รัฐบาลกับการพัฒนาด้านการเกษตร

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Ricebeanoil, 2 Jul 2016

  1. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย ลงพื้นที่ แปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งที่ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นสินค้าประเภทข้าวหอมมะลิ

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่สนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อย มีการรวมกันผลิตสินค้าทางการเกษตร การบริหารจัดการร่วมกัน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การจัดหาปัจจัยการผลิต รวมถึงการจัดจำหน่าย ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และแข่งขันในตลาดได้ภายใต้การสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาการผลิตอย่างยั่งยืนตามหลักของประชารัฐ

    ข้อมูลล่าสุด แปลงใหญ่ประชารัฐที่ได้รับรองโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดมีแล้วทั้งสิ้น 512 แปลง จำนวน 31 สินค้า มีพื้นที่ในการบริหารจัดการร่วมกัน 1.34 ล้านไร่ มีเกษตรกร 85,000 ครัวเรือน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ แปลงใหญ่ประชารัฐต้นแบบจังหวัดละหนึ่งแปลงรวม 76 แปลง ยกเว้นที่กรุงเทพฯ, แปลงใหญ่ทั่วไป 392 แปลง และแปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ 44 แปลง

    แปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ คือ การกำหนดผู้จัดการแปลงภาครัฐ และภาคเอกชน และมีการทำงานร่วมกันนำนวัตกรรมเทคโนโลยี และงานวิจัยเข้ามาบริหารจัดการ อย่างที่ตำบลผักไหม เป็นแปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ รวมพื้นที่กันได้ 3780 ไร่ จากสมาชิก 297 ราย พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าว ตามวิถีของเกษตรกร แต่มีปัญหาคือต้นทุนการผลิตที่สูง จึงกำหนดเป้าหมายในการผลิตแบบแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิตลง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงทันที อย่างหน้าดำจากต้นทุนการผลิต 4,620 บาทต่อไร่ ลดลงมาเหลือ 4,050 บาทต่อไร่ เพิ่มผลผลิตต่อไร่จากข้าว 400 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 500 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนนาหยอดต้นทุนการผลิตลดลงจาก 4,620 บาทต่อไร่ เป็น 3,285 บาทต่อไร่ ขณะที่ผลผลเพิ่มจาก 400 เป็น 500 กิโลกรัมต่อไร่

    ด้านเอกชน อย่างนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยการใช้องค์ความรู้และการจัดการเกษตรสมัยใหม่มาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนามาตรฐานการผลิต ให้เป็นสินค้าเกษตรปลอดภัยและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ หมุนเวียนพืชในการเพาะปลูกเพื่อพัฒนาดิน เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและสุดท้ายคือการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย โดยมีโรงสีที่เป็นเอกชนรับซื้อทุกเมล็ด และมั่นใจว่าจะจำหน่ายผลผลิตเกษตรได้ไร่ละเกิน 10,000 บาท เชื่อว่าจะช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน



    โดยประธานกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ประชารัฐ เกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ศูนส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลผักไหม บอกว่า เกษตรกรมีองค์ความรู้มากขึ้น รู้จักนำเทคโนโลยี และภูมิปัญญาชาวบ้าน มาผสมผสาน ไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต จากนาหว่านเป็นนาดำ และนาหยอด นอกจากทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ต้นทุนลดลง สิ่งสำคัญคือความสามัคคีของกลุ่ม ที่ช่วยกันพัฒนาคุณภาพ ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ที่เป็นอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ มีผลผลิตปีละกว่า 220 ตัน และขายเมล็ดพันธุ์ให้กับตลาด ที่ทำสัญญารับซื้อ คือสหกรณ์เพื่อการตลาด และลูกค้าของ ธกส. ประมาณครึ่งหนึ่ง และยังมีข้าวที่แปรรูปเป็นข้าวสารออกจำหน่ายถึงกว่า 100 ตันต่อปี และมีพื้นที่บางส่วนที่อยู่ระหว่างการพัฒนาจากระบบ GAP ไปสู่ระบบอินทรีย์ ที่ขณะนี้มีอยู่แล้วเกือบ 700 ไร่



    โครงการสานพลังประชารัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจทางภาคการเกษตร จากความร่วมมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาหอการค้าไทย นำเสนอโมเดลของการพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่สมัยใหม่ ที่เกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรรายย่อยใน อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ มาต่อยอดองค์ความรู้ร่วมกันจนกลายเป็นกลุ่มเกษตรกรขนาดใหญ่ ที่พร้อมออกมาแข่งขันในตลาดภาคการเกษตร ซึ่งพวกเขาสามารถลดปริมาณต้นทุน และสร้างกำไรจากผลผลิตได้กว่า 20% จากการนำแนวคิดนี้ไปใช้
     
    Last edited: 8 Jul 2016
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  3. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า เกษตรกรไทยในปัจจุบันมีรายได้ลดลง นอกเหนือจากการไม่มีโครงการประกันราคาข้าวและการรับจำนำข้าวแล้ว ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นส่งผลให้รัฐบาลต้องประกาศการลดพื้นที่การปลูกข้าวในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งลง ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่ต้องลดปริมาณการเพาะปลูกลง โดยมีการเสนอให้เกษตรกรลดการปลูกข้าวเหลือเพียง 2 รอบต่อปีเท่านั้น ทำให้รัฐบาลต้องหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ มีโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ Field Day ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่จะทำทั้งหมด 882 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อให้เกษตรกรได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลและเรียนรู้การลดต้นทุนการผลิต เพราะปัจจุบันเกษตรกรไทยมีต้นทุนการปลูกข้าวเฉลี่ยไร่ละ 4,297-5,468 บาท โดยแบ่งเป็นต้นทุนค่าเตรียมดิน 400 บาทต่อไร่, ค่าปลูก(หว่านหรือหยอด) 80 บาทต่อไร่ , ค่าเมล็ดพันธุ์ 380-540 บาทต่อไร่, ค่าปุ๋ย 1,028 บาทต่อไร่, ค่าสารเคมีจำกัดวัชพืช โรค แมลง 800บาทต่อไร่, ค่าแรงงาน 1,020 บาทต่อไร่ และค่าเช่านา 1,000-1,200 บาทต่อไร่ โดยตั้งเป้าโครงการนี้ให้สามารถลดต้นทุนการผลิตจากเดิมที่ 4,297 บาทต่อไร่ ให้เหลือเฉลี่ย 3,000 บาทต่อไร่ ให้ได้

    สำหรับการเรียนรู้ของเกษตรกรนั้น กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเป็นแหล่งศึกษาดูงานในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้ในการปรับใช้การผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงฤดูกาลผลิตใหม่ ซึ่งจะมีทั้งการเตรียมความพร้อมองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิต เช่น การผลิตให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่โดยใช้ Agri Map, การให้ความรู้และบริการทางการผลิต เช่น การใช้ปัจจัยดิน/ ปุ๋ย/น้ำ, ให้ข้อมูลด้านการตลาด, การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการทำบัญชี รวมถึงการเข้าถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พันธุ์สัตว์คุณภาพดี สนับสนุนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์น้ำ ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น การบริหารจัดการความเสี่ยง ในเรื่องของการป้องกันกำจัดศัตรูพืช – ประมง – ปศุสัตว์ ภัยธรรมชาติ และการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ และการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร โดยการรวมกลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ และการพัฒนา Young Smart Farmer ซึ่งเชื่อว่าแนวทางในการให้ความรู้กับเกษตรกรในครั้งนี้ จะช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตได้มากขึ้น



    ในวันพรุ่งนี้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิต และสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือก ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และยาฆ่าแมลง จะลดราคาลงจากเดิม 5-10% หลังผู้ประกอบการ 7 สมาคม ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลลดราคาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องหยุดทำนาถึง 2 ครั้ง



    รัฐออกโครงการประชารัฐลดต้นทุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรเหลือเงินในกระเป๋ามากขึ้น โดยชาวนารายนี้แม้จะยังไม่ได้เริ่มทำนารอบใหม่เพราะขาดน้ำ แต่ก็เตรียมหาซื้อปุ๋ย ยาและเมล็ดพันธุ์ไว้รอ ยิ่งมีโครงการประชารัฐจัดตลาดนัดปัจจัยการผลิตราคาถูก จึงเป็นโอกาสที่ที่จะสำรองปัจจัยไว้ใช้ลดต้นทุน

    ด้านผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเอง ก็เห็นว่า โครงการนี้นอกจากจะช่วยผู้ผลิตแล้วก็ยังมีส่วนกระตุ้นยอดขายได้ด้วยเช่นกันหลังเกิดภัยแล้ง การปลูกพืชน้อย การใช้ปุ๋ย-ยาก็ลดลงตาม

    ปัจจัยที่เข้าร่วมโครงการประชารัฐ อาทิปุ๋ยเคมี,อินทรีย์ เฉลี่ยกระสอบละ 20-50 บาท สารเคมีกำจัดวัชพืชลดได้ 50-100 บาท/ขวด คาดว่าจะช่วยเกษตรกรประหยัดเงินในกระเป๋า ตลอดโครงการได้ไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท



    จากนี้ไป อาชีพชาวนาจะมีความมั่นคงมากขึ้น เพราะภาครัฐได้นำนโยบายนาแปลงใหญ่ประชารัฐมาใช้ คือให้ชาวนารวมตัวกันปลูกพืชชนิดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการซื้อวัตถุดิบ และขายข้าวได้ราคาดีกว่าตลาดตันละ 200 บาท ติดตามรายงานจากคุณอันชลี ศิริมั่ว



    กทม. 5 ก.ค. – แต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดมีสภาพดินน้ำที่ต่างกัน เนคเทคจึงพัฒนาเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบสภาพที่ดินของตนเองก่อนเพาะปลูก เพื่อให้การผลิตด้านการเกษตรเหมาะสมและมีคุณภาพมากที่สุด

    อาชีพเกษตรกรรมยังเป็นอาชีพที่สำคัญของไทย มีที่ดินเพาะปลูกกระจายทั่วประเทศ นิยมปลูกพืชเศรษฐกิจตามความชำนาญของเกษตรกร โดยไม่ได้คิดถึงความเหมาะสมของดิน-น้ำในการปลูกพืชแต่ละชนิด เกิดปัญหาผลผลิตบางชนิดล้นตลาด ไม่ได้ราคา

    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จึงได้พัฒนาระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ รูปแบบเว็บไซต์ในชื่อ agri-map online ที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ เป็นเว็บไซต์แรกที่ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเกษตรทั้งหมด ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน และสภาพภูมิศาสตร์แต่ละพื้นที่จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประมวลผลแล้วแสดงข้อมูลความเหมาะสมในการปลูกพืชต่างๆ ลงในแผนที่อย่างชัดเจน

    ผู้ใช้งานสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการจากแถบคำสั่ง เช่น เลือกที่คำสั่งดิน แถบสีจะปรากฏบริเวณที่เลือกว่าดินมีลักษณะเช่นใด หรือหากต้องการรู้ว่ามีแหล่งน้ำเพียงพอหรือไม่ สามารถเลือกจากแถบคำสั่งเหล่านี้ที่จะบอกทั้งแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน รวมไปถึงสภาพอากาศว่ามีความเหมาะสมในการปลูกพืชชนิดนั้นๆ หรือไม่

    ระบบนี้ยังบอกถึงพืชสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เหมาะสมในการปลูกและเลี้ยงแต่ละที่ด้วย ช่วยในการตัดสินใจของเกษตรกรก่อนลงทุนทำไร่นา ประมง หรือแม้แต่เอกชนที่จะเข้าไปลงทุนเชิงอุตสาหกรรม สามารถตรวจสอบวัตถุดิบที่มีได้ และเห็นภาพพื้นที่เบื้องต้น จากกูเกิลสตรีทวิวได้อีกด้วย

    ระบบนี้จะเป็นอุปกรณ์สำคัญลดปัญหาสินค้าล้นตลาด ยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพได้ราคาสูง และเนคเทคเตรียมพัฒนาให้ใช้งานในรูปแบบแอพพลิเคชั่นผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งจะเพิ่มช่องทางการใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย. – สำนักข่าวไทย
     
    Last edited: 5 Jul 2016
  4. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เดิมเกษตรกรที่ตำบลดู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ นิยมทำนาด้วยวิธีหว่านข้าวแห้ง ซึ่งต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ละ 25-30 กิโลกรัม และมีต้นทุนสูง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนอุ่มแสงจึงปรับเปลี่ยนนมาใช้เครื่องหยอดข้าวแห้งเพื่อลดต้นทุน

    เครื่องนี้ดัดแปลงมาจากเครื่องหยอดเมล็ดพืชทั่วไป โดยทำจานหมุนในกล่องบรรจุเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาใหม่ เป็นช่องมีขนาดใกล้เคียงกับเมล็ดข้าว ซึ่งเมล็ดข้าวจะตกลงในหลุมปลูกได้ตามต้องการ และควบคุมระยะห่างระหว่างแถวให้อยู่ในระยะ 30 เซนติเมตร ทำให้ต้นข้าวไม่หนาแน่นจนเกินไป

    วิธีนี้จะลดการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกลงเหลือเพียงไร่ละ 4-5 กิโลกรัมเท่านั้น และยังได้ต้นข้าวที่แข็งแรง มีผลผลิตที่ดีด้วย



    การปรับโครงสร้างการผลิตและลดต้นทุน เป็นวิธีการสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสามารถดำเนินธุรกิจโคนมได้อย่างยั่งยืน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงทำศูนย์สาธิตให้ความรู้ ติดตามรายงานจากคุณกมลวรรณ การีพัฒน์



    ผู้ทรงคุณวุฒิสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ แนะเกษตรกร หากลดพื้นที่ปลูกข้าวตามนโยบายรัฐบาล ควรหาพืชเศรษฐกิจตามความต้องการของตลาดทดแทน

    แผนลดพื้นที่ปลูกข้าวจาก 68.98 ล้านไร่ ได้ข้าวเปลือก 30 ล้านตัน ให้เหลือ 55.37 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 27.17 ล้านไร่ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะเสนอ ครม.ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน

    นโยบายนี้ ศ.ดร.เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า แม้จะเห็นด้วยกับแผนนี้ แต่รัฐไม่ควรเร่งรีบ ต้องสนับสนุนองค์ความรู้ว่า แต่ละพื้นที่เหมาะกับปลูกพืชชนิดใด ต้องหาเมล็ดพันธุ์จากไหน เพราะเกษตรกรอาจปรับตัวไม่ทัน ที่สำคัญต้องมีตลาดรองรับ และลดการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศที่ส่งเสริมปลูก เพราะจะยิ่งทำให้ปริมาณสินค้ามีมากเกินความต้องการ ส่งผลต่อราคาตามไปด้วย ทั้งนี้เห็นว่าพืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกทดแทนได้คือ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ข้าวโพดหวานและเลี้ยงสัตว์

    ส่วนพื้นที่เหมาะที่จะปรับลดปลูกข้าว คือ เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพราะมีความได้เปรียบทั้งน้ำและดินดีกว่า จะสร้างรายได้ที่มากกว่า ส่วนพื้นที่อื่นๆการปลูกข้าวเป็นวิถีชีวิตปลูกไว้กินเอง รัฐจึงควรช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต

    กรณีจ่ายเงินชดเชย ให้ชาวนาที่เลิกปลูกข้าวไร่ละ 1,000 บาทนั้น มองว่า ช่วยได้เพียงระยะสั้น ในต่างประเทศเคยทำมาแล้ว และไม่ประสบความสำเร็จ



    พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ภายใต้แนวคิด "สมาร์ตฟาร์มเมอร์ทางรอดเกษตรกรไทย" ว่า เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน และบุตรหลานไม่สืบสานอาชีพต่อ รัฐบาลจึงมีนโยบายวางรากฐานพัฒนาอาชีพเกษตรให้ยั่งยืน โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร สร้าง "สมาร์ตฟาร์มเมอร์" (Smart Farmer) และ "ยังสมาร์ตฟาร์เมอร์" (Young Smart Farmer) ให้ได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 500 ราย จากเดิมที่มีอยู่ 620,000 ราย จากเกษตรกรทั่วประเทศ ที่มีอยู่กว่า 6,000,000 ครัวเรือน และสร้างเครือข่ายทั้งระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ เพื่อเชื่อมโยงการผลิต และการตลาด

    สมาร์ตฟาร์มเมอร์ และยังสมาร์ตฟาร์มเมอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นหนุ่มสาว หรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป เริ่มกลับสู่ภาคเกษตรกรรมและประสบความสำเร็จ เพราะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ควบคู่กับภูมิปัญญาชาวบ้าน ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ทำให้มีรายได้เฉลี่ยปีละ 180,000 บาท สูงกว่าเกษตรกรทั่วไป



    จังหวัดพิษณุโลก เป็นอีกหนึ่งพื้นที่เป้าหมาย ที่กรมวิชาการเกษตรส่งเสริมให้มี "ร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตคุณภาพประชารัฐ" ตามโครงการ "ประสานพลังรัฐ เพื่อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร" ซึ่งเป็น 1 ในนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร โดยร้านที่จะเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานและฝึกอบรม จึงจะได้รับสัญลักษณ์ "ปัจจัยการผลิตคุณภาพประชารัฐ"

    เช่นที่ร้านนี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็น 1 ในร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย คุณแก้วตา เจ้าของร้าน เล่าให้ฟังด้วยความภาคภูมิใจว่า เข้าร่วมโครงการนี้ เพราะอยากช่วยเหลือเกษตรกร

    นอกจากจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรมาซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรมากขึ้นแล้ว ยังได้รับความร่วมมือจากบริษัทเอกชน ที่ผลิตปัจจัยทางการเกษตร

    และนั่นก็ทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่

    รัฐบาลตั้งเป้า ต้องมีร้านปัจจัยการผลิตคุณภาพประชารัฐทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่า 20,000 ร้านค้า
     
    Last edited: 17 Jul 2016
  5. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    นักวิชาการ หนุนไทยทำเกษตรดิจิตอลเพิ่มรายได้เกษตรกร



    เชียงใหม่ 16 ก.ค. – ตอนนี้นักวิจัยยังเดินหน้าพัฒนาสายพันธุ์ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ สายพันธ์ไข่ดก ซึ่งจะใช้เวลาอีกราว 5 ปี ที่จะทำให้ไก่พันธุ์นี้ซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงง่ายทนทานโรค ให้มีไข่ดกขึ้นจากเดิมอีกร้อยละ 30 เพื่อให้เป็นแหล่งโปรตีนและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อย จากการต่อยอดสร้างตลาดไข่ไก่อินทรีย์ในอนาคตด้วย

    ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ไก่พื้นเมืองพันธุ์ไทยแท้ ที่พิสูจน์มาแล้วถึงความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคระบาด เลี้ยงง่าย โตวัย เนื้อรสชาติอร่อย ที่สำคัญยังเป็นไก่พื้นเมืองให้ไข่คุณภาพ สีขาวนวล แม้จะลูกเล็กกว่าไข่ไก่ทั่วไป แต่คุณภาพคับฟอง เพราะให้ไข่แดงมากกว่า ไข่จึงมีความมัน รสชาติอร่อย ทำให้กรมปศุสัตว์เร่งพัฒนาสายพันธุ์ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ให้ออกไข่ได้ดกขึ้นภายใน 5 ปีนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งโปรตีนและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อย โดยตั้งเป้าพัฒนาสายพันธุ์ให้ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ทั้งที่เลี้ยงแบบปล่อยและเลี้ยงแบบฟาร์ม ออกไข่ดกขึ้นอีกร้อยละ 30 จากเดิมที่ออกไข่ตัวละ 90-140 ฟองต่อปี เพิ่มเป็น 117-200 ฟองต่อปี เพียงพอต่อเป็นแหล่งโปรตีนของครอบครัว

    สำหรับลุงซิมโอน ปัญญา เกษตรกรดีเด่น ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่ ซึ่งทำรายได้หลายล้านบาทต่อปี มองว่านอกจากเนื้อไก่พันธุ์นี้นุ่มแน่น รสชาติดีเป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว ไข่ของไก่พื้นเมืองยังหากินได้ยาก มีความหอมมัน อุดมไปด้วยโปรตีน หากพัฒนาให้ไก่พื้นเมืองออกไข่ดกขึ้น จะเป็นช่องทางในการทำรายได้จากตลาดที่ต้องการไข่คุณภาพได้อีกทางหนึ่ง

    สอดคล้องกับแนวทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะพัฒนาไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ สายพันธุ์ไข่ดกให้สำเร็จใน 5 ปี หรือในปี 2564 ซึ่งใช้งบพัฒนากว่า 6 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงไก่พันธุ์นี้ให้เป็นแหล่งโปรตีนในครอบครัว เพราะเลี้ยงง่าย โตวัย แทบจะไม่มีต้นทุนค่าอาหาร และยังสามารถทำตลาดไข่ไก่อินทรีย์ที่ทำราคาได้ดีกว่าไข่ไก่ในท้องตลาดได้ด้วย. – สำนักข่าวไทย



    ภูมิภาค 19 ก.ค.-โครงการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามแผนที่ AGRI-MAP เริ่มต้นขึ้นแล้ว ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำร่องใน 3 จังหวัดคือ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และอุทัยธานี.-สำนักข่าวไทย



    ไข่ไก่ฟองโตๆ ที่อยู่ในฟาร์มเลี้ยงแบบลดต้นทุนของ พี่บุญล้อม อ่อนสมกิจ เกษตรกรที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ทำอาชีพนี้มากว่า 30 ปี และเลี้ยง ไก่ไข่ไว้ เกือบ 4,000 ตัว

    โรงเรือนไก่ไข่ สร้างไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง และล้อมตาข่าย ไว้รอบๆ ช่วงที่อากาศร้อนจัด จะฉีดพ่นน้ำไปบนหลังคา เพื่อลดอุณหภูมิ ไก่จะได้ไม่ เครียด

    ไก่ไข่ที่ เลี้ยงไว้ อายุประมาณ 16 สัปดาห์ จะเริ่มออกไข่จนถึงอายุ 90 สัปดาห์ จึงปลดระวาง การเลี้ยงอยู่บนบ่อปลา มีข้อดีคือ ลดปัญหากลิ่นเหม็น และก๊าซที่เกิดจากมูลไก่ได้ จนแทบไม่มีกลิ่นรบกวน อากาศในโรงเรือนถ่ายเทได้สะดวก และค่อน ข้างเย็น ติดตั้งพัดลมในโรงเรือน เปิดเฉพาะในช่วงหน้าร้อนที่อากาศร้อนจัดเท่านั้น

    ในโรงเรือน ที่ขาดไม่ได้คือน้ำสะอาด เอาไว้ให้ไก่กิน ต้องเสริมด้วยวิตามินทุกๆ 10 วัน ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงจะเป็นอาหารสำเร็จรูปทั่วไป และต้องคอยเกลี่ยหรือเขี่ยอาหารวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น เพื่อกระตุ้นให้ไก่กินอาหาร

    ผลพลอยได้ของการเลี้ยงไก่แบบนี้ คือการเลี้ยงปลาโดยไม่ต้องให้อาหาร เพราะมูลไก่ทั้งหมดจะกลายเป็นอาหารชั้นดี เพียงแต่ต้องคอยดู หากน้ำมีสีเขียวเข้มมากเกินไป ก็ค่อยระบายออก และเติมน้ำใหม่เข้ามาแทน

    เกษตรกรท่านใดที่สนใจ ลองนำไปทำตามดูได้



    ปทุมธานี 21 ก.ค.-นาข้าวมักมีปัญหาโรคระบาด ทำให้ผลผลิตไม่ได้ปริมาณที่ต้องการ คุณภาพไม่สมบูรณ์ จึงมีการพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์พยากรณ์โรคของข้าว จะช่วยให้เกษตรรู้ล่วงหน้าถึงโอกาสเกิดโรค เพื่อหาทางป้องกันได้ทันที

    ฤดูฝนเป็นหน้าเพาะปลูกข้าวที่มักเกิดโรคระบาดหลายชนิด ส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้ตามต้องการ เกษตรกรมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นในการดูแลต้นข้าว อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.จึงคิดค้นผลิตเครื่องพยากรณ์โรคข้าวขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและลดการใช้สารเคมี โดยเครื่องนี้จะติดตั้งในนาข้าว หรือพื้นที่เกษตรที่เหมาะสม ตัวเครื่องจะมีกล่องชุดเซ็นเซอร์ตรวจจับองค์ประกอบการเกิดโรค ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปประมวลผลยังเซิฟเวอร์หลัก

    เครื่องจะวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้รับ มาเทียบกับข้อมูลสถิติช่วงอุณหภูมิความชื้นและฝนที่จะก่อให้เกิดโรค หากใกล้เคียง เว็บไซต์จะขึ้นข้อมูลเตือนให้เกษตรกรผู้ใช้งานทราบทันที พร้อมสรุปว่าแหล่งเพาะปลูกนั้นจะมีโอกาสเกิดโรคของข้าว 5 โรคสำคัญชนิดใดบ้าง เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล ใบไหม้ หรือขอบใบแห้ง

    เมื่อทราบถึงชนิดของโรคแล้ว เกษตรกรสามารถดูรายละเอียดพร้อมภาพประกอบ หรือนำใบข้าวที่เกิดโรคมาเปรียบเทียบ และยังศึกษาแนวทางการดูแลป้องกันให้เกษตรกรนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม ไล่ตั้งแต่วิธีแบบธรรมชาติในระยะที่โรคยังไม่เกิดและไม่ระบาดรุนแรง ไปจนถึงการใช้สารเคมีในขั้นสุดท้ายที่อาการของโรคอาจมีมากเกินไป

    ทั้งนี้ ตั้งเป้าจะกระจายจุดติดตั้งเครื่องให้ได้ทั่วประเทศ และปรับปรุงการตรวจโรคให้ครอบคลุมพืชชนิดอื่น เช่น การเพาะเห็ด ซึ่งเมื่อเปิดใช้อย่างเป็นทางการจะปรับเว็บไซต์เป็นภาษาไทยที่ง่ายต่อการใช้งาน.-สำนักข่าวไทย
     
    Last edited: 24 Jul 2016
  6. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482










    สับปะรดรสชาติหวานอร่อยเป็นเอกลักษณ์ ที่อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี กำลังจะจดทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หลังการทำเกษตรแปลงใหญ่ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ติดตามจากรายงานของคุณอันชลี ศิริมั่ว
     
    Last edited: 2 Aug 2016
  7. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กระแสการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์แปรรูปออร์แกนิค ทำให้ตลาดเปิดกว้างอย่างมาก ไม่เพียงแค่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่ใส่ใจกับความปลอดภัยของอาหาร และนิยมบริโภคสินค้าออร์แกนิคเท่านั้น เวียดนาม รวมถึงอีกหลายประเทศในอาเซียน ก็เริ่มใส่ใจกับสินค้าออร์แกนิคเหมือนกัน หากมาดูในประเทศไทย จะพบว่า ในแต่ละปีจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณปีละ 4 พันล้านบาท ซึ่งเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขยายตลาดสินค้าออร์แกนิค และโอกาสสำหรับประเทศไทยมีมากน้อยแค่ไหน กับเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางสินค้าออร์แกนิคในอาเซียน



    เมื่อปี 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสถึงการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจโดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียวซึ่งเป็นแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งหวังให้ราษฎรปลูกไม้ ให้ "พออยู่" "พอกิน""พอใช้" และ"รักษาระบบนิเวศ" บรรเทาผลกระทบป่าไม้ถูกทำลายและยังช่วยให้ชาวบ้าน มีอยู่มีกิน ที่ดีขึ้น

    "ลุงเหรียญ" เป็นเกษตรกรคนแรกๆ ของจังหวัดน่าน ที่ตัดสินใจทิ้งการปลูกข้าวโพดที่มีรายได้ดี หันมาปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

    "ลุงเหรียญ" พาเราเดินชมสวนป่าไร้สารเคมีบนพื้นที่กว่า 15 ไร่ ด้วยสีหน้าแววตาอันภาคภูมิใจ ที่สร้างขึ้นด้วยสองมืออย่างตั้งใจ

    การปลูกต้นไม้ ให้ได้ผลงอกงามตามแนวทางปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ต้องปลูกต้นไม้ให้เหมือนป่ามากที่สุด คือต้องมีครบทั้งไม้เรือนยอดชั้นบน กลาง ล่าง และใต้ดิน ชั้นบนเป็นไม้ใหญ่ เช่น สัก ประดู่ ตะเคียน ชั้นกลางเป็นไม้ใช้กิน เช่น เงาะ มะม่วง ลูกชิด ชั้นล่างเป็นไม้ปกคลุมผิวดิน ทั้งกาแฟ หวาย มะนาว ส่วนชั้นใต้ดิน เช่น กลอย ขิง และข่า

    หัวใจสำคัญของการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความกว้างใหญ่ของพื้นที่ แต่อยู่ที่ "ใจ" ของเราเป็นหลัก ว่าจะกล้าเปลี่ยนหรือไม่ แม้อาจต้องใช้เวลาให้ต้นไม้เจริญเติบโต แต่ผลที่ได้มีค่ามากเกินกว่าจะบรรยาย

    คุณผู้ชมครับ ความสำเร็จของลุงเหรียญ ที่กล้าทิ้งไร่ข้าวโพดหันมาปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ทำให้ชาวบ้านที่จังหวัดน่าน หลายครอบครัวเริ่มหันมาปลูกตามมากขึ้นแล้วครับ



    นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยยุทธศาสตร์กระทรวงฯในอีก 20 ปีข้างหน้า ระหว่างปี พ.ศ.2560-พ.ศ.2579 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจด้านบริการ และเกษตร

    โดยธุรกิจบริการ มุ่งเน้นไปยัง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มบริการสนับสนุน เช่น อสังหาริมทรัพย์ โลจิสติกส์ วิจัยและพัฒนา กลุ่มบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น ท่องเที่ยว นันทนาการ สุขภาพ และกลุ่มบริการยุคใหม่ ที่นำเทคโนโลยี และวัฒนธรรมมาผลิตเป็นสินค้า เช่น หนัง ละคร ดิจิตัลคอนเทนต์

    ส่วนภาคเกษตร ต้องการพัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ มากกว่าผู้ผลิต โดยเน้นมูลค่ามากกว่าปริมาณ ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ พร้อมพัฒนาช่องทางการขายและเครือข่ายใหม่ๆที่สามารถเชื่อมโยงตลาดได้อย่างครบวงจร

    นอกจากนี้ยังวางแผนพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ให้เป็นนักรบเศรษฐกิจใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ใช้เวทีเจรจาการค้าระหว่างประเทศ แก้ไขปัญหาส่งออก และมุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าตามความต้องการของตลาดเป็นหลัก



    เกาหลีใต้เตรียมปลดล็อคนำเข้าไก่สดไทยครั้งแรกในรอบ 12 ปี หลังหยุดนำเข้า ตั้งแต่ ปี 2547 จากปัญหาไข้หวัดนกระบาด

    พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังหารือกับ กับ นายลี ดอง พิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร อาหารและกิจการชนบท สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ที่ กรุงโซล ว่า เกาหลีใต้พร้อมที่จะกลับมานำเข้าไก่สดแช่เย็น และแช่แข็ง ของไทยอีกครั้ง หลังจากที่หยุดนำเข้าไก่จากไทย ตั้งแต่เกิดปัญหาไข้หวัดนกระบาด ในปี 2547 ซึ่งในขณะนี้ ไทยถือว่าเป็นประเทศที่ปลอดจากโรคไข้หวัดนกแล้ว และสามารถส่งออกเนื้อสัตว์ปีกสดไปยังสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และ รัสเซียได้

    โดยกระทรวงเกษตรฯ ของเกาหลีใต้ จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจรับรองโรงงานที่ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย ขณะที่กระทรวงเกษตรฯ ของไทย จะเร่งแจ้งให้ผู้ประกอบการ เตรียมพร้อมทั้งในเรื่องของกระบวนการ และวัตถุดิบให้พร้อม โดยคาดว่า กระบวนการจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้แน่นอน และส่งออกได้ต้นปี 2560 ซึ่งคาดว่าจะมียอดส่งออก ที่ 30,000-40,000 ตันต่อปี

     
    Last edited: 15 Aug 2016
  8. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือชาวนา เพื่อลดพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าว ตั้งเป้า 5.7 แสนไร่

    เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร 114,000 ราย รวม 5 โครงการ วงเงิน 15,579 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้ชาวนาในพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวเปลี่ยนอาชีพ ส่งเสริมปลูกพืชอื่น หรือสร้างอาชีพอื่นทดแทน เพื่อลดความเสี่ยงของการไม่ได้ผลผลิต หรือผลผลิตตกต่ำ

    โดย 4 โครงการแรก เป็นการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อ เปลี่ยนการปลูกข้าวมาเลี้ยงกระบือ เช่น ซื้อแม่พันธุ์ครัวเรือนละ 5 ตัวเป้าหมาย 5,000 ครัวเรือน ซื้อโคเนื้อ 5 ตัว เป้าหมาย 24,000 ครัวเรือน เลี้ยงแพะ 500 ครัวเรือนๆ ละ 32 ตัว และปลูกหญ้าเนเปียร์ 500 ครัวเรือน

    ส่วนโครงการที่ 5 คือการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น 2,610 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกร 84,000 รายรวม 420,000 ไร่ โดยรัฐจะอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพื้นที่ไร่ละ 5,000 บาท ครัวเรือนละ 5 ไร่ ตั้งแต่สิงหาคม 2559 - กันยายน 2560



    ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร ระบุโครงการประกันภัยข้าวนาปี 2559/60 ว่า หากมีการเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดภัยพิบัติของผู้เอาประกัน จะช่วยลดผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย



    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดคุณสมบัติเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการลดพื้นที่นาไม่เหมาะสม เพื่อรับค่าชดเชย

    พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าได้กำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการลดพื้นที่นาไม่เหมาะสม โดยโครงการที่ 1 ลดพื้นที่ 420,000 ไร่ ให้เกษตรกรเป้าหมาย 84,000 ราย ปรับเปลี่ยนไปทำกิจกรรมเกษตรทางเลือก โดยจะต้องเป็นเกษตรกรรายย่อย ซึ่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว และมีพื้นที่นาของตนเอง ไม่เกินรายละ 15 ไร่ เมื่อเข้าโครงการฯแล้ว ต้องลดพื้นที่นาลงครัวเรือนละ 5 ไร่ รัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท เพื่อปรับพื้นที่ และให้เพิ่มอีก 5,144 บาทต่อครัวเรือน เพื่อดำรงชีพระหว่างรอปรับเปลี่ยนพื้นที่

    ส่วนอีก 4 โครงการ ที่ส่งเสริมเลี้ยงสัตว์ จะให้เป็นเงินกู้ระยะ 6 ปี ดอกเบี้ย 5 เปอร์เซ็นต์ รัฐจ่ายชดเชยให้ 3 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรจ่ายเอง 2 เปอร์เซ็นต์ โดยให้กู้เป็นกลุ่ม เกษตรกรเข้าโครการฯ ต้องมีพื้นที่ทำกิน
    ไม่เกิน 7 ไร่

    ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทานเปิดเผยถึงแผนบริหารน้ำรับมือฤดูน้ำหลากว่า ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม, เร่งรัดกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำไหล และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ก็ยังมั่นใจว่าปีนี้ปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่จะไม่รุนแรง เนื่องจากเขื่อนขนาดใหญ่ และลำน้ำต่างๆ ทั่วประเทศยังสามารถรองรับน้ำฝนได้อีก



    การดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ดีขึ้นจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณภาพข้าวที่จะเข้าโครงการก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งเส้นทางกว่าจะมาเป็นข้าวไรซ์บัดดี้จะเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน



    ปั้นโครงการข้าวหอมมะลิอินทรีย์ "ไรซ์ บัดดี้" คืนความสุขให้ชาวนาอย่างยั่งยืน
     
    Last edited: 21 Aug 2016
    ParaDon likes this.
  9. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐบาลเตรียมจะเดินหน้าแผนลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม 40 จังหวัด กว่า 570,000 ไร่



    ทันทุกข่าว เข้าถึงทุกบ้าน ในเก็บตกจากเนชั่นทั่วไทย โดยภาสพล โตหอมบุตร รังสิมา ศฤงคารนฤมิตร และเกรียงศักดิ์ เผ่าอินทร์



    ศูนย์ปฎิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า แม้โครงการประกันภัยข้าวนาปี จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร แต่จากการสำรวจพบว่า มีเกษตรกรเข้าร่วมเพียง 9.1 ล้านไร่ จากเป้าหมาย 30 ล้านไร่ ทั้งนี้เป็นเพราะเกษตรกรยังไม่เข้าใจรายละเอียดของโครงการ ขณะที่แต่ละพื้นที่ก็มีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ จึงมีความเสี่ยงที่ต่างกัน ทั้งนี้ได้สั่งการให้เร่งประชาสัมพันธ์ ก่อนจะปิดโครงการภายในสิ้นเดือนนี้ โดยเชื่อว่า น่าจะมีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมมากขึ้น ส่วนการซื้อกรมธรรม์ เพื่อเบิกจ่ายสินไหมทดแทนกรณีเกิดภัยพิบัติของผู้เอาประกันภัย ทางภาคใต้ยังซื้อได้จนถึงกลางเดือนธันวาคมปีนี้

    นอกจากนี้ทางศูนย์ ยังเสนอให้มีการเพิ่มประเภทของสินค้าในการเอาประกันความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ทั้งมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมองว่าหากรัฐบาลไม่เข้าไปอุดหนุน ก็จะเพิ่มแรงจูงใจให้เกษตรกรซื้อประกันเพิ่มขึ้น ทำให้โครงการนี้เติบโตอย่างยั่งยืน



    ขอนแก่น 29 ส.ค. – “เกษตรสร้างชาติ” วันนี้ พาไปดูการสูบน้ำโดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงใดๆ นั่นคือ “การตะบันน้ำ” จะเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน

    ศูนย์อาสาบรรเทาภัยแล้ง กรมชลประทาน ติดตั้งระบบตะบันน้ำ ขนาดท่อ 2 นิ้ว บริเวณท้ายฝายห้วยบ่อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เพื่อสูบน้ำใส่นาข้าว เป็นต้นแบบให้เกษตรกรได้ศึกษาระบบตะบันน้ำ การสูบน้ำอัตโนมัติโดยไม่อาศัยเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้า

    “การตะบันน้ำ” คือ การสูบน้ำด้วยพลังงานจากน้ำไหล โดยอาศัยแรงกระแทกของน้ำ สูบน้ำได้ตลอด 24 ชั่วโมง เกษตรกรทำเองได้ด้วยต้นทุนต่ำ เช่น จุดตัวอย่างนี้เป็นการตะบันน้ำ ขนาดท่อ 2 นิ้ว อุปกรณ์ที่สำคัญ คือ วาล์วกันกลับ ขนาด 2 นิ้ว และอุปกรณ์ต่อท่อพีวีซีตามขนาดของวาล์ว

    จุดติดตั้งเครื่องตะบันน้ำอยู่ท้ายฝาย ต่ำกว่าเหนือฝาย 1.5 เมตร จากจุดตะบันน้ำถึงนาข้าว ระยะทาง 30 เมตร ผันน้ำขึ้นมาระยะความสูง 5 เมตร การตะบันน้ำสามารถสร้างได้ในจุดที่มีความต่างของระดับน้ำ

    อัตราการสูบน้ำของการตะบันน้ำ ขนาดท่อ 2 นิ้ว อยู่ที่ 1,000 ลิตร/ชั่วโมง อาจไม่เพียงพอสำหรับการทำนา แต่เพียงพอสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ 2-3 ไร่ เกษตรกรสามารถติดตั้งระบบตะบันน้ำด้วยท่อขนาดใหญ่ขึ้น หรือติดตั้งหลายตัวตามทุนทรัพย์ เพื่อให้สูบน้ำได้ปริมาณมากขึ้น. – สำนักข่าวไทย



    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามร่วมมือใช้ภาพถ่ายดาวเทียมบริหารจัดการการปลูกข้าวทั้งประเทศ

    นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวของประเทศไทยจากภาพถ่ายดาวเทียม ระหว่าง กรมชลประทาน กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า (GISTDA) เพื่อจัดทำข้อมูลพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศให้เป็นชุดเดียว และมีความแม่นยำ สำหรับใช้ประเมินผลผลิตข้าวเพื่อการบริโภคและส่งออก ประเมินความเสียหายหากเกิดภัยธรรมชาติ และวางแผนปลูกข้าวให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ โดยเริ่มใช้ในฤดูนาปีปีนี้เป็นครั้งแรก

    ทั้งนี้ ทางจิสด้า (GISTDA) ใช้ดาวเทียม 4 ดวง เก็บข้อมูลพื้นที่ปลูกข้าวมาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ใช้ความละเอียดของภาพครอบคลุมพื้นที่ ตั้งแต่ 30-40 ไร่ จนถึงละเอียดที่สุดคือ ครึ่งไร่ เก็บข้อมูลทุกๆ 7-15 วัน โดยนาปีปีนี้มีพื้นที่ปลูกข้าวไปแล้ว 49 ล้านไร่ หากไม่มีความเสียหาย จะได้ผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 20 ล้านตัน

    ส่วนสถานการณ์น้ำล่าสุดนั้น อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ยังมีเขื่อนขนาดใหญ่ 24 แห่ง จาก 34 แห่งทั่วประเทศ ที่มีน้ำใช้การไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ จึงประสานขอให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ทำฝนหลวงเติมน้ำในเขื่อน เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอ
     
    Last edited: 15 Sep 2016
  10. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์เตรียมจัดให้มีการทำข้อตกลงความร่วมมือการซื้อขายผลผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ ในวันที่ 19 กันยายนนี้ โดยมอบให้พาณิชย์จังหวัด 15 จังหวัด คัดเลือกกลุ่มนาแปลงใหญ่ในพื้นที่ จังหวัดละ 1 กลุ่ม มาทำข้อตกลงในส่วนกลาง ส่วนจังหวัดอื่นๆ ให้พาณิชย์จังหวัดพิจารณาจัดทำข้อตกลงในจังหวัดในวันเดียวกันพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อเป็นการรับประกันว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ จะมีที่ขายผลผลิตอย่างแน่นอน และขายข้าวได้ในราคาตลาด

    ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าศูนย์ข้าวนาแปลงใหญ่อย่างต่อเนื่อง พบว่าการดำเนินงานคืบหน้า และเกษตรกรพอใจ เพราะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้จริง และเชื่อมั่นว่าผลผลิตที่ออกมาจะสามารถขายได้ราคาดี หลังจากรัฐบาลได้เชื่อมโยงผู้ซื้อกับผู้ขายไว้

    โดยจากการลงพื้นที่ตรวจนาแปลงใหญ่หลายจังหวัด พบว่าเกษตรกรมีต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวลดลงจริง ขณะที่ผลผลิตที่จะออกมา ก็มีการเชื่อมโยงให้โรงสีและผู้ประกอบการ เข้าไปรับซื้อในราคานำตลาดแล้ว



    นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลประกาศให้การประกันภัยพืชผลเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อช่วยเหลือผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2559/2560 โดยมีพื้นที่เป้าหมายทำประกันภัย 30 ล้านไร่ ทั่วประเทศนั้น

    ขณะนี้ ยอดการประกันภัยข้าวนาปี จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาพบว่า มีเกษตรกรทำประกันภัยข้าวนาปี รวมกว่า 1,508,000 ราย มีพื้นที่เอาประกันภัย 26.09 ล้านไร่ รวมเบี้ยประกันภัย 2,609 ล้านบาท

    โดยพื้นที่ที่มีการทำประกันภัยข้าวนาปีสูงสุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีการทำประกันภัยข้าวนาปีสูงสุด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ และนครราชสีมา สำหรับจังหวัดที่มีเกษตรกรทำประกันภัยข้าวนาปีสูงเกินเป้าหมาย ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สระแก้ว และนครปฐม

    การทำประกันภัยข้าวนาปีในปีนี้ แม้ว่าจะยังไม่ทะลุเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้เป็นพื้นที่ 30 ล้านไร่ แต่ก็มียอดการทำประกันภัยสูงถึง 26 เท่า ของปีที่แล้ว และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นการใช้ระบบประกันภัยช่วยเหลือชาวนาในการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอย่างตรงจุด

    ทั้งนี้ กรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2559 สำหรับรายย่อย มีอัตราเบี้ยประกันภัย 100 บาท ต่อไร่ โดยเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ยังสามารถซื้อกรมธรรม์ได้ จนถึงวันที่ 15 ธันวาคมนี้





    วันนี้จะพาคุณผู้ชมไปที่จังหวัดมหาสารคาม ไปชมผลงานของเกษตรกรสาวคนเก่ง เป็นคนรุ่นใหม่ ที่กล้าจะพลิกผันอาชีพของตนเองจากการเป็นพยาบาลรักษาผู้ป่วย มาทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ เพื่อผลิตอาหารสุขภาพที่ปลอดภัยเพื่อผู้บริโภคที่รักสุขภาพ จนประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรในพื้นที่ด้วย

    จากแนวคิดดังกล่าว พื้นที่นา 22 ไร่ ที่ตำบลหนองทุ่ม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม แห่งนี้ จึงเปลี่ยนสภาพเป็นฟาร์มปศุสัตว์ไร่นาสวนผสม ที่เน้นการเลี้ยงสัตว์ ควบคู่ไปกับการทำนา และปลูกพืชผัก โดยไม่ใช้สารเคมี และปุ๋ยเคมี

    สัตว์ที่เลี้ยง จะเน้นสัตว์ปีกเป็นหลัก โดยเฉพาะ ไก่ไข่ และเป็ดไข่ รวมกันเกือบ 500 ตัว

    หลักการที่นี่ จะเน้นใช้สัตว์พันธุ์ดีจากกรมปศุสัตว์เท่านั้น โดยหากเป็นไก่ไข่ ก็จะเลี้ยงแบบครบวงจร แยกคอกเลี้ยง โดยใช้พ่อแม่พันธุ์โรดไอร์แลนด์เรด เมื่อผสมพันธุ์ก็จะเก็บไข่ไปฟัก แล้วนำลูกไก่ไปเลี้ยงอนุบาล ให้วัคซีนตามหลักวิชาการ และให้หัวอาหารสำเร็จรูปจนอายุ 1 เดือน จึงเริ่มให้อาหารที่ผสมเอง เพื่อปรับสภาพให้สัตว์กินอาหารแบบธรรมชาติได้

