รัฐบาลกับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Ricebeanoil, 16 Mar 2016

  1. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐบาลเตรียมผลักดันร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ และถือเป็นครั้งแรกที่จะมีกฏหมายด้านบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

    เหตุผลสำคัญในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ถอดบทเรียนมาจากปัญหาน้ำท่วมและภาวะขาดแคลนน้ำจากภัยแล้ง ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำ รวมถึงปัญหาน้ำเน่าเสียไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยมีเป้าหมายให้คนไทยใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรับผิดชอบ นับเป็นร่างกฏหมายแรกที่ครอบคลุมการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดความผิดทางแพ่งและอาญากับผู้ที่สร้างความเสียหายกับทรัพยากรน้ำ

    สำหรับร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ หากผ่านเป็นกฏหมายจะต้องมีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ มีองค์กรบริหารน้ำ 4 ระดับใน 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ ระดับลุ่มน้ำสาขาและระดับพื้นที่ชุมชน และวางแผนจัดการน้ำในภาวะวิกฤตทั้งน้ำแล้งและน้ำท่วม

    กลุ่มผู้ใช้น้ำแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.กลุ่มใช้น้ำเพื่อการดำรงชีพ อุปโภค-บริโภคในครัวเรือน ทำการเกษตร 2.กลุ่มใช้น้ำเพื่อการเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และ 3.กลุ่มกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำมาก

    โดยกลุ่มผู้ใช้ประเภทที่ 2 และ 3 ต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และต้องเสนอแผนจัดการน้ำ ที่กักเก็บไว้ในภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม รวมถึงการป้องกันน้ำเน่าเสียด้วย



    หลังจากที่รอคอยกันมานานกว่า 20 ปี เกี่ยวกับการนำน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามาใช้ในพื้นที่ภาคอีสาน ขณะที่วันนี้ได้เริ่มนำน้ำโขงจากจังหวัดหนองคาย เข้าลำห้วยหลวงแล้ว เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย และอุดรธานี

    โดยเส้นทางน้ำจากน้ำโขงเข้าลำห้วยหลวงไปยังพื้นที่ปลายทางจังหวัดอุดรธานี ระยะทางรวม 80 กิโลเมตร ระยะแรกจะทำการสูบน้ำตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. รวม 12 ชั่วโมง ปริมาตรน้ำ 518,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทำให้เพิ่มน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรให้ชาวนาทำนาปรังได้ พื้นที่ 13,000 ไร่

    จากการตรวจสอบเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ชาวบ้านริมลำห้วยหลวงในพื้นที่ตำบลชุมช้าง, ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย ได้ใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หางพญานาค สูบน้ำเข้าแปลงนาแล้ว ขณะนี้ข้าวกำลังอยู่ระหว่างออกร่วง ทำให้มีน้ำต้นทุนเพิ่มให้กับแปลงนาทันที

    ด้านชาวบ้านริมลำห้วยหลวงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ต่างรู้สึกดีใจกับข่าวนี้ โดยเส้นทางน้ำจะผ่านหลายอำเภอ ตั้งแต่อำเภอสร้างคอม, อำเภอเพ็ญ, อำเภอบ้านดุง ไปจนถึงอำเภอหนองหาน, อำเภอเมือง จะได้มีน้ำในหน้าแล้ง

    ซึ่งแนวคิดการผันน้ำจากน้ำโขงเข้ามาใช้ประโยชน์ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2532 เป็นที่รู้จักภายใต้โครงการ"โขงชีมูล" แต่สุดท้ายก็กลายเป็นแค่แนวคิดในกระดาษ เนื่องจากติดปัจจัยหลายประการ กระทั้งมาเห็นผลในวันนี้ ซึ่งหากสามารถดึงน้ำมาใช้ในพื้นที่อีสานตอนกลางและล่างได้ จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอีกมาก
     
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  3. Kop16

    Kop16 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    5 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,461
    ถ้าสร้างเขื่อนแม่วง และไม่ล้ม โครงการจัดการน้ำ 2 ล้านล้าน ป่านนี้ เมืองไทยไม่แห้งแล้ง แถมมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงด้วย

    กปปส ปชป รับผิดชอบไหม
     
    AlbertEinsteins และ ปู่ยง ถูกใจ.
  4. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ในระยะอันใกล้นี้ปัญหาเรื่องน้ำจากภัยแล้งกำลังจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่มันคือปัญหาของโลก การวางแผนการจัดการเรื่องน้ำให้เป็นระบบ นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ถึงแม้ว่าสำหรับเมืองไทยจะดูช้า มากๆ
    และการวางแผนการใช้ทรัพยากรน้ำ จะส่งผลให้ต้องมีการวางแผนการผลิตของเกษตรกรไปในตัว ซึ่งจะเป็นการควบคุมปริมาณ ราคาในตลาดได้ด้วย
     
    Alamos และ ปู่ยง ถูกใจ.
  5. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    โครงการ ดึงน้ำจาก สาละวิน ลงเขื่อนภูมิพล

    และโครงการ ดึงน้ำแม่น้ำโขง มาลงภาคอีสาน กับอีกส่วนดึงมาลงเขื่อนสิริกิต์ มีมานานแล้ว น่าจะถึงเวลาที่ต้องคุยกับเพื่อนบ้านจริงๆจังๆ ได้แล้ว

    โครงการ แก่งเสือเต้นควรต้องรีบทำ ถ้าทำแล้ว ปิง วัง ยม น่าน มีเขื่อนหมดจะดีต่อภาคกลางมาก

    ว่าไป ตอนนี โครงการเขื่อนหลายโครงการ ควรนำมาศึกษาสร้าจริงๆจังๆ พร้อมกับ การ ปลูกป่า ให้เยอะขึ้นได้แล้วไม่งั้นอนาคตแย่แน่ๆ

    สำหรับผม มีน้ำเยอะ ดีกว่า ไม่มีน้ำ
     
    ปู่ยง likes this.
  6. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ภายในปีนี้คนไทยจะมีกฏหมายที่กำหนดสิทธิ์การใช้น้ำ โดยกลุ่มที่ใช้น้ำมากต้องเสียค่าธรรมเนียม หลายฝ่ายเชื่อว่ากฎหมายใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาทั้งน้ำแล้งและน้ำหลากของประเทศทั้งระบบ

    อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบายว่าสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ คือเรื่องสิทธิ์การใช้น้ำของคนไทยให้เกิดความเท่าเทียม โดยแบ่งกลุ่มประเภทผู้ใช้น้ำอย่างชัดเจน ตั้งแต่ใช้ในภาคครัวเรือน เพื่อการพาณิชย์ จนถึงภาคอุตสาหกรรม โดยกำหนดให้กลุ่มผู้ใช้น้ำปริมาณมากต้องขออนุญาต และต้องเสียค่าธรรมเนียมใช้น้ำ

    ขณะที่นักวิชาการด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำ เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะทำให้การจัดการน้ำในประเทศเป็นระบบมากขึ้น ให้ทุกคนที่ใช้น้ำมีส่วนร่วม ลดความขัดแย้งเเก้ปัญหาการแย่งน้ำของประชาชน ที่สำคัญต้องมีความชัดเจนว่าเงินที่เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำจะนำไปใช้อะไรบ้าง

    กรมทรัพยากรน้ำจะเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ คาดว่าเมื่อผ่าน สนช.จะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในสิ้นปีนี้



    การนำน้ำโขงเข้าลำห้วยหลวง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรพื้นที่ประสบภัยแล้งของจังหวัดหนองคายและอุดรธานี ล่าสุดมวลน้ำเข้าพื้นที่อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานีแล้ว

    นายเสถียร แพงมา หัวหน้าฝ่ายก่อสร้าง 1 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ บอกว่า การประเมินกรณีนำน้ำจากลำน้ำโขงเข้าลำห้วยหลวง ตั้งแต่เมื่อวานนี้ เดินเครื่อง 12 ชั่วโมง ได้ปริมาตรน้ำประมาณ 250,000 ลูกบาศก์เมตร ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ สาเหตุเพราะท่อรอยต่อส่งน้ำบางช่วงมีน้ำไหลออก เบื้องต้น ได้ทำการแก้ไขแล้ว รวมถึงวันนี้มีการปรับเครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง ให้สามารถทำงาน ปล่อยน้ำได้อย่างสมดุล สม่ำเสมอกัน ก่อนจะมีการประเมินอีกครั้งช่วงเย็นวันนี้

    สำหรับมวลน้ำจากลำห้วยหลวง จังหวัดหนองคาย ล่าสุด เข้าพื้นที่อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานีแล้ว ทำให้ปริมาณน้ำในลำห้วยหลวงจังหวัดอุดรธานีเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 3 เซนติเมตร ตลอดเส้นทางน้ำ ชาวบ้านมีการสูบน้ำจากลำห้วยหลวงขึ้นมาใช้ในพื้นที่การเกษตรอย่างต่อเนื่อง



    มาทำความรู้จักโครงการสร้างรายได้จากพืชทดแทนนาปรังนี้เป็นหนึ่งใน 8 มาตรการหลัก ของโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 58 ถึงปี 59 กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ โดยสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพด และถั่วชนิดต่างๆ เน้นลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน ล่าสุดบางจังหวัดที่ประสบปัญหาภัยแล้งหนัก ได้ปรับเปลี่ยนมาสนับสนุนปลูกพืชผักสวนครัว และเห็ดชนิดต่างๆ แทน

    ผลการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกรล่าสุด (17 มีนาคม 59) ได้ดำเนินการแล้ว 119,198 ราย หรือร้อยละ 77 จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 155,183 ราย โครงการนี้จะสิ้นสุดในเดือนเมษายน และจะเริ่มประเมินผลเดือนเมษายนเช่นกัน



    โครงการศรแดงพืชน้ำน้อย จากร้อยสู่ล้าน เกิดขึ้นเพื่อร่วมฝ่าวิกฤติแล้งไปกับเกษตรกร โดย บ.อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชรายใหญ่ตราศรแดง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในประเทศไทย เปิดตัวเมล็ดพันธ์ุพืชใช้น้ำน้อย 7 ชนิด ได้แก่ 1.แตงกวา 2.ฟักทอง 3.แตงโม 4.ข้าวโพดหวาน 5.ข้าวโพดข้าวเหนียว 6.แฟง และ 7.ถั่วฝักยาว พร้อมตั้งทีมเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านการปลูกและบริหารจัดการต้นทุน เพื่อให้เกษตรกรที่หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    ทีมข่าวลงพื้นที่แปลงผักของเกษตรกรที่ใช้เมล็ดพันธุ์ของศรแดง ใน จ.อ่างทอง เราพบว่าเกษตรกรไม่ประสบความสำเร็จ เพราะก่อนหน้านี้อากาศหนาว และลมพัดแรง ทำให้รากคลอน ดูดซึมอาหารได้ไม่ดี ในขณะที่อีกรายหนึ่งที่สิงห์บุรี กลับได้ผลงอกงาม เมล็ดพันธุ์พืชใช้น้ำน้อยของศรแดงสร้างรายได้ให้ได้มากกว่า 200 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการทำนาปกติ และยังใช้น้ำน้อยกว่าทำนากว่าครึ่ง



    โครงการตำบลละ 1 ล้าน แก้ปัญหาภัยแล้ง
    2016/03/18 9:12 AM

    อุดรธานี 18 มี.ค.-พื้นที่ ต.จอมศรี จ.อุดรธานี ซึ่งนายกรัฐมนตรีเดินทางลงพื้นที่วันนี้ ปัญหาภัยแล้งแก้ได้ด้วยโครงการ 1 ตำบล 1 ล้านบาท โดยการนำเงินที่ได้ทำประตูน้ำเปิดปิดน้ำหมองมัก แหล่งน้ำสำคัญในพื้นที่ รวมถึงจ้างชาวบ้านขุดลอกคูคลอง ทำให้มีน้ำเพิ่มมากขึ้นกว่า 2 เท่า ติดตามจากรายงาน.-สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/content/427153
     
    Last edited: 19 Mar 2016
    Alamos และ Anduril ถูกใจ.
  7. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่รัฐบาลต้องตระหนักถึงการนำ "น้ำมือสอง" มาใช้อย่างจริงจังซักที



    ปีนี้แล้งจัดมาก ถึงตอนนี้น้ำต้นทุนสำหรับผลิตประปาก็เหลือน้อยเต็มที แต่ท่ามกลางวิกฤตน้ำแล้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำน้ำประปาใช้แล้ว ผ่านกระบวนการบำบัด เป็น น้ำมือสอง แจกให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปนำไปรดต้นไม้ เพื่อลดการใช้น้ำประปาลง ติดตามจากรายงาน



    ภาคอุตสาหกรรม เป็นภาคส่วนที่มีความต้องการใช้น้ำจำนวนมาก อย่างนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ใช้น้ำเฉลี่ย 27 ล้านคิวต่อปี ท่ามกลางสถานการณ์ภัยแล้ง จึงอาศัยเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียมาใช้ เพื่อหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ ทดแทนการใช้น้ำดิบได้ถึงร้อยละ 40



