หลังจากแก้ไขปัญหาการประมงเรื่อง IUU จนขณะนี้ EU บอกให้คงสถานะเดิมอีก 6 เดือนแล้วจะมาประเมิน ยังมีเวลาหายใจอีก 6 เดือน แต่ตอนนี้ยังมีอีกปัญหาหนึ่งที่รอการแก้อย่างเร่งด่วน เพราะหากแก้ไขไม่ทันเวลา แล้วไม่ผ่านมาตรฐาน จะมีผลต่อธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศอย่างมาก ปัญหานั้นคือ ปัญหาเรื่องมาตรฐานการบินของกรมการบินพลเรือน(เดิม) หรือในชือปัจจุบันคือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ปัญหาเกิดจากการออกใบอนุญาตที่มากเกินกว่าจำนวนเจ้าหน้าที่ที่มีจะดูแลได้ตามมาตรฐาน มีผลประโยชน์ทับซ้อน(เจ้าออกใบอนุญาตกับคนตรวจสอบเป็นหน่วยงานเดียวกัน) ไม่มีคู่มือที่ทันสมัย อุปกรณ์ไม่พร้อม ฯลฯ ตกมาตรฐานทั้ง ICAO และ FAA ส่วนของ EASA นี่ผ่านแบบต้องใช้กรรมการช่วยกันเลย
ขณะนี้รัฐบาลก็กำลังปรับปรุงมาตรฐานการบินอยู่ เริ่มขยับกันแล้ว พยายามจ้างเจ้าหน้าที่ต่างประเทศมาทำงานในส่วนที่ขาดหายไป ส่วนสาเหตุมาจากอะไร ก็ดูตามคลิปนี้ครับ ยุทธการปลด "ธงแดง" มาตรฐานการบินไทย หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทำให้องค์การการบินระหว่างประเทศ หรือ ไอเคโอ ต้องตรวจสอบมาตรฐานการออกใบอนุญาตของกรมการบินพลเรือนไทย คือ การทำงานโดยใช้เจ้าหน้าที่เพียง 11 คน ในการออกใบรับรองสายการบิน รวมทั้งตรวจสอบอากาศยาน จำนวนมาก ไทยรัฐทีวีรวบรวมข้อมูลนี้ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ผมยังข้องใจเรื่องการประมงอยู่ การส่งออกสัตว์น้ำจากการประมงน้ำลึก ดูเหมือนจะมีตัวละครแค่นายทุนกับแรงงานต่างชาติ คือนายทุนเป็นเจ้าของเรือ ส่วนแรงงานทั้งในเรือและแปรรูปอาหารเป็นต่างชาติเกือบทั้งสิ้น สังคมไทยโดยรวมได้ประโยชน์อะไรจากการส่งออกอาหารทะเลบ้าง ถ้าเราต้องเบียดเบียนชีวิตสัตว์ทะเลจำนวนนับไม่ถ้วนและความเสื่อมเสียชื่อเสียงของชาติเรื่องการค้ามนุษย์ เพื่อแลกกับความมั่งคั่งของนายทุนและผู้ประกอบการค้ามนุษย์ไม่กี่คน มันไม่คุ้มกันเลย
สงวนทรัพยากรในทะเล ไว้เพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว เราไม่ส่งไปมันก็หาจากที่อื่นได้ แต่ถ้าอยากกินปลาทูตัวโตๆ น้ำจิ้มซีฟูตอร่อยๆ ต้องบินมากินที่ประเทศไทยเท่านั้น แห่งเดียวในโลก ได้ประโยชน์มากกว่ามั๊ย
ก็ยังพอมีข่าวดีอยู่บ้าง กรุงเทพฯ 7 ก.พ. – หลังจากธุรกิจการบินของไทยถูกปักธงแดงเรื่องมาตรฐานการบินจากไอเคโอเมื่อปีที่แล้ว ขณะนี้หลายฝ่ายกำลังมุ่งทำงานเพื่อยกมาตรฐานความปลอดภัย และผลิตบุคลากรให้เพียงพอต่อความต้องการ. –สำนักข่าวไทย
เจาะลึกค่าตอบแทนนักบิน ปัจจัยส่งผลนักบินไม่เพียงพอ กรุงเทพฯ 18 ก.พ.-ข้อมูลจากผู้อยู่ในแวดวงการบินพบว่าค่าตอบแทนของนักบินในสายการบินต้น ทุนต่ำ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 400,000 บาทต่อเดือน โดยสายการบินยอดนิยมและมีเที่ยวบินจำนวนมากคือแอร์เอเชียและนกแอร์ ยิ่งมีเที่ยวบินให้บริการมากก็ยิ่งต้องการนักบินมาก ปัจจุบันรายได้เบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการรวมที่นักบินระดับกัปตันของสายการ บินต้นทุนต่ำในไทยได้รับอยู่ที่ประมาณ 380,000 บาทต่อเดือน ส่วนนักบินผู้ช่วย หรือ co-pilot มีรายได้เริ่มต้นมากกว่า 100,000 บาท มีรายงานว่าช่วงที่ผ่านมามีการปรับเพิ่มค่าตอบแทนของนักบินในสายการบินต้น ทุนต่ำในไทยทั้ง 8 แห่ง ให้มาอยู่ระดับที่ไม่แตกต่างกันมากแล้ว ป้องกันปัญหานักบินย้ายออก ขณะที่สายการบินแห่งชาติ อย่างการบินไทย กัปตันจะได้ค่าตอบแทนราว 300,000 บาท และจะได้เพิ่มขึ้นตามชั่วโมงบิน แต่สายการบินฝั่งตะวันออกกลาง อย่างเอทิฮัด สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นักบินจะมีเงินเดือนราว 480,000 บาท แต่ถ้ามีใบอนุญาตเป็นครูสอนนักบินด้วยก็จะได้เพิ่มอีก 40,000 บาทต่อเดือน ส่วนนักบินผู้ช่วยเงินเดือนเริ่มต้นที่ 280,000 บาท ในช่วงที่ผ่านมาเกิดการซื้อตัวนักบินไปอยู่สายการบินตะวันออกกลาง โดยเฉพาะนักบินที่มีประสบการณ์ 5-7 ปี บินเครื่องบินประเภทโบอิ้งและแอร์บัสเป็นที่ต้องการมากที่สุด ข้อมูลจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พบว่าปี 58 สายการบินต้นทุนต่ำเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ต่อปี จำนวนเครื่องบินต้นทุนต่ำทั้งหมดในไทยเพิ่มเป็นกว่า 100 ลำ และ 3 แบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดคือ แอร์เอเชีย สายการบินจากมาเลเซีย, นกแอร์ สายการบินของไทย และไทย ไลอ้อนแอร์ ของอินโดนีเซีย ขณะที่มีสายการบินต้นทุนต่ำที่มีชาติในเอเชียเข้ามาร่วมทุนกับไทยด้วยก็ มีหลายแห่ง เช่น ไทยเวียดเจ็ทแอร์ ของเวียดนาม, ไทยเกอร์แอร์ ของสิงคโปร์ สำนักงานการบินพลเรือน กำหนดให้สายการบินเอกชนต่างชาติที่เข้ามาทำการบินในไทยช่วง 2 ปีแรกต้องมีนักบินไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และต้องเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 5 ต่อปี ทำให้มีความต้องการอาชีพนักบินที่สูงมาก ไทยมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าทางอากาศรวม 50 บริษัท ในจำนวนนี้มีสายการบินต้นทุนต่ำ บูติกแอร์ไลน์ แอร์คาร์โก้ และการเช่าเหมาลำ การเติบโตของการบินยังทำให้มีสถาบันที่ผลิตนักบินและผู้ที่ทำงานในสายงานการ บินเติบโตไปด้วย ผู้เลือกเรียนสาขานี้ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และสถาบันที่ผลิตก็มีทั้งที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน.-สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/406516 สถาบันสอนนักบิน กรุงเทพฯ 19 ก.พ.-แต่ละปีไทยมีโรงเรียนที่ผลิตนักบินเฉลี่ยเพียง 300 คน เมื่อเทียบกับความต้องการและการเติบโตของธุรกิจการบินถือว่ายังไม่เพียงพอ ซึ่งไทยมีโรงเรียนที่มีสนามฝึกบิน 4 แห่ง สิ่งสำคัญคือนักเรียนการบินต้องสะสมชั่วโมงบินให้ครบตามกำหนด และหลักสูตรการบินต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานการบินพลเรือนกำหนดไว้อย่างเข้มงวด นักเรียนการบินหญิงคนนี้เป็นหนึ่งใน 10 คน ของนักเรียนการบินโรงเรียนการบินกรุงเทพ ที่มาฝึกปฏิบัติสะสมชั่วโมงบินที่สนามฝึกบินย่านองครักษ์ นครนายก เธอกำลังจะบินครบหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี และสอบเข้าเป็นนักบินสายการบินพาณิชย์ต้นทุนต่ำแห่งหนึ่งได้แล้ว หลังจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาตร์ เธอมาเรียนหลักสูตร 1 ปีที่นี่ แม้ค่าเรียนจะสูงถึง 2.5 ล้านบาท แต่เธอกำลังจะได้เป็นนักบินตามความฝัน ข้อมูลจากสมาคมนักบินพบว่าไทยมีจำนวนนักบินประมาณ 5,000 คน สัดส่วนนักบินชายมีมากกว่าหญิง ปัจจุบันมีนักบินหญิงอยู่เพียง 100 คน ในจำนวนนี้เป็นกัปตันหญิงแค่ 10 คน แม้จำนวนนักบินหญิงจะน้อยกว่ามาก แต่ก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะกำลังมีการเปิดกว้างรับสมัครผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบินในสายการบินหลายแห่ง นักเรียนการบินคนนี้กำลังฝึกบินไปยังจังหวัดพิษณุโลก ผ่านห้องฝึกบินจำลอง หรือ simulater สมมติเหตุการณ์ขณะหมอกลงจัด ให้รู้วิธีแก้ปัญหา และนำเครื่องลงจอดให้ปลอดภัย หลักสูตรการเป็นนักบินมีทั้งแบบเรียน 1 ปี ที่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนการบินที่มีสนามฝึกบิน กับการเรียนตามสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรการบิน ซึ่งนักเรียนการบินทุกคนต้องสะสมประสบการณ์ เก็บชั่วโมงการบินให้มากพอ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้บริหารโรงเรียนการบินกรุงเทพ หรือบีเอซี 1 ใน 4 โรงเรียนที่ผลิตนักบิน ให้ข้อมูลว่า แต่ละปีโรงเรียนแห่งนี้ผลิตนักบินได้ประมาณ 250 คน เมื่อเทียบกับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินถือว่ายังไม่เพียงพอ เพราะประเทศยังต้องการเพิ่มอีกปีละไม่ต่ำกว่า 400 คน รองรับเครื่องบินที่จะสั่งเข้ามาใหม่เฉลี่ยปีละ 20-30 ลำ ทำให้บางส่วนต้องหันไปดึงนักบินต่างชาติมาทำงานแทน และทำให้นักบินไทยเสียโอกาส