    อาหารที่ผสมเลี้ยงไก่ไข่ และเป็ดไข่ เน้นใช้วัตถุดิบที่ปลูกเองหรือซื้อจากเกษตรกรที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ได้แก่ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยนำมาบดก่อน ผสมกับกากมันหมักยีสต์ ข้าวเปลือก และใบกระถินตากแห้งป่น ให้เป็ดและไก่กินวันละ 2 ครั้งในช่วงเช้าและเย็น

    ส่วนระบบการเลี้ยง จะแยกสัดส่วนชัดเจน แต่จุดเด่นก็คือ สัตว์ทุกชนิดจะปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในระบบปิด คือ มีพื้นที่โรงนอน โรงฟักไข่ และมีพื้นที่ให้สัตว์วิ่งเล่น ไม่ให้เกิดความเครียด

    แม้ไข่ไก่ และไข่เป็ดที่ได้ สีสันจะแตกต่างจากไข่ตามตลาดทั่วไป แต่ก็มีจุดเด่นที่เก็บได้นาน ไม่มีกลิ่นคาว ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้รักสุขภาพที่สั่งซื้อจากฟาร์มโดยตรง จนผลิตไม่ทัน เพราะมั่นใจว่าปลอดภัย

    (ติดต่อ : คุณกานต์รวี บัวบุญ เกษตรกร โทร.085-4217734)



    นายสรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลจีนได้อนุมัติให้นำเข้าผลิตภัณฑ์นมโค เช่น นมข้นจืด นมข้นหวาน และอื่นๆ จาก 7 บริษัทผู้ส่งออกของไทย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากถูกระงับการสั่งซื้อเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เหตุเพราะปัญหาภายในประเทศจีนเอง ไม่เกี่ยวกับเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์นม หรือการกีดกันการค้าแต่อย่างใด

    นอกจากนี้ ยังกล่าวว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่ไทยจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์นมโคเป็นปีละ 12,800 ล้านบาท และอุตสาหกรรมนมโคจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่มีประชากรจำนวนมาก
     
    Last edited: 17 Sep 2016
  11. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดตัวโครงการ ให้ลดพื้นที่นาปรังในลุ่มเจ้าพระยา

    นายคณิต ลิขิตวิทยาวุฒิ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่าในฤดูนาปรัง ปี 2559-2560 ได้จัดทำ "โครงการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวไปปลูกพืชที่หลากหลาย" โดยจะลดพื้นที่ทำนา ในลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัด จำนวน 3 แสนไร่ เกษตรกรที่มีคุณสมบัติ ต้องมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ที่สำคัญจะต้องทำนาปรังอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาต้องลดพื้นที่นาไปปลูกพืชอื่น 5 ไร่ โดยสมัครได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ภายในวันที่ 18 กันยายนนี้

    เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว จะประกาศรายชื่อและให้เริ่มปลูกได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นไป เกษตรกรสามารถเลือกปลูกใช้น้ำน้อยได้ตามความถนัด โดยต้องลงทุนปรับพื้นที่ ซื้อเมล็ดพันธุ์ และปัจจัยการผลิตไปก่อน เมื่อปลูกแล้ว 20 วัน ให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อลงไปตรวจสอบว่าได้เพาะปลูกจริง จากนั้นจะแจ้ง ธ.ก.ส.เพื่อโอนเงินช่วยเหลือให้กับเกษตรกรไร่ละ 2,000 บาท ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง โครงการนี้ช่วยลดความเสี่ยงขาดแคลนน้ำทำนาในฤดูแล้ง และลดปริมาณข้าวเปลือกที่ล้นตลาดลงได้ 2 แสนตัน



    ปัญหาผลผลิตข้าวล้นตลาดจากการที่ชาวนาเร่งปลูกเร่งขายข้าวฉุดให้ราคาข้าวตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา โครงการ "นาแปลงใหญ่" เป็นเครื่องมือหนึ่งที่รัฐหวังใช้แก้ปัญหาช่วยให้สามารถกำหนดปริมาณผลผลิตข้าวให้เหมาะสมต่อการบริโภคและการส่งออก ซึ่งปีนี้กำหนดผลผลิตข้าวทั้งนาปีฤดูกาลผลิตปี 2559/2560 และนาปรังฤดูกาลผลิตปี 2560 รวมกันไม่เกิน 27 ล้านตัน

    เกษตรกรนาแปลงใหญ่ต้องไปลงทะเบียนกับภาครัฐ เพื่อให้รู้ถึงจำนวนพื้นที่เพาะปลูกพร้อมคาดการณ์ผลผลิตที่จะออกมา แต่จะร่วมได้ต้องเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว เพื่อให้ผลผลิตข้าวออกมามีคุณภาพดี ขายได้ราคาสูงกว่าราคาตลาด โดยรัฐรับประกันหาตลาดรองรับผลผลิตที่รับซื้อข้าวราคาสูงกว่าตลาด ตันละ 200 - 300 บาท เพื่อจูงใจให้ชาวนาเข้าร่วมโครงการมากขึ้น

    ชาวนาที่เข้าร่วมทำนาแปลงใหญ่ ค่าใช้จ่ายจะลดลง เพราะได้พันธุ์ข้าวบางส่วนจากกรมการข้าว และการรวมกลุ่มกันของชาวนาทำให้มีอำนาจต่อรองซื้อปัจจัยการผลิตร่วมกันได้ในราคาที่ถูกลง พร้อมกับมีศูนย์การเรียนรู้ช่วยปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวที่ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 350 กิโลกรัม เป็น 450 กิโลกรัม และได้ข้าวคุณภาพดี ทำให้ขายได้ราคาดีขึ้น เงินที่เหลือหลังจากทำนาก็มีมากขึ้น

    การให้ความรู้และดูแลเกษตรกรตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ วิธีการปลูก จนถึงทำการตลาด หวังให้เกษตรกรเดินได้ด้วยตัวเอง จะส่งผลดีในระยะยาวย่อมดีกว่าการที่รัฐบาลต้องใช้งบประมาณมหาศาลเข้าไปแทรกแซงเพื่อพยุงราคาข้าว ซึ่งไม่ใช่วิธีการที่ยั่งยืน



    17 ก.ย. – กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาห้องปฏิบัติการพิษวิทยา ให้สามารถตรวจสารเคมีได้ 500 ชนิด ตามมาตรฐานอียู ผู้ประกอบการหายห่วงว่าสินค้าส่งออกไปยังอียูจะถูกชะลออีกต่อไป

    ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การผลิตพืชผัก ผลไม้หลายชนิดประสบปัญหาปนเปื้อนสารพิษ เกิดจากการตกค้างมาตั้งแต่การเพาะปลูกในปริมาณสูง หากลดความเสี่ยงไม่ได้ ผัก ผลไม้ และสมุนไพรที่ประเทศไทยส่งออกไปยังสหภาพยุโรป หรือ อียู ก็จะถูกชะลอการนำเข้า เสียหายเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาห้องปฏิบัติการของไทยให้สามารถตรวจวิเคราะห์ สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้ได้อย่างน้อย 500 ชนิด ตามมาตรฐานสากล

    ปกติระยะเวลาการตรวจผักผลไม้ 1 ชนิด จะใช้เวลาตรวจประมาณไม่เกิน 5 วัน ทำการ แต่ผู้ประกอบการต้องส่งไปตรวจที่สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และอังกฤษ ค่าตรวจชนิดละประมาณ 100,000 บาท

    นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้พัฒนาห้องปฏิบัติการพิษวิทยา จนสำเร็จ ให้สามารถตรวจวิเคราะห์สารเคมีได้ไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ใน 10 กลุ่ม ที่เป็นข้อกำหนดอ้างอิงของ EU จากเดิมที่สามารถตรวจได้ประมาณ 200 ชนิด ใน 4 กลุ่มเท่านั้น

    ทั้งนี้ “ห้องปฏิบัติการพิษวิทยา” นี้สามารถตรวจรับรองผักผลไม้ ทั้งที่ส่งออกและจำหน่ายในประเทศ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการแห่งแรกและแห่งเดียวในไทย ที่สามารถตรวจได้ตามที่อียูกำหนด ซึ่งเราหวังเป็นศูนย์กลางการตรวจหาสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในภูมิภาคอาเซียน. –สำนักข่าวไทย



    ในหลายพื้นที่ที่ดำเนินโครงการนาแปลงใหญ่ มีภาคเอกชนเข้ามารับซื้อผลผลิตแล้ว และ ล่าสุดโรงสีในพื้นที่ก็ตกลงจะรับซื้อผลผลิตในราคานำตลาดด้วยเพราะเชื่อว่า จะได้ข้าวคุณภาพดีแน่นอน ติดตามจากรายงานคุณมาสิรี กล่อมแก้ว



    ข้าวถือเป็นอาหารหลักของหลาย ๆ ประเทศในอาเซียนเลยก็ว่าได้ แต่อาเซียนก็นับเป็นฐานการผลิตข้าวที่สำคัญของโลกเหมือนกัน เมื่อพิจารณาจากการต้นทุนการผลิตข้าวแล้ว ไทยเราอาจจะสูงกว่าเวียดนาม และกัมพูชา เพราะฉะนั้นแล้ว การสร้างความแตกต่าง สร้างจุดขาย จึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ล่าสุดกรมการข้าวพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวที่มีตลาดเฉพาะ หรือ Niche Market ซึ่งเป็นข้าวที่ตอบโจทย์กับผู้ใส่ใจดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ
     
    Last edited: 8 ต.ค. 2016
  12. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 59 - พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทบทวนมติครม.เมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา เรื่องมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรปีการผลิต 2559/2560 ด้านการผลิตเพิ่มเติม โดยมี 2 โครงการ คือ โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ โครงการพลัดเปลี่ยนพื้นที่นาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงแพะ และโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการทำนายาก โดยกรมปศุสัตว์เป็นผู้ดำเนินการ โดยให้เพิ่มพื้นที่ดำเนินงานจากเดิมทั้งหมด 40 จังหวัด เพิ่มอีก 15 จังหวัดเป็น 55 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน กำแพงเพชร ตาก พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี นครปฐม และเพชรบุรีรองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ส่วนโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสม เป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ให้เพื่อพื้นที่ดำเนินครอบคลุมไปถึงพื้นที่เหมาะสมน้อย จากเดิม 30 จังหวัด ปรับเพิ่มเป็นทุกจังหวัด ยกเว้น 14 จังหวัดภาคใต้ ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มเฉพาะพื้นที่สำหรับวงเงินงบประมาณยังเหมือนเดิม



    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน" ตอนหนึ่ง ว่า กรณีราคาข้าวตกต่ำโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิในภาคอีสาน และในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งเป็นผลจากการรับซื้อของโรงสีหรือพ่อค้าคนกลาง อาจเป็นเพราะข้าวมีความชื้นสูงที่เป็นผลกระทบจากน้ำท่วม มีผลต่อราคาข้าวในตลาดโลก การลดราคาแข่งขันกันของประเทศผู้ผลิตข้าว ซึ่งรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ และกำลังกำหนดมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและชาวนา ให้บรรเทาความเดือดร้อนให้ได้โดยเร็วที่สุด

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่เกินสัปดาห์หน้าจะเร่งให้มีการประชุมให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบแล้วนำไปสู่การปฏิบัติได้ในทันที



    กรุงเทพฯ 30 ต.ค.- วันพรุ่งนี้ นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมด่วน คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข.เพื่อหารือมาตรการแก้ไขปัญหาราคาข้าวหลังจากที่ราคาข้าวเปลือกในปัจจุบันตกต่ำลงอย่างมาก ชาวนาบางรายบอกว่า ขายข้าวได้ราคาต่ำสุดในรอบ 10 ปี รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ไปคุยกับ นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์. –สำนักข่าวไทย



    สาเหตุที่ราคาข้าวตกต่ำ นอกจากปัญหาความชื้นจากสภาพอากาศแล้ว ผลผลิตข้าวในตลาดโลกที่ออกมามาก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวราคาตกต่ำ

    นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า การผลิตข้าวโลกในปีนี้ มีปริมาณผลผลิตขยายตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 2.4 ส่งผลให้สต็อคข้าวโลกสูงขึ้นร้อยละ 4.3 ซึ่งสวนทางกับการบริโภค ที่ลดลงร้อยละ 1.5 จึงส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศ ถูกกดดันจากราคาข้าวในตลาดโลกที่ลดต่ำลงด้วย ขณะเดียวกันยังถูกซ้ำเติมจากสภาพอากาศที่มีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ค่าความชื้นในข้าวสูงขึ้นด้วย



    ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวหรือ นบข.ให้เร่งการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ และเห็นชอบมาตรการรับจำนำยุ้งฉางในราคา 11,525 บาทต่อตันข้าวเปลือกหอมมะลิ

    ส่วนชาวนาที่ไม่มียุ้งฉางจะได้ราคาตันละ 10,995 บาท มีระยะเวลาไถ่ถอน 6 เดือน โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. เข้าดำเนินการได้ทันที ส่วนการช่วยเหลือราคาข้าวเปลือกเจ้า จะต้องรอดูราคาตลาดก่อน โดยนายกรัฐมนตรีบอกว่าพอใจกับมาตรการช่วยเหลือชาวนาที่ออกมาวันนี้ ซึ่งปัญหาราคาข้าวตกต่ำในขณะนี้เกิดจาก 2 ประเด็นคือ การปรับโครงสร้างการเกษตรที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ครบวงจร และมีนักการเมืองท้องถิ่นร่วมมือกับโรงสี กดราคาข้าว จึงเป็นเรื่องที่ต้องไปทำความเข้าใจทั้งระบบ

    ด้านนายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการ ธกส.กล่าวว่า หลัง นบข.มีมติ และคาดว่าจะนำเรื่องเข้า ครม.เป็นวาระเร่งด่วนในวันพรุ่งนี้ ทาง ธกส.ก็จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร หรือ บอร์ด ในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้ เพื่อกำหนดเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเบื้องต้นต้องใช้วงเงินสินเชื่อตามมติ นบข.จำนวน 35,900 ล้านบาท พร้อมเตรียมส่งเจ้าหน้าที่เข้าชี้แจงหลักเกณฑ์สินเชื่อกับเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ และผู้ที่สนใจสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ที่ ธกส. ส่วนชาวนาที่ไม่มียุ้งฉางก็สามารถใช้บริการผ่านระบบสหกรณ์ หรือ วิสาหกิจชุมชนได้

    นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่อให้พิจารณามาตรการลดหย่อนภาษีให้กับประชาชนที่ช่วยกันซื้อข้าวเก็บสต็อคไว้เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่ขอลดหย่อนภาษีสำหรับการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันจะเจรจากับภาคเอกชน เช่น ปตท. บางจาก ให้ช่วยทำโครงการเติมน้ำมันแจกข้าว เพื่อให้ข้าวออกมาอยู่ในมือผู้บริโภคให้มากที่สุด ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ จะออกตรวจสต็อกผู้ส่งออกทุกราย ให้มีข้าวอย่างน้อย 500 ตันตามกฎหมาย และระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายนนี้ จะนำผู้นำเข้า จาก 15 ประเทศพบกลุ่มสหกรณ์และผู้ส่งออก และเร่งการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี และจะมีมาตรการไม่ให้โรงสีกดราคา

    ด้านนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ กำลังเร่งแก้ปัญหาข้าวทั้งระบบ ผ่านการทำ Agri-map หรือ แผนที่เกษตร เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกและบูรณาการข้อมูลพื้นฐาน โดยจะลดพื้นที่การปลูกข้าว และเพิ่มพื้นที่สนับสนุนการปลูกพืชหลากหลายเพิ่มเติมอีก 3.2 แสนไร่ โดยจะเสนอ ครม. อนุมัติในวันพรุ่งนี้
     