    ชลประทานโคราช เร่งขุดคลองส่งน้ำพลกรัง ยาว 6 กิโลเมตร เพื่อส่งน้ำจากเขื่อนลำตะคองเก็บให้ชาวเมืองใช้ในหน้าแล้ง และแก้ปัญหาน้ำท่วม

    นายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง บอกถึงมาตรการเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาน้ำท่วมเขตเทศบาลนครนครราชสีมา และรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ว่า ขณะนี้ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบใน 5 อำเภอ ที่มีคลองลำตะคองไหลผ่าน

    นอกจากนี้ ยังต้องมีการบริหารจัดการน้ำในลำตะคองให้กับพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภค บริโภค เพียงพอตลอดฤดูแล้ง ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ได้มีขอการขออนุมัติโครงการขุดลอกปรับปรุงคลองส่งน้ำ และปรับปรุงคลองคอนกรีต จากสำนักชลประทานนครราชสีมา โดยดำเนินการขุดลอกคลองที่ตั้งอยู่บริเวณบ้านพลกรัง ต.พลกรัง อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่งมีระยะทางยาวประมาณ 6 กิโลเมตร

    โดยการขุดลอกคลองดังกล่าวให้มีความกว้าง และความลึกเพิ่มขึ้นจากเดิม ที่เป็นคลองส่งน้ำกว้าง 6 เมตร ลึก 1.5 เมตร เป็นคลองส่งน้ำกว้าง 16 เมตร ลึก 2.5 เมตร ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการกักเก็บน้ำในช่วงหน้าแล้งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ยังกล่าวต่อว่า สำหรับคลองส่งน้ำบ้านพลกรัง สายนี้ จะมีประโยชน์ในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึง โดยจะสามารถทำการระบายน้ำที่เอ่อล้นมาจากเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เพื่อทำการระบายน้ำไปยังบึงที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองโคราชได้ รวมถึงในปีหน้า ก็จะช่วยบรรเทาในเรื่องของภัยแล้ง โดยจะสามารถกักเก็บน้ำที่ไหลผ่านได้ในปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2559 นี้แน่นอน.
     
    Alamos likes this.
  8. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
     
    Alamos และ Kop16 ถูกใจ.
  9. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรมฝนหลวงฯและกระทรวงกลาโหม ร่วมมือกันในการพัฒนาจรวดยิงสกัดพายุลูกเห็บจากพื้นสู่อากาศ ลดข้อจำกัดเครื่องอัลฟาเจตที่บินได้เฉพาะกลางวัน คาดสามารถทดลองใช้ได้ในเร็ว ๆ นี้

    หลังจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตรร่วมกับกองทัพอากาศ เปิดภารกิจสกัดกั้นการเกิดพายุลูกเห็บ เพื่อยับยั้งบรรเทาความรุนแรงของพายุที่จะส่งผลกระทบกับประชาชนในภาคเหนือ โดยส่งเครื่องบินอัลฟาเจตจำนวน 2 ลำประจำการที่กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขึ้นบินยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดน์เข้าไปในกลุ่มเมฆเพื่อเร่งให้ก่อตัวและ กลั่นเป็นฝน ก่อนที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนใหญ่กลายเป็นพายุลูกเห็บ

    นายสุรสีห์ กิตติมณฑล รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เผยว่า แม้เครื่องบินอัลฟาเจตจะมีสมรรถนะสูงในการบินเข้าไปยิงสารพลุเข้ากลุ่มเมฆ ด้วยความเร็วภายใน 10 นาที ทั้งยังมีระดับการบินที่สูงกว่าเครื่องบินปกติ แต่ด้วยข้อจำกัดที่สามารถทำการบินได้ในเฉพาะช่วงกลางวัน ทำให้ไม่สามารถสกัดการก่อตัวของกลุ่มเมฆได้ในช่วงกลางคืน

    ซึ่งล่าสุดกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ร่วมกับสำนักเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พัฒนาเทคนิคในการยิงพลุสารซิลเวอร์ไอโอไดน์เข้าใส่กลุ่มเมฆด้วยการยิงจากฐาน ที่ตั้ง คลายกับการยิงจรวดจากพื้นสู่อากาศ

    ลักษณะการทำงานก็คือ เมื่อระบบเรดาห์ที่ควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไตตัน ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่แม่นยำในการตรวจวัดสูงที่สุดในประเทศไทยที่ติดตั้งไว้ ที่สถาตรวจอากาศอมก๋อย จ.เชียงใหม่ ตรวจพบกลุ่มเมฆที่มีผลึกน้ำแข็งและกำลังก่อตัวเป็นพายุฤดูร้อน

    จรวดพลุสารซิลเวอร์ไอโอไดน์ที่ถูกติดตั้งไปตามฐานต่างๆ จะทำการล็อคพิกัดและยิงเข้าไปในกลุ่มเมฆในช่วงกลางคืนหรือในช่วงเวลาที่ไม่ สามารถใช้อากาศยานได้ โดยวิธีการนี้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือที่ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน โดยคาดว่าระบบนี้จะสามารถทดลองใช้ได้ในเร็วๆนี้
     
  10. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    โครงการพระราชดำริคลองภักดีรำไพ แก้ปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน
    2016/03/29 7:16 PM

    จันทบุรี 29 มี.ค.-แม้ จ.จันทบุรี จะอยู่ติดทะเล มีทั้งภูเขาและป่าไม้ แต่ยังมีปัญหาทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งซ้ำซาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยถึงความเดือดร้อนของราษฎร จึงพระราชทานโครงการพระราชดำริ เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

    โครงการพระราชดำริคลองภักดีรำไพเริ่มมาตั้งแต่ปี 2552 ใช้งบประมาณ 3,500 ล้านบาท ล่าสุด คืบหน้ากว่าร้อยละ 90 โดยลำคลองปัจจุบันสามารถรับน้ำได้แล้ว ยังเหลือเฉพาะงานก่อสร้างขยายสะพาน 4 แห่ง และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนในเดือนพฤษภาคมปีนี้

    แนวคลองเริ่มจากแม่น้ำจันทบุรี ที่บริเวณหน้าฝายทุ่งสระบาป ประตูน้ำบ้านลาว ไปเชื่อมต่อกับคลองอ่าง และลงทะเลบริเวณบ้านหนองบัว ความยาว 11.662 กิโลเมตร มีประตูระบายน้ำ 11 แห่ง เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยผันน้ำจากแม่น้ำจันทบุรีได้ประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เพิ่มจากศักยภาพเดิมของแม่น้ำจันทบุรี ที่ระบายน้ำได้ 500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และยังประโยชน์ทั้งเพื่อการระบายน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วม และปัญหาภัยแล้ง โดยเป็นแหล่งน้ำเพิ่มเติมใช้ทั้งในด้านการเกษตร น้ำดิบผลิตประปา และไล่น้ำเค็ม รวมทั้งถนนเลียบสองฝั่งคลองยังเป็นเส้นทางสัญจรได้อีกด้วย

    ในสมัยโบราณ เมืองจันทบุรีเรียกว่า “เมืองอกแตก” เพราะมีแม่น้ำจันทบุรีไหลผ่านกลางเมือง แต่ด้วยความคดเคี้ยว จึงระบายน้ำไม่สะดวก ขณะที่พื้นที่รอบนอกมีลักษณะลาดเท ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ทำให้เกิดปัญหาทั้งน้ำท่วมและแล้งซ้ำซาก ล่าสุด ปีนี้ประกาศเป็นเขตประสบภัยแล้งกว่า 66% ของพื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 10 อำเภอ 59 ตำบล 484 หมู่บ้าน

    ชลประทานจังหวัดจันทบุรีมีโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะเขต อ.แก่งหางแมว ได้ตั้งงบราว 1,400 ล้านบาท สร้างอ่างเก็บน้ำพะวาใหญ่ และคลองหางแมว ความจุรวมกันเกือบ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้

    โครงการชลประทานขนาดใหญ่อาจมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาได้บ้าง แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีฝากแนะให้เกษตรกรน้อมนำพระราชดำริเกษตรทฤษฎี ใหม่ของในหลวงมาใช้ โดยแบ่งพื้นที่ 30% ทำแหล่งน้ำของตนเอง จะช่วยเติมเต็มภาคการเกษตร โดยไม่ต้องพึ่งพาแต่ธรรมชาติ.-สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/content/435543



    การสูบน้ำโขงจากลำห้วยหลวง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย และ อุดรธานี ผ่านมา 15 วัน มีน้ำต้นทุนทำการเกษตร เพิ่มสูงขึ้น

    โครงการนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม ที่สถานีสูบน้ำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้สูบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเติมน้ำเข้าลำห้วยหลวง และ แก้มลิง ส่งผ่านไปถึงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เกษตรกรตลอดเส้นทางน้ำได้รับประโยชน์มีน้ ทำนา ปลูกพืชแล้วหลายหมื่นไร่ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย และ ได้ปริมาณน้ำ 9.1 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามต้องการ หลังจากนี้ กรมชลประทาน จะเสนอที่ประชุม ครม.ก่อสร้างระบบส่งน้ำชลประทานขนาดกลาง จัดส่งน้ำให้คลอบคลุมพื้นที่ 315,000 ไร่ ในพื้นที่หนองคาย และ อุดรธานี จากเดิมส่งน้ำได้ 12,000 ไร่

    ส่วนที่จังหวัดบุรีรัมย์ นายสุพัฒ ชินรัมย์ กำนันตำบลบ้างยาง อำเภอเมือง รอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐไม่ไหว ควักเงินส่วนตัวกว่า 100,000 บาท จ้างรถขุดเจาะบ่อบาดาลขนาด 6 นิ้ว พร้อมอุปกรณ์ ช่วยเหลือชาวบ้านกว่า 100 หลังคาเรือน ให้ชาวบ้านใช้น้ำฟรี

    ขณะที่ชาวบ้าน ตำบลหัวทุ่ง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ไม่มีน้ำกินน้ำใช้ ต้องใช้รถเข็นพ่วงข้างรถจักรยาน ไปหาน้ำจากแหล่งอื่น บางจุดห่างจากหมู่บ้านกว่า 4 กิโลเมตร เนื่องจากในหมู่บ้านไม่สามารถทำประปาหมู่บ้านได้

    ส่วนชาวบ้านในพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำ 2 แห่ง บริเวณต้นน้ำแม่ละเมา ก่อนจะไหลลงแม่น้ำเมย กักเก็บน้ำไว้ใช้ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอพบพระ และ อำเภอแม่สอด



    กรมชลประทาน ชี้น้ำทะเลยกตัวสูงผิดปกติถึง 50 เซนติเมตร จากลมบริเวณปากอ่าว ทำให้น้ำเค็มรุกเจ้าพระยาค่าความเค็มสูง ระบายน้ำจากเขื่อนดันน้ำเค็ม



    ผลสัมฤทธิ์จากการสูบน้ำโขงเข้าสู่ลำห้วยหลวง จ.หนองคาย สามารถช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

     
    Last edited: 6 Apr 2016
    Alamos likes this.
  11. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ลองคิดแบบจุลภาค ก็มีตัวอย่างให้เห็นเหมือนกัน
    ***********************************************


    บ้านศาลาดิน ต้นแบบชุมชนจัดการน้ำ จ.นครปฐม
    2016/04/07 11:35 PM

    สำนักข่าวไทย 7 เม.ย.-ชุมชนต้นแบบจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริที่บ้านศาลาดิน จ.นครปฐม ซึ่งเคยประสบปัญหาทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย และน้ำเค็มรุก มูลนิธิอุทกพัฒน์จึงร่วมมือกับคนในชุมชนบริหารจัดการน้ำภายใต้แนวคิด “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” จนชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    คลองมหาสวัสดิ์บริเวณบ้านศาลาดิน ในอำเภอพุทธมณฆล จังหวัดนครปฐม วันนี้กลับมาใสสะอาดคืนวิถีชีวิตให้กับชุมชนอีกครั้ง หลังต้องประสบปัญหาทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็ม และน้ำเน่าเสีย มานานกว่า 20 ปี จนกระทั่งในปี 2553 ชุมชนบ้านศาลาดิน ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ น้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นกรอบในการแก้ปัญหา ใช้ธรรมชาติแก้ธรรมชาติ ตั้งเป้าลดการปล่อยไขมัน โดยให้ทุกบ้านใช้ถังดักไขมันสร้างวินัยจากครัวเรือน เพิ่มออกซิเจนในน้ำโดยใช้กังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนผักตบชวาก็นำมาทำเป็นดินผสมพร้อมปลูก สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่มูลนิธิอุทกพัฒน์ และชาวบ้านก็ร่วมจัดทำแผนที่การไหลของน้ำโดยประยุกต์ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาว เทียม และ GPS เพื่อกำหนดจุดขุดลอกคูคลองที่จำเป็น

