รัฐบาลกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Ricebeanoil, 17 May 2016

  1. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โชว์ผลงานในรอบ 7 เดือน ซึ่งยังคงเน้นเรื่องการเดินตามทวงคืนป่า และจัดการกลุ่มนายทุนที่ลักลอบตัดไม้ ติดตามรายงานจากผู้สื่อข่าวของเรา คุณจันทร์จิรา พงษ์ราย

    พลเอกสุรศักดิ์ บอกว่า ตั้งแต่เข้ามาทำงานครบ 7 เดือนที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังต้องทำงานหนักทุกวัน เพราะมีเนื้องานครอบคลุมภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม โดยขอให้ข้าราชการอดทนแบบอูฐ และพูดพูดเหมือนปลาคือให้ไปบ่นใต้น้ำ

    หลังจากมานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ สรุปผลดำเนินงานรอบ 7 เดือนโดยบอกว่า ยังคงภารกิจทวงคืนป่าจากนายทุนเป็นลำดับแรกเพราะเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลแม้จะหยุดการบุกรุกได้มากตั้งแต่เดือนพฤษาคม 2557 แต่ต้องปรับการทำงานให้มีเอกภาพมากขึ้น ซึ่งขณะนี้เตรียม ตั้งศูนย์ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า เพื่อเดินหน้าเชิงรุก

    เขาย้ำถึงภารกิจนี้ว่าต้องการเอกภาพในการเดินหน้าจัดการกับกลุ่มนายทุนบุกรุกป่าและลักลอบตัดไม้ เพราะการสาวถึงตัวผู้บงการยังไม่สำเร็จ จึงต้องการดึงหน่วยงานอื่นมาร่วมทำงานเชิงสืบสวน เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดีเอสไอ ปปง. เพราะมีงานปกปิด และความลับ จำเป็นต้องใช้การข่าว เบื้องต้นจะเร่งทำบัญชีรายชื่อ ผู้จ้างวานผู้ที่เข้ามาตัดไม้ และบุกรุกป่าพื้นที่77 จังหวัดโดยให้หน่วยข่าวกรองเร่งคัดกรองรายชื่อผู้มีอิทธิพล

    รัฐมนตรีทส. ยอมรับว่าการถูกจับตาจากประชาชนที่ห่วงใยด้านทรัพยากร เป็นเรื่องดี โดยเฉพาะที่ยังอาจไม่ถูกใจกับตัวข้าราชการบางรายที่ส่งมาทำหน้าที่ จึงขอให้โอกาสให้พิสูจน์ฝีมือก่อนทั้งนี้ได้กำชับข้าราชการทุกคนว่าให้อดทนแบบอูฐ และพูดในน้ำเหมือนปลาคือให้ไปบ่นใต้น้ำแทน อย่าตอบโต้

    สำหรับการเดินหน้าในระยะต่อไปยังเน้นตามโรดแมพที่วางไว้ ทั้งด้านการเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ร้อยละ 40 การฟื้นฟูเขาหัวโล้น การแก้ปัญหาขยะซึ่งยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก ซึ่งเพิ่งได้รับโจทย์จากนายกรัฐมนตรี



    กรมอุทยานฯ ย้ำ 3 ชุดพญาเสือ-พยัคฆ์ไพร-ฉลามขาว พร้อมจับมือลุยทวงคืนป่า ไม่มีปัญหาขัดแย้งหรือเกาเหลากัน เริ่มลุยทวงคืนแล้วชุมพร ประจวบคีรีขันธุ์ พร้อมขอโอกาส "ชัยวัฒน์" ทำงานก่อน

    อธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช นายธัญญา เนติธรรมกุล บอกว่า หลังจากพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่าขึ้น โดยรวมชุดพยัคฆ์ไพร ของกรมป่าไม้ ชุดพญาเสือ ของกรมอุทยาน และชุดฉลามขาวของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมปฎิบัติภารกิจทวงคืนป่า โดยนำร่องที่จังหวัดชุมพร และที่เกาะทะลุจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    นายธัญญา ยืนยันว่ายังไม่มีปัญหาขัดแย้ง หรือขโมยซีน เพื่อแย่งกันทำงาน ทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานการบูรณาการ เช่น หากพื้นที่ที่ยึดคืนเป็นของกรมป่าไม้ ชุดพยัคฆ์ไพรก็จะเป็นเจ้าภาพหลัก การทำงานเชิงรุกจะช่วยให้งานเดินหน้าเร็วขึ้น เพราะที่ผ่านมาไม่กล้าปฏิบัติงาน โดยช่วง 3-4 วันนี้มีคนโทรมาสอบถาม แจ้งเบาะแสให้ชุดเฉพาะกิจนี้ลงพื้นที่จัดการกับผู้บุกรุกจนรับสายกันไม่ทัน ส่วนกรณีของนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ที่เข้ามาเป็นหัวหน้าชุดพญาเสือ และถูกติงจากภาคสังคมนั่น ขอให้โอกาสก่อน แต่ถ้าไม่ดีจริง ทางกรมจะพิจารณา



    กรมอุทยานฯ ประกาศปิดเกาะตะรุเตาและจุดดำน้ำดูปะการัง 16 พ.ค. ถึง 14 ต.ค. เพื่อฟื้นฟูสัตว์น้ำ

    วันนี้ (16 พ.ค. 59) มีรายงานข่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประกาศปิดการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และแนวปะการังรอบเกาะตาชัย อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล

    รายงานข่าวระบุว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ได้ประกาศปิดเกาะในแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานฯแล้วในบริเวณ เกาะอาดัง-ราวี และปิดพื้นที่จุดดำน้ำดูปะการังและกิจกรรมต่างๆในทะเลตามหนังสือประกาศในเรื่องปิดฤดูกาลท่องเที่ยวตั่งแต่วันที่ 16 พ.ค. ถึง 14 ต.ค. ตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่กำหนดให้อุทยานตะรุเตาปิดในครั้งนี้

    ขณะที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ได้ประกาศปิดพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เกาะตาชัย และหมู่เกาะสุรินทร์ ของจังหวัดพังงา เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการท่องเที่ยว หลังจากที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการปล่อยให้นักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการจำนวนมากจนเกินขีดความสามารถรองรับได้ โดยในบางวันมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปใช้บริการมากถึง 2,400 คน

    นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่าเกาะตาชัยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ไม่เกิน 300 คน และจากผลการวิจัยยังพบว่าเกิดความเสื่อมโทรมของแนวปะการังชายฝั่งรอบเกาะตาชัยขยายวงอย่างรวดเร็ว โดยการปิดเกาะตาชัยในครั้งนี้อาจต้องใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 2 ปี

    ด้านนายณัฐ โก่งเกษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เผยว่า การประกาศปิดพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เกาะตาชัย และหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นระยะเวลา 5 เดือน เป็นไปตามแผนแม่บท เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงมรสุมฝั่งทะเลอันดามันมีคลื่นลมแรง จนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตทรัพย์สินประชาชนและนักท่องเที่ยว



     
    Alamos likes this.
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  3. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ลูกนกเงือกหัวแรดอายุประมาณ 2 เดือน ซึ่งยังไม่ทราบเพศที่ถูกขโมยปีนต้นไม้ล้วงโพรงมาจากเบอร์ 29 บนเทือกเขาบูโด อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตร สภ.บาเจาะ และ ยี่งอ ทลายแหล่งซึ่งขายสัตว์ป่าในพื้นที่ที่ อ.ยี่งอ ช่วยชีวิตมาได้พร้อมนกและสัตว์ป่าอื่นอีก 20 กว่าตัวเมื่อวันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา

    จนท.นำลูกนกเงือกหัวแรดคืนโพรง หลังจับ 3 มือขโมย!เจ้านกเงือกกำลังถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี และ ทีมนักวิจัยระบบนิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำกลับไปเข้าสู่โพรงเดิมเบอร์ 29

    เจ้าหน้าที่หลายคนยืนยัน 80 เปอร์เซนต์น่าจะใช่ลูกนกที่ถูกล้วงมาจากโพรงดังกล่าว โดยวัดจากขนาดและอายุ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างการสอบสวนผู้รับซื้อ เพื่อที่จะขยายผลตามจับคนที่ขึ้นไปล้วงขโมยลูกนกในโพรงมายืนยันว่าใช่หรือไม่ และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป



    กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พบปะการังฟอกขาว 33 จุด สั่งปิดเกาะตาชัยงดท่องเที่ยวอย่างไม่มีกำหนด ฟื้นฟูปะการังฟอกขาว

    โดยบริเวณเกาะทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน ที่ได้ทยอยปิดอย่างไม่มีกำหนด ห้ามท่องเที่ยวดำน้ำ อาทิ เกาะราชาใหญ่ บริเวณอ่าวสยามและอ่าวทือ จ.ภูเก็ต รวมถึงหลายจุดที่เกาะตรุเตา จ.สตูล, จ.ชุมพร รวมถึงที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์

    ส่วนเกาะตาชัย ปิดไปแล้วอย่างไม่มีกำหนด ซึ่งไม่ใช่เพราะปัญหาปะการังฟอกขาว แต่นักท่องเที่ยวที่ล้นขีดจำกัด จึงต้องปิดอย่างไม่มีกำหนด เพื่อให้ทรัพยากรฟื้นฟูโดยเร็ว

    อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ผลสำรวจพบปะการังเริ่มฟอกขาวครั้งแรก เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่เกาะทะลุ ประจวบคีรีขันธ์ เดือนเมษายนพบเพิ่มที่อ่าวไทยหมู่เกาะอ่างทอง และที่อันดามันพบที่เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต และล่าสุดกลางเดือนพฤษภาคมพบเกิดขึ้นอีกที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออกโดยทั่วประเทศมีทั้งสิ้น 33 จุด เป็นเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล 25 จุด และนอกเขตอุทยานฯ 8 จุด

    ด้านอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า จุดที่เกิดปะการังฟอกขาวมากที่สุด อยู่ที่หมู่เกาะชุมพรที่เกาะมะพร้าว พบถึงร้อยละ 80 ทั้งนี้ ได้จะทยอยประกาศปิดการท่องเที่ยว จุดดำน้ำที่มีปะการังฟอกขาวให้เร็วที่สุด โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 มาตรการ 17 ที่เกิดใหม่ ที่เกาะแสมสาร เขตของกองทัพเรือ จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ



    กรมอุทยานแห่งชาติฯเร่งหาทางแก้ไขและฟื้นฟูหลังเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวบริเวณทะเลอ่าวไทย-ฝั่งอันดามัน



    งัด ม.17 แก้วิกฤตเกาะไข่ พื้นที่ปะการังตาย 80-90%



    ข่าว 7 สี - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ใช้กฏหมายพิเศษจัดระเบียบเรือนำเที่ยว แทนการปิดเกาะไข่นุ้ย ไข่นอก และไข่ใน จังหวัดพังงา ภายในสัปดาห์นี้

    นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ประเมินปัญหาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เกาะไข่นุ้ย เกาะไข่นอก และเกาะไข่ใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ถูกทำลายอย่างหนัก ร่วมกับคณะทำงานดำเนินการใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และนักวิชาการ พบว่า ทั้ง 3 เกาะมีปัญหาการบุกรุก ยึดครองทำประโยชน์จากผู้ประกอบการท่องเที่ยวมากขึ้น บางพื้นที่ปะการังเสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์

    ดังนั้น จึงต้องเร่งแก้ปัญหาโดยใช้กฎหมายส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าควบคุมแทนการปิดทั้ง 3 เกาะ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการท่องเที่ยว โดยจะประกาศใช้กฎหมายภายในสัปดาห์นี้ ในการควบคุม ทั้งนักท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยวและการเดินเรือท่องเที่ยว ฝ่าฝืนโทษหนักทั้งจำและปรับ
     
    Last edited: 20 May 2016
  4. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    หัวหน้าอุทยานฯเจ้าไหมลงสำรวจแนวปะการังหลังพบมีการฟอกขาวเป็นกลุ่มถึงร้อยละ 50





    22 พ.ค.| 14.00 น. นายชลทิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ สั่งเดินหน้ายึดคืนพื้นที่ป่าจังหวัดน่าน หลังเปิดปฏิบัติการ จนสามารถยึดคืนได้กว่า 5,000 ไร่ในอำเภอเวียงสา



    น่าน 22 พ.ค. – วันนี้ที่จังหวัดน่าน เปิดแผน “ประชารัฐ พิทักษ์ป่าน่าน” มีหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน และชุมชน เข้าร่วม หวังฟื้นฟูป่าต้นน้ำจังหวัดน่านที่ยังคงถูกบุกรุกอย่างต่อเนื่อง โดยพบอุปสรรคสำคัญ คือการสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านในการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกกฎหมาย. –สำนักข่าวไทย



    หลังทวงคืนผืนป่าที่ถูกบุกรุกมาได้บางส่วน ปีนี้รัฐตั้งเป้าฟื้นฟูผืนป่าให้ได้มากถึง 100,000 ไร่ แต่ตัวเลขนี้รัฐบาลไม่สามารถทำได้โดยลำพังต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน และจัดทำโครงการประชารัฐ ให้ชุมชนมีส่วนร่วมดูแลป่า

    พื้นที่ป่าของไทยในอดีตเมื่อปี 2504 มีอยู่มากถึง 400 ล้านไร่ นับตั้งแต่ปี 2545 - 2557 พบว่าพื้นที่ป่าถูกบุกรุกแผ้วถาง จนหายไปปีละหลายแสนไร่ จนปัจจุบันเหลือเพียง 102.4 ล้านไร่ ลดลงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์

    ในปีที่ผ่านมารัฐบาลคลอดแผนทวงคืนผืนป่าโดยสามารถยึดคืนผืนป่าที่ถูกบุกรุกแผ้วถางจากกลุ่มนายทุนและชาวบ้าน มากถึง 400,000 ไร่ และยังคงเดินหน้าทวงคืนผืนป่าอย่างต่อเนื่อง ตั้งเป้า 1 ปี ต้องไม่น้อยกว่า 200,000 – 300,000 ไร่

    หลังยึดคืนพื้นที่ที่ถูกบุกรุกได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าให้มากขึ้น ปีละไม่น้อยกว่า 50,000 – 100,000 ไร่ ตั้งเป้าให้ได้ 128 ล้านไร่ โดยจะเริ่มฟื้นฟูป่าทุกภาคไปพร้อมกัน

    งบประมาณฟื้นฟูป่าของรัฐในแต่ละปีมีไม่มาก จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน ร่วมกันทำ CSR เพื่อช่วยปลูกป่าให้มากขึ้น

    ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ไปยังจังหวัดพิษณุโลก เพื่อร่วมปลูกป่ากับกรมป่าไม้ โดยจังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูมากถึง 3,000 ไร่ แต่การปลูกต้องคำนึงว่าต้นไม้ชนิดไหนเหมาะสมมีโอกาสอยู่รอดในพื้นที่นั้นๆ

    นอกจากนี้ยังมีโครงการประชารัฐ เป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนให้เข้มแข็ง โดยมีงบประมาณจากภาครัฐสนับสนุนให้ชาวบ้านในพื้นที่นำไปปลูกฟื้นฟูป่า และช่วยกันดูแลผืนป่าให้ต้นไม้ได้กลับมาเขียวขจีอีกครั้ง

    ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะมีแอปพลิเคชั่นเพื่อใช้ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าแบบรายวัน โดยจะมีการคำนวณเส้นทางอัตโนมัติ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงจุดที่ถูกบุกรุกอย่างทันท่วงที

    100 เรื่องรักษ์โลกให้โลกรักษ์วันนี้ พูดถึงพลังงาน ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ แต่ปัจจุบันพลังงานสะอาดปลอดภัยต่อโลก มีไม่ถึงครึ่งของปริมาณการใช้ทั้งหมด เพราะพลังงานที่ได้จากน้ำมันและถ่านหิน เป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจก
     
    Last edited: 25 May 2016
  5. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ชุดพญาเสือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช บุกเข้าจับกุมและตรวจยึดพื้นที่บุกรุกบนเกาะเสม็ดกว่า 33 ไร่ ติดตามกับคุณธนพัต กิตติบดีสกุล

    ก่อนที่ทีมชุดพญาเสือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่สนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่หารจาก มณฑลทหารบกที่ 14 เข้ายึดพื้นที่ รีสอร์ท ที่บุกรุกในเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ได้มีชาวบ้านรุมถามถึงการปฏิบัติการครั้งนี้ โดยเกรงว่า ที่ดินที่ตัวเองถือครองไว้จะถูกยึดไปด้วย

    เจ้าหน้าที่ต้องทำความเข้าใจและยืนยันกับชาวบ้านว่า ที่ดินที่ชาวบ้านเช่าไว้อย่างถูกต้องกับ กรมธนารักษ์ จะไม่ถูกยึดคืน แต่ส่วนไหนใครล้ำเข้าเขตอุทยานฯ ถือว่าผิดกฎหมาย

    หลังทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้ว ทีมพญาเสือได้แบ่งกำลังกันเข้าตรวจสอบพื้นที่ ทำรังวัด ซึ่งก็พบว่า มีสะพานท่าเทียบเรือ 10 ท่า ล้ำเข้าไปในทะเล และชายหาด จึงได้สั่งรื้อทันที นอกจากนี้ ยังพบรีสอร์ทกำลังสร้างใหม่ และต่อเติมเข้าไปในพื้นที่อุทยาน รวมปฎิบัติการครั้งนี้ยึดพื้นที่บุกรุกได้กว่า 33 ไร่

    เจ้าของรีสอร์ท ไม่ยอมรับการปฎิบัติการครั้งนี้โดยยืนยันครอบครองพื้นที่ถูกต้อง เพราะได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจาก กรมธนารักษ์ พร้อมโชว์หลักฐาน

    ข้อถกเถียงถึงสิทธิ์การครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าว เกิดขึ้นเพราะเดิมที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ราชพัสดุ ที่กรมธนารักษ์ให้เอกชนและชาวบ้านเช่าทำกินอยู่อาศัยต่อมามีการสำรวจพบ สภาพป่าสมบูรณ์ ทำให้บริเวณนี้ถูกประกาศเป็น เขตอุทยานแห่งชาติ ตามประกาศพระราชกฤษฎีกา เมื่อปี 2524

    ดังนั้น การที่กรมธนารักษ์จะให้เอกชนรายใดเช่า ต้องผ่านการอนุญาตจากกรมอุทยานฯก่อนทุกครั้ง และหากพบเจ้าหน้าที่รายใด ยุ่งเกี่ยวเอื้อประโยชน์ไม่ละเว้น



    จนท.สนธิกำลังเข้าตัดโค่นต้นยางพาราในอ.ภูเรือจ.เลย หลังพบนายทุนบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกภูเหล็กกว่า131ไร่

    วันนี้(25 พ.ค.59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ 7 อำเภอภูเรือ สนธิกำลังกับอาสาสมัครรักษาดินแดนจำนวน 100 นาย เข้าทำการตัดโค่นต้นยางพาราที่มีการบุกรุกปลูกในพื้นที่สงวนแห่งชาติป่าโคกภูเหล็ก ในท้องที่บ้านห้วยลาด ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย โดยพบว่ามีการลักลอบปลูกยางพาราซึ่งมีอายุได้ประมาณ 8 ปี จึงทำการตัดโค่นออกในลักษณะตัด 3 แถว เว้นไว้ 2 แถว เพื่อให้เป็นแนวป่าตามหลักวิชาการป่าไม้

    โดยนายกิตติคุณ บุตรคุณ นายอำเภอภูเรือ กล่าวว่า การปฏิบัติการตัดโค่นต้นยางพาราในครั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 ส.ค.ปีที่ผ่านมา หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ 7 อำเภอภูเรือเข้าตรวจสอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติพบการบุกรุกพื้นที่ป่า จำนวน 3 แปลง รวม 131 ไร่ โดยเจ้าพนักงานป่าไม้ได้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษผู้เข้าบุกรุกครอบครองพื้นที่ป่า เพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ครอบครองที่ดิน โดยศาลได้มีคำสั่งให้ผู้ครอบครองออกจากพื้นที่จากนั้นจึงนำกำลังเข้าตัดโค่นเพื่อคืนพื้นที่ป่าให้กลับคืนสู่ธรรมชาติต่อไป



    กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดยุทธการจับกุม-ตรวจยึดพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด หลังพบมีการครอบครองที่ดินไม่ถูกต้อง โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นร่วมกระทำความผิด

    ล่าสุด วันนี้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้าได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้เช่าที่ดิน 15 แปลงจากที่ราชพัสดุกรมธนารักษ์ และหัวหน้าชุดเฉพาะกิจพญาเสือ ได้เป็นผู้ฟ้องกรมธนารักษ์ ฐานบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เรียบร้อยแล้ว



    สำนักข่าวไทย 25 พ.ค.-ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำในจังหวัดน่าน ทำลายระบบนิเวศทั้งระบบ สาเหตุสำคัญมาจากการเผาป่า ทำไร่ข้าวโพด รวมทั้งยังพบการลักลอบตัดไม้ ตอนนี้มีพื้นที่ป่าเกือบในจังหวัดเกือบ 1 ล้านไร่ ที่หมดสภาพป่าแล้วอย่างถาวร ไม่สามารถฟื้นฟูได้

    ทีมข่าวสำนักข่าวไทยขึ้น ฮ. บินสำรวจป่าต้นน้ำเขต รอยต่ออำเภอเวียงสา และท่าวังผา จังหวัดน่าน สภาพป่ากลายเป็นเขาหัวโล้น ก่อนหน้านี้ไม่นาน ตรงนี้เป็นไร่ข้าวโพด หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรอขาย ชาวบ้านจะเตรียมดินเพื่อรอปลูกข้าวโพดรอบใหม่ และในสิบปี หลังเปลี่ยนจากการปลูกข้าวโพดสลับการพักดิน เป็นปลูกข้าวโพดทุกแปลงพร้อมกันโดยไม่ต้องพัก เพราะเคยขายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 12 บาท และระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก มีการเผาซังข้าวโพด แล้วราดยาฆ่าหญ้า ทำเช่นนี้ทุกแปลง มีข้อมูลว่ามีการใช้ยาฆ่าหญ้าที่น่านถึงปีละ 100 ตัน ต่อพื้นที่ 1 ล้านไร่ เช่น ตัวอย่างแกลลอนยาฆ่าหญ้าที่ตกอยู่ในพื้นที่เตรียมปลูกข้าวโพด ฤทธิ์ยาฆ่าหญ้าซึมลงดิน ลงแหล่งน้ำ ส่งผลรุนแรงต่อระบบนิเวศ ชาวบ้านรายนี้ทำไร่ข้าวโพดมา 40 ปี บนเนื้อที่ 20 ไร่ ข้าวโพดราคาดี และปัญหาหนี้สิน ทำให้เขายังคงเลือกทำอาชีพนี้ แม้รู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ป่าต้นน้ำถูกทำลาย

