รัฐบาลกับปัญหาคลองระบายน้ำใน กทม.

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Ricebeanoil, 14 Jan 2016

  1. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรุงเทพฯ 11 ม.ค.-หลายหน่วยงานพยายามจัดการแก้ปัญหาชุมชนที่สร้างบ้านเรือนรุกล้ำคลองลาดพร้าวมานานหลายสิบปี แต่ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม แต่หลัง คสช. เข้ามา แนวโน้มจะสำเร็จได้ภายใน 3 ปี

    ชุมชนสะพานไม้ 2 หนึ่งใน 2 ชุมชนที่ชาวบ้านค่อยๆ ทยอยรื้อถอนบ้านที่อยู่มาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี บนคลองลาดพร้าวออก หลัง คสช. เดินหน้าเอาจริงกับการก่อสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมตลอด 2 ฝั่งคลองลาดพร้าว 22 กิโลเมตร หลังจากที่ผ่านมา กทม. และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พยายามแก้ปัญหาการรุกล้ำมาเกือบสิบปี

    ปีที่ผ่านมา คสช. สั่งตรงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือเต็มที่ ตลอดปีได้อธิบายทำความเข้าใจถึงความจำเป็นและได้รับความร่วมมืออย่างดี ขณะนี้ยอมรื้อออกแล้ว 2 ชุมชน และเริ่มสร้างบ้านมั่นคงให้อยู่ทดแทนเป็นลักษณะห้องแถว หนึ่งและสองชั้น ขนาดหน้ากว้าง 4 คูณ 7 เมตรแล้ว ภาครัฐจะช่วยอุดหนุนหลังละ 25,000 บาท พร้อมให้ผ่อนชำระดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลา 15 ปี แต่ยังพบเหลือเพียงร้อยละ 20 เช่น ชุมชนในเขตสายไหม ลาดพร้าว หลักสี่ ไม่ยอมเข้าร่วม หากพูดคุยแล้วยังคงดื้อแพ่ง ต้องดำเนินการทางกฎหมาย

    กทม. และ พม. ตั้งเป้าให้โครงการสร้างเขื่อนคลองลาดพร้าวแล้วเสร็จภายใน 3 ปี ปีนี้ตั้งไว้ 26 ชุมชน ปีต่อไป 28 ชุมชน และปี 2561 อีก 20 ชุมชน รวม 74 ชุมชน 11,004 ครัวเรือน ซึ่งผู้ทำงานในด้านนี้มานานกว่า 12 ปี มองว่าการเข้ามาของ คสช. น่าจะทำให้เรื่องนี้เห็นเป็นรูปธรรมมากกว่าในอดีต แม้จะไม่เชื่อว่าจะสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ใน 3 ปี จะสำเร็จเกินร้อยละ 70 แน่นอน

    ระยะความกว้างของคลองที่ใช้สร้างแนวเขื่อนจะเริ่มตั้งแต่ 25-38 เมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ พม. จะเริ่มลงมือรื้อถอนในเดือนเมษายนนี้ ทั้งในช่วงคลองลาดพร้าวและเปรมประชากร คาดสิ้นปีจะสามารถรื้อได้ออกทั้งหมดตลอดระยะทาง 22 กิโลเมตร เพื่อเปิดทางให้ กทม. ลงเสาเข็มเริ่มการก่อสร้างอย่างเป็นทางการ.-สำนักข่าวไทย
     
    Anduril, อู๋ คาลบี้, bookmarks และอีก 1 คน ถูกใจ.
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  3. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    พอเริ่มจัดการกับชุมชนที่รุกล้ำลำน้ำได้ ตอนนี้ก็รีบเซ็นต์สัญญาสร้างเขื่อนริมคลองรับน้ำท่วมแล้ว

     
    ต้นหอม likes this.
  4. Gop

    Gop อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    24 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    361
    ผมคิดว่าเรื่องทวงคืนทางเท้า ถ้าไม่มี คสช ก็คงเป็นเรื่องยาก ทั้งคลองถม สะพานเหล็ก ท่าพระจันทร์ และอีกหลายๆที่ ที่กำลังตามมา
     