และเห็นว่าการผลิตนักบินให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณภาพของนักบินสำคัญยิ่งกว่า สำนักงานการบินพลเรือนมีเกณฑ์ควบคุมโรงเรียนการบินให้ได้ตามมาตรฐาน ICAO ที่ตรวจสอบชั่วโมงบินย้อนหลังได้ทุกขั้นตอน ผ่านล็อกบุ๊คของทั้งนักบิน ครูการบิน และในเครื่องบิน ซึ่งตอบข้อสงสัยของการโกงชั่วโมงบิน จากปัญหานักบินขาดแคลน และโรงเรียนผลิตนักบินในประเทศที่มีสนามฝึกบิน 4 แห่ง ผลิตนักบินในแต่ละปีเฉลี่ย 300 คน ทำให้สายการบินหลายแห่ง โดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำที่มีเที่ยวบินบริการเพิ่มมากขึ้น หันมาทำข้อตกลงกับโรงเรียนผลิตนักบิน เพื่อรับนักบินที่จบใหม่เข้าไปทำงานทันที เป็นการช่วยให้สายการบินได้บุคลากรเข้าทำงานตรงความต้องการในเวลาอันรวดเร็ว และปัญหานักบินสายการบินนกแอร์ที่หยุดงานประท้วงเมื่อสัปดาห์ก่อน จากความไม่พอใจโครงสร้างองค์กร และข้ออ้างเรื่องนักบินสำรองไม่มากเพียงพอ นักบินหลายคนเห็นว่านั่นเป็นแค่สัญญาณเตือน หากในอนาคตองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ประเมินมาตรฐานความน่าเชื่อถือความปลอดภัยทางการบินของไทยผ่านแล้ว นักบินจำนวนมากมีแนวโน้มจะย้ายออกไปทำงานสายการบินต่างชาติ โดยเฉพาะตะวันออกกลางอีกจำนวนมากจากเหตุผลเรื่องรายได้.-สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/407395
ปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย คือการขาดแคลนบุคลากรทางการบิน โดยเฉพาะนักบินที่ได้ชื่อว่าเป็น"กัปตัน"ที่มีอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับการเติบโตของอุตสาหกรรม จะเป็นเพราะอะไร และกว่าจะก้าวสู่การเป็นนักบินได้นั้น จะต้องผ่านอะไรบ้าง ปัจจุบันการขาดแคลนบุคลากรด้านการบินของไทยอยู่ในขั้นวิกฤตรุนแรง โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสูงที่ยังผลิตได้จำนวนจำกัด ไม่เพียงพอต่อความต้องการของสายการบินต่าง ๆ ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ อย่างโบอิ้ง และแอร์บัส ประเมินว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั่วโลกจะมีความต้องการนักบินใหม่เพิ่มขึ้นอีกถึง 533,000 คน ในจำนวนนี้เป็นนักบินใหม่ในเอเชียแปซิฟิก 216,000 คน ขณะที่ฝ่ายช่างเทคนิคและวิศวกรด้านการบิน มีความต้องการมากถึง 584,000 คน อยู่ในเอเชียแปซิฟิก 224,000 คน หรือ เฉลี่ยตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีความต้องการนักบินและฝ่ายช่างอากาศยานไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 คน ขณะที่ไทย แม้จะมีสถาบันเกี่ยวกับวิชาทางการบินถึง 13 แห่ง แต่ผลิตและพัฒนาบุคลากรได้เพียง 2,000 คนต่อปีเท่านั้น สวนทางกับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินในประเทศ ที่ปัจจุบันมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 400,000-500,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากยังประสบปัญหาถูกสายการบินต่างชาติซื้อตัวนักบิน ช่างอากาศยานไปจำนวนมาก ส่งผลให้บุคลากรด้านการบินในประเทศขาดแคลนยิ่งขึ้น ปัจจุบันไทยมีนักบิน 2,500-3,000 คน ในจำนวนนี้ราว 1,300 คน ทำงานที่บริษัท การบินไทย ขณะที่แต่ละปีธุรกิจการบินมีความต้องการนักบินใหม่ไม่ต่ำกว่า 400-500 คน เพื่อนำไปทดแทนนักบินที่เกษียณอายุและขับเครื่องบินลำใหม่ ซึ่งต้องใช้นักบิน 12 คนต่อเครื่องบิน 1 ลำ แต่ปัจจุบันไทยผลิตนักบินได้เพียงปีละ 200-300 คน เช่นเดียวกับกลุ่มช่าง และวิศวกรด้านการบิน 8,000-9,000 คน ในจำนวนนี้ 4,500 คน อยู่การบินไทย แต่ละปีมีความต้องการฝ่ายช่างเพิ่มขึ้นกว่า 700-800 คน โดยเครื่องบิน 1 ลำ ใช้ช่างดูแล 30-35 คน แต่ไทยผลิตฝ่ายช่างได้เพียง 200-300 คนเท่านั้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ ผลิตได้เพียงปีละ 40 คนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีฝ่ายงานภาคพื้นดิน ทั้งการจัดการท่าอากาศยาน การจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ ก็ยังมีความต้องการสูงขึ้นเช่นกัน สถาบันการบินพลเรือน เตรียมเสนอ ครม.ของบประมาณ 1,200 ล้านบาท จัดสร้างอาคารพร้อมอุปกรณ์ สำหรับผลิตบุคลากรทางการบินแบบครววงจร นาวาอากาศเอกจิรพล เกื้อด้วง ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน เปิดเผยความคืบหน้าแผนการพัฒนาบุคลากรการบิน ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ว่า สบพ.ได้เสนอแผนของบประมาณ 1,200 ล้านบาท สำหรับสร้างอาคาร 18 ชั้น พร้อมอุปกรณ์ฝึกอบรมบุคลากรทางการบินครบวงจร ซึ่งขณะนี้แผนผ่านการพิจารณาของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติ ซึ่งงบประมาณดังกล่าวจะเสริมขีดความสามารถให้ สบพ. เพิ่มการผลิตบุคลากรทางการบินจากปัจจุบัน ปีละ 2,000 คน เพิ่มเป็น 5,000 ถึง 6,000 คนได้ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ในเร็ว ๆ นี้ แต่สำหรับการผลิตนักบิน สถาบันการบินพลเรือนฯ จะยังอยู่ในระดับเดิมที่ปีละ 100 คน เนื่องจากต้องการให้การฝึกอบรมนักบินมีมาตรฐานสูง ตรงตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO
ผลการตรวจสอบฐานะการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจการบิน ล่าสุดพบ 4 สายการบินเช่าเหมาลำ กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างหนัก นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยหรือ กพท.ระบุว่าผู้ประกอบการสายการบิน 4 แห่ง กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างหนัก ประกอบด้วย สายการบินซิตี้ แอร์เวย์ สายการบินกานต์แอร์ สายการบินเอเซียนแอร์ และ เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ โดยเฉพาะซิตี้ แอร์เวย์ ถูก กพท.ระงับไม่ให้บินชั่วคราว เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังมีปัญหาขาดทุน และภาระหนี้สิน ส่วนเอเซียน แอร์ ถูกระงับการบินเช่นกันหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ขณะที่อยู่ระหว่างนำทรัพย์สินของบริษัทออกจำหน่ายเพื่อชำระหนี้ ส่วนอีก 2 สายการบิน คือ กานต์แอร์ และ เจ็ทเ อเซีย กพท. กำลังติดตามฐานะทางการเงินอย่างใกล้ชิด เพราะปัญหาหนี้สิน อาจส่งผลต่อมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบิน หลังบริษัทพยายามหาแนวทางลดต้นทุน ปัญหาดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ รับทราบ และ หลังเสร็จสิ้นการประชุมจะเปิดแถลงข่าวในเวลา 14.00 น.ที่กระทรวงคมนาคม ทีมรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ได้โทรศัพท์พูดคุยกับพนักงานสายการบินเจ็ทเอเชีย เปิดเผยว่า สายการบินเจ็ทเอเชียติดเงินเดือน ค่าบินเป็นจำนวนมาก มีเซ็นสัญญาจ่ายเงินเป็นงวดๆ บอกจะจ่ายแต่ผิดสัญญามา 2 งวดแล้วก็ไม่รู้ว่าจะจ่ายหรือไม่ เขาเริ่มค้างเงินตั้งแต่ปีที่แล้ว เป็นปัญหายืดยาว ทยอยจ่ายแต่แค่น้อยนิดมาก ส่วนคนที่ออกไปแล้วบางคนแทบไม่จ่ายอะไรเลย กระทรวงคมนาคม จี้ 4 สายการบินที่มีปัญหาสภาพคล่อง เร่งแก้ไขปัญหาก่อนถูกสั่งพักใบอนุญาตประกอบกิจการ ขณะที่ปัญหาของสายการบินนกแอร์ยังไม่จบ ล่าสุดอาจจะมีการยกเลิกเที่ยวบินต่อเนื่องถึงสิ้นเดือนนี้ นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน และผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. เปิดเผยว่า วันนี้สายการบินนกแอร์ ยังไม่มีการแจ้งยกเลิกเที่ยวบินเพิ่มเติมเข้ามายัง กพท. หลังผู้บริหารของสายการบินออกมาระบุว่าอาจมีการยกเลิกเที่ยวบินต่อเนื่องถึงสิ้นเดือนนี้ โดยนกแอร์อาจใช้วิธีการแจ้งเป็นรายวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาภายในของสายการบินเอง ว่า จะแก้ปัญหาได้มากน้อย และรวดเร็วเพียงใด ทั้งนี้ กพท. ได้จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สนามบินเพื่อตรวจสอบว่า สายการบินนกแอร์มีมาตรการดูแลผู้โดยสารอย่างไร และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งหากสามารถหาเที่ยวบินทดแทน หรือ คืนตั๋วโดยสารให้ผู้โดยสารได้ทั้ง 100% ก็ไม่ต้องแจ้ง กพท.