    พื้นที่ป่าในอำเภอเวียงสา ตรงนี้อยู่นอกเขตป่าสงวน แต่กลับพบไม้ท่อนทั้งประดู่และไม้ชิงชัน กระจายอยู่กว่า 70 ท่อน ที่เนื้อไม้พบร่องรอยการตีตราลงเลข เจ้าหน้าที่ป่าไม้ให้ข้อมูลว่า ลักษณะตำแหน่งและการตีตราไม่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันเลขที่ตอกไม้ น่าจะถึง 5 หลัก ไม่ใช่ 3 หลัก เชื่อว่าเป็นไม้จากป่าสงวน และเป็นการตีตราลวง เพื่ออำพรางในการขนย้ายออกไปภายนอก และผู้เกี่ยวข้องยังอาจต้องสร้างหลักฐานใบกำกับไม้ขึ้นมาอีก เพื่อเป็นใบเบิกทางในการขนย้ายผ่านด่าน ให้น่าเชื่อว่าเป็นไม้ที่ถูกต้อง

    ปัจจุบันพื้นที่ป่าในจังหวัดน่านกว่า 7 ล้านไร่ ถูกทำลายไปแล้ว 1 ล้าน 6 แสนกว่าไร่ ทั้งจากการเผาป่าทำไร่ข้าวโพด และลักลอบตัดไม้ ส่งผลให้พื้นที่ป่าเกือบล้านไร่ ฟื้นฟูไม่ได้ เพราะหมดสภาพป่าไปแล้วอย่างถาวร ปัญหาสำคัญคือการบุกรุกเกิดในพื้นที่ต้นน้ำบนภูเขาสูง ยากแก่การตรวจสอบ

    ข้อมูลพื้นที่ป่าในจังหวัดน่าน จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า ช่วงปี 2547-2551 พื้นที่ป่าลดลง 50,000 ไร่ต่อปี ช่วงปี 52-55 ลดลง 90,000 ไร่ต่อปี ส่วน 3 ปีหลังมานี้ ลดลง 4,000-6,000 ไร่ต่อปี ตัวเลขที่ลดลงชี้ว่า ป่าถูกบุกรุกไปมาก จนเหลือป่าให้บุกรุกน้อยลง แต่การบุกรุกป่าน่านยังเกิดขึ้นทุกวัน เช่นการบุกรุกใหม่อีกกว่า 5,000 ไร่ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ อำเภอเวียงสา.-สำนักข่าวไทย



    น่าน 26 พ.ค.-แม้มีความพยายามแก้ปัญหาบุกรุกป่าต้นน้ำในจังหวัดน่าน แต่ก็ยังคงพบการบุกรุกใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะขณะนี้พบมีการเปิดพื้นที่ในป่าลึก บนเขาสูงชัน เพื่อปลูกขิง พืชเศรษฐกิจใหม่ที่ต้องลงทุนสูงและดูแลยาก จึงน่าเชื่อว่ามีการทำเป็นขบวนการ

    หน่ออ่อนของขิงปกคลุมด้วยฟางแห้ง ปลูกอยู่เต็มพื้นที่บนยอดเขา เขตป่าสงวนบ้านป่าสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ลักษณะเป็นพื้นที่ไข่แดง เพิงพักใกล้ๆ มีร่องรอยว่ามีคนอาศัย พบปืน กระสุนปืน และอุปกรณ์ทำไม้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้บอกว่า เส้นทางที่ยากลำบาก และการบุกรุกพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้น่าเชื่อว่า การปลูกขิงที่ต้นทุนสูง ดูแลยาก แต่ราคาขายสูงไร่ละนับแสนบาท น่าจะมีนายทุนสนับสนุน

    พื้นที่บุกรุกปลูกขิงอีก 15 ไร่ ที่แจ้งผ่านวิทยุสื่อสาร เป็นอีกจุดที่ถูกบุกรุกใหม่ รวมถูกบุกรุกกว่า 5,000 ไร่ ของอำเภอเวียงสา การบุกรุกหลังปี 57 ถือว่ามีความผิดตามคำสั่ง คสช.ที่ 64 และ 66 โดยก่อนขอคืนพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะเจรจากับชาวบ้านก่อน

    ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ทั้ง 5 จุด อยู่ในป่าลึกบนภูเขาสูง ต้องใช้กำลังทั้งทางรถและเฮลิคอปเตอร์ ระหว่างทางยังพบการเผาพื้นที่เพื่อ เตรียมปลูกข้าวโพด ปุ๋ยเคมีหลายกระสอบ และยาฆ่าหญ้า ลึกเข้าไปด้านในยังพบการลักลอบตัดไม้แปรรูป เปิดปีก ตีปอนด์ ไม้ชิงชัน ซึ่งเป็นไม้ลักลอบส่งออกไปต่างประเทศ คาดเป็นการกระทำของขบวนการ

    ข้อมูลจากชุดปฏิบัติการพิเศษพยัคฆ์ไพร วิเคราะห์การบุกรุกป่าน่านหลายลักษณะ ทั้งการทำไม้มีค่า โดยเฉพาะไม้ชิงชันและไม้ประดู่ ในโซนรอยต่อ แพร่ พะเยา และน่าน การใช้ที่ดินแบบรีสอร์ท การเปิดพื้นที่ใหม่เพื่อปลูกขิง เจ้าหน้าที่คาดว่าไร่ขิงจะมากขึ้นอีกหลายร้อยไร่ในปีหน้า และการบุกรุกป่าแบบไม่มีเอกสารสิทธิ เช่นที่เกษตรกรปลูกข้าวโพดกินพื้นที่หลายภูเขา โดยพื้นที่ป่าที่รุกเข้าไปใหม่ มีนายทุนสนับสนุนให้ทั้งเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และรับซื้อผลผลิต.-สำนักข่าวไทย
     
    Last edited: 26 May 2016
  6. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ข่าว 7 สี - กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าจากนายทุน ที่ปลูกสิ่งก่อสร้างในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน รวมเนื้อที่กว่า 17 ไร่

    เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน และเจ้าหน้าที่ชุดพญาเสือโคร่งกว่า 30 นาย นำป้ายประกาศเตือนให้รื้อถอนไปติดไว้ที่หน้ารีสอร์ท "อิมภู ฮิลล์" ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้นายทุนทำการรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างถาวร จำนวน 36 หลัง บนเนื้อที่ 17 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวาโดยให้ดำเนินการนับแต่วันที่ติดป้ายประกาศเตือน ภายในระยะเวลา 30 วัน หรือก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน นี้

    รีสอร์ท อิมภู ฮิลล์ ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จับกุมและส่งฟ้องดำเนินคดี ตั้งแต่ปี 2551 จนคดีถึงที่สุดแล้ว และยังมีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีอีกเป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในแผนปฏิบัติการทวงคืนผืนป่า

    สำหรับรายนี้ หลังพ้นระยะเวลาที่กำหนดยังไม่ยอมรื้อถอน เจ้าหน้าที่จะนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปดำเนินการทันที



    น่าน 27 พ.ค.-ป่าในจังหวัดน่านถูกบุกรุกไปแล้วกว่า 1 ล้าน 6 แสนไร่ ซึ่งเกือบ 1 ล้านไร่หมดสภาพป่าแล้วอย่างถาวร แต่อีก 7 แสนไร่ ยังสามารถฟื้นฟูได้ วันนี้เราจะไปดูความพยายามของชาวน่านในการร่วมแก้ปัญหา รวมทั้งชาวบ้านที่อยู่ในเขตป่าสงวน ที่เปลี่ยนจากปลูกข้าวโพดไปทำเกษตรผสมผสาน

    ปีนี้เป็นปีแรกที่พื้นที่ที่เคยปลูกข้าวโพดมาตลอด 20 ปี ของลำไพ เกษตรกรในอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน จะเริ่มนำไผ่มาปลูกแซมในอัตราส่วน 16 ต้น ต่อ 1 ไร่ หลังเข้าร่วมโครงการกับสมาคมพัฒนาไผ่ไทย ภาคประชาสังคม ตั้งใจเปลี่ยนไร่ข้าวโพดเป็นสวนไผ่ เพื่อฟื้นสภาพดินและป่าต้นน้ำ การปลูกข้าวโพดหลายพื้นที่ในน่าน แม้มีราคาดี แต่กลับทำลายป่าต้นน้ำ สารเคมีซึมสู่ดินและน้ำ ขณะที่ไผ่พันธุ์ฟ้าหม่นที่ส่งเสริมให้มีการปลูก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้สารเคมี เป็นพืชทนแล้ง และช่วยยึดหน้าดิน นอกจากลำไพ ยังมีเกษตรกรอีก 60 จาก 180 ครัวเรือนในหมู่บ้านนี้ เข้าโครงการ เพียง 2 ปี แรกสามารถเก็บหน่อไผ่ขายได้ ครบสามปีก็ตัดลำขายได้ อีกหมู่บ้านหนึ่งที่เคยปลูกข้าวโพด มีความพยายามจากหลายหน่วยงาน ถ่ายทอดความรู้ สอนให้ชาวบ้านทำเกษตรผสมผสานแทน หมู่บ้านในโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่บ้านร่มเกล้า อำเภอแม่จริม เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน เมื่อมีการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งถนน ประปา ไฟฟ้า

    นอกจากนาข้าว ยังมีการปลูกพืชผักผลไม้หลายชนิด อย่างแตงร้านปลูกได้ปีละ 3 รอบ ส่วนขิงก็ราคาดี ทั้งสองชนิดสร้างรายได้ไร่ละเป็นแสนบาท แม้ไม่มีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่เหมือนข้าวโพด แต่ระยะทาง 70 กิโลเมตร ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะมีถนนตัดตรง ชาวบ้านนำลงไปขายได้เอง หมู่บ้านนี้อยู่ในป่าสงวนแม่จริม หมู่บ้านในเขตป่าสงวน ของน่าน มีกว่า 300 หมู่บ้าน เข้าโครงการเช่นนี้มาแล้ว 25 หมู่บ้าน รัฐบาลตั้งเป้าให้ได้ 105 หมู่บ้าน ภายในเดือนหน้า ส่วนผู้แทนเอกชนรายหนึ่งในพื้นที่ ที่รับซื้อข้าวโพด ยืนยันว่าจะไม่รับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรที่ปลูกในพื้นที่บุกรุกป่า

    แม้ปัญหาบุกรุกป่าน่านเพื่อปลูกข้าวโพด จะรุนแรงลดลงเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่แล้ว หลายหมู่บ้านเห็นความสำคัญของป่าต้นน้ำ และพร้อมทำเกษตรผสมผสาน แต่พืชที่ปลูกต้องทำรายได้ที่เหมาะสม มีตลาดรองรับ มีการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งหลายหน่วยงาน รวมทั้งชาวน่านเอง กำลังพยายามแก้ปัญหานี้ เพราะป่าไม้สร้างชีวิต.-สำนักข่าวไทย



    กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเร่งปูพรมประกาศคุมเข้ม 7 พื้นที่นำร่อง ห้ามให้อาหารสัตว์น้ำ ตามมาตรา 17 กฎหมายกรมทะเล และอีก 8 กิจกรรมต้องห้ามเด็ดขาด

    รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือ ทช. นายโสภณ ทองดี บอกว่า ขณะนี้ขอเตือนนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการธุรกิจทัวร์ทางทะเลว่าขณะนี้คำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ออกตามมาตรา 17 เรื่องมาตรการ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการระงับความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งครอบคลุม 7 พื้นที่ ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว คือเกาะมันใน จังหวัดระยอง , เกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เกาะเหลื่อม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เกาะไข่ จังหวัดชุมพร , เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต , แหลมพันวา จ.ภูเก็ต และเกาะไม้ท่อน จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงคือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามความในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558

    นายโสภณ บอกว่า ขณะนี้เร่งประชาสัมพันธ์แนวทางปฏิบัติหลังประกาศดังกล่าว โดยจัดทำหนังสือนำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่ พร้อมกับเข้าไปชี้แจงรายละเอียดให้ได้รับทราบ รวมทั้งประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้ประกอบการที่พัก ท่องเที่ยวเรือบริการนักดำน้ำ ได้รับทราบรายละเอียดของประกาศ ส่วนในแหล่งท่องเที่ยว มีการจัดเจ้าหน้าที่พร้อมเรือตรวจการณ์เข้าปฏิบัติงานประจำในพื้นที่ประกาศ เพื่อดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้น เช่น กรณีนักท่องเที่ยวชาวจีนที่โดนจับที่เกาะไข่ เพราะฝ่าฝืนให้อาหารปลา และจากนี้ก็ต้องเร่งทำความเข้าใจระดับตัวบุคคลผ่านไกด์ เป็นต้น

    สำหรับ 8 กิจกรรมที่เข้าข่ายถูกเนินคดี คือ ห้ามจอดเรือโดยทิ้งสมอเรือบนแนวปะการัง, ห้ามทิ้งขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลน้ำเสียลงทะเล, ห้ามขุดลอกร่องน้ำปะการัง, ห้ามทำกิจกรรมในการที่ทำให้เกิดตะกอนบนแนวปะการัง, ห้ามค้นหา ล่อ จับ ได้มาเพื่อเก็บสัตว์น้ำ รอบแนวปะการัง, ห้ามให้อาหารปลาและสัตว์น้ำ, ห้ามการเดินเหยียบย่ำปะการัง และห้ามเก็บหรือทำลายปะการัง



    เกาะเสม็ด แหล่งท่องเที่ยวที่เคยเงียบสงบสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสเมื่อ 30 ปีก่อน ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงและดูเหมือนเปลี่ยนแปลงอย่างหนักในช่วง 10 ปี จากเคยที่ได้ชื่อว่ามีหาดทรายขาว ทรายละเอียดเนียนนุ่มเท้า



    ปัจจุบันพื้นที่ป่าลุ่มน้ำภาคเหนือตอนบน ปิง วัง ยม น่าน เสื่อมโทรมอย่างหนักเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าและแผ้วถางป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้านจำเป็นที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยจะมีการนำร่องแก้ไขป่าจังหวัดน่านที่กลายเป็นป่าหัวโล้นในขณะนี้ ไปติดตามเรื่องนี้กับ อายุทัย นนท์นิติรัตน์ ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี ศูนย์ข่าวภาคเหนือ
     
    Last edited: 4 Jun 2016
  7. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ในอดีตอ่าวไทยตอนใน หรือ อ่าวไทยรูปตัว ก เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรประมงอุดมสมบูรณ์มาก เนื่องจากมีแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และ เพชรบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ไหลลงสู่อ่าวไทยรูปตัว ก แม่น้ำเหล่านี้จะพัดพาสารอาหารลงสู่อ่าวไทย บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก ยังมีป่าชายเลนที่เป็นแหล่งวางไข่ และ แหล่งเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำหลายชนิด เดือน มิ.ย. – ส.ค. ของทุกปี จะมีสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะลูกปลาทู ลูกปลาทู ซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่า และ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ จะอพยพจากแหล่งวางไข่ขึ้นสู่อ่าวไทยตอนใน เพื่อเลี้ยงตัวเจริญเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์ และ กลับไปวางไข่บริเวณอ่าวไทยตอนกลางอีกครั้งหนึ่ง

    จากความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ทำให้อ่าวไทยรูปตัว ก เป็นแหล่งทำการประมงที่สำคัญ ทั้งประมง พื้นบ้านและประมงพาณิชย์ การเพิ่มขึ้นของเครื่องมือที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง ส่งผลให้สัตว์น้ำขนาดเล็กถูกจับก่อนที่จะเจริญเติบโต และ แพร่ขยายพันธุ์ ผลผลิตสัตว์น้ำลดลง ทะเลเสื่อมโทรม จนกระทบต่อรายได้ของชาวประมงในที่สุด การพัฒนาและดัดแปลงเครื่องมือทำการประมงบางประเภทให้มีประสิทธิภาพในการจับพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ และ สัตว์น้ำวัยอ่อนจำนวนมาก จนธรรมชาติไม่สามารถทดแทนได้ทัน ส่งผลให้ประชากรสัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว

    ผลศึกษาวิจัยกรมประมง พบว่าเดือนมิถุนายน ปลาทูมีความยาวเฉลี่ย 12.8 เซนติเมตร เป็นปลาทูขนาดเล็ก ไม่สามารถวางไข่ได้ หากปล่อยปลาทูเจริญเติบโตต่อไปอีก 2 เดือน จะมีความยาว เฉลี่ย 15.8 เซนติเมตร หรือ ปลาทูสาว สามารถวางไข่ได้ และจากการประมาณมูลค่าปลาทู ก่อนจะปิดอ่าวมูลค่า 93.6 ล้านบาท หากปิดอ่าว 2 เดือน มูลค่าปลาทูจะเพิ่มขึ้นเป็น 391.9 ล้านบาท สัตว์น้ำชนิดอื่นๆก็เช่นเดียวกัน จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นหลังจากเปิดอ่าว

    ข้อมูลการสำรวจการจับปลาทู ช่วงก่อน หลังมาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ปีที่แล้ว พบว่า ว่าขนาดปลาทูก่อนปิดอ่าว ตัว ก. เป็นปลาทูไซส์เล็กถึงร้อยละ 16 และ หลังมาตรการ พบจำนวนปลาทูไซส์เล็กลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2.7 ชาวประมงพื้นบ้านจับปลาทูได้เพิ่มจาก 130 กิโลกรัม/วัน และ หลังมาตรการจับได้ 205.5 กิโลกรัม/วัน ขนาดที่จับได้ก็ใหญ่ พบว่าสัตว์น้ำอื่นๆ อาทิ ปลาเห็ดโคน ปูม้า ขนาดใหญ่ ที่น่าสนใจ ในพื้นที่อ่าวไทยแต่ก่อน ไม่พบ กุ้งแชบ๊วย กุ้งโอคัก หลังปิดอ่าวตัว ก พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นสูงถึง 2 – 4 เท่า

    การไม่จับสัตว์น้ำที่ยังไม่โตเต็มวัย เป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้วงจรสัตว์น้ำ พ่อแม่พันธุ์อยู่คู่กับชาวประมงได้ยั่งยืน แต่สาเหตุหลักที่ทำให้ปีนี้จำนวนสัตว์น้ำในอ่าวตัว ก.ลดลง หนีไม่พ้นปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง เพราะเมื่อฝนตกลงมาน้อย ไม่มีสิ่งปฏิกูลในผืนทะเลแพลงก์ตอน สัตว์เล็กๆ ที่เป็นอาหารปลาก็ไม มาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว “ก”. จะฟื้นฟูทรัพยากรประมงให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน ติดตามจากรายงานพิเศษครับ





    นักวิชาการเสนอกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลให้ได้ 3 หมื่น 5 พันตารางกิโลเมตร คิดเป็น 10% ของพื้นที่ทะเลทั้งหมด

    รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตศาสตร์ ดร.ธรณ์ ดำธงนาวาสวัสดิ์ บอกว่า มีการเสนอให้ตั้งเป้าประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ให้ได้อย่างน้อย 10% ของพื้นที่ทะเลทั้งประเทศ ตามมาตรฐานของ IUCN

    โดยพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ไม่ใช่การสั่งปิดเกาะหรืองดการท่องเที่ยว แต่จะเป็นพื้นที่ที่มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด มีเจ้าหน้าที่ในการตรวจการ มีกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้นที่ทางทะเล 3 แสน 5 หมื่นตารางกิโลเมตร ดังนั้นตามเกณฑ์นี้ประเทศไทยควรจะมีพื้นที่คุ้มครองทางทะเลคือ 3 หมื่น 5 พัน กิโลเมตร แต่ปัจจุบันประเทศไทยประกาศคุ้มครองได้เพียง 11,450 ตารางกิโลเมตร

    ดร.ธรณ์ มองว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สามารถอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. ซึ่งมีมาตราที่เน้นย้ำในการประกาศพื้นที่ทางทะเลโดยเฉพาะ ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าจะประกาศให้ได้ 3 แห่ง เบื้องต้นคาดว่าคือ เกาะมันใน จ.ระยอง เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช เกาะโลซิน จ.นราธิวาส และในอีก 10 ปีข้างหน้า ตั้งเป้ามีพื้นที่คุ้มครองทางทะเล 10% ของพื้นที่ทะเลทั้งหมด

    โดยเกณฑ์นี้จะเกี่ยวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยตรง เกาะที่อยู่นอกเขตไม่ผิด ถ้ามีการประกาศจะมีการควบคุมการทิ้งสมอ การให้อาหารปลา การจับสัตว์น้ำมาเล่น ช่วยควบคุมระยะยาว



    สำนักข่าวไทย 6 มิ.ย.-การบุกรุกทำลายป่าไม้เป็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลกำลังเร่งแก้ไขฟื้นฟู ช่วงก้าวล้ำวันนี้จะพาไปดูการใช้เทคโนโลยีในการสำรวจพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ ทำให้ทราบพื้นที่ป่าไม้ที่แท้จริง และยังสามารถคาดการณ์แนวโน้มพื้นที่ป่าไม้ในอนาคตได้ ที่สำคัญรัฐบาลนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของประเทศในขณะนี้

    ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาใช้สำรวจพื้นที่ป่าไม้ เพื่อให้ทราบตัวเลขที่ชัดเจน นำไปสู่การป้องกันและรักษาป่า ไทยโชต ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทย เริ่มใช้สำรวจพื้นที่ป่าไม้ตั้งแต่ปี 56 โดยกรมป่าไม้มอบให้คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรฯ ใช้เวลาสำรวจ 9 เดือน ก่อนพบว่าป่าไม้ในไทยเหลืออยู่ 31.57% หรือประมาณร้อยล้านไร่ และกลายเป็นฐานข้อมูลสำคัญของรัฐขณะนี้

    ปี 57 สำรวจพบพื้นที่ป่าไม้อยู่ที่ 31.62% เพิ่มขึ้น 100,000-200,000 ไร่ และข้อมูลล่าสุดสิ้นปี 58 ตัวเลขไม่เปลี่ยนแปลง ข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชตมีความแม่นยำ 95% ความผิดพลาดอยู่ที่ 5% หรือผิดพลาดไม่เกิน 5 ล้านไร่ นักวิชาการที่จัดทำข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ บอกว่าที่ผ่านมามีการทำข้อมูลไม่ต่อเนื่อง จึงคาดการณ์พื้นที่ป่าได้ไม่ตรง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีการจัดทำข้อมูลรายปีต่อเนื่อง