    ปัจจุบัน วันนา คำคม เกษตรกรบ้านศาลาดิน ปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินจากนา 10 ไร่ เป็นไร่น่าสวนผสม แบ่งเป็นขุดสระสำหรับเก็บน้ำและเลี้ยงปลานิล 3 ไร่ ทำนา 3 ไร่ คันคลองสำหรับปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล 2 ไร่ และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 1 ไร่ สามารถเพิ่มรายได้จาก 10,000 บาทต่อปี เป็นอย่างน้อย 70,000 บาทต่อปี ซึ่งยังไม่นับรวมกับพืชผักสวนครัวที่สามารถเก็บขายรายวันได้อีกด้วย ชาวบ้าน ในชุมชนบ้านศาลาดินกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพียงเพราะหันกลับมาพึ่งพา วิถีธรรมชาติ เดินตามรอยศาสตร์ของพระราชา คือ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา.-สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/content/442142



    มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ กับการบริหารจัดการน้ำ
    2016/04/07 10:03 PM

    กรุงเทพฯ 7 เม.ย. – ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติภัยแล้งหนักที่สุด ในรอบ 20 ปี การบริหารจัดการน้ำโดยใช้ธรรมชาติแก้ธรรมชาติ จึงถือเป็นหนทางรับมืออย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริเป็นหลักในการทำงาน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำ

    ปัญหาภัยแล้งที่ยังคงวิกฤติ ส่งผลให้ขณะนี้น้ำในเขื่อนใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล เหลือน้ำใช้การได้จริงเพียง 4% ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ เหลือน้ำใช้การได้จริงเพียง 12% และจะประสบปัญหาต่อเนื่องไปถึงประมาณปลายเดือนพฤษภาคม

    ดร.รอยล จิตรดอน เลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ เปิดเผยว่า กลางปีนี้ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่วงรอบของลานีญา ทำให้สถานการณ์น้ำจะค่อยๆ ดีขึ้น

    การเตรียมรับมือบริหารจัดการน้ำของชุมชน จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ น้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ให้ประชาชนเข้าใจถึงสภาพน้ำในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

    ปัจจุบันชุมชนกว่า 600 แห่ง ที่เข้าร่วมบริหารจัดการน้ำกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ พบว่า ในช่วงที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ต่างมีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค มีเพียงร้อยละ 10 ที่ประสบปัญหาน้ำสำหรับการเกษตร เนื่องจากมีการจัดทำแผนที่น้ำชุมชน กำหนดจุดขุดลอกคูคลอง ขุดสระสำหรับกักเก็บน้ำ อีกทั้งสามารถวางแผนปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพน้ำได้

    จากการทำงานของมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริแล้ว 8 แห่ง อาทิ บริหารจัดการ 4 น้ำ บ้านศาลาดิน น้ำแล้ง น้ำหลาก บ้านลิ่มทอง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งสามารถขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือของประชาชน อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป. – สำนักข่าวไทย

    http://www.tnamcot.com/content/442160
     
    Anduril likes this.
  12. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    สงสัยตรงนี้ครับ ลานีญานี้ คืออะไร ที่ทำให้สถานการณ์น้ำเราดีขึ้น
     
  13. เจ๋งเหม่งจ๋าย

    เจ๋งเหม่งจ๋าย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    8 Feb 2016
    คะแนนถูกใจ:
    22
    ชาวนาผูกคอตายอีกแล้ว ไล่ให้เลิกทำนา พอเขาเลิกทำนาไปปลูกมันก็ตายอีก
     
  14. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ตามนี้ครับ
    http://www.lesa.biz/earth/hydrosphere/elnino
     
    Anduril likes this.
  15. ทองเค

    ทองเค อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    25 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,875
    ใช้คำว่า แนะนำให้ปลูกพืชเสริม นอกจากฤดูทำนา จะเหมาะกว่าครับ
     
  16. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    ขอบคุณครับ
    ขอยกมาให้อ่านกัน

    เราอาจกล่าวอย่างง่ายว่าเอลนีโญทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกันลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งเอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดภาพถ่ายจากดาวเทียมโทเพกซ์/โพซีดอน (Topex/Poseidon) ในภาพที่ 4 แสดงให้เห็นความต่างระดับของน้ำทะเลบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกสีขาวแสดงระดับน้ำซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 14 เซนติเมตรสีม่วงหรือสีเข้มแสดงระดับน้ำซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ -18 เซนติเมตรขณะที่เกิดลานีญา - เอลนีโญ
    elnino_lanina.jpg
    หากสรุปให้เข้าใจง่าย เอลนีโญ ทำให้แถบบ้านเราแล้ง อีกฟากโลกชุ่มชื้น
    ถ้าเป็น ลานีญา แถบบ้านเราจะชุ่มชื้น อีกฟากโลกจะแห้งแล้ง
     
  17. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เกาะสมุย อยู่ในพื้นที่ห่างไกลน้ำจืด ยิ่งในช่วงหน้าแล้ง มีท่องเที่ยวไปเยือนจำนวนมาก ทำให้ในพื้นที่บริหารจัดการน้ำด้วยการ นำเทคโนโลยีอาร์โอ หรือ รีเวิร์สออสโมซิส สำหรับเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด รองรับผู้ใช้น้ำ ติดตามจากรายงานของคุณจีระภา สุริสุข



    กรมชลประทานเตรียมผันน้ำผ่านท่อส่งน้ำของบริษัทอีสวอเตอร์ ผลิตน้ำประปาช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรา

    ล่าสุด ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระ ชลบุรี เหลือน้ำใช้การได้เพียง 14 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถใช้น้ำได้อีกเพียง 70 วัน จึงจำเป็นต้องลดการระบายน้ำจากเดิมวันละ 200,000 ลูกบาศก์เมตร เหลือ 160,000 ลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมนี้

    นายเกิดชัย ธัญวัฒนกูล ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 9 เปิดเผยว่า ได้ขออนุมัตินำน้ำก้นอ่างเขื่อนบางพระ มาใช้อีก 5 ล้านลูกบาศก์เมตร และอ่างเก็บน้ำบ้านบึงก็จะนำน้ำก้นอ่างมาใช้เช่นกัน

    ส่วนน้ำดิบผลิตน้ำประปาได้เตรียมผันน้ำจากจังหวัดข้างเคียง โดยบริษัทจัดการน้ำภาคตะวันออก (อีสวอเตอร์) ได้วางท่อผันน้ำและหาแหล่งน้ำจากบ่อดินของเอกชนสำรองไว้เป็นแหล่งน้ำดิบที่จะส่งเข้าระบบของการประปาภูมิภาค เพื่อใช้ผลิตน้ำประปาในชลบุรีและฉะเชิงเทรา

    นายโสกุล เชื้อภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม อีสวอเตอร์ มั่นใจว่า การส่งน้ำจะผ่านท่อเชื่อมอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ เส้นที่ 2 จะช่วยจ่ายน้ำได้ 622 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี บรรเทาภัยแล้งและรองรับการเติบโตภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน



    ข่าว 7 สี - จากการขึ้นบินทำฝนหลวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้มีฝนตกและเริ่มมีน้ำไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์บ้างแล้ว

    กรมฝนหลวงและการบินเกษตร รายงานผลการปฏิบัติการขึ้นบินทำฝนหลวงในช่วงที่ผ่านมา พบว่าเริ่มมีฝนตกลงพื้นที่เป้าหมายในภาคอีสาน โดยเฉพาะลุ่มรับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ทำให้มีน้ำไหลลงอ่างขนาดเล็ก รวมถึงเขื่อนอุบลรัตน์ บ้างแล้ว

    ด้านกรมชลประทาน ได้รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆว่า ขณะนี้เขื่อนอุบลรัตน์ไม่เหลือน้ำใช้การแล้ว ยังคงต้องดึงน้ำสำรองมาใช้ และให้ระบายตามแผนเฉลี่ยวันละ 800,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อให้ประชาชนเพียงพอสำหรับอุปโภค-บริโภค ส่วนเขื่อนอื่นๆในลุ่มน้ำเจ้าพระยาวันนี้มีน้ำใช้การได้ 2,068 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายออกรวมกันวันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร

    ส่วนการปลูกข้าวนาปีในฤดูกาลที่จะถึงนี้ กรมชลประทาน ได้วางแผนจัดสรรน้ำไว้แล้ว เพื่อจะไม่ต้องเลื่อนทำนาอีก อย่างไรก็ตามขอให้เกษตรกรติดตามสภาพอากาศ รวมถึงปริมาณน้ำฝนจากหน่วยงานของภาครัฐอย่างใกล้ชิด ก่อนลงมือปลูกข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ผลผลิตเสียหาย



    รัฐบาลพอใจมาตรการประหยัดน้ำ คาดหลังเดือนเมษายนจะมีน้ำต้นทุนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพื่อเก็บไว้ใช้ในช่วงฤดูร้อนนี้

    พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า หน่วยปฎิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วที่ออกปฎิบัติการมาตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ได้ออกปฎิบัติการบินไปแล้วทั้งสิ้น 537 เที่ยวบิน ส่งผลให้มีฝนตกกระจายใน 41 จังหวัดทั่วประเทศ มีน้ำไหลเข้าอ่างสะสมประมาณ 51.55 ล้านลูกบาศก์เมตร

    ทั้งนี้ ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน นับจากเมื่อสิ้นฤดูฝนที่ผ่านมา มีน้ำใช้การได้ 4,247 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำเข้าเขื่อนทั้งสิ้น 1,042 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายออกเพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค 2,169 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเมื่อหักปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในกิจกรรมทุกประเภท ตลอดช่วงเดือนเมษายน เชื่อว่าจะมี ปริมาณน้ำสำรองในเขื่อนหลักไว้ในต้นฤดูฝน จำนวน 1,814 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1,347 ล้านลูกบาศก์เมตร

    อย่างไรก็ตาม ทางการจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากประชาชนในการประหยัด และใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าต่อไป พร้อมขอบคุณเกษตรกรที่ตอบรับนโยบายของรัฐบาล ในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยและการเลี้ยงสัตว์ ทำให้สามารถควบคุมการส่งน้ำ เพื่อนำไปผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคได้เพียงพอในฤดูร้อนนี้



    สถานการณ์น้ำของไทยยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งหรือปัญหาน้ำท่วม ซึ่งยังหาจุดที่ลงตัวไปได้ การแก้ปัญหาก็ยังคงเป็นการแก้แบบเฉพาะหน้า แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบต่างคนต่างทำ ขาดความเป็นเอกภาพ ล่าสุด 3 กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ลงนามความร่วมมือ ในการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการน้ำ ไปติดตามเรื่องนี้กับคุณขวัญเรียม แก้วสุวรรณ

    ฤดูร้อนน้ำแล้ง ฤดูฝนน้ำท่วม สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยไม่มีแผนบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน ส่งผลกระทบทั้งด้านอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม รัฐบาลประกาศขอความร่วมมืองดทำการเกษตร ชาวบ้านได้รับผลกระทบ หลายชุมชน การเดินหน้าแก้ปัญหานี้จึงเป็นโจทย์ใหญ่

    ล่าสุดสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) เลงเห็นว่าแท้จริงแล้วการจะมีน้ำใช้อย่างยั่งยืน ส่วนสำคัญที่สุดคือคนในชุมชนบริหารจัดการกันเอง โดยรัฐและเอกชนมีหน้าที่สนับสนุนอย่างเต็มที่

    ซึ่งตอนนี้มีชุมชนที่บริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ และประสบความสำเร็จ อย่างบ้านลิ่มทอง จังหวัดบุรีรัมย์ บ้านทับพริก จังหวัดสุราษฎธานี บ้านแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น โดยการเริ่มต้นจากแผนที่ทางสารสนเทศมองหาแหล่งน้ำในชุมชน หลังจากนั้นชาวบ้านคิดหาวิธีนำน้ำมาใช้หรือกักเก็บ อาจจะด้วยวิธีขุดสระน้ำของตัวเอง การสร้างฝายส่วนกลางในทางน้ำไหลภายในชุมชม

    การบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน สามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้จริง นี้จึงกลายเป็นความหวังที่จะแก้วิฤกติภัยแล้ง

    การเดินหน้าแก้วิกฤตนี้ ต่อจากนี้ไปภาครัฐอย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้คำมั่นว่าจะให้การสนับสนุน โดยทั้ง 3 กระทรวงได้ลงนามความร่วมมือ "สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการน้ำโดยเกษตรอย่างยั่งยืน" ภายใต้การทำงาน"รัฐประชาเพื่อเกษตรยั่งยืน
     
    Last edited: 19 Apr 2016
  18. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482