    Last edited: 5 Dec 2016
  13. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ราคาข้าวที่ตกต่ำในรอบ 10 ปี กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ติดตามจากรายงาน

    เหลืออีกเพียงไม่ถึงสัปดาห์ ผลผลิตข้าวฤดูการผลิตปี 2559/2560 กว่า 27 ล้านตัน จะทยอยออกสู่ตลาด แต่กลับเริ่มมีปัญหาและเสียงสะท้อนจากชาวนาว่า ราคาข้าวตกต่ำลงอย่างไม่คาดคิด เงินลงทุนปลูกข้าวที่ลงไป ได้ไม่คุ้มทุน เพราะขายข้าวได้เพียงตันละ 5,000 - 6,000 บาท

    ปีนี้ฝนดี ทำให้ผลผลิตข้าวออกมาล้นทั่วโลก แต่ส่งผลกระทบต่อชาวนาบางส่วน ต้องรีบเกี่ยวข้าวหนีน้ำท่วม พื้นที่นาบางส่วนก็ถูกน้ำท่วมจนข้าวล้ม เก็บเกี่ยวข้าวขึ้นมาความชื้นจึงสูง ทำให้คุณภาพข้าวต่ำกว่ามาตรฐาน

    ราคาข้าวหอมมะลิปีนี้ ร่วงลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 14-15 บาท จากที่ราคาเคยถึงกิโลกรัมละ 18-20 บาทเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ข้าวขาวราคาลดลงมาเหลือกิโลกรัมละ 11 บาท 20 สตางค์ เพราะเกี่ยวข้าวขณะยังไม่สุกดี แต่ชาวนาไม่มีทางเลือก ไม่อยากให้เงินที่ลงทุนไปสูญเปล่า เมื่อนำข้าวมาขายให้โรงสีก็ถูกกดราคา

    ขณะที่ โรงสีข้าวยืนยันว่า ไม่เคยกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนา ที่ผ่านมารับซื้อในราคาสูงกว่าตลาด โดยคำนวณจากราคารับซื้อของผู้ส่งออก แต่คุณภาพข้าวที่ชาวนานำมาขายช่วงนี้มีความชื้นสูง หากซื้อราคาสูง ก็อาจขายไม่ได้เช่นกัน

    รัฐบาลจำเป็นต้องหามาตรการจูงใจชาวนา ดึงข้าวส่วนเกินออกจากตลาด เพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำลงไปอีก พร้อมกับส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าข้าว และการบริโภคในประเทศ หวังผลักดันราคาข้าวให้สูงขึ้น

    วิกฤตราคาข้าวของไทยช่วงนี้ เป็นบทเรียนสะท้อนถึงอดีต ที่ขาดการวางแผนกำหนดพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสม ทำให้ผลผลิตข้าวล้น ราคาข้าวร่วง สุดท้ายต้องตามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุกันทุกปี



    กรมส่งเสริมการเกษตร เตรียมส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดแทนการปลูกข้าว เพราะปัจจุบันความต้องการใช้ยังสูงกว่ากำลังการผลิตกว่าเท่าตัว โดยตั้งเป้าเปลี่ยนนาข้าวเป็นข้าวโพด 2 ล้านไร่ในปีนี้

    นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการข้าวโพดในประเทศมีสูงถึง 7.2 ล้านตันต่อปี แต่เกษตรกรสามารถผลิตได้เพียง 4 ล้านตันต่อปี ทำให้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่มาก ซึ่งการหันมาปลูกข้าวโพดแทน จะสามารถชดเชยรายได้ที่ลดลงได้ แม้ช่วงนี้จะมีราคาต่ำ แต่หากเทียบต้นทุนแล้วข้าวโพดมีต้นทุนต่อไร่เพียง 4,000 บาท ซึ่งถูกกว่าต้นทุนปลูกข้าวมาก โดยปีนี้ตั้งเป้าหมายเปลี่ยนแปลงการปลูกข้าวเป็นข้าวโพดจำนวน 2 ล้านไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านตันได้

    ขณะที่ภาคเอกชน พร้อมยื่นมือช่วยเหลือชาวนา โดยนายเจน นำชัยสิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผย ได้มอบหมายให้กรรมการจังหวัดต่าง ๆ ให้การช่วยเหลือและดูแลชาวนาในพื้นที่ทุกมาตรการที่สามารถทำได้ เช่น กลไกด้านการทำตลาด รวมถึงพร้อมนำเครื่องจักรกลไปช่วยเหลือชาวนา เพื่อให้สามารถขายข้าวให้ถึงมือผู้บริโภคได้ ทั้งนี้เห็นว่าราคาข้าวตกต่ำ เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่ภาครัฐ ต้องเร่งหากลไกมาดูแล และพยุงราคา รวมถึงจัดตั้งกลไกให้ชาวนาสามารถขายข้าวได้โดยตรง โดยเฉพาะช่องทางอีคอมเมิร์ซที่สามารถขายสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคได้โดยตรง

    ด้านนางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. ระบุจากปัญหาราคาข้าวราคาตกต่ำในขณะนี้ มกอช.จะเร่งเดินหน้า ผลักดันมาตรฐานข้าวอินทรีย์ ตั้งแต่แปลงนา จนถึงการแปรรูป ขณะนี้ดำเนินการแล้ว ในจังหวัดมหาสารคาม และศรีสะเกษ รวมไปถึงการส่งเสริมมาตรฐานข้าวเฉพาะถิ่น เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวชุมแพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต



    "บิ๊กตู่" เผย นบข. นัดพิเศษ เคาะช่วยเหลือข้าวนาปีตันละ 1.3 หมื่น เดินหน้าสร้างชาวนาเข้มแข็ง

    "บิ๊กตู่" เผย นบข.นัดพิเศษ เคาะช่วยเหลือข้าวนาปีตันละ 1.3 หมื่น บวกค่ายุ้งฉาง สั่ง มท. พณ. คสช. ลงตรวจทุกโรงสี เช็คข้าวในคลัง วอนอย่าหลงเชื่อพวกบิดเบือนผ่านโซเชียล ลั่น รัฐบาลต้องรักษาฎหมาย ไม่มีเงินอุดหนุนตลอด เดินหน้าสร้างชาวนาเข้มแข็งด้วยตัวเอง เมิน หนังสือ "ยิ่งลักษณ์" ขอเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง

    เมื่อวันที่ 1 พ.ย. เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบชาติ(คสช.) แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ถึงมาตรการการช่วยเหลือราคาข้าวตกต่ำต่อเกษตรกรชาวนา ว่า จากการการประชุม คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าว (นบข.) วานนี้(31ต.ค.) เป็นการหาข้อมูลชั้นต้น แม้จะมีมติอะไรต่างๆออกมา แต่ยังไม่ถือเป็นข้อสรุป โดยตนได้ให้ไปหาข้อมูลมาเพิ่มเติม ซึ่งก็ได้ข้อมูลมาแล้วก่อนการประชุมครม.ได้มีการประชุมนบข.นัดพิเศษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำข้อมูลจากที่ได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และคสช. ซึ่งมีมติว่า ภาครัฐจะกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวถือเป็นมาตรการใหญ่ ซึ่งจะประกอบไปด้วย โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ฤดูกาลผลิต 2559 ถึง 2560 รวมถึงข้าวหอมมะลิ"

    โดยชาวนาจะได้รับเงินทั้งสิ้น 13,000 บาท วันนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีหลักเกณฑ์ในการคิด ไม่ใช่จะเท่าไรก็ได้ ต้องเอาราคามาเฉลี่ย ซึ่งตอนนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ประมาณ 9,700-12,000 บาท เมื่อคิดคำนวนแล้วราคาค่าเฉลี่ยควรจะเป็นตันละ 11,000บาท โดย ธกส.จะรับจำนำตามความเห็นชอบของครม.ในวันนี้ 9,500 บาท แต่จะมีเพิ่มเติมช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพ ให้อีกตันละ 2,000 บาท ค่าขึ้นยุ้งเก็บรักษาตันละ 1,500 บาท รวมเป็น 13,000 บาท ทั้งนี้ธกส.จะรับเต็มที่ไม่ได้ จะทำให้ผิดกติกา ซึ่งตรงนี้สำหรับเกษตรกรที่ร่วมโครงการและมียุ้งฉาง หากไม่มียุ้งฉาง รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและค่าปรับปรุงคุณภาพโดยโอนเงินเข้าบัญชีตันละ 2,000 บาท แต่จะไม่ได้ค่าขึ้นยุ้งเก็บรักษาอันนี้ถือเป็นข้อยุติ หวังว่าพ่อแม่พี่น้องชาวนาคงจะพอใจระดับหนึ่ง และขอให้เห็นใจรัฐบาลบ้าง เพราะช่วงนี้มีความยากลำบากเกิดขึ้นหลายอย่าง ผลกระทบเกิดจากฝนและอะไรต่างๆ" นายกฯ กล่าว

    นายกฯ กล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญ เราต้องช่วยกันคิดว่าจะทำงานในภาคการเกษตรต่อไปอย่างไร หากยังทำแบบเดิม ก็จะมีปัญหา แต่ตนก็เห็นใจพ่อแม่พี่น้อง ที่ทุกคนมีความคุ้นเคยตั้งแต่เด็กจนโต ตั้งแต่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ตนเข้าใจตรงนี้ ดังนั้นถึงได้บอกว่าเราต้องมาเรียนรู้ด้วยกันและมีศูนย์เกษตรทฤษฎีใหม่ ศูนย์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ตอนนี้ต้องหาวิธีการปลูกข้าวที่จำนวนไร่น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม และต้องดูตารางข้าวโลกในปัจจุบันด้วย อย่ามองแค่ในประเทศอย่างเดียว ในประเทศเราต้องแก้ไป ด้วยวิธีการช่วยเหลือและสร้างความเข้มแข็ง รวมถึงเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยรัฐบาลจะหาเครื่องมือไปให้ เป็นส่วนรวมไว้ที่สหกรณ์ต่างๆ ถ้าทุกคนรวมกลุ่มได้ ตนก็จะสนับสนุนให้ได้ เพื่อลดค่าแรงต้นทุนการผลิต และต่อไปตนกำลังให้หาโรงสีขนาดกลางในพื้นที่จุดที่เกษตรกรมีความเข้มแข็งและสามารถรวมกลุ่มกัน เพื่อไม่ต้องส่งไปโรงสีข้างนอก เพราะราคาเป็นที่พอใจ เราต้องสร้างให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งด้วยตัวเอง ทั้งปลูก ผลิต แปรรูป ขาย ส่วนโรงสีเดิม ก็ต้องปรับตัว ทำอย่างไรจะให้เกิดความสุจริต โดยประชาชนต้องได้รับผลประโยชน์มากที่สุด โดยเกษตรกรเองก็ต้องมีเครื่องมือตรวจสอบโดยกระบวนการท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือประชาชน เป็นการวัดความชื้นข้าวของตัวเองก่อนที่จะส่งไปโรงสี หากไม่ตรงกับที่โรงสีวัด จะได้ตรวจสอบได้ ถ้าเราไม่เตรียมการตัวเอง เราก็ต้องยอมรับผลการประเมินของโรงสี โดยที่ผ่านมาไม่มีการตรวจสอบหลังเจ้าของโรงสีประเมินค่าความชื้น

    "วันนี้ผมได้สั่งมาตรการเหล่านี้ไปแล้ว กระทรวงเกษตรฯ มหาดไทย พาณิชย์ และคสช. จะลงไปสำรวจทุกโรงสีว่าสิ่งที่ทำมาทั้งหมดก่อนหน้านี้มีอะไรที่แปลกประหลาดแทรกซ้อนหรือเปล่า ถ้าไม่มีก็แล้วไป พร้อมกันี้จะต้องไปดูคลังข้าว ที่บางโรงสีอาจเก็บข้าวไว้ตามนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมา รับค่าข้างดูแลข้าวมาเยอะ การดูแลจะดีหรือไม่ดีอย่างไร ก็ต้องไปว่ากันตรงนั้นด้วย ฉะนั้นต้องทำทั้งระบบ เราจะไปว่าใครดีหรือไม่คงลำบาก เพราะคนดีก็มี เราต้องมองในส่วนประชาชนที่จะช่วยเหลือตัวเองอย่างไร ถ้าต้านทุกอย่างมันไปไม่ได้ ผมก็ห่วง ปีนี้ความต้องการภายนอกลดลงเพราะแต่ละประเทศมีสำรองข้าวไว้เยอะ อีกทั้งยังไปลงทุนปลูกข้าวในพื้นที่ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ขณะที่บ้านเราต้นทุนการผลิตยังสูงใช้น้ำเยอะ การปลูกข้าว ฝนแล้ง ฝนมากจะต้องมีวิธีการปลูกที่แตกต่าง ต้องใช้เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มเมอร์ โดยรัฐบาลให้ความช่วยเหลือ โอกาสเรามีเยอะ" นายกฯ กล่าว

    นายกฯ กล่าวว่า ถ้าเราช่วยกัน ที่ผ่านมามาตรการอุดหนุนเรื่อยๆ ไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งได้ ดังนั้นต้องสร้างความเข้มแข็งให้ได้ ขึ้นอยู่กับสหกรณ์ แกนนำ หมู่บ้าน ต้องร่วมมือกัน อย่าไปเชื่อคำบิดเบือนทางโทรศัพท์ เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลทำ คนไทยบังคับไม่ได้ทั้งหมด ต้องใช้วิธีการขอร้องกัน คนที่เข้ามาอยู่ในโครงการที่รัฐบาลแนะนำมีผลผลิตและรายได้ที่ดีขึ้น แต่คนที่ยังไม่เปลี่ยนรายได้ก็น้อยลง สิ่งที่ห่วงอีกเรื่องคือถ้ารัฐบาลบริหารจัดการน้ำได้ดี ก็จะเฮโลปลูกข้าวกันอีก และให้รัฐบาลปล่อยน้ำมาเลี้ยงข้าว ปัญหาก็จะวนทับแบบนี้ ฉะนั้นวันนี้ต้องแก้ทั้งระบบ ทั้งประชาชน โรงสี เอกชน พ่อค้าข้าว ต้องมีธรรมาภิบาล ขณะที่รัฐบาลจะมีนโยบายใหม่ๆ โดยเอาปัญหาเหล่านั้นมาแก้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่กำหนดขอให้เข้าใจตรงกัน อย่าอะไรกันอีกเลย ขอดูแลข้าวหอมมะลิที่มีปัญหาตอนนี้ก่อน และเชื่อว่าจะมีปัญหาอีก 2-3 เดือน ประมาณ 2 ล้านตัน และอะไรต่างๆจะดีขึ้นเอง โดยหวังว่าราคาตลาดจะดีขึ้น ส่วนการขายข้าวตามถนนตนไม่ห้าม หากเป็นรายได้เล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าขายเป็นทางการใหญ่โตเป็นห้างร้านต้องจดทะเบียน ตอนนี้ยังไม่ได้จับกุมดำเนินคดีใดๆทั้งสิ้น ถือเป็นการช่วยเหลือตัวเอง อย่าไปโทษกันไปมา ต่อไปหากไม่มีโรงสีหรือพ่อค้าข้าวเลยก็ไม่ได้ รวมถึงพ่อค้ารายใหญ่ เพราะทั้งหมดเป็นห่วงโซ่เดียวกัน แต่ทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่บนกติกาให้ได้ โดยใช้กฎหมายที่มีอยู่ทุกตัวก็จะไม่มีปัญหา อย่าให้ใครมาบิดเบือน