    การจัดทำข้อมูลรายปีเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐบาลใช้เป็นแนวทาง เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เป็น 40% จากที่ตอนนี้มีอยู่ 30% ตามมาตรการพลิกฟื้นผืนป่าทั่วประเทศ ทั้งการให้เห็นความสำคัญ บังคับใช้กฎหมาย ช่วยจัดหาที่ดินทำกินกว่า 300,000 ไร่ ให้กับชุมชนรอบป่าใน 47 จังหวัด ภายในปีนี้ และที่สำคัญต้องเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ไม่ให้บุกรุกซ้ำในพื้นที่ต้นน้ำ

    ข้อมูล 30-40 ปีที่แล้วพบว่าพื้นที่ป่าลดลงมาก แต่เมื่อเทียบกับช่วงปี 56-58 เส้นกราฟเริ่มคงที่ ซึ่งชี้ว่าแนวโน้มการลดลงของพื้นที่ป่าไม้น้อยลง แม้จะมีการบุกรุกแต่ก็ฟื้นสภาพได้มากกว่า ต้นปีหน้าก็จะทราบตัวเลขของปี 59 ที่ได้จากดาวเทียมไทยโชต ว่าไทยจะมีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นหรือไม่.-สำนักข่าวไทย



    กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบปะการังบริเวณทิศใต้ของเกาะกระใหญ่ ปะการังเขากวางซีดจางร้อยละ 50 ในระดับความลึก 3-5 เมตร เร่งประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการปฏิบัติตามข้อบังคับ ล่าสุดยังไม่พบการกระทำผิด

    ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี บอกว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) สำรวจพบการเกิดฟอกขาวของปะการังบริเวณหินเรือ หมู่เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีแนวปะการังก่อตัวรอบกองหิน มีความกว้างประมาณ 100 เมตร ซึ่งมีปะการังชนิดเด่น ปะการังเขากวางรูปแบบโต๊ะ ปะการังจาน ปะการังโขด ที่ระดับความลึก 3-5 เมตร อุณหภูมิน้ำ 31 องศาเซลเซียส และระดับความลึกมากกว่า 5 เมตร อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส

    โดยพบปะการังจาน และปะการังโขดมีสีซีดจางผิดปกติ ขณะที่จากการสำรวจปะการังฟอกขาวด้วยวิธี Spot check ในพื้นที่เกาะกระใหญ่ พบมีปะการังชนิดเด่น คือ ปะการังเขากวาง ปะการังช่องเล็กแบบกิ่ง ปะการังช่องเล็กแบบแผ่น ปะการังโขด ซึ่งจากการสำรวจที่ระดับความลึก 3-5 เมตร อุณหภูมิน้ำ 31 องศาเซลเซียส พบว่า ปะการังเขากวาง มีสีซีดจาง คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 50 ของแนวปะการังทางทิศใต้ของเกาะกระใหญ่ ส่วนแนวปะการังที่ระดับความลึก มากกว่า 5 เมตร ยังไม่พบความผิดปกติ

    สำหรับการเฝ้าระวังและคุ้มครองพื้นที่เกาะทะลุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 7 พื้นที่ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 เพื่อประชาสัมพันธ์ ควบคุมการปฎิบัติให้กับผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวทราบเรื่องการท่องเที่ยวอย่างถูกต้อง กำกับ ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกันการละเมิดคำสั่งดังกล่าว โดยจากผลการปฎิบัติเหตุการณ์ปกติไม่มีการกระทำผิดแต่อย่างใด ส่วนเรือประมงพบมีการทำประมงนอกเขตห่างฝั่ง 5 ไมล์ทะเลขึ้นไป
     
    Last edited: 14 Jun 2016
  8. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ดูเหมือนว่าประเทศไทยของเรา จะอุดมสมบูรณ์ เรามีทั้งทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ที่ให้เราได้ใช้ประโยชน์ เรามีอาหารทะเล มีสถานที่ท่องเที่ยวชายฝั่งที่สวยงามขึ้นชื่อระดับโลก ปะการังบ้านเราก็สวยไม่แพ้ใคร แต่การใช้ทรัพยากรอย่างหนักทุกวันนี้ ทำให้มีผลกระทบตามมา

    วันนี้8มิ.ย. ของทุกปี เป็นวันทะเลโลก เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของทะเลไทย โลกคนเมืองได้รวบรวม7วิกฤตทะเลไทยที่ต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน

    7วิกฤตทะเลไทยที่ต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน

    1.ปะการังฟอกขาว

    2.การประมงแบบทำลายล้าง

    3.การกัดเซาะชายฝั่ง

    4.การดูแลจัดการอุทยานทางทะเล

    5.การท่องเที่ยวที่ไร้การควบคุม

    6.สิ่งปฏิกูลในทะเล

    7.น้ำมันรั่ว

    น้ำมันรั่ว

    ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์น้ำมั่นรั่วที่เป็นข่าวใหญ่ถึง2ครั้งด้วยกัน คือ

    -ปลายเดือน ก.ค. บริเวณใกล้กับอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง

    -ปลายเดือน ต.ค. พบคราบน้ำมัน บริเวณชายหาดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

    นี่ยังไม่นับครั้งแล้วครั้งเล่าที่เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วแต่ไม่ได้เป็นข่าวใหญ่ สาเหตุมักเกิดจากการขนถ่ายน้ำมัน อุบัติเหตุเรือบรรทุกน้ำมันรั่ว และจากท่อน้ำมันดิบรั่ว มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ปลาทะเล สัตว์หน้าดิน เช่น หอย ปู รวมทั้งปะการัง และปนเปื้อนที่ชายฝั่ง

    ซึ่งคงต้องให้ทุกคน ทั้ง หน่วยงานเอกชนที่รับสัมปทานน้ำมัน และชาวประมง ระมัดระวัง และเป็นหูเป็นตา เมื่อพบเห็นน้ำมันรั่วในทะเล ควรเริ่มด้วยการหาต้นเหตุการณ์รั่วไหลหรือการลักลอบทิ้งและทำการหยุดโดยเร็วที่สุด รวมไปถึงทำการแจ้งเตือนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐที่รับหน้าที่ในการจัดการกับปัญหา

    การทิ้งขยะและน้ำเสียลงทะเล

    ทะเลทั่วโลกกำลังเผชิญกับขยะที่มีสูงถึง6.4ล้านตันที่ล่องลอยจากฝั่งออกสู่ท้องทะเล ในจำนวนนี้ของไทยมีปริมาณปีละ50ตัน โดยที่มาของขยะส่วนใหญ่เกิดจากการท่องเที่ยว เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ ขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว โฟม รองลงมาจะเป็นขยะจากการประมง เช่น เศษเชือก อวน โดยขยะเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชายหาดท่องเที่ยวที่เกิดความสกปรก

    จากการสำรวจของ โอเชี่ยน คอนเซอเวนซี่ ซึ่งเป็นNGOของ สหรัฐ บอกว่า ไทยติดอันดับประเทศที่ปล่อยขยะประเภทพลาสติกลงสู่ทะเล เป็นอันดับ5ของโลก รองจาก จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

    ส่วนการปล่อยน้ำเสีย เกิดจากความไม่พร้อมด้านระบบจัดการน้ำเสียในแต่ละพื้นที่และพบว่ามีการแอบปล่อยน้ำเสียจากผู้ประกอบการซึ่งส่งผลกระทบต่อ ระบบนิเวศ การท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน โดยหน่วยงานท้องถิ่นต้องเร่งพัฒนาระบบจัดการน้ำเสียและสองส่องการปล่อยน้ำเสียอย่างเข้มงวด

    ต้องยอมรับว่าการดำเนินการตามกฎหมาย ที่หากมีการลักลอบทิ้งขยะและน้ำเสียกลางทะเลทำได้ค่อนข้างยาก แต่ถ้าเป็นจากชายฝั่ง ต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่อุทยาน ชาวบ้านในพื้นที่และผู้ประกอบการ ในการช่วยกันดูแลด้วย

    การท่องเที่ยวที่ไร้การควบคุม

    ปีที่ผ่านมา ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว2.23ล้านล้านบาท ชี้ให้เห็นว่า มีนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศไทยมหาศาล ซึ่งเป็นผลดีในแง่เศรษฐกิจ แต่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้สิ่งแวดล้อมทางทะเลเสื่อมโทรม เช่น การเหยียบปะการัง นักท่องเที่ยวทิ้งขยะลงทะเล ให้อาหารปลา ตกปลาในพื้นที่อุทยาน อย่างที่เราเห็นข่าว ที่นักท่องเที่ยวจีนบางคน จับปลาใส่ถุงพลาสติก และล่าสุด เก็บปะการังกลับบ้าน โดยที่ด่านสนามบิน ตรวจพบแทบทุกวัน

    เรื่องนี้ ต้องมีมาจรการกับบริษัททัวร์นำเที่ยวและนักท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวรับทราบกฎและบทลงโทษ ก่อนมาท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยมีโทษปรับ5000-10,000บาท จำคุกไม่เกิน1ปี และหากนำออกนอกประเทศ มีโทษปรับ5-10เท่า และจำคุกไม่เกิน10ปี และหากนำไปขาย จะมีโทษปรับ20,000บาท จำคุกไม่เกิน1ปี

    การดูแลจัดการอุทยานทางทะเล

    ที่ผ่านมา อุทยานแห่งชาติ มีปัญหาด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าธรรมเนียม แต่ภายหลังมีการจัดระเบียบอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี หรือ พีพีโมเดล ทำให้การบริหารงานในพื้นที่อุทยานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นต้นแบบให้กับอุทยานทางทะเลอื่นๆ

    ที่ชัดเจนมากคือ อุทยานแห่งชาติทางทะเล สามารถเก็บค่าธรรมเนียมได้เพิ่มขึ้น จาก200ล้านบาท ในปี2556เป็น มากกว่า1,000ล้านบาท ในช่วง5เดือน แรกของปีนี้

    โดยอุทยานแห่งชาติทางทะเลต้องนำรายได้มาใช้ในมาตรการอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเลไทยต่อไป

    ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

    เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ในประเทศไทยมีแนวโน้มเกิดถี่มากขึ้นและยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี

    แต่ด้วยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ กลัวว่าจะจมหายไปในทะเล ทำให้มีความพยายามเอาชนะการกัดเซาะหลายวิธี ด้วยการใช้โครงสร้างแข็ง เช่น การสร้างกำแพงกันคลื่น การทิ้งหินและสร้างกำแพงกันคลื่น แต่ก็มักจะถูกคลื่นซัดทำให้โครงสร้างทรุดอยู่บ่อยครั้ง

    ขณะเดียวกัน การใช้โครงสร้างแบบอ่อน ต้องใช้เวลาและได้ผลน้อย เช่น การถมทราย การสร้างเนินทรายเทียม การปลูกป่าชายเลน และการออกกฎหมายห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่กันเซาะ

    ซึ่งมาตรการดังกล่าว ต้องมีการพิจารณาผลกระทบหลายด้าน ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและบริบทของพื้นที่ ที่ต้องใช้องค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยาชายฝั่งเป็นอย่างมาก

    การประมงแบบทำลายล้าง

    เทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยให้การประมงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เรดาร์หาปลา แพล่อปลา ใช้อวนล้อม อวนลาก ซึ่งบ่อยครั้งที่สัตว์ทะเลที่ไม่เป็นที่ต้องการติดเครื่องมือประมงขึ้นมา อย่าง เต่าทะเล ฉลามวาฬ และการใช้อวนตาถี่จับสัตว์น้ำที่ยังไม่โตเต็มที่ขึ้นมา เป็นการตัดโอกาสในการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ ทำให้ลดปริมาณลงในที่สุด

    วิกฤตปะการังฟอกขาว

    ที่ขณะนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ ประกาศปิดแหล่งท่องเที่ยว จุดดำน้ำไปแล้วหลายแห่ง หลังจากลงสำรวจพบว่ามีจุดวิกฤตปะการังฟอกขาวมากกว่า80จุดในพื้นที่50เกาะ เพื่อให้ปะการังฟื้นตัว โดยนักวิชาการเชื่อว่า สาเหตุเกิดจากความแปรปรวนของอากาศอันเกิดจากภาวะโลกร้อน

    ในประเทศไทยปะการังส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเลที่อุณหภูมิ28-29องศาเซลเซียส แต่หากน้ำทะเล อุณหภูมิสูงประมาณ30-31องศาเซลเซียส ติดต่อกันประมาณ3-4สัปดาห์ก็จะมีผลให้ปะการังเกิดการฟอกขาวขึ้น และการถูกรบกวนจากมนุษย์ อีกทั้งการจับสัตว์น้ำที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เช่น ปลานกแก้ว ยิ่งทำให้ปะการังฟื้นตัวช้า

    ตอนนี้ก็ต้องติดตามกันต่อว่ามาตรการปิดเกาะจะช่วยให้ปะการังฟื้นตัวขึ้นหรือไม่

    และเนื่องในวันทะเลโลก เรามาติดตาม1ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตทะเลไทยกับการเก็บขยะใต้ทะเล กับ คุณวัชราทิตย์ เกษศรี ได้ลงพื้นที่ ที่จังหวัดระยอง ติดตามจากรายงานครับ



    ทช.เตรียมใช้อำนาจตามกฎหมาย ประกาศ เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่แรก ภายในปี 2560

    อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) น.ส. สุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ บอกว่า แนวทางในการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลนั้นประเทศไทย ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะดำเนินการภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 ซึ่งกฎหมายให้กำหนดพื้นที่ที่มีทรัพยากรหรือระบบนิเวศน์ที่โดดเด่น ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครอง เพื่อใช้มาตรการทางกฎหมายในคุ้มครองระบบนิเวศน์ทางทะเล

    โดยจะนำแนวคิดของหลักเกณฑ์ในการประกาศพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมโลก ผสมผสานกับแนวทางของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ซึ่งขณะนี้เราได้เสนอพื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง คือ เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช เป็นแห่งแรกที่คาดว่าจะประกาศให้ได้ภายในปี 2559-2560 และจะประกาศให้ได้ 10% ของพื้นที่ทะเลทั้งหมดให้ได้ตามมาตรฐานสากล

    ทั้งนี้ จะนำเสนอคณะกรรมการนโยบายและแผนทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1 ซึ่งคาดว่าจะจัดได้ภายในเดือน ก.ค.เป็นอย่างช้า เมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการ

    นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะประกาศพื้นที่ป่าชายเลนให้เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์อีกจำนวน 7 พื้นที่นำร่อง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ การอนุรักษ์และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน ป่าชายหาด พรุชายฝั่ง หาดและที่ชายทะเล ให้คงความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน ได้แก่พื้นที่ป่าชายเลน อ.แกลง จ.ระยอง 10,047 ไร่ อ.เมือง จ.ชลบุรี 20,663 ไร่ อ. บ้านแหลม จ.เพชรบุรี 11,881 ไร่ อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี 6,692 ไร่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี 12,372 ไร่ อ.เมือง จ.ระนอง 14,844 ไร่ และ อ.ละงู จ.สตูล 14,852 ไร่



    กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประกาศปิดแหล่งท่องเที่ยวดำชมปะการัง บริเวณเกาะกุฎี เกาะทะลุ อ่าวพร้าว และอ่าวปะการังของเกาะเสม็ด เขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง แล้ว มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่เกิดปรากฎการณ์ฟอกขาว รวมพื้นที่กว่า 15,000 ไร่

    นายธนิศ จันทะเดช หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด เปิดเผยว่า การลงพื้นที่สำรวจ พบแนวปะการังน้ำตื้น เช่น ปะการังโขด ปะการังสมอง และปะการังรังผึ้ง มีความเสียหายถึงร้อยละ 80 ซึ่งหลังการประกาศปิดเป็นเวลา 3 เดือน จะมีการประเมินกันอีกครั้ง

    สำหรับประชาชนที่จะเข้าพักตามสถานที่ที่ประกาศปิด ยังคงเดินทางท่องเที่ยวได้ตามปกติ เพราะเป็นการห้ามเฉพาะ กิจกรรมการดำชมปะการังเท่านั้น แต่หากพบว่ามีผู้ประกอบการหรือนักท่องเที่ยวรายใดฝ่าฝืน จะมีโทษปรับ 1,000 บาท



    ไทยเตรียมชี้แจงต่อคณะกรรมการมรดกโลก หลังมีข่าวป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่อาจถูกขึ้นบัญชีมรดกโลกที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย

    คณะทำงานของไทยเตรียมประชุมกำหนดแนวทางการชี้แจง ถึงมาตรการป้องกันการลักลอบตัดไม้พะยูงในพื้นที่ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งเป็นประเด็นที่คณะกรรมการมรดกโลกมีความกังวลและอาจทำให้ไทยถูกขึ้นบัญชีมรดกโลกที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย

    นายประเสริฐ สอนสถาพรกุล ผู้อำนวยการสำนักมรดกโลกทางธรรมชาติกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มั่นใจว่าจะสามารถชี้แจงต่อคณะกรรมการมรดกโลกได้ เพราะตั้งแต่ปี 2557 คดีลักลอบตัดไม้พะยูงในพื้นที่ลดลงไปมาก เนื่องจาก มีการคุมเข้มการลาดตะเวณ สร้างความร่วมมือกับชุมชนรวมถึงหารือกับเพื่อนบ้านทั้ง สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม สกัดเส้นทางค้าไม้พะยูง

    ขณะที่วันนี้กรมป่าไม้ประชุมร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ ดีเอสไอ ปปง. ทหารและตำรวจร่วมแก้ปัญหาการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ เป็นมาตรการเร่งด่วน โดยภาพถ่ายผ่านดาวเทียมช่วยตรวจสอบความถูกต้อง และต้องสืบสวนหานายทุนผู้กระทำผิดที่อยู่เบื้องหลัง ล่าสุดพบว่ามีสิ่งปลูกสร้าง รีสอร์ทบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนทั่วประเทศกว่า 930 แห่ง

    ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ มีมติรับคดีบุกรุกพื้นที่เกาะนาคาน้อย จังหวัดภูเก็ต เป็นคดีพิเศษเพราะเห็นว่าเป็นคดีที่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนให้ความสนใจ การสืบสวนต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
     
    Last edited: 14 Jun 2016
  9. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ได้จับกุมนักท่องเที่ยวเก็บปะการัง และให้อาหารสัตว์ทะเล เป็นครั้งแรกหลังจากประกาศใช้กฎหมายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ ในการจัดการพื้นที่วิกฤต มาตรา 17 ใน พรบ. ตั้งแต่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา

    กฎหมายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ ในการจัดการพื้นที่วิกฤต มาตรา 17 ครอบคลุมพื้นที่เกาะไข่ใน เกาะไข่นอกและเกาะไข่นุ้ย อ.เกาะยาว จ.พังงา เพราะเป็นพื้นที่ทางทะเล ที่ค่อนข้างวิกฤตหนัก

    วานนี้ (9) เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เดินตรวจพื้นที่เพื่อติดตามตรวจสอบเรือทิ้งสมอบนปะการัง และการทำผิดของนักท่องเที่ยวเรื่องการเก็บปะการังและให้อาหารสัตว์ทะเล

    ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) คุณสุชาติ รัตนเรืองศรี บอกว่า ช่วงที่กำลังเดินทางเข้าตรวจสอบจุดจอดเรือบริเวณหมู่เกาะไข่ พบเรือนำเที่ยว ชื่อ กอบเงิน 3 ทิ้งสมอลงบนแนวปะการัง บริเวณทิศตะวันตกของเกาะไข่นุ้ยจึงเข้าทำการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานตำแหน่งที่ทิ้งสมอและลักษณะสมอเรือที่ทับอยู่บนปะการัง

    เจ้าหน้าที่จึงเข้าทำการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานตำแหน่งที่ทิ้งสมอ และลักษณะสมอเรือที่ทับอยู่บนปะการัง โดยส่งเจ้าหน้าที่ดำน้ำลงไปถ่ายภาพ จากนั้นจึงควบคุมตัวผู้กระทำผิด จำนวน 2 คน พร้อมเรือ กอบเงิน 3 เข้าแจ้งความผิด ฐานฝ่าฝืนคำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเกาะยาว จ.พังงา เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป



    หลายหน่วยงานเร่งทวงคืนพื้นที่ป่า พร้อมกับเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ตามนโยบายรัฐบาล หลังผ่านมาเพียงปีเดียวพื้นที่ป่าไม้ของไทยหายไปกว่า 4.4 หมื่นไร่

    แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ Gistda คือพื้นที่ป่าต้นน้ำ หรือ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1 A ใน อ.เวียงสา จ.น่าน ถ่ายเมื่อปลายปี 2557 แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมปี 2558 ระยะห่างกัน 3 เดือนพื้นที่สีเขียวถูกแทนที่ด้วยสีน้ำตาล บ่งบอกถึงการถูกบุกรุกใช้ประโยชน์ไปประมาณ 2 ไร่

    ซึ่งข้อมูลนี้ นางสาวธัญวรัตม์ อนันต์ หัวหน้าฝ่ายผลิตชั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศ Gistda บอกว่าจะช่วยชี้เป้าให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตรวจสอบได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ เพราะการบันทึกภาพและการจัดเก็บได้อาศัยดาวเทียมนับสิบดวง

    ส่วนข้อมูลจากกรมป่าไม้ ล่าสุดพบมีโรงแรมและรีสอร์ทบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ถึง 930 แห่ง ใน 26 จังหวัด ทั้งภาคกลาง อีสาน เหนือ และใต้ ซึ่งกรมป่าไม้เร่งทวงคืนพื้นที่คืน สอดคล้องกับพื้นที่ป่าของไทยปี 2557-2558 (102 ล้านไร่) ผ่านมาเพียงปีเดียว พื้นที่ป่าของไทยหายไปถึง 44,418 ไร่


    ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดโครงการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศและการปลูกป่าในพื้นที่แหล่งต้นน้ำทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นครั้งแรก ที่มีการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ มุ่งสร้างความชุ่มชื้นและพลิกคืนผืนป่าทั่วประเทศไทย แทนการเดินเท้าเข้าป่าหรือรุกพื้นที่กรมอุทานฯเพื่อปลูกต้นไม้ โดยเมล็ดพันธุ์ที่นำมาโปรยในครั้งนี้ประกอบด้วย มะค่าโมง มะค่าแต้ ไผ่ป่า สัก แสมสาร และสาธร

    ซึ่งพื้นที่เป้าหมายในการโปรยพันธุ์พืชจะมุ่งเน้ที่ป่าต้นน้ำ 5 แห่งประกอบด้วย ต้นน้ำปิง ต้นน้ำห้วยขาแข่้ง เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนรัชประภา และต้นน้ำป่าสัก ที่วันนี้ได้เริ่มบินโปรยบริเวณพื้นที่ จ.นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ให้ครบ 900,000 ไร่



    กรมควบคุมมลพิษ เริ่มฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ จัดประกวดราคาดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ ใช้งบประมาณ 582 ล้านบาท กำหนดเสนอราคา 28 มิ.ย.

    อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) นายวิจารย์ สิมาฉายา บอกว่า คพ. ได้ดำเนินการจัดประกวดราคาจ้างเหมาดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ โดยราคากลางของงานจ้างในครั้งนี้เป็นเงิน 582 ล้านบาท ด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ( E-bidding) โดยกำหนดให้มีการเสนอราคาในวันที่ 28 มิ.ย.นี้

    โดยขอบเขตการดำเนินงาน เช่น ทำการก่อสร้างหลุมฝังกลบแบบปลอดภัยและดําเนินการฝังกลบตะกอนและดินที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว ดูดตะกอนท้องน้ำและตะกอนหน้าฝายดักตะกอนเดิม ฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนรอบโรงแต่งแร่เดิม โดยการปิดคลุมด้วยดินหรือวัสดุที่มีค่าตะกั่วไม่เกินมาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม และทำการก่อสร้างฝายดักตะกอนในลําห้วยคลิตี้ เป็นต้น โดยมีคณะกรรมการไตรภาคีฯจากหน่วยงานต่างๆ ให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีส่วนร่วม และแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนในพื้นที่ อย่างแท้จริง

    นายวิจารย์ บอกด้วยว่า คพ.ได้ดำเนินงานควบคู่ไปกับการประกวดราคาจ้างเหมาโดยได้ขออนุญาตใช้พื้นที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม และได้แต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีเพื่อติดตามการดำเนินโครงการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้จากการปนเปื้อนสารตะกั่ว โดยจัดประชุมไปเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมา ณ วัดคลิตี้ล่าง โดยมีคณะกรรมการไตรภาคีฯ และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ร่วมให้ข้อคิดเห็นในการดำเนินโครงการ

    นอกจากนี้ คพ. ยังได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารตะกั่วบริเวณห้วยคลิตี้ ระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2559 2564 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบ



    ชุดพยัคฆ์ไพรพบโรงแรม รีสอร์ท บ้านพักตากอากาศ 5 แห่ง ในเขต อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จากทั้งหมด 80 แห่งที่เข้าข่ายบุกรุกป่า เตรียมลงพื้นที่สำรวจเอกสารสิทธิ์อย่างละเอียดให้เสร็จภายใน 90 วัน

    หัวหน้าชุดพยัคฆ์ไพร นายชีวะภาพ ชีวะธรรม บอกถึงความคืบหน้าการเข้าสำรวจพื้นที่หุบเขาไฮโซที่จ.เชียงใหม่ ว่า หลังจากลงพื้นที่สำรวจการบุกรุกพื้นที่ป่าในจ.เชียงใหม่ร่วมกับอธิบดีกรมป่าไม้และได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมป่าไม้ให้ทำการตรวจสอบโรงแรม รีสอร์ท และ บ้านพักตากอากาศ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่คาดว่าจะมีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวนประมาณ 80 แห่ง โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน

    และจากการลงพื้นที่เข้าตรวจสอบในเขต อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา พบมีการก่อสร้าง โรงแรม รีสอร์ท และบ้านพักตากอากาศ ในพื้นที่ป่าจำนวน 5 แห่ง ในจำนวนนี้ มี 3 แห่ง ได้นำเอกสารสิทธิ์มาแสดงอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ที่ได้มาว่ามีความถูกต้องหรือไม่ ส่วนอีก 2 แห่ง ยังไม่สามารถติดต่อกับผู้ครอบครองที่ดินได้ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการประสานให้นำเอกสารมาแสดง

    อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเอกสารสิทธิ์ที่ครอบครองนั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบอีกครั้งซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ ว่าผิดหรือไม่ ดังนั้นจึงยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อของผู้ที่นำเอกสารสิทธิ์มายื่นได้ สำหรับอีก 2 แห่ง ต้องประสานให้นำเอกสารสิทธิ์ครอบครองมาให้เพื่อทำการตรวจสอบต่อไป ซึ่งหากไม่มีเอกสารสิทธิ์มาตรวจสอบ จะดำเนินการยึดพื้นที่คืนและดำเนินการตามกฎหมายทันที

    โดยในจำนวน 80 แห่งที่ระบุว่ามีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับมาเท่านั้น ยังไม่ได้มีการลงพื้นที่สำรวจอย่างละเอียด ซึ่งพื้นที่ทั้ง 80 แห่งที่ระบุ กระจายอยู่ใน อ.สะเมิง, อ.หางดง, อ.ดอยสะเก็ด และบริเวณ ดอยม่อนแจ่ม อ.แม่ริม ซึ่งพื้นที่ที่ระบุอาจจะเป็นที่ดินสิทธิทำกินซึ่งได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ดังนั้นเมื่อลงพื้นที่สำรวจอย่างละเอียดแล้ว อาจจะเหลือพื้นที่ที่มีการบุกรุกไม่ถึง 80 แห่งตามที่ได้ข้อมูลเบื้องต้น



    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เดินหน้าชี้แจงต่อคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อไม่ให้กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ถูกขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกในภาวะอันตราย ยืนยันไทยเข้มงวดปัญหาลับลอบตัดไม้พะยูง

    สำหรับเนื้อหาที่จะนำไปชี้แจงต่อกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ เป็นข้อสรุปจากที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งพลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บอกว่าจะหยิบยกคำสั่ง คสช.2-3 ฉบับของรัฐบาลที่มุ่งเน้นเอาผิดกับผู้บุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมเพิ่มความเข้มงวด ความถี่ การลาดตระเวนพื้นที่ชายแดนร่วมกันระหว่างทหารไทยและกัมพูชาให้มากขึ้น ขณะเดียวกันไทย ลาว จีน และกัมพูชา จะทำข้อตกลงร่วมกันในการวางมาตรการเพื่อลดความต้องการใช้ไม้พะยูงของประเทศปลายทาง เพราะเชื่อว่าหากความต้องการใช้น้อยลง การลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ประเทศต้นทางจะน้อยลงเช่นกัน

    พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เร่งทำความเข้าใจต่อคณะกรรมการมรดกโลก ที่สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก ซึ่งแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดี และ คาดหวังว่าคณะกรรมการมรดกโลกจะเข้าใจ และไม่ขึ้นบัญชีผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย

    สำหรับการประชุมกรรมการมรดกโลกครั้งล่าสุด จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 10-20 กรกฎาคมนี้ ที่นครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี
     
    Last edited: 17 Jun 2016
  10. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กระทรวงทรัพยากร เตรียมเสนอโมเดลใหม่คนอยู่ในป่า ชี้ให้สิทธิทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ นำร่องจังหวัดน่าน เสนอแก้มติคณะรัฐมนตรี หวังลดการรุกป่าเพิ่ม

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ บอกว่าจากการสำรวจตัวเลขการบุกรุกป่าไม้จนกลายจนภูเขาหัวโล้นในจังหวัดน่านพบมีสูงถึง 1.4 ล้านไร่ จากพื้นที่เคยเป็นสภาพป่าไม้ราว 6 ล้านไร่ และยังมีแนวโน้มบุกรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำการเกษตรปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะข้าวโพด และยางพารา ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมีมาตรการทวงคืนป่า จนสามารถนำพื้นที่บางส่วนมาฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์ได้แล้วบางส่วน แต่อาจยังไม่ยั่งยืน

    พลเอกสุรศักดิ์ บอกด้วยว่า ขณะนี้จึงเตรียมใช้โมเดลใหม่ในการแก้ปัญหาให้คนอยู่ในป่า โดยเปิดให้ชาวบ้านได้สิทธิทำกินอย่างถูกกฎหมาย ที่ไม่ใช่การแจกสิทธิทำกินหรือ ที่เรียกว่า (สทก.) และไม่เข้าข่ายโครงการของ คทช. ที่ให้ชุมชนทำกินแบบแปลงรวม เพราะพื้นที่จ.น่านร้อยละ 85 เป็นภูเขาและอยู่ในเขตลุ่มน้ำชั่น 1 และชั้น 2 โดยรูปแบบใหม่จะต้องจำกัดการใช้พื้นที่โซนป่าต้นน้ำ และจัดหาพื้นที่ให้ทำการเกษตรที่ไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์ ปรับเปลี่ยนชนิดพันธุ์พืช โดยจะรับฟังเสียงของชาวบ้าน และกำหนดแนวทางต่างๆให้ชัดเจน เสนอต่อรัฐบาลเนื่องจากต้องแก้มติคณะรัฐมนตรีให้รองรับด้วย



    นักวิชาการชี้ ปะการังเกาะไข่ เกาะราชา เกาะพีพี เริ่มฟื้นตัวตามธรรมชาติจากการเกิดการฟอกขาว เนื่องจากฝนมาเร็ว ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลเริ่มลดลง

    นักวิชาการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดร.นลินี ทองแถม บอกว่า จากการติดตามข้อมูลสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในทะเลอันดามัน พบว่าที่บริเวณเกาะไข่ จ.พังงา เกาะราชา จ.ภูเก็ต และเกาะพีพี จ.กระบี่ ปะการังเริ่มมีการฟื้นตัวตามธรรมชาติ

    โดยสีของปะการังเริ่มกลับมาเป็นปกติ แต่ยังเหลือเป็นบางโคโลนี ที่ยังเห็นสีขาวอยู่ ซึ่งเฉพาะที่เกาะพีพี ล่าสุดพบว่าจากการเกิดฟอกขาวกว่า 80% ในช่วงก่อนหน้านี้ ปัจจุบันปะกา รังมีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างน่าพอใจ และไม่พบการตายของปะการังที่เป็นผลมาจากการฟอกขาว การฟื้นตัวเนื่องมาจากมีฝนตกเร็วทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลเริ่มลดลง



    ทดลองใช้สาหร่ายจิ๋วรักษาปะการังฟอกขาว



     
    Last edited: 19 Jun 2016
  11. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482




    รายงานชุด กินอยู่รู้คิด เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โดยข่าว 3 มิติ ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ไปติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการพีพี โมเดล ที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ที่เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปลายปี 2558



    ภาคเอกชน ให้ความสนใจจองพื้นที่ฟื้นฟูป่าบนเขาหัวโล้น เกือบ 30,000 ไร่ ขณะที่พบพื้นที่ถูกบุกรุกป่าต้นน้ำสูงในลุ่มน้ำภาคเหนือ โดยเฉพาะลุ่มน้ำน่านกว่า 6 แสนไร่เพื่อปลูกข้าวโพด

    อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช นายธัญญา เนติธรรมกุล บอกว่า หลังจากเปิดให้ภาครัฐ และเอกชนจองพื้นที่เขาหัวโล้น 13 จังหวัดภาคเหนือ ปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนพื้นที่ป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพที่สูงชัน ในเบื้องต้นมีภาคเอกชนและภาครัฐจองพื้นที่เขาหัวโล้นไปแล้วกว่า 27,000 ไร่ ทั้งนี้ จากการสำรวจของกรมอุทยาน พบว่าลุ่มน้ำภาคเหนือ ที่เป็นแหล่งป่าต้นน้ำถูกบุกรุกมากที่สุด คือ ลุ่มน้ำน่าน พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 27 ป่า ถูกบุกรุก 6 แสนกว่า ไร่ รองลงมาลุ่มน้ำปิง ครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 31 ป่า ถูกบุกรุก 5 แสนกว่าไร่

    ลุ่มน้ำกก ครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 8 ป่า ถูกบุกรุก 2.5 แสน ไร่ ขณะที่ลุ่มน้ำยม ครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 17 ป่า ถูกบุกรุก 1.8 แสน ไร่ ส่วน ลุ่มน้ำวัง ครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 10 ป่า ถูกบุกรุก 78,193 ไร่ ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำการเกษตรปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ร้อยละ 60 ยางพาราร้อยละ 30 อ้อย มันสำปะหลัง กะหล่ำปลี อีกร้อยละ 10 จนสร้างความเสียหายให้เกิดปัญหาความแห้งแล้ง น้ำป่าไหลหลาก ปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่ม และปัญหาคุณภาพน้ำ



    สยามบีช รีสอร์ท ที่เกาะช้าง จังหวัดตราด เป็นข่าวดังหลายเรื่องติดต่อกัน เริ่มจากเหตุรีสอร์ตถล่ม จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และถูกตรวจสอบการได้มาของที่ดิน ที่อยู่ติดกับแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเจ้าของรีสอร์ต ยืนยันที่ดินได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็พร้อมจะคืนที่ดินบางส่วนให้กับภาครัฐ ที่เจรจาขอคืน

    สยามบีช รีสอร์ท ที่เกาะช้าง จังหวัดตราด เป็นอีกจุดที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พบมีอาณาบริเวณอยู่ติดกับ แนวเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จึงได้เข้าตรวจสอบ โดยการนำเครื่องมือเข้ารังวัดพื้นที่ทั้งหมด 58 ไร่ พร้อมกับแปลภาพถ่ายทางอากาศ พบว่าที่ดินทั้งหมดมีเอกสารสิทธิถูกต้อง เดิมเป็นสวนมะพร้าวเป็นที่ดินมรดกตกทอดมาก่อน ที่จะมีการประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกแบ่งมาก่อสร้าง รีสอร์ตบางส่วน อีกส่วนที่อยู่เป็นป่าทึบ ลาดชันได้ถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้นำมาทำประโยชน์

    กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงได้เจรจาขอให้เจ้าของ สยามบีช รีสอร์ทคืนที่ดินในส่วนที่ติดกับแนวเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เนื่องจากยังมีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์และมีความลาดชัน

    ถึงแม้พื้นที่บริเวณที่เจรจาของคืนประมาณ 30 ไร่ จะมีเอกสารครอบครองถูกต้อง แต่เจ้าของก็ยินดีคืนให้กับทางราชการ เพราะไม่เคยคิดที่จะถางป่าทำประโยชน์ที่ดินส่วนนั้นอยู่แล้ว และไม่คิดจะสร้างกระแสกลบข่าวไม่ดีที่เกิดขึ้น

    ทีมข่าวสำรวจ บริเวณที่มีการคืนที่ดินให้กับรัฐพบเป็นจุดที่เห็นวิวทะเลชัดเจน นับเป็นจุดที่ดีที่สุดในการทำรีสอร์ต ถ้ามองในเชิงธุรกิจแล้ว จุดนี้น่าจะมีมูลค่าที่ดินไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท

    กรมอุทยานฯ ยืนยันจุดที่ได้รับคืนจะช่วยรักษาป่าต้นน้ำได้เป็นอย่างดีพร้อมชื่นชม นักธุรกิจที่มองเห็นประโยชน์และคุณค่าของป่าและทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าผลประโยชน์ด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียว

    พื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด มีนายทุนอีกหลายพื้นที่ที่ทำผิดกฏหมาย เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เตรียมขยายผลนายทุนรายใหญ่เร็วๆ นี้ ... เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมรอไม่ได้



    วันนี้ (4 ก.ค. 59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศรายุทธ ตันเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ พร้อมด้วยนายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ได้ทดลองรักษาโดยใช้สาหร่ายจิ๋ว หรือ ซูเปอร์แอลจี้ ฟื้นฟูปะการัง บริเวณทะเลแหวก เกาะไก่ หมู่เกาะปอดะ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา
     
    Last edited: 8 Jul 2016
    Alamos likes this.
  12. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    "กรมป่าไม้" ชี้ทำรันเวย์ทำสนามบินในเขตป่าสงวนแห่งชาติคลองทุ่งมะพร้าว พังงา เข้าข่ายต้องทำรายงานอีไอเอ จึงจะเข้าขั้นตอนพิจารณาให้เช่าพื้นที่ 2 พันไร่ได้หรือไม่

    อธิบดีกรมป่าไม้ นายชลธิศ สุรัสวดี บอกถึงกรณีที่บริษัทการบินกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BA เตรียมขอเช่าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองทุ่งมะพร้าว ใน ต.ลำแก่น จำนวน 2,000 ไร่ เพื่อสร้างสนามบิน มีอายุสัญญา 30 ปีและต่อได้อีก 30 ปี โดยจ่ายค่าเช่าที่ดินไร่ละ 50 บาท เพื่อรองรับเครื่องบินจากสนามบินภูเก็ตที่อยู่ห่างประมาณ ราว 40 กิโลเมตร ซึ่งทราบว่าทางจังหวัดพังงา ได้ยื่นเรื่องผ่านทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพังงา มาประมาณหนึ่งเดือน แต่ยังอยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

    นอกจากนี้โครงการขนส่งทางอากาศ เช่นก่อสร้างหรือขยายสนามบินพานิชย์ ขึ้นลงที่มีความยาวเกิน 1100 เมตรเข้าข่ายโครงการกิจกรรมประเภทที่ 26 ที่ต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวล้อม ปี 2555 ซึ่งขณะนี้ ยังไม่ทราบว่าเจ้าของโครงการได้มีการดำเนินการอย่างไร โดยหลักการต้องผ่านขั้นตอนนี้มาก่อน

    นายชลธิศยืนยันว่า การจะอนุญาตให้เช่าพื้นที่หรือไม่ ต้องผ่านขั้นตอนการอีไอเอมาก่อน กรมป่าไม้ จึงจะสามารถพิจารณาว่าจะให้เช่าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ หลักการจะเหมือนการใช้พื้นที่อ่างเก็บน้ำ หรือถนน ไม่จำเป็นต้องเพิกถอนเขตป่าสงวน แต่มีเงื่อนไขประกอบ



    อ่าวมาหยา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของหมู่เกาะพีพี ไม่ว่าจะเป็นช่วงไฮซีซั่นหรือโลว์ซีซั่น และจากการใช้ประโยชน์จากการทะเลแห่งนี้ค่อนข้างมาก อาจสร้างความเสียหายได้ จึงมีข้อเสนอให้ปิดอ่าวมาหยาชั่วคราวเพื่อฟื้นฟู ติดตามได้จากรายงานของคุณพิชานัน อินโปธา

    ภาพชายหาดที่เต็มไปด้วยผู้คนและเรือท่องเที่ยวบริเวณอ่าวมาหยา แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของเกาะพีพี กลายเป็นภาพที่ชินตา เพราะแม้จะเป็นช่วงโลว์ซีซั่นแต่ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 5 พันคนมาเยือนที่นี่ และสามารถสร้างรายได้ให้ อุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี ได้ถึงวันละ 1.6 ล้านบาท

    แต่ในขณะที่นักท่องเที่ยวมีจำนวนมากขึ้นทุกวัน กลับสวนทางกับทรัพยากรทางทะเลที่ลดลง และพื้นที่ของอ่าวมาหยายังเท่าเดิม ทำให้ชาวบ้านและผู้ประกอบการจึงไม่อาจปล่อยไว้ให้เป็นแบบนี้เพราะจะทำให้จุดขายของเกาะพีพีหายไป และเห็นตรงกันว่าอ่าวมาหยาควรต้องได้พักจากการใช้ประโยชน์

    เรื่องนี้เสนอไปถึงอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืชแล้ว แต่การปิดอ่าวมาหยาไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากมีการปิดจริงต้องหาที่รองรับสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวแทนอ่าวมาหยา ดังนั้นแล้วจึงต้องมีการศึกษาวิธีการอย่างรอบคอบ

    มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการปิดอ่าวมาหยาหลังช่วงไฮซีซั่นปีหน้า เพื่ออ่าวมาหยาได้พักและให้ทรัพยากรทางทะเลได้ฟื้นฟู ไม่เช่นนั้นเกาะพีพีคงไม่เหลือจุดขายสำหรับโปรโมตด้านการท่องเที่ยวอีกในอนาคต



    สำรวจพบผู้ประกอบการ กว่า 90% ไม่มีบ่อบำบัดน้ำเสีย และปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล ท้องถิ่น เร่งดำเนินการกำหนดเวลาผู้ประกอบการ ชาวบ้านดำเนินการ หากไม่ทำตามจะดำเนินการจะทำการปรับและไม่ต่อใบอนุญาตประกอบการให้

    รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ นายประเสริฐ วงษ์นา ซึ่งดูแลพื้นที่บนเกาะพีพี บอกถึงการมาตรการในการจัดการปัญหาน้ำเสียบนเกาะพีพี ว่า ที่ผ่านมาน้ำเสียบนเกาะพีพีมีปริมาณประมาณ 1500-1600 ลูกบาศก์เมตร ขณะที่บ่อบำบัดน้ำเสียส่วนกลางสามารถรองรับน้ำเสียได้เพียง 300 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถที่จะรองน้ำเสียทั้งหมดได้ ทำให้ผู้ประกอบการบางแห่งปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล

    ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีจิกตสำนึก ไม่ปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล จึงได้ทำโครงการสำรวจน้ำเสียทั้งหมดของหมู่ 7 และหมู่ 8 ต.อ่าวนางที่มีปัญหา โดยทำการสำรวจทั้งหมด ทั้งโรงแรม บ้านเรือน ร้านค้า ซึ่งสำรวจเสร็จไปแล้วกว่า 151 แห่งจาก 160 แห่ง พบว่า ผู้ประกอบการกว่า 90% ไม่มีการบำบัดน้ำเสีย ทาง อบต.จึงเข้าไปให้ความรู้และคำแนะนำในการบำบัดน้ำเสีย เช่น การทำบ่อดักไขมัน และได้กำหนดระยะเวลาให้แก้ไข

    โดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ โรงแรมขนาดใหญ่จะให้เวลาในการดำเนินการ 90 วัน โรงแรมขนาดกลางและร้านอาหารขนาดใหญ่ให้เวลา 60 วัน ส่วนบ้านเรือนและร้านอาหารขนาดเล็กให้เวลา 30 วัน ซึ่งหากครบกำหนดเวลายังไม่มีการดำเนินการทาง อบต. จะจัดการตามกฎหมาย ส่วนผู้ประกอบการนั้นอาจจะไม่ต่อใบอนุญาตในการประกอบการให้

    นอกจากนี้ ทางกรมควบคุมมลพิษได้ลงมาสำรวจพื้นที่แล้ว 2 ครั้ง เพื่อทำการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย คาดว่าจะใช้งบประมาณ 450 ล้านบาท ซึ่งหากเกาะพีพีสามารถจัดการปัญหาน้ำเสียได้จริงจะเป็นเกาะแรกของไทยที่จัดการได้อย่างสมบูรณ์แบบ



    ทีมข่าววอยซ์ทีวีได้ติดตามภาระกิจของกลุ่มนักวิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สร้างประวัติศาสตร์ครั้งแรกกับผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยคนไทย กับการใช้สาหร่ายซูแซนเทลรี่ หรือ Super algae ทำการรักษาปะการังฟอกขาว