ล่วงหน้า 3 วัน และแต่หากเป็นกรณีที่ดำเนินการดังกล่าวไม่ได้ ก็ต้องจ่ายเงินชดเชยให้ผู้โดยสาร 1,200 บาท และต้องแจ้ง กพท.ล่วงหน้า 3 วัน ส่วนกรณี 4 สายการบิน ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจนอาจส่งผลต่อการบริหารการบินและความปลอดภัยนั้น นายจุฬา ระบุว่า กพท.กำลังจับตาดู ทั้ง 4 สายการบิน ในการแก้ไขปัญหาสถานะทางการเงิน โดยยืนยันว่าสายการบินที่มีปัญหาส่วนใหญ่เป็นสายการบินเช่าเหมาลำ และเป็นสายการบินที่ขอใบอนุญาตทำการบินประจำ แต่ปรากฎว่าไม่ได้ทำการบินตามตารางมานานแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าว กพท.จะจับตาดูเป็นพิเศษ ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็อาจต้องพักใบอนุญาตประกอบกิจการจนกว่าจะแก้ไขปัญหาได้ รวมถึงสายการบินอื่น ๆ ที่ กำลังรอตรวจสอบสถานะทางการเงิน ซึ่งมีกำหนดต้องส่งรายงานภายใน 31 มีนาคมนี้ ด้วย ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า ปัญหาสภาพคล่องของทั้ง 4 สายการบิน จะไม่ส่งผลกระทบต่อเที่ยวบินโดยรวมของประเทศและไม่กระทบต่อการดูแลนักท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมากับสายการบินประจำอยู่แล้ว ทั้งนี้ในการประชุม ครม.วันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รายงานการแก้ไขปัญหาสายการบินนกแอร์ต่อที่ประชุม โดยระบุว่าได้เรียกสายการบินนกแอร์มาตักเตือน และให้ทำคำชี้แจงแผนการแก้ไขปัญหาต่อกระทรวงภายใน 3 วัน ซึ่งขณะนี้นกแอร์ได้ส่งแผนมาแล้ว และให้ กพท. ตรวจสอบเพิ่มเติม พร้อมการจัดเจ้าหน้าที่ลงไปดูเรื่องชั่วโมงบิน เครื่องบินที่ใช้ในการบิน ตามข้อบังคับในใบอนุญาต และอยู่ระหว่างรอ กพท. ประมวลผลสอบรายงานมายังกระทรวง ซึ่งคาดจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ ส่วนเรื่องปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านการบิน ยอมรับว่าขณะนี้ไทยประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการบินอย่างหนัก ทั้งในส่วนของ นักบิน ช่างซ่อมเครื่องบิน และลูกเรือ จึงได้สั่งการให้ กพท. ไปเร่งทำแผนผลิตบุคลากรทางการบินเพิ่มเติมรายงานมายังกระทรวง สบพ.คาดใช้เวลา 3-5 ปี ในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนนักบิน
ศบปพ.ติดตามความก้าวหน้าแก้ปัญหา ICAO 2016/02/26 9:27 PM กรุงเทพฯ 26ก.พ.-ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน ติดตามความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหา ICAO พลอากาศเอก มณฑล สัชฌุกร โฆษกศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน (ผบ.ศบปพ.)กล่าวว่า 14.00 น. ของวันนี้ (26ก.พ.) พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะผบ.ศบปพ.ได้เป็นประธานในการประชุมติดตามความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องด้านการบินพลเรือนของคณะกรรมการศบปพ. ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศ โดยมีผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเข้าประชุม ในการประชุมครั้งนี้เป็นการติดตามผลการสั่งการในที่ประชุมครั้งที่ผ่านมา เกี่ยวกับการขยายอายุใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL) และใบรับรองของสายการบินต่างๆ ที่กำลังหมดอายุเพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ชี้แจงให้ทราบว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการขยายอายุใบอนุญาตดังกล่าวให้แล้วเป็นการชั่วคราวใน ระหว่างที่กำลังอยู่ในกระบวนการแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับใบอนุญาตต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนั้นยังได้มีการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ที่จะเป็นผู้ตรวจสอบ (Inspector) ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการพัฒนาการบินพลเรือน ในอนาคต ในการนี้ ผบ.ศบปพ.ได้ขอให้ กพท.วางมาตรการในการคัดเลือกผู้ไปเข้ารับการอบรมให้สามารถนำความรู้กลับมา ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานอย่างเต็มความสามารถ และให้เกิดความคุ้มค่าในการส่งไปเข้ารับการอบรมดังกล่าว สำหรับในการประสานงานกับหน่วยงานระหว่างประเทศ ทั้งในส่วนของ ศบปพ.และ กพท.ได้มีการประสานงานและรายงานความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน กับหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) สำนักงานบริหารด้านการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (FAA) สำนักงานบริหารความปลอดภัยด้านการบินของสหภาพยุโรป (EASA) และกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่น (JCAB) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ICAO ทางคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่ ศบปพ.ได้มอบหมายภารกิจได้รายงานความก้าวหน้าในการเสนอแผนการแก้ไขปัญหาให้ ทาง ICAO พิจารณาและได้รับความเห็นชอบแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่ง ผบ.ศบปพ.ได้ขอให้แจ้งแผนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปยังองค์กรการบินประเทศต่างๆ ทราบด้วย และขอให้คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เร่งรัดการทำแผนแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่ยังเหลืออยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนสำเร็จด้วยความเรียบร้อยโดยเร็ว.-สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/412446 จากปัญหาการประท้วงของนักบินสายการบินนกแอร์จนกระทบต่อเส้นทางบิน มีสาเหตุสำคัญมาจากการขาดแคลนนักบิน แม้ว่าในแต่ละปีโรงเรียนการบินก็จะผลิตนักบินออกมาสู่อุตสาหกรรมการบินอยู่ แล้วก็ตาม ทั้งปัจจัยหลักที่ทำให้ไทยไม่สามารถผลิตนักบินได้เพียงพอมาจากอะไรติดตาม จากรายงานคุณกีรติ ภู่ระหงษ์ ปัญหาสายการบิน กรุงเทพฯ 4 มี.ค. – การแก้ปัญหาการบิน ทั้งการตรวจสอบชั่วโมงบิน และสายการบินที่มีปัญหาสภาพคล่อง ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สำนักงานการบินพลเรือนฯ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทยถึงความคืบหน้าประเด็นดังกล่าว รวมถึงแนวทางในการตั้งเป้าปลดธงแดงให้ได้ภายในปี 2560 ซึ่งหนึ่งในหัวใจหลัก คือ การปรับโครงสร้าง เพิ่มตำแหน่งผู้ตรวจสอบที่มีผลด้านความปลอดภัยการบิน ติดตามจากรายงาน นี่คือห้องจำลองปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งใช้เป็นที่ฝึกอบรมผู้ตรวจสอบการปฏิบัติการจราจรทางอากาศ หลังมีการเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร กรมการบินพลเรือน เป็นสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 และมีสถานะเป็นองค์กรอิสระ การปรับโครงสร้างใหม่ทำให้มีตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น และต้องการบรรจุคนเพิ่มขึ้น ที่ต้องการเพิ่มมากที่สุด คือ ตำแหน่งผู้ตรวจสอบด้านปฏิบัติการบิน และผู้ตรวจสอบอากาศยาน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในแผนแก้ไข หวังปลดธงแดง ICAO เรื่องมาตรฐานความปลอดภัยการบิน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนฯ ให้ข้อมูลว่า ผู้ตรวจสอบนักบิน เดิมมีบุคลากรเพียง 8 คน แต่ต้องตรวจสอบนักบินหลายพันคนจากหลายสายการบิน ล่าสุดแม้หาเพิ่มเข้ามาได้อีก 40 คน ทั้งที่โอนมาจากทหาร สายการบินส่งมาช่วย และจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะตำแหน่งผู้ตรวจสอบนักบิน ก็ต้องเคยเป็นนักบินที่มีชั่วโมงบินสะสมไม่น้อยกว่า 5,000 ชั่วโมง ทำให้การคัดสรรบุคคลมาเพิ่มเติมทำได้ไม่ง่าย ตำแหน่งผู้ตรวจสอบนักบิน นอกจากต้องเคยเป็นนักบินมากประสบการณ์ ยังมีภาระต้องตรวจสอบชั่วโมงบิน ภายหลังเจอข้อร้องเรียนชั่วโมงบินของนักบินนกแอร์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบชั่วโมงบินเป็นรายสัปดาห์ให้ละเอียด หากพบความผิดจะมีโทษทั้งกับสายการบินและนักบิน และต้องตรวจสอบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับทุกสายการบินด้วย จากเดิมกรมการบินพลเรือน มีภาระหน้าที่ทั้งดูแลและตรวจสอบด้านการบินเองทั้งหมด ทำให้ถูกตั้งคำถามด้านมาตรฐานความปลอดภัย การปรับโครงสร้างด้านการบินพลเรือนใหม่ จึงแบ่งหน้าที่หลักเป็น 3 ส่วน สำนักงานการบินพลเรือนฯ ดูความปลอดภัยด้านการบินทั้งระบบ กรมท่าอากาศยาน กำกับสนามบินทั้ง 28 แห่ง ส่วนการดูแลผู้ประสบภัยและกู้ภัยหากเกิดเหตุฉุกเฉิน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ถือเป็นความพยายามแก้ปัญหาให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ส่วนการแก้ปัญหา 4 สายการบินที่มีความเสี่ยงขาดสภาพคล่อง ข้อมูลจากสำนักงานการบินพลเรือนฯ พบว่า ล่าสุดบริษัท กานต์นิธิฯ (กานต์แอร์) แก้ปัญหาหนี้ได้แล้ว และเปิดทำการบินได้ตามปกติ ส่วนที่ยังเคลียร์กับลูกหนี้ไม่แล้วเสร็จและถูกระงับการบินต่อไป คือ ซิตี้ แอร์เวย์ ทั้งนี้ เหตุผลที่ กพท.