญ่วิ่งผ่านได้ ส่วนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบก็จะนำไปหารือกับคณะกรรมการประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อให้มีมติจัดหาที่ทำกินทนแทนให้ต่อไป

    สำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยแครงที่ได้รับสัมปทานในอำเภอท่าฉาง มีประมาณ 10,300 ไร่ แต่ปัจจุบันมีการบุกรุกโดยไม่ได้รับอนุญาตกว่า 18,000 ไร่ และการรื้อถอนวันนี้ก็ไม่มีการต่อต้านแต่อย่างใด เพราะได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านก่อนหน้านี้แล้ว



    มาตรการเยียวยาประมงผิดกฎหมาย



    ผลกระทบต่อแรงงานในการจัดระเบียบ IUU fishing ส่งผลให้แรงงานบางส่วนต้องหยุดงานและเดินทางกลับบ้านเกิด
     
    Last edited: 21 May 2016
  39. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    Gowind Offshore Patrol Vessel (OPV) เป็นเรือที่สร้างโดย DCNS ใช้เงินลงทุนของตัวเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ใหม่ในหมวดเรือ OPV.....จะมีเรือให้กองทัพเรือฝรั่งเศสเป็นเวลา 3 ปี ใช้สำหรับภารกิจ เฝ้าระวังการละเมิดน่านน้ำ การรักษาการประมง การต่อต้านการก่อการร้าย ต่อต้านการค้ายาเสพติด การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การค้นหากู้ภัยทางทะเล และการรักษาความปลอดภัย

    วันนี้ (13 พ.ค. 59) เวลา 10.30 น. นายสตัฟฟาน แฮร์สเตริม (Mr. Staffan Herrström) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญการหารือดังนี้

    นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีที่เอกอัครราชทูตราชฯ ได้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจำประเทศไทย รัฐบาลไทยยินดีที่จะร่วมมือในการสานต่อและสนับสนุนความร่วมมือกับสวีเดนต่อไป พร้อมเน้นย้ำความสัมพันธ์ไทยกับสวีเดนที่มีความแน่นแฟ้นและมีความร่วมมือใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับพระราชวงศ์ ความสัมพันธ์ระดับประชาชน และการทหารจากการจัดซื้อเครื่องบินรบรุ่น Gripen ทางด้านเอกอัครราชทูตราชฯ ได้กล่าวแสดงความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ในไทย และกล่าวแสดงความประสงค์ที่จะให้ความร่วมมือระหว่างไทยและสวีเดนเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการค้า และการลงทุน จึงขอให้ฝ่ายไทยช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการค้าและการลงทุนของสวีเดน


    อาจจะง่่าย เร็วกว่านั้น
    ซื้อเรือตรวจการณ์ฝรั่งเศสซัก 3ลำ
    ซื้อเรือประมงสวีเดนซัก 5ลำ
    เรือดำน้ำซื้อจีนถูกต้องแล้ว
    จบ
     
  40. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐบาลเผยสหภาพยุโรป หรือ อียู ประเมินการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายแล้วยังไม่ให้ใบแดงไทย ให้โอกาสอีก 6 เดือนประเมินใหม่

    พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า คณะผู้แทนไทย ที่เดินทางไปชี้แจงเรื่องการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ ไอยูยู ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม ได้รับคำชื่นชมและยอมรับว่าทำได้ดีขึ้น เพราะเห็นความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา ทำให้ไทย ยังคงอยู่ในอันดับเดิม ไม่ถูกใบแดงและให้เวลาต่อไปอีก 6 เดือน เชื่อว่าหากไทยตั้งใจจริงก็จะได้ใบเขียวแน่นอน

    แม้จะแก้ไขปัญหาได้มากแล้ว แต่ยังมีบางเรื่องที่ยังไม่แล้วเสร็จ เช่น การทำประมงเกินสมดุลทรัพยากร หรือ โอเวอร์ฟิชชิง การติดตั้งจีพีเอส โดยเดือนหน้า เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค และทีมอียู จะเดินทางมาไทย และเข้าพบพลเอกประวิตร ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม

    และในวันนี้ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุม และนิทรรศการการค้าทูน่าโลก ครั้งที่ 14 มีผู้แทนจากประเทศต่างๆ จาก 60 ประเทศ ร่วมประชุมโดยในเวทีนี้ ไทยได้ประกาศเจตนารมย์ ต่อต้าน และขจัดปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายหรือ ไอยูยู เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประเทศคู่ค้า

    นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า แม้ไทยจะได้รับใบเหลืองจากอียู แต่ยังไม่กระทบต่อการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องที่มีมูลค่าปีละเกือบ 70,000 ล้านบาท เพราะปลาทูน่าที่นำเข้าประเทศไทยทั้งหมดมาจากเรือประมงที่ขึ้นทะเบียนไว้กับอียู เป็นสินค้าที่มาจากการประมงที่ถูกกฎหมายตรวจสอบได้

    ล่าสุด ไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงว่าด้วยมาตรการรัฐเจ้าท่าเพื่อป้องกัน และยับยั้งการทำประมงผิดกฎหมาย ขององค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ หรือ เอฟเอโอ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 มิถุนายนนี้ ที่จะต้องตรวจสอบเรือประมงทุกลำที่นำสินค้าประมงมาขึ้นท่า เป็นการสร้างความมั่นใจในขั้นตอนการตรวจสอบ และมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวด



    สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ยืนยัน สินค้าปลาทูน่าของไทยปลอดไอยูยู

    นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย แถลงข่าวแสดงจุดยืน ร่วมกับ 5 สมาคมด้านการประมงจากต่างประเทศ ว่า จะร่วมกันต่อต้าน และขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ ไอยูยู เพื่อให้อุตสาหกรรมทูน่าในตลาดโลก มาจากการทำประมงที่ถูกกฎหมาย

    ทั้งนี้ แม้ไทยจะได้รับใบเหลือง จากสหภาพยุโรป หรืออียู ทำให้ถูกจับตามองจากประเทศคู่ค้า แต่ยืนยันว่า ปลาทูน่า ที่ไทยนำเข้ามาเพื่อแปรรูปและส่งออก มาจากการทำการประมงที่ถูกกฎหมายทั้งหมด สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน เพื่อความเชื่อมั่นของประเทศผู้บริโภค โดยที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ เน้นให้ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก ปฏิบัติตามคำแนะนำของอียู ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลปฏิบัติตามกฎหมายทุกขั้นตอน และเรียกร้องทุกประเทศ ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาไอยูยู โดยยึดหลักสากล และถือปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

    ในแต่ละปี ทั่วโลก สามารถจับปลาทูน่า ได้ประมาณ 5 ล้านตัน ประเทศไทยนำเข้ามาผลิต และแปรรูป เพื่อส่งออก ปีละ 7-8 แสนตัน หรือคิดเป็น 15-18 เปอร์เซ็นต์ของปลาทูน่าที่จับได้ทั้งหมด โดยผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ส่งออกต่อปี ทำรายได้เข้าประเทศ ปีละกว่า 75,000 ล้านบาท



    27 พ.ค.| 14.00 น. ศป.มผ.พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาหารือร่วมกับตัวแทนชาวประมงจากหลายจังหวัดภาคใต้ กรณีปัญหาการทำประมง



    เจ้าหน้าที่ประมงสนธิกำลังทหารบกเข้าจับกุมทำประมงผิดกฎหมายได้ยกแก๊ง พบของกลางเป็นหอยขนาดเล็กกว่า 3,000 กิโลกรัม และเรือหางยาวอวนลากขนาดใหญ่ 10 ลำ

    กำลังทหารมณฑลทหารบกที่ 45 พร้อมเจ้าหน้าที่ประมงร่วม 20 นาย เข้าจับกุมนายโกมินทร์ พัฒนศรี อายุ 52 ปีอยู่บ้านเลขที่ 86/3 หมู่ 8 ต.คลองฉนาก อ.เมืองสุราษฎร์ธานี พร้อมพวกรวม 32 คน ขณะกำลังลักลอบคราดหอยแครงผิดกฎหมาย บริเวณอ่าวบ้านดอน ต.บางชนะ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อเวลา 02:30 น.