    นายกฯ กล่าวต่อว่า การแก้ไขปัญหาราคาข้าวจะให้พอใจทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นไปไม่ได้ ขอให้เข้าใจรัฐบาลมีงบประมาณจำกัด สิ่งไหนทำได้ก็ทำแต่อะไรที่ผิดกฎหมายก็อย่าทำ อย่ามาบอกว่าเคยได้ราคาสูงกว่านี้ประชาชนได้ประโยชน์แล้วมันผิดกฎหมายหรือไม่ นั่นคือสิ่งที่ต้องระมัดระวัง ถ้าผิดกฎหมายตนทำให้ไม่ได้ สิ่งที่ตนทำนั้นได้ปรึกษาหารือกับฝ่ายกฎหมายแล้วเขาบอกว่าทำได้ เพราะเราไม่ได้ไปช่วยทุกเมล็ดหรือเก็บไว้ในคลังของรัฐ

    ส่วนกรณีที่มีการทำหนังสือเรียกร้องให้นายกฯและผู้ที่เกี่ยวข้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง เรียกค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ใครจะเพิกถอนใคร เพิกถอนตนได้หรือ เพราะทำตามหน้าที่ ทุกรัฐบาลก็มีพ.ร.บ.ฉบับนี้ เรื่องนี้เป็นคดีความที่ส่งขึ้นตามขั้นตอน ผู้ถูกกล่าวหาก็ต้องไปสู้ทางคดี ถ้าไม่ผิดเขาก็ถอนให้ เขาต่อสู้คดีกันแบบนี้ไม่ใช่หรือ ถ้าเราไม่ทำเราผิดไหม
     
    Last edited: 5 Dec 2016
  14. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    คณะรัฐมนตรี อนุมัติมาตรการชะลอการขายข้าว ซึ่งจะทำให้ชาวนาได้ราคาข้าวหอมมะลิถึงตันละ 14,000 บาท

    คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการชะลอการขายข้าวหอมมะลิ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข.นัดพิเศษ โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. จะให้สินเชื่อแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ วงเงิน 90% ของราคาตลาด หรือตันละ 9,500 บาท

    นอกจากนี้ เกษตรกรจะได้รับเงินค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพนาไร่ละ 800 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ หรือคิดเป็นตันละ 2,000 บาท รวมทั้งได้เงินค่าขึ้นยุ้งฉางและเก็บรักษาข้าวอีกตันละ 1,500 บาท และยังได้รับเงินช่วยเหลือปัจจัยการผลิตอีกไร่ละ 1,000 บาท จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการชะลอขายข้าวหอมมะลิ รวมตันละ 14,000 บาท โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปีหน้า เป็นเวลา 5 เดือน ซึ่งเกษตรกรไม่ต้องเสียดอกเบี้ย

    ส่วนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนชาวนา แต่ไม่มียุ้งฉาง และไม่ได้เข้าร่วมโครงการ จะขายข้าวได้ในราคาตลาด เฉลี่ยตันละ 11,000 บาท และจะได้รับค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพนา ตันละ 2,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ รวมเป็นตันละ 14,000 บาท เช่นกัน

    ด้าน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรการของรัฐบาล ทำให้ชาวนาขายข้าวได้ในราคาไม่ต่ำกว่าตันละ 10,000 บาท จะช่วยให้ราคาข้าวดีขึ้น

    นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เชื่อว่า รัฐบาลมีกลไกดูแล และพยุงราคาข้าว โดยสภาอุตสาหกรรมฯ พร้อมสนับสนุนชาวนาในการขายข้าวออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่าย ซึ่งได้สั่งให้สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ช่วยเหลือเกษตรกรด้านการทำบรรจุภัณฑ์

    ขณะที่ นายมานัส กิจประเสริฐ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ยืนยันว่าโรงสีไม่ได้กดราคารับซื้อข้าวจากชาวนา แต่รับซื้อตามคุณภาพและความชื้นข้าว ซึ่งราคาข้าวที่รับซื้อต่ำ เป็นข้าวเกี่ยวหนีน้ำท่วม ความชื้นสูง พร้อมขอให้อย่าโยงเรื่องข้าวไปเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือกล่าวหาว่าโรงสีมีการเมืองหนุนหลัง



    นายมานัส กิจประเสริฐ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า โรงสีไม่เคยประกาศหยุดรับซื้อข้าวจากเกษตรกร และรับซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาดด้วยหากว่าคุณภาพและความชื้นเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพราะราคาในการรับซื้อ โรงสีคำนวณจากราคาที่ผู้ส่งออกมารับซื้อ และต้นทุนต่างๆ แต่ที่มีกระแสข่าวว่ารับซื้อในราคา 5,000 - 6,000 บาทต่อตันนั้น เพราะเป็นข้าวเกี่ยวสด หนีน้ำท่วม จึงมีความชื้นสูงถึง 25-30% แต่หากข้าวขาวที่ความชื้น 15 % โรงสียังรับซื้อที่ราคา 7,200 บาทต่อตัน

    และบางรายก็รับซื้อในราคา 7,400 - 7,600 บาทต่อตัน เพื่อช่วยเหลือชาวนา เพราะทำการค้ากันมายาวนาน แต่หากจะให้โรงสีรับซื้อข้าวคุณภาพต่ำในราคาที่สูงมากไป อาจทำให้โรงสีขาดทุนจนต้องปิดกิจการได้ เพราะไม่สามารถขายให้กับผู้ซื้อในราคาสูงตามต้นทุนที่ซื้อจากชาวนาได้ จึงอยากให้เข้าใจ และไม่อยากให้นำประเด็นเรื่องข้าวมาเกี่ยวโยงเป็นเรื่องทางการเมือง หรือกล่าวหาว่าโรงสีมีการเมืองหนุนหลัง

    ทั้งนี้ ยืนยันว่าเครื่องมือในการตรวจสอบน้ำหนักและความชื้นที่โรงสีใช้ ได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ ชั่งตวงวัด กรมการค้าภายใน หากเกษตรกรอยากขายข้าวให้ได้ราคาดี ควรตากให้แห้งเพื่อลดความชื้นก่อน และโรงสีเองก็ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร และเก็บไว้ในสต็อกข้าว 2-6 เดือน เพื่อดึงปริมาณผลผลิตข้าวส่วนเกินออกจากตลาดกว่า 8,000,000 ตัน และโรงสียินดีที่จะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคานำตลาด หากว่าภาครัฐสามารถหาตลาดระบายข้าว ที่มารับซื้อจากโรงสีได้ในราคาที่เหมาะสม



    ช่องทางในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ช่องทางหนึ่ง คือ ใช้เครือข่ายสหกรณ์การเกษตร ซึ่งล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สหกรณ์การเกษตรรับซื้อข้าวจากชาวนา ทำข้าวถุงติดแบรนด์สหกรณ์จำหน่ายทั่วประเทศ

    พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ เร่งดำเนินมาตรการช่วยเหลือชาวนาในการขายข้าว โดยให้ดำเนินการใน 2 มาตรการ มาตรการแรกคือ ให้สินเชื่อแก่สหกรณ์ เพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม วงเงิน 12,500 ล้านบาท ล่าสุดมีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ 359 แห่ง ใน 56 จังหวัด เพื่อชะลอปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าสู่ตลาดปริมาณมากในช่วงนี้ อีกมาตรการ คือ การสนับสนุนให้สหกรณ์ หรือ สถาบันการเกษตร รับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิมาแปรรูปเป็นข้าวสารบรรจุถุงขาย ติดแบรนด์ของสหกรณ์ จัดจำหน่ายในช่องทางต่างๆ โดยมีสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเป็นผู้ประสานงานในการรับคำสั่งซื้อ และประสานเรื่องการจัดส่งสินค้า

    โดยล่าสุด สหกรณ์การเกษตร เกษตรวิสัย จังหวัด ร้อยเอ็ด ได้เปิดจุดรับซื้อข้าวจากสมาชิกแล้ว โดยให้ราคาสูงกว่าท้องตลาด โดยข้าวเปลือกหอมมะลิใหม่ความชื้น 15% ราคา 10,000 บาทต่อตัน ข้าวหอมมะลิใหม่สด 7,000 บาทต่อตัน และสมาชิกจะได้ราคาพิเศษเพิ่มขึ้นอีก 20-30 สตางค์ ต่อกิโลกรัม

    นอกจากนี้ พลเอกฉัตรชัย กล่าวว่าจะ เร่งรณรงค์ให้ประชาชนหันมาบริโภคข้าวสารของสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูง และมีราคาถูกกว่าข้าวในท้องตลาดทั่วไป พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางขายตรงข้าวสารสหกรณ์ ผ่านตลาดออนไลน์ และใช้เครือร้านค้าชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายข้าวสารสหกรณ์ถึงมือผู้บริโภค นอกจากนั้นจะรณรงค์ให้นำข้าวสารสหกรณ์มาจัดเป็นกระเช้าของขวัญ เพื่อมอบให้แก่กันในช่วงปีใหม่นี้

    ขณะที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หรือ อ.ต.ก. จะจัด "เทศกาลข้าวไทย ร่วมใจช่วยชาวนา" เริ่ม 5 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งองค์กร หรือ หน่วยงานใดต้องการช่วยเหลือชาวนาด้วยการซื้อข้าวสาร สามารถติดต่อผ่านช่อง 3 ซึ่งเราจะเป็นตัวกลางประสานงาน เพื่อให้เกิดการซื้อขายโดยตรงอีกทางหนึ่งด้วย



    หลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการชะลอการขายข้าวหอมมะลิ เพื่อช่วยแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ตัวแทนชาวนาหลายองค์กร เรียกหารือกันที่กรมการข้าว เพื่อกำหนดท่าที

    โดย นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ทางสมาคมฯ พอใจกับนโยบายการช่วยเหลือของรัฐบาล โดยปรับขึ้นราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ที่จำนำในยุ้งฉาง อยู่ที่ตันละ 13,000 บาท คุ้มกับต้นทุนการผลิต ส่งผลให้ขณะนี้ข้าวเปลือกประเภทอื่นๆ ปรับราคาขึ้นตามไปด้วย

    พร้อมทั้งเสนอแนะให้รัฐบาลมีแผนช่วยเหลือ รวมไปถึงแผนเพาะปลูกข้าวในระยะยาว เพื่อให้ชาวนาได้วางแผนรับมือกับตลาดได้ถูกต้อง

    ด้าน นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย ก็แสดงท่าทีพอใจกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นราคาที่สูงกว่าที่ทางสมาคมฯ ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ ที่ตันละ 11,000 บาท และจะไม่ออกมาเคลื่อนไหวกดดันอีก



    นักวิชาการ และภาคเอกชน เสนอแนะการแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ควรมีการวิจัย พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าว ดูความต้องการของตลาด เพื่อแก้เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว ติดตามจากคุณ ภาพิมล วิสาโรจน์
     
    Last edited: 5 Dec 2016
  15. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    นายกฯ เคาะเงินช่วยเหลือชาวนา ในกลุ่มที่ปลูกข้าวเจ้า-ข้าวหอมปทุม ก่อนนำผลประชุมเสนอเข้า ครม.พรุ่งนี้แล้ว

    เมื่อเวลา 09.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ เข้าร่วม อาทิ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวก่อนการประชุม ว่า วันนี้เป็นการประชุมเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชาวนาที่ปลูกข้าวเจ้า และข้าวหอมปทุมธานี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง จากก่อนหน้านี้แก้ปัญหากลุ่มชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิแล้ว

    สำหรับผลประชุน นบข.นั้น สรุปว่าให้อนุมัติสินเชื่อเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ดังนี้

    ข้าวเปลือกเจ้ารวมการช่วยเหลือ ตันละ 10,500 บาท แบ่งเป็น
    -เงินสินเชื่อจาก ธกส.7,000 บาท
    -เงินช่วยเหลือค่าปรับปรุงคุณภาพ 2,000 บาท
    -ค่าขึ้นยุ้งฉาง 1,500 บาท

    ส่วนข้าวหอมปทุมรวมตันละ 11,300 บาท แบ่งเป็น
    -เป็นเงินสินเชื่อจาก ธกส.7,800 บาท
    -เงินช่วยเหลือค่าปรับปรุงคุณภาพ 2,000 บาท
    -ค่าขึ้นยุ้งฉาง 1,500 บาท

    ส่วนเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางจะได้ตันละ 2,000 บาท

    ทั้งมติดังกล่าวจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (8 พ.ย.) ต่อไป



    คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว สรุปมาตรการรับจำนำยุ้งฉาง ซึ่งจะทำให้ชาวนาได้รับเงินไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท

    มาตรการช่วยเหลือชาวนาที่สรุปออกมาในวันนี้ เป็นการรับจำนำยุ้งฉางข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2559/2560 รายละไม่เกิน 15 ไร่ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

    ข้าวเปลือกเจ้า รับจำนำในราคาตันละ 7,000 บาท รวมกับค่าฝากเก็บในยุ้งฉาง 1,500 บาท และค่าบริหารจัดการอีก 2,000 บาท จะทำให้ชาวนาได้รับเงินตันละ 10,500 บาท ส่วนข้าวหอมปทุม รับจำนำในราคาตันละ 7,800 บาท รวมค่าฝากเก็บและค่าบริหารจัดการแล้วจะได้ 11,300 บาท

    ขณะเดียวกันก็จะเปิดตลาดกลาง ให้เกษตรกรมีช่องทางในการจำหน่ายข้าว เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน หากทุกฝ่ายร่วมมือกันตามแนวทางของรัฐบาล มั่นใจว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า ชาวนาจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจะมีการนำข้อสรุปในวันนี้ ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้อีกครั้ง

    นอกจากมาตรการของรัฐบาลแล้ว ที่จะขับเคลื่อนไปพร้อมกันคือ คสช. ที่ส่งทหารเข้าช่วยชาวนาเก็บเกี่ยวผลผลิต และให้หน่วยทหารรับซื้อข้าวจากชาวนาโดยตรง รวมถึงการเปิดพื้นที่ของส่วนราชการและหน่วยทหารให้ชาวนาเข้ามาขายข้าว

    อย่างเช่นที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย วันนี้ได้นำข้าวหอมมะลิจากจังหวัดสุรินทร์ 5 ตัน มาช่วยขายให้ชาวนา โดยแบ่งขายถุงละ 3.5 กิโลกรัม ราคา 100 บาท ไม่ถึง 2 ชั่วโมงก็ขายหมด หลังจากนี้จะทยอยรับข้าวจากจังหวัดอื่น ๆ มาจำหน่ายเพิ่ม โดยจะขายข้าวทุกวันตั้งแต่ 9 โมงเช้าเป็นต้นไป

    ซึ่ง ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) สนับสนุนแนวทางเหล่านี้ และอยากให้เสริมเรื่องการจ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 800 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ เพื่อลดการขาดทุนของชาวนา แต่ย้ำว่า มาตรการต่าง ๆ จะต้องไม่บิดเบือนกลไกตลาด เพราะถ้ารับจำนำในราคาสูง สุดท้ายจะไม่ต่างจากนโยบายรับซื้อข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาลในอดีต



    การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ กระทรวงพาณิชย์ เสนอมาตรการช่วยเหลือชาวนาเพิ่มเติม ตามมติ นบข.ที่จะให้สินเชื่อชะลอการระบายข้าวเจ้า และข้าวหอมปทุม 10,500 บาท/ตัน ติดตามรายละเอียดกับคุณอนุพรรณ จันทนะ สดจากทำเนียบรัฐบาล

