รัฐบาลกับปัญหาขอทานและคนจรจัด

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Ricebeanoil, 17 Mar 2016

  1. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    สาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาคนขอทาน เกิดจากมีคนบางกลุ่มเข้าไปหาประโยชน์จากคนพิการ ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองคนพิการไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือ และเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ รัฐบาลจึงผลักดันกฎหมายการควบคุมการขอทาน ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้

    ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติฯ แล้ว อยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ สาระสำคัญ คือ กำหนดห้ามบุคคลใดทำตัวเป็นขอทาน ส่วนพฤติกรรมที่ถือว่าเป็นขอทานตัวอย่าง เช่น

    การขอทาน : การขอทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยวาจา ข้อความ การกระทำใด เพื่อให้ผู้อื่นเกิดความสงสาร และมอบทรัพย์สินให้

    การเล่นดนตรี หรือการแสดงความสามารถ ในที่สาธารณะไม่ถือว่าเป็นขอทาน

    การขอทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม หรือทำให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและมอบทรัพย์สินให้ โดยไม่มีการตอบแทนด้วยการทำงาน ส่วนการเล่นดนตรีหรือการแสดงความสามารถอื่นใดในที่สาธารณะ โดยขอรับทรัพย์สินตามแต่ผู้ชมหรือผู้ฟังจะสมัครใจให้ ไม่ถือว่าเป็นขอทาน แต่ต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ก่อน

    หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 ปี หรือ ปรับ 30,000 บาท และถ้าเป็นคนที่เข้าไปหาประโยชน์จากการขอทาน หรือ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง จะมีโทษหนักขึ้น คือ จำคุกตั้งแต่ 3-5 ปี หรือ ปรับ 30,000-50,000 บาท

    แม้ว่าขณะนี้กฎหมายจะยังไม่มีผลบังคับ แต่จากการจัดระเบียบขอทานล่าสุด พบว่า ทั่วประเทศมีขอทานกว่า 300 คน เป็นคนไทย 217 คน และเป็นขบวนการขอทานต่างด้าว 94 คน ส่วนใหญ่มาจากประเทศกัมพูชา

    โดยคนเหล่านี้จะเข้ามาขอทานตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในภาคกลาง และกรุงเทพฯ เป็นหลัก รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ซึ่งข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการขอทานและคนไร้ที่พึ่ง ระบุว่า สาเหตุที่คนมาขอทาน ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาความยากจนและครอบครัวแตกแยกกว่าร้อยละ 74 นอกนั้นเป็นพวกขอทานอาชีพ

    การดำเนินการในเบื้องต้น เจ้าหน้าที่จะส่งกลับครอบครัว ถ้าไม่มีญาติก็จะนำส่งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และบ้านพักเด็กและครอบครัว โดยจะดูแลไม่ให้มาขอทานซ้ำอีก ส่วนที่เป็นขอทานต่างด้าว ก็ผลักดันกลับประเทศ



    พ.ร.บ.ควบคุมการขอทานฉบับใหม่ ตอน 1

    สำนักข่าวไทย 16 มี.ค.-ปัญหาการขอทาน เป็นปัญหาเรื้อรัง ซึ่งที่ผ่านมาไทยพยายามแก้ หวังลดจำนวนขอทานลง และเพื่อป้องกันเรื่องค้ามนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งไทยมีกฎหมายห้ามขอทานมาตั้งแต่เมื่อ 75 ปีที่แล้ว ล่าสุดมีการออก พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ฉบับใหม่ เพิ่มโทษหนักผู้ที่ขอทาน และทำให้เจ้าหน้าที่แยกแยะกลุ่มที่ใช้ความสามารถแลกกับเงินซึ่งไม่ใช่ขอทานได้ง่ายขึ้น

    ลุงจรอน ชาวสวน ชาวสุรินทร์ วัย 65 ปี มานั่งสีซอบรรเลงเพลงประจำอย่างลาวดวงเดือน และค้างคาวกินกล้วย อยู่ในซอยย่านรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ มานานนับเดือนแล้ว ลุงเล่าว่า ทำนาเป็นอาชีพหลัก เมื่อหมดฤดูทำนาจะเข้ามาเล่นดนตรี แสดงความสามารถข้างถนนในกรุงเทพฯ เลือกแหล่งที่มีคนพลุกพล่าน เฉลี่ยได้วันละประมาณ 1,000 บาท ในหมู่บ้านเดียวกันมีเข้ามาเล่นดนตรีแลกเงินแบบลุง 3-4 คน แต่ที่เข้ามาเพื่อขอทานอย่างเดียวก็มีอีกหลายคน

    ต่างจาก พรเทพ ที่เขาเรียกตัวเองว่าเป็นคนพิการร้องเพลงอาชีพ เขาร้องเพลงข้างถนน แลกเงินหาเลี้ยงชีพมาตั้งแต่อายุ 18 ปี 10.00-15.00 น. ทุกวัน วันที่เคยได้เงินสูงสุดคือได้ 3,000 บาท เฉลี่ยได้วันละกว่า 1,000 บาท เขาเห็นว่าการร้องเพลงเป็นความสามารถที่ช่วยสร้างความรื่นเริงให้กับผู้ที่ผ่านไปมา อยากให้สังคมมองว่า เขาใช้ความสามารถแลกกับเงินทุกบาทที่ได้รับ ไม่เหมารวมว่าเป็นขอทาน

    กลุ่มคนปกติ หรือกลุ่มผู้พิการที่ใช้ความสามารถในรูปแบบต่างๆ เช่น การร้องเพลง เล่นดนตรี การแสดง แลกกับเงินหรือสิ่งของ จัดอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ความสามารถ ไม่ใช่ขอทาน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ฉบับใหม่ ที่กำลังจะประกาศใช้ในอีก 90 วัน หลัง สนช.มีมติผ่านร่างนี้ไปตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม กำหนดให้คนกลุ่มนี้ต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้ที่ใช้ความสามารถ ที่สำนักงานเขตในกรุงเทพฯ หรือที่สำนักงานพัฒนาสังคมในต่างจังหวัด เพื่อนำบัตรผู้ใช้ความสามารถไปประกอบอาชีพและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ หากถูกเรียกตรวจในอนาคต และมีการกำหนดพื้นที่การแสดงเป็นการเฉพาะด้วย

    นี่เป็นหนึ่งในวิธีการจัดระเบียบกลุ่มผู้ใช้ความสามารถในรูปแบบต่างๆ แยกออกจากผู้ที่ขอทาน ซึ่งในกฎหมายใหม่ยังเพิ่มบทลงโทษขอทานหนักขึ้น มีโทษปรับสูงถึง 10,000 บาท และจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะขอทานเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และมีการปล่อยปละละเลยมานาน จนระยะหลังทำให้มีหลายคนมองว่าเป็นวิธีที่ได้เงินมาง่าย โดยไม่ต้องทำงาน หรือเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์.-สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/content/425881



    แม้มีการจัดระเบียบขอทานมาแล้วถึง 7 ครั้ง ห้ามไม่ให้นั่งขอทาน แต่ก็ยังมีคนแอบไปนั่งตามปกติทั้งคนไทยและต่างด้าว บางคนยึดพื้นที่เป็นที่นั่งประจำของตนเองไม่ให้ขอทานต่างถิ่นมานั่งซ้ำซ้อน ทีมข่าวของเราจึงแฝงตัวลองไปนั่งขอทานเพื่อดูว่ามีกลุ่มขบวนพาคนมานั่งขอทานหรือไม่
     
