รัฐบาลกับปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Ricebeanoil, 9 Feb 2016

  1. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    เรื่องนี้ต่อรองกันยาวมาก หลายรัฐบาลก็ยังทำไม่สำเร็จ คราวนี้สำเร็จได้ซักที
    นั่งรถตู้ผ่านหน้าแฟลต ดูเข้าไปแล้วรู้สึกว่ามันโทรมจริงๆ ยังหวั่นๆ ว่าซักวันมันจะถล่มลงมาหรือเปล่าด้วยซ้ำ



    ปัญหาแฟลตดินแดง สามารถคลี่คลายลง หลังยืดเยื้อมานานกว่า 16 ปี โดยชาวแฟลตยอมรับเงื่อนไข เรื่องขนาดของห้อง และคงค่าเช่าไว้เช่นเดิม

    แกนนำคัดค้านโครงการก่อสร้างฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง เข้าพบ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อขอยุติการเคลื่อนไหว คัดค้านการก่อสร้างแฟลตดินแดง และพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาล และกระทรวงผลักดันให้โครงการเดินหน้าต่อไป หลังยืดเยื้อมานานกว่า 16 ปี รวม 5 รัฐบาล

    ซึ่งแกนนำแฟลตดินแดง ยอมรับข้อตกลงเรื่องของขนาดของห้องที่ 33 ตารางเมตร และคงอัตราค่าเช่าราคาเดิม รวมทั้งเห็นด้วยให้การเคหะแห่งชาติประสานให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย จัดส่งทีมสำรวจสภาพอาคารภายใน 2 เดือน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชาวแฟลตดินแดง ด้วยสภาพอาคารที่เก่ากว่า 50 ปี หากไม่รีบดำเนินการ จะส่งผลให้อาคารทรุดโทรมมากขึ้น

    นายตัถยา ประไพเพชร ผู้แทนผู้อยู่อาศัยชุมชนดินแดง ระบุว่า เห็นด้วยกับการรื้อแฟลตดินแดง และยินดีให้เจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจสิทธิ์ สอบถามความต้องการ ส่วนเรื่องขนาดของห้องแม้จะเล็กกว่าเดิม แต่มีความเหมาะสม หลังจากนี้จะเป็นตัวแทนไปทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่



    วันนี้ (8 ก.พ. 59) เวลา 13.00 น. แกนนำคัดค้านโครงการก่อสร้างฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ขอเข้าพบ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อขอยุติการเคลื่อนไหวคัดค้านการก่อสร้างแฟลตดินแดง

    ในระหว่างการหารือได้ข้อสรุปว่าให้เดินหน้าโครงการปรับปรุงแฟลตดินแดงต่อ และยอมรับอาคารใหม่ที่มีการออกแบบพื้นที่ใช้สอยไว้ 33 ตารางเมตร จากที่ผ่านมากลุ่มที่คัดค้านการปรับปรุงแฟลตดินแดงต้องการพื้นที่ใช้สอย 42 ตารางเมตร หลังจากได้ฟังข้อมูลจากภาครัฐว่าการสร้างขนาด 42 ตารางเมตร ใช้งบประมาณมาก และมองว่าขนาด 33 ตารางเมตรก็เพียงพอ

    สำหรับค่าเช่าแฟลตดินแดงหลังการปรับปรุงมอบหมายให้การเคหะแห่งชาติไปหารือกับผู้อยู่อาศัย จากปัจจุบันที่มีค่าเช่า 300-1,000 บาท ต่อเดือน และอาจมีการเก็บค่าส่วนกลางเพิ่มเติม

    ด้าน พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ประสานงานกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงสร้างอาคารแฟลตดินแดงอีกครั้ง โดยกำหนดให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือน เพื่อเดินหน้าโครงการปรับปรุงแฟลตดินแดงใหม่
     
    Last edited: 8 Jul 2016
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    ดีแล้ว
     
  3. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    13 ก.พ. | ข่าว 12.00 น. วันนี้ทีมชุดปฏิบัติการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชาวบ้านแฟลตดินแดง เพื่อรวบรวมข้อมูลนำไปประกอบการพิจารณาโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ตั้งเป้าสำรวจให้ได้วันละ 40 ห้อง



    ตรงประเด็นข่าวเที่ยงสัมภาษณ์ วัชราทิตย์ เกษศรี ผู้สื่อข่าว NOW26 เรื่อง พม.-เคหะ ลงพื้นที่ตรวจสอบสิทธิชุมชน แฟลตดินแดง
     
  4. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้ผลสำรวจชาวแฟลตดินแดงส่วนใหญ่ยอมให้ทุบรื้อแฟลตดินแดงแล้ว

    จากการลงพื้นที่ของชุดปฏิบัติการสำรวจข้อมูลและมวลชน ในชุมชนดินแดง ประกอบด้วยตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่เขตดินแดง เจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสำรวจความคิดเห็นและสร้างความเข้าใจกับชาวแฟลตดินแดง ตั้งแต่วันที่ 13-16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รวม 4 วัน สำรวจไปแล้ว 1,355 ห้อง ใน 6 อาคาร คือแฟลต 1 แฟลต 5 แฟลต 45 แฟลต 60 และแฟลต ช.1 พบว่าได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้อยู่อาศัย ซึ่งส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ยินยอมที่จะให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. ทำการทุบรื้อแฟลตทิ้ง ตามโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง เพื่อยกระดับการอยู่อาศัย ให้ได้มาตรฐานและมีสภาพแวดล้อมที่ดี โดยผู้อยู่อาศัย เริ่มเข้าใจแล้วว่า ห้องพักใหม่ จะมีขนาดพื้นที่ไม่ต่างจากของเดิม

    ส่วนผู้ที่ยังไม่เห็นด้วย มีเพียง 16.6 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็น 225 ห้อง เนื่องจากกลัวเสียสิทธิ์ในการเช่าห้องในอาคารใหม่ รวมถึงไม่ต้องการจ่ายค่าเช่าและค่าส่วนกลาง ในอัตราสูงกว่าของเดิม นอกจากนี้ ผู้อยู่อาศัยบางส่วน ยังกังวลว่า หากครอบครัวขยายใหญ่ขึ้น จะไม่เพียงพอต่อการอยู่อาศัย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยืนยันมีห้องสำรองไว้ให้อย่างแน่นอน

    การสำรวจความเห็นของผู้อยู่อาศัยในส่วนที่เหลือ จะมีการสำรวจให้ครบ 5,846 ห้อง ภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้
     
  5. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ระวังจะกลายเป็นแฟลตดินแดง ภาคสองนะครับ



    21 ก.พ. | ข่าว 14.00 น. กรมธนารักษ์ เร่งเจรจาภาคเอกชน เพื่อทำโครงการบ้านประชารัฐ โดยแห่งแรก จะอยู่ที่หน้าวัดไผ่ตัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคอนโดมิเนียม สำหรับข้าราชการที่มีรายได้น้อย



     
    Last edited: 22 Feb 2016
  6. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482




     
    Last edited: 7 Mar 2016
  7. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    อยากให้ลุงตู่แก้ปัญหาแท๊กซี่สนามบิน

    ข้องอ้างคือป้องกันการเอาเปรียบผู้โดยสาร

    แต่ความเป็นจริงแท็กซี่สนามบินก็ยังเอาเปรียบอยู่

    #ผมว่าเปิดเสรีแท็กซีสนามบินไปเลย ยกเลิกระบบผูกขาด
     
  8. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กทม. 10 มี.ค. – ทีมข่าวสำนักข่าวไทย ตรวจสอบห้องตัวอย่างโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ซึ่งกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เปิดให้เข้าชมเป็นครั้งแรกก่อนเริ่มสร้างเดือนสิงหาคมนี้

    ห้องขนาด 33 ตารางเมตร แบ่งเป็น 4 ส่วน ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขก และระเบียง คือห้องตัวอย่างโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ที่เปิดให้ชาวแฟลตชมเป็นครั้งแรก หลังมีปัญหายืดเยื้อมานานกว่า 20 ปี

    แม้ว่าก่อนหน้านี้ ขนาดของห้องที่โครงการกำหนด 33 ตารางเมตร จะเป็นปัญหาและถูกชาวแฟลตดินแดงคัดค้านไม่เห็นด้วย เนื่องจากควาเข้าใจผิดในขนาดห้องเดิม แต่หลังเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทำความเข้าใจให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้ชาวแฟลตดินแดงยอมรับและพอใจกับห้องใหม่นี้

    สอดคล้องกับผลสำรวจชาวจำนวนแฟลต 5,420 ห้อง จากทั้งหมด 5,846 ห้อง หรือกว่าร้อยละ 92 พบว่าพอใจกับห้องขนาดเท่านี้มากถึงร้อยละ 76 แม้จะลดลงจากพี้นที่เดิมขนาด 38 ตารางเมตร โดยเฉพาะรูปแบบห้องที่เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ประโยชน์ใช้สอยมากกว่าแบบเดิมที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