    พร้อมของกลาง เรือหางยาวขนาดใหญ่ติดเครื่องมือดักจับสัตว์น้ำมีตาข่ายต่ำกว่า 1.2 ซม. จำนวน 10 ลำ และหอยขนาดเล็กกว่า 6 มิลลิเมตร จำนวนกว่า 3 ตัน

    โดยประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายพรศักดิ์ ศักดิ์ธานีบอกว่า การจับกุมครั้งนี้ เพราะได้รับร้องเรียนจากชาวบ้านจำนวนมากว่า ได้รับความเดือดร้อนหลังมีกลุ่มบุคคลได้ข่มขู่และจับจองพื้นที่สาธารณะทำการประมงด้วยเครื่องที่ผิดกฎหมาย จึงได้สนธิกำลังออกตรวจสอบ

    พบกลุ่มผู้กระทำผิดกำลังจับหอยที่ผิดกฎหมาย 2 ข้อหาคือ ใช้เครื่องมือประเภทอวนลากที่มีตาอวนต่ำกว่า 1.2 เซนติเมตร ในเขต 3,000 เมตร ซึ่งถ่อเป็นเครื่องมือที่ทำลายทรัพยากรและระบบนิเวศอย่างรุนแรง และ 2.จับลูกหอยลูกหอยขนาดเล็กต่ำกว่า 6 มิลลิเมตร โดยส่วนใหญ่ชาวประมงพื้นบ้านที่หาลูกหอยจะใช้การจับด้วยมือในเขตน้ำตื้นและเลือกหอยที่มีขนาดมากกว่า 6 มิลลิเมตร เพื่อจำหน่ายให้กับผู้เลี้ยงหอย

    สำหรับของกลางที่ได้จากการจับกุมในครั้งนี้มีมูลค่าเกือบหนึ่งล้านบาท จึงควบคุมตัวพร้อมของกลางลูกหอยแครงขนาดเล็กจำนวนกว่า 100 กระสอบ ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป สำหรับลูกหอยนั้น สำนักงานประมง จะนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติต่อไป



    สหภาพยุโรปหรืออียู เตือนไทยให้เร่งดำเนินมาตรการอย่างเด็ดขาดเพื่อปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย มิฉะนั้นจะระงับการนำเข้าสินค้าประมงของไทย

    นายคาร์เมนู เวลลา กรรมาธิการประมงของอียู และนางมาเรียน ทิสเซน กรรมาธิการกิจการสังคมของอียู ส่งจดหมายถึง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรษ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเตือนให้ไทยเร่งแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคการประมง มิฉะนั้นจะเผชิญมาตรการห้ามการนำเข้าสินค้าประมงจากไทย

    นายเวลลา และนางทิสเซน ระบุในจดหมายว่า การเจรจาของอียูกับทางการไทยในเรื่องการแก้ปัญหาการละเมิดแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้จะเป็นโอกาสสำคัญของไทยในการนำเสนอมาตรการที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนเพื่อยุติการทำประมงผิดกฎหมายและการละเมิดสิทธิของแรงงานประมง ซึ่งหากไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ในเดือนหน้า และไม่ดำเนินกระบวนการที่เป็นรูปธรรมภายในสิ้นปี อียูก็อาจจะต้องดำเนินมาตรการขั้นต่อไป

    ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน เม.ย.อียูให้ใบเหลืองเตือนไทยอย่างเป็นทางการให้เร่งแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย ไร้การรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) พร้อมกับขู่ว่าอาจจะระงับการนำเข้าสินค้าประมงจากไทยจนกว่าจะแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิแรงงานประมง

    และเมื่อเดือน ม.ค.ผู้แทนจากอียูเยือนไทยเพื่อประเมินว่าควรจะดำเนินมาตรการคว่ำบาตรสินค้าประมงของไทยหรือไม่ ซึ่งเป็นมาตรการที่จะทำให้ไทยสูญรายได้ถึง1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
     
    Last edited: 14 Jun 2016
  41. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เรื่องนี้ได้รับการยืนยันจาก พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าได้รับรายงานจากอธิบดีกรมประมงว่า ผู้แทนสหภาพยุโรป หรือ EU ชื่นชมที่ไทยสามารถแก้ปัญหาด้านประมงได้ดีขึ้น ไม่ได้กดดันไทย และไม่มีการพูดถึงการให้ใบเหลือง หรือใบแดง หรือระยะเวลาตัดสิทธิ์ประมงไทยแต่อย่างใด ทั้งนี้ในช่วงปลายเดือนนี้ หรือต้นเดือนหน้า EU จะเดินทางมาติดตามความคืบหน้าอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายประมง และการตรวจ port in port out

    ด้าน นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าวเกษตร ช่อง 7 สี ว่าส่วนตัวมองว่าการที่ไทยได้ใบเหลืองประมงจาก EU เป็นเรื่องดี เพราะไทยได้ปฏิรูปภาคประมงทั้งระบบ แม้ว่าจะได้ใบเหลืองต่อ หรือใบแดง ก็ควรเดินหน้าจัดระเบียบอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ก็ยังมั่นใจว่าทั่วโลกยอมรับและเห็นถึงความตั้งใจ ในการแก้ปัญหาของไทย พร้อมทั้งเสนอแนะให้รัฐบาลเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO มาเป็นที่ปรึกษาด้านประมง เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่นำมาตรการ IUU มาบังคับใช้



    นับเป็นระยะเวลากว่า 13 เดือนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2558 ที่สหภาพยุโรป หรือ EU ประกาศให้ใบเหลืองด้านประมงไทย เพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้ไทยเร่งแก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ IUU

    รัฐบาลไทยได้สั่งจัดระเบียบการทำประมงทั้งระบบ ตามคำแนะนำของ EU มาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปรายงานความคืบหน้าที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม โดย EU ชื่นชมการแก้ปัญหาของไทย

    แม้วันนี้ประมงไทย จะอยู่ในสถานะใบเหลือง แต่อุตสาหกรรมส่งออกสินค้าประมงไทย ก็ยังคงติด 5 อันดับแรกของโลก โดยเฉพาะทูน่าไทย ซึ่งผลิตและส่งออกได้มากที่สุดในโลก เพราะถือว่าปลอดจาก IUU

    โดยในมุมมองของ นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย กลับมองว่า "ใบเหลือง" จาก EU เปรียบเสมือนแรงผลักดันภาคประมงไทยให้มีมาตรฐานสากลขึ้น เป็นผลดีจะแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่า ไทยมีศักยภาพที่จะแก้ปัญหาได้

    ในช่วงปลายเดือนนี้ถึงต้นเดือนหน้า คณะผู้แทน EU จะเดินทางมาติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา IUU ของไทยอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายประมง และการตรวจ port in-port out ซึ่งไทยก็ยังมั่นใจว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว แต่ทั้งนี้การแก้ไขปัญหา ต้องอาศัยทั้งระยะเวลา ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และที่สำคัญคือ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจด้านประมงไทยให้ทั่วโลกได้เห็น



    กรมการจัดหางาน ย้ำสถานประกอบการ นำเข้าแรงงานต่างด้าวถูกต้องตามกฎหมายได้ 4 สัญชาติ เพื่อทำงานใน 24 กิจการ แยกตามสัญชาติที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

    อธิบดีกรมการจัดหางาน นายอารักษ์ พรหมณี บอกว่า นายจ้างและสถานประกอบการที่มีความจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าว สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายได้ 4 สัญชาติ คือ เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ตามระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรจำนวนการจ้างคนต่างด้าวทำงาน(ฉบับที่2) พ.ศ.2559 เพื่อมาทำงานใน 24 ประเภทกิจการเท่านั้น

    โดยงานรับใช้ในบ้าน สามารถทำงานได้ทั้ง 4 สัญชาติ ส่วนงานที่ทำได้เพียง 3 สัญชาติ คือเมียนมา ลาว และกัมพูชา ได้แก่งานกรรมกรใน 24 กิจการ เช่น ประมง เกษตรและปศุสัตว์ ก่อสร้าง ต่อเนื่องการเกษตร ต่อเนื่องปศุสัตว์ รับซื้อของเก่า คัดแยกขยะ ทำเหมืองแร่และเหมืองหิน ผลิตหรือจำหน่ายอาหารเครื่องดื่ม ผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากดิน /ผลิตหรือจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ผลิตหรือจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขนถ่ายสินค้าทางบก ทางน้ำ คลังสินค้า/ อู่ซ้อมรถ ล้าง อัดฉีด สถานีบริการน้ำมัน แก๊ส เป็นต้น ขณะที่สัญชาติเวียดนามอนุญาตให้ทำงานในตำแหน่งกรรมกร อีก 2 กิจการ คือ กิจการก่อสร้าง และ ประมงทะเล



    นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาจะมาเยือนไทยระหว่างวันที่ 23-25 มิ.ย.นี้ โดยหนึ่งในเป้าหมายที่ทางรัฐบาลเมียนมาร์ให้ความสำคัญคือ การลงนามในกรอบความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยกับเมียนมา ราบยละเอียดข้อตกจะเป็นอย่างไร ไปติดตามรายงานจากคุณธรรมรัช กิจฉลอง ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี



    การหารือระหว่างนายกรัฐมนตรี กับ นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของประเทศเมียนมาในวันศุกร์นี้ ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือด้านแรงงาน 2 ฉบับ ที่จะช่วยคุ้มครองดูแลแรงงานเมียนมาในไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    ซึ่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าว คือบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน และบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างงาน โดยสาระสำคัญ จะกำหนดให้มีการออกหนังสือแสดงตัวบุคคล หรือ ซีไอ ให้แก่แรงงานเมียนมา เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสัญชาติ ซึ่งจะช่วยให้แรงงานเมียนมาเดินทางในจังหวัดต่าง ๆ ในไทย รวมถึงสามารถเข้าออกระหว่างไทยกับเมียนมาได้เทียบเท่ากับพาสปอร์ต

    นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือในการนำเข้าแรงงานเมียนมา ให้ชัดเจน ทั้งเรื่องขั้นตอนและค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะกิจการประมงทะเลผ่านระบบรัฐต่อรัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบด้วย

    ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีระบุว่า การเดินทางมาในครั้งนี้เป็นการเยี่ยมเยือนในฐานะรัฐบาลไทยและเมียนมา โดยไทยพร้อมพูดคุยทุกประเด็น ไม่มีปัญหา ส่วนประเด็นการนำผู้อพยพจากการสู้รบ ภัยสงครามของเมียนมากลับประเทศนั้น ต้องให้เวลารัฐบาลเมียนมาในการจัดเตรียมความพร้อม ทั้งเรื่องการจัดที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินก่อน
     
    Last edited: 23 Jun 2016
  42. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    หลังหลุดพ้นจากสถานการณ์การค้ามนุษย์ระดับเทียร์ 3 เป็นเทียร์ 2 เฝ้าระวัง รัฐบาลก็พุ่งเป้าแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือไอยูยู เพื่อปลดล็อคใบเหลือง ของสหภาพยุโรป หรือ อียู ต่อไป

    โดยรัฐบาลได้ขอบคุณ และชื่นชมทุกฝ่ายที่ร่วมมือแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนได้รับการยกระดับในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาเป็นเทียร์ 2 เฝ้าระวัง พร้อมกำชับให้ทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล สร้างความยั่งยืนให้การประมงไทย และรักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ

    นอกจากนี้ยังให้เร่งเครื่องอย่างเต็มที่ เพื่อทำงานแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย หรือ ไอยูยู ซึ่งเชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ เพื่อให้ปลดล็อคใบเหลืองจากสหภาพยุโรป หรืออียู ที่จะพิจารณาในอีก 30 วันข้างหน้า

    ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำชับตำรวจทุกหน่วย เดินหน้าปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยกดดันทุกรูปแบบ ติดตาม จับกุมบุคคลที่มีพฤติการณ์เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

    ด้านกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยัน ไทยจะเดินหน้าแก้ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อป้องกันและปราบปรามปัญหาค้ามนุษย์ให้หมดสิ้น พร้อมเชื่อว่าเรื่องนี้ส่งผลดีต่อสถานการณ์การทำประมงผิดกฎหมาย หรือ ไอยูยูของไทยด้วย

    สอดคล้องกับนายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ที่มั่นใจเรื่องนี้ส่งผลดีโดยตรงต่อการประเมินผลการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายของไทย เพราะ อียู ให้ความสำคัญกับแรงงานประมงเป็นพิเศษ จึงขอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด



    อธิบดีกรมการจัดหางานเตือน ระวังมิจฉาชีพสวมรอยเจ้าหน้าที่ รีดส่วยต่างด้าว อ้างเก็บส่วยเพื่อแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดี

    อธิบดีกรมการจัดหางาน นายอารักษ์ พรหมณี บอกว่ากรมการจัดหางาน ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงานผิดกฎหมายอย่างเข้มข้น ทำให้เกิดความตื่นตัวมากขึ้น แต่ก็มีผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่เรียกเก็บส่วยจากแรงงานต่างด้าวหรือนายจ้างที่ลักลอบใช้แรงงานผิดกฎหมาย โดยอ้างว่าจะเก็บส่วยส่งให้ กกจ. เพื่อแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดี

    ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีการตรวจพบสติ๊กเกอร์ส่วยโดราเอมอนที่คนต่างด้าวอ้างว่าเป็นสัญลักษณ์จ่ายส่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเคยมีความพยายามปล่อยข่าวว่าสติ๊กเกอร์มาจาก กกจ. ซึ่งเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง



    กระทรวงแรงงานเสนอ ครม.ตั้งศูนย์แรกรับ-ส่งกลับฯ 12 ก.ค.นี้ เมียนมาร์จ่อส่ง 6 ทีม ตรวจสัญชาติเบื้องต้นช่วงเดือน ส.ค.นี้ เสนอ กนร.เร็วๆ นี้

    รองอธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน นายวิวัฒน์ จิระพันธุ์วานิช บอกว่า วันที่ 12 ก.ค.นี้ กระทรวงแรงงานจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาเห็นชอบการจัดตั้งศูนย์แรกรับเข้าทำงานและส่งกลับแรงงานต่างด้าวตามแนวชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก จ.หนองคาย จ.สระแก้ว เพื่ออบรมให้ความรู้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและตั้งศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว ที่จะจัดขึ้นในจัดหางานจังหวัด 10 จังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก เช่น สมุทรสาคร ระนอง ชลบุรี โดยศูนย์แรกรับฯ หาก ครม.เห็นชอบ จะเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 1 ส.ค.นี้



    ข่าว 7 สี - เจ้าหน้าที่รัฐยังบุกจับแรงงานเพื่อนบ้านผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง พร้อมเตือนให้นายจ้างนำแรงงานจดทะเบียนให้ถูกต้องก่อนสิ้นเดือนนี้

    สถานประกอบการย่านประตูน้ำ เป็นเป้าหมายปฎิบัติการครั้งนี้ หลังเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน ได้รับแจ้ง ร้านเสริมสวย ร้านนวดแผนไทย มีแรงงานเพื่อนบ้านจำนวนมาก ลักลอบทำงานผิดกฎหมาย บางรายไม่มีใบอนุญาตทำงาน

    เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนสนธิกำลังนับร้อยนาย วางแผนบุกจับโดยใช้รถจักรยานยนต์สกัดการหลบหนี แต่เมื่อถึงร้านเป้าหมาย พบแรงงานส่วนใหญ่ไหวตัวไม่มาทำงานในวันนี้ พบเพียงชาวลาว 2 คน กัมพูชาอีก 1 คนอยู่ในร้านนวดแผนไทย แต่เจ้าของร้านปฏิเสธ ไม่ใช่แรงงาน เป็นนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการ แต่เมื่อตรวจค้นในตัว พบบัตรทำงานสีชมพูแต่ต่างถิ่น มีความผิดชัดแจ้ง จับนายจ้างไปปรับโทษสูงสุด 100,000 บาท และผลักดันแรงงานกลับประเทศ

    ปัญหาแรงงานเพื่อนบ้าน เข้ามายึดอาชีพนวดแผนไทยเริ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย แย่งอาชีพสงวนของคนไทย และจะมาอ้างแค่ฝึกงานฝึกนวดไม่ได้

    กรมการจัดหางาน ขอให้นายจ้างตระหนัก และปฎิบัติตามกฎหมายการว่าจ้างแรงงานเพื่อนบ้าน โดยขอให้นำแรงงานมาขึ้นทะเบียนก่อนวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ หลังจากนั้นจะไม่เปิดขึ้นทะเบียนให้อีก เว้นแต่กิจการที่ขาดแคลนแรงงานมาก

    ปฏิบัติการปูพรหมตรวจเข้มทุกพื้นที่ทั่วประเทศจะทำต่อเนื่อง โดยเน้นรับแจ้ง สืบหาข่าว สนธิกำลังจับกุม หากพบ นายจ้างโดนหนัก จับปรับเป็นแสนต่อแรงงาน 1 คน

    การจ้างแรงงานเพื่อนบ้าน เป็นนโยบายที่รัฐทำจริงจับจริง นายจ้างต้องทำตามกฎหมาย และแรงงานที่เข้ามาทำงาน จะอ้างไม่รู้กฎหมายไทยไม่ได้



    หลังจากเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู ยังไม่เปลี่ยนการให้ใบเหลืองต่อปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ IUU แก่ประเทศไทย วันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ระดมความเห็นผ่านเวทีเสวนา การพัฒนานโยบายการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และ IUU ในกิจการประมงทะเลอย่างยั่งยืน

    พลเรือตรี วรรณพล กล่อมแก้ว ผู้แทนศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ ศปมผ.กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลก่อตั้ง ศปมผ.ผ่านมากว่า 1 ปี สามารถแก้ปัญหาที่รื้อรังมานานได้ระดับหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยกเลิกเครื่องมือเรือประมงที่ทำลายล้างสูง อันเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์ การออกกฎหมายประมงฉบับใหม่ให้ครอบคลุมปัญหามากขึ้น