  5. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    เริ่มรื้อถอนกันแล้ว

     
  6. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    เริ่มเข้าก่อสร้างเขื่อนแล้ว

     
    Anduril และ Gop ถูกใจ.
  7. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ตอกเสาเข็มแล้ว



    กทม. เตรียมตอกเสาเข็มสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมคลองลาดพร้าว เริ่มดำเนินการพื้นที่แรก10 ก.พ. นี้
     
    Gop likes this.
  8. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ทำพิธีแล้ววันนี้





    เสาปฐมฤกษ์ต้นแรกเกิดขึ้นจากการจับมือระหว่างกรุงเทพมหานคร กองทัพบก และอีกหลายหน่วยงาน ที่ร่วมกันเข้าไปทำความเข้าใจกับประชาชนในชุมชน ตลอดแนวคลองลาดพร้าว ระยะทาง 8 กิโลเมตร ให้มีจิตสำนึกส่วนรวม จนสามารถเริ่มต้นโครงการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตและประตูระบายน้ำจากคลองลาดพร้าวถึงคลองสอง เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมและกักเก็บน้ำไว้ในช่วงหน้าแล้งได้ในอนาคต

    สำหรับผู้ที่ย้ายออกไป กรุงเทพมหานคร และกระทรวงการพัมนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะช่วยหาที่พักอาศัยถาวรเพื่อให้ประชาชนกว่า 23,000 ครัวเรือน ที่ปลูกบ้านรุกล้ำลำคลอง ได้มีที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น

    ถือเป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำคลองสาธารณะและจัดระเบียบให้แก่ชุมชนริมคลอง ในแนวทางประชารัฐ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างถาวร

     
    Last edited: 19 Feb 2016
  9. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรมธนารักษ์ ประเดิมมอบสัญญาเช่าที่ดินให้ 4 ชุมชน นำร่องคลองลาดพร้าว เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย ตามแผนจัดระเบียบคลองสาธารณะใน กทม.

    นายจักรกฤศฏ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เริ่มมอบสัญญาเช่าที่ดินเพื่อให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบริมคลองใช้พื้นที่พ้นแนวก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม พัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่ โดยไม่ต้องรื้อย้ายออกนอกพื้นที่ โดยมีเงื่อนไขการเช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี อัตราผ่อนปรน ตารางวาละ 1.50 บาทต่อเดือน โดยมีเงื่อนไขให้รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ และเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง เพื่อบริหารจัดการที่ดินและก่อสร้างอย่างเป็นระบบ

    โดยเริ่มโครงการนำร่องจุดแรกริมคลองลาดพร้าว รวม 4 ชุมชน คือ ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ ชุมชนเพิ่มสินร่วมใจ เขตสายไหม และ ชุมชนหลังกรมวิทยาศาสตร์ และ ชุมชนวังหิน เขตจตุจักร จำนวน 343 หลังคาเรือน ตามนโยบายแก้ปัญหารุกล้ำริมคลอง คืนความสุขให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง เพื่อความสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งจะดำเนินการให้ครอบคลุมทั้ง 9 คลองในกทม. พร้อมตั้งเป้าภายใน 3 ปี ตั้งแต่ 2559 ถึง 2561 จะเดินหน้าให้ได้ 74 ชุมชน 11,000 ครัวเรือน มีประชาชนได้รับประโยชน์ รวม 64,000 คน



    กรมธนารักษ์มอบสัญญาเช่าที่ดินให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบ คลองลาดพร้าวเพื่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มต้นด้วยชุมชนนำร่อง 4 แห่งในเขตสายไหมและเขตจตุจักร ระยะเวลาเช่าทั้งหมด 30 ปี ทำให้ประชาชนพอใจที่จะได้บ้านใหม่ และเป็นการเช่าอย่างถูกกฎหมาย หลังจากที่ต้องเผชิญปัญหาถูกไล่รื้อมานาน

    นายจักกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ // ชุมชนเพิ่มสินร่วมใจ เขตสายไหม // และชุมชนหลังกรมวิทยาศาสตร์ เขตจตุจักร เพื่อมอบสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุที่กรมธนารักษ์ดูแลให้กับประชาชนในชุมชน โดยมีมวลชนจากเครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมและชุมชนคูคลองเข้าร่วมประมาณ 300 คน

    การดำเนินการของกรมธนารักษ์ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจัดระเบียบสิ่งก่อสร้างที่รุกล้ำลำน้ำ สาธารณะ และพัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลอง ซึ่งจะมีการสร้างเขื่อนคอนกรีตเพื่อป้องกันน้ำท่วมที่คลองลาดพร้าว ทางกรมธนารักษ์จึงมีนโยบายให้นำที่ดินที่พ้นจากแนวก่อสร้างมาให้ประชาชนเช่า อยู่เป็นเวลา 30 ปี ในอัตราตารางวาละ “หนึ่งบาทห้าสิบ” ต่อเดือน ภายใต้โครงการบ้านมั่นคง

    โดยชุมชนที่ร่วมโครงการตามเส้นทางคลองลาดพร้าวมีทั้งหมด 9 ชุมชน จะต้องจัดตั้งกลุ่มออกทรัพย์เพื่อเป็นทุนสร้างบ้าน เนื่องจากพื้นที่แต่ละชุมชนมีจำกัดจึงต้องรื้อออกและสร้างใหม่ทั้งหมด

    สำหรับการแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยการขยายพื้นที่คลองในครั้งนี้ เป็นโครงการที่มีการวางแผนมานาน ซึ่งก่อนหน้านี้ชาวบ้านตามชุมชนคลองลาดพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เนื่องจากไม่มีการเจรจาพูดคุยทำความเข้าใจให้ชัดเจนระหว่างรัฐบาลกับชาวบ้าน กระทั่งมีทางออกเรื่องการเช่าที่ราชพัสดุออกมา และเดินหน้าจนมีการลงนามในสัญญากันจริง ชาวบ้านจึงรู้สึกเชื่อมั่นมากขึ้น เพราะได้รับที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมาย และหลังจากนี้จะเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการสร้างตลาดน้ำเพื่อการท่อง เที่ยวและสร้างรายให้กับคนในชุมชนต่อไป



    การแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีความมั่นคงในชีวิต ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ล่าสุด เร่งดำเนินการทั้งในส่วนของโครงการบ้านมั่งคง และ โครงการบ้านประชารัฐ

    ในส่วนของโครงการบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำมาใช้แก้ไขปัญหาการปลูกบ้านรุกล้ำริมคลองต่างๆทั้ง 9 คลองที่อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีมากถึง 100 ชุมชน หรือ กว่า 67,800 ครัวเรือน โดยการแก้ไขปัญหาใช้วิธีดึงภาคประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าดำเนินโครงการนำร่องให้ได้ 26 ชุมชน หรือ 3,800 ชุมชน

    นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีโครงการบ้านประชารัฐ โดยที่ประชุม ครม.วันนี้ จะพิจารณาอนุมัติโครงการเพื่อให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้ผู้มีรายได้น้อย วงเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 70,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ธนาคารกรุงไทย เพื่อช่วยให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

    นอกจากนี้ มีรายงานว่ากระทรวงคมนาคม จะเสนอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการผ่านทาง บนถนนทางหลวงพิเศษ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนนี้ และ กระทรวงวัฒธรรม จะขอความเห็นชอบการจัดงานประเพณีสงกรานต์ เที่ยวอย่างรู้คุณค่า โดยไม่ห้ามเล่นน้ำสงกราต์แต่ให้คำนึกถึงความเหมาสะสมในแต่ละพื้นที่

    ส่วนเรื่องการประหยัดไฟฟ้า ก่อนเข้าประชุม ครม.วันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมรณรงค์แคมเปญ "ปิดไฟ 1 ชั่วโมง ให้โลกพัก" ตั้งแต่ 20.30-21.30 น.วันที่ 19 มีนาคมนี้ เป็นเวลา 1 ชั่วโมงด้วย



    ข่าว 7 สี - กองทัพบกร่วมกับหน่วยงานรัฐ เปิดเวทีชี้แจงโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองลาดพร้าวเพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำและป้องกันอุทกภัยตามนโยบาย คสช.

    กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ และหน่วยงานรัฐ เปิดเวทีดังกล่าวที่ชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านดอนเมืองเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองลาดพร้าวซึ่งเป็นการปรับปรุงบูรณะแหล่งน้ำคูคลองต่างๆให้มีประสิทธิภาพในการกับเก็บและระบายน้ำ ป้องกันภัยแล้งและอุทกภัยในระยะยาว

    โดยจำเป็นต้องย้ายชาวบ้านที่บุกรุกพื้นที่ริมคลองรวม 368 ครัวเรือนไปในพื้นที่ที่จัดสรรเป็นที่พักอาศัยใหม่ของกรมธนารักษ์ประมาณ 32 ไร่ ในรูปแบบบ้านมั่นคงโดยใช้งบประมาณราว 28 ล้านบาท

    อย่างไรก็ตาม ยังติดปัญหาการเจรจาเรื่องแบ่งปันที่ดิน ที่ต้องจัดสรรใหม่ระหว่างชาวบ้านกลุ่มที่ถูกโยกย้ายกับชาวบ้านในพื้นที่เดิมจึงจะมีการทำความเข้าใจกันอีกครั้งเพื่อให้ชาวบ้านตกลงและแบ่งปันพื้นที่โดยไม่ต้องใช้กฎหมายบังคับหลังจากโครงการต้องล่าช้าออกไปจากเดิมที่กำหนดเดินหน้าในเดือนเมษายนนี้



    การก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมใยเหล็กคลองลาดพร้าว เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังใน กทม. คืบหน้าไปกว่า 20% แล้ว

    การก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมใยเหล็ก และประตูระบายน้ำคลองลาดพร้าว ,คลองบางบัว ,คลองถนน ,คลองสอง และคลองบางซื่อ จากบริเวณเขื่อนเดิมอุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า - รามคำแหงไปทางประตูระบายน้ำ คลองสองสายใต้ ความยาว 22 กิโลเมตร เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ ช่วง 8 กิโลเมตรแรก คืบหน้าไปกว่า 20% แล้ว

    ส่วนปัญหาหารการรื้อย้ายชุมชนที่อยู่ในแนวสร้างเขื่อนนั้นจะให้จัดตั้งสหกรณ์ขึ้น เพื่อเช่าพื้นที่ของกรมธนารักษ์ สำหรับใช้ก่อสร้างที่พักอาศัยในบริเวณที่ใกล้กับสถานที่อยู่เดิม
     
    Last edited: 2 Aug 2016
  10. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ปทุมธานี 21 ส.ค. – มาตรการจัดระเบียบริมคลองสาธารณะ ทำให้หลายชุมชนกังวลใจไม่อยากย้ายที่อยู่ แต่สำหรับ “แก้วนิมิตร ชุมชนริมคลองหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี กลับไม่เป็นเช่นนั้น และยังพร้อมที่จะย้ายออกด้วย. –สำนักข่าวไทย



    รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 2,500 ล้านบาท สั่ง กทม. รื้อระบบระบายน้ำ 11 จุดอ่อนไหวน้ำท่วมขังบนถนนสายหลัก

    โดย 11 จุดอ่อนไหวที่ระบายน้ำไม่ทันเมื่อฝนตกหนัก ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ถนนสุขุมวิท 7 จุด รวมถึงถนนพหลโยธิน บริเวณแยกเกษตรศาสตร์ และถนนเยาวราชเป็นต้น โดยโครงการนี้จะใช้ลักษณะการดันท่อคอนกรีต ขยายกว้างกว่าเดิมหนึ่งเท่าตัว จากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.8 เมตร เป็น 1.5–2 เมตร ซึ่งจะดันท่อให้ลึกลงไปจากผิวจราจร 5–6 เมตร เพื่อหลบแนวท่อสาธารณูปโภค หลีกเลี่ยงปัญหาจราจรติดขัด