    อัตราค่าเช่าให้สิทธิผู้อยู่อาศัยเดิมตั้งแต่ปี 2506 และทายาทจ่ายเท่าเดิมคือ 300-900 บาทต่อเดือน แต่มีค่าส่วนกลางเพิ่มเดือนละ 825 บาท ภาษีโรงเรือนร้อยละ 12.5 หรือประมาณ 37-113 บาท แม้ค่าเช่าใหม่เพิ่มขึ้นสูงสุดเดือนละเกือบ 2,000 บาท และจะถูกปรับขึ้นร้อยละ 5 ทุกๆ 3 ปี แต่ผู้รับผิดชอบมองว่าอัตรานี้เหมาะสมทั้งทำเล และสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

    อีก 5 เดือนจากนี้ อาคารสูง 25 ชั้น ขนาด 334 ห้อง จะเริ่มก่อสร้างบริเวณสำนักงานการเคหะฯ เก่า เพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยชุดแรกในแฟลต 18 ถึง 22 ก่อนทุบแฟลตเก่าทิ้ง เพื่อสร้างอาคารใหม่ และรับชาวแฟลตชุดต่อไปเข้าอยู่อาศัย และทยอยทุบอาคารต่าง ๆ จนครบ โดยโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน 8 ปีนี้. – สำนักข่าวไทย



    เพื่อให้โครงการบ้านประชารัฐเกิดขึ้นได้จริงภายในปีนี้ กรมธนารักษ์ จะนำร่องด้วยการนำที่ราชพัสดุ ในซอยวัดไผ่ตัน ย่านถนนพหลโยธิน สร้างคอนโดมิเนียม 7 ชั้น ให้ข้าราชการเช่าอาศัยปีต่อปี ติดตามจากรายงานของคุณสิรีภัคกมณ ตรัยตรึงตรีคูณ



    กระทรวงการคลัง ได้ข้อสรุปโครงการบ้านประชารัฐแล้ว โดยเปิดให้กู้ซื้อได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ พร้อมผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกู้ เพื่อให้กู้ได้ง่ายขึ้น เตรียมเสนอ ครม. สัปดาห์หน้า และเดินหน้าโครงการทันที

    นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ล่าสุด กระทรวงการคลังได้ข้อสรุป โครงการบ้านประชารัฐ และพร้อมเสนอ ครม.พิจารณาในวันอังคารหน้า โดยที่อาศัยราคาต่ำกว่า 700,000 บาท ดอกเบี้ยพิเศษปีแรก 0% เพื่อช่วยให้ผู้มีรายได้น้อย มีภาระผ่อนไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน ส่วนที่อยู่อาศัยราคาตั้งแต่ 700,000-1,500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ คือ 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 3% และปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5% ที่สำคัญสามารถกู้ซื้อได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือบ้านที่ปลูกในที่ของตัวเอง โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะบ้านที่รัฐจะสร้างใหม่บนที่ราชพัสดุ เพียงแต่ต้องเป็นบ้านหลังแรกเท่านั้น ขณะที่ภาคเอกชนจะช่วยลดราคาบ้านให้อีกอย่างน้อย 2% ออกค่าส่วนกลาง 1 ปี และรับภาระค่าธรรมเนียมการโอน การจดจำนอง ให้ด้วย

    ขณะที่นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีวงเงินรวม 60,000 ล้านบาท ปล่อยผ่าน 3 ธนาคาร คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารกรุงไทย ธนาคารละ 20,000 ล้านบาท ซึ่งพร้อมปล่อยทันที ที่เรื่องผ่าน ครม. ซึ่งได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกู้ โดยปรับเพิ่มสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ขึ้นเป็น 50% จากเดิม 33% เพื่อช่วยให้กู้ได้ง่ายขึ้น และไม่จำกัดรายได้ของผู้กู้



    ผู้มีรายได้น้อยเตรียมลุ้นสัปดาห์นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอรายละเอียดโครงการบ้านประชารัฐให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ

    โครงการบ้านประชารัฐ เพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อยให้สามารถมีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเอง กระทรวงการคลังจะให้ธนาคารของรัฐ 3 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ออมสิน และ ธอส.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรน ระยะเวลากู้สูงสุด 30 ปี วงเงินสินเชื่อรวม 70,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อให้ผู้ประกอบการกู้ไปสร้างที่อยู่อาศัย 30,000 ล้านบาท อีก 40,000 ล้านบาท จะนำไปให้ประชาชนกู้ซื้อบ้าน

    ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ จะดูจากความสามารถในการชำระหนี้ จากเดิมกำหนดอัตราสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ไม่เกิน 33% แต่ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50% ของรายได้ ช่วยทำให้กู้ได้ง่ายขึ้น และไม่จำกัดรายได้ของผู้กู้ หรือเงินเดือนขั้นต่ำ แต่ต้องเป็นบ้านหลังแรก ครอบคลุมทั้งขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านจัดสรร หรือสร้างบ้านบนที่ดินตนเอง และสามารถขอกู้ซ่อมแซมต่อเติมบ้านที่อยู่เดิมได้

    โดยผู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคา ต่ำกว่า 700,000 บาท จะผ่อนไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน

    อัตราดอกเบี้ยพิเศษปีแรก 0%
    ปีที่ 2-3 2% ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
    ปีที่ 7-30 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว

    หากราคาบ้าน 700,000 บาท ถึง 1.5 ล้านบาท ผู้กู้ผ่อนไม่เกิน 7,000-8,000 บาทต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีแรก อยู่ที่ 3% ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5% ปีที่ 7-30 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว

    ด้านผู้ประกอบการเอง สามารถนำสต๊อกบ้านที่มีอยู่มาเข้าร่วมโครงการได้เลย และยังให้สิทธิพิเศษ เช่น ให้ส่วนลดกับผู้ซื้อเพิ่ม

    อย่างไรก็ตาม เอกชนยังเป็นห่วงว่าผู้มีรายได้น้อยจะกู้ไม่ผ่านตามเงื่อนไข เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้มักมียอดปฏิเสธสินเชื่อสูงกว่า 50% จึงเสนอให้รัฐช่วยปลดล็อกประวัติเครดิตบูโรในรายที่แก้ปัญหาหนี้เสร็จสิ้นแล้ว เพื่อช่วยให้คนกลุ่มนี้กู้เงินซื้อบ้านได้ และเชื่อว่า โครงการบ้านประชารัฐจะทำให้ยอดขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์

    ทีมข่าวเศรษฐกิจ รายงาน



    อีก 1 โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำลังพยายามผลักดัน คือ โครงการบ้านประชารัฐ เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือคนจนผู้มีรายได้น้อยให้มีบ้านเป็นของตัวเอง ล่าสุด กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ วันพรุ่งนี้

    โครงการ "บ้านประชารัฐ" เข้าใจง่าย ๆ คือ รัฐจับมือกับเอกชนและธนาคาร ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้คนจนผู้มีรายได้น้อยกู้ไปซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม หรือ แม้กระทั่งกู้ไปซ่อมบ้าน ใช้งบประมาณทั้งหมด 70,000 ล้านบาท โดยไม่ได้กำหนดเกณฑ์ว่าต้องมีรายได้เท่าใดจึงจะจัดว่าเป็นผู้มีรายได้น้อย และเข้าร่วมโครงการได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นบ้านหลังแรก และ ราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท

    อัตราดอกเบี้ย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กู้ซื้อบ้านที่มีราคาต่ำกว่า 700,000 บาท ปีแรกไม่มีดอกเบี้ย จากนั้นจะเสียร้อยละ 2 ถึง 5 ผ่อนเดือนละประมาณ 3,000 บาท อีกกลุ่ม คือ กู้ตั้งแต่ 700,000-1,500,000 บาท เสียดอกเบี้ยร้อยละ 3-5 จากนั้นในปีที่ 7 เสียในอัตราปกติ ผ่อนเดือนละประมาณ 7,200 บาท

    สำหรับค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองนั้น ธนาคารทั้ง 3 แห่ง และ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ จะเป็นคนออกให้ และเอกชนจะลดราคาบ้านให้ร้อยละ 2 และออกค่าส่วนกลางปีแรกให้ด้วย เช่น ถ้าบ้านราคา 1,000,000 บาท จะลดลงไป 20,000 บาท เหลือ 980,000 บาท

    ซึ่งนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สนับสนุนโครงการนี้ เพราะทำให้คนที่มีรายได้น้อยมีบ้านเป็นของตัวเอง ผู้ประกอบการ สามารถระบายบ้านและคอนโดมิเนียมที่ค้างอยู่ และ ทำโครงการที่เข้าเกณฑ์ของรัฐออกมาเพิ่ม เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศทั้งระบบ
     