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  3. ฟักแม้ว

    ฟักแม้ว อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    29 Dec 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,518
    เห็นขอทานทุกครั้ง ก็ต้องให้เกือบทุกครั้ง ทำใจไม่ได้ สะท้อนใจทุกครั้งว่า ชาติหนี่งในสังสารวัฎ เราก็เคยเกิดมาเป็นแบบนี้
    ทุกครั้งก็จะมีความคิดขัดแย้งในตัวเองว่าไม่ควรให้
    แต่ก็ยังเชื่อว่ามีขอทานบางคน ไม่มีจะกินจริงๆ ไม่ได้อยู่ในขบวนการขอทาน
     
  4. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    อ่านแล้วน่าเชื่อได้ว่า รัฐ รู้และเข้าใจปัญหาได้จริง เห็นด้วยกับการจัดการครั้งนี้ครับ
    โดยเฉพาะการแยก ขอทานอาชีพกับ ผู้ใช้ความสามารถ ออกจากกันเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ปชช.แยกแยะออกจากกันได้ และตัวผู้ใช้ความสามารถเองจะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกเหมารวมว่าผิดกฎหมายไปด้วย
    แต่ยังสงสัยว่า การไปลงทะเบียนที่สนง.พัฒนาสังคมจะเป็นการยุ่งยากไหม ในการเดินทาง
     
    ปู่ยง และ อาวุโสโอเค ถูกใจ.
  5. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    ฝากจัดการพวกร้องเพลงขอทานตามร้านอาหารด้วย
    ชักเยอะขึ้นทุกวัน
     
    ปู่ยง และ อาวุโสโอเค ถูกใจ.
  6. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เพิ่มโทษหนักใน พ.ร.บ.ขอทาน ฉบับใหม่

    สำนักข่าวไทย 17 มี.ค.-สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ฉบับใหม่ ที่กำลังจะประกาศใช้ช่วงกลางปีนี้ คือ การแบ่งแยกกลุ่มผู้ทำการขอทาน และกลุ่มผู้ที่ใช้ความสามารถ อย่างเช่น ศิลปินเปิดหมวก หรือ วณิพก อย่างชัดเจน และมีการเพิ่มโทษขอทาน จากเดิมที่ปรับเพียง 100 บาท เป็นไม่เกิน 10,000 บาท และมีโทษจำคุกด้วย

    ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองสระแก้ว ร่วมกับทหารกวดขันจับกุมขอทานชาวกัมพูชา ในตลาดโรงเกลือ และบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา ซึ่งเคยเป็นจุดที่มีขอทานเข้ามามาก ภายหลังมีการเตรียมบังคับใช้กฎหมายควบคุมการขอทานฉบับใหม่อย่างเข้มงวด โดยวันนี้จับกุมหญิงชาวกัมพูชา ซึ่งนำลูกสาวอายุ 1 ขวบ มานั่งขอทานอยู่ริมทางเท้า ควบคุมตัวดำเนินคดีและผลักดันกลับประเทศ นอกจากชาวไทย ที่ผ่านมายังมีหลายชาติ รวมทั้งชาวกัมพูชาเข้ามาขอทาน ทั้งแบบไปเช้า-เย็นกลับ และที่มาเป็นเครือข่าย มีผู้นำพาโดยมีนายหน้ากัมพูชาพามาขอทานใน 2 จุดใหญ่ คือ กรุงเทพฯ และพัทยา

    ข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำรวจพบว่า มีขอทานประมาณ 4,000 คน เป็นคนไทยกว่า 2,000 คน ต่างชาติกว่า 1,000 คน เกือบทั้งหมดเป็นชาวกัมพูชา สำรวจพบขอทานมีรายได้ดี ขั้นต่ำ 500 บาท สูงสุดได้วันละหลายพันบาท ขอทานถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และมีการห้ามขอทานมาแล้ว 75 ปี นับตั้งแต่มี พ.ร.บ.ขอทาน ปี 2484 ครูหยุย วัลลภ ตังคณานุรักษ์ หนึ่งในผู้ผลักดันให้มีกฎหมายนี้ บอกว่า นี่อาจเป็นทางออกแก้ปัญหาขอทานได้ดีขึ้น โดยจะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนมิถุนายนนี้ แบ่งเป็นกลุ่มขอทาน และกลุ่มที่ใช้ความสามารถแลกเงิน

    อธิบดีกรมพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า การบังคับใช้กฎหมายใหม่จะให้ผู้ใช้ความสามารถไปลงทะเบียนที่เขต หรือ พม.จังหวัด ส่วนขอทาน หากจับกุมได้มี 2 ทางเลือก คือ รับโทษปรับหรือจำคุก หรือยอมเข้าศูนย์ไร้ที่พึ่ง รับการฝึกอาชีพ เน้นสร้างรายได้จริง ขณะที่ยังต้องจัดการกับขอทานแฝง ที่ให้คนแก่และเด็กเร่ขายสินค้า แทนการนั่งขอทานแบบเดิม และจัดการกับผู้บังคับให้ผู้อื่นขอทาน

    พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ฉบับใหม่ กำหนดบทลงโทษชัดเจนขึ้น จากเดิมที่ไม่มีบทลงโทษ และนำตัวส่งสถานสงเคราะห์ หากหลบหนีปรับเพียง 100 บาท แต่ในกฎหมายใหม่ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนผู้ที่แสวงหาประโยชน์จากการขอทาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท และมีโทษหนักขึ้นหากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ลำพังกฎหมายนี้ไม่สามารถจัดการกับขอทานได้จริงจัง ต้องอาศัยกฎหมายอื่นและเจ้าหน้าที่อีกหลายหน่วย เช่น ตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจปราบปรามการค้ามนุษย์ และแม้แต่ตรวจดีเอ็นเอแม่และเด็กที่นั่งขอทานว่ามีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเดียวกันหรือไม่ เป็นแนวทางบูรณาการจัดการเรื่องหยุดวิถีขอทานอย่างมีประสิทธิภาพ.-สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/content/426563



    พม.จัดระเบียบขอทาน พบเป็นคนต่างด้าวกว่า 1,500 ราย จำนวนนี้เป็นชาวกัมพูชามากสุด และยังหลบหนีกลับเข้ามาขอทานซ้ำ หากพบเป็นพ่อ แม่ ลูกจะจับตรวจดีเอ็นเอ ป้องกันลักลอบค้ามนุษย์

    ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. นายไมตรี อินทุสุต บอกว่า จากการจัดระเบียบขอทานในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค มี 4,381 ราย เป็นขอทานไทย 2,800 ราย ต่างด้าว 1,581 ราย ชาวกัมพูชามากสุด เพราะกลับมาขอทานซ้ำ แม้จะส่งตัวกลับแต่ก็หลบหนีเข้ามาตามแนวตะเข็บชายแดน และเข้ามาแบบคู่พ่อ แม่ลูก หากมีเด็กร่วมอยู่ด้วยต้องตรวจสอบความสัมพันธ์ทางดีเอ็นเอ ถ้าไม่ตรงกันจะส่งให้กับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ นำตัวเข้าสู่กระบวนการต่อไป นอกจากนี้ เตรียมทำบันทึกข้อตกลงป้องกันและแก้ไขปัญหาการขอทาน กับองค์การเฟรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และประเทศกัมพูชา สกัดเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
     