    โดยรองปลัดกทม. ระบุว่าโครงการนี้จะเริ่มก่อสร้างต้นปี 2560 โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1-2 ปี คาดว่าจะสามารถขยายอัตราระบายน้ำเมื่อฝนตกหนัก จากเดิมอยู่ที่ 60 มิลลิเมตร เป็น 120 มิลลิเมตร ครอบคลุมพื้นที่การระบายน้ำทั่ว กทม. ถึง 26 ตร.กม. ส่วนการระบายน้ำ จะผันลง 3 คลองหลัก ทั้งคลองแสนแสบ คลองไผ่สิงโต และคลองบางนา



    บ่อยครั้งที่ฝนตกใน กรุงเทพ มักเกิดน้ำท่วงขัง และต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าจะระบายน้ำ จึงเกิดคำถามถึงโครงสร้างระบายน้ำ กทม. ที่มีอุโมงค์ยักษ์ ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ติดตามรายงานจากคุณทินณภพ พันธะนาม

    น้ำท่วมขังรอการระบายบนถนนและชุมชนในกรุงเทพ เกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเป็นภาพชินตา หลังมีฝนตกติดต่อกันหลายชั่วโมง จนมีปริมาณน้ำสะสมมากกว่า 60 มม. สะท้อนถึงปัญหาการระบายน้ำ ใน กทม.อย่างเห็นได้ชัด ... อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่จึงตกเป็นที่จับตาดูถึงการระบายน้ำ

    ผู้อำนวยการระบายน้ำ กทม. ยอมรับว่าโครงสร้างการระบายน้ำเดิมทีมีปัญหา เพราะถูกออกแบบไว้กว่า20ปี ที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศอากาศเปลี่ยนไป ทำให้กรุงเทพมหานคร เกิดน้ำขังอยู่บ่อยครั้ง จึงต้องพัฒนารูปแบบระบายน้ำใหม่ให้มีประสิทธิภาพ เช่นการสูบน้ำด้วยอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ ที่ถูกวางไว้ถึง 4 จุด

    ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ตั้งข้อสังเกตถึงแนวทางการระบายน้ำ กทม.ว่ายังมีจุดอ่อนหลายจุด เช่น การสร้างถนนสูงกว่าชุมชน การรับน้ำหลากจากภาคเหนือและการผันน้ำลงอ่าวไทยที่ถูกออกแบบไว้ให้ระบายกว่า 300ล้านลบ.ม./ วัน แต่ใช้เพียง 15 ล้านลบ.ม./ การติดตั้งเครื่องและเรือผลักดันน้ำในจุดเสี่ยงยังไม่ครบตามแผนปี55 และวางระบบกำจัดน้ำเสียขวางคลองระบายน้ำหลายแห่ง รวมถึงการป้อนน้ำเข้าอุโมงค์ยักษ์ เช่นอุโมงค์พระราม9 ที่ถูกใช้เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ของมวลน้ำที่สามารถระบายน้ำถึง 60 ลบ.ม.ต่อวินาที จึงทำให้กรุงเทพ มีความเสี่ยงน้ำท่วมขังและระบายได้ช้า

    โครงสร้างการระบายน้ำใหม่ที่วางถูกไว้ ทั้งอุโมงค์ยักษ์ ขยายท่อใต้ถนนสายหลัก 11 จุด ให้กว้างขึ้นถึง 2 เมตร กักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่แก้มลิงอีก 21 แห่ง โดยมีประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ กว่า 176 แห่ง ช่วยเร่งผันน้ำจากคลองลงแม่เจ้าพระยา นับว่าเป็นโครงสร้างระยะยาวที่น่าจับตามองคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี2562 .. แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบายน้ำระยะสั้นช่วงหน้าฝนและรับมือน้ำหลากจากภาคเหนือ จะเกิดประสิทธิภาพได้ ต้องอาศัยการขุดลอกคูคลอง การจำกัดขยะ จัดระเบียบพื้นที่รุกล้ำเส้นทางน้ำ รวมถึงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำกว่า 20 จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังซ้ำซาก ทั่วกรุงเทพมหานคร สุทธิพงษ์ ศรีอักษร ถ่ายภาพ ทินณภพ พันธะนาม เนชั่นทีวี รายงาน