    Last edited: 14 Mar 2016
  9. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    การแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีความมั่นคงในชีวิต ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ล่าสุด เร่งดำเนินการทั้งในส่วนของโครงการบ้านมั่งคง และ โครงการบ้านประชารัฐ

    ในส่วนของโครงการบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำมาใช้แก้ไขปัญหาการปลูกบ้านรุกล้ำริมคลองต่างๆทั้ง 9 คลองที่อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีมากถึง 100 ชุมชน หรือ กว่า 67,800 ครัวเรือน โดยการแก้ไขปัญหาใช้วิธีดึงภาคประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าดำเนินโครงการนำร่องให้ได้ 26 ชุมชน หรือ 3,800 ชุมชน

    นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีโครงการบ้านประชารัฐ โดยที่ประชุม ครม.วันนี้ จะพิจารณาอนุมัติโครงการเพื่อให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้ผู้มีรายได้น้อย วงเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 70,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ธนาคารกรุงไทย เพื่อช่วยให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

    นอกจากนี้ มีรายงานว่ากระทรวงคมนาคม จะเสนอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการผ่านทาง บนถนนทางหลวงพิเศษ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนนี้ และ กระทรวงวัฒธรรม จะขอความเห็นชอบการจัดงานประเพณีสงกรานต์ เที่ยวอย่างรู้คุณค่า โดยไม่ห้ามเล่นน้ำสงกราต์แต่ให้คำนึกถึงความเหมาสะสมในแต่ละพื้นที่

    ส่วนเรื่องการประหยัดไฟฟ้า ก่อนเข้าประชุม ครม.วันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมรณรงค์แคมเปญ "ปิดไฟ 1 ชั่วโมง ให้โลกพัก" ตั้งแต่ 20.30-21.30 น.วันที่ 19 มีนาคมนี้ เป็นเวลา 1 ชั่วโมงด้วย
     
  10. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    22 มี.ค. | ข่าว 19.00 น. คณะรัฐมนตรี เห็นชอบโครงการบ้านประชารัฐ เปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อย มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ขณะที่ ไทยพีบีเอส ลงพื้นที่สำรวจตัวอย่างบ้านประชารัฐ



    คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบวงเงินกู้โครงการบ้านประชารัฐ 70,000 ล้านบาท เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยกู้เงินซื้อบ้าน และให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการกู้เงินเพื่อสร้างบ้านประชารัฐโดย ประชาชนยื่นเรื่องกู้ได้ตั้งแต่พรุ่งนี้

    นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ครม.เห็นชอบโครงการบ้านประชารัฐ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 3 แห่ง คือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน วงเงินรวม 70,000 ล้านบาท ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์

    วงเงินแรก 40,000 ล้านบาทแรก เป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน ผู้ปล่อยสินเชื่อกับผู้ซื้อบ้านที่ปลูกบนที่ดินของตนเอง บ้านจัดสรร หรือบ้านมือ 2 ระยะเวลากู้ไม่เกิน 30 ปี ในวงเงินสินเชื่อ 7 แสนบาท ถึง 1.5 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1-3 ปี แรก 3% ส่วนปีที่ 4-6 คิดอัตราดอกเบี้ย 5% และปีที่ 7 เป็นต้นไปคิด MRR-

    ส่วนวงเงินอีก 30,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ร่วมกันจัดวงเงินสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 2 ปี เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้เอกชนผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และการเคหะแห่งชาติที่จะเข้าร่วมพัฒนาโครงการ

    ทั้งนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และออมสินจะเปิดให้ประชาชนยื่นคำขอสินเชื่อโครงการบ้านประชารัฐ ได้ทุกสาขาในวันพรุ่งนี้ (23 มี.ค.)



    วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลาง ยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านประชารัฐ หลัง ครม.อนุมัติโครงการเมื่อวานนี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เตรียมสถานที่และเอกสารพร้อมรับประชาชนที่จะเข้ามาติดต่อแล้ว



    แห่จองบ้านผู้มีรายได้น้อย ธอส.คาด 2 เดือนปล่อยกู้ครบ 2 หมื่นล้านบาท

     
    Last edited: 23 Mar 2016
  11. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482




    วันนี้ เป็นวันแรกของการเปิดให้ประชาชนยื่นขอสินเชื่อโครงการบ้านประชารัฐ ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยเปิดรับตั้งแต่เวลา 08.30 น. มีประชาชนเข้ามาสอบถามเงื่อนไขการกู้และยื่นคำขอสินเชื่อซื้อบ้านจำนวนมาก ซึ่งประชาชนบางส่วนระบุว่ามีแผนซื้อบ้านอยู่แล้ว และโครงการนี้มีเงื่อนไขการกู้ดีจึงสนใจเข้าร่วม รวมทั้งบางส่วนระบุว่าอัตราการผ่อนต่อเดือน ใกล้เคียงกับค่าเช่าที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน จึงสนใจเปลี่ยนค่าเช่าแต่ละเดือนมาผ่อนค่าบ้านแทน

    ธอส.รายงานว่า เวลา 15.30 น. มีผู้แจ้งความประสงค์ขอยื่นกู้ 2,100 ราย รวมสินเชื่อ 1,900 ล้านบาท โดย ธอส.ระบุว่า ส่วนใหญ่วงเงินกู้เฉลี่ย 1-1.5 ล้านบาท ส่วนธนาคารออมสิน รายงานว่า มีผู้แจ้งความจำนงกู้ 2,200 ราย วงเงิน 2,200 ล้านบาท เฉลี่ยรายละ 1 ล้านบาท รวมทั้ง 2 ธนาคาร มีผู้สนใจกู้ 4,300 ราย วงเงินกู้ 4,100 ล้านบาท

    นายฉัตรชัย ศิริไล รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานสินเชื่อ ธอส. กล่าวว่า ซึ่ง ธอส.เตรียมวงเงินไว้ 20,000 ล้านบาท คาดว่าจะมีผู้ยื่นขอสินเชื่อหมดภายใน 2 เดือน (ภายใน พ.ค.นี้) และถ้ามีผู้สนใจมาก จะเสนอรัฐบาลเพิ่มวงเงินกู้

    ส่วนการที่โครงการไม่กำหนดรายได้ขั้นต่ำผู้กู้ และให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ยื่นกู้ได้ แม้ไม่มีเอกสารทางการเงิน จะไม่ส่งผลต่อหนี้เสีย เพราะ ธอส.จะตรวจสอบว่าประกอบกิจการจริงหรือไม่

    ‘พฤกษา’จัดบ้าน4พันยูนิตขายผู้มีรายได้น้อย

    ด้านผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ พฤกษา เรียลเอสเตท ได้รวบรวมที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน1.5ล้านบาท เข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐ รวม19โครงการ จำนวน4,539 ยูนิต มูลค่ารวม4,771ล้านบาท

    แบ่งเป็นทาวน์เฮาส์408ยูนิต มูลค่า556ล้านบาท และคอนโดมิเนียม4,131 ยูนิต มูลค่า4,215ล้านบาท ทั้งในกรุงเทพฯ /ปริมณฑล และต่างจังหวัด เพื่อสนับสนุนผู้ที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง





    ข่าว 7 สี - การแก้ปัญหาบ้านรุกล้ำริมคลองสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานครเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นแล้ว ติดตามรายงานจาก คุณวรัญญู นวกาลัญญู

    เป็นปัญหาซ้ำซากแก้ไขไม่ได้มานาน สำหรับบ้านเรือนรุกล้ำริมคลองสาธารณะสายต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนบางแห่งกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรมเกิดปัญหาสังคมตามมา สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ผลักดันโครงการบริการจัดการสิ่งก่อสร้างรุกล้ำลำน้ำสาธารณะและการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองขึ้นโดยประเดิมเริ่มต้นที่คลองลาดพร้าวก่อนและตั้งเป้าจัดระเบียบบ้านรุกล้ำริมคลอง 9 สาย ที่มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 74,000 คน ให้ได้อยู่บ้านใหม่ที่ดีกว่าภายใน 3 ปี

    การยุติปัญหารุกล้ำลำคลองชุมชนลาดพร้าวส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือดี ตอนนี้เริ่มรื้อถอนบ้านแล้วบางส่วน บ้านไหนที่ถูกรื้อก็ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง ทางการได้จัดสรรพื้นที่กรมธนารักษ์ให้สร้างบ้านใหม่ไม่ไกลจากทำเลเดิม และยังให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่อนนาน เหมาะกับผู้มีรายได้น้อยไม่ต้องรับภาระมากเกินไป

    แบบบ้านที่เตรียมไว้มี 2 แบบ คือแบบห้องแถว 2 ชั้น วงเงินกู้ไม่เกิน 2 แสนบาท และบ้านแฝด 2 ชั้น ไม่เกิน 2.5 แสนบาท ในระหว่างการก่อสร้าง ก็ยังมีเงินให้ไปเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราวอีกเดือนละ 3 พันบาทนานถึง 6 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบการจากการถูกไล่รื้อ จนกว่าจะมีที่อยู่อาศัยใหม่