    เข้าหน้าฝนปลาย พ.ค. กรมชลฯ เตรียมแผนเก็บน้ำเข้าเขื่อน



    นายกฯชี้ทวงคืนป่า 128 ล้านไร่ให้ได้ภายใน 10 ปี



    ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ รายงานว่าในช่วงสัปดาห์หน้ากรมอุตุนิยมวิทยา จะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ แต่กรมชลประทานก็จะยังคงระบายน้ำออกจาก 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาวันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร จนกว่าฝนจะตกสม่ำเสมอ โดยจะจัดสรรเพื่ออุปโภค-บริโภค 7 ล้านลูกบาศก์เมตร, รักษาระบบนิเวศ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร และสำหรับทำเกษตรต่อเนื่องอีก 3 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากในช่วงต้นฤดูฝน คาดการณ์กันว่าฝนอาจจะตกไม่สม่ำเสมอ ส่งผลกระทบต่อประชาชนได้ และหากเกษตรกรจะลงปลูกข้าวในช่วงนี้ ก็ต้องวางแผนเก็บกักน้ำไว้ด้วยเพราะบางช่วงอาจมีปัญหาฝนทิ้งช่วง กระทบกับผลผลิตข้าวได้

    สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มเจ้าพระยาขณะนี้มีน้ำใช้การได้เหลืออยู่ 1,553 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมกัน 4 ล้านลูกบาศก์เมตร หากมีฝนตกมากขึ้น ก็จะพิจารณาลดการระบายน้ำออกจาก 4 เขื่อนหลักลงอีก จนไม่ระบายเลยเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งปีหน้า



    ระยะนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้มีความชื้นเหมาะสมในการทำฝนหลวง อีกความหวังที่จะเพิ่มปริมาณน้ำลงเขื่อน ไปดูภาพชัดๆ กับคุณชวัลนันท์ จันทร์ทรัพย์

    ผมอยู่ที่สถานีปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง หน่วยนครสวรรค์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ของสถานีแบบประจำที่ ครอบคลุมพื้นที่การทำฝนหลวงในพื้นที่ภาคกลาง

    ก่อนจะขึ้นบินทำฝนหลวง จะต้องมีการตรวจสอบสภาพอากาศ โดยใช้บอลลูนแบบนี้ปล่อยขึ้นไปก่อน ตัวบอลลูนจะมีเครื่องมือตรวจสอบความชื้น ความกดอากาศ วัดอุณหภูมิ จากนั้นก็จะส่งรายงานข้อมูลลงมาที่สถานีเรดาร์ด้านล่าง ถ้าวิเคราะห์แล้วพบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ มีเมฆ มีโอกาสก่อตัวได้

    กัปตันรณชัย จะพาผมพร้อมกับนักวิชาการ และเจ้าหน้าที่อีกรวม 6 คน ขึ้นเครื่องกาซ่า(Casa) ทำฝนหลวงกัน

    เราขึ้นมาถึงระดับความสูง 7,000-8,000 ฟุต ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ของเมฆอุ่น เป็นความสูงที่เหมาะสมพอดี สำหรับการทำฝนหลวงในบ้านเรา ลักษณะเมฆก็จะต้องเป็นเมฆก้อน ยิ่งก้อนใหญ่ๆอ้วนๆเหมือนดอกกะหล่ำ ก็ยิ่งดี แต่ถ้าเป็นเมฆลักษณะแผ่นนั้น ใช้ไม่ได้ ส่วนความชื้นสัมพัทธ์ต้องมากกว่า 60% จะพอดี

    เครื่องบินที่ใช้ในการทำฝนหลวง ของหน่วยปฏิบัติการนครสวรรค์ จะมี 2 ลำ ขั้นตอนแรก เราจะก่อกวนด้วยการโปรยสารฝนหลวง สูตรเกลือแป้ง เพื่อให้เป็นแกนกลั่นตัวและดูดซับความชื้น ช่วยให้เมฆเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

    จากนั้นมาถึงขั้นตอนที่ 2 คือการเลี้ยงให้อ้วน ตรงนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะว่าจะต้องโปรยสารฝนหลวง คือ แคลเซี่ยมคลอไรด์ ใส่ก้อนเมฆ ให้เกิดความสมดุล และเจริญเติบโตดีขึ้น แต่ถ้าโปรยมากไป เมฆก็อาจสลายลงได้

    ขั้นตอนสุดท้าย คือเครื่องบินจะจู่โจมเข้าไปในกลุ่มเมฆ เพื่อโปรยเกลือแป้งในระดับ 8,000 ฟุต และสารยูเรีย โปรยที่ระดับเหนือฐานเมฆ ตอนนี้เมฆมีความหนาแน่นพอแล้ว มีเม็ดน้ำขนาดใหญ่อยู่มากมาย เครื่องบินจะจู่โจมเข้าไปในกลุ่มเมฆ เราก็จะเห็นเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน

    พอจู่โจมสักพัก ฝนก็จะตกลงมา ส่วนจะตกตรงเป้าหมายหรือเปล่า ก็ขึ้นอยู่กับทิศทางและแรงลม ถ้าต่ำกว่า 20 น๊อต ก็จะถือว่าภารกิจสมบูรณ์

    ฝนที่ตกช่วงนี้ จะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นให้พื้นดิน และกักเก็บไว้ในเขื่อนไว้ใช้ในหน้าแล้งถัดไป

    ปีนี้แล้งจัด อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร บอกว่า ที่ผ่านมาจะทำฝนก็ยากอยู่ ได้ผลแค่ 75% เท่านั้น จากปกติขึ้นทีนึงจะต้องมีฝนตกลงมาเกิน 80%

    ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ จนถึงตอนนี้ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงได้ขึ้นบินทำฝนหลวงในพื้นที่ 64 จังหวัด มีน้ำไหลลงเขื่อนสะสมกว่า 122 ล้านลูกบาศก์เมตร และในเดือนนี้เป็นต้นไป หลายพื้นที่สภาพอากาศเหมาะสม ก็จะบินขึ้นทำฝนหลวงได้ถี่ขึ้นอีก ซึ่งก็จะเพิ่มปริมาณน้ำให้ไหลลงเขื่อนให้เห็นกันได้อย่างชัดเจน
     
    Last edited: 20 May 2016
  19. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ฤดูแล้งกำลังจะผ่านไป ทางกรมชลประทานเตรียมรับมืออุทกภัยต่อจึงเร่งเดินหน้าศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการแก้มลิง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งใน 4 จังหวัดเหนือนครสวรรค์ ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่เกิดอุทกภัยแทบทุกปี โดยจะใช้พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากอยู่เดิมมาพัฒนาเป็นแก้มลิงเก็บกักน้ำหลากได้อย่างเป็นระบบ มีการสร้างอาคารควบคุมน้ำเข้าออกพื้นที่ ควบคุมปริมาณน้ำที่จะเข้ามาเก็บในระดับที่ประชาชนใช้ชีวิตได้มีเส้นทางสัญจร และจะระบายน้ำออกได้ช่วงเวลาที่เกษตรกรจะเริ่มเพาะปลูก

    ทั้งนี้ ชาวบ้านอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เจ้าของนาที่โดนน้ำท่วมซ้ำซากทุกปีออกมาหนุนกรมชลประทาน ยินยอมให้ใช้พื้นที่ทำแก้มลิง เพราะเห็นว่าน้ำท่วมยังดีกว่าน้ำแล้ง โดยหลังน้ำลดยังมีน้ำให้เพาะปลูกได้ และดินก็ยังอุดมสมบูรณ์เพาะปลูกได้ง่ายด้วย



    เร่งเดินหน้าขุดลอกแหล่งน้ำ 1,604 แห่ง รองรับปริมาณน้ำฝนในฤดูฝนนี้ คาดว่า เพิ่มปริมาณน้ำกว่า 43 ล้านลูกบากศก์เมตร ประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 340,000 ครัวเรือน

    อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ นายสุพจน์ โตวิจักษณชัยกุล บอกว่า หลังจากคณะรัฐ มนตรี มีมติเห็นชอบโครงการบูรณาการการขุดลอกแหล่งน้ำ เพื่อเร่งแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ และเตรียมรับมือกับฤดูฝนนี้ เบื้องต้นวางแผนดำเนินการ 1,604 แห่ง กระ จายในพื้นที่ประสบภัยทั่วประเทศ เมื่อโครงการแล้วเสร็จ คาดว่าจะเพิ่มปริมาณน้ำได้มากถึง 43 ล้านลูกบากศก์เมตร ประชาชนได้รับประโยชน์ 3 แสนครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์กว่า 3 หมื่นไร่ โดยโครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็น พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ



    นายกฯ ลงพื้นที่โคราชแก้แล้ง อนุมัติ 1.5 พันล้านแก้ท่วม-แล้งลุ่มน้ำลำเชียงไกร



    กองทัพบกโดยกรมการทหารช่างหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กระทรงกลาโหมกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย บูรณาการร่วมกันขุดลอกลำคลองชะโด เพื่อใช้เป็นแก้มลิงแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน

    พันโทองอาจ แจ่มดี ผู้บังคับกองพันทหารช่างที่ 52 กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ได้นำรถดินบรรทุก 10 ล้อ รถแบ๊คโคร ทำการขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณะคลองชะโด ตำบลโกสลุด อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ตามโครงการบูรณาการการขุดแหล่งน้ำ เพื่อเป็นแก้มลิงในการเก็บกักน้ำแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืนซึ่งการดำเนินการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรักษาสภาพน้ำ แหล่งน้ำให้สามารถเก็บกักน้ำและระบายน้ำให้ทันก่อนฤดูฝนที่จะมาถึงในเดือนมิถุนายน 2559 ซึ่งจะทำประโยชน์ให้ประชาชนมีน้ำใช้อย่างพอเพียง ทั้งด้านอุปโภค บริโภค และการเกษตรกรรม รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ บรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง

    สำหรับพื้นที่ในการดำเนินการขุดลอกคลอง ความยาว 1,500 เมตร ความกว้าง 20-30 เมตร ลึก 1.15 เมตร ระยะเวลาดำเนินการ 45 วัน สามารถเก็บน้ำได้ 12,000 ลูกบาศ์กเมตร พื้นที่ได้รับประโยชน์จำนวน 5,000 ไร่ ประชากรได้รับผลประโยชน์ในการใช้น้ำ 1,000 ครัวเรือน จำนวน 3,320 คน



    วิกฤติลำน้ำปิงแห้งขอดปีนี้ ไม่ใช่แค่ขาดฝน แม้แต่น้ำต้นทุนที่ถูกส่งมาจากลำน้ำสาขา 7 สาย ก็ถูกส่งมาไม่ถึง เพราะตะกอนดินทับถม จนกักน้ำไม่ได้ ทหารพัฒนา ใช้เทคนิคใด เพราะสร้างแหล่งน้ำในลำน้ำยามน้ำแห้ง

    แม้จะมีฝนในหลายพื้นที่ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ลำน้ำสาขาแม่น้ำปิง ทั้งที่แม่ทา และน้ำลี้ กลับยังแห้งขอดอย่างที่ชาวบ้านไม่เคยเห็นในรอบหลายสิบปี เนื่องจากมีตะกอนดินทับถม จนกองดินแทบจะเท่าฝายกักเก็บน้ำ ที่มีตลอดลำน้ำ ส่งผลให้ต้นลำไย ที่กำลังออกดอกขาดน้ำ ยืนต้นตายไม่น้อย

    ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน บอกว่า เหตุน้ำปิงแห้งขอด เป็นเพราะ ที่ผ่านมา ไม่เคยมีการขุดลอก เนื่องจากไร้งบประมาณ ส่งผลให้น้ำจากลำน้ำสาขาทั้ง 7 สาย ไหลไปไม่ถึงลำน้ำปิง ปีนี้ทุกคนจึงได้เห็นลำน้ำปิง แห้งขอด จนสันทรายโผล่

    แต่การขุดลอกทั้งลำน้ำ ในภาวะวิกฤติที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ทันรับน้ำฝน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 3 กองบัญชาการกองทัพไทย บอกว่า อาจต้องใช้เวลาและงบหลายพันล้าน ทางรอดจึงต้องขุดหลุมกว้างขนาด 25 เมตร ลึก 2 เมตร 30 เซนติเมตร คล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู กลางลำน้ำลี้ และแม่ทา เป็นจุดๆ เพื่อให้เป็นแก้มลิงธรรมชาติ กักเก็บน้ำยามแล้ง โดยไม่ทำลายตลิ่งที่มีแต่เดิม วิธีนี้จึงน่าจะตอบโจทย์แล้งน้ำได้ดีที่สุด

    แต่เพราะไม่เคยขุดลอกมานาน เมื่อเครื่องจักรเปิดทางน้ำ ทรายกว่า 5 ล้านคิว จึงกลายเป็นขุมทรัพย์ย่อมๆ ที่ถูกตักขึ้นมาริมตลิ่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกำชับต้องบริหารจัดการอย่างโปร่งใส เพราะทรายกลางลำน้ำ ถือเป็นทรัพย์สินราชการที่ต้องนำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน

    เป็นอีกความพยายามแก้ปัญหาน้ำแล้ง เพื่อคืนวิถีธรรมชาติสู่ชุมชนลดความเดือดร้อน ยามแล้งมาเยือน
     
    Last edited: 4 Jun 2016
  20. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐบาล พร้อมประชาชน จะเดินไปพร้อมกัน ในการจัดการบริหารน้ำตามแนวทางพระราชดำริผ่าน 3 โครงการใหญ่ เพื่อจัดสรรน้ำให้เป็นระบบ ลดความเดือดร้อนของประชาชน ติดตามจากรายงานคุณสุคนธ์เพชร ผลประดิษฐานนท์

    พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่ทำหน้าที่ด้านการบูรณาการจัดสรรทรัพยากรน้ำใน 3 โครงการ

    แม้วันนี้เปิดเริ่มตัวโครงการ แต่ถ้าประชาชนร่วมมือกันอย่างจริงจังในอนาคตประเทศไทย จะไม่เกิดผลกระทบจากปัญหาน้ำ ทั้งปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยเช่นในอดีต



    ตามที่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี ได้แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก ซึ่งมีข้อความบางตอน วิจารณ์การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลชุดปัจจุบัน จนไม่มีน้ำทำการเกษตร รวมถึงใช้วิธีขุดลอกคูคลองเพื่อแก้ปัญหาซึ่งไม่ถูกวิธีนั้น พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้โพสต์โต้ตอบในเพจ โดยประเด็นเรื่องน้ำทำเกษตร ที่รัฐบาลต้องประกาศขอความร่วมมือให้ชาวนางดปลูกข้าวนั้น สืบเนื่องตั้งแต่ความกังวลเรื่องน้ำท่วมใหญ่ในปลายปี 2554 ส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำในปี 2555-2556 น้ำไม่เต็มเขื่อน และรัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ส่งเสริมให้ปลูกข้าวอย่างกว้างขวาง ทำให้มีการปลูกข้าวหลายรอบ ซึ่งต้องดึงน้ำจากเขื่อนต่างๆ ไปใช้ปริมาณมาก ประกอบกับในปี 2557 เกิดภาวะฝนแล้ง ต่อเนื่องถึงปี 2558 เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ จนน้ำต้นทุนลดลง แต่รัฐบาลในชุดปัจจุบัน ก็มีมาตรการช่วยเหลือสำหรับรายที่งดปลูกข้าว และทุกฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่าต้องให้ความสำคัญกับน้ำอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศก่อน

    ส่วนประเด็นการขุดลอกคลองนั้น ยืนยันว่าเป็นความต้องการ และสมัครใจของประชาชนในพื้นที่ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดเฉพาะ อีกทั้งการจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือ ก็โปร่งใส

    ด้าน นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำเริ่มไหลลงเขื่อนต่างๆ แล้ว แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยเขื่อนขนาดใหญ่ 33 แห่งทั่วประเทศ มีน้ำรวมกัน 31,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วน 4 เขื่อนหลักในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำใช้การได้ 1,358 ล้านลูกบาศก์เมตร

    นอกจากนี้ ยังกล่าวว่าพื้นที่ที่มีฝนตกสม่ำเสมอและปริมาณน้ำเพียงพอ ก็สามารถเริ่มเพาะปลูกพืชได้



    กรมชลฯ เพิ่มอ่างเก็บน้ำ 20 แห่ง เริ่มปี 60 รับมือภัยแล้ง-น้ำท่วม



    จังหวัดพิจิตร เร่งดำเนินการขุดลอกแกล้มลิงขนาดเล็กริมฝั่งแม่น้ำยมเพื่อเตรียมรับน้ำในฤดูน้ำฝน-น้ำหลาก เก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

    ปริมาณของฝนที่เพิ่มขึ้นจากอิทธิพลของฝนที่ตกลงมาในระยะนี้หลายภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ต่างเร่งดำเนินการเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยที่หนองกรด หมู่ที่ 10 ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ผู้รับจ้างเร่งนำรถแบ็คโฮ ขุดลอกหนองซึ่งมีพื้นที่ 3 ไร่เศษ เพื่อเตรียมไว้สำหรับเป็นพื้นที่รับน้ำฝน และ น้ำหลากที่จะล้นตลิ่งจากแม่น้ำยมในฤดูน้ำหลาก ในลักษณะแก้มลิงเพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นการเก็บกักน้ำเพื่อไว้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ในฤดูแล้ง

    สำหรับการขุดลอกหนองซึ่งมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำยม เป็นการดำเนินการตามแผนของการบริหารจัดการน้ำที่จังหวัดพิจิตรดำเนินการให้มีแก้มลิงทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงเป็นการเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์สำหรับประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะสามารถนำน้ำมาใช้บรรเทาความเดือดร้อนในฤดูแล้ง โดยการขุดลอกเป็นความร่วมใจของชุมชนนำงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลสู่หมู่บ้านจำนวน 200,000 บาท ในการดำเนินการ



    รองผู้ว่าฯกทม.ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ คาดต้นปี60จะสามารถใช้งานได้
     
    Last edited: 26 Jun 2016
  21. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ข่าว 7 สี - กทม.เร่งแก้จุดอ่อนน้ำท่วม และระบบการระบายน้ำ พร้อมรับมือฝนตกหนักในสัปดาห์หน้า

    ที่จุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำคลองบางซื่อ วันนี้ รองผู้ว่าฯกทม. นายจุมพล สำเภาพล ได้ไปตรวจระบบระบายน้ำ รวมถึงอุโมงค์ยักษ์บางซื่อที่กำลังก่อสร้าง และอาจกีดขวางทางน้ำไหลในคลองบางซื่อ โดยเฉพาะหัวงานขุดอุโมงค์ จึงให้แก้ไขอุปสรรค และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

    นอกจากนี้ จุดอ่อนน้ำท่วมซ้ำซากอย่าง ถนนรัชดาภิเษก หน้าศาลอาญา และที่ลุ่มต่ำอื่น ๆ ได้ปรับระบบช่วยในการระบายน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมขังให้ระบายได้เร็วขึ้น

    สำหรับ ระบบการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วม ล่าสุด กทม.ขอความร่วมมือสื่อมวลชน เตรียมแจ้งเตือน 3 ระดับ ได้แก่ สถานการณ์ปกติจะร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศประจำวัน ระดับ 2 สถานการณ์ฉุกเฉิน ฝนตกหนักเสี่ยงน้ำท่วมถนนสายหลัก กทม. จะแจ้งเตือน และไปประจำการ ช่วยเหลือ

    และระดับ 3 สถานการณ์วิกฤติ จะแจ้งเตือนล่วงหน้า 3 ชั่วโมง ถ้ามีฝนตกหนักมาก ถึงขั้นต้องปิดการจราจร หรือ หยุดการเดินเรือคลองสายหลัก อาทิ คลองแสนแสบ เพื่อพร่องน้ำรองรับการระบายน้ำในถนนสายต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ กทม.ได้พร่องน้ำลงมาอีก 1 เมตรแล้ว เพื่อรองรับน้ำฝน

    จากนี้ ต้องจับตาสถานการณ์ฝนตกหนัก จากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้ ที่จะขึ้นฝั่งเวียดนาม แม้พายุลูกนี้ไม่เข้าไทย แต่จะทำให้ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมถึงกทม.และปริมณฑล ในอีก 1-3 วันข้างหน้า







    นายกรัฐมนตรี สั่งด่วนให้ส่วนราชการและทหารในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและคลองสาขา เร่งกำจัดผักตบชวา ก่อนส่งผลเกิดน้ำท่วมภาคกลางและกรุงเทพมหานคร

    เป็นคำสั่งเร่งด่วน หลังกรมเจ้าท่ารายงานพบปริมาณผักตบชวาในแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองสาขา ตั้งแต่ภาคกลางจนถึงกรุงเทพมหานคร มีจำนวนมากและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่สุพรรณบุรีและพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นต้นทางก่อนไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา อาจส่งผลต่อการระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก หรือฝนตกหนัก รวมถึงเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทางน้ำ

    นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. จึงให้ทุกส่วนราชการในพื้นที่ และหน่วยทหารที่ดูแลรับผิดชอบ ซึ่งมีกำลังพลและอุปกรณ์ ร่วมกับกรมเจ้าท่า กำจัดผักตบชวาโดยเร็ว รวมทั้งขุดลอกคูคลองให้น้ำไหลได้สะดวก เพราะในช่วงที่มีฝนตกหนักและระดับน้ำสูงขึ้น ผักตบชวาและขยะจะเป็นปัญหาต่อการระบายน้ำ จนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วม

    นอกจากนี้ยังกำหนดแผนปฎิบัติการส่งชุดเรือเจ้าท่า กำจัดผักตบชวาและวัชพืชในแม่น้ำและคลองสาขาอื่นๆ เช่น ในแม่น้ำน้อย และแม่น้ำท่าจีนอย่างต่อเนื่อง

    ส่วนกรมชลประทาน ก็จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมกว่า 2,800,000 บาท ให้ชลประทานในพื้นที่เร่งกำจัดผักตบชวาบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาแล้ว
     
    Last edited: 2 Aug 2016
  22. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กระทรวงเกษตรร่วมมือกับประเทศเกาหลีใต้ เร่งเพิ่มศักยภาพลุ่มน้ำในภาคอีสานตอนบน

    พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนาม บันทึกแสดงเจตนารมณ์ในการร่วมมือพัฒนาโครงการลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่างของไทย กับนายคังโฮอิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม ที่ประเทศเกาหลีใต้ ความร่วมมือในครั้งนี้เกาหลีใต้จะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการน้ำให้กับไทย ไม่ว่าจะเป็นระบบการควบคุมอุทกภัย หรือการจัดสรรน้ำ โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะตั้งคณะกรรมการร่วม เพื่อดำเนินงานด้านเทคนิคต่างๆต่อไป

    โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและหนองคาย ระยะที่ 1 เน้นการแก้ปัญหาน้ำท่วมปากแม่น้ำห้วยหลวง และเพิ่มการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งให้มากขึ้น ระยะที่ 2 ผันน้ำจากแม่น้ำโขง



    ระบบการจัดการน้ำที่ขึ้นชื่อว่า เป็นระบบบริหารจัดการที่ทรงประสิทธิภาพแบบบูรณาการ จะเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน



    นายกรัฐมนตรี พอใจการทำงานของจังหวัดสุโขทัย แก้ไขปัญหาน้ำท่วมป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชนได้ ให้จังหวัดอื่นถือเป็นต้นแบบป้องกันในฤดูฝนนี้

    พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชมเชย นายปิติ แก้วสลับสี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ที่นำทีมส่วนราชการในจังหวัด แก้ไขปัญหาน้ำท่วมจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน โดยการใช้บิ๊กแบ็กป้องกัน และกำหนดทิศทาง ไม่ให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ทั้งพร่องน้ำส่วนเกินไปเก็บไว้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ช่วยลดปริมาณน้ำอยู่ในระดับที่แม่น้ำยมสามารถรับได้ จึงอยากให้จังหวัดอื่นนำกรณีจังหวัดสุโขทัยไปศึกษา เพื่อเป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาน้ำ ที่ยังสามารถกักเก็บน้ำเกินจำเป็นไว้ใช้ในหน้าแล้งได้อีกด้วย ขณะนี้ กรมชลประทานเตรียมพร่องน้ำหน้าประตูระบายน้ำยม เพื่อรองรับน้ำจากภาคเหนือตอนบนและลดปริมาณน้ำเข้าคลองหกบาท เพื่อระบายน้ำลงแม่น้ำน่านเหนือเขื่อนนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกให้เร็วมากขึ้น



    รายงานพิเศษ : ดึงกลไกประชารัฐแก้ปัญหาน้ำภาคการเกษตร



    ข่าว 7 สี - เพราะเหตุใดจังหวัดสุโขทัย ถึงรับมือกับมวลน้ำภาคเหนือได้อย่างเป็นระบบ จนนายกรัฐมนตรีเอ่ยปาก ยกให้เป็นต้นแบบการรับมือสถานการณ์น้ำ ติดตามจากรายงาน

    สุโขทัย ถือเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งอุทกภัย และภัยแล้งเป็นประจำทุกปี ฤดูน้ำหลากพื้นที่เกือบครึ่งกลายเป็นที่รับน้ำ เมื่อน้ำแล้งเกษตรต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ปีนี้พ่อเมืองสุโขทัยจึงเร่งหาทางออก ตั้งกองอำนวยการเฝ้าระวังปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งโดยเฉพาะ และประสบความสำเร็จในการรับมือมวลน้ำก้อนใหญ่จากจังหวัดแพร่ จนได้รับคำชมจากนายกรัฐมนตรี ให้เป็นสุโขทัยโมเดล