    ทีมข่าววอยซ์ทีวีติดตามภาระกิจของกลุ่มนักวิจัย นายไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ์ ผู้คิดค้นสาหร่ายซูแซนเทลรี่รักษาปะการังฟอกขาว ซึ่งคิดค้นทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี 2553 จากการตั้งข้อสังเกตุสาหร่ายบางชนิดในปะการังและหอยมือเสือที่ทนความร้อน

    ทะเลแหวก มีปัญหาปะการังฟอกขาวร้อยละ 70-80 การทดลองครั้งแรกใช้ถุงครอบปะการัง 3 ชนิด คือปะการังโขด เขากวางและเกร็ดน้ำแข็ง แล้วฉีดพ่นสาหร่ายซูแซลเทลรี่ให้เกาะตัวปะการัง

    แม้ช่วงระยะการทดลอง 10 วัน เจออุปสรรคคลื่นทะเลแปรปรวน ทำให้ที่ครอบหลุดและตะกอนฝุ่นฟุ้งกระจาย มีผลต่อการฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว แต่จากภาพนี้จะเห็นความชัดว่าปะการังเริ่มมีสีน้ำตาล ซึ่งเป็นอาการฟื้นตัว

    ขั้นตอนหลังจากนี้ นักวิจัยจะเก็บเนื้อเยื้อของปะการังและเซลล์ของสาหร่ายเพื่อนำไปตรวจสอบว่าเป็นชนิดเดียวกับงานวิจัยหรือไม่ แต่จากการประเมินทางกายภาพ สาหร่ายซูแซนเทลรี่มีประสิทธิภาพช่วยสังเคราะห์แสงให้ปะการังรับอาหารได้ดี

    นับได้ว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกประเทศไทย กับการรักษาปะการังฟอกขาว โดยใช้ภูมิความรู้จากงานวิจัยที่สะสมมาในอดีต ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก้วิกฤตทะเลไทยในปัจจุบัน



    จากเมื่อวานนี้ทีมข่าววอยซ์ทีวีได้นำเสนอผลวิจัยใช้สาหร่ายซูแซนเทลรี่ของกลุ่มนักวิจัยจากภาควิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จรักษาปะการังฟอกขาว ซึ่งผลงานวิจัยนี้ได้ต่อขยายพื้นที่แก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาวในพื้นที่ข้างเคียง

    ความสำเร็จจากสาหร่ายซูแซนเทลรี่รักษาปะการังฟอกขาวที่ทะเลแหวก เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี นำมาขยายผลในอ่าวโละบาเกา

    ถุงครอบ อุปกรณ์ช่วยป้องกันการฟุ้งกระจายของสาหร่ายซูแซนเทลรี่ แต่แนวปะการังในประเทศไทยมี 12,000ไร่ ไม่สามารถทำได้ครอบคลุม รองศาสตราจารย์ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ์ ได้ดัดแปลงอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์จากวิธีคิดยึดโยงกับระบบนิเวศใต้ทะเล ชื่อ "มารีนไฟโตแพลงตอนแล็ป จุฬาฯ 1"

    อุปกรณ์นี้ สามารถช่วยฉีดสาหร่ายซูแซนเทลรี่ในแนวปะการังน้ำตื้น ความสูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง โดยสอดปลายท่อข้างใต้ฐานปะการังหรือวางขนานไปกับพื้น น้ำจะพัดพาสาหร่ายบางส่วนเกาะติดปะการัง ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง

    อุปกรณ์ตัวนี้สามารถฉีดพ่นสาหร่ายซูแซลเทลรี่ในพื้นที่กว้างมากขึ้น กลุ่มนักวิจัยคาดหวังว่าจะสามารถฟื้นฟูปะการังฟอกขาวได้เพิ่มขึ้น รวมไปถึง ลดการฟอกขาวหอยมือเสือ และดอกไม้ทะเล

    การฉีดสาหร่ายซูแซลเทลรี่ ยังช่วยปรับพฤติกรรมปลาคืนสู่ธรรมชาติ หลังปลาหลายสายพันธุ์คุ้นชินกับการให้อาหารของนักท่องเที่ยวมานานหลายปี ทั้งนี้การทดลองขยายผลสาหร่ายซูแซนเทลรี่ไม่เพียงรักษาปะการังฟอกขาว แต่จะเป็นการคืนสมดุลย์ในกับระบบนิเวศใต้ทะเลอีกด้วย
     
    Last edited: 10 Jul 2016
  13. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 40 ณ กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ระหว่างวันที่ 10 - 20 กรกฎาคม

    ผู้แทนไทย มี นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าชี้แจงข้อมูลใหม่ เพื่อไม่ให้กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ถูกขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกภาวะอันตราย คาดว่าไทยจะเข้าชี้แจงประเด็นนี้ในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้

    นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. ยอมรับว่าหนักใจ เพราะคณะกรรมการ 21 คนเป็นชุดใหม่ และไทยจะต้องมีอย่างน้อย 14 ชาติสนับสนุน แต่ไทยได้เตรียมข้อมูลใหม่เรื่องผลการสำรวจและนับจำนวนไม้พะยูงว่ามีกี่ต้น ยืนยันไม่สูญพันธุ์ ในกลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่ รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดมาโดยตลอด

    ส่วนกรณีไทยเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ขึ้นบัญชีมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 อีกครั้ง หลังถูกส่งกลับมาให้แก้ไขเรื่องของสิทธิมนุษยชนชุมชนกะเหรี่ยง ล่าสุดได้จัดทำแผนและฟื้นฟูวิถีชีวิต และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นกับชุมชนกะเหรี่ยงรอบกลุ่มป่าแก่งกระจานแล้ว มั่นใจว่าน่าจะได้รับการสนับสนุนต่อคณะกรรมการมรดกโลก



    องค์การสวนสัตว์ประสบความสำเร็จปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนธรรมชาติ มีประมาณ 40 ตัวอยู่รอด หลังจากเคยสูญพันธุ์ไปแล้วก่อนหน้านี้

    องค์การสวนสัตว์ ประสบความสำเร็จโครงการการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ โดยตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบันมีการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติแล้ว 70 ตัว และมีประมาณ 40 ตัวที่ยังคงมีชีวิตรอดอยู่ในธรรมชาติ

    นกกระเรียนพันธุ์ไทย เป็นสัตว์ป่าสงวนที่เคยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ และเพิ่งมีการฟื้นฟูประชากรจากการปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ นอกจากนี้ยังจัดเป็นนกบินได้ที่มีความสูงที่สุดในโลก มีความสวยงาม มีพฤติกรรมที่เปราะบางต่อการถูกรบกวนจากมนุษย์ และมีถิ่นอาศัยอยู่ในธรรมชาติเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย คือ พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งทางองค์การสวนสัตว์ ได้ตระหนักถึงกระบวนการดำเนินงานที่ยั่งยืน

    ไม่เพียงแต่จะมุ่งอนุรักษ์เฉพาะนกกระเรียนพันธุ์ไทย แต่ยังคำนึงถึงพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญ ซึ่งต้องได้รับการปกป้อง คุ้มครองดูแล และพื้นฟู พร้อมกับการที่ประชาชนชาวบุรีรัมย์ควรได้รับประโยชน์จากการร่วมกันปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ภายใต้แนวคิด "นกอยู่รอด ชุมชนอยู่ได้ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน"



    ทช.เตรียมประกาศบริเวณอ่าวตราด (แหลมกลัด-คลองใหญ่)เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หลังแนวโน้มโลมาอิรวดี เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์

    ผู้อำนวยการส่วนจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือ ทช. นายสมชาย มั่นอนันต์ทรัพย์ บอกว่า จังหวัดตราด เป็นแหล่งอาศัยสำคัญของโลมาอิรวดีที่ใหญ่ที่สุดของไทย ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานไป-มาในทุกปี และเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถานะมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุ รักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ปัจจุบันพบการแพร่กระจายของโลมาอิรวดี ตามแนวชายฝั่งใกล้กับป่าชายเลน ปากแม่น้ำ หรือบริเวณน้ำกร่อย

    จำนวนของโลมาอิรวดีบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ จังหวัดตราดและจันทบุรี ประมาณ 154 ตัว และจัง หวัดชลบุรี ประมาณ 20 ตัว และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากภัยคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การติดเครื่องมือประมง ทั้งที่ไม่เจตนาและโดยเจตนา ทำให้โลมาอิรวดีได้รับบาดเจ็บและตายในที่สุด และการป่วยตามธรรมชาติ แหล่งเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากิน จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงเตรียมประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณอ่าวตราด(แหลมกลัด-คลองใหญ่) โดยตอนนี้อยู่ระหว่างจัดทำร่างประกาศกระทรวงที่กำหนดให้อ่าวตราดเป็นพื้นที่คุ้มครองฯ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

    ผู้อำนวยการส่วนจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเล บอกว่า สำหรับมาตรการภายใต้พื้นที่คุ้มครองทางทะเล จะกำหนดเขตการใช้ประโยชน์แต่ละกิจกรรม เช่น การทำประมง การดำน้ำ กำหนดระยะเวลาการใช้ประโยชน์ของผู้ใช้ประโยชน์ ควบคุมเครื่องมือประมงและประเภทการทำประมง รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมของโลมาอิรวดี ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกคนในพื้นที่และผู้ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันก่อน



    จ.พังงามีสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลหลายแห่งที่กำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่ 3 เกาะสำคัญคือเกาะไข่นอก เกาะไข่ในและเกาะไข่นุ้ย ทำให้ต้องมีการเร่งจัดระเบียบพื้นที่การจอดเรือเพื่อป้องกันไม่ให้ปะการังถูกทำลาย ไปติดตามจากคุณสาลินี ปราบ ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี



    สมาคมอนุรักษ์นกฯเผยพบนก "แต้วแล้วท้องดำ"ในป่ากระบี่-ตรังเพิ่มเป็น 4 ตัว หลังจากเกือบหมดหวังสูญพันธุ์ในธรรมชาติ

    หลังจากก่อนหน้านี้มีการค้นพบนกแต้วแล้วท้องดำ ตัวเมียในธรรมชาติ 1 ตัวในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม จ.กระบี่ในช่วงสงกรานต์ปี 59 ล่าสุดน.ส.ทัตฑยา พิทยาภา ผจก.ฝ่ายวิชาการ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย บอกว่า ถือเป็นข่าวดีอีกครั้งโดยคณะนักสำรวจประชากรนกแต้วแล้วท้องดำ ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์นกฯได้สำรวจพื้นที่ป่าในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง ครอบคลุมวางเส้นทาง 127 แนวในช่วงปลายเดือนพฤษาภาคมปีนี้ ทำให้พบว่าเฉพาะพื้นที่ป่าที่ราบต่ำนอจู้จี้ กระบี่ พบนกแต้วแล้วท้องดำ 3 ตัว แบ่งเป็นนกเพศเมีย 1 ตัว

    โดยพบตัวบริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางคราม และได้ยินเสียงร้องเป็นนกเพศผู้ 2 ตัว ส่วนอีก 1 ตัวเป็นนกตัวเมีย พบบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าร้อยชั้นพันวัง จ.ตรัง นอกจากนี้ยังพบนกแต้วแล้วลายอีก 3 ตัว

    น.ส.ทัตฑยา บอกว่า ก่อนหน้านี้เกือบจากหมดหวังว่านกจะสูญพันธุ์จากป่า เพราะเจอแค่ตัวเมีย 1 ตัว แต่ตอนนี้ยืนยันจากภาพและเสียงว่ามีนกในธรรมชาติ 4 ตัว รวมกับนกตัวผู้อีก 1 ตัวที่นำมาจากสถานีวิจัยสัตว์ป่าคลองแสง. จ.สุราษฎร์ธานี จึงมีนกชนิดนี้ 5 ตัว ซึ่งเจ้าแต้ว นกตัวผู้ยังนำมาปล่อยอยู่ในกรงขนาดใหญ่ บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม

    โดยมีการติดกล้อง CCTV ในกรงเลี้ยงเพื่อดูสัญชาติญาณป่าของนกและดูว่านกตัวเมียจะเข้ามาหาหริอไม่ รวมทั้งทีมยังออกตามหารังของนก และเตรียมทำแผนที่สำรวจในปี 2560 อีกด้วย
     
    Last edited: 2 Aug 2016
  14. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ปัญหาผักตบชวาลอยเต็มพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เจ้าหน้าที่กำลังเร่งหามาตรการจัดเก็บเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ

    ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมเจ้าท่า เร่งดำเนินการเก็บผักตบชวาที่เต็มพื้นที่แม่น้ำน้อย อำเภอบางไทร แต่สามารถเก็บขึ้นมาได้วันละ 300 ตัน ตามขีดความสามารถของเรือสายพานกำจัดผักตบชวา

    โดยความเดือดร้อนของชาวบ้านริมแม่น้ำน้อย ที่ต้องอยู่กับผักตบชวา มาร่วม 7 เดือน ส่วนใหญ่กระทบเรือสัญจรไปมาลำบาก ประมงพื้นบ้านไม่สามารถตกปลาขึ้นมาได้เพราะจะติดผักตบชวา รวมถึง เรือท่องเที่ยวที่ต้องนำนักท่องเที่ยวไปทำบุญตามวัดริมน้ำ ต้องยกเลิกโปรแกรมทางน้ำชั่วคราว สำหรับผักตบชวาบริเวณแม่น้ำน้อย ไหลตามน้ำจากต้นน้ำเขื่อนเจ้าพระยา คลองสาขา ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    ส่วนผู้เลี้ยงปลาริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี บางรายต้องหยุดเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง เพราะปริมาณผักตบชวาไหลมาติดกระชังต่อเนื่อง ประกอบกับน้ำขึ้น ทำให้ต้องดันผักตบชวาออก เกรงกระชังปลาได้รับความเสียหาย



    กรมชลประทานเตรียมใช้นำสารกำจัดวัชพืชทางชีวภาพมาช่วยลดจำนวนผักตบชวาในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยวันนี้ได้ใช้เครื่องจักรเร่งกำจัดผักตบชวาเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาทเพื่อเปิดทางน้ำแล้ว

    ตลอดทั้งวันเครื่องจักรและรถแบคโฮเร่งโกยผักตบชวาขึ้นมาจากแม่น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาไปทิ้งไว้ในพื้นที่ว่าง 7 ไร่ ให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ย คาดว่า ผักตบชวาที่ขึ้นหนาแน่นเต็มลำน้ำยาวหลายกิโลเมตร จะมีปริมาณไม่ต่ำกว่า 55,000 ตัน ต้องใช้เวลากำจัดประมาณ 3 สัปดาห์

    จากการตรวจสอบของทีมข่าวพบว่า นอกจากผักตบชวาจะกีดขวางการไหลของน้ำแล้ว ยังกระทบกับการสัญจรและการดำรงชีวิตของชาวบ้าน โดยเฉพาะเกษตรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง ที่ผักตบชวาล้อมรอบ ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง มีผลปลาโตช้าต้องเปิดปั๊มเพื่อเพิ่มออกซิเจนตลอดทั้งวันไม่ให้ปลาตายปีนี้ผักตบชวาสร้างความเดือดร้อนกับชาวบ้านมากกว่าทุกปี

    ขณะที่กรมชลประทานประชุมร่วมกับทีมวิจัย จากศูนย์ส่งเสริมการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ซึ่งได้ทดลอง ใช้สารกำจัดวัชพืชทางชีวภาพ หรือไบโอเฮอร์บีไซค์กำจัดผักตบชวา โดย ดร.อาร์ม อันอาตม์งาม หนึ่งในทีมวิจัย ระบุว่า สารนี้สามารถทำให้ผักตบชวาตายใน 7 วัน ไม่ทำปฏิกิริยากับสิ่งมีชีวิต และไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ คาดว่าจะทราบผลการทดลองอย่างเป็นทางการในเร็วๆนี้

    ดร.ทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า หลังมีผลการทดลองแล้ว ทางกรมฯ เตรียมจะนำสารกำจัดวัชพืชนี้ไปใช้กำจัดผักตบชวาควบคู่กับการใช้เครื่องจักรในพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ ต้นน้ำ ซึ่งพบว่าได้ผลดี เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดจำนวนผักตบชวาได้



    งานวิจัยใช้เชื้อราจากธรรมชาติช่วยควบคุมการเเพร่พันธุ์ผักตบชวา เพื่อช่วยแก้ปัญหาตกตบชวาล้นลำน้ำ

    ภาพเปรียบเทียบผักตบชวา อายุ 20 วัน ในตู้ที่ฉีดเชื้อรามายโรทีเชียม โรริดัม บนใบผักผักตบชวา 7 วัน และตู้ที่ไม่ฉีด แสดงให้เห็นว่า ว่าเชื้อราชนิดนี้ สามารถควบคุมการขยายพันธุ์ของผักตบชวาได้ การทดลองนี้เป็นงานวิจัย ของนักศึกษาปริญญาเอก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร่วมกับคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

    โดยทีมวิจัยได้ เก็บตัวอย่างเชื้อราตามธรรมชาติที่ทำให้เกิดโรคใบไหม้บนผักชวา มาเพาะเชื้อ และพบว่าเชื้อราชนิดนี้ ควบคุมการขยายพันธุ์ของผักตบชวาได้ดี จากการทดลองมา 5 ปี ยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อคน พืชผัก รวมถึงคุณภาพของน้ำและสัตว์น้ำ

    ที่จังหวัดชัยนาทยังเร่งระดมกำลังกำจัดผักตบชวาบริเวณหน้าเขื่อนเจ้าพระยา โดย 2 วันที่ผ่านมาสามารถเก็บผักตบชวาได้กว่า 8,200 ตัน คาดว่าการจัดเก็บทั้งหมดประมาณ 55,000 ตัน จะเร็วขึ้นจากเดิมเหลือเพียง 2 สัปดาห์ ขณะนี้ได้เพิ่มรถบรรทุกขนผักตบชวาและเคลียร์พื้นที่ทิ้งผักตบชวาเพิ่มอีก

    ส่วนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังมีปัญหาผักตบชวาลอยอยู่ทั่วแม่น้ำ สร้างปัญหาการสัญจรทางน้ำของชาวบ้านและเรือโดยสาร โดยเฉพาะผักตบชวาที่ลอยอัดแน่นอยู่ติดตลิ่งบริเวณเกาะวัดนิเวศธรรมประวัติ พระราชวังบางประอินส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว



    ทส.เร่งจัดซื้ออาวุธปืนลูกซอง กึ่งอัตโนมัติกว่า 400 กระบอก ให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าไว้ปกป้องตนเองและรักษาผืนป่าจากผู้บุกรุก

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ บอกว่า ได้จัดซื้ออาวุธปืนลูกซอง กึ่งอัตโนมัติกว่า 400 กระบอก ให้กับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อเพิ่มศักย ภาพการปฏิบัติงานในการลาดตระเวนและจับกุมผู้กระทำความผิดบุกรุกผืนป่าและล่าสัตว์ โดยได้เน้นย้ำให้นำอาวุธปืนไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันตนเองเป็นหลัก ไม่ใช่นำมาใช้เพื่อต่อสู้หรือจู่โจมหรือสังหารใคร ซึ่งปืนลักษณะนี้เหมาะสำหรับผู้พิทักษ์ป่าและจำเป็นต้องจัดซื้ออาวุธปืนที่ทันสมัยขึ้นไว้ป้องกันชีวิตตนเอง ปกป้องชีวิตเพื่อนร่วมงาน และรักษาผืนป่าประเทศไม่ให้ถูกกลุ่มผู้มีอิทธิพลและกลุ่มนายทุนบุกรุกป่า ส่วนยานพาหนะอยู่ระหว่างจัดซื้อเพื่อให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ามีไว้ใช้ลาดตระเวนในแต่ละพื้นที่ป่า



    เขื่อนพระราม 6 เป็นอีกแห่งที่มีผักตบชวาสะสมหนาแน่นเช่นเดียวกับเขื่อนเจ้าพระยา โดยจะเร่งกำจัดในสัปดาห์หน้า ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยาวันนี้จะกำจัดเสร็จเรียบร้อย

    กองผักตบชวาเป็นภูเขาเต็มพื้นที่ 7 ไร่ จากลำน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ปริมาณ 55,000 ตัน ขณะนี้บางส่วนเริ่มส่งกลิ่น โดยทั้งหมดทางผู้อำนวยการเขื่อนเจ้าพระยาจะรอให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยจุลินทรีย์แล้ว รวมถึงจะต่อยอดนำไปผลิตแก๊สไบโอชีวภาพ ตามที่ไปดูงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

    ส่วนบริเวณหน้าเขื่อนเจ้าพระยาขณะนี้การตัดเก็บผักตบชวาเกือบแล้วเสร็จ เลือกเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ยังคงลอยมาตามน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งหมดถูกนำไปทิ้งไว้ในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ คือ เดิมพื้นที่ 7 ไร่ แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ได้กำจัดไปแล้ว 5 ครั้ง มีปริมาณสะสมอยู่แล้วถึง 80,000 ตัน จึงได้จัดเตรียมอีกพื้นที่ไว้รองรับอีก 5 ไร่

    ซึ่งความหนาแน่นของผักตบชวา ตลอดหน้าเขื่อนพระราม 6 อ.ท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 50,000 ตัน ติดแน่นเพราะเจริญเติบโตมานานกว่า 7 เดือน ยาวกว่า 3 กิโลเมตร ล่าสุดจะระดมเครื่องจักรที่เขื่อนเจ้าพระยา จะเก็บในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ คาดจะใช้เวลา 15 วัน

    สำหรับผักตบชวาสามารถนำมามาสานเป็นของฝาก เครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ อย่างที่ชัยนาท นางจรวยพร เกิดเสม ประธานกลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาบ้านอ้อย บอกว่าได้เริ่มทำตั้งแต่ปี 2530 ส่งออกไป อเมริกา ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส ใช้เส้นใยผักตบชวา มาแทนหวาย วิธีรักษาผลิตภัณฑ์ก็ไม่ยาก หากมีฝ้าขึ้น นำล้างน้ำ หรือใช้แอลกอฮอลล์เช็ดได้ ที่สำคัญอาชีพนี้ทำให้ชาวบ้านที่ว่างจากฤดูทำนามีอาชีพ มีรายได้ เฉลี่ยคนละ 3,500 บาทต่อเดือน
     
    Last edited: 14 Aug 2016
  15. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ลดน้อยลงจากการถูกล่า และภัยคุกคาม จนแทบจะสูญพันธุ์ไป กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชจึงได้วางแผนเพาะพันธุ์ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย มาตั้งแต่ปี 2556 โดยนำไข่จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย 20 ฟอง ที่เก็บได้จากป่าอ้อ บ้านวังข่า แม่น้ำเพชรบุรี ที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานออกมาฟักที่ฟาร์ม ปรากฎว่าได้ผลดี ฟักจระเข้ออกมาได้ 7 ตัว