    หลังจากนี้ 3 ปี เราคงได้เห็น 2 ฝั่งคลองมีภูมิทัศน์สวยงาม น้ำในคลองใสสะอาด สิ่งแวดล้อมดีเมืองน่าอยู่ขึ้น



    สร้างบ้านมั่นคงรับคนรุกล้ำคลองลาดพร้าว
    2016/03/25 1:58 PM

    กรุงเทพฯ 25 มี.ค. – หลังต่อสู้กันมายาวนานกับการแก้ไขปัญหาบ้าน รุกล้ำคลองสาธารณะ วันนี้เริ่มเห็นภาพชัดขึ้น เมื่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เริ่มสร้างบ้านมั่นคงให้ผู้ที่รุกล้ำได้ทยอยเข้าไปอยู่แล้ว

    หลังกรุงเทพมหานครพยายามแก้ปัญหาบ้านสร้างรุกล้ำลำคลองสาธารณะมานานหลาย สิบปี ยังไม่เห็นผลงานที่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน กระทั่ง คสช.ยื่นคำขาดให้ กทม.ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สร้างเขื่อนตลอดแนวคลองลาดพร้าว พร้อมรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำคลองที่กีดขวางเส้นทางระบายน้ำ วันนี้จึงได้เห็นความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมครั้งแรก

    บ้านแฝดสีสันสดใสที่ พม.ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สร้างจำนวน 24 หลัง เป็นบ้านนำร่องเฟสแรก ตอนนี้มีผู้ที่เคยรุกล้ำมาอยู่แล้ว 6 ครอบครัว หลายคนบอกตรงกันว่า สภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น แม้จะต้องเป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีก 30 ปี ในการผ่อนบ้านบนที่ดินของกรมธนารักษ์ มูลค่ากว่า 260,000 บาท แต่เชื่อว่าคุ้มค่าเมื่อแลกกับสิ่งที่จะได้รับกลับมา

    เป้าหมายต่อไป คือ รื้อบ้านรุกล้ำอีก 100 หลัง ในเดือนเมษายน แล้วสร้างบ้านมั่นคงทดแทนอีก 100 หลัง ภายในปีนี้ ระหว่างรื้อถอน พอช.จะช่วยเหลือค่าเช่าบ้าน ครัวเรือนละ 3,000 บาท รวม 6 เดือน

    ปัจจุบันมี 9 คลองหลักที่สร้างบ้านรุกล้ำ ระยะทางกว่า 128 กิโลเมตร กว่า 8,500 ครัวเรือน พอช.มีแผนยุทธศาสตร์ในระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2568 โดยปีนี้ตั้งเป้ารื้อย้ายบ้านเรือนในคลองลาดพร้าว 17 ชุมชน รวมกว่า 2,300 ครัวเรือน เพื่อเปิดทางให้ กทม.สร้างเขื่อนคอนกรีตป้องกันน้ำท่วม ยืนยันให้ทุกชุมชนอยู่ในพื้นที่เดิม พร้อมพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

    พอช.รายงานว่า ยังคงมีชาวบ้านคัดค้านแผนรื้อย้ายร้อยละ 20 จากทั้งหมด 43 ชุมชนในคลองลาดพร้าว หลังจากนี้ พอช.จะร่วมกับ กทม.เดินหน้าเจรจาให้ย้ายออกทั้งหมดในปี 2561 หรืออีก 3 ปี หากยังไม่ย้ายถือว่าทำผิด ต้องใช้มาตรการทางกฎหมาย จากนั้นจึงจะเดินหน้าในจุดอื่นๆ ต่อไป. – สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/content/432413
     
    Last edited: 25 Mar 2016
  12. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รายงานพิเศษ : ประชาชนกับบ้านประชารัฐ



    โดยผู้ที่จะขอสินเชื่อโครงการบ้านประชารัฐได้ จะต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมาก่อน ซึ่งต้องการซื้อบ้านใหม่หรือบ้านมือสองเป็นของตนเอง ในราคาไม่เกิน 1 ล้าน 5 แสนบาท หรือผู้ที่มีบ้านอยู่แล้ว แต่ต้องการซ่อมแซมต่อเติมบ้าน จะกู้ได้ไม่เกิน 5 แสนบาท ด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรน และอัตราดอกเบี้ยพิเศษโดยไม่จำกัดรายได้ของผู้กู้

    หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. และธนาคารออมสิน ก็เริ่มเปิดให้ประชาชนยื่นคำขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านประชารัฐในวันรุ่งขึ้นทันที มีประชาชนสนใจไปยื่นขอสินเชื่อจำนวนมากโดย ธอส.ได้ผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระรายเดือนให้ด้วย

    เช่น วงเงินกู้ไม่เกิน 7 แสนบาท เริ่มต้นผ่อนชำระ 3 ปีแรก เพียงเดือนละ 3,000 บาท, วงเงินกู้ 1 ล้าน 5 แสนบาท ผ่อนชำระเดือนละ 7,200 บาท, ส่วนการกู้เงินซ่อมแซมต่อเติมบ้าน วงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท ผ่อนชำระเพียงเดือนละ 2,100 บาท

    นายฉัตรชัย ศิริไล รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานสินเชื่อ ธอส.กล่าวว่า ธนาคารได้เตรียมวงเงินกู้ไว้ 3 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อได้หมดภายใน 2 เดือน

    ด้าน นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสินกล่าวว่า ธนาคารออมสินได้เตรียมวงเงินกู้โครงการบ้านประชารัฐไว้ 2 หมื่นล้านบาทผู้ยื่นขอกู้เงินก่อน จะได้ก่อน คาดว่าวงเงินกู้จะหมดอย่างรวดเร็ว เพราะอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก จึงขอให้รีบมาจองสิทธิ์ไว้ก่อน แล้วค่อยยื่นเอกสารตามภายหลังได้

    โดยวงกู้ไม่เกิน 7 แสนบาท ผ่อนชำระใน 3 ปีแรก เดือนละ3,000 บาท, ปีที่ 4-6 ผ่อนชำระเดือนละ 4,000 บาท, ปีที่ 7 ขึ้นไป ผ่อนชำระเดือนละ 4,500 บาท แต่ถ้าวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้าน 5 แสนบาท ผ่อนชำระใน 3 ปีแรก เดือนละ 7,200 บาท, ปีที่ 4-6 ผ่อนชำระเดือนละ 8,600 บาท



    4 เม.ย. | ข่าว 09.00 น. กรมธนารักษ์ เตรียมเสนอรายละเอียดโครงการบ้านประชารัฐให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันพรุ่งนี้ ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากที่ดำเนินการมาแล้วหลายโครงการ คาดว่าจะมีข้อเสนอเพิ่มเติมอีกหลายโครงการ



    5 เม.ย.|ข่าว 09.00 น. กระทรวงการคลังจะเสนอ บ้านประชารัฐ ของกรมธนารักษ์ เข้าสู่การพิจารณา แต่จะเป็นในลักษณะการให้เช่า ในราคาไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท



    กรมธนารักษ์ ยอมรับ โครงการบ้านประชารัฐในส่วนที่ดูแลจำนวน 6 แปลง ยังไม่คืบหน้า เพราะนำเข้าครม.ไม่ทัน พร้อมระบุ ยกเลิกสัญญาเช่าขั้นต่ำ 1 ปี และขยายเป็น 5 ปีแน่นอนแล้ว

    อธิบดีกรมธนารักษ์ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล บอกว่า สาเหตุที่โครงการบ้านประชารัฐ ยังไม่เข้าครม. เพราะข้อมูลต่างๆที่จะนำเสนอนั้น อาจเร่งรีบและกระชั้นชิดกับช่วงเวลาที่ต้องนำเสนอครม.จนเกินไป

    อธิบดีกรมธนารักษ์ บอกต่อว่า สำหรับสัญญาเช่า กรมธนารักษ์จะคงสัญญาระยะยาว 30 ปีไว้เหมือนเดิม ซึ่งจะใช้ในต่างจังหวัด แต่จะเปลี่ยนในส่วนของสัญญาระยะสั้น จากเดิม 1 ปี ขยายเป็น 5 ปี แก่ผู้มีรายได้ไม่เกิน2หมื่นบาท บนพื้นที่ทั้ง2แปลง ในกรุงเทพมหานคร โดยที่ดินทั้ง2แปลงนี้ จะนำมาพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียม เพราะหากยังคงสัญญาระยะสั้นไว้1ปี เชื่อว่า ประชาชนจะมีปัญหาในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัย และไม่กล้าขนย้าย หรือซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้ามาไว้ในอาคาร