เข้ามาตรวจสอบด้านเศรษฐกิจของสายการบิน เพื่อป้องกันสายการบินมีภาระหนี้ที่ไม่สามารถจัดการได้ จนอาจส่งผลต่อความปลอดภัย และไม่ให้กระทบต่อผู้โดยสาร ล่าสุดมีรายงานว่า มีอีก 2 สายการบินที่มีหนี้สินมาก และเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป. – สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/417434 ไทยและหลายประเทศในสหภาพยุโรปเช่น โปรตุเกสมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจวบจนปัจจุบันมีการเชื่อมโยงทั้งการค้าและการท่องเที่ยว ขณะที่เอกอัครราชทูตเดนมาร์กกล่าวว่าไทยเป็นศูนย์กลางที่จะเชื่อมโยงสู่ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
อุตสาหกรรมการบินไทยขาดแคลนนักบินหนัก ผลิตนักบินได้เพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการ ด้านสายการบินนกแอร์ แจ้ง กพท.ขอยกเลิกเที่ยวบินไปกลับจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ หลังจากยังมีปัญหาจำนวนนักบินไม่เพียงพอ ประเมินสถาบันผลิตนักบิน เร่งแก้ปัญหาผลิตนักบินได้ต่ำกว่าความต้องการ การเติบโตของอุตสาหกรรมการบิน เป็นปัญหาหลักที่ทำให้นักบินขาดแคลน จำเป็นต้องเร่งสร้างบุคลากรนักบินให้ทันความต้องการ ติดตามจากรายงาน ปัจจุบัน ประเทศไทยมีนักบินอยู่กว่า 2,500 - 3,000 คนแต่ละปีธุรกิจการบิน ต้องการนักบินใหม่มาเพิ่ม และทดแทนถึงปีละ 400 - 500 คน ขณะที่สถาบันการบินพลเรือนและโรงเรียนฝึกนักบินที่มีอยู่ผลิตนักบินรวมกันได้เพียงปีละประมาณ 400 คน ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ไอเคโอ้ และปีที่ผ่านมามีนักศึกษาสนใจเรียนด้านนี้กว่า 15,000 คนเนื่องจากมีรายได้สูงเป็นสิ่งจูงใจ ผู้เรียนจะต้องเข้าอบรมหลักสูตรการบินทั้งภาคพื้น และภาคอากาศด้านทฤษฎีเป็นเวลา 52 สัปดาห์ จากนั้นฝึกบินกับเครื่องฝึกจำลองไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง และฝึกบินจริงอีกกว่า 200 ชั่วโมง รวม 2 ปี ถึงจะสำเร็จเป็นนักบินค่าเรียนรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาท แต่จบมายังเป็นได้เพียงนักบินผู้ช่วย หากจะขึ้นเป็นกัปตัน หรือนักบินที่ 1 ต้องเก็บชั่วโมงบิน และประสบการณ์อีกไม่ต่ำกว่า 5-10 ปี การสอนนักบินยังขาดแคลนครูผู้สอน และอุปกรณ์การเรียนการสอนมีจำกัด กระทรวงคมนาคมจึงมีแนวคิดใช้สนามบินขอนแก่นเป็นที่ฝึกการเรียนการสอน หากไทยตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางด้านการบินของอาเซียนต้องเร่งพัฒนาและผลิตบุคลากรด้านการบินรองรับด้วย หลายๆประเทศ รวมถึงประเทศไทย ต่างแข่งขันกันพัฒนาการให้บริการการบิน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและการลงทุน และพยายามให้ตนเองเป็นฮับในการคมนาคม แต่อุปสรรคของประเทศไทยในการพัฒนาคืออะไร ไปติดตามเรื่องนี้จากคุณนัฏฐิกา โล่ห์วีระ ครับ
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาสายการบินนกแอร์ เที่ยวบินที่ DD9402 เส้นทางดอนเมือง - สกลนคร ล่าช้ามากกว่า 1 ชั่วโมง เนื่องจากเครื่องบินยังไม่สามารถทำการบินได้นั้น นายเพ็ชร ชั้นเจริญ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง เปิดเผยว่า สาเหตุดังกล่าวเกิดจากการปรับระบบการจราจรทางอากาศรูปแบบใหม่ ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ทำให้ในวันนี้หลายสายการบินมีเที่ยวบินที่ล่าช้า ขณะที่บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าในวันนี้เป็นวันแรกที่มีการปรับการบริหารการจราจรทางอากาศ เริ่มมาตั้งแต่เมื่อช่วงเที่ยงคืนที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและรองรับการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และสุวรรณภูมิ มีความแออัดค่อนข้างมาก ประกอบกับสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้มีเที่ยวบินต้องเกิดความล่าช้าขึ้น การจราจรทางอากาศที่สนามบินสุวรรณภูมิ และ สนามบินดอนเมือง กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว หลังจากบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย นำระบบจัดการจราจรทางอากาศรูปแบบใหม่โดยใช้พื้นฐานจากเครื่องช่วยเดินอากาศผ่านดาวเทียม มาใช้เป็นวันแรก เมื่อวานนี้ ทำให้เที่ยวบินล่าช้าถึง 130 เที่ยวบิน นายทินกร ชูวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด(บวท.)เปิดเผยว่าได้แก้ไข และจัดการทำให้เที่ยวบินกลับมาเป็นปกติได้ ตั้งแต่เวลาประมาณ 12.00 น.วานนี้ และ เช้านี้ยังไม่พบปัญหาเครื่องบินล่าช้าเกิดขึ้น คาดว่ากว่าจะปรับตัวเข้าระบบใหม่ได้ต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน ซึ่งขณะนี้บริษัท วิทยุการบินฯได้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ขณะที่ท่าอากาศยานทั้งที่สุวรรณภูมิ และ ดอนเมือง รายงานว่าได้ประสานกับวิทยุการบินอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบโดยรวมกับการให้บริการผู้โดยสาร อีกทั้ง จัดให้เครื่องบินเข้าหลุมจอดประชิดอาคารให้ได้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณความคับคั่งภายในสนามบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน ระบุการจัดระบบการจราจรทางอากาศรูปแบบใหม่ มีผลดี เพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นางสาวนริศรา ลิ้มธนากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ทูเซเว่นตี้ เอวีเอชั่น คอนซัลแทน ให้ความเห็นว่า บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ได้เตรียมการนำระบบนี้มาใช้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วแต่เลื่อนมาเป็นเมื่อวานนี้ ซึ่งในส่วนสนามบินและ สายการบิน รับทราบล่วงหน้ามาก่อนแล้ว แต่ที่เกิดปัญหา 130 เที่ยวบินล่าช้า บางเที่ยวบินใช้เวลาสูงสุดถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง เป็นเพราะยังไม่คุ้นเคยกับระบบใหม่ ประกอบกับมีฝนตกหนัก ทำให้เกิดความล่าช้าของเที่ยวบิน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าระบบการจัดการจราจรทางอากาศรูปแบบใหม่นี้ แม้บริษัท วิทยุการบินฯ เป็นผู้ออกแบบเองแต่ก็เป็นไปตามมาตรฐานสากลระหว่างประเทศ สำหรับข้อดีของระบบนี้ จะช่วยให้การบริหารจัดการจราจรทางอากาศทำได้ง่ายขึ้น คือ ลดจุดตัดของเครื่องบินที่บินสวนกันให้น้อยลง โดยเฉพาะที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งปัจจุบันมีการจราจรหนาแน่นใกล้เคียงกับสนามบินสุวรรณภูมิ อีกทั้ง ยังช่วยรองรับจำนวนเครื่องบินเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญช่วยจัดระบบเส้นทางบินเข้า-ออก ให้สอดคล้องกับการจราจรทางอากาศในปัจจุบัน โดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รัฐบาลจ่อผลิตนักบินเพิ่มอีก 320 คน ในปี 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการบินโดยให้นักบินวัยเกษียณเข้ามาอยู่ในระบบหวังแก้ปัญหานักบินขาดแคลน เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับบางสายการบิน จนกระทบโดยตรงกับผู้โดยสาร และเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดซ้ำ