    ทีมข่าวติดตามจระเข้น้ำจืดที่ได้ทั้ง 7 ตัว นำมาฝากเลี้ยงไว้ที่ปัญญาฟาร์ม ในจังหวัดนครปฐม ผ่านมา 3 ปี จระเข้ทั้งหมด แข็งแรงดี มีลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร 30 เซนติเมตร และเตรียมปล่อยคืนสู่แก่งกระจาน

    จระเข้ทุกตัวที่ได้จากการฟัก และเพาะเลี้ยงจะถูกฝังไมโครชิฟติดตามการอยู่อาศัย เติบโตและแพร่พันธุ์ต่อไป เพราะในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติมีกี่ตัว

    ซึ่งข้อมูลจระเข้ที่ได้ทั้งหมดนี้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้รวบรวมนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อยืนยันว่าป่าแก่งกระจานของไทยมีจระเข้น้ำจืดอาศัยอยู่จริงด้วย แต่หลังจากปล่อยจระเข้น้ำจืดทั้ง 7 ตัวคืนสู่ธรรมชาติแล้ว ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะหากในธรรมชาติไม่มีจระเข้ตัวอื่นมาผสม ทั้ง 7 ตัวมีโอกาสผสมกันเองและเกิดปัญหาเลือดชิดได้

    และนี่เป็นครั้งล่าสุด ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานค้นพบและเข้าไปเก็บไข่จระเข้จากจุดเดิมออกมาฟักอีกครั้ง จำนวน 27 ฟอง มีการทำสัญลักษณ์ชัดเจน ซึ่งไม่ปล่อยให้ฟักเองตามธรรมชาติ เพราะอาจถูกสัตว์อื่นทำร้าย หรือถูกน้ำท่วมรัง ทำให้โอกาสรอดชีวิตน้อยมากเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ และหวังจะให้สำเร็จเหมือนครั้งที่ฟักเป็นตัว แต่น่าเสียดาย 27 ฟองกลับไม่เชื้อตัวผู้ผสมอยู่

    จระเข้น้ำจืดตามธรรมชาติถือเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ได้ดี อย่างน้อยก็สะท้อนว่าพื้นที่นั้นไม่มีการบุกรุก ไม่มีคนล่า และอย่างที่ทราบกัน คณะกรรมการมรดกโลกเคยนำจระเข้น้ำจืดมาตั้งข้อสังเกตความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ที่แก่งกระจานด้วย



    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใย "เต่าทะเล" ที่นับวันจะลดน้อยลง จนใกล้สูญพันธุ์ จึงมีพระราชดำริ ให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้น โดยสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ดำเนินโครงการ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเลไทยให้คงอยู่ตลอดไป

    เต่าทะเลทั้ง 785 ตัวนี้ คือส่วนหนึ่งของเต่าทะเลที่ผ่านการฟูมฟักเลี้ยงดูจนเติบโต ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลในพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ดำเนินงานโดยศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

    การปล่อยเต่าลงสู่ทะเล จำเป็นต้องฟูมฟักให้เต่าทุกตัวแข็งแรงพร้อมออกสู่โลกกว้างใต้ท้องทะเล ที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล จึงต้องดูแลตั้งแต่การวางไข่ การอนุบาล เลี้ยงดู ตลอดจนรักษาและป้องกันโรคของเต่าทะเล เมื่อเต่าทะเลตัวผู้ ที่มีหน้าที่สร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ และตัวเมีย พร้อมทำหน้าที่เป็นแม่พันธุ์ มีความแข็งแรงดีแล้วก็จะถูกปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อผสมพันธุ์ ขยายจำนวนประชากรเต่าทะเลให้เพิ่มพูนขึ้น

    โครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล สามารถเพิ่มประชากรเต่าทะเลให้มากขึ้น แม้จะไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า ประชากรเต่าทะเลในท้องทะเลไทยมีจำนวนแค่ไหน แต่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบมีเต่าทะเลตั้งท้องกลับมาวางไข่ที่ชายหาดสัตหีบมากขึ้น

    เป็นภาพที่น่าดีใจ เต่าตนุเพศเมีย ขึ้นมาวางไข่ในบริเวณหน้าศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล มาวางไข่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อตรวจสอบจากไมโครชิป พบว่า เต่าตัวที่พบชื่อว่า "แม่เทียนทะเล"และเต่าตัวนี้จะกลับมาวางไข่ทุกๆ 2 - 3 ปี ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ที่กลับมาวางไข่ในบ้านของตัวเอง และครั้งนี้ "แม่เทียนทะเล" วางไข่ไว้ถึง 116 ฟอง

    ผู้ที่ได้ดูแลใกล้ชิดเต่าทะเล สนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทุกคนต่างรู้สึกตื้นตันใจที่ได้เป็นผู้ดูแลชีวิตน้อย ๆ ใต้ทะเลที่มีคุณค่ามหาศาลต่อระบบนิเวศ และที่สำคัญโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลยังทำให้พวกเขารู้สึกรักและผูกพันกับเต่าทะเล มีความสุขที่ได้เห็นพวกมันเติบโต และไม่อยากเห็นพวกมันถูกทำร้ายอีก

    ถึงแม้จะมีการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกันมาก แต่เต่าทะเลยังเสี่ยงจะสูญพันธุ์ กองทัพเรือ พบปัจจุบันเหลือเต่า 4 ชนิด คือเต่ากระ เต่าตนุ เต่าหญ้า และเต่ามะเฟือง เราต้องช่วยกันสนองพระราชดำริของ "แม่หลวงของแผ่นดิน" ช่วยกันอนุรักษ์เต่าทะเล ด้วยการหยุดล่า หยุดจับ หยุดบริโภคไข่เต่าทะเล กันเถอะเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อม รอไม่ได้



    ชายฝั่ง"อันดามัน"ใกล้วิกฤติ



    นายกรัฐมนตรีมีแนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหาผักตบชวา นอกจากขอให้ทุกบ้านช่วยกันเก็บแล้ว ยังขู่จะใช้กฎหมายเข้ามาดำเนินการ หากพบว่าบ้านใดมีผักตบชวาโดนปรับต้นละ 100 บาท



    กรมอุทยานฯเดินหน้ายุทธศาสตร์แผนปฏิรูปอุทยานแห่งชาติ 20 ปีระหว่าง 2560 -2579 เร่งให้อุทยานแห่งชาติทุกแห่งปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการกำจัดขยะ น้ำเสีย

    อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช นายธัญญา เนติธรรมกุล บอกว่ากรมอุทยานฯเดินหน้ายุทธศาสตร์แผนปฏิรูปอุทยานแห่งชาติ 20 ปีระหว่าง 2560 -2579 ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ประเทศ 20 ปี ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติ ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคน สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นและประเทศไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท

    จากนี้จะให้อุทยานแห่งชาติทุกแห่งปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการกำจัดขยะ น้ำเสีย ปรับปรุงระบบสื่อความหมาย ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพักนักท่องเที่ยว สร้างความปลอดภัยกับนักท่องเที่ยว ด้วยการจัดตั้งศูนย์กู้ภัยผู้ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติ พัฒนาระบบเตือนภัยและแจ้งเหตุ เพิ่มประสิทธิภาพการลาดตระเวนแผนใหม่ และทำโครงการอนุรักษ์พื้นที่อุทยานแห่งชาติข้ามพรมแดนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเชื่อมต่อผืนป่าในภูมิภาคอาเซียน
     
    Last edited: 9 Sep 2016
  16. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    จังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ระยองและชลบุรี เป็น 5 จังหวัด ที่มีพื้นที่ป่าเชื่อมต่อกับ เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแควรบมและป่าสียัด และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เนื้อที่รวมกันกว่า 1 ล้าน 2 แสนไร่ ในอดีตผืนป่ารอยแห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์ มีพืชและสัตว์หายาก กว่า 600 ชนิด ทำให้บ่อยครั้งจะได้เห็น ช้างกระทิง วัวแดง เดินออกมาจากป่า

    แต่นับจากปี 2510 พื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด กลับลดน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ที่มีพื้นที่มากถึง 5 ล้านไร่ ถูกบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเหลือเพียง 6 แสนไร่เท่านั้น

    ความสมบูรณ์ของป่าที่หายไป นำมาซึ่งความสูญเสียของระบบนิเวศเกิดปัญหาภัยแล้ง สัตว์ป่าขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะช้างป่า และเมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่จึงความเสียหายกับ พืช สัตว์ และชาวบ้าน

    จนกระทั่งในปี 2536 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของป่ารอยต่อ 5 จังหวัด จึงได้รับโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดไว้เป็น โครงการส่วนพระองค์ และมีพระราชดำริ ให้เร่งฟื้นฟูปลูกป่า สร้างแหล่งน้ำ แก้ปัญหาการบุกรุกป่าของนายทุน พัฒนาคุณภาพ

    ชีวิต ที่สำคัญดึงชาวบ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการ สร้างผืนป่าด้วยมือของพวกเขา ภายใต้การทำงานของมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิ

    มาวันนี้จากการน้อมนำพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาปฏิบัติอย่างจริง พืชและสัตว์ป่า กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง เรียกได้ว่า เป็นต้นแบบของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ได้เป็นอย่างดี

    ความสมบูรณ์ของป่า ถูกชี้วัดด้วยจำนวนสัตว์ป่าที่เพิ่มขึ้น จากเมื่อ 10 ปีก่อนอยู่มาก ล่าสุดกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำรวจพบช้างป่ามีมากถึง 364 ตัว จากเมื่อก่อนที่มีเพียง 137 ตัวเท่านั้น และมีช้างป่าเพิ่มขึ้นทุกปี 10 เปอร์เซ็นต์

    ทำให้บ่อยครั้งสัตว์ป่า โดยเฉพาะช้าง เดินออกจากป่ามารุกพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน จนเกิดปัญหาระหว่างคนกับช้างขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างแก้ไขปัญหาลดความขัดแย้ง ทั้งการสร้างโป่งเทียม ปลูกพืชอาหารช้าง หาแห่งน้ำ หรือการเคลื่อนย้ายช้างไปยังที่เหมาะสม และการขุดคูกันช้าง ก็ถูกใช้แนวทางแก้ปัญหา แม้จะเกิดปัญหาการอยู่รวมกันระหว่างคนกับช้าง แต่ยังมีทางแก้ไขแต่การที่ ป่าขาดความสมบูรณ์ เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ และแก้ไขได้ยากกว่า แต่วันนี้ด้วยพระบารมีของ "แม่ของแผ่นดิน" ทำให้ป่าผืนใหญ่ แหล่งน้ำสำคัญของภาคตะวันออกกลับมาสมบูรณ์ได้อีกครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดไม่ได้



    ข่าว 7 สี - มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ขุดคูรอบพื้นที่ 600 กิโลเมตรป้องกันช้างรุกพื้นที่ชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็เดินหน้าปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง หวังฟื้นคืนป่าดิบต้นน้ำใกล้กรุง ตามพระราชเสาวณีย์ ติดตามรายงาน มะลิ แซ่ฉิ่น

    เป็นอีกครั้ง ที่ช้างจากป่าพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัดบุกเข้ามาในเขตชุมชน ทำเอาแตกตื่นทั้งหมู่บ้าน ต้องระดมคน ไล่ต้อนช้างกลับเข้าป่ากันโกลาหน

    ประธานมูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด บอกว่า 11 ปีที่เข้าไปฟื้นฟูป่าที่ลดลงจาก 13 ล้านไร่ เหลือเพียง 1,300,000 ไร่ ผลน่าพอใจ ป่าที่ฟื้นสภาพไม่เพียงจะเกิดความชุ่มชื้น ยังทำให้ประชากรช้างเพิ่มขึ้นกว่าเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ หรือเกือบ 400 ตัว ช้างจึงรุกเข้ามาหากินใกล้ชุมชน จากนี้จะจ้างชาวบ้าน เข้าไปขุดบ่อน้ำตื้นอีก 500 บ่อ สร้างแหล่งอาหาร ให้ช้างเพิ่ม ขณะที่เดียวกันจะระดมขุดคูกั้นพื้นที่รอยต่อระยะทาง 600 กิโลเมตร เพื่อกั้นป่า และช้าง จากชุมชน

    ขณะที่การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายฟื้นป่าเสื่อมโทรม ป้องกันไฟป่า และการบุกรุกที่ทำกินของชาวบ้านสนองพระราชเสาวณีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งอยากเห็นป่ารอยต่อ 5 จังหวัด กลายเป็นป่าดิบต้นน้ำใกล้กรุง สืบทอดไปยังลูกหลาน

    ผู้อำนวยการส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ บอกว่า ไม้ที่จะปลูกในพื้นที่ ไม่ใช้ไม้ต่างถิ่น และเน้นเฉพาะไม้เศรษฐกิจ และไม้กินได้ โดยใช้เทคนิคการปลูกแบบ มิยาวากิ คือปลูกแบบธรรมชาติ ให้ต้นไม้แทรกกันขึ้นและเติบโต

    ประธานมูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัดย้ำ ป่าจะยั่งยืนได้ ชาวบ้านต้องมีกิน จะได้ไม่รบกวนสัตว์ สำคัญอย่ารอให้รัฐแก้ฝ่ายเดียว ความร่วมมือจากภาคประชาชนถือเป็นเรื่องสำคัญ



    ก่อนหน้านี้ ที่มีข่าววิกฤตการณ์ปะการังฟอกขาว ที่เกิดขึ้นกับท้องทะเลไทยหลายแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ แต่หลังจากใช้มาตรการปิดเกาะไป ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ปะการังฟื้นตัว เมื่อวานนี้รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบอกว่า ปะการังฟื้นตัวดีขึ้นถึง 90%

    เมื่อวานนี้ (27 ส.ค. 59) ที่ อ่าวคา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดตัวโครงการทุ่นประชารัฐพิทักษ์ทะเล เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยมีอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญระบบนิเวศทางทะเล เข้าร่วมงาน

    โดยโครงการทุ่นพิทักษ์ทะเล เป็นการวางทุ่นไข่ปลาล้อมรอบแนวปะการัง จำนวน 8,400 ทุ่น ในอุทยานทางทะเล 13 แห่ง เพื่อป้องกันผลกระทบต่อปะการัง อันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ว่าเมื่อเห็นทุ่นนี้ จะเป็นสัญลักษณ์ว่า ห้ามทั้งเรือทุกชนิดทอดสมอและแล่นผ่าน ขณะที่นักท่องเที่ยวสามารถดำน้ำชมปะการังได้เหมือนเดิม

    ส่วนสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในประเทศไทย พลเอกสุรศักดิ์ บอกว่า จากมาตรการปิดเกาะหลายแห่ง และจากงานวิจัยที่ใช้วัสดุคลุมกันแดดเหนือน้ำ ทำให้ขณะนี้ ปะการังฟื้นตัวดีขึ้นแล้ว 90%

    อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งที่ทำให้ปะการังฟื้นตัวเร็ว เกิดจากที่ปีนี้ ลานีญาเริ่มเร็ว (เดือน มิ.ย.) ทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกลดลง 0.5 องศาเซลเซียส



    ทุ่นพิทักษ์ทะเล "ทางรอด" ปะการังฟอกขาว



    ไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แล้ว 34 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เกินเป้าที่ตั้งไว้ จากภาคพลังงาน และภาคอุตสาหกรรม

    ผู้อํานวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ อบก. นางประเสริฐสุข จามรมาน บอกว่า ผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2558 พบว่าลดลงได้แล้ว 34 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งถือว่าเกินจากเป้าที่ไทยตั้งไว้ 10 ล้านตันคาร์บอนได ออกไซด์ ส่วนใหญ่มาจากภาคพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม

    ขณะที่ภาคป่าไม้ จากมาตรการเพิ่มพื้นที่ป่าช่วง 2-3 ปี ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้สูญเสียน้อยลงมากได้ช่วยเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ควบคู่กับดึงภาคเอกชนเข้ามาปลูกป่าด้วย โดยเฉพาะปลูกป่าในพื้นที่ของเอกชนตั้งเป้าร้อยละ 20
     
    Last edited: 10 ต.ค. 2016
  17. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ประเทศไทย เฮ "ไซเตส"ถอดรายชื่อไทยพ้นบัญชีค้าม้าน้ำตากแห้ง หลังปี 58 ถูกใบเตือน จนต้องระงับการส่งออกชั่วคราว หลังพบสูง 15 ตันจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในธรรมชาติ

    ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายเกษมสันต์ จิณณวาโส บอกข่าวดีว่า ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญาไซเตส ที่จัดที่นครโจฮันเนสเบริ์ก สาธารณรัฐอาฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 23 กันยายนนี้ ที่ประชุมเห็นชอบต่อกรณีม้าน้ำของประเทศไทย โดยถอดรายชื่อ ประเทศไทยออกจากกระบวนการทบทวนมาตรการการค้าสำคัญของม้าน้ำ 3 สายพันธุ์คือม้าน้ำดำ ม้าน้ำหนามและม้าน้ำยักษ์ หลังจากในช่วงหนึ่งปี ไทยกำหนดมาตรการชั่วคราว ห้ามการส่งออกม้าน้ำออกนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมนี้ แต่ไทยยังจะต้องรายงานต่อนักงานเลขาธิการ ไซเตส และคณะกรรมาธิการฝ่ายสัตว์ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงมาตรการชั่วคราวดังกล่าว พร้อมเหตุผลสนับสนุน เพื่อสำนักงานเลขาธิการ ไซเตส และ คณะกรรมาธิการฝ่ายสัตว์ นำเสนอ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

    ก่อนหน้านี้ปลายปี 2558 ไทยถูกไซเตสจัดลำดับการค้าม้าน้ำตากแห้งให้อยู่ในสถานภาพน่ากังวล เพราะมีการส่งออกมากถึง 15 ตันในปี 2550 และลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงปี 58 เหลือแค่ 9 พันกว่ากิโลกรัม ทำให้ไซเตสห่วงว่าจะสูญพันธุ์เพราะม้าน้ำอยู่ในบัญชี 2 ของอนุสัญญาไซเตส ที่ยังซื้อขายได้ แต่ต้องควบคุมหรือจำกัดปริมาณเพื่อไม่ให้เสี่ยงสูญพันธุ์



    "ไซเตส" พิจารณาปรับสถานะการค้างาช้างของไทย ดีขึ้นมาอีกหนึ่งลำดับ จากที่เคยอยู่สถานะน่ากังวลอย่างยิ่ง ชี้ผลจากมาตรการแก้ปัญหาชัดเจน

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ทส. พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ บอกว่า ในเวทีการประชุมภาคีอนุสัญญา ไซเตส ครั้งที่ 17 ที่เมืองโจฮัน เนสเบิร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 24 กันยายน ถึง 5 ตุลาคมนี้ มีวาระสำ คัญที่ไทยได้รับการพิจารณา คือการปรับสถานะภาพ การค้างาช้างผิดกฎหมายของไทย ดีขึ้น จากสถานะน่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง เป็นสถานะน่ากังวลลำดับรอง ทั้งนี้เป็นผลจากที่ไทย ดำเนินการแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งชาติอย่างเข้มแข็ง จนประ สบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ทั้งการเผาทำลายงาช้างของกลาง 2.1 ตัน และการขึ้นบัญชีครอบครองงาช้าง ทำให้สถานะของไทยที่เคยขึ้นบัญชีค้างาช้าง ถูกปรับมาในลำดับดีขึ้น



    ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน ถูกผลักดันมาหลายยุคหลายสมัยแต่ยังไม่สำเร็จ เพราะมีรายละเอียดต้องแก้ไขเพิ่มเติมหลายเรื่อง โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่ออกมาท้วงติงกรณีสิทธิที่ได้รับไม่เท่าเทียม ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการแก้ไขปรับปรุง และพร้อมจะผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ออกมาใช้ให้เร็วที่สุด

    "ป่าชุมชน" เป็นคำที่เกิดขึ้นมากว่า 30 ปี เป็นวิถีวิธีปฎิบัติในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน โดยดึงคนในชุมชนนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ จัดการ ฟื้นฟูให้ป่ามีความสมบูรณ์ ใช้ทรัพยากรที่ได้จากป่าอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ

    ประโยชน์ของป่าชุมชน ทั้งบริเวณพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และป่าใช้สอยทั่วไปถูกผลักดันเป็น "โครงการป่าชุมชน" มีชุมชนมาขอจดทะเบียนเป็น ป่าชุมชนกว่า 9,800 แห่งทั่วประเทศ รวมเนื้อที่ป่ากว่า 4.6 ล้านไร่

    ที่ผ่านมา ป่าชุมชนได้อาศัยพลังชุมชนในท้องถิ่น ฟื้นฟู ดูแล ปกป้องผืนป่า รักษาระบบนิเวศ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ คงความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยให้พวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน และที่สำคัญ ยังทำให้มีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นได้ด้วย

    ป่าชุมชน กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย จึงจำเป็นต้องมีกฎกติกาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าอย่างเหมาะสม เป็นที่มาของการผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2534 ผ่านมา 25 ปี ยังไม่สามารถคลอดเป็น "กฎหมายป่าชุมชน ฉบับประชาชน" ได้ เพราะมีหลายประเด็นที่ถูกคัดค้าน ทั้งเนื้อหาของกฎหมาย และการริดรอนสิทธิของชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ เพราะเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชน ไม่ให้พื้นที่ป่าอนุรักษ์จดทะเบียนเป็นป่าชุมชนได้ ทำให้คนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์หาของป่า ตัดไม้ใช้สอยอย่างถูกกฎหมายไม่ได้

    สาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน ต้องการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์ ฟื้นฟู พัฒนา ใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและชุมชน เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าสมบูรณ์ให้มากขึ้น

    กฎหมายป่าชุมชน กลายเป็นความหวังที่ชาวบ้านต่างรอคอย โดย พวกเขาหวังว่า สักวันจะได้ทำกินอย่างถูกกฎหมาย

    หากประเทศเรามีกฎหมายดูแลป่าชุมชนที่เข้มแข็งได้จริง นอกจากจะช่วยรักษาและเพิ่มผืนป่าได้มากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ "คน" กับ "ป่า" อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล และดำรงชีพอย่างเป็นสุขได้อีกด้วย นับเป็นการแก้ปัญหาได้ตรงจุดและยั่งยืน เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อม ... รอไม่ได้



    เก็บค่าบำบัดน้ำเสีย กทม.เสนอสภาฯ ไฟเขียวต้นปี 60



    รายงานพิเศษ : เร่งฟื้นฟูชายหาดทั่วประเทศนำร่องพัทยา
     
    Last edited: 12 Dec 2016
  18. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ทส. ขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมจากนโยบาย...สู่การปฏิบัติการในพื้นที่ ตั้งเป้า ปี 2560 จัดการขยะตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 55

    อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายวิจารย์ สิมาฉายา บอกถึงการประชุมขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมจากนโยบายสู่การปฏิบัติการในพื้นที่ ว่า จัดขึ้นเพื่อบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดการมลพิษของประเทศ โดยในส่วนของการจัดการขยะมูลฝอยและเสียอันตราย

    ได้กำกับให้ทุกภาคส่วนดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ที่ ครม. เห็นชอบแล้ว ตั้งเป้า 1 ปีจะให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบกำจัดที่ปลายทางลดลงร้อยละ 5 จากปี 2559 และทุกหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศมีการจัดตั้ง "จุดรวมของเสียอันตรายชุมชน" ทำให้ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อร้อยละ 85 ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และปริมาณกากอุตสาหกรรมร้อยละ 70 ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ



    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทวงคืนป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทั้ง 150 แห่ง ได้กว่า 1 แสนไร่ ในปีนี้

    ผู้ตรวจราชการกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดร.ทรงธรรม สุขสว่างบอกถึงความคืบหน้าการขอคืนผืนป่าทั่วประเทศตามนโยบายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่า จากการรวบรวมตัวเลขจากอุทยานแห่งชาติทั้ง 150 แห่ง สามารถทวงคืนผืนป่าได้ประมาณ 1 แสนไร่ จากการขอคืนจากชาวบ้าน เอกชน ประชาชน รวมถึงการดำเนินการของชุดพญาเสือ ซึ่งพื้นที่ที่ทวงคืนเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งนี้ทาง ทส.จะใช้งบประมาณปกติเข้าไปดูแล รักษา เรื่องไฟป่า การลาดตระเวนร่วมกับชาวบ้าน โดยจะปล่อยให้ป่าค่อยๆฟื้นคืนมาตามศาสตร์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือการปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูก ซึ่งจะทำให้ในปี 2560 มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 1 แสนไร่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ



    ปัจจุบันเราใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ และระบบนิเวศมากมาย จนลืมไปว่าธรรมชาติเหล่านี้ล้วนมีวันหมดอายุ หากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ ล่าสุดกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีแนวคิดนำระบบ"ค่าตอบแทนคุณระบบนิเวศ" มาใช้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้จากรายงานคุณพิชานัน อินโปธา

    การแทนคุณระบบนิเวศ หรือ เพส ถือเป็นเรื่องใหม่ที่หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและนักอนุรักษ์ กำลังเดินหน้าสร้างองค์ความรู้ เพราะในอนาคตประเทศไทยมีความจำเป็นต้องนำระบบนี้มาใช้เพื่อหยุดยั้งความเสียหายของระบบนิเวศ

    ขณะที่ปัจจุบันมีหลายประเทศออกนโยบายเรื่องนี้บ้างแล้ว โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ถ้าในแถบอาเซียนด้วยกัน ก็มีจะเวียดนาม และอินโดนีเซีย ที่ให้ความสำคัญ

    ทว่าแนวคิดการแทนคุณระบบนิเวศ คือการจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อตอบแทนทรัพยากรที่เราใช้ประโยชน์ไป เพื่ออุดช่องว่างของงบประมาณจากภาครัฐที่ไม่เพียงพอ เพราะการดูแลรักษาทรัยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในเขตอุทยานแห่งชาติทั้ง 150 แห่งทั่วประเทศนั้น จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก

    ที่ผ่านมาโครงการเร่งเสริมความยั่งยืน ของระบบการจัดการพื้นที่คุ้มครองของประเทศ หรือ แคสสปา ได้ดำเนินการใน 3 พื้นที่นำร่อง โดยเฉพาะการนำระบบค่าตอบแทนระบบนิเวศ หรือเพส มาใช้เป็นรูปธรรมคือ การจัดตั้งสมาคมที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา , อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และการจัดตั้งสมาคมกลุ่มป่าตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ครอบคลุมอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากว่า 8 แห่ง

    ภายหลังการดำเนินการมากว่า 1 ปี พบว่าคนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจถึงกลไกของเพส มากขึ้น รวมทั้งในพื้นที่ก็มีคนที่พร้อมจะจ่ายค่าตอบแทนเป็นจำนวนมากเช่นกัน

    หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งสร้างองค์ความรู้ เพื่อขยายผลการนำกลไลเพส มาใช้ให้แพร่หลายมากขึ้น ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่หากมองระยะยาวแล้ว ผลลัพธ์ที่จะได้มันคุ้มค่าต่อเม็ดเงินที่ต้องจ่ายไป โดยเฉพาะการอนุรักษ์ระบบนิเวศที่พวกเราจะใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน



    รัฐบาลพยายามผลักดันให้ประเทศไทย เป็นไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งในงานของการพิทักษ์ดูแลป่าไม้ ได้นำเทคโนโลยีดาวเทียม มาใช้ตรวจจับการบุกรุกพื้นที่ป่า

    ปัจจุบัน การทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าไม้ แม้จะเป็นเชิงรุกมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ทันท่วงทีกับกลุ่มคนที่พยายามบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ทำให้กรมป่าไม้ต้องขอความร่วมมือจาก สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือจิสด้า (GISTDA) ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีใช้ติดตามสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของผืนป่าทั่วประเทศ

    จิสด้าจึงออกแบบ เว็บไซต์ที่ชื่อว่า Forrest.Gistda.or.th ซึ่งเว็บไซต์นี้ทำงานเชื่อมต่อกับระบบดาวเทียม เป็นระบบติดตามและแจ้งเตือน ที่คอยถ่ายภาพดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าได้อย่างแม่นยำถึง 90 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเจ้าหน้าที่คอยมอนิเตอร์ หรือตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงตลอด 24 ชั่วโมง หากพบจุดไหนบริเวณไหนถูกบุกรุก ภาพพื้นที่ป่าเริ่มเปลี่ยนจาก สีเขียว เป็น สีน้ำตาล ซึ่งเจ้าหน้าที่จะนำภาพที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นไปเปรียบเทียบกับภาพในอดีต เพื่อยืนยันได้ชัดเจนว่าผืนป่าที่พบกำลังถูกบุกรุกทำลาย

    ขณะเดียวกัน ดาวเทียมยังสามารถแสดงพิกัดที่ตั้งของป่า หากตรวจพบว่า มีการบุกรุก ก็จะแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ให้เข้าตรวจสอบได้ทันที ซึ่งทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ป่า สามารถวางแผนจับกุม และลดความเสี่ยงได้

    เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำในปัจจุบัน ทำให้ภาพถ่ายดาวเทียม มีความละเอียดเพียงพอที่จะรู้ถึงพิกัดของ ต้นไม้มีค่า เช่น ไม้พะยูง ไม้ชิงชัง ไม้สัก ที่ล้วนเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้บุกรุก ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถวางแผนป้องกันแนวผืนป่าที่มีต้นไม้มีค่าได้ง่ายขึ้น

    ไม่ใช่แค่การดักจับ ปกป้อง ลดความเสี่ยงให้กับผู้ปฎิบัติหน้าที่ปกป้องผืนป่าเท่านั้น แต่ยังช่วยชาติประหยัดงบประมาณอีกด้วย

    เนื่องจากการลาดตระเวน แต่ละครั้ง ทั้งที่ใช้รถ เดินเท้า และใช้เฮลิคอปเตอร์ มีงบประมาณทั้งสิ้น บาง ครั้งไม่พบเป้าหมาย ทำให้สูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์

    เทคโนโลยี ติดตามและแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ป่านี้ เริ่มนำมาใช้แล้ว 5 จังหวัด และภายในปีหน้าจะนำมาใช้ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้การป้องกันป่าไม้ ทำได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น



    หนึ่งในปัญหาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คือปัญหาน้ำมันรั่วไหลที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก สร้างความเสียหายในวงกว้าง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้พัฒนาระบบเรดาร์ มาใช้แก้ไขปัญหานี้

    เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในทะเล เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน พบว่า ตั้งแต่ปี 2557- 2559 เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลถึง 19 ครั้ง ในช่วง 3 ปี ซึ่งทุกครั้งส่งผลกระทบในวงกว้าง ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นบริเวณใกล้เคียงกับจุดเกิดเหตุ จนยากจะควบคุม

    กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า (gistda) ดำเนินการติดตั้งสถานีเรดาร์ริมชายหาด โดยเริ่มต้นที่ ชายหาดพยูน อำเภอบ้านฉาง และชายหาดบ้านเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ก่อนเป็นสองจุดแรก เพราะเป็นจุดที่มีนิคมอุตสาหกรรมมาก และในอนาคตจะติดเรดาร์ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย

    สถานีเรดาร์ริมชายหาด เป็นอาคารหลังเล็กๆ บนหลังคามีเสาส่งสัญญาณคลื่นวิทยุความถี่สูง ไปยังผิวน้ำทะเล เพื่อตรวจวัดทิศทางเคลื่อนที่ของน้ำ ในรัศมี 30 กิโลเมตร

    ประโยชน์ของเรดาร์ ที่สามารถชี้ทิศทางการเคลื่อนที่ของลมและกระแสน้ำทะเลได้ ช่วยให้เมื่อเกิดเหตุน้ำมันรั่วกลางทะเล เจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลของทิศทางลมและกระแสน้ำ ทำให้ง่ายต่อการวางแผนแก้ไขปัญหา

    นอกจากนี้ เรดาร์ยังจับข้อมูลของเรือทุกลำในรัศมีได้อีกด้วย เมื่อเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลจะทำให้รู้ได้ทันทีว่า มีเรือของบริษัทใดอยู่ในบริเวณนั้นบ้าง ซึ่งง่ายต่อการติดตามจับกุม และเพื่อให้การเอาผิดกับผู้ทิ้งน้ำมันลงทะเลมีความรัดกุมมากขึ้น ทางจิสด้า ยังได้นำภาพถ่ายดาวเทียม มาใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีเพิ่มเติม

    ถึงแม้เรดาร์จะช่วยแค่ด้านข้อมูลหลังเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลแล้ว ไม่สามารถนำมาใช้ป้องกันปัญหาการลักลอบทิ้งน้ำมันลงทะเลได้ แต่ข้อมูลที่ได้จากเรดาร์ทุกตัว สามารถยับยั้งให้ปัญหามลพิษในทะเล ลดลงได้มากกว่าที่ควรจะเป็น

    เทคโนโลยีเรดาร์ ถูกนำมาใช้ดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้านมาแล้วกว่า 4 ปี ผลที่ได้รับ นอกจากป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้แล้ว เรดาร์ยังมีประโยชน์ด้านการเตือนภัยพิบัติทางทะเล ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

    ข้อมูลจากระบบเรดาร์ เป็นข้อมูลส่วนกลางที่ทุกหน่วยงานสามารถนำไปต่อยอดในงานด้านต่างๆ ได้อีกหลายด้าน ทั้งการป้องกันปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง การดูแลพื้นที่ป่าชายเลน และยังนำข้อมูลไปใช้ในงานวิจัยด้านการประมงอีกด้วย
     
    Last edited: 13 Dec 2016
  19. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เตรียมลงนามความร่วมมือกับหลายหน่วยงาน เพื่อเร่งเดินหน้าทวงคืนผืนป่าทั่วประเทศ

    หลังเป็นประธานเปิดสัมมนาโครงการเร่งเสริมความยั่งยืนของระบบจัดการพื้นที่คุ้มครอง นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยถึงความคืบหน้าการทวงคืนผืนป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ ว่า ได้มอบหมายให้แต่ละภาคส่วนจัดทำแอคชั่น แพลน เพื่อกำหนดทิศทางดำเนินงาน และกรอบเวลาให้มีความชัดเจนมากขึ้น ก่อนจะลงนามความร่วมมือในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ เพื่อขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    อธิบดีกรมอุทยานฯ ยืนยันถึงความเข้มข้นและจริงจังในมาตรการทวงคืนผืนป่าว่า เน้นย้ำให้ทุกพื้นที่ดูแลพื้นที่ป่า ห้ามบุกรุกพื้นที่ใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิม ส่วนพื้นที่ๆพบการบุกรุกก่อนหน้านี้ และใช้ประโยชน์อยู่แล้วจะต้องไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน แต่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

    ส่วนวันนี้ กรมอุทยานฯ ยังได้นำเสนอผลการดำเนินงานตามโครงการเร่งเสริมความยั่งยืน ของระบบการจัดการพื้นที่คุ้มครองของประเทศไทย หรือ CATSPA เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับ United Nations Development Programme หรือ UNDP มีเป้าหมายคือ จัดระบบการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างยั่งยืน เพิ่มศักยภาพองค์กรและบุคลากร พร้อมต่อยอดสร้างเครือข่ายดูแลพื้นที่คุ้มครอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม



    วันที่ 4 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย จากวิกฤติน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคใต้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงหลายครั้งที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่านอกจากเรื่องของสภาพอากาศแล้ว ในการป้องกันป่าไม้นั้นมีส่วนสำคัญที่จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาลงได้ ป่าไม้จึงเป็นหนึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญที่รัฐบาลหลายรัฐบาลที่ผ่านมา และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพยายามรณรงค์กันมาตลอด คือการเพิ่มพื้นที่ป่า แต่ดูเหมือนว่าป่าก็จะยิ่งลดลงต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

    เรามาดูข้อมูลผลการสำรวจจากสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ เทียบกับตั้งแต่ที่มีการสำรวจเมื่อปี 2516 มาจนถึง ปี 2558 รวม 42 ปี และทุกรัฐบาลหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามรณรงค์ให้มีการปลูกป่า ซึ่งความจริงแล้วจำนวนป่าแทนที่จะเพิ่มขึ้น

    แต่ผลสำรวจบอกว่า พื้นที่ป่ารวมทั่วประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2516 ข้อมูล ป่าของไทยมีพื้นที่กว่า 138 ล้าน 5 แสนไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.21 ของพื้นที่ทั่วประเทศ นั่นเท่ากับว่า 42 ปีก่อน เกือบครึ่งของประเทศเป็นพื้นที่ป่า แต่พอมาปี 2458 กลับเหลือพื้นที่ป่า 102.24 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.60 ป่าหายไปกว่า 36 ล้านไร่

    ซึ่งหากเมื่อแยกออกแต่ละภูมิภาคแล้วในขณะนั้นผืนป่าที่หายไปมากที่สุดคือ

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2516 31.66 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 30.01 ปี 2558 เหลือ15.66 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 14.94 หายไปมากกว่าครึ่งของผืนป่าทั้งภูมิภาค

    รองลงมาคือภาคตะวันออก ปี 2516 มีป่า 9.39 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.19 ปี 2558 เหลือ 5.09 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.25

    ภาคเหนือปี 2516 70.99 ล้านไร่ ปี 2558 เหลือป่า 56.49 ล้านไร่

    ภาคใต้ จาก 11.52 ล้านไร่ เหลือ 11.07 ล้านไร่

    และภาคกลาง ปี 2516 14.98 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.56 ปี 2558 มีพื้นที่ 13.91 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.02 ป่าหายไปน้อยที่สุด สองเปอร์เซ็นต์เศษ แต่ถ้าหากคิดเป็นเนื้อที่คือหายไป 1,063,106 ไร่ และในภาพรวมแนวโน้มป่าทั่วประเทศยังจะคงลดลงอย่างต่อเนื่อง

    รูปแบบการทำลายป่าที่สำคัญ ก็ทั้ง การทำไร่เลื่อนลอย การบุกรุกป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ การบุกรุกป่าเพื่อเข้าไปตั้งถิ่นฐานใหม่ ไฟป่า การทำไม้ออกเกินกำลังของป่า การทำเหมืองเปิด นั่นเองซึ่งอย่างหลังสุด นับว่าร้ายแรงมาก มีการเปิดหน้าดินออกเพื่อขุดหาแร่ เมื่อพื้นดินปราศจากสิ่งปกคลุม ฝนตกลงมากระทบกับพื้นดินโดยตรง ไม่มีต้นไม้ที่จะสกัดหรือสิ่งปกคลุมดินที่จะซับหรือดูดซึมน้ำเอาไว้ ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าหน้าดินมาก และมีการกัดเซาะที่รุนแรงตามลำห้วย ลำธาร หรือบริเวณใกล้เคียงที่ท่วมท้นถึง มีความขุ่นทำความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไร่นา และนำความเดือดร้อนมาสู่ผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด

    รัฐบาลในอดีตได้พยายามจะรักษาพื้นที่ป่าโดยประกาศยกเลิกสัมปทานการทำไม้ในป่าบกทั้งหมด ในปี พ.ศ.2532 แต่หลังจากยกเลิกสัมปทานป่าไม้ สถานการณ์ดีขึ้นในระยะแรกเท่านั้น ต่อมาการทำลายก็ยังคงเกิดขึ้นไม่แตกต่างจากสถานการณ์ก่อนยกเลิกสัมปทานป่าไม้เท่าใดนัก โดยพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกก่อนการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2525-2532) เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1.2 ล้านไร่ และพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหลังการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ย 1.1 ล้านไร่ต่อปี



    ข่าว 7 สี - รัฐบาลตั้งเป้ากำจัดผักตบชวา 6 ล้านตันทั่วประเทศ ภายใน 6 เดือน ดีเดย์ในวันนี้วันสิ่งแวดล้อมไทย

    พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดกิจกรรมจิตอาสาประชาร่วมใจ กำจัดผักตบชวาทั่วไทย พร้อมกันทุกจังหวัด เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทยวันที่ 4 ธันวาคม โดยที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผักตบชวามีปริมาณมากถึง 5,000 ตัน หรือเทียบเท่าสนามฟุตบอล 32 สนามและต้องใช้เวลากำจัดกว่า 7 วัน

    สำหรับปริมาณผักตบชวาทั่วประเทศจากการสำรวจมีมากถึง 6.2 ล้านตัน และจะขยายเพิ่มเป็นเท่าตัวภายใน 1 เดือนพร้อมกันนี้ยังมีผลงานวิจัยพบว่าเมล็ดผักตบมีอายุ 5-10 ปี รัฐบาลจึงแต่งตั้ง "คณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวา" จัดทำแผนปฏิบัติงาน 2 ระยะ เริ่มจากเร่งกำจัดผักตบชวาให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ตั้งแต่ตุลาคม 2559 - มีนาคม 2560 จากนั้นดำเนินการจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง ป้องกันการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของผักตบชวาในแหล่งน้ำทั่วประเทศต่อไป



    กรมป่าไม้เร่งดำเนินการตามแผน 20 ปี ต้องเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ 128 ล้านไร่ เดินหน้าทวงคืนผืนป่า และฟื้นฟูเขาหัวโล้น

    นายประลอง ดำรงค์ไทย รองอธิบดีกรมป่าไม้ ระบุการสำรวจพื้นที่ป่า เมื่อปี 2557 พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ เพียง 102 ล้านไร่ หรือร้อยละ 31.62 ของพื้นที่ประเทศ ลดลงจากปี 2551 ถึง 5 ล้านไร่ ดังนั้นรัฐบาลได้กำหนดมาตรการทวงคืนผืนป่าเป็นนโยบายเร่งด่วน ด้วยการประกาศและบังคับใช้กฏหมายอย่างเด็ดขาด กับกลุ่มนายทุน และผู้มีอิทธิพลบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ทวงคืนผืนป่าได้กว่า 3 แสนไร่แล้ว โดยในระยะเวลา 20 ปี จะต้องเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 128 ล้านไร่ และแผนที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป คือการฟื้นฟูเขาหัวโล้นกว่า 8.6 ล้านไร่ ในพื้นที่ 13 จังหวัดภาคเหนือ

    ขณะที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้นโยบายพลิกฟื้นผืนป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้ 5 มาตรการหลัก เน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้มีส่วนร่วม ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ บังคับใช้กฏหมายจริงจัง เพิ่มพื้นที่ป่าและป้องกันการบุกรุกซ้ำ



    นายกรัฐมนตรีใช้ ม.44 สั่งปิดเหมืองทองคำ ระงับทุกใบอนุญาตทั้งประกอบการ การสำรวจ และการต่ออายุ มีผลตั้งแต่ 1ม.ค.60 เป็นต้นไป

    เมื่อวานนี้(13ธ.ค.) ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 72/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ หลังมีผู้ร้องเรียนและคัดค้านการประกอบกิจการ โดยหัวหน้า คสช. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาศัยอำนาจตาม ม.44 สั่งระงับการสำรวจ และทำเหมืองทองคำ โดยคำสั่งนี้ มีผลทำให้ฝ่ายเกี่ยวข้อง ต้องระงับ การออกอาชญาบัตร/ ประทานบัตร และใบอนุญาตประกอบโลหะกรรม รวมถึงระงับการสำรวจ และทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงต่ออายุประทานบัตร และใบอนุญาตจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

    ส่วนผู้ที่ได้รับประทานบัตร และใบอนุญาตเหมืองทองต่างๆ ตามกฏหมาย ให้ระงับการประกิบกิจการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป แต่ผู้ประกอบการ ยังต้องมีหน้าที่ฟื้นฟู ตามมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับดูแลให้เป็นเป็นไปตามแผนฟื้นฟู

    คำสั่งฉบับนี้ ยังกำหนดให้ กระทรวงสาธารณสุข ดูแลสุขภาพของประชาชน และกระทรวงแรงงาน ดูแลพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการระงับการประกอบกิจการ นอกจากนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ / วิเคราห์และวินิจฉัยข้อเท็จจริง และปัญหา พร้อมเสนอมาตรการแก้ไข และรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำสั่งนี้ มีผลโดยตรงต่อ เหมืองแร่ทองคำ ของ บ.อัครา รีซอร์สเซส ใน จ.พิจิตร เพชรบูรณ์ และ พิษณุโลก เนื่องจากเป็นเหมืองทองแห่งเดียว ที่ยังประกอบกิจการในขณะนี้ บนเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ โดยบริษัทอัครา รีซอร์สเซส เคยแถลงก่อนหน้านี้ว่า ยังมีแร่ทองอยู่เกือบ 40 ล้านตัน และสามารถขุดแร่ได้ถึงปี 2571 ตามอายุที่เหลือของอายุประทานบัตร
     
    Last edited: 17 Dec 2016
  20. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    หลายหน่วยงาน ร่วมกันวางแผนป้องกันและแก้ปัญหาบุกรุกเผาป่าในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีการปรับเปลี่ยนแผนการป้องกันใหม่ ไม่ใช้แค่กฎหมายเอาผิดอย่างเด็ดขาดเท่านั้น แต่จะเพิ่มการดูแลจัดสรรที่ดินให้กับ ชาวบ้าน เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และกองทัพบก ประชุมเตรียมการป้องกันไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ นำร่องที่จังหวัดน่านเป็นแห่งแรก