    นอกจากนี้ คอนโดมิเนียม 2 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร จะคิดอัตราเช่าเดือนละ 4 พันบาท และปรับราคาขึ้น 15 เปอร์เซนต์ทุกๆ 5 ปี แต่หากเป็นสัญญาระยะยาว จะคิดแค่ราคาเดียวคือต้องไม่เกิน1ล้านบาท ขณะที่ พื้นที่ขั้นต่ำของที่อยู่อาศัย จะกำหนดให้บ้าน ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 48 ตารางเมตร และคอนโดมิเนียม ต้องไม่น้อยกว่า 24 ตารางเมตร
     
    Last edited: 6 Apr 2016
  13. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เสนอ ครม."บ้านประชารัฐ" พัฒนา "ที่ราชพัสดุ" 6 โครงการลงทุน 3 พันล้าน
     
  14. Kop16

    Kop16 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    5 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,461
    เรื่องล้ำริมคลองเนี่ยะยังไงก็ไม่เห็นด้วย ครับ
     
  15. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    หลังจากนี้ ก็ดูแลแฟลตดินแดง ให้ดี อย่าให้ เสื้อแดง บุกไปเผา หรือไปยิงคนอีก
     
    AlbertEinsteins likes this.
  16. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รมว.กห.เป็นปธ.ยกเสาเอกชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ-พิธีตอกเสาเข็มเขื่อนริมคลองลาดพร้าว แก้ปัญหาชุมชนแออัด
     
  17. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    นี่ถ้าเผาไทย ยังเป็นรัฐบาล
    เราจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้
    เพราะเสื้อแดงนอนง่าย ที่ไหนก็นอนได้
    99627789.jpg
    download.jpg
     
    AlbertEinsteins likes this.
  18. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
  19. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    แล้วโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ไอ้วัฒนามันโกง คดีไปถึงไหนแล้ว
     
  20. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ประชาชนแห่ยื่นกู้ทะลุ 3.3 หมื่นราย



    รมว.พม.ยืนยันเดินหน้าพัฒนาโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง คาดจะเสนอครม.ภายในมิ.ย.59

    วันนี้(27 เม.ย.59) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้นำตามธรรมชาติชุมชนดินแดง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ แนวทางการดำเนินการพัฒนาและฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาร่วมกัน

    โดยได้ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ที่อยู่ระหว่างนำเสนอแผนแม่บทต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีได้ภายในเดือนมิ.ย.2559 ส่วนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA อาคารพักอาศัยแปลง G อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักนโยบายและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ทั้งนี้ กรณีที่มีบุคคลจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ โดยอ้างว่าการเคหะแห่งชาติ ยังไม่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีปี2543 และบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขนาดห้องนั้น เบื้องต้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)ได้ส่งทีมสำรวจข้อมูลและความคิดเห็นของผู้อยู่ในอาศัยในชุมชนแฟลตดินแดงทุกห้อง จำนวน 5,846 หน่วย ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. – 20 มี.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการร้อยละ 87.5 และเห็นด้วยกับขนาดห้อง 33 ตารางเมตร ร้อยละ 76 โดยการเคหะแห่งชาติจะเพิ่มมาตรการสำหรับผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวและคัดค้าน ด้วยการยกเลิกสัญญาเช่าและดำเนินคดีตามกฏหมาย

    สำหรับการก่อสร้างชุมชนเมืองแฟลตดินแดงจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 18 เดือน หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำการรื้อย้าย ผู้อยู่อาศัยอาคารแฟลต 18-22 จำนวน 5 อาคาร 280 หน่วย เข้าพักอาศัยในแปลง G และจะเริ่มพัฒนาโครงการระยะที่ 2,3 และ 4 ต่อไป ซึ่งเมื่อพัฒนาโครงการได้เต็มรูปแบบ จะสามารถรองรับผู้อยู่อาศัยเดิมจำนวน 6,546 หน่วย และผู้อยู่อาศัยใหม่จำนวน 13,746 หน่วย



    นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มีแนวคิดให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จัดทำ โครงการบ้านผู้สูงอายุซึ่งรัฐบาลอาจให้ใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์ หรือ ใช้พื้นที่ของภาคเอกชนในการก่อสร้างและให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่นักลงทุนที่ดำเนินโครงการ ส่วนมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองเหลือ 0.01% ที่จะสิ้นสุดในวันพรุ่งนี้ จะไม่มีการต่ออายุมาตรการ

    ส่วนแนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจให้เช่าอาคารสำนักงาน ในปีนี้ ผู้ประกอบการเปิดเผยว่า มีการขยายตัวได้ 8.6% โดยเฉพาะในพื้นที่ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะได้ จากการขยายตัวของธุรกิจกลุ่มไอทีและอีคอมเมิร์ซ ที่ได้รับอานิสงส์จากการประมูลคลื่นความถี่ 4 G รวมถึงความนิยมในกลุ่มธุรกิจไอที คาดว่าภายในอีก 2-3 ปี เมื่อเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ภาคธุรกิจจะแห่เช่าพื้นที่ย่านใจกลางเมือง



    บ้านธนารักษ์เสร็จปลายปี 60 รัฐจัดที่ดินสร้างบ้านเพิ่มอีก 4 โครงการ



    ข่าว 7 สี - การเคหะแห่งชาติ ยกเลิกสัญญาเช่าแฟลตดินแดงคืนจากแกนนำและผู้ปล่อยเช่าช่วง เพื่อแก้ปัญหาชุมชนแฟลตดินแดงที่ยืดเยื้อมาถึง 16 ปี

    วันนี้ครบกำหนดเส้นตาย 15 วัน ที่การเคหะแห่งชาติ ต้องยืดคืนสิทธิ์ ยกเลิกสัญญาเช่าแฟลตดินแดงคืนจากเจ้าของที่ทำผิดสัญญา ปล่อยเช่าช่วง และต่อต้านการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงจำนวน 207 ห้อง ซึ่งรวมทั้งห้องของนายตัถยา ประไพเพชร แกนนำคัดค้านฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงด้วย

    สำหรับการยกเลิกสัญญาเช่าเป็นหนึ่งในแผนการจัดระเบียบชุมชนดินแดง ที่มีปัญหายืดเยื้อมาถึง 16 ปี โดยก่อนหน้านี้ได้แก้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชนลงได้มากแล้ว จากที่มีคดียาเสพติดมากถึง 95 คดีต่อเดือนลดลงเหลือไม่ถึง 10 คดี
     
    Last edited: 14 May 2016
  21. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ธอส.เร่งปล่อยสินเชื่อบ้านเพิ่มเป็นปีละ5-6 หมื่นล้านบาท เน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย-ผู้สูงอายุ





    วันนี้เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ไปยังชุมชนวังหิน เพื่อเริ่มการรื้อถอนหมู่บ้านริมคลองที่มีการบุกรุกพื้นที่รัฐมานาน ภายใต้โครงการบ้านมั่นคงที่จะทำการรื้อสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นอาคารบ้านเรือนของชุมชนริมน้ำ และทำการสร้างใหม่ในแบบแปลนเดียวกันทั้งหมด เพื่อเป็นการจัดระเบียบ / สร้างบ้านให้มั่นคง รองรับการโครงการสร้างเขื่อนในคลองลาดพร้าว

    ทหาร ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเจ้าหน้าที่จากกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมมือกันจัดทำโครงการบ้านมั่นคง สืบเนื่องจากทางกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องขยายคลองลาดพร้าวเพื่อระบายน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้ต้องมีการจัดระเบียบพื้นที่ริมคลองใหม่ทั้งหมด

    ปัญหาที่พบสำหรับพื้นที่ริมคลองคือโครงสร้างของบ้านเรือนไม่มีความมั่นคง และพื้นที่ที่ชุมชนอาศัยอยู่เป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์ที่ชาวบ้านได้ทำการบุกรุกเข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนเมื่อหลายสิบปีก่อน ทำให้พื้นที่ตลอดริมคลองเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านอยู่อย่างผิดกฎหมาย

    โครงการบ้านมั่นคงจึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยในแบบเดียวกันทั้งชุมชน โดยเริ่มโครงการนำร่องที่คลองลาดพร้าว โดย 3 ชุมชนที่ได้รับสัญญาเช่าที่จากกรมธนารักษ์จะเป็นชุมชนนำร่องในการรื้อถอนและสร้างบ้านใหม่ ได้แก่ ชุมชนสะพานไม้ 1 / ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ และชุมชนวังหิน

    ทั้งนี้ วันนี้เป็นวันแรกที่มีการเข้ารื้อถอนในชุมชนวังหิน ซึ่งจะดำเนินการรื้อถอนบ้านจำนวน 10 หลังที่ถือว่าเป็นเฟสแรก

    สำหรับโครงการบ้านมั่นคงในเขตริมคลองลาดพร้าว ได้เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งเป็นการวางแผน และทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ปัจจุบันในชุมชนวังหินมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 62 ครัวเรือน จากทั้งหมด 82 ครัวเรือน ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวยังต้องลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจและแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านที่ติดขัดในการรื้อถอนและสร้างที่อยู่อาศัยใหม่