    Last edited: 22 Mar 2016
  7. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ข่าว 7 สี - ปัญหาขอทาน ยังคงส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ยิ่งเข้าสู่ยุค AEC ยิ่งทำให้ประเทศไทย กลายเป็นแหล่งหากินของขอทานจากประเทศเพื่อนบ้าน ไปติดตามจากรายงาน

    เกาะสมุย แหล่งพักผ่อนของนักท่องเที่ยว ที่ตอนนี้ตามท้องถนน เต็มไปด้วยขอทาน

    ทีมข่าว 7 สี ได้ลงไปสำรวจถนนเลียบชายหาดเฉวง พบว่ามีกลุ่มขอทานจากประเทศเพื่อนบ้านจับจองพื้นที่ริมทางเท้านั่งขอทานจากนักท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อกลุ่มขอทานเห็นทีมข่าวบันทึกภาพบ้างก็ขยับหนี บ้างก็คว้าโทรศัพท์โทรบอกกลุ่มเพื่อนขอทานด้วยกัน ส่วนบางคนที่ทำทีเป็นคนพิการ เมื่อเห็นว่าทีมข่าวกำลังบันทึกภาพก็หายพิการฉับพลัน ลุกขึ้นเดินได้อย่างคนปกติ หนีกล้องไปดื้อๆ

    ทางสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย กังวลในเรื่องภาพลักษณ์การท่องเที่ยว เพราะภาพที่จะถูกเผยแพร่ออกไป อาจทำให้หลายคน เข้าใจว่าขอทานพวกนี้เป็นคนไทย ซึ่งความจริงเป็นกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ที่ลักลอบเข้ามา

    เห็นที หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบเข้ามาจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก่อนที่ปัญหาขอทานล้นเมืองจะกลายเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทย

    ทีมข่าวภูมิภาค รายงาน



    ข่าว 7 สี - ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ระดมกำลังออกกวาดล้างขอทาน และเด็กขายพวงมาลัยบนเกาะสมุย จับกุมตัวได้ 9 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม

    ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ไปตรวจสอบที่บ้านไม่มีเลขที่ บริเวณหมู่ที่ 3 ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย ตามคำให้การของกลุ่มคนขอทานที่ถูกจับกุมไปก่อนหน้านี้ว่า เป็นแหล่งพักพิงของกลุ่มขอทาน และเด็กขายพวงมาลัยชาวเวียดนาม ก่อนที่จะออกตระเวนไปขอเงินจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในช่วงกลางคืน พบเป็นสถานที่สำหรับทำบัตรแรงงาน แต่ไม่พบขอทาน

    ขณะที่เมื่อคืนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ออกกวาดล้างขอทานตามสถานที่ท่องเที่ยวชายหาดเฉวง ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จับขอทานได้ 4 คน เป็นคนไทย 2 คน และกัมพูชา 2 คน นอกจากนี้ยังจับเด็กขายพวงมาลัย และคนทำพวงมาลัยส่งขายได้อีก 5 คน ทั้งหมดเป็นชาวเวียดนาม

    โดยขอทานชาวเวียดนาม และกัมพูชา ถูกแจ้งข้อหาหลบหนีเข้าเมือง, ประกอบอาชีพที่ไม่ได้รับอนุญาต ส่วนขอทานชาวไทย ถูกส่งตัวให้สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการต่อไป
     
    Last edited: 24 Mar 2016
    temp และ Anduril ถูกใจ.
  8. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    แทบจะทุกครั้ง ที่มีการจับขอทาน ไม่เคยจับตัวการ ผู้นำพาขอทานมาลงโทษได้ ปฏิบัติการฟ้ามีตาของ ตำรวจ ปคม.เมื่อคืนนี้ เป็นครั้งแรก ที่สามารถจับกุมตัวผู้ต้องหาตัวการชักนำขอทานได้ หลังจากติดตามหัวหน้าขบวนการมาเป็นเวลากว่า 5 เดือน



    เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 1 เมษายน ที่กองบังคับการปราบปราบการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) พล.ต.ต.กรไชย คล้ายคลึง ผบก.ปคม. พร้อมด้วย พ.ต.อ.ธนรัฐ รุ่งโรจน์ดี ผกก.3 บก.ปคม. และนางขวัญวงศ์ พิกุลทอง รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ร่วมกันแถลงข่าวจับกุม นายบุญโฮม หรือ โม่ง ลินทอง อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดนครราชสีมา ที่ 23/2559 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ในข้อหาค้ามนุษย์โดยแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากการนำคนขอทาน หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นหรือกระทำด้วยประการใดทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพทางร่างกาย



    ข่าว 7 สี - ตำรวจ ปคม. จับเอเย่นต์ที่ล่อลวงคนตาบอดไปกักขังบังคับขอทาน จากข้อมูลพบว่านำคนตาบอดไปเร่ขอทานตั้งแต่ 2553

    นายบุญโฮม ลินทอง อายุ 39 ปี ถูกตำรวจปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ หรือ ปคม. จับกุมตัวได้ขณะพาคนตาบอดไปเร่ขอทานในจังหวัดระยอง พร้อมช่วยเหลือคนตาบอดที่ถูกกักขังบังคับขอทานได้ 2 คน

    พลตำรวจตรีกรไชย คล้ายคลึง ผู้บังคับการ ปคม.บอกว่าได้รับการประสานจากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนรราชสีมาว่า มีคนพิการตาบอดถูกกักขังอยู่ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จึงสืบสวนกระทั่งไปจับกุมผู้ต้องหาได้ที่จังหวัดระยอง

    ผู้ต้องหาอ้างว่า รู้จักกับคนตาบอดมาก่อน โดยคนตาบอดได้โทรศัพท์มาหาเพื่อขอให้ช่วยหางานให้ทำ ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าเป็นงานร้องเพลงขอทานและไม่ได้บังคับตามที่ถูกกล่าวหา

    โดยผู้ต้องหารายนี้ก่อเหตุมาตั้งแต่ปี 2553 ในหลายพื้นที่เช่นภูเก็ต สุราษฎร์ธานี, นครสวรรค์,นครราชสีมา ระยอง และชลบุรี
     
    Anduril likes this.
  9. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482




    หลังจากเมื่อวาน ทีมล่าความจริง นำเสนอปฏิบัติการทลายขบวนการนำผู้พิการืทางสายตามาร้องเพลงเร่ขอทานไปแล้ว / วันนี้มาติดตามปัญหาการนำเด็กมาใช้แรงงาน โดยการเร่ขายดอกไม้ ขายพวงมาลัย และเด็กเช็ดกระจก ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นรูปแบบของการขอทานอีกอย่างหนึ่ง ติดตามปัญหานี้จากคุณชลธิชา รอดกันภัย ในทีมล่าความจริง



    "ธัญบุรี โมเดล" เยียวยาคนขอทานกลับคืนสู่สังคม
     
    Last edited: 8 Apr 2016
  10. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เมื่อคืนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และ ตำรวจ สภ.บ่อผุด ออกกวาดล้างจับกุมขอทาน และเด็กขายพวงมาลัยที่เป็นชาวต่างชาติ ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวบนเกาะสมุย หลังจากได้รับการร้องเรียนว่ามักจะก่อปัญหากับนักท่องเที่ยว จนทำให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ต่อการท่องเที่ยวบนเกาะสมุย และของประเทศ