    ส่วนสาเหตุที่ผลการประเมินล่าสุด ยังถูกจัดอยู่สถานะเดิม พลเรือเอก บงสุช สิงห์ณรงค์ ประธานอนุกรรมการปราบปรามการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในภาคประมง ศปมผ. อธิบายว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการแก้ปัญหาที่ยังไม่ตรงตามเป้าหมายได้ทั้งหมด แต่จากที่อียูลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าล่าสุดได้แสดงความพึงพอใจผลการปฏิบัติงานของไทย ทั้งการออกกฎหมาย การบังคับใช้ หรือ การดำเนินคดี และปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้แรงงานประมงแบบผิดกฎหมาย หรือ การค้ามนุษย์ ถูกลดระดับการเฝ้าระวังลง อยู่ที่เทียร์ 2 โดยงานที่ต้องเร่งแก้ไขหลังจากนี้ คือ จำนวนเรือประมงที่ผิดกฎหมายที่ยังมีมากกว่า 1,000 ลำ ที่จะต้องเอาออกจากระบบให้หมด ซึ่งขณะนี้ ศปมผ.กำลังพยายามแก้ไขอยู่
     
    Last edited: 17 Jul 2016
  43. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เหลืออีกไม่กี่วันแล้วที่แรงงานต่างด้าวจะต้องจดทะเบียนให้ถูกต้อง เพราะหากละเลยเพิกเฉย หลังวันที่ 29 ก.ค.นี้ กรมการจัดหางานบอกว่า "ผิดเป็นจับ ปรับเป็นแสน"



    ศปมผ.เตรียมโอนภารกิจแก้ปัญหาไอยูยู ให้แก่กรมประมงในเดือน ธ.ค.นี้ แต่จะมีศูนย์อำนวยการในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของชาติคอยเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือกรมประมง

    พลเรือเอกบงสุช สิงห์ณรงค์ ประธานคณะอนุกรรมการปราบปรามการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในภาคประมง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายหรือ ศปมผ. บอกว่า ศปมผ.เตรียมถ่ายโอนภารกิจการป้องกันและแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไร้การรายงานและไร้การควบคุมหรือไอยูยู ให้แก่กรมประมงในช่วงเดือนธ.ค.นี้ เพราะว่ากรมประมงเป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการทำประมงโดยตรง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของสหภาพยุโรป โดย ศปมผ.จะยุติบทบาทลง แต่จะมีศูนย์อำนวยการในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของชาติคอยเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือกรมประมง



    ปลัดแรงงานยืนยันไม่มีเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ ล่าสุดขึ้นทะเบียนแล้วกว่า8.5แสนคน ชี้หลังหมดเขตจดทะเบียน 29 ก.ค.เริ่มบังคับใช้กฎหมายเข้มข้น

    ปลัดกระทรวงแรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ บอกว่าตามที่กระทรวงแรงงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติทั้งเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2559 ในกลุ่มแรงงานที่มีบัตรสีชมพูและกลุ่มเดิมที่มีเอกสาร ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. - 29 ก.ค.นี้ ล่าสุดจากข้อมูลของกรมการจัดหางาน(กกจ.) มีตัวเลขแรงงานต่างด้าวทั้ง 3 สัญชาติที่มาขึ้นทะเบียนแล้วกว่า 8.5 แสนคนขณะเดียวกันพบว่าในหลายพื้นที่ มีคิวจองจดทะเบียนค่อนข้างมากโดยเฉพาะจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวหนาแน่น ส่วนการบังคับใช้กฎหมายก็เป็นไปอย่างเข้มข้นในการตรวจและจับกุมดำเนินคดีซึ่งดำเนินการมาโดยตลอด ทำให้การใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายลดลงโดยเฉพาะกลุ่มกิจการเป้าหมาย เช่น ประมง แปรรูปสัตว์น้ำส่วนที่มีกระแสเรียกร้องให้เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่นั้น ยืนยันว่าจะไม่เปิดรอบใหม่ เพราะเมื่อไทยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวผ่านระบบเอ็มโอยูเพื่อให้แรงงานเข้ามาอย่างถูกต้อง หลังจากวันที่ 29 ก.คที่หมดเขตไปแล้ว การบังคับใช้กฎหมายจะเข้มข้นมากขึ้น หากพบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จะส่งกลับประเทศต้นทาง และให้กลับเข้ามาในช่องทางที่ถูกต้องโดยผ่านระบบเอ็มโอยูเท่านั้น



    ประมงทะเลอันดามันกระบี่ชี้ ปรากฎการณ์กุ้งหัวเรียวแห่งเดียวที่กระบี่ มาเร็วและมากกว่าทุกปี เพราะมาตรการปิดอ่าวห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ 4 จังหวัดฝั่งอันดามัน

    ชาวประมงพื้นบ้านตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ ต่างนำเรือหัวโทงออกไปทอดแหจับกุ้งหัวเรียว ที่บริเวณปากแม่น้ำกระบี่กันเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละลำได้กุ้งเฉลี่ย 50 กิโลกรัม ขายให้กับลูกค้าในราคากิโลกรัมละ 60 บาท ซึ่งได้ออกเรือกันมาเกือบ 10 วันแล้ว สร้างรายได้ให้กับชาวประมงวันละไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท

    นายสุรศักดิ์ มงคลไชยสิทธิ์ พนักงานขนส่งสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขากระบี่ ระบุว่า หลังมีการปิดอ่าวทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นความอุดมสมบูรณ์ของทะเลไทย

    ด้านนายอังกูร รัตนพรหม หัวหน้าศูนย์บริหารจัดการประมงทะเลอันดามันกระบี่ ชี้ว่า ปัจจัยที่ทำให้ปรากฎการณ์กุ้งหัวเรียวมีมากกว่าทุกปีและมาหาอาศัยปากอ่าวแม่น้ำกระบี่หากินเร็วขึ้น เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีแพลงตอนรวมถึงเลนบางชนิดที่เป็นแหล่งอาหารของกุ้งหัวเรียว อีกทั้ง เป็นผลจากการปิดฝั่งอันดามันห้ามเรือพาณิชย์ทำประมงตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และเพิ่งเปิดอ่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม



    ข่าว 7 สี - กรมการจัดหางาน ปิดลงทะเบียนแรงงานเพื่อนบ้าน 3 สัญชาติ หลังจากนี้หากพบลักลอบเข้าประเทศ มีโทษปรับสูงสุด 100,000 บาท

    หลังจากที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดจดทะเบียนแรงงานเพื่อนบ้าน 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา และลาว ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวานนี้ มีนายจ้างพาแรงงานมาจดทะเบียนกว่า 1 ล้านคน โดยมีสัญชาติเมียนมา มากที่สุด รองลงมาคือ กัมพูชาและลาว

    นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน ระบุว่า การเปิดจดทะเบียน เป็นนโยบายจัดระเบียบด้านแรงงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยยืนยันว่าจะไม่เปิดจดทะเบียนอีก ส่วนแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย จะต้องผ่านช่องทางหน่วยงานของรัฐ หรือรูปแบบ MOU เท่านั้น

    หลังปิดจดทะเบียนแรงงานแล้ว ก็จะออกสุ่มตรวจ เอาผิดกับผู้ที่ฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด หากพบนายจ้างกระทำผิด มีโทษปรับสูงสุด 100,000 บาทต่อแรงงาน 1 คน ส่วนแรงงานมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกส่งกลับประเทศต้นทางด้วย
     
    Last edited: 2 Aug 2016
    ridkun_user likes this.
  44. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ข่าว 7 สี - กรมการจัดหางาน เตรียมกวาดล้างแรงงานเถื่อน ที่ไม่ยอมออกมาจดทะเบียน หลังปิดจดทะเบียนไปแล้ว 1.1 ล้านคน

    นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผย แรงงานเพื่อนบ้าน 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา และลาว มีจำนวนผู้จดทะเบียนทั้งสิ้นกว่า 1.1 ล้านคน จากที่คาดการณ์ไว้กว่า 1.3 ล้านคน

    ทั้งนี้จะไม่ขยายเวลาการจดทะเบียนแรงงานเพื่อนบ้านอีกแล้ว เพราะ เชื่อว่าจำนวนที่นำเข้าสู่ระบบ เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งไม่นับรวมกลุ่มแรงงาน ที่เดินทางกลับประเทศต้นทางไปก่อน และแรงงานเช้าไป เย็นกลับ ตามแนวชายแดน

    หลังจากนี้ จะออกตรวจสถานประกอบการ ทั่วประเทศ กวาดล้างแรงงานนอกระบบที่ยังแอบแฝงทำงาน หากพบดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งลูกจ้างและนายจ้าง มีโทษปรับสูงสุดรายละ 1 แสนบาทต่อการจ้างแรงงานผิดกฎหมาย 1 คน

    ส่วนการนำเข้าแรงงานเพื่อนบ้านจากนี้ ให้ผ่านช่องทางเดียวเท่านั้น คือ ผ่านรัฐบาลแต่ละประเทศ หรือเอ็มโอยู เพื่อให้แรงงานได้รับการอบรมให้ความรู้ก่อนมาทำงาน ป้องกันถูกนายจ้างเอาเปรียบ และไม่ถูกขูดรีดจากขบวนการนายหน้า