    สำหรับการรื้อถอนในช่วงแรก 10 ครัวเรือนนั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน และการรื้อถอนบ้านเรือนที่เหลือ พร้อมกับสร้างบ้านใหม่ จะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้





    ข่าวดีสำหรับข้าราชการและผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการมีบ้านอยู่อาศัย กรมธนารักษ์ เตรียมนำที่ราชพัสดุอีก 4 แปลง ก่อสร้างบ้านธนารักษ์ประชารัฐให้ข้าราชการและผู้มีรายได้น้อยอยู่อาศัย ส่วนพื้นที่นำร่องที่มีความคืบหน้าไปมากก็คือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี คาดว่าจะคัดเลือกผู้ก่อสร้างได้เร็วๆ นี้ ติดตามรายงานคุณสิรีภัคกมณ ตรัยตรึงตรีคูณ
     
    Last edited: 16 Jun 2016
  22. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    วันนี้ การเคหะแห่งชาติจัดเสวนา "มองบ้านผ่านเมืองเรื่องของคนดินแดง" เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูชุมชนดิน แดง

    นางอุบลวรรณ สืบยุบล รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า การฟื้นฟูแฟลตดินแดงระยะที่ 1 จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบภายในเดือน ก.ค.นี้ จากนั้นจะเข้าสู่การประมูลหาผู้ก่อสร้าง ซึ่ง กคช.เตรียมประกวดราคาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 14 ก.ค.นี้ และจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ โดยขั้นตอนการประกวดราคาจะมีคณะกรรมการที่มีผู้แทนผู้อยู่อาศัยในชุมชนแฟลต ดินแดง เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพื่อรับรู้ในขั้นตอนการดำเนินการและป้องกันการทุจริต

    สำหรับ การพัฒนาแฟลตดินแดง ระยะที่ 1 คือ แปลง G บริเวณที่ตั้งสำนักงานเคหะชุมชนดินแดง 1 อยู่หัวมุมถนนดินแดงตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต จะสร้างเป็นอาคาร 25 ชั้น มีที่อยู่อาศัย 334 หน่วย มูลค่าลงทุน 614 ล้านบาท เมื่อสร้างเสร็จจะเริ่มย้ายผู้อยู่อาศัยเดิม คือ แฟลต 18-20 และ 21-22 รวม 5 อาคาร 280 หน่วย ใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน

    ก่อนหน้านี้ กคช.ได้สอบถามความเห็นผู้อยู่อาศัยในแฟลตดินแดงเกี่ยวกับการพัฒนาแฟลตดินแดง 5,846 ราย มีความเห็นต้องการให้พัฒนาแฟลตดินแดง 69% และในวงเสวนาวันนี้ ผู้อยู่อาศัยที่ร่วมฟังเสวนา เสนอความเห็นให้ กคช.เร่งรัดการพัฒนา เพราะสภาพอาคารของแฟลตเสื่อมลง และอาจเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย

    วันนี้ กคช.ได้เปิดให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนดินแดง ชมห้องตัวอย่างของโครงการใหม่ขนาด 33 ตารางเมตร ที่มีการตกแต่งแล้ว มีการแบ่งสัดส่วน ระหว่าง ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขกออกอย่างชัดเจน



    บ้านเคหะประชารัฐ กคช.คัดบ้านเอื้ออาทรเข้าร่วมบ้านประชารัฐ



    ปัดฝุ่นบ้านเอื้ออาทรแปลงโฉม "เคหะประชารัฐ"



    นายจักรกฤศฏ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้มี 6 บริษัท ยื่นเสนอก่อสร้างโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ ได้แก่ โครงการบนที่ราชพัสดุในพั้นที่กรุงเทพฯ 2 แปลง เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท เช่าอยู่ระยะสั้น 5 ปี อัตราค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท

    โครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ บนที่ราชพัสดุในจังหวัดเชียงใหม่ 1 แปลง และจังหวัดเพชรบุรี 2 แปลง เพื่อให้ซื้ออยู่ตลอดชีพ สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ในราคาไม่เกิน 1,000,000 บาท และต้องเป็นบ้านหลังแรก จะได้กรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย และสิทธิ์เช่าที่ดินราชพัสดุ 30 ปี ในอัตราค่าเช่าตารางวาละ 1 บาท ต่อเดือน หลังจากนั้นจึงเป็นสัญญาเช่าที่ราชพัสดุปีต่อปี

    สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาบริษัทที่จะได้รับสิทธิ์ก่อสร้างโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ จะเลือกบริษัทที่เสนอโครงการราคาเหมาะสม มีคุณภาพ มีแผนการก่อสร้างและการบริหารจัดการหลังการขายดี ซึ่งจะรู้ผลภายใน 2 สัปดาห์ และจะเริ่มการก่อสร้างได้ในปีหน้า

    ผู้สนใจสามารถยื่นแจ้งความจำนงได้ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสินทุกสาขา ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ถ้ามีผู้สนใจเกินจำนวนบ้าน ก็จะใช้วิธีจับสลาก

    ส่วนพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย 1 แปลง ยังไม่มีบริษัทใดสนใจเสนอก่อสร้างโครงการ เพราะที่ดินอยู่ห่างไกล จึงอาจใช้พื้นที่ดังกล่าวสนับสนุนผู้มีรายได้น้อย และใช้ประโยชน์ของทางราชการต่อไป



    หลังจากที่ การเคหะแห่งชาติ ได้คัดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐ จำนวน 221 โครงการ 22,884 หน่วย แบ่งเป็น โครงการบ้านพร้อมอยู่ 161 โครงการ จำนวน 9,543 หน่วย ราคาขายอยู่ระหว่าง 300,000 – 700,000 บาท และโครงการบ้านที่อยู่ระหว่างก่อสร้างพร้อมอยู่ภายใน 18 เดือนอีก 60 โครงการ กว่า 13,000 หน่วย ราคาตั้งแต่ 480,000 – 740,000 บาท โดยเปิดให้ประชาชนจองซื้อไปแล้วนั้น

    ปรากฏ ว่ามีผู้จองซื้อบ้านประชารัฐทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั้งสิ้น 8,537 หน่วย ส่วนใหญ่จองซื้อ บ้านที่อยู่ระหว่างก่อสร้างพร้อมอยู่ภายใน 18 เดือน ถึง 7,328 หน่วย ส่วนบ้านพร้อมอยู่มีผู้จอง 1,209 หน่วย

    พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พอใจกับการจองซื้อบ้านของประชาชนในช่วง 10 วันที่เปิดให้จองซื้อ ซึ่งจากนี้ไปจะพิจารณาจัดทำโครงการบ้านในทำเลที่ประชาชนต้องการสูงเพิ่มเติม และยังมีแผนก่อสร้างโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุดที่ 1 ปี 2560 เพื่อรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาคอีก 32 โครงการกว่า 10,000 หน่วย
     
    Last edited: 19 Jul 2016
  23. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรมธนารักษ์ลงนามในสัญญาเช่าโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ กับ 3 บริษัท ที่ชนะการประมูล ประกอบด้วยบริษัท อารียาพรอพเพอร์ตี้ บริษัท ปักกิ่งเออร์บัน คอนสตรัคชั่นยาไถ่ และบริษัท กลอลี่ แมเนจเมนท์

    นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ ระบุว่า วันที่ 19 สิงหาคมนี้ เป็นวันแรกที่เปิดให้ประชาชน และข้าราชการผู้มีรายได้น้อย ได้จองบ้านธนารักษ์ 4 แห่ง

    บ้านธนารักษ์ประชารัฐ จะอยู่ในแขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 2 โครงการ ดำเนินการโดยบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) รูปแบบอาคาร 8 ชั้น 2 อาคาร รวม 432 ห้อง และ บริษัท ปักกิ่ง เออร์บัน-คอนสตรัคชั่น ยาไถ่(ไทย) คอนสตรัคชั่น กรุ๊ป รูปแบบอาคาร 8 ชั้น 2 อาคาร รวม 350 ห้อง

    เป็นโครงการสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐรายได้ไม่เกิน 2 หมื่นบาท เช่าในระยะสั้นเพื่ออยู่อาศัย 5 ปี จ่ายค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 4 พันบาท

    ส่วนอีก 2 โครงการเปิดเช่าระยะยาวหรือซื้อเบ็ดเสร็จอยู่ได้ตลอดชีพ อยู่ในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีบริษัท กลอรี่ แมนเนจเมนท์ จำกัด ดำเนินโครงการทั้ง 2 โครงการ เป็นรูปแบบทาวเฮ้าส์ 2 ชั้น ราคา 690,000-710,000 บาท

    ประชาชน สามารถจับจองได้ที่งานนิทรรศการประจำปีของกรมธนารักษ์ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หรือที่เว็บไซด์กรมธนารักษ์ โดยประชาชนที่มาก่อนจะมีสิทธิ์ก่อน