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้ประชุมนัดแรกกับ เจแคป เพื่อปรับปรุงการกำกับดูแลความปลอดภัยการบินพลเรือน และได้ลงนามสัญญาว่าจ้าง CAAI เข้ามาร่วมตรวจสอบใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ ก่อนเข้าสู่กระบวนการปลดธงแดงในต้นปีหน้า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมเปิดโครงการความร่วมมือทางเทคนิคระหว่างสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ JICA ในโครงการปรับปรุงการกำกับดูแลความปลอดภัยการบินพลเรือน โดยความร่วมมือดังกล่าวมีระยะเวลา 2 ปี 5 เดือน เริ่มตั้งแต่เมษายน 59-กันยายน 61 ซึ่งทางญี่ปุ่นจะส่งผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานการบินพลเรือนญี่ปุ่น หรือ JCAB มาให้คำแนะนำ เพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการปรับปรุงระบบตรวจสอบความปลอดภัยด้านการเดินอากาศ และด้านการบำรุงรักษาอากาศยาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ICAO ขณะเดียวกัน ได้มีการลงนามว่าจ้างระหว่างสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย กับบริษัท CAA INTERNATIONAL LIMITTED สหราชอาณาจักร ในวงเงิน 153 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตรวจสอบและประเมินการออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ โดย CAAI จะจัดหาบุคลากร มาทำการตรวจสอบและประเมินเพื่อออกใบรับรองใหม่ ร่วมกับผู้ตรวจสอบของ กพท. ที่มีคุณสมบัติครบตามแผนพัฒนาคุณสมบัติผู้ตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบิน และสร้างความเชื่อถือในระดับนานาชาติ โดยคาดจะเริ่มกระบวนการตรวจสอบใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ ได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ และเข้าสู่กระบวนการปลดธงแดงได้ภายในต้นปีหน้า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินยังมีความต้องการนักบินใหม่มาเพิ่มปีละ 400 - 500 คน ขณะที่สถาบันการบินพลเรือนและโรงเรียนสอนการบินเอกชน ผลิตนักบินได้เพียงปีละ 200 - 300 คนเท่านั้น สายการบินไทยเป็นสายการบินแรกที่มีเครื่องฝึกจำลองการบินในประเทศ ซึ่งเปิดให้นักบินจากสายการบินอื่นใช้บริการด้วย แต่ต้องรอนาน บางสายการบินจึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเอกชน หรือส่งตัวนักบินไปต่างประเทศ เพื่อขอใช้เครื่องจำลองการบิน บางสายการบินถึงกับยอมลงทุนซื้อเครื่องจำลองการบิน มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท มาใช้ฝึกสอนนักบินเอง ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งนักบินไปฝึกอบรมที่ต่างประเทศปีละกว่า 50 ล้านบาท สายการบินจะเปิดรับสมัครทั้งนักบินจบใหม่ และนักบินที่มีชั่วโมงการบินแล้ว เข้ามาฝึกจำลองการบินอีกคนละประมาณ 18 คอร์ส คอร์สละ 4 ชั่วโมง รวมเป็น 72 ชั่วโมง แล้วแต่ประสบการณ์ ซึ่งสายการบินจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด คนละประมาณ 400,000 บาท โดยนักบินทุกคน จะต้องผ่านการอบรมกับเครื่องจำลองการบินอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ขณะที่ปัญหาครูฝึกการบินไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังเป็นอุปสรรคหนึ่งของการผลิตนักบินในไทย เนื่องจากไทยยังขาดแคลนเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรฐานของครูฝึก แต่ละสายการบินจึงต้องหาทางปรับตัว หากไทยตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางด้านการบินของอาเซียนในอนาคตทุกฝ่ายต้องเร่งพัฒนาบุคลากรการบิน และปรับปรุงมาตรฐานการบินของไทยให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ปลดล็อค "ธงแดง" การบิน เร่งตรวจ 28 สายการบินคาดปลดได้กลางปี 60
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวหลังเป็นประธานวันสถาปนาครบรอบ 55 ปี สถาบันการบินพลเรือนว่า กระทรวงคมนาคมเตรียมจัดระเบียบสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรการบิน โดยพบว่ามีบางสถาบันเร่งรัดหลักสูตรไม่เป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท.และมีการโฆษณาหลักสูตรเกินจริงว่าเรียนจบแล้วมีงานทำทันที โดยได้สั่งการให้ กพท.ตรวจสอบหลักสูตรของสถาบันการศึกษาทุกแห่งให้เป็นไปตามมาตรฐาน ด้าน นาวาเอกจิรพล เกื้อด้วง ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน เปิดเผยถึงแนวทางพัฒนานักบินให้เพียงพอต่อความต้องการว่า เตรียมขอคณะรัฐมนตรีอนุมัติการก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาบุคลากรการบิน และปรับปรุงอาคารเดิม โดยใช้งบประมาณกว่า 1,890 ล้านบาท เพื่อให้รองรับนักเรียนการบินได้มากขึ้นจาก 400 - 500 คน เพิ่มเป็น 5,000-6,000 คน ภายใน 3-5 ปี นอกจากนี้จะเร่งเพิ่มครูฝึก โดยขอความร่วมมือจากกองบัญชาการกองทัพอากาศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะประสานขอยืมตัวครูฝึกจากต่างชาติด้วย ส่วนกรณีเครื่องบินเล็กของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนมตกที่จังหวัดนครพนม ระหว่างขึ้นบินได้เพียง 30 วินาที ได้สั่งการให้คณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอากาศยานฯ สอบสวนหาสาเหตุ เบื้องต้นพบว่าทางมหาวิทยาลัยนำเครื่องบินฝึกหัดนักบินมาใช้รับส่งผู้โดยสาร มีความผิดฐานนำเครื่องบินมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งผลการสอบสวนจะได้ข้อสรุปภายใน 3 เดือน ผู้อำนวยการสำนักงานสาขาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือการแก้ไขปัญหาเรื่องมาตรฐานการบินของไทย ซึ่งปัญหานี้ ICAO ได้ปักธงแดงประเทศไทย มาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว เนื่องจากประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการออกใบรับรองสายการบินต่างๆ การตรวจสอบคุณภาพ และการให้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ ขาดบุคลากรในการตรวจสอบมาตรฐาน ขาดแคลนนักบิน โดย ICAO ได้ขอให้ไทยแก้ไขปัญหา 8 ข้อใหญ่ และ 33 ข้อย่อย รัฐบาลไทยได้เร่งแก้ไขปัญหานี้ไปแล้วหลายข้อ ทั้งเรื่องการตั้งสำนักงานการบินพลเรือน การตั้งกรมท่าอากาศยานขึ้นมาดูแลมาตรฐานท่าอากาศยาน การตั้งสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยาน ที่สำคัญขณะนี้กำลังเร่งพิจารณาออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ ทั้งหมด 41 สายการบินด้วย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แจ้งผลการหารือกับผู้อำนวยการ ICAO ว่า ทาง ICAO ชื่นชมนายกรัฐมนตรี ที่แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบแล้วแต่อยากให้เร่งแก้ไข เพราะไทยเป็นศูนย์กลางการบินเอเชียแปซิฟิค หากล่าช้าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของไทย โดยผู้อำนวยการ ICAO ขอให้ไทยปรับแผนการทำงานให้กระชับ และ ยินดีส่งผู้เชี่ยวชาญมาสนับสนุนให้ไทยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด กรุงเทพฯ 13 ก.ค. – การแก้ไขปัญหาความปลอดภัยการบินที่ยืดเยื้อมากว่า 1 ปี ล่าสุด ก.