    จังหวัดสุโขทัย ผันมวลน้ำกว่า 1600 ลบ.ม.ต่อวินาที จากแม่น้ำยม ไปเก็บไว้ที่บ้านดอนระเบียง และส่วนหนึ่งผันเข้าประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ทำให้ปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าตัวเมืองลดเหลือ 550 ลบ.ม.ต่อวินาที แต่ยังเกินกว่าที่คูคลองธรรมชาติจะรับไหว จึงเบี่ยงน้ำไปยังคลองหกบาท และคลองยมน่านสายเก่า รวมถึงตัดน้ำอีกส่วนหนึ่งไปเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง ที่ทุ่งแม่ระวิงและทุ่งทะเลหลวงกว่า 10 ล้านลบ.ม. ทำให้ปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านตัวเมืองลดเหลือ 500 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งเป็นปริมาณที่คูคลองธรรมชาติรับไหว แต่เพื่อความปลอดภัยได้มีการเสริมแนวบิ๊กแบ็กกั้นน้ำในเขตเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ

    ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เชื่อว่า แผนการรับมือที่เตรียมไว้ สุโขทัยจะพร้อมรับน้ำจากพายุลูกต่อไปได้อย่างแน่นอน และหากจังหวัดอื่นทำแผนอย่างบูรณาการ และมีการรับมืออย่างเป็นระบบ ก็เชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์น้ำท่วมน้ำแล้งดีขึ้น และไม่ต้องปล่อยมวลน้ำที่หลากมาให้ไหลลงทะเลโดยเปล่าประโยชน์
     
    Last edited: 9 Sep 2016
  23. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรมชลประทาน เร่งช่วงชิงจังหวะความชื้นในอากาศเหมาะสมประสานขอทำฝนหลวงเติมน้ำในเขื่อนที่ยังวิกฤต

    นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าได้ประสานกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ให้ขึ้นทำฝนหลวงในช่วงนี้ เพื่อช่วงชิงจังหวะเร่งเติมปริมาณน้ำลงเขื่อนต่างๆ ที่ยังวิกฤต ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ เขื่อนภูมิพล ที่จังหวัดตาก เนื่องจากขณะนี้ยังมีปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 800 กว่าล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น, เขื่อนอุบลรัตน์ ที่จังหวัดขอนแก่น มีน้ำใช้การได้ 80 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนมูลบน และเขื่อนลำแซะ ในจังหวัดนครราชสีมา ถึงแม้ว่าช่วงนี้ในหลายพื้นที่จะมีฝนตกลงมาแล้วก็ตาม แต่กลับมีน้ำไหลลงเขื่อนดังกล่าวในปริมาณน้อยมากไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่จะกักเก็บไว้ใช้จนถึงสิ้นฤดูแล้งปีหน้า

    ด้านกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ปรับแผนพร้อมช่วยสนับสนุนภารกิจเติมน้ำในเขื่อน โดยจะเน้นทำฝนหลวงตกในพื้นที่รับน้ำของเขื่อนภูมิพลเป็นหลักส่วนภาคอิสาน มีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่จังหวัดนครราชสีมา และอุดรธานี ก็จะให้เครื่องบินทำฝนหลวงขึ้นบินปฏิบัติการทันทีที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย ทั้งนี้จะไม่ให้กระทบต่อพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วม



    นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า วันนี้เป็นวันแรกที่จะเริ่มปรับแผนทำฝนหลวงเติมน้ำในเขื่อนสำคัญๆ ทั่วประเทศ โดยมีพื้นที่เป้าหมายหลัก ที่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ซึ่งขณะนี้มีน้ำใช้การได้เพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สั่งให้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทั้ง 3 แห่ง คือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก และจังหวัดพิษณุโลก ระดมขึ้นบินเติมน้ำบริเวณลุ่มรับน้ำปิง ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ลงมาเพื่อให้น้ำไหลลงเขื่อนภูมิพลให้มากที่สุด

    ส่วนทางภาคอีสาน มีพื้นที่เป้าหมายที่เขื่อนลำตะคอง และเขื่อนอุบลรัตน์ และพื้นที่ทางภาคใต้ เน้นเติมน้ำในเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลาและเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งเขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนภาคตะวันออก จะตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่อู่ตะเภาจังหวัดระยอง เพื่อเติมน้ำในเขื่อนบางพระ จังหวัดชลบุรี และที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่จังหวัดกาญจนบุรี จะเติมน้ำในเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทั้งนี้จะปฏิบัติการทำฝนหลวงไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2559 เพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนให้ได้มากที่สุดในช่วงที่สภาพอากาศเหมาะสม



    สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักล่าสุด มีน้ำรวมกันมากกว่าปีที่แล้ว โดยปริมาณน้ำใช้การได้อยู่ที่ 4,771 ล้านลูกบาศก์เมตร บางพื้นที่เริ่มระบายน้ำเข้าสู่ทุ่งแก้มลิงรับน้ำแล้ว

    วันนี้ กรมชลประทาน เรียกประชุมคณะอนุกรรมการติดตามสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ โดยประเมินผล และ คาดการณ์แนวโน้มปริมาณน้ำโดยรวมของประเทศ ซึ่งพบว่าตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเกือบทุกเขื่อนทั้งขนาดใหญ่ และขนาดกลาง พร้อมระบายน้ำเข้าสู่ระบบส่งน้ำในทุ่งฝั่งตะวันออก และตะวันตก ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยาได้พร่องน้ำเพิ่มเพื่อเตรียมรับน้ำหลากจากภาคเหนือทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อรวมกับปริมาณน้ำฝนส่งผลให้น้ำเอ่อล้นตลิ่ง ขณะที่แก้มลิงรับน้ำที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ได้รับน้ำเข้าบึงตะเคร็งแล้ว

    ส่วนปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กรมชลประทาน รายงานล่าสุด มีน้ำ 11,467 ล้านลูกบาศก์เมตร ในจำนวนนี้ใช้การได้ 4,771 ล้านลูกบาศก์เมตร

    โดยเขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยที่สุด ทำให้กรมการบินฝนหลวงได้ตั้งฐานบินที่จังหวัดตาก เพื่อขึ้นบินทำฝนหลวง คาดการณ์ว่าจะช่วยเติมน้ำใน 4 เขื่อนหลัก ได้ประมาณ 800 ล้านลูกบาศก์เมตร



    "โมเดลสกัดน้ำเหนือ" ถูกออกแบบโดย คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้นำแผนที่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ตั้งแต่ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ยาวมาถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มาออกแบบทำจุดสกัดมวลน้ำเหนือ 9 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมหนักในพื้นที่ภาคกลาง รวมมาถึงกรุงเทพมหานคร ตลอดทั้งช่วงฤดูฝนนี้

    9 จุดที่คอยสกัดน้ำเหนือ จะทำหน้าที่รับน้ำ หากระดับน้ำเกินกว่าความจุของลำน้ำในพื้นที่เสี่ยง ก็จะเร่งระบายน้ำออกตามลุ่มน้ำสาขา ที่จะต้องขุดลอกกำจัดวัชพืชไว้รองรับน้ำ

    จุดแรกที่จะรองรับมวลน้ำเหนือ คือ ที่จังหวัดนครสวรรค์ หากน้ำเหนือจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ไหลมารวมกันที่อำเภอเมือง มากกว่าความจุลำน้ำ หรือ 3,590 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะมีการผันน้ำเข้าสู่บึงบอระเพ็ด พร้อมกับขุดลอกบึงใกล้เคียงไว้รับน้ำ จากแผนที่จำลองจะเห็นว่า น้ำที่ผ่านแต่ละเส้นทางจะมีจุดสกัดและมีทิศทางไหลของน้ำไปยังจุดรองน้ำ ทำให้เหลือน้ำไม่มากที่จะไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนไหลลงสู่ทะเลต่อไป

    นอกจาก แผนสกัดมวลน้ำก้อนใหญ่จากภาคเหนือแล้ว ยังได้ติดตั้งกล้อง CCTV ไว้มากถึง 72 ตัว ใน 25 ลุ่มน้ำของไทย เพื่อติดตามและเก็บข้อมูลทั้งปริมาณน้ำ ระยะเวลาการไหลของน้ำ และระดับน้ำ แม้แต่ความขุ่น แบบเรียลไทม์ เพื่อเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง ฝนชุกน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากได้ทันท่วงที

    ไม่ใช่แค่ติดตามข้อมูลของน้ำทั้งหมดแบบเรียลไทม์เท่านั้น ยังมีการติดตั้ง ระบบเตือนภัยล่วงหน้า หรือ Early Warning สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่มไว้ตามหมู่บ้านที่มีความเสี่ยง 6,300 แห่ง เกือบ 2,000 สถานี ซึ่งช่วยให้เครือข่ายชาวบ้านช่วยกันแจ้งข้อมูล และเตือนกันเองในพื้นที่ได้ทันเวลา ไม่ใช่คนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเท่านั้น ที่เห็นข้อมูลน้ำแบบเรียลไทม์ ประชาชนในพื้นที่อื่น ๆ ก็สามารถติดตามสถานการณ์ฝนและน้ำผ่าน แอปพลิเคชันได้ ซึ่งจะได้แจ้งเตือนไปยังพ่อแม่ ญาติพี่น้องได้ทันท่วงที และเตรียมอพยพก่อนเกิดวาตภัยและอุทกภัย

    ข้อมูลทั้งหมดนี้ ศูนย์เมขลา จะรวบรวมอย่างเป็นทางการ และส่งต่อให้ ปภ. และ ท้องถิ่น แจ้งเตือนประชาชนต่อไป

     
    Last edited: 17 Sep 2016
  24. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482




    การก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ไปยัง เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เป็นอีกโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้พระราชทานให้ดำเนินก่อสร้าง



    กรมชลประทานได้น้อมนำพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาทำการปรับปรุงให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพมากขึ้น



    นายสุรสีห์ กิตติมณฑล รักษาราชการแทน อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร หวั่นน้ำใน 4 เขื่อนสำคัญ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน และลำแซะ ที่จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณไม่เพียงพอสำหรับทำการเกษตรตลอดฤดูแล้งนี้ ผลผลิตเกษตรที่เกษตรกรเตรียมลงมือเพาะปลูกจะเสียหายได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้สั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจัดตั้ง "หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว" เติมน้ำต้นทุนใน 4 เขื่อนดังกล่าว ซึ่งยังมีน้ำน้อยกว่าเป้าหมาย โดยขณะนี้มีน้ำใช้การได้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของความจุ

    ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ วันที่ 14 - 16 ธันวาคมนี้ ความชื้นในอากาศจะเพิ่มขึ้นอีก จึงให้เตรียมทำฝนหลวงเติมน้ำใน 4 เขื่อน และเพิ่มความชุ่มชื้นพื้นที่เกษตร เพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง

    ส่วนอีก 2 เขื่อนทางภาคตะวันตก ที่ต้องเร่งเติมน้ำต้นทุนเช่นกัน ได้แก่ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



    ความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น หลัง ครม.มีมติให้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติ และ ล่าสุด นายกรัฐมนตรี เดินทางไปตรวจความพร้อมของสถานที่จะใช้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าว แต่ยังไม่ชัดว่าจะใช้สถานที่ใดระหว่างศูนย์เมขลา กรมทัพยากรน้ำ หรือ คลังน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

    แต่ที่ชัดคือศูนย์ดังกล่าวจะรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำที่มีมากถึง 35 หน่วยงานเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ และมีความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการน้ำ เบื้องต้น การทำงานจะแบ่งออกเป็น 4 ด้าน

    คือ 1.ระบบปฏิบัติการครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำ ซึ่งจะมีทั้งการคาดการณ์น้ำ เตือนภัย กักเก็บระบายน้ำ 2.แผนบริหารจัดการน้ำทุกลุ่มน้ำ จะทำให้คาดการณ์น้ำตลอดฤดูกาล กำหนดพื้นที่เพาะปลูกและการจัดสรรน้ำ 3.กำหนดยุทธศาสตร์และรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 4.ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเรียลไทม์ ผ่านช่องทางต่างๆหรือแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

    นอกจากนี้ จะเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเฝ้าระวัง และพัฒนาระบบแผนที่ GIS และระบบสารสนเทศ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ Thailand 4.0 ซึ่งจะทำให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เข้าถึงข้อมูลได้สะดวก ขณะที่รัฐบาลก็จะมีทิศทางในการแก้ปัญหา และไม่ต้องมีความเสี่ยงในการใช้น้ำ โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ซ้ำซาก

    อย่างไรก็ตาม ปีนี้ยังมีพื้นที่ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็นลุ่มแม่น้ำยม แถบจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย เนื่องจากไม่มีระบบชลประทาน และไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนเหมือนแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน ที่มีเขื่อนภูมิพล และ เขื่อนสิริกิติ์ ช่วยเสริมปริมาณน้ำหล่อเลี้ยง