    ส่วนก่อสร้าง บริษัทผู้รับเหมาทั้ง 3 แห่ง ยืนยันว่า จะสามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี และสามารถเปิดให้บริการได้ในเวลาที่กำหนด



    คณะรัฐมนตรี อนุมัติงบประมาณกว่า 3 หมื่น 5 พันล้านบาท ฟื้นฟูชุมชนแฟลตดินแดง ตามแผนแม่บทโครงการก่อสร้างระหว่างปี 2559 - 2567 คาดจะเริ่มก่อสร้างเฟสแรกในเดือนตุลาคมนี้ โดยในเฟสแรกจะใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน



    ปชช.-ขรก.แห่เข้าแถวลงทะเบียนเพื่อจองสิทธิ์"บ้านธนารักษ์ประชารัฐ"วันแรกเพียบ เบื้องต้นเปิดจอง 1,442 หน่วย

    บรรยากาศการเปิดให้ลงทะเบียนโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ วันแรกวันนี้ มีประชาชนและข้าราชการผู้มีรายได้น้อยจำนวนมาก มาลงทะเบียนกันเป็นจำนวนมาก แต่ภายในงานมีความสับสนเกิดขึ้น เนื่องจากโครงการที่เปิดจองในกรุงเทพฯ จำนวน 2 โครงการ คอนโดมิเนียม คือ บริเวณถนนพหลโยธิน ตรงข้ามวัดไผ่ตัน ของบริษัท อารียา แมนเนจเมนท์ ผู้ชนะประมูลงานออกแบบพัฒนาพื้นที่ และบริเวณโรงกษาปณ์เก่า ถนนประดิพัทธ์ ของบริษัท ปักกิ่ง เออร์บัน คอนสตรัคชั่น ยาไถ๋ (ไทย) คอนสตรัคชั่น กรุ๊ป รวมจำนวนทั้งสิน 782 ยูนิต ที่เป็นโครงการเช่าระยะสั้น 5 ปี เป็นสิทธิ์ให้สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐและข้าราชการที่มีรายได้เดือนละไม่เกิน 20,000 บาทเท่านั้น จึงเกิดความไม่เข้าใจของประชาชนทั่วไปขึ้น

    ด้านนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ ระบุว่า การก่อสร้างบ้านธนารักษ์ประชารัฐจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปี 2561 เชื่อว่า จะได้รับความสนใจจากประชาชนและข้าราชการ เพราะมีราคาถูกและวัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นเกรดพรีเมียม ซึ่งถ้าหากความต้องการบ้านธนารักษ์เกินความปริมาณที่มีอยู่ กรมฯเตรียมจะเร่งหาพื้นที่ราชพัสุดอื่น เพื่อมาก่อสร้างบ้านธนารักษ์เพิ่มเติม โดยยอมรับว่า ขณะนี้มีประชาชนที่ต้องการบ้านธนารักษ์ในกรุงเทพฯจำนวนมาก เพราะเป็นหัวเมือง โดยขณะนี้กรมฯได้เตรียมดำเนินการโครงกาาบ้านธนารักษ์ประชารัฐ เฟส 2 ต่อทันทีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา คาดว่าจะได้ข้อสรุปเดือนกันยายน

    สำหรับ 2 โครงการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ จะเป็นการระยะสั้น 5 ปี ราคาเช่า 4,000 ต่อเดือน โดยเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับสิทธิ์จะต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน โดยเมื่อครบ 5 ปี จะให้ผู้เช่าใหม่เข้ามาเช่าต่อ นอกจากนี้ในงานยังเปิดให้จองทาวน์เฮ้าส์ใน อำเภอหัวหิน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 2 โครงการ ของบริษัท กลอรี่ แมนเนจเมนท์ ชนะประมูลออกแบบ 2 แปลง อีก 660 ยูนิต โดยเปิดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไปเช่าระยะยาวได้เป็นเวลา 30 ปี โดยโครงการแรก ราคาซื้อต่ำสุด 690,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่วนโครงการที่ 2 ราคาเริ่มต้น 710,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท

    สำหรับการจองโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ เปิดให้จองในนที่ 19-21 สิงหาคม 2559 โดยใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวในการจอง และใช้เกณฑ์มาก่อนมีสิทธิ์ก่อน ยื่นเอกสารได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. และธนาคารออมสิน หรือจองผ่านเว็บไซต์ treasury.go.th ส่วนประชาชนที่เคยยื่นเอกสารกับธนาคารพาณิชย์ เจ้าหน้าที่ธนาคารจะคีย์ข้อมูลให้ในวันที่ 19 สิงหาคมเช่นกัน



    พื้นที่คลองหนึ่ง มีประชาชนก่อสร้างบ้านเรือนรุกล้ำริมคลองกว่า1,400ครัวเรือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก้ปัญหาโดยการจัดสรรพื้นที่กว่า30ไร่สร้างเป็นอาคารสูงและบ้านมั่นคงให้ประชาชนได้อยู่อาศัยภายใต้โครงการปทุมธานีโมเดล



    กรุงเทพฯ 21 ส.ค. – วันสุดท้ายของการเปิดจองโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ มีข้าราชการ ลูกจ้างรัฐให้ความสนใจจองสิทธิ์ ทำให้ยอดการลงทะเบียนทะลุเป้าหมาย. –สำนักข่าวไทย
     
    Last edited: 9 Sep 2016
  24. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    การเคหะฯ เปิดโฉมการพัฒนาแฟลตดินแดงรูปแบบใหม่ประเดิมแปลง G หัวมุมถนนวิภาวดี-รังสิต ตัดกับ ถนนอโศก-ดินแดง เป็นอาคารสูง 28 ชั้น เข้าอยู่ได้เมษายน 2561

    รองผู้ว่าการรักษาการแทนผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ อุบลวรรณ สืบยุบล เปิดเผยว่า โครงการฟื้นฟูแฟลตดินแดงนี้จะมีด้วยกันทั้งหมด 4 ระยะ ใช้เวลาดำเนินการ 8 ปี ซึ่งจะมีทั้งการรองรับผู้อยู่อาศัยเดิมและใหม่รวมแล้ว 20,292 หน่วย วงเงิน 35,754 ล้านบาท

    โดยระยะแรก จะก่อสร้างอาคารพักอาศัยบริเวณแปลง G หัวมุมถนนวิภาวดี-รังสิต ตัดกับ ถนนอโศก-ดินแดง เป็นอาคารสูง 28 ชั้น วงเงิน 461 ล้านบาท จำนวน 334 หน่วย เริ่มก่อสร้าง ก.ย.2559 - 2561

    โดยเป็นผู้อยู่อาศัยเดิมที่ปัจจุบันอยู่ในแฟลตที่ 18-22 ประมาณ 280 หน่วย ส่วนที่เหลือเพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยใหม่จะเริ่มสร้างในปีนี้ และคาดว่าจะเข้าอยู่อาศัยได้ในปี 2561 เดือน เมษายน ซึ่งหากดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจะทยอยขนย้ายผู้อยู่อาศัยเดิมให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะเริ่มก่อสร้างระยะที่ 2 โดยผู้ที่จะขนย้าย รัฐบาลได้อนุมัติค่าขนย้ายหน่วยละ 10,000 บาท แต่หากย้ายออกจากแฟลตดินแดงไปอยู่ที่อื่นจะให้ค่าขนย้ายหน่วยละ 400,000 บาท

    สำหรับอัตราค่าเช่าถ้าผู้อยู่อาศัยเดิมจะต้องจ่ายค่าเช่า 1,265 - 4,303 บาท/เดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 300-3,000 บาท/เดือน แต่เป็นการเพิ่มขึ้นจากส่วนของการบริหารจัดการสาธารณูปโภค ส่วนผู้อยู่ใหม่จะต้องเสียค่าเช่า 6,546 บาท/เดือน



    การเคหะแห่งชาติเตรียมพร้อมเดินหน้าโครงการฟื้นฟูแฟลตดินแดง หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนแม่บท 8 ปี รวมทั้งอนุมัติให้ดำเนินการระยะแรก โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในเดินตุลาคมนี้ ติดตามได้จากรายงานจากคุณพิชานัน อินโปธา



    ข่าว 7 สี - ชาวแฟลตดินแดง ที่พอใจจะได้ขึ้นที่อยู่อาศัยใหม่ เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม.