    โดยที่ประชุมได้สรุปสถานการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นในรอบปีนี้ พบว่าจุดที่เกิดไฟป่า หรือจุดฮอตสปอต ลดลงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ หลังมีการปรับแผนเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เป็นที่พอใจเพราะในช่วงท้ายของการสั่งห้ามเผาป่า หรือช่วง 60 วันอันตราย ยังเกิดไฟป่ารุนแรงขึ้น โดยเฉพาะที่ดอยสุเทพปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพราะชาวบ้านเริ่มกลับเข้าไปหาของป่า และเผาซังพืชไร่เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกฤดูใหม่

    ในปีหน้าจึงได้ปรับแผนเฝ้าระวังไฟป่าเพิ่มขึ้น โดยให้แต่ละจังหวัด เป็นผู้กำหนดวันห้ามเผาต่อซังพืชไร่เอง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเผาป่ารุนแรงในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ พร้อมมีมาตรการขอความร่วมมือภาคเอกชนไม่ให้รับซื้อผลผลิตของเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวจากพื้นที่ที่เกิดไฟป่า

    นอกจากการบังคับใช้กฎหมายเอาผิดกับผู้บุกรุกเผาป่าแล้ว ในปีหน้ารัฐบาลจะใช้มาตรการ ดูแลชาวบ้านที่ต้องการเลิกปลูกพืชไร่ที่ต้องบุกรุกและเผาป่า โดยจะจัดสรรที่ดินทำกิน พร้อมแนะนำการปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่โดยไม่ต้องเผาถางป่าเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนต่อไป และในต้นปีหน้าจะเชิญประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีปัญหาไฟป่ามาหารือวางแผนร่วมกันทำงานเพื่อป้องกันและควบคุมไฟป่าไม่ให้เกิดขึ้นรุนแรงเหมือนทุกปีที่ผ่านมา



    น่าน 5 ก.พ. – ไปที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน กับแนวทางการแก้ปัญหาป่าถูกบุกรุก โดยมีการดึงทั้งภาคธุรกิจท่องเที่ยว ประชาชนในพื้นที่ และนักอนุรักษ์เข้ามามีส่วนร่วม. –สำนักข่าวไทย



    นอกเหนือจากการบริหารจัดการน้ำที่รัฐบาลเดินหน้าในการวางระบบให้สามารถแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน "น้ำเน่าเสีย" ก็ถือเป็นหนึ่งปัญหาสำคัญที่รัฐบาลและคสช. มีนโยบายในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะคลองแสนแสบ ที่จะต้องทำให้เห็นผลใน 2 ปี ผ่านพลังประชารัฐ ในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ติดตามจากรายงาน



    โครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน เป็นแนวคิดที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการคลัง นำมาใช้เป็นมาตรการจูงใจภาคเอกชน หรือบุคคล ที่ต้องการจะปลูกป่าด้วยการบริจาคเงินผ่านโครงการนี้ก็จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีตามกฎหมาย ซึ่งหากแนวคิดนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก็คาดว่าจะช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าได้มากขึ้น

    ในปัจจุบันพื้นที่ป่าของประเทศไทยมีอยู่ 102.4 ล้านไร่ คิดเป็น 32เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ และในอีก 20 ปีข้างหน้า รัฐบาลต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าอีก 26 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นอีก 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยศักยภาพของรัฐบาลในการปลูกป่ารวมถึงการดูแลฟื้นฟู และปราบปรามผู้บุกรุกป่า สามารถทำได้เพียง 100,000 ไร่ต่อปีเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ตามเป้าหมาย

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมช่วยปลูกป่า ดูแลและฟื้นฟูป่ามากขึ้น กว่าการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR ปลูกป่า จึงได้หารือกับกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับมาตรการลดหย่อนภาษีให้กับผู้ที่ต้องการผู้บริจาคเงินร่วมปลูกป่า ดูแลและฟื้นฟูป่า ผ่านโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน ที่ขณะนี้มีป่าชุมชนขึ้นทะเบียนไว้แล้วกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจากการหารือในเบื้องต้นกระทรวงการคลังได้รับหลักการไว้แล้ว และอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

    ทั้งนี้หากมาตรการลดหย่อนภาษี จูงใจ ให้คนหันมาปลูกป่ามากขึ้นผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ภาคเอกชนสามารถบริจาคเงินผ่านคณะกรรมการร่วมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรับเอกสารรับรองการบริจาคเงิน นำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

    นอกจากนี้ ภาคเอกชนที่ร่วมบริจาคยังได้รับใบรับรองการมีส่วนรวมดูแลปัญหาโลกร้อน จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้แต่ละบริษัทอีกด้วย

    สำหรับเงินบริจาคที่ได้รับจะนำมาใช้ในกระบวนการปลูกป่า ดูแลและฟื้นฟูป่าชุมชนตามเป้าหมาย รวมถึงการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อเพิ่มความชุมชื้นและรักษาระบบนิเวศ



    เป็นเวลากว่า 3 ปี กับมาตรการทวงคืนผืนป่าชายเลน แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาจะสามารถทวงคืนพื้นที่จากกลุ่มนายทุนได้ตามเป้าหมาย แต่สำหรับปีนี้ได้มีการปรับแผนใหม่ให้เข้มข้นมากขึ้น ด้วยการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้มีความพร้อม ทั้งด้านการปราบปรามและการฟื้นฟูมากขึ้น

    ทรัพยากรชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะป่าชายเลน เป็นพื้นที่ป่าที่มีคุณค่าทั้งด้านการอนุรักษ์ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล มีประโยชน์ มีความผูกพันกับชุมชน

    แต่น่าเสียดาย ที่ผืนป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลายไม่น้อยไปกว่าป่าบก แต่ละปีผืนป่าถูกบุกรุกทำลายกว่า 105,000 ไร่ จากพื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่กว่า 2,800,000 ไร่ ทำให้ปัจจุบันเหลือผืนป่าสมบูรณ์เพียง 1,534,000 ไร่เท่านั้น

    แผนการทวงคืนผืนป่าชายเลน พร้อมอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าให้กลับมาเป็นแหล่งธรรมชาติ อู่ข้าวอู่น้ำของชาวบ้าน เป็นภารกิจหลักที่รัฐบาลต้องเอาจริงเอาจังโดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายการทวงคืนผืนป่าชายเลน ให้ได้ไม่น้อยกว่า 50,000 ไร่ ในระยะเวลา 5 ปี และภายใน 20 ปี ต้องทวงคืนไม่ต่ำกว่า 200,000 ไร่ โดยเน้นการปราบปรามและดำเนินคดีกับผู้บุกรุกรายใหญ่ ส่วนชาวบ้านรายย่อยที่บุกรุกทำกิน จะผ่อนผันให้ภายใต้เงื่อนไขของรัฐ

    ช่วงที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นการปราบปราม แต่ยังจับกุมได้ไม่ถึงตัวนายทุนใหญ่มากนัก ดังนั้น จึงต้องปรับแผนการปราบปรามผู้บุกรุกป่าใหม่ โดยเสริมเพิ่มเติมทักษะความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้สามารถจับได้ไล่ทันกลุ่มนายทุนที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบรุกป่าอยู่ตลอดเวลา

    นอกจากนี้ ยังมีนโยบายติดตามผลการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะข้าราชการระดับสูง โดยนำผลงานการปกป้องป่า ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ตามเป้าหมายมาเป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาผลงานของแต่ละคน

    หลังการทวงคืนผืนป่ากลับคืนมาได้แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ความร่วมมือของชาวบ้าน ที่ต้องร่วมมือกับภาครัฐฟื้นฟูป่าชายเลนให้กลับคืนมาเป็นป่าสมบูรณ์ได้อีกครั้ง

    ลำพังแค่ภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว คงไม่สามารถปกป้องฟื้นฟูผืนป่าและทรัพยากรธรรมชาติของชาติไว้ได้ หากขาดภาคประชาชน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างเสริมปลูกฝังสำนึกให้คนรัก ตระหนัก หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ที่ช่วยสร้างและเติมเต็มคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดีขึ้นได้

    เมื่อพื้นที่ป่าชายเลนถูกทำลายไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการฟื้นฟู ซึ่งเป็นเรื่องยากและใช้เวลานาน เป็นเรื่องท้าทายภาครัฐ ที่จะต้องฟื้นฟูให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม และขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ให้หยุดขบวนการหาผลประโยชน์ส่วนตน บนทรัพย์สมบัติของชาติ... เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมรอไม่ได้
     
    Last edited: 17 Feb 2017
  21. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรมป่าไม้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมแถลงผลการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายในการทวงคืนผืนป่าของ 3 หน่วยงานหลัก



    ยุทธการทวงคืนผืนป่าจากนายทุนผู้บุกรุกของรัฐบาล ทำให้ขณะนี้ ประเทศไทยได้พื้นที่สีเขียวคืนมาแล้วกว่า 3 แสนไร่ พร้อมเดินหน้าสู่กระบวนการฟื้นฟูเพื่อเป็นป่าเศรษฐกิจของชุมชนอย่างแท้จริง ขณะที่การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ตั้งแต่ปี 2557 ที่ผ่านมา ยังทำให้สถิติการบุกรุกป่าที่เกิดขึ้นใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ติดตามจากรายงาน



    การปลูกป่านิเวศ ที่มีต้นแบบจากประเทศญี่ปุ่น ถูกนำมาใช้ฟื้นฟูป่าที่ถูกบุกรุกทำลายในประเทศไทย

    ป่านิเวศ คือป่าไม้สร้างเลียนแบบธรรมชาติ ที่ช่วยให้ต้นไม้เติบโตเร็วกว่าการปลูกแบบธรรมดาทั่วไปได้สูงถึง 10 เท่า เป็นเทคนิคการปลูกป่าของประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังเป็นอีกหนึ่งความหวัง ช่วยฟื้นฟูแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านที่จังหวัดน่าน

    สภาพพื้นที่ป่าจังหวัดน่าน ที่ถูกทำลายอย่างหนักจนกลายเป็นป่าเขาหัวโล้นมากถึง 1,800,000 ไร่ สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านที่ต้องอาศัยธรรมชาติหล่อเลี้ยงชีวิต

    ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้าน ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ตระหนักถึงปัญหาป่าขาดต้นไม้ ดังนั้น ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชนมาขอกำลังช่วยกันปลูกป่า พวกเขาจึงไม่ลังเล

    โดยเฉพาะการปลูกป่านิเวศ ซึ่งเป็นเทคนิคของญี่ปุ่น ถูกนำมาใช้ปลูกป่าในประเทศไทยครั้งแรกที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และอีกหลายพื้นที่ที่สร้างความยั่งยืนให้กับป่าไม้ของไทย

    การปลูกป่านิเวศ ต้องยึดหลักการ เตรียมพันธุ์ไม้ เตรียมดินเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม โดยต้องเป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมในท้องถิ่น ต้องเพาะกล้าไม้จากเมล็ด ช่วยให้เติบโตง่าย ดูแลสะดวก เตรียมเนินดินเพื่อให้รากไม้ระบายน้ำ อากาศและรับสารอาหารได้เต็มที่ และต้องปลูกพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดปะปนกันให้คล้ายธรรมชาติมากที่สุด โดยก่อนปลูกต้องนำกล้าไม้มาชุบน้ำและคลุมด้วยฟางหญ้าด้วยทุกครั้ง

    ชาวบ้านที่จังหวัดน่านเคยทดลองปลูกป่านิเวศมาแล้วได้ผลดี ทำให้ทางจังหวัดน่าน เชื่อมั่นและพร้อมสนับสนุนให้ภาครัฐและเอกชนเข้ามาส่งเสริมการปลูกป่านิเวศ โดยหวังว่าจะช่วยลดความเดือดร้อนในพื้นที่ และเป็นอีกแรงช่วยแก้ปัญหาเขาหัวโล้นในพื้นที่ได้ในอนาคต

    หลักการปลูกป่าให้ประสบความสำเร็จอีกข้อก็คือ ควรปลูกในช่วงก่อนฤดูฝนอย่างน้อย 1 เดือน กล้าไม้จะได้มีเวลาปรับตัวก่อนจะรับน้ำฝน

    การปลูกป่าให้ได้ผลยั่งยืน สิ่งที่สำคัญมากกว่าแนวคิดและวิธีการก็คือ การเอาใจใส่ดูแลหลังปลูกอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งถึงวันที่กล้าไม้สามารถเจริญงอกงามได้ด้วยตัวเอง

    ต้นไม้เติบโต คนปลูกก็อิ่มใจ เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมรอไม่ได้กรีนรีพอร์ต ปลูกป่านิเวศฟื้นฟูป่าน่าน



    เกิดการลอบเผาป่าในหลายพื้นที่แทบทุกอำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ค่าหมอกควันพิษจากไฟป่าเกินค่ามาตรฐานเป็นวันแรกควันพิษจากไฟป่าแม่ฮ่องสอน เกินค่ามาตรฐาน

    นายครรชิต วงศ์พระยา หัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ มส.15 ได้จัดกำลังเข้าไปร่วมดับไฟป่าบริเวณริมถนน สาย 1095 จุดชมวิวหลุกข้าวหลาม ต.ปางมะผ้า อ.ปางมะผ้า จ. แม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย สามารถควบคุมการลุกลามและดับไฟป่าได้สำเร็จ พื้นที่ป่าเสียหายจากไฟป่าประมาณ 10 ไร่ สาเหตุน่าจะเกิดจากการจุดของชาวบ้านแล้วไม่ได้ทำแนวกันไฟ ทำให้ไฟได้ลุกลามเข้าไปในป่า

    สำหรับบริเวณจุดเกิดเหตุ เป็นจุดชมวิว ที่มีชาวเขาเผ่ามูเซอร์ของบ้านหลุกข้าวหลาม มาตั้งเพิงจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรให้กับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางผ่านไปมา

    ส่วนสถานการณ์ด้านไฟป่าในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบัน พบว่า จากสภาพอากาศในช่วงบ่าย ที่ร้อนจัด ทำให้มีการลักลอบเผาป่าในหลายพื้นที่แทบทุกอำเภอ

    ขณะที่ทุกหมู่บ้าน ยังมีการเร่งดำเนินการชิงเผาเชื้อเพลิงสะสมในป่า บริเวณรอบ ๆ หมู่บ้าน ส่งผลให้เกิดควันไฟป่าสะสม ลอยมาปกคลุมตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เพิ่มมากขึ้น และค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (Pm-10) ได้เพิ่มสูงขึ้นวัดได้ 148 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากค่ามาตรฐานไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และทำให้ค่าคุณภาพอากาศ AQI สูงเกินค่ามาตรฐาน วัดได้ 113 จากค่ามาตรฐานไม่เกิน 101



    แนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า รัฐบาลยังคงใช้กลไกประชารัฐดำเนินงานในเชิงรุก ภายใต้แผน 3 มาตรการเชิงพื้นที่ และ 4 มาตรการบริหารจัดการ โดยเบื้องต้น กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ประเมินว่าปีนี้มี 65 จังหวัดที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากไฟป่า

    แยกเป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง 25 จังหวัด เสี่ยงปานกลาง 28 จังหวัด เสี่ยงน้อย 12 จังหวัด โดยจุดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ พะเยา ตาก และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาจะยึดตามมติ ครม.เมื่อ 31 มกราคม ที่ให้ใช้ 3 มาตรการเชิงพื้นที่ และ 4 มาตรการบริหารจัดการ โดยเฉพาะมาตรการเชิงพื้นที่จะเป็นการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พื้นที่ป่าไม้ จะให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการควบคุมการเผาในพื้นที่ป่าไม้

    พื้นที่เกษตรกรรม จะมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่กำหนดช่วงเวลาและจัดระเบียบการเผา ประกาศเขตห้ามเผา จัดทำแนวกันไฟ รวมถึงรณรงค์การไถกลบแทนการเผา และ พื้นที่ริมทางหลวง

    กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเฝ้าระวัง และควบคุมการเผาวัสดุทุกประเภทในเขตริมทางหลวง เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

    ขณะที่มาตรการบริหารจัดการ จะใช้การจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดและอำเภอ ส่งเสริมการใช้สารหมักชีวภาพ เพื่อย่อยสลายตอซังแทนการเผา ใช้กลไกประชารัฐ กำหนดกติกาชุมชนลดการเผาในพื้นที่ป่า และปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นผลกระทบของไฟป่า หมอกควัน และบทลงโทษการลักลอบจุดไฟเผาป่า

    โดยปีนี้ตั้งเป้าจะลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ จำนวนจุดความร้อน หรือ ฮอตสปอต ให้ได้ร้อยละ 20 เพื่อสอดคล้องตามแผนความร่วมมือ 5 ประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ที่จะลดให้เหลือไม่เกิน 35,000 จุด ภายในปีนี้

    และล่าสุด กรมควบคุมมลพิษ รายงานคุณภาพอากาศเมื่อเวลา 10.00 น.โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ว่ายังอยู่ในระดับสีเขียว ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก

    ยกเว้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่อยู่ในเกณฑ์เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน รวมถึงใช้ผ้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปาก และจมูกทุกครั้งที่ออกจากบ้าน เพื่อป้องกันสูดดมฝุ่นละออง และเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน
     
    Last edited: 1 Mar 2017
  22. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    "ป่าชายเลน" เป็นทรัพยากรที่สร้างประโยชน์ใช้ป้องกันคลื่นลม การกัดเซาะชายฝั่ง แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และยังมีประสิทธิภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่สำคัญเป็นแหล่งทำกินได้อีกด้วย

    แต่น่าเสียดายที่พื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ 280,000 ไร่ หลงเหลือความอุดมสมบูรณ์อยู่เพียง 1,500,000 ไร่ เพราะถูกบุกรุกทำลาย ขุดทำบ่อกุ้ง บางบ่อถูกขุดลึกมากจนยากจะเยียวยากลับคืนสภาพให้สมบูรณ์ได้ และส่งผลเสียหายต่อระบบนิเวศมาก ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเดินหน้าทวงคืนผืนป่าและต้องเร่งฟื้นฟู

    แนวทางฟื้นฟูป่าชายเลนให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า "ป่าชายเลนเศรษฐกิจ" เป็นหนึ่งในแนวทางที่รัฐบาลส่งเสริมให้คนหันมาร่วมกันรักหวงแหน ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม โดยส่งเสริมอาชีพที่ทำได้ง่าย รายได้ดีให้กับคนในพื้นที่ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่นำร่องนำแนวทาง "ป่าชายเลนเศรษฐกิจ" มาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกต้นโกงกางบนที่ดินของตัวเอง เมื่อต้นโตเต็มที่ สามารถตัดนำมาเผาเป็นถ่าน กลายเป็นสินค้าส่งออกสร้างรายได้ดีให้กับชาวบ้าน

    การตัดต้นโกงกางมาเผาถ่านขายของชาวบ้านที่นี่ ใช้วิธีหมุนเวียน โดยจะแบ่งตัดต้นโกงกางบางส่วน และเหลือบางส่วนไว้ จากนั้นจะปลูกทดแทนและรอการเติบโตใหม่ วิธีการนี้ช่วยให้ระบบนิเวศดีขึ้น ป่าไม้โกงกางสมบูรณ์ขึ้น เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่ดี ช่วยให้ชาวบ้านได้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำอีกทางหนึ่ง

    แนวทางป่าชายเลนเศรษฐกิจ นับเป็นต้นแบบการอนุรักษ์ผืนป่าชายเลน ที่ภาครัฐกำลังเร่งรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาต่อยอดการพัฒนาโครงการ ก่อนจะนำไปต่อยอดส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่อื่นๆ ได้ทำตาม

    การฟื้นฟูพื้นที่ป่า ไม่ว่าจะเป็นป่าบก ป่าชายเลน จะได้ผลสำเร็จแค่ไหน ไม่ได้อยู่ที่ใช้กำลังปราบปรามผู้บุกรุกเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญที่สุดคือ 2 มือและภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ ที่จะช่วยให้เป้าหมายการทวงคืนผืนป่าของรัฐบาลสำเร็จได้



    ปฏิบัติงานทวงคืนผืนป่ามรดกโลกทับลานของ “ชุดพญาเสือ 60" เพียงสัปดาห์เดียวยึดคืนผืนป่าได้เกือบ 3 พันไร่ พบผู้บุกรุก 52 ราย สั่งดำเนินคดี 24 คดี เป็นสิ่งปลูกสร้าง 99 หลัง อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เตรียมแถลงสรุปผลงานพรุ่งนี้ (28 มี.ค.)

    ความคืบหน้าปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าทับลานมรดกโลก ในพื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัด จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา ของชุดปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า หรือ พญาเสือ ระหว่างวันที่ 19–30 มีนาคม

    นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน มรดกโลก กล่าวว่า ปฏิบัติการร่วมศูนย์ปราบปรามผู้มีอิทธิพล จะเริ่มปฏิบัติการต่อเนื่องต่อตั้งแต่ 27- 30 มีนาคม โดยวันนี้(27 มี.ค.) ชุดเฉพาะกิจพญาเสือพร้อมกันที่หน่วยพิทักษ์ฯ จะชี้แจงแผนปฏิบัติงาน การเข้าพื้นที่เป้าหมายรวม 52 ราย ในเนื้อที่ 900 ไร่ ต่อเนื่องในการติดตามตรวจยึดที่พักตากอากาศและรีสอร์ท

    นายประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ในวันอังคารที่ 28 มีนาคม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมผู้บริหารทุกส่วนราชการ แถลงข่าวสรุปผลการปฏิบัติงานในเวลา 10.00น. ที่หน่วย ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมาที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 20 -24 มีนาคม ผลปฏิบัติงานทวงคืนผืนป่ามรดกโลกทับลาน จากผู้บุกรุกบุกรุกของทีมชุดพญาเสือ 60 ได้ปิดประกาศให้ผู้บุกรุกผืนป่าอุทยานแห่งชาติทับลานรื้อถอนบ้านพักตากอากาศ–รีสอร์ท ในจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา รวมพื้นที่ 2,291 ไร่ ผู้บุกรุกรวม 52 ราย 24 คดี พบสิ่งปลูกสร้าง รีสอร์ท-บ้านพักตากอากาศ 99 หลัง

    สำหรับการดำเนินคดีเกี่ยวกับผู้บุกรุกป่าของอุทยานแห่งชาติทับลาน นายประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ได้ดำเนินคดีไปแล้ว 460 ราย ส่วนมากอยู่ในอำเภอวังนํ้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา รวม 325 กว่าราย และในเขตอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีรวม 50 กว่าราย
     
    Last edited: 30 Mar 2017

Share This Page