คมนาคม มั่นใจว่าจะสามารถตรวจออกใบอนุญาตใหม่แก่ 6 สายการบิน ในเดือนสิงหาคมนี้ ขณะที่ ICAO อยากเห็นไทยยกระดับมาตรฐานทั้งระบบ ผ่านมากว่า 1 ปี หลังไทยถูกองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ปักธงแดงลงเว็บไซต์ ระบุถึงข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC) ซึ่งหลายหน่วยงาน ทั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เร่งขับเคลื่อนแก้ปัญหา ล่าสุดนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันความคืบหน้า ขณะนี้การจัดหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจและออกใบอนุญาตใหม่ให้แก่สายการบินสัญชาติไทย ซึ่งจะมีไม่น้อยกว่า 30 คน ใกล้ครบสมบูรณ์ โดยในเดือนสิงหาคมนี้ คาดว่าจะดำเนินการตรวจเสร็จสิ้น 6 สายการบิน ส่วนมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันทุกสนามบินของไทยใช้ระดับมาตรการขั้นที่ 3 ระดับสูงสุด มีความปลอดภัยเพียงพอ ท่ามกลางกระแสการป้องกันการก่อการร้ายของสนามบินทั่วโลก ขณะที่อุตสาหกรรมการบินขยายตัวรวดเร็ว โดยแนวโน้มธุรกิจการบินใน 5-10 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่า การขนส่งทางอากาศจะมีปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางด้วยเครื่องบินเพิ่มขึ้นจาก 3,400 ล้านคน ในปี 2557 เป็น 7,700 ล้านคน และปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางผ่านสนามบินในกำกับดูแลของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. 6 แห่ง จะมีผู้โดยสารรวมกว่า 150 ล้านคน/ปี โดยมาตรฐานการดูแลรักษาความปลอดภัยของสนามบินนั้น ล่าสุดท่าอากาศยานดอนเมืองได้ทำการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบตามแผนฉุกเฉินท่าอากาศยาน ประจำปี 2559 จำลองสถานการณ์ขู่วางระเบิดอากาศยาน สำหรับการดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของท่าอากาศยานนั้น ที่ผ่านมา นายอรุณ มิชรา ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ระบุว่า ขณะนี้การเติบโตของสนามบินและการขยายขีดความสามารถของสนามบิน ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของสนามบินในภูมิภาคเอเชีย มีการขยายตัวเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะในประเทศจีนและอินเดียที่มีการเปิดสนามบินใหม่กว่า 200 แห่ง ในทศวรรษหน้า โดย ICAO มองว่า เมื่อมีการเติบโตและขยายขีดความสามารถของสนามบินแล้ว ยังมีสนามบินหลายแห่งที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานของ ICAO โดยเฉพาะความบกพร่องเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ดังนั้น การพัฒนาขยายสนามบินจะต้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานเหล่านี้ด้วย. – สำนักข่าวไทย การบินไทย เชื่อประเทศไทยจะสามารถปลดธงแดงมาตรฐานการบินของ ICAO ได้ และพร้อมเปิดเส้นทางบินไปสหรัฐฯ อีกครั้งปลายปีหน้า หลังจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ติดธงแดงประเทศไทย เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหา "ข้อบกพร่องที่มีนัยยะสำคัญต่อความปลอดภัย" หรือ SSC ได้ภายในเวลาที่กำหนด ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2558 ที่ผ่านมา นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า สำหรับการบินไทยได้นำมาตรฐานความปลอดภัยการบินขององค์การความปลอดภัยด้านการบินของสภาพยุโรป (EASA) มาใช้ โดยใช้ชื่อ THAI Safety Beyond Compliance ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสากล โดยผ่านเกณฑ์ให้สามารถบินเข้ายุโรปได้ ส่วนญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ทำการบินและเพิ่มเที่ยวบินได้ปกติ ส่วนเส้นทางบินไปจีน หากประเทศใดติดธงแดง จะต้องถูกตัดคะแนนด้านคุณภาพมาตรฐานการบินลง 5 คะแนน ยกเว้นการบินไทย หลังผ่านทุกการตรวจสอบจากทุกประเทศ จึงยังให้บริการเที่ยวบินได้ตามปกติ เหลือเพียงสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ (FAA) ที่ยังรอผล ICAO ปลดธงแดงประเทศไทย หากไทยผ่านสอบผ่านมาตรฐานการบินครั้งล่าสุดได้ การบินไทยจะเปิดบินตรงไปสหรัฐฯ ช่วงปลายปีหน้า(60) 1 เส้นทาง โดยกำลังพิจารณาว่าจะเป็น ซีแอตเทิลหรือซานฟรานซิสโก สำหรับผลประชามติอังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit อยู่ระหว่างพิจารณาข้อมูลว่ามีผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวของประเทศเหล่านั้นหรือไม่ แต่เชื่อว่าประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเพราะใช้เงินทุนน้อย รวมถึงรอประเมินผลจากการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เพราะยังไม่มีตัวเลขชัดเจนว่า ประเทศที่มีความเสี่ยงก่อการร้ายมีการเดินทางลดลงหรือไม่ ซึ่งกำลังพิจารณาและซีแอตเทิล และซานฟรานซิสโก เนื่องจากทั้งสองเส้นทางเป็นจุดที่จะสามารถเชื่อมต่อการเดินทางไปยังเมือง อื่นๆ ได้ง่าย ส่วนเส้นทางบินฤดูหนาว ที่จะบินในเดือนตุลาคมนี้ คือมอสโคว์และเตหะราน ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นเมืองท่องเที่ยวและมีการทำธุรกิจมากขึ้น ผ่านไป 1 ปีกว่าสำหรับการแก้ไขปัญหามาตรฐานการบินของไทย หลังจากที่ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ติดธงแดงไปเมื่อกลางปี 2558 ทำให้ไทยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการประเมินผลของอีกหลายองค์กร ทั้ง EASA และ FAA ล่าสุดในเดือนกันยายน EASA จะมีการประชุมประเมินมาตรฐานการบินอีกครั้ง ซึ่งต้องลุ้นว่าไทยจะสอบผ่านหรือไม่
อุตสาหกรรมการบินของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากการขยายตัวของสายการบินโลว์คอสแอร์ไลน์ ทำให้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการบินของไทยรุนแรงมากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ระดมสมองหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ปัญหานักเรียนการบินหลายคนที่ยังตกงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของปัญหานักบินขาดแคลน แท้จริงแล้วเป็นเพราะสาเหตุใด และการแก้ไขปัญหาจะเป็นไปในทิศทางได้ ติดตามจากรายงาน กระทรวงคมนาคมเตรียมเดินหน้าชี้แจงเอียซ่า การแก้ไขปัญหาด้านการบิน ลุ้นผลประเมินภายในเดือนตุลาคมนี้ ด้านสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย กำหนดวันเริ่มตรวจใบอนุญาตสายการบิน 12 ก.ย.นี้ หวังปลดธงแดง ICAO ให้ได้กลางปีหน้า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในวันที่ 13 ก.ย.นี้ นายจุฬา สุขมานพ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. จะเดินทางไปกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาด้านการบินให้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งสหภาพยุโรป หรือ เอียซ่ารับทราบ โดยคาดจะรู้ผลในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามขั้นตอนการแก้ปัญหาต่างๆ ทุกขั้นตอนตามมาตรฐาน โดยเฉพาะการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญและได้ผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาตรวจสอบสายการบินแล้วจำนวน 43 คน หรือคิดเป็น 60% ของจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่จะต้องใช้ทั้งหมด ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ กพท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 กันยายนนี้เป็นต้นไป กพท.จะเริ่มขั้นตอนการออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ (AOC Re-certification) ของ 40 สายการบินให้ได้มาตรฐานตามที่องค์การการบินระหว่างประเทศ (ICAO) โดยจะเริ่มที่สายบินระหว่างประเทศจำนวน 27 สายการบิน คาดว่าแล้วเสร็จภายเดือน มี.ค. 2560 โดยการตรวจและออกใบอนุญาตสายการบินใหม่ จะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามขนาดของเครื่องบิน ซึ่งในวันที่ 12 นี้ จะมี 3 สายการบินเข้ารับการตรวจเอกสาร คือ การบินไทย บางกอกแอร์เวยส์ และไทยแอร์เอเชีย จะต้องดูรายละเอียดทั้งสถานะการเงิน จำนวนเครื่องบิน เป็นต้น สำหรับการตรวจสอบจะมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การเตรียมการเบื้องต้น เช่น เอกสารของแต่ละสายการบิน 2.ยื่นคำขออย่างเป็นทางการ 3.ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ 4.ตรวจสอบการปฏิบัติการ และ 5.