    ไทยเป็นแกนนำการประชุมเพื่อพัฒนาประมงของกลุ่มประเทศอาเซียน



    กระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ จังหวัดระนอง เร่งแก้ปัญหาผู้ประกอบการประมง หรือ "ล้ง" ที่ไม่สามารถจดใบอนุญาตประกอบการธุรกิจประมงได้

    โดยนายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัญหาที่พบ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจประมง หรือ ล้ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่ถูกประกาศให้เป็นเขตป่าชายเลน ทำให้ผิดต่อหลักการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและควบคุม หรือ IUU ซึ่งปัจจุบันมีสถานประกอบการมากถึง 85 ราย ที่มีปัญหา โดยการหารือ ได้เสนอแนวทางแก้ไข เช่น ผลักดันให้ทำเรื่องขอต่ออายุการใช้พื้นที่ป่าชายเลน หรือ ประกาศยกเลิกป่าชายเลน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหลือสภาพป่าชายเลนแล้ว หรือ ออกมาตรการระยะสั้น ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยมีเงื่อนไขว่า ใบอนุญาตจะถูกยกเลิก หากได้รับการร้องเรียน ซึ่งข้อเสนอจะนำไปเสนอยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งแก้ปัญหาต่อไป

    ทั้งนี้ จังหวัดระนอง มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมง เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดสมุทรสาคร สร้างรายได้เฉลี่ย 1,958 ล้านบาทต่อปี โดยมีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในธุรกิจประมง จำนวน 9,261 คน คิดเป็น 14% ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมดในพื้นที่



    ข่าว 7 สี - กรมประมง เรียกตรวจสอบเรือประมงพาณิชย์ที่ขึ้นทะเบียนไว้ หากไม่ดำเนินการจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำการประมง

    นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม ถึง 15 กันยายนนี้ เรือประมงพาณิชย์ ขนาด 10-30 ตันกรอส จำนวน 5,277 ลำ และขนาดมากกว่า 30 ตันกรอส 5,941 ลำ ตามที่กรมประมงได้ออกหนังสือใบอนุญาตทำประมงพาณิชย์ไปแล้ว จะต้องนำเอกสารทั้งหมดไปแสดงตนกับเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงอำเภอ หรือประมงจังหวัด หรือที่ศูนย์แจ้งเข้า-ออกเรือในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 22 จังหวัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบสภาพเรือจริง เครื่องมือประมง และสำหรับเรือขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป จะตรวจสอบอุปกรณ์ติดตามเรือ หรือวีเอ็มเอส ด้วยว่าตรงกับที่ได้เคยแจ้งไว้หรือไม่ โดยผู้ประกอบการสามารถนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ให้ไปตรวจสอบเรือและเอกสารทั้งหมด ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

    ส่วนเรือที่อยู่ในระหว่างซ่อมแซม หรือไม่ได้ทำการประมง ให้นัดหมายเจ้าหน้าที่ไปตรวจแยกได้ที่ท่าเรือ และหากไม่ดำเนินการใดๆตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำการประมง



    พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นตัวแทนฝ่ายไทย ลงนามความร่วมมือ กับ นาย คิม ยอง ซุก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาสมทุรและประมง เกาหลีใต้ ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ IUU และบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วม การควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัย ด้านสุขอนามัยในผลิตภัณฑ์ประมงนำเข้า และส่งออก พร้อมทั้งขอความร่วมมือรัฐบาลเกาหลีใต้ให้สนับสนุนการปฏิรูปการประมงไทย โดยรัฐบาลเกาหลีใต้พร้อมจะสนับสนุนไทยในด้านระบบติดตามเรือประมงเพื่อแก้ไขปัญหา IUU ด้วย

    การลงนามครั้งนี้ ไทยและเกาหลีใต้ จะต้องแจ้งข้อมูลการจับและขนถ่ายสัตว์น้ำ เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็นการแสดงเจตจำนงแก้ไขปัญหาไอยูยูอย่างจริงจัง รวมทั้งสร้างความร่วมมือด้านการควบคุมคุณภาพและสุขอนามัยสินค้าประมง และผลิตภัณฑ์ประมง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

    ที่ผ่านมาไทย ส่งออกสินค้าประมงไปยังเกาหลีใต้ปีละกว่า 29,000 ตัน มูลค่ากว่า 5,200 ล้านบาท ส่วนไทยนำเข้าสินค้าประมงจากเกาหลีใต้ปีละกว่า 4,000 ล้านบาท
     
    Last edited: 14 Aug 2016
  45. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ไทยกับเกาหลีใต้ ลงนามร่วมกันแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายหรือ IUU ขณะที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรมสนธิกำลังตรวจโรงงานแปรรูปอาหารทะเล ก่อนจับกุมดำเนินคดีข้อหาขยายโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต

    โดยปฏิบัติการตรวจสอบโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำของเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับทหารจากมณฑลทหารบกที่ 16 และจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า เดิมทีได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการแกะล้างสัตว์น้ำ แต่ต่อมาได้ขอขยายทำห้องเย็น ซึ่งได้รับอนุญาตถูกต้องแต่ยังขาดการแจ้งส่วนขยาย พร้อมยังไม่มีการรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้า โดยไม่มีวิศวกรควบคุม และไม่มีระบบการระบายน้ำด้วย จึงต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย การตรวจค้นครั้งนี้ เนื่องจากได้ร้องเรียนจากประชาชน ว่ามีโรงงานไม่น้อยกว่า 100 แห่ง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

    ส่วนวันนี้ เป็นวันแรกที่ผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์ขนาด 10-30 ตันกลอส ทั่วประเทศจะต้องนำเรือและเอกสารสำคัญมาแสดงกับเจ้าหน้าที่ ณ.ท่าเทียบเรือ ที่กำหนดให้ในแต่ละจังหวัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องตาม พ.ร.ก.การประมง 2558 ซึ่งจะมีไปจนถึงวันที่ 15 กันยายน นี้ โดยเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะต้องปฏิบัติตาม IUU

    ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปเกาหลีใต้ เพื่อลงนามบันทึกข้อตกลง หรือ MOU กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาสมุทรและประมง 2 ฉบับ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงผิดกฎหมายฯและอีกฉบับเป็นการยอมรับร่วมกัน ถึงการควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยด้านสุขอนามัยในผลิตภัณฑ์ประมงนำเข้าและส่งออก

    ทั้งนี้เกาหลีใต้แก้ไขปัญหา IUU ได้สำเร็จ โดยไทยและเกาหลีใต้จะร่วมกันตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อเป็นกลไกแก้ไขปัญหา IUU



    การคุมเข้มโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการประมงประเภท แกะ ล้าง หรือ ล้งเถื่อน เป็นมาตรการที่รัฐบาลให้ความสำคัญโดยเฉพาะการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ ล่าสุดวันนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับมณฑลทหารบกที่ 16 ลงพื้นที่จ.สมุทรสาคร เพื่อตรวจโรงงานที่เข้าข่ายล้งเถื่อน พร้อมบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยโรงงาน ติดตามปฏิบัติการจับล้งเถื่อนได้จากคุณธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย รายงานจากจังหวัดสมุทรสาคร



    กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับมณฑลทหารบกที่ 16 จังหวัดสมุทรสาคร เดินหน้าแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

    นายศักดา พันธ์กล้า รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 16 ลงพื้นที่สุ่มตรวจโรงงานประมง เพื่อช่วยยกระดับการดำเนินธุรกิจ และแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU โดยล่าสุดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบ เพื่อช่วยดูแลโรงงานและสถานประกอบการอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะในกลุ่มโรงงานที่มีการร้องเรียนซ้ำซาก โรงงานที่ปล่อยมลพิษน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม และโรงงานที่มีการร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรม ซึ่งจะเร่งดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด

    ด้าน ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 16 เปิดเผยว่า ล่าสุด ยังมีการร้องเรียนปัญหาโรงงานอุตสาหกรรม และโรงงานประมงปล่อยน้ำเสียสูงถึง 1,082 โรงงาน จึงได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงไปแล้ว 139 โรงงาน พบว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข ส่วนอีก 109 โรงงาน มีความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน ทั้งนี้ จึงได้สั่งให้ผู้ประกอบการเร่งแก้ไขปรับปรุงรวม 85 โรงงาน และสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว 24 โรงงาน

    ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่สุ่มตรวจโรงงานแปรรูปกุ้งวันนี้ พบว่าแรงงานที่ว่าจ้างจำนวน 130 คน ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการรับกุ้งมาจากเรือประมงและแพกุ้งที่มีเอกสารยืนยันถูกต้อง แต่ระบบไฟฟ้าภายในโรงงาน ไม่มีความปลอดภัย จึงได้สั่งให้แก้ไขพร้อมดำเนินการตามกฎหมายทันที