    จากการออกกวาดล้างของเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวหาดเฉวง ไม่พบกลุ่มขอทานตามถนนสายเลียบชายหาดแต่อย่างใด แต่จากการตรวจสอบภายในงานประจำปีของวัดสว่างอารมณ์ ตำบลบ่อผุด พบว่ามีขอทานชาวกัมพูชา 3 คน และเด็กขายพวงมาลัยอายุ 13 ปี 1 คน จึงควบคุมตัวไว้ โดยพบว่าขอทานชาวกัมพูชา ได้พกบัตรประจำตัว คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือบัตรสีชมพู ที่คาดว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกับคนไทยเป็นนายหน้าทำบัตรให้กับกลุ่มขอทาน โดยที่ขอทานกลุ่มนี้ไม่ได้ทำงาน หรือมีอาชีพเป็นกรรมกรตามที่ระบุไว้

    โดยได้เตรียมทำรายงานให้ต้นสังกัด เพื่อเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่ร่วมกับกลุ่มนายหน้า ในการเอื้อผลประโยชน์ออกบัตรสีชมพูให้กับกลุ่มคนขอทาน พร้อมทั้งเสนอให้เพิกถอนบัตร และผลักดันออกนอกประเทศต่อไป



    เจาะลึกปัญหา "ขอทาน" ไทย
     
    Last edited: 24 Apr 2016
  11. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
  12. Solid Snake

    Solid Snake อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    26 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,225
    :D วัดดังแถวปทุมจะโดนไหมหว่า หลายอย่างมันไม่ใช่กิจวัตรซะด้วย ส่วนน้องนักศึกษาที่มาแหกปากถือกล่องคงได้รับผลกระทบ
     
  13. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    aHR0cDovL3BlMS5pc2Fub29rLmNvbS9ucy8wL3VkLzMyNS8xNjI1NTkzL25ld3MwNS0xLmpwZw==.jpg
     
  14. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    บริเวณลานคนเมืองวันนี้ ถือเป็นจุดที่รู้กันดีว่า มีผู้คนเดินทางเอาอาหารมาแจกจ่ายให้กับคนไร้บ้าน หรือคนจร อยู่ไม่ขาด โดยเฉพาะทุกคืนวันจันทร์ นี่คือผลของโครงการ Foodforfriend ของมูลนิธิกระจกเงาที่ดำเนินการมาได้ปีกว่าๆ แล้ว แต่ในอีกมุมเรื่องนี้ก็มีข้อสังเกต และปัญหาที่โตขึ้นตามมา ปมปัญหาจากความปราถนาดีนั้นคืออะไร ติดตามจากรายงาน



    ขบวนการแสวงหาผลประโยชน์จากการขอทาน แยบยลซับซ้อนมากขึ้น เจ้าหน้าที่ตามไล่จับนำตัวส่งกลับประเทศต้นทางยากขึ้น

    ปัญหาขอทาน มีมานาน ยิ่งแก้ยิ่งยาก และลุกลามเชื่อมโยงไปถึงปัญหาการค้ามนุษย์ ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ประเทศ แม้ที่ผ่านมา รัฐบาลเร่งแก้ไขช่วยเหลือ ทำให้ขอทานคนไทยลดน้อยลง แต่ขอทานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชา กลับเพิ่มมากขึ้นเป็นขบวนการยึดเป็นอาชีพ

    ภาครัฐเองยอมรับปัญหายากขึ้น เพราะขอทานข้ามชาติ ปรับวิธีการให้ซับซ้อนแยบยลมากขึ้น หวังหลบสายตาเจ้าหน้าที่ และรู้ดีว่าคนไทยขี้สงสาร ยิ่งสร้างภาพ ทำตัวให้น่าสงสารมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น

    วิธีการตบตาหนีการถูกจับพัฒนาเป็น ขบวนการโดยกลุ่มที่รู้จักช่องทางซื้อบัตรคนพิการ คนชราจากคนไทย มาให้พวกตัวเองนั่งขอทาน

    การจัดระเบียบขอทานทำมาต่อเนื่อง 7 ครั้ง จับได้กว่า 4,400 คน และทุกครั้งที่จับมีขอทานชาวกัมพูชาทุกครั้ง ทางการไทยแก้ปัญหาด้วยการเจรจาทำข้อตกลงความร่วมมือ กับประเทศกัมพูชา ให้เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายการค้ามนุษย์ อย่าให้กลับมาขอทานซ้ำอีก

    การแก้ไขปัญหาขอทาน หวังพึ่งแค่ พระราชบัญญัติควบคุมการขอทานฉบับใหม่ ที่กำลังมีผลใช้บังคับ เพิ่มโทษหนักทั้งจำและปรับ อย่างเดียวไม่ได้ ทุกคนต้องหยุดให้ทาน หากสงสารโทร.แจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 ได้ทั้งบุญและได้ช่วยชาติพ้นข้อหาค้ามนุษย์ ทีมข่าวสังคม รายงาน





    ปัญหาขอทานที่สะสมมานาน ถูกสะท้อนจากผู้ค้าย่าน walking street ที่ขายของบนถนนเส้นนี้มานานหลาย 10 ปีชี้ให้เห็นถึงความไม่ยำเกรงกฏหมายของคนที่ยึดการขอทานเป็นอาชีพ แม้เจ้าหน้าที่จะเร่งปราบปราม ปรับแก้กฎหมาย เพิ่มบทลงโทษเพียงใด แต่ดูเหมือนปัญหาขอทานเมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยา ก็ไม่ได้ลดลงเลย

    นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ขนเงินมาเต็มกระเป๋า จับจ่ายไปกับการท่องเที่ยว เป็นสิ่งเร้าให้คนขอทานและคนเร่ร่อน อาศัยความหนาแน่นของเมืองที่ไม่เคยหลับใหลนี้ เป็นช่องทางหาเงิน ไม่สนใจประกอบอาชีพสุจริตอย่างคนทั่วไป ข้อมูลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำรวจพบขอทานเมืองพัทยามีจำนวน 44 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชา และน่าตกใจที่ในจำนวนนี้ ใช้เด็กเล็กมาขอทานด้วย แต่เชื่อว่าเมื่อกฏหมายใหม่เริ่มบังคับใช้ 28 กรกฎาคมจะช่วยลดปัญหานี้ได้

    พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พอใจการปราบปรามขอทานคนไทย ไม่พบกลับมาขอทานซ้ำอีก และส่วนใหญ่ได้รับการฟื้นฟูมีอาชีพหารายได้เลี้ยงตนเองได้ แต่หนักใจปัญหาขอทานจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ลักลอบเข้ามาทางชายแดนผ่านช่องทางธรรมชาติ

    การขอทานเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย ยิ่งถ้าหากใช้ความพิการ และความเจ็บป่วยน่าเวทนา เป็นเครื่องมือเพื่อขอเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่น โทษจะยิ่งหนักขึ้น และทุกคนสามารถร่วมกันตัดวงจรการขอทานให้หมดไปได้ โดยการไม่ให้เงิน แม้จะดูน่าสงสารมากเพียงใด "ให้ทานถูกวิธี ลดวิถีการขอทาน"