ออกใบรับรอง หลังจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ไอเคโอ้ (ICAO) ได้ประเมินมาตรฐานการบินทั่วโลก และได้พบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญ ด้านการบินของไทย จำนวน 33 ข้อ เช่น มาตรฐานกระบวนการออกใบอนุญาต, การรับรอง และอนุมัติใบอนุญาตสายการบิน จึงได้ประกาศติดธงแดงประเทศไทย ตั้งแต่ปีที่แล้วนั้น ในเช้าวันนี้ นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. ได้เรียกประชุมผู้บริหารสายการบินของไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินระหว่างประเทศ ซึ่งใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ รวม 3 สายการบินได้แก่ การบินไทย,บางกอกแอร์เวย์ และไทยแอร์เอเชีย จากทั้งหมด 25 สายการบิน ที่จะต้องเข้ารับการประเมินใบอนุญาตการเดินอากาศของสายการบินใหม่ โดยหลังจากประชุมทำความเข้าใจแล้ว กทพ.จะใช้ระยะเวลาตรวจสอบด้านเอกสารทั้งหมด 2 สัปดาห์ จากนั้นจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบมาตรฐานด้านกระบวนการดำเนินงานทั้งหมด ตามมาตรฐานของไอเคโอ้ซึ่งจะใช้ระยะเวลา ประมาณ 4 เดือน ทั้งนี้ในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ คาดว่าจะสามารถประเมินมาตรฐานได้แล้วเสร็จในกลุ่มแรก รวม 8 สายการบิน ได้แก่ การบินไทย,ไทยแอร์เอเชีย,ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์,บางกอกแอร์เวย์,นกแอร์,นกสกู๊ต,นิวเจนแอร์เวย์ และเคไมล์แอร์ ซึ่งหลังจากนั้น กพท.จะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาประเมินภาพรวมการแก้ไขปัญหาการบินอีกครั้ง เพื่อตรวจความเรียบร้อย ก่อนที่จะเชิญเจ้าหน้าที่จากไอเคโอ้เข้าตรวจสอบมาตรฐานด้านการบินอีกครั้งในปีหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถปลดธงแดงด้านการบินได้ ข่าว 7 สี - สมาคมนักบินไทย เสนอรัฐบาลจัดตั้งโรงเรียนการบินกลาง และสภาวิชาชีพนักบิน เพื่อควบคุมมาตรฐานนักบิน และแก้ปัญหาขาดแคลนนักบิน นายสนอง มิ่งเจริญ นายกสมาคมนักบินไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านการบินเป็นอย่างมาก เนื่องจากสายการบินต่างเร่งนำเข้าเครื่องบิน มาให้บริการรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น แต่ไทยยังมีครูฝึกการบินและอุปกรณ์การฝึกไม่เพียงพอ ทำให้นักบินจบใหม่ มีคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของสายการบิน และต้องเร่งเก็บชั่วโมงบินให้ครบตามกำหนด ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งวางแผนพัฒนาบุคลากรการบิน ร่วมกับสายการบิน โดยจัดตั้งโรงเรียนการบินกลางของประเทศ รับนโยบายจากภาครัฐในการผลิตนักบินได้ตรงความต้องการ และสามารถควบคุมมาตรฐานหลักสูตรการบินได้ รวมทั้งแก้ไขกฎหมาย เพื่อจัดตั้งสภาวิชาชีพนักบิน สามารถกำกับดูแลมาตรฐานของหลักสูตรการบิน และการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ แต่ละสายการบินควรกำหนดแผนพัฒนาบุคลากร โดยผลิตนักบิน 10 คน ต่อการนำเข้าเครื่องบิน 1 ลำ เพราะไทยมีความต้องการนักบินปีละ 900 คน แต่สามารถผลิตนักบินได้เพียงปีละ 400-500 คน ด้าน นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขอให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณเพื่อผลิตบุคลากรด้านการบินให้เพียงพอ โดยสถาบันการศึกษาพยายามผลักดันหลักสูตรด้านการบิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยเน้นความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้นักศึกษานำไปต่อยอดพัฒนาอุตสาหกรรมการบินได้
ไอเคโอพอใจภาพรวมการแก้ปัญหาการบินของไทย ขณะที่ไทยเตรียมหารือกับเอฟเอเอกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อให้การบินของไทยสามารถทำการบินไปยังสหรัฐอเมริกาได้ ขอเพิ่มเที่ยวบินเกาหลี-ญี่ปุ่น ไทยหารือสหรัฐเลื่อนอันดับมาตรฐานการบิน ICAO พอใจไทยแก้ปัญหาการบิน 'อาคม'แจงมาตรา 44 ออกคำสั่งเรื่องการแก้ไขปัญหาบุคลากรด้านการบิน ขยายเวลาเกษียนอายุนักบินไปจนถึง 65 ปี จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนนักบินให้สายการบินไทยและไทยสมายล์ อีด 5 ปี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งแก้ไขปัญหาบุคลากรด้านการบิน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา (59) โดยระบุว่า คำสั่งฉบับนี้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนนักบินให้สายการบินไทย และไทยสมายล์ โดยปัญหานี้เกิดจากนักบินของสายการบินทั้ง 2 แห่งมีฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และต้องเกษียณอายุเมื่อถึงวัย 60 ปี คสช. จึงออกคำสั่งขยายเวลาเกษียนอายุนักบินไปจนถึง 65 ปี ซึ่งจะทำให้สายการบินทั้ง 2 แห่ง มีนักบินเพียงพอในช่วง 5 ปีข้างหน้า คำสั่งดังกล่าวจะมีผลกับนักบินที่เกษียณอายุตั้งแต่ปี 2560 และมีอำนาจในช่วง 3 ปีนี้เท่านั้น ไทยจึงต้องเร่งผลิตบุคลากรให้เพียงพอ สหภาพยุโรป ประกาศปรับปรุงบัญชีรายชื่อความปลอดภัยทางอากาศ ปรากฏว่า สายการบินจากไทย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย ทำให้สามารถทำการบินเข้ายุโรปได้ โดยสหภาพยุโรปได้ประกาศปรับปรุงบัญชีรายชื่อความปลอดภัยทางอากาศ (EU Air Safety List) ล่าสุด เมื่อเวลา 18.30 น.ของวันที่ 8 ธันวาคม 2559 ผ่านเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรป ผลปรากฏว่า สายการบินจากประเทศไทยไม่อยู่ในบัญชีดังกล่าว ทำให้ยังสามารทำการบินเข้าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้ตามปกติ ขณะที่สายการบินที่ติดอยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าว หมายถึงสายการบินนั้นไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย และจะมีผลให้ไม่สามารถให้บริการในประเทศสหภาพยุโรปได้ นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ระบุว่า การที่สายการบินของไทย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย เป็นผลจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งการจัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการบินพลเรือนทั้งหมด การบริหารองค์กรด้วยความเป็นอิสระ และการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันการบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินเดียวของไทยที่บินเข้ายุโรปก็ยังรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยด้านการบินของไทยว่า ได้เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ขณะนี้ปัญหาด้านการกำกับดูแลการบินพลเรือนของไทยในเวทีโลกเริ่มคลี่คลายลง โดยการออกใบรับรองใหม่ให้กับ 25 สายการบิน หรือ การออก AOC ใหม่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ 3 ในการตรวจสอบเอกสารของ 3 สายการบิน และกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4 ในการตรวจสอบการปฏิบัติการของ 1 สายการบิน และเดือนหน้าจะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4 อีก 2 สายการบิน ซึ่งคาดว่าจะสามารถออก AOC ให้กับ 3 สายการบิน ซึ่งเป็นสายการบินหลักของไทยที่ทำการบินมากที่สุดได้ในเดือนมีนาคมปีหน้า และเมื่อออก AOC ได้ 7 สายการบิน ก็จะเชิญองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO มาตรวจสอบใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ปลดธงแดงประเทศไทย ในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีหน้า ซึ่งจะทำให้สายการบินของไทยสามารถทำการบินเข้าสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้ง ส่วนการแก้ไขปัญหา สำนักงานบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ FAA ปรับลดระดับมาตรฐานการบินของไทย จาก Category 1 เป็น Category 2 เมื่อเดือนที่แล้ว ทาง FAA ให้ข้อเสนอแนะว่า หากไทยได้รับการปลดธงแดง ICAO รวมทั้งมีความก้าวหน้าในการออก AOC ใหม่ และการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ตามข้อเสนอ FAA ทาง FAA ก็จะปรับระดับขึ้นเหมือนเดิม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณ นางฟ่าง หลิว เลขาธิการองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ หลัง ICAO เข้าใจสถานการณ์ และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแก้ปัญหาติดต่อประสานงาน และให้คำปรึกษาในการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย หรือ SSC ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดทำแผนเร่งด่วนและแผนระยะยาว และได้ดำเนินการตามข้อกำหนดและข้อเสนอแนะของ ICAO อย่างเต็มความสามารถ เป็นการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนของไทยในระยะยาวอย่างยั่งยืน นายกรัฐมนตรีบอกว่า รัฐบาลไทยถือว่า ICAO เป็นมิตรของประเทศ และจะร่วมมืออย่างเต็มที่ ไม่เพียงให้ไทยแก้ปัญหาให้ได้สำเร็จโดยเร็วเท่านั้น แต่เป็นเจตนารมณ์ของรัฐบาล ที่มุ่งสร้างความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมการบินไทย เพราะรัฐบาลคำนึงว่า ทุกชีวิตมีค่า ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการจึงเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ขณะที่ เลขาธิการองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ นอกจากชื่นชมความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนของไทยแล้ว ยังเชิญนายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนสำนักงานใหญ่ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ที่ประเทศแคนาดา ด้วย คมนาคมมั่นใจ ICAO จะพิจารณามาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินของไทยให้ดีขึ้น พร้อมออกใบอนุญาตใหม่ ให้สายการบินรายสำคัญ 9 แห่ง กระทรวงคมนาคมเตรียมความพร้อมการเข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการบินของไอเคโอกลางปีนี้ พร้อมมั่นใจการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย จะนำไปสู่การปลดล็อคธงแดงได้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติการบินพลเรือน ซึ่งก็ถือเป็นกฏหมาย เพื่อแก้ปัญหา ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินมากขึ้น และเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน ให้เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค ร่วมถึงสร้างความมั่นใจ และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ติดตามได้จากรายงาน
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ จะมีการมอบใบอนุญาตผู้ดำเนินการทางอากาศ หรือ AOC (Airline Operational Control) ให้กับสายการบินบางกอกแอร์เวย์ ซึ่งเป็นสายการบินแรก ที่ได้รับใบอนุญาตฯ หลังจากที่ได้ดำเนินการตรวจสอบใบอนุญาตฯ ใหม่ตามคำแนะนำขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO (Civil Aviation OrganiZation) เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาธงแดงด้านการบินของไทย และในเดือนมีนาคมนี้จะมีสายการบินที่ได้รับอนุญาตเพิ่มเติมอีก 2 สายการบิน คือ การบินไทย และไทยแอร์เอเชีย และจะสามารถมอบใบอนุญาตให้สายการบินหลักของไทยจนครบ 9 สายบินในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ มั่นใจว่า จะส่งสัญญาณที่ดีในการแก้ปัญหาธงแดง ICAO ด้านการบินของไทยซึ่งจะเข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการบินของไทยอีกครั้งในวันที่30 มิถุนายนนี้ บางกอกแอร์เวย์ส ได้ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ตามมาตรฐานICAO เป็นรายแรกหลังผ่านขั้นตอนตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง การปลดลดธงแดงของ ICAO ถือว่าเป็นโจทย์ใหญ่ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และก็เดินหน้าในการแก้ไขมาตรฐานการบินพลเรือนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดการมอบใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ หรือว่า AOC ให้กับสายการบินบางกอกแอร์เวย์ใหม่นั้น เป็นรายแรก ซึ่งถือว่าเป็นข้อพิสูจน์ และเป็นเครื่องการันตีด้วยว่าอุตสาหกรรมการบินของไทยนั้นมีศักยภาพตามมาตรฐานสากล และเชื่อมั่นว่า จะนำไปสู่การปลดล็อกธงแดงของ ICAO ได้ ติดตามได้จากรายงานพิเศษ สายการบินที่ให้บริการในลักษณะฟูลเซอร์วิส อนาคตอาจจะปรับค่าค่าโดยสารแพงขึ้น เพราะคณะกรรมการการบินพลเรือน เห็นว่า ควรจะเพิ่มเพดานให้สูงกว่าที่ใช้อยู่ตั้งแต่ปี 2553 เพราะไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง อัตราค่าโดยสารของสายการบินแบบฟูลเซอร์วิส มีโอกาสที่จะขยับเพดานราคาใหม่ให้สูงกว่า 13 บาทต่อกิโลเมตร เพราะนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ราคาเดิมใช้มาตั้งแต่ปี 2553 ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง รายจ่ายทั้งค่าแรง และ ค่าน้ำมันหล่อลื่นแพงขึ้น 4-5 บาท ส่วนการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันในอัตรา 150 บาทต่อที่นั่ง ล่าสุดสั่งให้เรียกเก็บรวมไปกับค่าโดยสารเพราะถือเป็นหนึ่งในต้นทุนของสายการบิน ห้ามเก็บแยก พร้อมทั้งมองว่า การเก็บภาษีในอัตรา 150 บาท ถือว่าสมเหตุสมผล เพราะอัตราผลกระทบเฉลี่ยอยู่ที่ 150-204 บาทต่อที่นั่ง สำหรับสายการบินต้นทุนต่ำ หรือ โลว์คอสแอร์ไลน์ คณะกรรมการการบินพลเรือน หรือกบร. กำกับดูแลค่าโดยสารด้วยการกำหนดเพดานไว้ที่ 22 บาทต่อกิโลเมตร สำหรับระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร และ 13 บาทต่อกิโลเมตร สำหรับระยะทางที่มากกว่า 300 กิโลเมตร แต่กบร.เห็นว่าควรจะปรับเพดานใหม่ โดยให้กำหนดมาตรฐานการให้บริการบนเครื่อง เพื่อนำมาคำนวณต้นทุนค่าโดยสารและกำหนดเป็นเพดานราคาสูงสุด ซึ่งคาดว่าจะใช้ได้ราวกลางปีนี้ ผู้อำนวยการ สำนักงานการบินพลเรือนฯ เชื่อว่าการปรับเพดานค่าโดยสารสายการบินต้นทุนต่ำใหม่ จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร เพราะโลว์คอส มีการแข่งขันกันจัดโปรโมชันอยู่แล้ว นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน โดยสั่งการให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. ไปทบทวนโครงสร้างเพดานราคาค่าโดยสารสายการบินต้นทุนต่ำ หรือ โลว์คอสต์ ใหม่ จากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 13 บาท ต่อกิโลเมตร เนื่องจากเห็นว่าสายการบินโลว์คอสต์ ต้นทุนต่ำกว่าสายการบินที่บริการเต็มรูปแบบ หรือ ฟูลเซอร์วิส จึงมีความเป็นไปได้ว่า ค่าโดยสารของสายการบินโลว์คอสต์จะถูกลง ด้าน นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ กพท. เปิดเผยว่า หลังจากสายการบินสยามแอร์ ประสบปัญหาด้านสภาพคล่อง ไม่สามารถจ่ายค่าเช่าเครื่องบินได้ตามกำหนด จึงถูกเรียกเครื่องบินคืนไป 2 ลำ ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา และคดีความอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านมาตรฐานการบินของประเทศไทย และทำให้บริษัทผู้ให้เช่าเครื่องบินต่างชาติบางรายไม่กล้าให้เช่าเครื่องบิน หรือขึ้นราคาค่าเช่ากับผู้ประกอบการไทยนั้น กพท. จะเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลมาตรฐานการทำการบินของสายการบินต่างๆ มากขึ้น ขณะนี้มี 7-8 สายการบินอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง โดยหากพบว่า สายการบินใดมีปัญหาด้านการเงิน หรือการซ่อมบำรุงอากาศยาน จะสั่งถอนเครื่องบินออกจากระบบ และหากสายการบินใดไม่สามารถบริหารจัดการธุรกิจการบินได้ จะสั่งเพิกถอนใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ หรือ AOC (Air Operator Certificate) และใบอนุญาตประกอบธุรกิจการบิน หรือ AOL (Air Operator License) ต่อไป ส่วนกรณีการตรวจสอบการกำกับดูแลด้านการรักษาความปลอดภัย ที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ (ICAO : International Civil Aviation Organization) จะเข้าตรวจสอบช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ ขณะนี้ไทยมีความพร้อมแล้วในหลายด้าน
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ : กรณี ICAO ปลดธงแดงมาตรฐานการบินไทย สำนักงานการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ระบุองค์ ICAO ปลดล็อกธงแดงหน้าชื่อประเทศไทยแล้ว หลังสามารถแก้ไขข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยสำเร็จ "อาคม" คาดแก้สอบตก FAA ลดชั้นการบินใน Q1/61