    ต่างด้าวแย่งงานคนไทย สศช.เผยต่างด้าวเห็นค้าขายงานเบา-รายได้ดี

    สศช.รายงานภาวะสังคมไตรมาส2ปีนี้ ระบุว่า แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำอาชีพอิสระที่กฎหมายห้ามสูงขึ้น ในขณะที่อัตราการว่างงานของคนไทยก็สูงขึ้นด้วย

    นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า สศช.สำรวจการประกอบอาชีพค้าขายรายย่อยของแรงงานต่างด้าว ในวันที่ 4 พ.ค.ถึง 22 มิ.ย.2559 ใน 8 จังหวัด เช่น กรุงเทพฯ สมุทรสาคร พบว่า แรงงานต่างด้าวไม่ทราบว่าอาชีพค้าขายของแรงงานต่างด้าวเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

    การค้าขายของแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ เป็นแผง-รถเข็น 74% และเป็นบูธ-บล็อกในห้าง อาคารพาณิชย์ 24.6% ซึ่งชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานของแรงงานต่างด้าว จากแรงงานมาเป็น ผู้ประกอบการค้าขายมากขึ้น

    ส่วนการส่งเงินกลับ พบว่า แรงงาน80%ส่งเงินกลับประเทศ โดยส่วนใหญ่ 52% ส่งกลับ 1,001-5,000 บาท รองลงมา 31% ส่งเงินกลับ 5,001-10,000 บาท // ส่งกลับโดยฝากญาติ //ผ่าน ธนาคาร และนำกลับด้วยตัวเอง

    เมื่อสอบถามผู้ค้าคนไทยในพื้นที่เดียวกัน เห็นว่า ข้อดี คือ ตลาดคึกคัก // แต่ข้อเสนอ คือ มาแย่งอาชีพคนไทย เพราะขายสินค้าคล้ายกัน เช่น ผัก ผลไม้ อาหารสำเร็จรูป

    แรงงานต่างด้าวเข้ามาค้าขาย เพราะไม่รู้ว่า ผิดพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพ และ วิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ // และผิด พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว// รวมทั้งเป็นงานเบา-รายได้ดี ทำให้แรงงานต่างด้าว สนใจค้าขาย ดังนั้นจึงเสนอปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

    ขอประกันว่างงาน เม.ย.-พ.ค.เพิ่มขึ้น 34%

    ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของคนไทยสูงขึ้น โดยสิ้นไตรมาส2ปีนี้มีแรงงาน 37.39 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว // มีผู้ว่างงาน 411,124 คน // อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.08 โดยการจ้างงานภาคเกษตรลดลงร้อยละ 6.2เพราะภัยแล้งสะสม ในขณะที่การขอประกันว่างงาน ของผู้ประกันตน ในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ มี27,000คน เทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้น34%เพราะการผลิตเพื่อการส่งออกลดลงจึงปรับลดแรงงาน



    ข่าว 7 สี - ย่านการค้าหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นแหล่งค้าขายของชาวจีนที่ใช้คนไทยบังหน้าและมีการจ้างแรงงานผิดกฎหมาย ติดตามจากคุณวรัญญู นวกาลัญญู

    เจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางาน และสนธิกับเจ้าหน้าที่ทหาร เข้าตรวจสอบอาคารพาณิชย์ย่านห้วยขวางหลายคูหา หลังมีเบาะแสว่า ชาวจีน ได้ใช้คนไทยบังหน้ารับเปิดร้านขายของให้ และมีการจ้างชาวจีนด้วยกันมาช่วยขายของให้กับนักท่องเที่ยวจีน จากการตรวจสอบพบ มีร้านขายของฝากของที่ระลึกเป็นของชาวจีนและมีชาวจีน นั่งขายของอยู่หน้าร้านจริง พร้อมยอมรับว่าเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว 30 วัน แต่ลักลอบมาทำงานเพราะเจ้าของร้านต้องการคนที่พูดภาษาจีนได้ จึงตัดสินใจข้ามน้ำข้ามทะเล มาทำงานนี้ โดยได้ค่าจ้างประมาณ 8,000-12,000 ต่อเดือน

    การกวาดล้างร้านค้าผิดกฎหมายครั้งนี้ ยังพบว่า ชาวจีนที่ลักลอบมาทำธุรกิจขายของที่ระลึกในไทย ยังใช้รูปแบบบจ้างงานชาวจีนด้วยการออกค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวไทยให้ก่อน โดยเมื่อเดินทางมาถึงจะให้เที่ยวฟรีพักฟรี 15 วัน จากนั้นอีก 15 วันตามอายุวีซ่า ต้องมานั่งขายของหน้าร้านใช้หนี้ค่าท่องเที่ยว

    เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งข้อหาเบื้องต้นผิดข้อหาจ้างคนต่างชาติทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับสูงสุด 1 แสนบาทต่อแรงงาน 1 คน

    ปฏิบัติการครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ยังเตรียมขยายผลการตรวจสอบไปยังพื้นที่อื่นๆ อีกเร็วๆ นี้

    ข่าวสังคมรายงาน
     
    Last edited: 15 Sep 2016
    ridkun_user likes this.
  46. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ประเทศไทยต้องรายงานการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายต่อสหภาพยุโรปอีกครั้งในต้นปีหน้า เพื่อให้ปลดล็อกใบเหลือง ซึ่งอธิบดีกรมประมงยืนยันว่าจะเร่งแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย



    ข่าว 7 สี - ชาวต่างชาติเข้ามาแย่งอาชีพสงวนของไทยทำมากขึ้น ปัญหานี้จะอาศัยแค่การปราบปรามอย่างเดียวคงไม่ได้ผลแล้ว ติดตามจากรายงาน คุณวรัญญู นวกาลัญญู

    ถึงแม้โลกปัจจุบันจะยึดโยงกับระบบการค้าเสรี มีผลให้การค้าการลงทุนไหลเวียนไปทั่วโลกอย่างง่ายดาย จนหลายประเทศต้องรวมกลุ่มกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม อีกทั้งต้องออกกฎกติกา คุ้มครองไม่ให้ระบบการค้าเสรีเข้ามาทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชาติ

    การกำหนด 39 อาชีพสงวน ไม่ให้คนต่างชาติเข้ามาแย่งงานคนไทย เป็นหนึ่งมาตรการที่ใช้ปกป้องให้คนไทยมีงานทำ แต่ทุกวันนี้กลับพบว่า หลายอาชีพถูกคนต่างชาติแย่งไป

    "อาชีพค้าขาย" เป็นอาชีพสงวน ที่ถูกต่างชาติแย่งไปทำมากที่สุด และแก้ไขได้ยากที่สุดเช่นกัน เพราะคนไทยยังอุดหนุนซื้อของกันไม่หยุด

    แรงงานเพื่อนบ้าน ที่ขยับจากลูกจ้างขึ้นเป็นเจ้าของแผงค้า เจ้าของร้าน พบมากขึ้น แม้จะปราบปรามกันทุกหย่อมหญ้า แต่ส่วนใหญ่รู้หลบ และยังมีคนไทยบางกลุ่มช่วยเปิดทางให้เป็นเจ้าของร้าน

    คงถึงเวลาที่คนไทยทุกคนต้องคอยเป็นหูเป็นตา พบเห็นแรงงานเพื่อนบ้านขายของ หยุดซื้อ หยุดใช้บริการ พร้อมแจ้งสายด่วน 1694 เพื่อหยุดปัญหานี้ก่อนที่จะลุกลาม จนกระทบชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยไปมากกว่านี้



    กระทรวงแรงงาน กำหนดแผนเร่งด่วนและระยะยาว เพื่อแก้ปัญหาต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทย โดยสั่งตรวจเข้มทุกพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ขณะที่อธิบดีกรมการจัดหางานชี้การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกส่วน

    ขณะนี้ปัญหาคนต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทยมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งนายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ผลการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานผิดกฎหมายได้กำหนดมาตรการป้องกันปัญหาดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.ไปจนถึงสิ้นปี 2559 ด้วยการมอบกรมการจัดหางานประสานกับฝ่ายปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าติดตามตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

    โดยกำหนดให้มีการออกตรวจอย่างน้อย 20 ครั้งในระยะแรก ซึ่งต้องมีการจัดแผนและกำหนดพื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจน ขณะที่ระยะยาว มอบหน่วยงานด้านความมั่นคง สกัดกั้นตามแนวชายแดน รวมทั้งทำแผนตรวจให้ชัดเจน

    ด้านนายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การแก้ปัญหาดังกล่าว จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ต้องช่วยกันตรวจสอบดูแล โดยเฉพาะเจ้าของตลาดและห้างสรรพสินค้า ควรมีส่วนรับผิดชอบหากปล่อยให้คนต่างด้าวมาค้าขายในพื้นที่

    อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการฯ จะมีแนวทางการแก้ปัญหาและบทลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานผิดกฎหมายพิจารณา รวมทั้งกรณีคนต่างด้าว ใช้วีซ่านักท่องเที่ยว เข้ามาทำงานหรือค้าขายในไทย จะต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงพาณิชย์ วางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา





    ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พบข้อมูลชาวต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพคนไทยเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีนีั โดยเฉพาะชาวเวียดนาม ที่เข้าเร่ขายผลไม้รถเข็นมากขึ้น ซึ่งเป็น 1 ใน 39 อาชีพสงวนของไทย

    ซึ่งการลงพื้นที่สุ่มตรวจของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองที่ตลาดคลองเตย ใกล้กับช่อง 3 พบชาวเวียดนาม 11 คน พักอาศัยตามบ้านเช่า และยึดอาชีพเร่ขายผลไม้ รถเข็น โดยยึดรถเข็นผลไม้ 11 คัน ได้ภายในบ้านเช่า

    ทั้งนี้ ข้อมูลของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ระบุว่า ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ จะเข้ามาในรูปแบบของนักท่องเที่ยว และมาเช่าบ้านพักจากคนไทย เพื่อนชาวเวียดนามหมุนเวียนกันเข้ามาขายผลไม้รถเข็น ซึ่งเป็น 1 ใน 39 อาชีพสงวนของคนไทยที่ต่างชาติห้ามทำ

    และจากปัญหานี้ จึงประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ และ กำชับ ตม.ทั่วประเทศ กวดขันจับกุมคนต่างด้าวที่ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการแย่งอาชีพคนไทย ซึ่งเข้ามาเป็นเจ้าของแผงค้า และให้คนไทยเข้ามาเป็นนอมินีบังหน้า หรือจดทะเบียนสมรสกับคนไทย เฉพาะปีนี้ได้เพิกถอนการอนุญาต และผลักดันออกนอกประเทศถึง 814 ราย
     
    Last edited: 17 Sep 2016
  47. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กระทรวงแรงงาน วางแผนปูพรมลงพื้นที่ตรวจสอบแรงงานต่างด้าวที่ทำงานผิดประเภท หรือ แย่งอาชีพคนไทย ในเดือน ต.ค.นี้

    ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานจะประชุมแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทย ในวันนี้ (12ก.ย.) เพื่อวางมาตรการป้องกันไม่ให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพคนไทย

    นอกจากนี้ จะมีการเตรียมแผนในการลงพื้นที่ตรวจจับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และแรงงานต่างด้าวที่ทำงานผิดประเภทจากที่ได้รับอนุญาต ซึ่งกระทรวงแรงงานจะจัดทีมลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้

    ทั้งนี้ การทำงานของแรงงานต่างด้าว ได้มีการกำหนดข้อห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดการทำงานในอาชีพ และ วิชาชีพที่คนต่างด้าวทำ โดยอาชีพที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีความกังวล คือ งานขายของหน้าร้าน // และ งานเร่ขายสินค้า เนื่องจากมีแนวโน้มที่แรงงานต่างด้าวจะเข้ามาประกอบอาชีพด้านนี้มากขึ้นและแรงงานต่างด้าวไม่ทราบว่าการประกอบอาชีพค้าขายรายย่อยผิดกฎหมาย และถ้าแรงงานต่างด้าวต้องการประกอบธุรกิจ จะต้องขออนุญาตกระทรวงพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

    และที่ผ่านมาหน่วยที่เกี่ยวข้องมีการออกตรวจจับแรงงานต่างด้าวที่ประกอบอาชีพต้องห้าม โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (9ก.ย.) กองบัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้จับกุมชาวเวียดนามที่ลักลอบเข็นผลไม้ขายตลาดคลองเตย กรุงเทพฯซึ่งได้มาเช่าตึกอยู่อาศัยเดือนละ 4,000 บาท ก่อนจะชักชวนญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดมาลงทุนซื้อผลไม้ขายที่ย่านคลองเตย ได้กำไรตกวันละ 400-500 บาท จึงถูกจับข้อหาเป็นบุคคลต่างด้าว ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต



    วงจรต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทย



    ผู้บัญชาการสตม. มีคำสั่งให้กวาดล้างจับกุมแรงงานต่างด้าว เข็นรถขายสินค้า และหาบเร่ โดยเฉพาะพื้นที่เมืองท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นการทำลายภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศ

    พลตำรวจโท ณัฐธร เพราะสุนทร ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีคำสั่งให้กวาดล้างจับกุมแรงงานต่างด้าว ซึ่งรถเข็นขายสินค้า และหาบเร่ โดยเฉพาะพื้นที่เมืองท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นการทำลายภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยจะร่วมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องจากปัจจุบันมีแรงงนาต่างด้าว ที่ขออนุญาตมาแบบวีซ่านักท่องเที่ยว แต่มาแฝงประกอบกาชีพเหล่านี้จำนวนมาก จึงถือว่ามีความผิดโดยตรง อีกทั้งอาชีพการจำหน่ายสินค้ารถเข็นและหาบเร่ เป็นอาชีพที่สงวนสิทธิ์ไม่ให้ชาวต่างชาติเข้ามาประกอบการอีกด้วย



    กรมประมง ออกประกาศให้เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ ขนาด 10 ตันกรอสขึ้นไป ที่ใช้เครื่องมือประมงประเภทอวนลาก อวนล้อมจับและอวบครอบปลากะตัก และเรือประมงพาณิชย์ ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ที่มีแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน ทำงานในเรือประมง ต้องมายื่นขอหนังสือคนประจำเรือ หรือ ซี บุ๊ก (Sea Book) ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกำหนดการประมง พุทธศักราช 2558

    โดยเจ้าของเรือจะต้องนำสำเนาในอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว สำเนาใบอนุญาตทำการประมง สำเนาหนังสือจ้างให้ทำงานในเรือประมง และหนังสือมอบอำนาจของผู้ได้รับใบอนุญาต พร้อมกับนำแรงงานประเทศเพื่อนบ้านไปแสดงตัวขอยื่นใบขออนุญาตเพื่อจัดทำประวัติและจัดเก็บข้อมูลลายนิ้วมือ ทั้งนี้หากเจ้าของเรือดำเนินการก่อนวันที่ 15 ตุลาคมนี้ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม

    การขอใบอนุญาตดังกล่าวจะช่วยบรรเทาปัญหาแรงงานประมงผิดกฎหมายได้ และช่วยบริหารการจัดการการทำประมงได้ดีขึ้นและทำให้ไทย มีภาพลักษณ์ที่ดีในการขจัดปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU รวมทั้งแก้ปัญหาการค้ามนุษย์บนเรือประมง



    ทัพเรือภาคที่ 2 เตรียมเสนอตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก เพิ่มขึ้น 2 แห่ง เพิ่มให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และ ไร้การควบคุม มีประสิทธิภาพขึ้น

    ทัพเรือภาคที่ 2 ที่ดูแลพื้นที่ทางทะเล 5 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส เตรียมเสนอศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เพื่อให้จัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า–ออก เพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง ที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช และ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จากปัจจุบันที่มี 6 แห่ง เพื่อให้การตรวจสอบเรือประมงเข้า-ออก เพื่อทำการประมงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และ ไร้การควบคุม (ไอยูยู)

    พล.ร.ท.อดิเรก ชมภูนุช เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบการทำงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก พบว่าผู้ประกอบการเรือให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเรือตามกฎหมาย โดยศูนย์แห่งนี้จะทำหารตรวจสอบลักษณะเรือประมง เครื่องมือการทำประมง และจำนวนแรงงานประมง ทั้งเข้า-ออกทะเล

    ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการร้องเรียนว่า มีปัญหาแรงงานประมง เปลี่ยนนายจ้างบ่อย ทำให้มีปัญหาเรื่องการตรวจสอบแรงงานประมง เพราะมีการใช้แรงงานไม่ถูกต้องตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ จึงกำหนดให้แรงงานประมงแจ้งข้อมูลนายจ้างได้ 2 ราย

    นอกจากนี้ ภาครัฐได้รับขึ้นทะเบียนเรือที่มีขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป 1,588 ลำ โดยส่วนใหญ่เป็นเรือประมงในจังหวัดปัตตานี รองลงมา คือ นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส
     
    Last edited: 10 ต.ค. 2016
  48. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรมเจ้าท่าลงพื้นที่ตรวจและล็อคเรือประมงพร้อมกัน 22 จังหวัด ป้องกันถูกกล่าวหามีการค้ามนุษย์ ต้องปรับปรุงเรือให้เข้าสู่กระบวนการที่ถูกต้องจึงอนุญาตให้ออกเรือ

    นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า บอกว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่จ.สมุทรปราการตรวจการปฏิบัติงานตามมาตรการควบคุมเรือประมงพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการประมงที่ไม่มีทะเบียนเรือ หรือมีทะเบียนเรือแต่ไม่มีใบอนุญาตทำประมงพร้อมล็อคเรือ ซึ่งเรือประมงในจ.สมุทรปราการที่ต้องทำการล็อคเรือหรือตรึงเรือ 134 ลำ หลังเปิดให้เจ้าของเรือที่ยังไม่มีใบอนุญาตติดอุปกรณ์ติดตามเรือ หรือวีเอ็มเอสมาลงทะเบียนภายในวันที่ 23 ก.ย.ซึ่งมีผู้มาลงทะเบียนแล้ว 100 ลำ บางส่วนไปลงทะเบียนในพื้นที่อื่น เหลืออีก 30 ลำที่ยังไม่มาดำเนินการ จะต้องเร่งติดตามในส่วนที่เหลือ หากตรวจพบจะถูกปรับ 1 ตันกรอสละ 1,000 บาท

    หลังจากนี้เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าจะลงพื้นที่เพื่อตรวจและล็อคเรือพร้อมกันทั้ง 22 จังหวัด และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือนต.ค.นี้โดยเรือที่ถูกล็อคจะไม่สามารถออกเดินเรือได้จนกว่าจะปรับปรุงเรือและเข้าสู่กระบวนการที่ถูกต้อง จะช่วยให้เรือประมงไทยไม่ถูกกล่าวหาในเรื่องการค้ามนุษย์ และขอแนะนำเจ้าของเรือระหว่างรอเปิดขอใบอนุญาตรอบใหม่ในปี 2560 ควรดูแลและปรับปรุงเรือให้ถูกต้อง

    อธิบดีกรมเจ้าท่า บอกด้วยว่า เรือประมงที่มีขนาดเกิน 30 ตันกรอส ยังมีโอกาสถึงวันที่ 8 ต.ค.นี้ จะต้องมาแจ้งงดใช้เรือ จะได้ไม่ถูกปรับข้อหาไม่ติดวีเอ็มเอส เรือที่ยังไม่มีใบอนุญาตต้องล็อคเรือและแจ้งจุดจอดกับกรมเจ้าท่าก่อน ส่วนเรือที่มีใบอนุญาตนั้นกรมเจ้าท่าได้ส่งเรื่องข้อปฎิบัติต่างๆให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา จะเร่งรัดให้ออกประกาศ เพื่อประเมินการออกใบอนุญาตครั้งต่อไป



    คณะผู้แทนมูลนิธิพัฒนามนุษย์นานาชาติโฟกัส และ คณะกรรมาธิการประมงของรัฐสภายุโรป เดินทางเข้าพบรองนายกรัฐมนตรี เพื่อพูดคุยแนวทาง และความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย

    ก่อนที่ทั้ง 2 คณะดังกล่าวจะเข้าพบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้บอกกับสื่อมวลชนว่าที่ผ่านมา รัฐบาลไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาการประมงได้ดีขึ้นกว่าเดิม และ ดำเนินการทุกอย่างอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อเสนอแนะต่างๆในการแก้ไขปัญหา รัฐบาลไทยได้ดำเนินการคืบหน้าไปมาก อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้จะยังไม่มีการประเมินผล โดยการเข้ามาครั้งนี้ เป็นเพียงการสอบถามความคืบหน้าในการทำงานเท่านั้น ทั้งนี้ ยืนยันว่ารัฐบาลไทยยังคงแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ทั้งในเรื่องวิธีการทำประมง ขนาดอวน รวมถึงการดูแลแรงงานประมงด้วย

    เบื้องต้น มีรายงานว่าสหภาพยุโรป จะประเมินสถานการณ์แก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ของไทยอีกครั้งในต้นปี 2560



    ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฏหมาย ได้นำเรือประมง 8 ลำ ไปจมกลางทะเลอ่าวไทย เพื่อทำปะการังเทียม ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล

    โดยจุดที่จมเรือประมงทั้ง 8 ลำ อยู่ในทะเลอ่าวไทย ห่างจากฝั่งจังหวัดเพชรบุรี ประมาณ 12 ไมล์ทะเล

    เรือประมงทั้ง 8 ลำนี้ เป็นเรือประมงอวนรุน 8 ลำสุดท้าย ในจำนวน 84 ลำ ที่รัฐบาลรับซื้อจากผู้ประกอบการประมง เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฏหมาย เนื่องจากการใช้อวนรุน เป็นเครื่องมือประมง ที่ประสิทธิภาพสูง ทำให้สัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว

    ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้ตรวจราชการกรมประมงบอกว่า การจมเรือประมงเพื่อทำปะการังเทียม ก็เพื่อต้องการให้เป็นแหล่งเพิ่มทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเล ซึ่งทางกรมประมงก็จะมีการติดตามผลทั้งระยะสั้น และระยะยาว หลังจากนั้นก็จะมีการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำด้วย

    ขณะที่ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งประกอบด้วย กองทัพเรือ, ตำรวจน้ำ, กรมศุลกากร, กรมเจ้าท่า, กรมประมง และกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ก็มีการประชุมที่จังหวัดเพชรบุรี เตรียมความพร้อมยกระดับเป็นศูนย์อำนวยการรับภัยคุกคามเหตุการณ์ร้ายแรงทางทะเล เพื่อให้สามารถรับมือ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา และมีกฏหมายรองรับ



    รัฐบาลได้ออกประกาศผ่อนผันให้คนต่างด้าวที่เข้ามาอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน รวมถึงบุตรของคนต่างด้าวเหล่านั้น สามารถทำงานได้ทุกประเภท

    เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดประเภทงานที่คนต่างด้าวอาจขอรับใบอนุญาตเพื่อทํางานตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พุทธศักราช 2551

    สาระสำคัญของประกาศนี้ คือผ่อนผันให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน หรือได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ รวมถึงบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวซึ่งเกิดในประเทศไทย และคนต่างด้าวซึ่งอยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ สามารถขอรับใบอนุญาตเพื่อทํางานได้ทุกประเภท

    นอกจากนั้น ยังมีการออกประกาศกำหนดประเภทงานให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรด้วย ได้แก่ งานผู้ประสานงานด้านภาษากัมพูชา ลาว หรือเมียนมา



    ผู้แทนกรรมาธิการประมง รัฐสภายุโรป พอใจภาพรวมการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของไทย แต่เสนอให้ความเข้มงวดในการจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมง ก่อนประกาศผลการพิจารณาการแก้ปัญหาในเดือนมกราคมปีหน้า
     
    Last edited: 12 Dec 2016
  49. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ศปมผ.นำชุดปฏิบัติการปูพรมเข้าตรวจสถานแปรรูปสัตว์น้ำ ที่จังหวัดสมุทรสาคร แก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ IUU Fishing ก่อนรายงานผลความคืบหน้าต่ออียู เดือนมกราคมปีหน้า

    ชุดปฏิบัติการโดยศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลเขต 1 ทัพเรือภาคที่ 1 สนธิกำลัง 5 ชุด ร่วมกันตรวจสอบโรงงานรับจ้างผลิตทูน่ากระป๋องส่งออก ที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งใช้แรงงานต่างด้าว ตามบัญชีเป้าหมายของคณะกรรมการปราบปรามการค้ามนุษย์ของ ศปมผ. 12 แห่ง เบื้องต้น ตรวจสอบ 2 แห่ง ไม่พบการกระทำความผิด

    น.อ.ประสาทพร สาทรสวัสดิ์ รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 กล่าวว่า ปฏิบัติการตรวจค้นครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 4 ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ที่ผ่านมาได้ตรวจสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำที่ไม่จดทะเบียนกับกรมประมงจำนวน 5 แห่ง และตรวจซ้ำโรงงานอุตสาหกรรมที่กระทำความผิดร้ายแรง 30 แห่ง มีแรงงานที่ผ่านการตรวจทั้งแรงงานไทย พม่า ลาว กัมพูชา 28,321 คน


    การตรวจสอบแต่ละครั้ง จะให้แรงงานต่างด้าวแสดงพาสปอร์ต หรือเอกสารยืนยันตัวบุคคล ใบอนุญาตทำงาน และเอกสารการจ้างงาน ก่อนคัดเลือกสุ่มตรวจดูความเป็นอยู่ โดยผลทั้งหมดจะนำไปรายงานผลให้อียูในเดือนมกราคมปีหน้า โดยรองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 บอกด้วยว่า ภาพรวมทางอียูก็แสดงความพอใจในผลการปฏิบัติงานของไทย และในวันพรุ่งนี้ ก็จะสุ่มตรวจโรงงานตามเป้าหมายต่อไป



    การส่งเสริมนายจ้างและผู้ประกอบการ ให้เข้ารวมการจัดระเบียบแรงงาน อย่างถูกกฎหมายนั้น จะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติ และเป็นการพัฒนากิจการประมงในภาพรวมของจังหวัดภูเก็ตให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ติดตามได้จากรายงาน



    ปฏิบัติการตรวจติดตามเรือประมงนอกน่านน้ำเป็นไปตามมาตรการป้องกันเรือประมงทำผิดกฎหมาย พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงการจัดการด้านการประมงของไทยให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรปรายละเอียดเป็นอย่างไร
     
    Last edited: 13 Mar 2017

Share This Page