    แรงงานข้ามชาติที่มาขอทานและขายของในเมืองพัทยายังคงมีให้เห็น แม้เจ้าหน้าที่ได้กวดขันจับกุมแล้วแต่ก็ตาม ทางด้านกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ไปติดตามรายงานนี้กับคุณพรรณทิพา จิตราวุฒิพร

    หญิงชาวกัมพูชา วัย 25 ปี เล่าว่า ที่เดินทางเข้ามาในไทย เพราะงานในประเทศของเธอมีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงบุตรถึง 3 คน จึงตัดสินใจลักลอบเข้ามาขอทานในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีโดยเฉพาะย่านวอล์กกิ้งสตรีท ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ซึ่งมีรายได้ 500-700 บาทต่อวัน

    นางสาวดี ยังเล่าอีกว่า เธอเดินทางเข้ามาทางด่านชายแดนจังหวัดสระแก้วด้วยรถตู้โดยสาร ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายให้กับนายหน้าหัวละ 2000 บาท ขบวนการค้ามนุษย์ก็ดูแลเป็นอย่างดี ก่อนถูกตำรวจจับกุม

    จากแนวทางการสืบสวนของตำรวจพบว่า แรงงานข้ามชาติที่มาขอทานในเมืองพัทยามีทั้งที่เป็นคนพิการ //ทุพพลภาพ //หรือแม่อุ้มลูก เพื่อเรียกความน่าสงสาร ซึ่งส่วนมากเป็นชาวกัมพูชาและเมียนมาร์ เข้าประจำจุดในลักษณะแบ่งโซนกันชัดเจน ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำจนถึงช่วงเช้าตรู่ ในลักษณะเป็นขบวนการใหญ่แสวงหาผลประโยชน์ โดยมีแหล่งที่พักอยู่ในย่านพัทยากลาง และภายในซอย 2 ย่านพัทยาเหนือ

    แต่ระยะหลังมานี้แรงงานกลุ่มนี้มีพฤติการณ์เปลี่ยนไปโดยมาขายดอกไม้และขายของอื่นๆแทน และรบเร้าให้นักท่องเที่ยวซื้อของ เพื่อหลบเลี่ยงต่อการถูกจับกุม

    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ที่จะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้โดยสาระสำคัญในพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะแยกผู้แสดงความสามารถออกจากขอทานโดยให้มีการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ //มุ่งเน้นการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทำการขอทานไม่ให้กลับมากระทำการขอทานอีก

    ถ.วอล์กกิ้งสตรีท เป็นหนึ่งในสถานที่ๆมีแรงงานข้ามชาติมานั่งขอทานอยู่บริเวณนี้ แม้วันนี้จากการลงพื้นที่อาจจะไม่พบเห็น แต่จากข้อมูลการจัดระเบียบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังพบผู้กระทำผิดแรงงานข้ามชาติที่มานั่งขอทานในเมืองพัทยาและทั่วประเทศตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว กว่า 1 พันคน

    ข้อมูลการจัดระเบียบขอทานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในพื้นที่เขตพัทยาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 ถึงเดือนมีนาคม2559 มีอยู่จำนวน 75 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชา ขณะที่ตัวเลขคนขอทานทั่วประเทศมีอยู่จำนวน 4,555 ราย

    สำหรับสถิติการจับกุมของตำรวจภูธรเมืองพัทยาปี 2558 สามารถจับกุมแรงงานข้ามชาติได้จำนวน 66 คน ปี 2559 ตั้งแต่มกราคมถึงปัจจุบัน สามารถจับกุมแรงงานข้ามชาติได้จำนวน 44 คน แม้เจ้าหน้าที่พยายามกวดขันจับกุม แต่ก็ยังไม่หมดไป
     
    Last edited: 17 Jun 2016
  15. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482




    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมแผนรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองการขอทาน ที่จะมีผลบังคับใช้ 28 ก.ค.นี้

    นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เตรียมแผนงานสำหรับ พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ที่จะบังคับใช้วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 นี้ โดยกฎหมายนี้ กำหนดแนวทาง 4 แนวทาง คือ 1.แยกผู้แสดงความสามารถ ออกจากผู้ขอทาน โดยให้แจ้งต่อพนักงานท้องถิ่นเพื่ออกบัตรประจำตัวผู้มีความสามารถ

    2.คุ้มครอง และ พัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ขอทานไม่ให้กลับมาขอทานอีก

    3.กำหนดความผิดทางอาญากับผู้แสวงหาประโยชน์จากการขอทาน โดยผู้ขอทานมีความผิดจำคุก 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้แสวงหาผลประโยชน์จากขอทาน โทษจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    และ 4.มีคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดูแลขอทาน

    ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาคนไรที่พึ่ง-คนขอทาน ปัจจุบันมีวงเงิน 1.5 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานที่ดูแลคนไร้ที่พึ่งและขอทาน มากู้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย โดยได้เปิดบัญชีให้ประชาชนร่วมสมทบเงินเข้ากองทุนด้วย

    สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาขอทาน ของรัฐบาลเริ่มจัดระเบียบขอทานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ถึงปัจจุบัน ตรวจพบขอทานรวม 4,573 คน เป็นคนไทย 2,908 คน ต่างด้าว 1,665 คน

    ขอทานต่างด้าวจะส่งกลับประเทศ ส่วนขอทานไทย จะส่งไปพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ภายใต้โครงการ “ ธัญบุรีโมเดล ” และ “ บ้านน้อยในนิคม ” จะพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และการประกอบอาชีพ ซึ่งขอทานไทยเข้าพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพแล้ว 1,134 คน และส่งกลับครอบครัวแล้ว 764 คน คิดเป็นร้อยละ 67



    นายกฯห่วงปัญหาคนเร่ร่อนแก้ไม่หมดแม้มีหน่วยงานเข้าดูแลแล้ว พม.แจงมีศูนย์ดูแลจะเข้าไปช่วยเหลือทันทีที่ได้รับแจ้ง



    นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าการรถไฟฯ มีแผนยกระดับภาพลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเตรียมจัดระเบียบคนจรจัด ที่มาอาศัยหลับนอนและดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่สถานีรถไฟหัวลำโพง พบคนจรจัดประมาณ 50 คน เบื้องต้นจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดลงทะเบียนคนจรจัด เพื่อหาที่พักพิงใหม่ให้ หรือนำไปอบรมฝึกอาชีพ

    รวมทั้งยังมีแผนจัดระเบียบแผงค้า และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ ที่นำสินค้าเข้ามาขายในพื้นที่สถานีรถไฟ เนื่องจากกีดขวางทางเดินของผู้โดยสาร และส่งผลต่อกระทบต่อภาพลักษณ์ของการรถไฟฯ

    นอกจากนี้ จะเร่งปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบสถานีรถไฟทั่วประเทศสถานีใดมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ก็จะปรับปรุงพื้นที่โดยรอบสถานีให้เป็นจุดท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักเดินทาง โดยสามารถรถนำจักรยานขึ้นรถไฟได้ เพื่อปั่นออกกำลังกายตามสถานีรถไฟ

    และยังเตรียมนำรถไฟเก่ามาปรับปรุงใหม่ ให้เป็นรถไฟท่องเที่ยวขบวนพิเศษ สำหรับนักท่องเที่ยวที่รวมกันเป็นกลุ่มไม่เกิน 70 คน เหมาขบวน หรือจัดโปรแกรมท่องเที่ยว โดยภายในขบวนรถไฟจะมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องอาหาร ห้องประชุม โดยคิดค่าโดยสารสูงกว่าปกติประมาณ 1 เท่า คาดว่าจะเปิดบริการได้ภายในปีนี้