    กลุ่มชาวแฟลตดินแดงประมาณ 70 คน ไปชูป้ายขอบคุณกระทรวง พม. ที่ผลักดันโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง และคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนก่อสร้างอาคารจี หัวมุมถนนวิภาวดีรังสิต หลังโครงการฟื้นฟูหยุดชะงักมา 16 ปี

    ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. เชื่อมั่นว่า คุณภาพชีวิตของชาวแฟลตดินแดงจะดีขึ้น ตึกสูงแปลง G ที่จะก่อสร้าง 28 ชั้น จำนวน 334 ห้อง คาดว่าจะแล้วเสร็จ อีก 1 ปีครึ่ง และย้ายผู้อยู่อาศัยเดิม เข้าอยู่ได้ในเดือนเมษายน 2561 คิดอัตราค่าเช่าเดิม แต่เพิ่มค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง และค่าภาษีโรงเรือน

    อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้อยู่อาศัยรายใหม่ การกำหนดค่าเช่าและค่าเช่าเซ้ง 1.7 ล้านบาท เป็นเวลา 30 ปี ยังไม่ตกผลึก สามารถเปลี่ยนแปลงได้



    กระทรวงการคลัง พร้อมด้วยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย ร่วมลงนามความร่วมมือแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดรุกล้ำลำน้ำสาธารณะในจังหวัดปทุมธานี บริเวณคลองหนึ่ง รวม 16 ชุมชน จำนวน 1,433 ครัวเรือน

    โดยแนวทางแรก รัฐบาลจะใช้ที่ดินราชพัสดุริมคลองเชียงรากใหญ่ เนื้อที่ 30 ไร่ ปลูกอาคารที่อยู่อาศัย 2-3 ชั้น พื้นที่ห้องละประมาณ 24-26 ตารางเมตร รองรับได้ 275 ครัวเรือน ตามโครงการสร้างบ้านมั่นคง 1 ชุมชน 1 อาคาร รองรับผู้อยู่อาศัยได้ 11 ชุมชน สามารถเข้าอยู่ได้ในปีหน้า และในเดือนกรกฎาคมปีหน้า จะก่อสร้างโครงการระยะที่ 2 โดยให้สิทธิ์เช่า 30 ปี ค่าเช่าปีละกว่า 1,000 บาท ตามขนาดพื้นที่ห้อง คิดอัตราเช่าที่ดินราชพัสดุปกติ 1.50 บาทต่อตารางเมตร

    ส่วนแนวทางที่ 2 รัฐบาลจะช่วยหาที่ดินใหม่ ให้ชาวบ้านปลูกสร้างที่อยู่อาศัยเอง โดยรับเงินสนับสนุนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผ่านสหกรณ์ชุมชน ไม่เกินครัวเรือนละ 300,000 บาท ผ่อนชำระ 15 ปี ดอกเบี้ย 4% ต่อปี และได้เงินช่วยเหลือพัฒนาระบบสาธารณูปโภค อีกไม่เกินครัวเรือนละ 50,000 บาท และเงินช่วยเหลือ เพื่อใช้ซื้อที่ดินหรือบ้านใหม่สำหรับอาศัยอีกครัวเรือนละ 25,000 บาท

    ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า โครงการปทุมธานีโมเดล จะเป็นต้นแบบช่วยลดปัญหาการย้ายออกจากพื้นที่รุกล้ำ ส่วนสิทธิประโยชน์ต่างๆ จะพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

    สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินไปแล้วที่คลองลาดพร้าว 64 ชุมชน รวมกว่า 6 ครัวเรือน และที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 10 ชุมชน และจะเปิดโครงการในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ ส่วนที่ต่างจังหวัดได้ดำเนินการที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นแล้ว



    ปทุมธานีโมเดล เป็นแผนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยของกรมธนารักษ์ ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะของชุมชน ซึ่งปทุมธานีโมเดลจะถูกนำมาใช้เป็น 1 ในตัวอย่างของการออกแบบโครงการที่อยู่อาศัยร่วมกันระหว่างชุมชนกับภาครัฐ หรือ บ้านมั่งคง เพื่อให้เกิดที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน พร้อมกับการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ไปพร้อมกัน โดยชุมชนใหม่แห่งนี้สามารถรองรับชาวบ้านที่จะย้ายเข้ามาได้กว่า 1,000 ครัวเรือนบนที่ดินขนาด 30 ไร่ ในจังหวัดปทุมธานี
     
    Last edited: 10 ต.ค. 2016
  25. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    นายกรัฐมนตรี หวังเดินหน้าโครงการบ้านมั่นคง ด้วยงบประมาณที่เตรียมไว้ 14,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือ 200 ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา



    จองสิทธิ์บ้านประชารัฐไม่ผ่าน 80% "ธนารักษ์" ชง ครม.ผ่อนปรนเกณฑ์รายได้เหลือ 4 หมื่นบาทต่อครัวเรือน



    โครงการฟื้นฟูชุมชนเมืองแฟลตดินแดง อาคารใหม่ที่กำลังจะเริ่มสร้างเป็นอาคารแรกเตรียมวางศิลาฤกษ์วันที่ 19 ธันวาคมนี้ และจะเริ่มก่อสร้างทันที เสียงสะท้อนจากชาวชุมชนแฟลตดินแดงเดิมจะรู้สึกอย่างไร



    โครงการบ้านประชารัฐริมคลอง ปรับสภาพชุมชนแออัดริมคลอง ให้กลายเป็นบ้านหน้าอยู่ ผู้สื่อข่าวของเราลงพื้นที่ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54 ชุมชนต้นแบบของโครงการที่สร้างเสร็จแล้ว และ ประชาชนได้รับทะเบียนบ้านเป็นของตนเองเป็นครั้งแรก

    บ้านในโครงการบ้านประชารัฐริมคลอง ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54 ที่สร้างเสร็จแล้ว และผู้อยู่อาศัยได้รับมอบ ทะเบียนบ้านไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560

    ย้อนกลับไปในปี 2558 ชุมชนบริเวณนี้ เคยเป็นชุมชนแออัด อยู่กันแบบเบียดเสียด จนกระทั่งรัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงพื้นที่บริเวณนี้ให้ประชาชนได้มีบ้านที่มั่นคงและภูมิทัศน์ริมคลองมีความสวยงาม ภายใต้โครงการ บ้านประชารัฐริมคลอง

    ทว่าในช่วงแรก ชาวชุมชนก็มีการต่อต้าน แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีการพูดคุยกันมากยิ่งขึ้นระหว่างหน่วยงานรัฐและชาวชุมชน จนสามารถตกลงกันได้เป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย ทำให้ในเดือนมีนาคม ปี 2559 เจ้าหน้าที่ได้เริ่มทำการรื้อถอนชุมชนแออัดทิ้ง และทำการก่อสร้างบ้านที่มีความมั่นคงขึ้นมาใหม่

    โดยให้สิทธิ์ผู้อยู่อาศัยในชุมชนเดิม ทำสัญญากู้ซื้อบ้าน ในราคาต่ำ และให้ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ ถึง 15 ปี รวมทั้งทำสัญญาเช่าที่ดินของกรมธนารักษ์เป็นระยะเวลา 30 ปี

    สำหรับโครงการ บ้านประชารัฐริมคลองนี้ มีระยะเวลา 3 ปี เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2561 มีเป้าหมายปรับปรุง 52 ชุมชน จำนวน 7,081 ครัวเรือน ใช้งบประมานรวมกว่า 4,061 ล้านบาท

    บ้านในโครงการ มี 3 แบบ คือ บ้านเดี่ยว 1 ชั้น ขนาด 4*6 เมตร ราคา 186,910 ผ่อนชำระเดือนละ 1,287 บาท บ้านแถว 2 ชั้น ขนาด 4*6 เมตร ราคา 257,586 บาท ผ่อนชำระเดือนละ 1,854 บาท บ้านแถว 2 ชั้น ขนาด 6*6 เมตร ราคา 369,142 บาท ผ่อนชำระเดินละ 2,537 บาท

    สุมาลี ปรีดา และ วิภาดา อรรคสุธิกุล ชาวชุมชนที่อยู่อาศัยในชุมชนแห่งนี้มานานกว่า 30 ปี เล่าถึงความดีใจที่ได้รับบ้านใหม่ว่า บ้านใหม่นี้ทำให้ชีวิตเธอดีขึ้น และเป็นบ้านที่มีความมั่นคง สวยงาม ชุมชนก็หน้าอยู่ขึ้น ซึ่งถือว่าคุ้มค่ากับการเปลี่ยนแปลง

    สุมาลี และ วิภาดา เล่าให้ทีมข่าวฟังอีกว่า ถึงแม้ในช่วยแรกจะมีกระแสต่อต้านจากชาวบ้านบ้างเนื่องจากไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะทำตามที่พูดไว้ จนกระทั้งวันที่ต้องรื้อบ้านก็ยังมีความสงสัย แต่ผ่านมา 1 ปี รัฐก็ได้ทำให้เห็นว่าจริงจังกับโครงการ และได้พัฒนาพื้นที่จนเป็นบ้านที่หน้าอยู่ให้กับชาวชุมชน

    ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบูรณ์ 54 นี้ถือเป็นชุมชนต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวชุมชนซึ่งเคยอยู่อาศัยในชุมชนแออัดมาก่อน แต่ตอนนี้ได้มีบ้านมั่นคงเป็นของตัวเองแล้ว
     
    Last edited: 6 Feb 2017

Share This Page