    สำหรับในส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกทำนาแล้ว 4.6 ล้านไร่ จากแผนที่กรมชลประทานตั้งไว้ 2.6 ล้านไร่
     
    Last edited: 4 Feb 2017
  25. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรมชลประทานเร่งศึกษาทบทวนการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล ด้วยการสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากลุ่มน้ำสาละวินเข้ามาในเขื่อน



    กรุงเทพฯ 3 ก.พ.-หลายปีมานี้ประเทศไทยเจอกับปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งในหลายพื้นที่ แต่จะทำอย่างไรให้ลดการสูญเสียให้มากที่สุด การเตรียมการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติ บูรณาการข้อมูลให้วิเคราะห์ข้อมูลใช้น้ำอย่างเป็นระบบจึงมีขึ้น จะเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน

    ตลอด 2 ปี 8 เดือน ในการเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เผชิญกับภัยธรรมชาตินับครั้งไม่ถ้วน ถือเป็นปัญหาใหญ่ในการทำงาน อีกเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมในปี 2558 จากพายุหว่ามก๋อ และฝนแล้ง ที่ยาวนานต่อเนื่องในปี 2558 และ 2559 ล่าสุดฝนตกหนักต่อเนื่องในภาคใต้ ถือเป็นอุทกภัยที่หนักที่สุดในรอบหลายสิบปี

    การตรวจเยี่ยมและติดตามงานของศูนย์เมฆขลา กรมทรัพยากรน้ำ และคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของศูนย์เมฆขลา ซึ่งมีเป้าหมายที่จะยกระดับศูนย์แห่งนี้ให้เป็นศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติ และหากทำสำเร็จจะถือเป็นครั้งแรกที่ทำให้การบูรณาการข้อมูลน้ำเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงง่าย สามารถวิเคราะห์เพิ่มประสิทธิภาพระบบการเฝ้าระวัง และเตือนภัยที่เกิดจากน้ำ รองรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วางแผนการใช้น้ำได้อย่างเป็นระบบ ทั้งเพาะปลูก อุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ลดความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นในอดีตให้ลดลง โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ซ้ำซาก

    ขณะที่คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ที่เก็บข้อมูลจาก 34 หน่วยงาน สามารถช่วยสนับสนุนการประเมินสถานการณ์น้ำ คาดการณ์สภาพภูมิอากาศได้ล่วงหน้า 6-7 เดือน และพยาการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำล่วงหน้าถึง 3 วัน ลดความสูญเสีย โดยที่นี่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยติดตามสถานการณ์แบบเรียลไทม์ได้ สร้างโมเดลวิเคราะห์ คาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าได้ สนับสนุนการแก้วิกฤติภัยธรรมชาติผ่านโปรแกมวิเคราะห์ข้อมูล

    แต่การแก้ปัญหาน้ำที่ถูกต้อง ในมุมมองของผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศและทรัพยากรน้ำและการเกษตรมองว่า นอกจากการมีข้อมูลที่ดีที่คาดการณ์ได้แล้ว ควรแยกแผนบริหารจัดการน้ำและแผนพัฒนาน้ำออกจากกัน เพราะที่ผ่านมาถูกนำมารวมกัน ทั้งที่การทำงานต่างกัน และใช้งานคนไม่เหมือนกัน ทำให้การแก้ปัญหาทำได้อย่างไม่ตรงจุด จากการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

    แต่ถือเป็นข่าวดีคือจากข้อมูลพบว่า ในรอบปีนี้สถานการณ์น้ำยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่แล้งหนัก น้ำในเขื่อนทางภาคเหนือมีปริมาณ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และจากข้อมูลไม่พบการเกิดพายุใหญ่ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เพียงแต่ต้องระมัดระวังเรื่องการใช้น้ำจากการทำนาปรังให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม.-สำนักข่าวไทย



    จากเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในภาคใต้ รัฐบาลได้มอบหมาย 4 หน่วยงานรัฐ ร่วมกันพัฒนาระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ สร้างโมเดลจำลอง เพื่อใช้วางแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ในระยะยาว

    แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบการใช้ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำคลองด้านตะวันออกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างปี 2530 กับปี 2559 สังเกตจากพื้นที่ลุ่มซึ่งเดิมเป็นนาข้าว หรือสีเหลืองในแผนที่ มากกว่าครึ่งถูกเปลี่ยนไปเป็นสวนยางพารา ชุมชนและที่อยู่อาศัยหรือสีน้ำตาลและสีชมพู ทำให้พื้นที่รับน้ำหรือแก้มลิงตามธรรมชาติลดลง หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรง

    ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) เปิดเผยว่า นอกจากปัจจัยเรื่องการพัฒนาพื้นที่ที่เปลี่ยนไปจากอดีตแล้ว ถนนหลายสายยังก่อสร้างขวางทางน้ำเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำออกสู่ทะเล โดย จิสด้า จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเป็นโมเดลจำลอง แสดงผลกระทบหากมีการก่อสร้างโครงการใด ๆ ในอนาคตว่า จะมีผลต่อการไหลและการระบายของน้ำ เบื้องต้นรัฐบาลได้สั่งการให้ 4 หน่วยงานคือ GISTDA , สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ,กรมชลประทาน และกรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมมือกันเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่จะแก้ปัญหาในระยะยาว

    ส่วนการฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คาดว่าจะสามารถซ่อมแซมและฟื้นฟูให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ยกเว้นในบางพื้นที่ที่ยังมีปัญหาน้ำท่วมอยู่ จะกลับสู่ภาวะปกติไม่เกินปลายเดือนมีนาคม สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาว จำเป็นต้องสร้างฟลัดเวย์ ซึ่งขณะนี้กำลังสำรวจพื้นที่ โดยอาจจะต้องเวนคืนที่ดินบางส่วน



    สถานการณ์อุทกภัยภาคใต้เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ความสูญเสียทั้งหมดจะต้องไม่สูญเปล่า โดยจะต้องเป็นบทเรียนให้ทุกฝ่ายร่วมกันทบทวน หาทางออกอย่างจริงจัง ซึ่งในส่วนกรมชลประทาน ยืนยันว่า การน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ นับเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน รวมทั้งต้องออกแบบแผนการบริหารจัดการน้ำใหม่ให้ตรงตามขนาดและสภาพพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ



    กรมชลประทาน ประสานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการทำฝนหลวงเติมน้ำให้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนลำตะคอง หวังเติมน้ำในเขื่อนให้มากขึ้น
     
    Last edited: 20 Feb 2017
  26. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยอมรับว่า มีความเป็นห่วงสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้งและช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า ฤดูฝนปีนี้มีแนวโน้มว่าฝนอาจมาล่าช้า ซึ่งอาจกระทบการทำการเกษตรกรรมของประชาชน โดยล่าสุดพบว่า น้ำต้นทุนที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 25,016 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 49% เท่านั้น

    ทั้งนี้ เขื่อนที่มีปริมาณน้ำใช้การอยู่ในเกณฑ์ต่ำ หรือน้อยกว่า 30% มีอยู่ 2 แห่งคือ เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำ 29% และ เขื่อนลำตะคอง มีปริมาณน้ำ 27% เบื้องต้นให้กรมชลประทาน ประสานไปยังกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อร่วมกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำต้นทุนใน 2 เขื่อนดังกล่าว คาดว่าจะสามารถปฏิบัติการฝนหลวงเต็มกำลังครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศในต้นเดือนมีนาคม 2560 เป็นต้นไป



    กรมชลประทานลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลพื้นที่ลุ่มน้ำ เพื่อสร้างแก้มลิงทั้งระบบ เพื่อใช้ในการป้องกันอุทกภัยและแก้ปัญหาภัยแล้ง

    เตรียมแก้มลิงแก้ปัญหาภัยแล้งคณะทีปรึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มต่ำเหนือจังหวัดนครสวรรค์ ลงพื้นที่เพื่อประชุมและจัดเก็บข้อมูลคณะทำงานท้องถิ่นทั้งพื้นที่ในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและภัยแล้งเพื่อร่วมวางแผนในการพัฒนาแก้มลิง โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554

    โดยดำเนินการทั้งระบบตั้งแต่จังหวัดตอนบน ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ เพื่อเสนอแผนพัฒนาแก้มลิงตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มแม่น้ำทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน แบ่งแยกพื้นที่ซึ่งสามารถดำเนินการทำแก้มลิงเป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน จำนวน 458,063ไร่ และนอกเขต ชลประทาน 727,373 ไร่ รวมทั้งสิ้น 1,185,463 ไร่

    นายยงยุทธ พึ่งวงศ์ญาติ ประชาสัมพันธ์และรับฟังการมีส่วนร่วมโครงการ กล่าวว่า โครงการพัฒนาแก้มลิงครั้งนี้ กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 มาเป็นบทเรียน โดยใช้หลักการดำเนินการแก้มลิงตามแนวทางพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา พัฒนาแก้มลิงที่มีอยู่แล้ว ทั้งห้วย หนอง คลอง บึง ให้มีศักยภาพในการกักเก็บน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย และเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง

    โดยขณะนี้เป็นช่วงท้ายของการศึกษาและเก็บข้อมูลที่เราใช้เวลา 540 วัน หลังจากนี้จะดำเนินการในพื้นที่ จ.สุโขทัย และพิษณุโลก ก่อนที่จะนำเสนอข้อมูลให้กับกรมชลประทานเพื่อพัฒนาแก้มลิงอย่างเป็นระบบต่อไป



    โครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่งัด-แม่กวง เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เชื่อม 3 แหล่งน้ำเข้าด้วยกัน เพื่อเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนแม่กวงแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน

    โครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่งัด-แม่กวง เป็นหนึ่งในโครงการบริหารจัดการน้ำในลุ่มแม่น้ำแม่แตง-แม่งัด-แม่กวง ให้มีประสิทธิภาพรองรับความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรและบริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำแล้งและน้ำหลาก

    การก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำ เชื่อม 3 แหล่งน้ำเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ โดยเชื่อมต่อรับน้ำมาจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ขนาดของอุโมงค์เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.2 เมตร ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำทั้งช่วงหน้าฝนและหน้าแล้ง

    การเจาะอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด-แม่กวง เป็นการเจาะชั้นหินครั้งแรกในประเทศไทย ใช้เทคนิคผสมผสานกัน 2 วิธี คือ การขุดเจาะและฝังระเบิด หลังจากระเบิดเสร็จก็ขนย้ายหินออก ติดตั้งค้ำยันแล้วจึงพ่นคอนกรีต และการเจาะอุโมงค์ด้วยหัวเจาะ ซึ่งอุโมงค์ที่ขุดเจาะมีความลึกจากผิวดิน 300-700 เมตร ที่ผ่านมาการดำเนินงานทั้ง 2 สัญญามีความล่าช้ากว่าแผนงาน ทั้งจากการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนและในพื้นที่ป่าเขตอุทยานแห่งชาติ และยังมีปัญหาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการขุดเจาะระเบิดชั้นหิน ทำให้ต้องปรับสภาพภายในอุโมงค์ และเครื่องมือขุดเจาะใหม่ตามสภาพโครงสร้างหิน

    การก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะทางรวม 22 กิโลเมตร กำหนดแล้วเสร็จทั้งโครงการในปี 2564 ประกอบด้วยอุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง-แม่งัด อุโมงค์ส่งน้ำแม่งัด-แม่กวง ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน งบประมาณรวมกว่า 15,000 ล้านบาท



    กรุงเทพฯ 2 มี.ค.-ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ร่างกฎหมายฉบับนี้มีขึ้นเพื่อให้ทุกหน่วยงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างสอดคล้องกันในทุกมิติ

    เป็นกฎหมายอีกหนึ่งฉบับที่ลุ้นกันมานาน สำหรับร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ที่รัฐบาลได้นำเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.แล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำเป็นเอกภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยจะบูรณาการเกี่ยวกับการใช้ การพัฒนาบริหารจัดการ บำรุงรักษา และอนุรักษ์ทรัพย์กรน้ำ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง

    ที่สำคัญยังกำหนดให้มีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ กนช. มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นรองประธาน มีปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง มีกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำ 6 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ด้านทรัพยากรน้ำ 3 คน และให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ

    สมาชิกส่วนใหญ่สนับสนุนร่างกฎหมาย แต่เสนอว่ารัฐต้องทำประชาพิจารณ์และวิเคราะห์ผลกระทบอย่างรอบด้าน และเป็นห่วงเรื่องความไม่เป็นเอกภาพในการจัดการน้ำ ทั้งโครงสร้างของคณะกรรมการ และการอ้างอิงกับกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ

    ท้ายที่สุด ที่ประชุม สนช.มีมติรับหลักการร่างกฎหมายในวาระแรก และเตรียมพิจารณาปรับแก้ในชั้นของกรรมาธิการ ก่อนเข้าสู่การพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป.-สำนักข่าวไทย