    การจัดระเบียบขอทานของรัฐบาล มีความคืบหน้ามาก 20 เดือน มีผู้เข้าข่ายกว่า 4,600 รายเตรียมบังคับใช้กฎหมายควบคุมขอทาน 28 ก.ค.นี้ พร้อมกำชับผู้เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ลดวิถีการขอทาน

    โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิดเปิดเผยว่า รัฐบาลได้ดำเนินการจัดระเบียบคนขอทานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ

    ซึ่งตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2557 ถึงปัจจุบัน พบ คนขอทาน รวม 4,618 คน เป็นขอทานไทย 2,927 คน ขอทานต่างด้าว 1,691 คน โดยหากเป็นคนขอทานต่างด้าว จะดำเนินการผลักดันส่งกลับประเทศต้นทาง ส่วนคนขอทานที่เป็นคนไทย จะส่งเข้ารับการพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ภายใต้โครงการธัญบุรีโมเดลและบ้านน้อยในนิคม

    อย่างไรก็ตาม ผลงานสำคัญของการจัดระเบียบคนขอทานของรัฐบาล คือ ผลักดัน พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 ก.ค.นี้ ซึ่งจะทำให้ 1) สามารถแยกผู้แสดงความสามารถออกจากผู้ขอทาน โดยให้แจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น เพื่อออกบัตรประจำตัวผู้มีความสามารถ 2) คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ขอทานไม่ให้กลับมาขอทานอีก 3) กำหนดความผิดทางอาญากับผู้แสวงหาประโยชน์จากการขอทาน โดยผู้ขอทานมีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้แสวงหาผลประโยชน์จากการขอทาน มีโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4) มีคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดูแลคนขอทาน

    ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายให้ดำเนินอย่างเด็ดขาด และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนตามหลัก 3P ภายใต้แนวคิดให้ทานถูกวิธี ลดวิถีการขอทาน รวมทั้งรณรงค์ให้สังคมหยุดการให้เงินแก่คนขอทาน เพื่อตัดวงจรของการขอทานที่ส่วนหนึ่งมีการทำกันเป็นขบวนการ
     
    Last edited: 24 Jul 2016
  16. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    วันที่ 28 กรกฎาคมนี้ พ.ร.บ.ควบคุมขอทานฉบับใหม่บังคับใช้เป็นวันแรก ซึ่งกฎหมายนี้ถ้าหากมีขอทานออกมาขอเงินก็จะถูกจับดำเนินคดีอาญา แต่เราในฐานะประชาชนสามารถช่วยให้ขอทานไม่ถูกจับได้ โดยการไม่ให้เงิน แต่คนส่วนใหญ่จะให้เงินขอทานเพราะสงสาร ทั้งที่จริงแล้วการให้เงินอาจเป็นการสนับสนุนให้ขอทานทำผิดกฎหมาย ติดตามรายงานเรื่องนี้กับคุณขวัญเรียม แก้วสุวรรณ

    เหตุผลส่วนใหญ่ที่คนเลือกให้เงินขอทานเพราะความสงสาร โดยเฉพาะเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ แต่หลังจากนี้ไปการจะให้เงินขอทานอาจต้องฉุดคิด เพราะอาจไปสนับสนุนให้ขอทานทำผิดกฎหมายควบคุมขอทาน ฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้ 28 กรกฎาคม 2559 ระบุว่า ขอทานผิดกฎหมาย มีโทษอาญา คนขอทานจำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้แสวงหาผลประโยชน์จากการขอทาน มีโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ตามขั้นตอนขอทานที่ถูกจับจะต้องเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง ฟื้นฟู ฝึกทักษะสร้างอาชีพ แต่หากขัดขืนก็ต้องจำคุกหรือปรับ แต่การจะแก้ปัญหาขอทานให้ได้ผลดีคือการ "ไม่ให้เงินขอทาน" และเมื่อพบเห็นขอทานให้แจ้งไปที่เบอร์ 1300 ศูนย์ประชาบดี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

    ตอกย้ำว่าการให้เงินขอทานคือการสนับสนุนให้ขอทานทำผิดกฎหมาย



    ข่าว 7 สี - ขอทานในกรุงเทพฯ หลายจุดที่ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปสำรวจมา วันนี้หายเกลี้ยง รู้ข่าวการบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมการขอทานวันแรก

    รอบเกาะอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใจกลางกรุงเทพฯ และตามตลาดย่านการค้า ในพื้นที่เขตจตุจักร วันนี้เริ่มบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน 2559 พบว่า กลุ่มคนขอทานไม่มีแล้ว พบเพียงกลุ่มวณิพกที่เล่นดนตรี ร้องเพลงแลกเงินเป็นกลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้ ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

    ประชาชนที่ผ่านไปมา ต่างบอกว่า ตามปกติจะให้เงินขอทานเพราะสงสาร เห็นเด็กที่ถูกอุ้มมานั่งขอทานจึงให้ แต่วันนี้เมื่อมีกฎหมายออกมาแล้ว จะเปลี่ยนวิธีทำบุญไปบริจาคกับองค์กร มูลนิธิ และหน่วยงานด้านสังคมให้เงินไปถึงคนยากไร้แทน

    เนื้อหาพ.ร.บ.ฉบับนี้ เน้นแยกผู้แสดงความสามารถหรือวณิพกออกจากขอทาน และมุ่งคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูอาชีพ เพื่อไม่ให้กลับมาขอทานอีก และกำหนดโทษอาญา กับผู้แสวงหาผลประโยชน์จากขอทาน จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยิ่งถ้ากระทำต่อหญิงมีครรภ์ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนเจ็บป่วย คนพิการ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท และขอทานเอง ก็มีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



    28 กรกฎาคม 2559 เป็นวันแรก ที่พระราชบัญญัติควบคุมการขอทานฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ โดยเพิ่มบทลงโทษที่สูงสุดแก่ผู้แสวงหาประโยชน์จากขอทาน ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ได้รณรงค์ทำความเข้าใจถึงกฎหมายฉบับนี้แก่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทีมข่าวได้ลงสำรวจ "บ้านน้อยในนิคม" นิคมสร้างตนเองลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็น 1 ใน 11 แห่งที่ฝึกอาชีพแก่ขอทาน ให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้เป็นปกติ





    กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์การเฟรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือ การป้องกันและแก้ไขปัญหาขอทานเด็กต่างด้าวและครอบครัวอย่างยั่งยืน เพื่อจัดระบบการช่วยเหลือ กลับคืนสู่ประเทศต้นทางและเฝ้าระวังไม่ให้กลับมาขอทานซ้ำในประเทศไทย โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นขอทานคู่แม่ลูกชาวต่างด้าว ติดตามได้จากรายงานของคุณสุดปรีดา มหายศ
     
    Last edited: 21 Aug 2016
  17. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