    ข่าว 7 สี - ช่วงนี้จะมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ไปดูการรับมือการแก้ปัญหาน้ำท่วมกัน ซึ่งเทคนิคการขยายท่อระบายน้ำของ กทม.นั้นจะถูกนำมาใช้กับพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมขัง รับมือฝนถล่มกรุงที่จะเริ่มขึ้นปลายเดือนกันยายนนี้ ติดตามจากรายงาน



    การออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 9/2560 เพื่อปลดล็อคอุปสรรคปัญหาต่างๆ ในการเดินหน้าโครงการจัดระเบียบคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากรนั้น แม้จะได้รับการขานรับจากชุมชนริมคลองลาดพร้าว แต่จากการลงพื้นที่ของ "ทีมพิกัดข่าว NOW26" ยังพบความกังวลของประชาชนสองฝั่งคลอง

    การจัดระเบียบคลองลาดพร้าว เป็นโครงการนำร่องโครงการแรกในการสร้างเขื่อนระบายน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะทำทั้งหมด 9 คลอง ตลอดระยะเวลาประมาณ 4 ปี มีความพยายามในการตกลงกันเพื่อแบ่งเขตพื้นที่ และวางแผนในการสร้างที่อยู่ใหม่ ซึ่งชาวบ้านริมคลองบางส่วนไม่เห็นด้วย เพราะเหลือพื้นที่ให้ชาวบ้านน้อยเกินไป จนกระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 9/2560 เพื่อปลดล็อคอุปสรรคปัญหาต่างๆ เพื่อให้โครงการนี้เดินหน้าอย่างเดียวเท่านั้น

    จากการสำรวจความเห็นของชุมชนริมคลองลาดพร้าว พบความกังวลของชาวบ้านหลักๆ 2 ประการ คือ การขนทรัพย์สินทั้งหมดออกจากบ้านเดิม แต่ไม่มีสถานที่เก็บทรัพย์สินเหล่านั้น ซึ่งภาครัฐยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เลย และยังไม่มีข้อเสนอที่ทำให้ชาวบ้านคลายกังวลได้ รวมถึงเรื่องเงินชดเชยที่จะได้รับเพื่อไปเช่าที่อยู่รอการรื้อถอน ซึ่งรัฐจ่ายในอัตราน้อยเกินกว่าจะรับได้

    นอกจากนี้ยังมีคำถามว่า หากการรื้อบ้านและก่อสร้างใหม่ใช้เวลาเกินกว่าที่กำหนด คือ 6 เดือน ชาวบ้านจะทำอย่างไร เพราะคำสั่งหัวหน้า คสช.ไม่ได้ระบุเอาไว้ แม้ว่าจะยกอำนาจการบริหารต่างๆ ให้กับสหกรณ์ชุมชนเป็นผู้จ้างผู้รับเหมา แต่ถ้าเกิดปัญหาก็ไม่มีตัวกลางในการไกล่เกลี่ยให้ความเป็นธรรม เนื่องจากการดำเนินการทั้งหมดนี้อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง แบ่งความเห็นออกเป็นฝักเป็นฝ่าย
     
    Last edited: 24 Feb 2017
  11. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กทม.และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เดินหน้าสร้างบ้านมั่นคงให้กับชาวชุมชนริมคลองลาดพร้าวกว่า 7,000 ครัวเรือน ใน 52 ชุมชนให้แล้วเสร็จทันตามกำหนด

    ชาวบ้านสร้างที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างเข้าไปรุกล้ำคลองลาดพร้าวพื้นที่กรมธนารักษ์ใน 8 เขตของ กทม. ระยะทางกว่า 22 กิโลเมตร คือจุดที่จะต้องรื้อถอน เพื่อสร้างเขื่อนคอนกรีตริมคลองลาดพร้าว และประตูระบายน้ำ พร้อมปรับภูมิทัศน์เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมคูคลองไปพร้อมกัน ๆ