    วันนี้ (3 มีนาคม) กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้เปิดปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง'อย่างเป็นทางการ รับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังจะเริ่มขึ้น ภายใต้ “ฝนหลวง ศาสตร์ของพระราชชา พระเมตตาจากฟ้า สู่ประชาชน” โดยมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ และ สุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นำข้าราชการฝนหลวง และ นักบินฝนหลวง และ เกษตรกร ชาวนครสวรรค์ เข้าร่วมพิธีสนามบินนครสวรรค์

    พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ เปิดเผยว่า จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำในปัจจุบันพบว่า น้ำต้นทุนในเขื่อนหลัก อ่างเก็บน้ำ 34 แห่ง ลำน้ำสายต่างๆ ยังอยู่ในเกณฑ์ไม่มาก ภาพรวมปริมาณน้ำที่ใช้การได้ ณ ปัจจุบันมีเพียง 24,373 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 47% ปริมาณน้ำ4เขื่อนหลักที่หล่อเลี้ยง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ภูมิพล สิริกิตติ แควน้อยบำรุงแดน และ ป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 7,116 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 39% แม้เกินเป้าหมายของการกักเก็บช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา

    แต่ยังมีความเสียงในช่วงฤดูแล้ง ทั้งการเพาะปลูก การขาดแคลนน้ำใช้ภาคการเกษตร การหนุนสูงของน้ำเค็ม การผลิตประปา และ ปัญหาหมอกควัน นับจากนี้ปฎิบัติการฝนหลวงพร้อมขึ้นปฏิบัติการทันที และ ดูแลประชาชนจนกว่าจะผ่านพ้นช่วงเวลาฤดูแล้ง

    ด้านอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร บอกว่า ปีที่ผ่านมาปฏิบัติการฝนหลวง ขึ้นปฏิบัติการกว่า 4,347 เที่ยวบิน เพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนได้ 6 พันล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 19% ส่วนแผนแผนปฏิบัติการในปี 2560 จะเน้นพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน ภาคกลา 25 ลุ่มน้ำ 77 จังหวัด จะใช้เครื่องบิน 27 ลำ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาค 5ศูนย์ หน่วยปฏิบัติการการฝนหลวง 12 หน่วย ภาคกลางเน้นที่ จ.กาญจนบุรี เขื่อนศรีนครินทร์ ช่วง 3 มีนาคม 31 พ.ค. และ จ.ราชบุรี จะเริ่มเดือนมิถุนายน ภาคอีสาน 20 จังหวัด จะเริ่มเดือนเมษายน ในลุ่มน้ำโขง ลำน้ำชี ชำน้ำมูล ภาคตะวันออกเน้นช่วยชาวสวนผลไม้ และยังเตรียมแผนบรรเทาหมอกควันไฟป่า เพิ่มความชุมชื้นให้ป่าภาคเหนือในช่วงมีนาคมถึงเมษายน ภาคใต้ช่วงเดือนตุลาคม และ พฤศจิกายน ปี2560

    ภายในพิธีเปิดปฎิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง ยังจัดนิทรรศการ “ด้วยศาสตร์ของพระราชา นำฝนหลวงก้าวไกลถึงต่างแดน ”แสดงถึงเทคโนโลยีของฝนหลวงที่ก้าวไกล ช่วยเหลือนานาประเทศ เพื่อน้อมรำลึกถึง พระบิดาแห่งฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
     
    Last edited: 4 Mar 2017
  27. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ปฎิบัติการฝนหลวงศาสตร์ของพระราชากว่า 60 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้คนไทยรอดพ้นจากภัยธรรมชาติมานับไม่ถ้วนโดยเฉพาะภัยแล้ง แต่การทำฝนหลวงก็มีอุปสรรคจากสภาพอากาศไม่เอื้อ รวมถึงความปลอดภัยของนักบิน กรมฝนหลวงจึงได้ศึกษาวิจัยพัฒนาวัตกรรมจรวดฝนหลวง ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ มายาวนานหลายปี และ จะได้ฤกษ์ทดสอบใช้ครั้งแรกในเดือนกรฎาคมนี้

    ปฎิบัติการฝนหลวงปี 2560 เริ่มเปิดยุทธการต่อสู้กับความแห้งแล้ง แม้ในปีนี้จะรุนแรงน้อยกว่าที่ผ่านมา แต่การการช่วงชิงห้วงเวลาที่สภาพอากาศเหมาะ เพื่อเร่งเติมน้ำลงเขื่อน นับมาตรการรับมือกับความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคต

    นี่คือจรวดฝนหลวง นวัตกรรมการพัฒนาการดัดแปรสภาพอากาศ ยุค 4.0 จะเริ่มทดสอบครั้งแรกช่วงกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ การใช้จรวด กรมฝนหลวงจะเป็นผู้ชี้เป้า พิกัดก้อนเมฆ เพื่อให้การยิง แต่ละครั้งมีประสิทธิภาพ ผลทดลองยิงที่ผ่านมา ได้ปริมาณน้ำไม่ต่างจากเครื่องบินฝนหลวง เป็นทางเลือกประหยัดงบกว่า

    เทคโนโลยีฝนหลวงนับเป็นนวัตกรรม ศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ที่สามมารถเอาชนะภัยธรรมชาติได้ และมิได้เป็นเพียงมกดกของพ่อ ที่ต้องรักษาเอาไว้เท่านั้น แต่ยังต้องนำมาพัฒนาต่อยอดพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ให้สมดังพระราชปณิธานของพระบิดาฝนหลวง



    นครสวรรค์ 9 มี.ค.-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เปิดปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้งปี 2560 มอบนโยบายทำฝนเติมน้ำในเขื่อนหลักทั่วประเทศ ลดปัญหาหมอกควัน และยับยั้งลูกเห็บจากพายุฤดูร้อน

    พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดปฏิบัติการสู้ภัยแล้งปี 2560 ที่สนามบินนครสวรรค์ ซึ่งกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 12 หน่วย ครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำหลักใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายให้ความสำคัญกับการเติมน้ำในเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศ เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนของประเทศทั้งในเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ไม่มากนัก ขณะนี้มีน้ำใช้การได้ 24,000 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 47 ของปริมาตรความจุทั้งหมด

    สำหรับลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งมีเขื่อนหลัก 4 เขื่อน คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ มีน้ำใช้การได้ 7,116 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้อยเช่นกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำในหน้าแล้ง โดยจะจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ การป้องกันน้ำเค็มรุก รวมถึงการเพาะปลูกพืชสวน ที่ต้องได้รับน้ำต่อเนื่อง แต่ไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้นาปรัง ซึ่งตามแผนการบริหารจัดการน้ำที่วางไว้ จะสามารถมีน้ำใช้ตลอดหน้าแล้ง ไปจนถึงการส่งน้ำให้เกษตรกรในต้นฤดูการผลิตปีนี้ในต้นเดือนพฤษภาคม

    ตั้งแต่วันนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจะเริ่มยุทธการฝนหลวงสู้ภัยแล้งครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำหลัก ในพื้นที่ 77 จังหวัด รวม 12 หน่วย ซึ่งนอกจากจะเน้นการทำฝนเติมน้ำในเขื่อนหลักแล้ว ยังจะทำฝนให้ตกลงในพื้นที่ต่างๆ บรรเทาภัยแล้ง ลดปัญหาหมอกควัน และยับยั้งลูกเห็บจากพายุฤดูร้อน

    กรมฝนหลวงและการบินเกษตรยังได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า ภายในอีก 20 ปีข้างหน้า จะเป็นองค์กรชั้นนำระดับโลก ด้านการดัดแปรสภาพอากาศ ตามศาสตร์พระราชา ภายในปี 2579 ซึ่งจะน้อมนำแนวทางจากตำราฝนหลวงพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน

    การดำเนินงานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวงให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นหัวใจที่ทำให้การปฏิบัติการเป็นผลสำเร็จในปี 2559 ซึ่งประเทศไทยประสบภาวะความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ฝนมาล่ากว่าฤดูกาลปกติ และร่องฝนไม่พาดผ่านภาคเหนือ ฝนส่วนใหญ่ตกใต้เขื่อน น้ำในเขื่อนจึงมีน้อย แต่ปฏิบัติการฝนหลวงได้บินถึง 4,337 เที่ยวบิน ทำให้เกิดฝนตกและมีน้ำไหลเข้าเขื่อน 5,600 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของปริมาณน้ำต้นทุนที่เหลืออยู่ขณะนี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่า ในปี 2560 จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา.-สำนักข่าวไทย



    ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดพิจิตร ติดตามโครงการพัฒนา บึงสีไฟ เป็นแก้มลิงขนาดใหญ่ แก้ปัญหาภัยแล้ง



    สุราษฎร์ธานี 22 มี.ค. - Full Moon Party กิจกรรมท่องเที่ยวที่เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกาะพะงันเพิ่มขึ้นทุกปี ปัญหาที่ตามมา คือ การขาดแคลนน้ำ ล่าสุดกรมชลประทานมีแผนศึกษาความเป็นไปได้ที่จะสร้างเขื่อนใต้ดิน เพื่อกักเก็บน้ำที่เกาะพะงัน เขื่อนที่ว่านี้หน้าตาเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน

    “เขื่อนใต้ดิน” เป็นเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสร้างเสร็จและใช้งานได้จริงแล้วถึง 14 แห่ง และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 4 แห่ง ถ้าสร้างขึ้นที่เกาะพะงัน ก็จะเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า พื้นที่บริเวณบ้านโฉลกหลำ-บ้านเก่า ต.เกาะพะงัน มีความเหมาะสมทั้งด้านธรณีวิทยาและอุทกวิทยา โดยสร้างเป็นเขื่อนกั้นน้ำใต้ดิน ความยาวประมาณ 1,200 เมตร หนา 80 เซนติเมตร ลึกจากผิวดิน 36 เมตร มีลักษณะเหมือนฝายน้ำล้น ขอบบนอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน 6 เมตร กั้นทางไหลลงทะเลของแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งจะทำให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปีละ 150,000-180,000 ลูกบาศก์เมตร

    ข้อดี คือ ระหว่างการก่อสร้างจะเปิดหน้าดินกว้างเพียง 6 เมตร และไม่ต้องเวนคืนพื้นที่บนดิน โดยยังใช้ประโยชน์ทำการเกษตรได้ตามปกติ เพียงแต่ไม่ให้ใช้สารเคมี เพราะจะซึมลงปนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดิน

    ตัวเลขประชากรตามทะเบียนราษฎร์ของ อ.เกาะพะงัน มีเพียง 16,700 คนเท่านั้น แต่จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่มาเยือนเกาะในอ่าวไทยแห่งนี้ มีมากกว่า 1 ล้านคน/ปี ธุรกิจท่องเที่ยวจึงเป็นรายได้หลัก และก็เหมือนพื้นที่เกาะกลางทะเลทั่วไป ปัญหาใหญ่ของที่นี่ คือ ขาดแคลนน้ำจืด แม้เป็นพื้นที่ป่า มีลำธารและคลองหลายสาย แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทำให้น้ำส่วนใหญ่ไหลลงทะเลอย่างรวดเร็ว

    นอกจากเขื่อนใต้ดินแล้ว กรมชลประทานได้ศึกษาโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำธารประเวศ ความจุ 1.13 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่จะก่อสร้างเสร็จภายใน 5 ปี

    อย่างไรก็ตาม หากสร้างทั้งอ่างเก็บน้ำธารประเวศและเขื่อนใต้ดินแล้ว เกาะพะงันก็อาจมีน้ำใช้เพียงพอไปอีกราว 5 ปีเท่านั้น กรมชลประทานจึงศึกษาโครงการอื่น เช่น อ่างเก็บน้ำธารเสด็จตอนบน ซึ่งจะเก็บน้ำได้ถึง 3 ล้านลูกบาศก์เมตร เพียงพอใช้ได้อีก 20 ปี แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพิจารณาจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับทรัพยากรและสาธารณูปโภคที่มีจำกัด. - สำนักข่าวไทย



    รัฐบาลใช้โอกาสเนื่องในวันน้ำโลก ดีเดย์เป็นการเริ่มต้นการทำงานเชิงรุกในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่ถือเป็นเจ้าภาพหลักในการทำศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติ ได้นำแนวทางที่รัฐบาลขับเคลื่อนผ่าน ป.ย.ป.มาปรับใช้ ติดตามจากรายงาน
     
    Last edited: 29 Mar 2017
  28. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ปัญหาการบริหารจัดการน้ำของไทยที่ผ่านมา ไม่ได้เกิดจากการมีข้อมูลไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา แต่เกิดจากการไม่มีเจ้าภาพรับผิดชอบ โดยเฉพาะการนำข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำมาประมวลผล เพื่อให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหา ทำให้ ศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติ เป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลนำมาใช้ยกระดับการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
     

Share This Page