    ดำเนินการจัดระเบียบขอทานตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2557 จนถึงปัจจุบัน
    พบขอทาน รวมทั้งสิ้น 4พัน 6ร้อย 5สิบ 3คน ในจำนวนนี้เป็น
    ขอทานไทย 2พัน 9ร้อย 4สิบ 8คน และเป็นขอทานต่างด้าว 1พัน 7ร้อย 5คน
    นอกจากนี้ ยังพบว่า ประเทศต้นทางของขอทานต่างด้าว
    ส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.38 มาจากประเทศกัมพูชา
    รองลงมา คือ พม่า ร้อยละ 6.63
    และมาจากลาว ร้อยละ 0.41

    สำหรับ รูปแบบของขอทานต่างด้าวที่เข้ามา สามารถจำแนกออกมาได้เป็น 3 ลักษณะ ประกอบด้วย เข้ามาเป็นคู่แม่ -ลูก หากเข้ามาเดี่ยว ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและมีความพิการ

    ขณะที่ เส้นทางของขอทานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยนั้น พบว่า บางส่วนเข้ามาทางด่านตรวจคนเข้าเมืองปกติ ซึ่งมีบัตรอนุญาตเข้าเมืองเป็นการชั่วคราวในฐานะนักท่องเที่ยว หรือบัตรอนุญาตเข้ามาทำงาน แต่กลับมานั่งขอทานแทน

    และบางส่วนจะลักลอบเข้ามาบริเวณเขตชายแดนที่มีการสัญจรสะดวก จะมีกลุ่มบุคคลลักลอบปะปนเข้ามากับแรงงาน ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีเป้าประสงค์จะเข้ามาเป็นขอทานเนื่องจากรายได้สูง พบมากในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดสระแก้ว



    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่สถานีรถไฟบางซื่อ-หัวลำโพง เพื่อแก้ปัญหาคนเร่ร่อน



    ผู้คนที่มารับของบริจาคกลับสร้างปัญหาให้กับชาวบ้านรอบๆลานคนเมืองที่ได้รับผลกระทบเรื่องความสะอาด และ ยังพบปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้น



    นางงามจิต แต้สุวรรณ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขอทานและคนไร้ที่พึ่ง ในฐานะผู้อำนวยการบ้านมิตรไมตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยตำรวจสน.ชนะสงคราม ทหาร เทศกิจ และเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิกระจกเงา กว่า 30 คน ลงพื้นที่โดยรอบสนามหลวงจำนวน 4 จุด คือ 1.บริเวณฝั่งหน้าม.ธรรมศาสตร์ 2.หน้าวัดมหาธาตุ 3.หน้าพระแม่ธรณีบีบมวยผม 4.หน้าศาลฎีกาเก่า เพื่อจัดระเบียบคนไร้บ้านรอบพื้นที่สนามหลวง



    ปัญหากลุ่มคนขอทานและคนเร่ร่อนที่ยังแก้ไม่สำเร็จ สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีขบวนการลักลอบขนชาวต่างชาติเข้ามาในไทยโดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย เฉพาะชายแดนด้าน จ.สระแก้ว เพียงแห่งเดียวพบว่าแต่ละวันมีชาวต่างชาติลักลอบเข้าไทยนับพันคนซึ่งในจำนวนนั้นมีไม่น้อยที่ถูกนำไปเร่ร่อนขอทาน
     
    Last edited: 13 Dec 2016
  18. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    การจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นภารกิจที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ความสำคัญ เบื้องต้นวางกรอบการปฏิบัติจะดำเนินการให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน

    จากข้อมูลการจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานเมื่อปีที่แล้ว ดำเนินการไปได้กว่า 4,700 คน ในจำนวนนี้เป็นคนต่างด้าว 1,400 คน และผลักดันกลับประเทศไปแล้ว

    แต่ล่าสุด กลับพบว่ายังคงมีคนไร้ที่พึ่ง และคนขอทาน ออกมาเดินเร่รอนตามท้องถนน และอาศัยหลับนอนตามฟุตบาท ที่สำคัญเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมไม่ว่าจะเป็นบริเวณพื้นที่รอบนอก ท้องสนามหลวง ถนนมหาราช ถนนราชดำเนิน คลองหลอด อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และ ถนนสุขุมวิท ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงวางกรอบเวลา 30 วัน ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่ง และคนขอทานเหล่านี้ให้เรียบร้อย

    สำหรับรูปแบบการดำเนินการ มีการแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการเป็น 6 โซน ใน 50 เขตทั่วกรุงเทพมหานคร คือ โซนกรุงเทพฯกลาง กรุงเทพฯเหนือ กรุงเทพฯใต้ กรุงเทพฯตะวันออก กรุงธนบุรีฝั่งเหนือ และ กรุงธนบุรีฝั่งใต้ โดยจะเน้นในจุดที่พบกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง และคนขอทาน อาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากๆ เป็นหลัก

    อย่างไรก็ตาม การจะทำให้กรุงเทพฯ ปลอดจากคนเร่รอนและคนขอทานนั้น แม้จะเป็นเรื่องยากแต่พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอให้มั่นใจว่าการปฏิบัติการครั้งนี้จะทำให้คนเร่รอน และคนขอทาน มีปริมาณลดน้อยลงอย่างแน่นอน

    สำหรับขั้นตอนหลังการจัดระเบียบในแต่ละพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะนำคนเร่รอน และคนขอทาน ไปเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง ที่บ้านมิตรไมตรี ซึ่งส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 50 เป็นผู้ประสบปัญหาทางจิต ซึ่งจะต้องนำไปเข้ากระบวนการบำบัด ดูแล รักษา โดยกรมสุขภาพจิต แต่หากเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะรับไปเยียวยา ฟื้นฟู พร้อมฝึกอาชีพ และเพิ่มทักษะในชีวิต เพื่อไม่ให้หวนกลับมาวงจรเดิมอีก และ หากเป็นคนต่างด้าวต้องเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย ผลักดันออกนอกประเทศ



    วันนี้ที่กระทรงกลาโหมมีประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน โดย 1 ในหัวข้อการประชุมคือแผนการจัดระเบียบคนไร้บ้าน และขอทานในพื้นที่ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในระยะเร่งด่วน

    ร.ต.หญิงพรชนก อ่ำพันธุ์ ทีมโฆษกกระทรวงกลาโหม บอกว่า พลเอกประวิตร ให้กรุงเทพมหานคร /// เจ้าหน้าที่ตำรวจ /// กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และภาคเอกชน ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย โดยให้เริ่มทำงานตั้งแต่ 1-31 มี.ค.

    สำหรับกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 5กลุ่ม
    กลุ่มแรก คือ คนไร้ที่พึ่ง จะถูกส่งตัวไปยังศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งบ้านมิตรไมตรี และสถานคุ้มครองทั้ง 14 แห่งในกรุงเทพฯ และศูนย์ส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิตตามความเหมาะสม

    กลุ่ม2 คือ กลุ่มคนที่ป่วยทางกาย และป่วยทางจิตเวช จะส่งไปยังโรงพยาบาลเพื่อรักษา สำหรับเด็กจะส่งไปที่บ้านพักเด็กและสถานสงเคราะห์เด็ก

    สำหรับกระบวนการคุ้มครองดูแลกลุ่มคนทั้งหมด จะจัดให้มีการตรวจสุขภาพ ดำเนินการทางทะเบียนราษฎร์ และสวัสดิการต่างๆ ที่ประชาชนพึ่งได้รับ และ จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพทางอาชีพ และให้ติดตามเยี่ยมคนไร้ที่พึ่ง ที่ถูกส่งตัวไปในส่วนต่าง ๆ ทั้งสถานสงเคราะห์ สถานประกอบการ

    โดยการดำเนินการทั้งหมดจะต้องทำให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน และให้รายผลในที่ี่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ



    การจัดระเบียบขอทาน คือการฟื้นฟูและเยียวยาขอทานซึ่งเป็นคนไร้ที่พึ่งให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยไม่กลับไปเป็นขอทานอีก ทว่าขอทานมีหลากหลายประเภท บางรายมีอาการทางจิตร่วมด้วย กระทรวงพัฒนาสังคมจะมีวิธีจัดการขอทานเหล่านี้อย่างไร ไปติดตามได้จากรายงานคุณขวัญเรียม แก้วสุวรรณ

    จัดระเบียบขอทาน ชุบชีวิตคนไร้ที่พึ่งชุดปฏิบัติการจัดระเบียบขอทานและคนไร้ที่พึ่งได้ลงพื้นที่ซอยนานา ย่านสุขุมวิท พบทั้งคนไร้ที่พึ่ง ขอทานคนไทยและต่างด้าว คนต่างด้าวส่งดำเนินคดที่ีสถานีตำรวจ จากนั้นนำคนไร้ที่พึ่งและขอทานคนไทยมาที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เขตดินแดง ทันทีที่มาถึงเจ้าหน้าที่ได้นำตัวไปอาบน้ำ ตัดผม และให้สวมใส่เสื้อผ้าใหม่ แล้วเริ่มคัดกรอง คนไร้ที่พึ่งบางคนป่วยทางจิต บางคนคาดว่าเป็นพิษสุราเรื้อรัง ส่วนขอทานบางคนพบว่ามาจากต่างจังหวัด อย่างครอบครัวนี้ (ผู้หญิงอุ้มเด็ก 2 คน และป้าเสื้อลายสก๊อต) มาด้วยกัน 4 คน บอกว่ามาจากเพชรบุรี และป้าคนนี้ (เสื้อสีน้ำตาล อ้วนๆ) มาจากสระแก้ว

    หลังจากคัดกรองเรียบร้อย ทั้งหมดต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูตามการจัดระดับ 3 ระดับคือ

    -คนที่ไม่มีใครดูแลและเดือดร้อน ศูนย์จะส่งไปที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนนทบุรี
    -ระดับ 2 คือใครที่อยู่ตัวคนเดียว จะส่งไปที่ธัญโมเดล เรียนรู้วิถีเกษตรกร เมื่อศักยภาพพร้อมก็จะจัดสรรที่ดินทำกินให้ในนิคมพึ่งตนเอง พร้อมยื่นเรื่องขอพ้นโทษคดีขอทาน
    -และสุดท้ายหากมีครอบครัวต้องดูแล ชุดฟื้นฟูจะไปที่บ้านให้การดูแลและคุ้มครอง ไม่ให้กลับมาขอทานซ้ำอีก

    แต่ทั้ง 3 ระดับ หากพบว่าร่างกายมีบาดแผล หรือคาดว่าป่วยทางจิต ชุดปฎิบัติการจะนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

    ปฎิบัติการจัดระเบียบขอทานและคนไร้ที่พึ่ง ยังจะดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ ร่วมกับหน่วยงานในท้องที่ทั้งตำรวจ ทหาร โรงพยาบาล ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จนกว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรม แต่เบื้องต้นมีคำสั่งจากรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ให้รายงานผลการทำงานภายใน 7 วันนับจากนี้



    รัฐบาลเดินหน้าจัดระเบียบขอทาน และคนเร่ร่อนอย่างเข้มข้นตลอดเดือนมีนาคมนี้ ขณะที่นายกรัฐมนตรีกำชับเป็นพิเศษดูแลขอทานเด็ก หวั่นเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์

    โดยรัฐบาลตั้งกองอำนวยการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและขอทาน หรือ กอค. และชุดปฎิบัติการ 10 ชุด ลงพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดระเบียบขอทานและคนไร้ที่พึ่งอย่างเข้มข้นตลอดเดือนมีนาคม โดยที่ผ่านมาพบขอทาน 58 ราย คนไร้ที่พึ่ง 62 ราย ในจำนวนนี้เป็นต่างชาติ 29 ราย จึงนำเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง ที่บ้านมิตรไมตรี กรุงเทพมหานคร และสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนนทบุรี

    โดยกรณีคนไทย จะได้รับการบำบัดฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ตรวจสอบปัญหาเพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างตรงจุด เสริมสร้างความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ให้หารายได้เลี้ยงตนเองและกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ หากเป็นผู้ป่วยจิตเวช จะส่งไปยังสถานพยาบาลเฉพาะทาง ส่วนผู้ที่เป็นคนต่างชาติจะดำเนินการส่งกลับประเทศ

    ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. กำชับให้เข้มงวดเป็นพิเศษกับกลุ่มขอทานเด็ก เพราะอาจเป็นเหยื่อในกระบวนการค้ามนุษย์ อีกทั้งให้บูรณาการความร่วมมือทำงานในเชิงป้องกัน และแก้ไขที่ต้นตอ เช่น การใช้ความรุนแรงในครอบครัว การติดยาเสพติด ความตึงเครียดจากเศรษฐกิจ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

    พร้อมขอให้ประชาชน หากพบเห็นขอทานหรือคนไร้ที่พึ่ง แจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร 1300 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยประเทศไทยมีสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 11 แห่ง มีสมาชิกอาศัยพึ่งพิงอยู่ 4,334 คน



    การบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการขอทานฉบับใหม่ ในช่วงปลายเดือนกรกฎคมของปีที่ผ่านมา นอกจากจะมีการเพิ่มอัตราโทษผู้ทำการขอทานแล้ว ยังกำหนดให้ผู้ที่ต้องการแสดงความสามารถในที่สาธารณะ จะต้องมีบัตรประจำตัวและต้องขออนุญาตก่อนทำการแสดงด้วย เพราะไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้จังหวัดขอนแก่นกำลังเร่งรณรงค์ในเรื่องนี้ ติดตามได้จากรายงานเรื่องนี้
     
    Last edited: 28 Mar 2017
  19. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    มาตรการจัดระเบียบในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คือ การ เร่งจัดระเบียบขอทานและคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่ กทม. นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการจัดระเบียบคนกลุ่มนี้ ล่าสุดนายกรัฐมนตรีออกมาระบุว่า ต้องแก้ไขปัญหานี้จากต้นเหตุ



    ปัญหาคนเร่ร่อนและขอทานที่เป็นเยาวชน ถือเป็นปัญหาที่รัฐบาลกำลังเร่งจัดการให้หมดไปจากสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ถือเป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยการนำกลุ่มคนเหล่านี้ อบรมเสริมสร้างอาชีพและปรับทัศนคติไม่ให้มาใช้ชีวิตเป็นคนเร่ร่อนหรือขอทาน พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ติดตามได้จากรายงาน





    การจัดระเบียบอย่างจริงจังแก้ปัญหาคนเร่ร่อนและขอทาน ในขณะนี้กำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่ ตามนโยบายของภาครัฐที่ต้องการให้คนเหล่านี้มาพัฒนาศักยภาพให้เกิดคุณค่าในตัวเอง ยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม ติดตามได้จากรายงาน
     
    Last edited: 28 Mar 2017

Share This Page