    ซึ่งหากเขื่อนแล้วเสร็จและบ้านริมคลองถูกจัดระเบียบ 2 ฝั่งคลองจะถูกแทนที่ด้วยบ้านมั่นคงและชุมชนจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่บ้านและพื้นที่สวนหย่อม สนามเด็กเล่น อย่างโมเดลที่จำลองมาให้เห็นสภาพจริงหากแล้วเสร็จ

    นอกจากได้สร้างบ้านมั่นคงไปแล้วหลายชุมชน ทาง กทม.ได้นำธงแดงมาติดเพื่อบอกแนวเขตที่ชาวบ้านจะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตลอด 2 ฝั่งคลอง ซึ่งก็เริ่มมีหลายชุมชนเริ่มรื้อถอนแล้ว ทั้งนี้หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศใช้มาตรา 44 เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เชื่อว่าจะทำให้การก่อสร้างเร็วขึ้น โดยขณะนี้มีประมาณ 1,000 ครอบครัวที่อยู่ระหว่างเจรจารื้อถอน



    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้นำชุมชนริมคลองลาดพร้าวจำนวน 112 ครัวเรือน สร้างชุมชนใหม่เลียบคลองสอง พร้อมยกเป็นชุมชนนำร่องรวมกลุ่มซื้อที่ดินสร้างที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง



    กรุงเทพมหานคร ยันเน้นเจรจาชาวบ้าน เดินหน้าสร้างเขื่อน “ลาดพร้าว” เล็งทำหนังสือถึงวัดลาดพร้าว เข้ารื้อแนวรุกล้ำคลอง 1 มีนาคมนี้

    นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก คลองลาดพร้าว ว่า หลังจากสำนักระบายน้ำ กทม. ต้องตอกเข็มทั้งหมด 6 หมื่นต้น ให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 ขณะนี้ตอกไปแล้ว 6,700 ต้น ซึ่งล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจากเป็นช่วงที่จะต้องพูดคุยทำความเข้าใจกับประชาชน แต่กทม.ยืนยันว่า ตั้งแต่ทำงานมายังไม่เคยใช้กฎหมายฉบับใดมาดำเนินการกับผู้ที่รุกล้ำคลอง มีเพียงการเจราจรและพูดคุย ทำความเข้าใจ แต่ในอนาคตหากยังมีรายใดฝ่าฝืนโดยตั้งใจ ก็จะต้องมีการพิจารณาในแง่ของกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจถึงความจำเป็นในการสร้างเขื่อนแล้ว

    นายจักกพันธุ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการรื้อย้ายสิ่งรุกล้ำคลองลาดพร้าวบริเวณหน้าวัดลาดพร้าวนั้น ที่มีการท้วงติงจากกรรมการวัดและพระลูกวัดถึงแนวเขตที่ชัดเจน กทม.ได้ทำรังวัดซ้ำและยังเป็นแนวเดิมที่กรมที่ดิน และกรมธนารักษ์ จัดทำไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเจ้าอาวาสวัดลาดพร้าวไม่ขัดข้องและประสานให้ กทม. หนังสือแจ้งว่าจะเข้าดำเนินการรื้อถอนและก่อสร้างเขื่อนต่อเมื่อไหร่ให้ชัดเจนคาดว่าหนังสือจะส่งถึงเจ้าอาวาสวัดลาดพร้าวในวัน 1 มี.ค.นี้



    กรุงเทพมหานคร เร่งแก้ปัญหาชุมชนรุกล้ำคลองสาธารณะที่มีทั้งสิ้น 74 ชุมชน กว่า 11,000 ครัวเรือน โดยทุกชุมชนต้องรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวคลอง



    อีกหนึ่งจุดในการปฏิบัติการไล่รื้อสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำริมคลองสาธารณะ ที่ชุมชนริมคลองลาดพร้าว ที่เป็นประเด็นปัญหากรณีที่ชาวบ้านคัดค้าน เพราะยังไม่ได้รับความยินยอม วันนี้กทม.เดินหน้าต่อทันทีในการรื้อศาลาวัดริมคลองลาดพร้าว แต่ไร้กลุ่มชาวบ้านที่มาคัดค้าน

    การเดินหน้าสร้างเขื่อนริมคลองลาดพร้าว เริ่มปฏิบัติการต่อแล้ว

    กรุงเทพมหานครสำนักงานเขตลาดพร้าว นำรถเเบคโฮ และ จนท.เข้ารื้อศาลาวัด ริมคลองลาดพร้าว ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ และวัดใหญ่ ในเขตลาดพร้าว เพื่อเดินหน้าสร้างเขื่อน ตามโครงการ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กลุ่มพระลูกวัด และ ชาวบ้านริมคลอง และ นาย ศรีสุวรรณ จรรรยา นายกสมาคมต่อต้านโลกร้อน เดินทางร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้คุ้มครองชั่วคราาวตั้งแต่กลางเดือนกุมพาพันธ์ แต่ล่าสุดศาลยังไม่มีคำสั่งออกมา แต่หลังจากได้รับความยินยอม จากพระครูปลัดนิคม นาควโร เจ้าอาวาสวัดลาดพร้าว กรุงเทพมหานครจึงเดินหน้าทันที เขตลาดพร้าว นำป้ายประกาศ มาติดเพื่อลงมือเดินหน้าและ ย้ายต้นไม้ออกจากพื้นที่

    นาย จักรพันธ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หลังจากที่ลงพื้นที่ที่ชุมชนป้อมมหากาฬ ได้เดินทางลงมาพื้นที่เเห่งนี้ พร้อมเปิดเผยว่า การลงพื้นที่วันนี้เป็นการเดินหน้าต่อหลังจากที่หารือกับทางวัด และชาวบ้าน มั่นใจว่าไม่มีปัญหาแม้ศาลจะยังไม่มีคำสั่งออกมาก็ไม่กังวลว่าชาวบ้านจะคัดค้าน เพราะ กทม.ต้องดำเนินการบังคับตามข้อกฎหมาย เพื่อเดินหน้าโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน

    รองผู้ว่ากทม. เปิดเผยด้วยว่า ความคืบหน้าของการตอกเสาเข็ม เริ่มดำเนินการแล้ว ซึ่งกำหนดตอกเสาเข็มทั้งหมด 60,000 ต้นให้ครบภายในปี 60 จากข้อมูลเมื่อ 1 มี.ค.2560 ใน 19จุด สามารถตอกเสาเข็มได้ กว่า7พันต้น ความยาว 5.50 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 9.58

    ขณะที่อุปสรรคในการดำเนินการพบปัญหาอุปสรรค เช่น ประชาชนบางส่วนยังไม่ได้ย้ายออกจากพื้นที่คลอง ประชาชนยังไม่มีที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ กทม.จึงไม่สามารถตอกเสาเข็มได้หากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สามารถจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยใหม่และรื้อย้ายบ้านเรือนที่รุกล้ำคลองลาดพร้าว กทม.จะสามารถตอกเข็มเพิ่มเติมได้ต่อไป

    ขณะที่ศาลาศาลาที่ใช้ฌาปนกิจ ศาลา 1 ที่รุกล้ำลงคลอง ทางกรุงเทพมหานคร เลี่ยงให้ไม่รื้อ เพราะจากรังวัดไม่ได้สร้างเกินลงมามีเพียงศาลาวัดที่รื้อลงมา

    ขณะที่วันนี้ไม่พบว่ามีชาวบ้านในพื้นที่ รวมถึงพระลูกวัดออกมาคัดค้าน คาดว่าใช้เวลา 1 สัปดาห์ เคลียร์พื้นที่จะตอกเสาเข็มได้ทันทีวันจันทร์หน้า
     
    Last edited: 10 Mar 2017
  12. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรุงเทพมหานคร เตรียมปรับภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง เพื่อพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม
     

Share This Page