    นบข.ได้เสนอมาตรการรับจำนำยุ้งฉางข้าวเปลือกเจ้า และข้าวหอมปทุม โดยใช้งบ 1.8 หมื่นล้านบาท

    การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ คณะกรรมการบริหารนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ นบข. ได้เสนอมาตรการรับจำนำยุ้งฉางข้าวเปลือกเจ้า และข้าวหอมปทุมธานี โดยใช้งบอีก 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ประชุม นบข. ได้อนุมัติมาตรการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/60 ในส่วนของข้าวเจ้า และข้าวหอมปทุม หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการในส่วนข้าวหอมมะลิ

    นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับเงินแบ่งเป็น 3 ส่วน แยกเป็นข้าวเจ้า ราคากลางที่ 7,000 บาท ค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุง 2,000 บาท และค่าเก็บรักษาในยุ้งฉาง 1,500 บาท รวม 10,500 บาทต่อตัน ส่วนข้าวหอมปทุม ราคากลางที่ 7,800 บาท ค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุง และค่าเก็บรักษาในยุ้งฉางในอัตราเดียวกัน รวม 11,300 บาทต่อตัน

    โดยเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติ จะเริ่มดำเนินการทันทีและสิ้นสุดโครงการในสิ้นเดือน ก.พ. 2560 ใช้งบประมาณแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ งบประมาณช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว และปรับปรุงตันละ 2,000 บาท ใช้งบประมาณ 9,000 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อเพื่อเป็นเงินหมุนเวียนของโครงการอีก 9,000 ล้านบาท

    ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา บอกว่า ผลตอบรับจากการที่รัฐบาลลงไปช่วยเหลือชาวนา ได้ผลเป็นอย่างผลดี แต่ปัญหาวันนี้ฝนยังไม่หยุดตก ดังนั้นเวลาเกี่ยวข้าวจะมีความชื้น ซึ่งถือว่า นโยบายจำนำยุ้งฉางที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ เป็นแนวทางในระยะสั้น น่าจะช่วยเหลือชาวนาได้ และทางโรงสีที่ร่วมมือกับฝ่ายทหารก็ระบุว่า ไม่เป็นปัญหาที่จะรับซื้อข้าวในราคาของตลาด โดยจะพิจารณาเรื่องของคุณภาพข้าวด้วย

    ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะเข้าไปช่วยดูเรื่องของคุณภาพข้าว นอกจากนี้ ยังไม่พบ ความเคลื่อนไหวของชาวนา และกลุ่มโรงสีในพื้นที่ โดยฝ่ายปกครอง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และทหารได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบแล้วยังไม่พบความผิดปกติในเรื่องดังกล่าว จึงขอว่าอย่าไปสร้างประเด็นอะไร เพราะเวลานี้ควรที่จะช่วยเหลือกัน



    รัฐบาลมีแนวทางลดพื้นที่ปลูกข้าวลงเนื่องจากราคาข้าวตกต่ำและมีน้ำปลูกข้าวไม่เพียงพอโดยจะส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน โดยฤดูแล้งนี้จะสนับสนุนให้ลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังในภาคกลางลงครึ่งหนึ่ง เพื่อไม่ให้กระทบกับข้าวที่กำลังล้นตลาด



    กรุงเทพฯ 9 พ.ย.-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้าว วิถีชุมชนที่พอเพียงกับเกษตรกร เป็นที่มาของโรงสีชุมชนที่พึ่งพาตัวเองในหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ติดตามจากรายงาน.-สำนักข่าวไทย
     
  16. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ข้าวหอมมะลิไทยราคาตก เพราะหอมน้อยลง



    นายกฯ เร่งแก้ปัญหาชาวนาระยะยาว



    รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชาวนาที่ จ.สุพรรณบุรี รวมกลุ่มปลูกข้าวแบบนาแปลงใหญ่ ชี้นาแปลงใหญ่โรงสีรับซื้อสูงกว่าตลาด 300 บาท/ตัน

    วันนี้ (11พ.ย.) รมว.เกษตรและสหกรณ์ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการส่งเสริมการเกษตร รวมกลุ่มปลูกข้าวแบบนาแปลงใหญ่ ที่ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี โดยบอกว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมการดำเนินงานในนาแปลงใหญ่ จะได้รับการพัฒนาทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและ ต้นทุนการผลิตที่ลดลง สามารถแข่งขันในตลาดได้

    ซึ่งเกษตรกรที่เข้าร่วมจะมีความมั่นคงในด้านการตลาดกว่าเกษตรกรทั่วไป เพราะจะมีการเจรจาเชื่อมโยงการตลาดกับเอกชน ตั้งแต่การวางแผนการผลิต ทำให้ทราบปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ตลาดต้องการ โดยทุกแปลงจะใช้เมล็ดพันธุ์ดี ปรับเปลี่ยนไปใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และมีการรวมกลุ่มกันซื้อปัจจัยการผลิต ช่วยในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต

    นอกจากนี้ ยังได้ทำข้อตกลงความร่วมมือการซื้อขาย ข้าวกับภาคเอกชน รับซื้อข้าวจากเกษตรกรแปลงใหญ่ทั้งหมดในราคาสูงกว่าท้องตลาด 300 บาท/ตัน ทำให้เกษตรกรมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน ผลผลิตตรงกับความต้องการของตลาด และขายข้าวได้ราคา



    เรามีหนึ่งชาวนาตัวอย่างที่ชีวิตเคยล้ม เพราะราคาข้าวที่ตกต่ำทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอไปใช้หนี้ แต่ปัจจุบัน กลับมีชีวิตใหม่ เพราะได้หันมาปลูกพืชชนิดอื่น ผสมผสานกับการปลูกข้าว แม้จะมีรายได้ลดลงในช่วงที่ข้าวราคาตกต่ำ แต่ก็เพียงพอสำหรับเลี้ยงครอบครัว และนำไปชำระหนี้ได้ ติดตามจากรายงานคุณสิรีภัคกมณ ตรึยตรึงตรีคูณ



    รัฐ-เอกชนผนึกพลังเปิดโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” ในรูปแบบ "บัลลังก์โมเดล"ถือเป็นต้นแบบการรวมกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่แห่งแรกของไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยั่งยืน
     
  17. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบโครงการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชหมุนเวียน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    โครงการสนับสนุนปลูกปุ๋ยพืชสด ซึ่งเป็นการปลูกพืชหลังนา จำนวน 200,000 ไร่ ในพื้นที่ 19 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา โดยรัฐจะสนับสนุนเมล็ดพันธ์ไร่ละ 5 กิโลกรัม ไม่เกิน 20 ไร่, ค่าไถเตรียมดินครั้งแรก ไร่ละ 500 บาท รวม 200,000 ไร่, ค่าไถกลบไร่ละ 500 บาท และรับซื้อเมล็ดพันธ์บางส่วน ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท จำนวน 6,000 ตัน โดยจะเริ่มตั้งแต่ ตุลาคม 2559 - พฤษภาคม 2560

    ส่วนโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 2,000,000 ไร่ เพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ปี2559/2560 และเพิ่มผลผลิตข้าวโพด โดย ธ.ก.ส.จะให้สินเชื่อเกษตรกร ไร่ละ 4,000 บาท เพื่อนำไปซื้อปัจจัยการผลิต และ โรงงานผลิตอาหารสัตว์จะรับซื้อข้าวโพดที่กิโลกรัมละ 8 บาท โดยมีพื้นที่ปลูก รวม 35 จังหวัด เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – มิถุนายน 2560



    ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ ตัวแทนสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เข้าขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ช่วยเหลือชาวนาด้วยการออกโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี

    นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย นำรูปปั้นพระแม่โพสพ ข้าวหอมมะลิ และปลาดุกแดดเดียว มาขอบคุณนายกรัฐมนตรี โดยเชื่อว่านโยบายสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกทาง แต่ในปีถัดไปควรกำหนดโซนนิ่ง เพราะแต่ละพื้นที่เก็บเกี่ยวไม่พร้อมกัน

    ขณะที่นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ารัฐบาลมีความจริงใจในการแก้ปัญหาให้ชาวนาและไม่เคยสั่งให้ยกเลิกทำนา เพียงแต่ขอให้พิจารณาปรับเปลี่ยนปลูกพืชอื่นทดแทน และรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อให้มีอำนาจต่อรองในตลาด

    สำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ จะพิจารณามาตรการช่วยเหลือชาวนาเพิ่มเติม ในส่วนของการลดพื้นที่ปลูกข้าว ปลูกปุ๋ยพืชสด ครอบคลุมพื้นที่ 19 จังหวัด และการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนการปลูกข้าวใน 35 จังหวัด โดยเกษตรกร จะได้รับสินเชื่อไร่ละ 4,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 7%ต่อปี รัฐบาลชดเชยให้ 3 % โดยรัฐสนับสนุนต้นทุนไร่ละ 2,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ และให้เอกชนรับซื้อผ่านสหกรณ์การเกษตรในราคาประกันไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท รวมวงเงินสินเชื่อ 487 ล้านบาท



    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งเดินหน้าปฏิรูปการเกษตรทั้งระบบตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ขณะที่นายกรัฐมนตรีย้ำ การแก้ปัญหาเกษตรกรจากนี้ เน้นสร้างความมั่นคงพึ่งพาตนเองได้ และปรับเปลี่ยนสู่การทำเกษตรยุคใหม่

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายการประชุมติดตามการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ค่อนข้างพอใจกับผลการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของภารกิจหลัก และการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ที่แบ่งเป็น 7 ยุทธศาสตร์ พร้อมขอให้วางกรอบและประเมินผล ทุก ๆ 5 ปี ผ่านความร่วมมือในลักษณะประชารัฐ เพราะการที่ประเทศไทยจะเดินหน้าสู่การเป็น 4.0 นั้น ทุกภาคส่วนต้องมีการพัฒนาเป็นห่วงโซ่เชื่อมโยงกัน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความเชื่อมั่นต่อประเทศ

    ส่วนการแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ยังต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดผลในระยะยาวใน 3 ส่วนสำคัญ คือ การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ การบริโภคในครัวเรือน และ การจำหน่าย ซึ่งเกษตรกร ต้องยึดโยงกับสหกรณ์ชุมชน และรวมตัวเป็นทำนาแปลงใหญ่ หรือ เปลี่ยนเป็นไร่นาส่วนผสม เพื่อสร้างความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ พร้อมยืนยัน ไม่เคยพูดให้เลิกทำนา แต่สิ่งที่รัฐบาลทำขณะนี้ มุ่งหวังให้เกิดความยั่งยืน

    ขณะที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเร่งปฏิรูปการเกษตรทั้งระบบ ตามยุทธศาสตร์ชาติ อาทิ โครงการสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ที่ต้องพัฒนา และกระจายให้ครอบคลุมมากขึ้น การทำเกษตรแปลงใหญ่ ที่ต้องขยายให้เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 5,000 แปลง และ สินค้าการเกษตร ที่ต้องเท่าเทียมกับมาตรฐานสินค้าปลอดภัย รวมถึงตั้งเป้า จะทำให้เกษตรกร มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยยกระดับรายได้ให้อยู่ที่ 390,000 บาทต่อปี



    TDRI ชี้มาตรการช่วยเหลือชาวนาเดินมาถูกทางแล้ว และไม่ผิดกฎองค์การการค้าโลก พร้อมแนะไทยควรฉวยโอกาสช่วงที่ข้าวคู่แข่งยังไม่ออกสู่ตลาด เร่งผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น

    นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า มาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาลในขณะนี้ถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว เนื่องจากว่าเป็นแนวทางที่ทำให้เกษตรกรไม่ขาดทุน เพราะเป็นการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเรื่องต้นทุนการผลิต และไม่ผิดกฎหมาย เพราะเป็นการให้สินเชื่อ 90 เปอร์เซ็นต์ ของราคาข้าวในปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้เป็นการบิดเบือนกลไกตลาด ทำให้ราคาข้าวปรับเพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าควรจะเป็นเหมือนกับนโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดแบบรัฐบาลที่แล้ว แต่เป็นการช่วยเหลือที่มีขอบเขต และจำกัด ซึ่งไม่ผิดระเบียบที่องค์การการค้าโลก หรือ WTO กำหนดไว้

    นายนิพนธ์ ยังแนะให้รัฐบาลใช้ช่วงจังหวะที่ผลผลิตข้าวจากเวียดนาม และประเทศคู่แข่งยังไม่ออกสู่ตลาด ผลักดันการส่งออกข้าวฤดูกาลใหม่ที่เก็บเกี่ยวแล้ว รวมทั้งข้าวในมือเอกชนผู้ส่งออกที่มีกว่า 1-2 ล้านตัน ไปยังต่างประเทศให้มากที่สุดเพื่อลดปริมาณผลผลิตในประเทศลง และจะช่วยให้ราคาค่อยๆขยับเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกันในการหาตลาดส่งออกให้มากขึ้น



    คณะรัฐมนตรี เห็นชอบมาตรการปรับเปลี่ยนปลูกพืชหมุนเวียน ในโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่นาปรัง แต่เกษตรกรให้มุมมองว่าทำได้แต่ต้องคำนึงถึงวิชาการในการเพาะปลูกไม่ให้เสียหายซ้ำ
     
    Last edited: 12 Dec 2016
  18. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ จัดทำแผนปฏิรูปการเกษตรทั้งระบบ ภายใต้เป้าหมายหลัก ให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ และปรับเปลี่ยนสู่การทำเกษตรยุคใหม่

    ซึ่งล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในแผนดังกล่าวแล้ว เตรียมบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 แนวทาง ประกอบด้วย การน้อมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เน้นให้เกษตรกร พึ่งพาตนเอง และปรับเปลี่ยนสู่การทำเกษตรยุคใหม่ ที่เรียกว่าเกษตร 4.0 หรือ หรือเกษตรแบบอัจฉริยะ

    ผ่านการวางรากฐานใน 2 ส่วน แบ่งเป็น ตัวเกษตรกร จะส่งเสริมให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ เช่น การเข้าสู่ระบบเกษตรแปลงใหญ่ และใช้กลไกสหกรณ์ สนับสนุนให้เกิดการทำเกษตรแบบรวมกลุ่ม เพิ่มอำนาจการต่อรองด้านการตลาด ขณะที่อีกส่วนจะเน้นไปที่ การพัฒนาโครงสร้าง จะใช้แผนที่การเกษตร หรือ อกรีแมพ คำนวนการเพาะปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยให้ศูนย์เรียนรู้เกษตร 882 ศูนย์ทั่วประเทศเข้าไปต่อยอด รวมถึงส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยเพิ่มศักยภาพ ลดต้นทุนการผลิต

    ตั้งเป้า 5 ปีแรก หรือ 2564 จะทำให้เกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 59,460 บาทต่อคนต่อปี และยกระดับรายได้เกษตรกรเฉลี่ย 390,000 บาทต่อคนต่อปี ในปี 2579 หรืออีก 20 ปีข้างหน้า และมีพื้นที่เกษตรยั่งยืนจำนวน 10 ล้านไร่ และเกษตรกรทุกคนต้องเป็น สมาร์ทฟามเมอร์

    ซึ่ง น.ส.จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มั่นใจแผนดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาจุดอ่อนในอดีต โดยเฉพาะความต่อเนื่องในการวางนโยบายของทุกรัฐบาล และทำให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักประเทศกำลังพัฒนาในที่สุด



    เกาหลีใต้เปิดตลาดให้ผู้ประกอบการไทยส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งได้แล้ว คาดเพิ่มมูลค่าส่งออกได้มากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

    นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลเกาหลีใต้ ได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการไทยส่งออกไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง ไปยังสาธารณรัฐเกาหลีได้แล้ว หลังจากที่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน Animal and Plant Quarantine Agency (QIA) ของเกาหลีใต้ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ประกอบการไก่สดแช่เย็นและ แช่แข็งจำนวน 12 แห่ง และจากผลการตรวจสอบปรากฎว่าสถานที่ประกอบการ 10 แห่ง ที่ได้รับอนุมัติให้สามารถส่งออกไก่สดแช่เย็นและแช่แข็งไปยังตลาดเกาหลีใต้ได้

    โดยกระบวนการผลิตจะต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีสถานที่ประกอบการอีก 41 แห่งที่อยู่ในกระบวนการตรวจสอบขั้นสุดท้าย คาดว่าหากทั้งหมดได้รับอนุมัติ จะทำให้ตลาดส่งออกไก่สดแช่เย็นและแช่เข็งจากไทยไปเกาหลีมีมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐฯ



    ชาวนาอำเภอวังทรายพูน จ.พิจิตร ปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่เคยทำนา หันมาทำไร่แตงโม ทดแทนรายได้ จากปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ

    ชาวนาตำบลหนองปลาไหล อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร นำพื้นที่ 10 ไร่ จากที่เคยทำนาข้าว ปรับเปลี่ยนพื้นที่หันมาทำการเกษตรปลูกพืชชนิดอื่น โดยเฉพาะ แตงโม ซึ่งเป็นพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ให้ผลิตดี มากกว่าการทำนา โดยชาวนาทำการปรับตัวในช่วงราคาข้าวที่ตกต่ำ จึงหันมาทำไร่แตงโม ที่ให้รายได้ที่สูงใช้เวลาเพียง 2 เดือนเศษก็สามารถเก็บผลผลิตขายได้ โดยรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 8000 - 10000 บาท เมื่อเทียบกับการทำนา ถือว่า การทำไร่แตงโมให้ผลผลิต และ สร้างรายได้ ดีกว่านาข้าว ในช่วงราคาตกต่ำ

    นางทองย้อย จับฟั่น เกษตรกรตำบลหนองปลาไหล จังหวัดพิจิตร ระบุว่า จากพื้นที่ทำนา มี อยู่ 12 ไร่ จากที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วทำให้ประสบปัญหาขาดทุนจากการทำนา ในช่วงราคาข้าวตกต่ำ จึงปรับพื้นที่นา มาปลูกแตงโมแทน เพื่อหารายได้ คาดว่าจะมีรายได้ดีกว่านาข้าว

    สำหรับตำบลหนองปลาไหล อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร เป็นพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรส่วนใหญ่ จะนิยมปลูกแตงโม กันมากในพื้นที่ที่น้ำไม่เพียงพอกับการทำนา และสามารถสร้างรายได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการทำนาในช่วงนี้



    จากเว็บไซต์ทรงงาน weather 901 เว็บไซต์เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถูกพัฒนาเป็นเว็บไซต์ thaiwater.net ที่หน่วยงานราชการและประชาชนใช้เป็นข้อมูลคาดการณ์สถานการณ์น้ำ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรในปัจจุบัน ต่างมาจากพระราชดำริให้จัดทำคลังข้อมูลน้ำตั้งแต่ปี 2541 จนปัจจุบันประเทศไทยมีเทคโนโลยีรวบรวมข้อมูลน้ำที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



    นบข.เห็นชอบโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเหนียวตันละ1.3หมื่นบาท เตรียมเข้าครม.22พ.ย.นี้
     
    Last edited: 12 Dec 2016
  19. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ เพื่อให้ได้น้ำนมดิบที่มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ตามมาตรฐานบังคับที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2560

    พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบเป็นจุดเชื่อมต่อ ในการรับซื้อผลผลิตน้ำนมดิบจากฟาร์มเกษตรกร นำมาลดอุณหภูมิก่อนที่จะส่งโรงงานแปรรูป ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญต่อคุณภาพน้ำนมมาก หากการปฏิบัติไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ได้มาตรฐาน จะเกิดปัญหาด้านคุณภาพและความปลอดภัย ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตขึ้น จนส่งผลน้ำนมดิบคุณภาพไม่ดีได้ อาจถูกปฏิเสธการรับซื้อจากโรงงานแปรรูป และกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้

    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จึงได้ยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ 200 ศูนย์ เพื่อให้ได้น้ำนมดิบที่มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ และได้วัตถุดิบที่มีความปลอดภัยป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูป

    ด้าน ดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการ มกอช. บอกว่า ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบของสหกรณ์โคนมและภาคเอกชน มี 232 ศูนย์ทั่วประเทศ รับซื้อน้ำนมดิบ ปีละ 1 ล้านตัน เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มป้อนตลาดภายในประเทศและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ กัมพูชา ลาว และพม่า

    โดยศูนย์ฯ ส่วนใหญ่ปฏิบัติได้ถูกสุขลักษณะ และมีคุณภาพอยู่แล้ว มีเพียงศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบขนาดเล็ก 17 แห่งที่ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่ง มกอช.จะร่วมกับกรมปศุสัตว์พัฒนาศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบต้นแบบ 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศูนย์รวบรวมน้ำดิบให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในปี 2560



    หลังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำระบบสหกรณ์มาบริหารจัดการข้าว เกษตรกรหลายรายพอใจกับมาตรการช่วยเหลือ อย่างน้อยข้าวที่นำมาขายได้ราคาดีกว่าขายกับโรงสีทั่วไป ติดตามจากรายงานคุณเขมิกา พรมพันใจ





    สถานการณ์ราคาข้าวเปลือกล่าสุดขยับเพิ่มขึ้นตันละ 2,000-3,000 บาทแล้ว หลังผลผลิตชะลอเข้าสู่ตลาด

    นายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ราคาข้าวเปลือกที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว จากนั้นระบุว่าปริมาณข้าวอยู่ในมือชาวนามีไม่มากแล้ว คาดการณ์ราคาข้าวได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หลังรัฐบาลออกมาตรการชะลอการขายข้าวออกสู่ตลาด และช่วยกันสั่งซื้อข้าวจากชาวนาโดยตรงของหลายหน่วยงาน ทำให้ปริมาณข้าวในตลาดน้อยลงไปมาก พ่อค้าจึงเข้ามาแย่งซื้อ ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น จากตันละ 8,000-8,500 บาท เมื่อ 1-2 สัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 10,500-11,000 บาทในขณะนี้ โดยมั่นใจว่าราคาข้าวเปลือกมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอีก กระทรวงพาณิชย์จะเร่งเจรจาหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อดึงราคาให้สูงขึ้นควบคู่ไปด้วย

    ด้านนายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ เลขาธิการสมาคมโรงสีข้าวไทย เป็นห่วงว่ามาตรการชะลอการขายข้าวจะทำให้คุณภาพข้าวลดลง เพราะคุณภาพข้าวมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดราคารับซื้อ และการชะลอขายข้าวของชาวนาจะทำให้ไม่มีคำสั่งซื้อเข้ามา ส่งผลให้ตลาดมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งการเร่งหาตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิเป็นสิ่งจำเป็นที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการให้รวดเร็วกว่าในปัจจุบัน



    เพื่อลดต้นทุนการทำนา รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม การปลูกข้าวแปลงใหญ่ โดยมีมาตรการจูงใจรับซื้อข้าวเปลือกสูงกว่าปกติ 300 บาทต่อตัน แต่ปราชญ์ชาวนาเห็นว่าระบบ ต่างๆ คล้ายกับเกษตรพันธะสัญญา ซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ติดตาม จากรายงาน ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย

    ทุ่งนากว้างใหญ่ เนื้อที่รวม 4,626 ไร่ ในตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี คือการรวมกลุ่มกันของชาวนาปลูกข้าวแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐบาล มีสมาชิกทั้งหมด 148 ราย

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการปลูกข้าวของชาวนาที่นี่ แล้วยกให้เป็นตัวอย่างของการทำนาแบบลดต้นทุน ตามนโยบายของรัฐบาล

    เกษตรกรที่เข้าร่วมปลูกข้าวแปลงใหญ่ จะมีความมั่นคงในด้านการตลาดกว่าเกษตรกรทั่วไป เพราะรัฐบาล ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือการซื้อขาย ข้าวกับภาคเอกชน รับซื้อข้าวจากเกษตรกรแปลงใหญ่ ในราคาสูงกว่าท้องตลาด 300 บาท/ตัน

    สวณีย์ โพธิ์รัง เป็นหนึ่งในสมาชิก และเลขานุการกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ตำบลเดิมบาง ชาวนาที่เป็นสมาชิกต้องทำตามกติกา โดยตนจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเม็ดพันธุ์ ปุ๋ยและยา ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสารชีวภาพ ไม่ใช่สารเคมี โดยสมาชิกจะรับเอาวัตถุดิบเหล่านี้ไปเพาะปลูก เมื่อได้ผลผลิต ก็จะนำไปขายที่โรงสีตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้ ก่อนนำมาหักต้นทุน เฉลี่ยไร่ละ 3300 บาท ที่เหลือเป็นกำไรให้กับชาวนาที่เป็นสมาชิก

    นาแปลงใหญ่ที่เดิมบางนาบวช มีป้ายสูตรปุ๋ยซีพีปักอยู่ทุกแปลง ใกล้กับที่นาคือโรงสีข้าว ของบริษัทซีพี ซึ่งรับซื้อข้าวจากชาวนาแปลงใหญ่กลุ่มนี้ โดยตรง

    ปราชญ์ชาวนาดีเด่น อำเภอบางปะม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชาวนาที่ปฏิเสธเข้าร่วมปลูกข้าวแปลงใหญ่ตามนโยบายของรัฐ เขาตั้งข้อเกตว่า การรวมกลุ่มปลูกข้าวแปลงใหญ่ แทบไม่ต่างจากเกษตรพันธะสัญญาแบบฟาร์มเลี้ยงไก่ที่เคยมีมา และในที่สุดชาวนาก็ถูกครอบงำ ไม่สามารถยืนด้วยลำแข้งของตัวเองได้

    นี่คือตำราการดูฤกษ์ไถว่านนา ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ ไม่ต่ำกว่าปี หากปฏิบัติตามนี้ ช่วยให้จังหวะการปลูกข้าว พ้นจากน้ำท่วม และแก้ปัญหาเรื่องแมลง นอกจากนี้ ชัยพรยังจดบัญชีครัวเรือน ที่ช่วยการควบคุมรายจ่าย และวางแผนบริหารเงินด้วยตัวเองอย่างรัดกุม
     
    Last edited: 12 Dec 2016
  20. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา ยืนยันจะพิจารณาร่างกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ขณะที่กลุ่มเกษตรกรเรียกร้องให้แก้ไขนิยามคำว่า "เกษตรพันธสัญญา" เพื่อให้ครอบคลุมปัญหามากที่สุด



    สมาคมโรงสีข้าวไทยรายงานราคาขายส่งข้าวสาร ล่าสุด ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน ข้าวเหนียวพิเศษ กข.6 อีสานใหม่ 59/60 ยังทรงตัวอยู่ในราคา 24 บาท 50 สตางค์ ถึง 26 บาท 50 สตางค์ ต่อกิโลกรัม เช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิ 100% ยังอยู่ในระดับ 18 บาท ถึง 20 บาท ต่อกิโลกรัมส่วนข้าวขาว 5% ขยับขึ้น 10 สตางค์ ขึ้นไปอยู่ในราคา 11 บาท 50 สตางค์ถึง 11 บาท 60 สตางค์

    ส่วนราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิความชื้น 15% จังหวัดอุบลราชธานี ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน ปรับขึ้นไปตันละ 500 บาท ขึ้นไปอยู่ในราคา 10,000 ถึง 11,000 บาทต่อตัน ขณะที่ข้าวเปลือกเจ้า ราคารับซื้อทรงตัวที่ 72,00 บาท ถึง 7,500 บาทต่อตัน เช่นเดียวกับราคาข้าวเปลือกเหนียวอยู่ในราคา ตันละ 10,000 บาท



    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร บินไปประเทศเกาหลีใต้ ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านการเกษตร พร้อมย้ำความพร้อมส่งออกไก่สด หลังเกาหลีไฟเขียวนำเข้าจากไทย คาดส่งผลดีต่อการส่งออก

    พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วย ความร่วมมือด้านการเกษตร กับนายคิม แจ ซู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบท สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ซึ่งการลงนามครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญที่ทั้ง 2 ประเทศ จะมีความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกทางการค้าเกษตร และยังเป็นช่องทางให้ไทย ขยายการค้าการลงทุน ด้านการเกษตรไปยังเกาหลีใต้ ซึ่งเกาหลีใต้อยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง

    ซึ่งล่าสุดเกาหลีใต้ได้ปลดล็อคนำเข้าไก่สดแช่แข็งเป็นครั้งแรก ในรอบ 12 ปี หลังไทยประสบปัญหาไข้หวัดนก โดยเนื้อไก่ดิบสดแช่แข็งล็อคแรกได้ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และคาดว่าทั้งปี จะส่งออกได้ 30,000-40,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,000 ล้านบาท



    สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คาดปีนี้ไทยส่งออกข้าวได้ถึง 10 ล้านตัน หลังข้าวหอมมะลิไทยคว้ารางวัลข้าวดีที่สุดในโลก ทำให้ตลาดมีความต้องการมากขึ้นถึงร้อยละ 20 ขณะที่ราคาสูงขึ้นประมาณ 60-70 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

    ร้อยตำรวจโทเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การส่งออกข้าวในปีนี้น่าจะได้ประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากขณะนี้ผลผลิตข้าวใหม่ออกมามาก ประกอบกับตรุษจีนมาเร็วขึ้น ทำให้หลายประเทศต่างเร่งซื้อข้าวหอมมะลิ โดยการส่งออกข้าวหอมมะลิต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 90,000 ตัน เป็น 120,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาถือว่าดีขึ้นเช่นกัน โดยขณะนี้ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิอยู่ที่ประมาณ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 60-70 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งเป็นผลจากมาตรการจำนำยุ้งฉาง เพื่อชะลอการขาย ทำให้ผลผลิตไม่ล้นตลาด ส่งผลให้ราคาดีขึ้น

    ส่วนราคาในประเทศ ขณะนี้ ก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยราคาข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ ปรับเพิ่มจาก 10.80 บาทต่อกิโลกรัม มาเป็น 12 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนข้าวหอมมะลิ ปรับเพิ่มขึ้นจาก 15.80 บาทต่อกิโลกรัม มาเป็น 19-20 บาทต่อกิโลกรัม และข้าวเหนียวปรับเพิ่มจาก 17.50 บาทมาเป็น 21.50 บาทต่อกิโลกรัม และหากสามารถเร่งระบายข้าวในสต๊อกที่มีอยู่กว่า 8 ล้านตัน ได้ก็จะช่วยให้ราคาปรับดีขึ้น

    ด้านนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคาเอฟโอบี.ลดลง และสามารถแข่งขันได้ แต่ทั้งนี้ประเทศไทยอาจจะยังไม่ได้เป็นแชมป์ส่งออกข้าวของโลก เนื่องจากอินเดียมีผลผลิตมาก และส่งออกมากกว่าไทยอยู่ 700,000 ตัน แต่เชื่อว่าจากการที่ไทยข้าวหอมมะลิไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ จะทำให้ดึงความเชื่อมั่นกลับมา โดยในวันที่ 8 ธันวาคมนี้ จะจัดงานฉลองรางวัลชนะเลิศ ข้าวดีเด่นของโลก จากงาน The World Rice Conference โดยจะมีการเชิญสถานทูตจากประเทศที่ซื้อข้าวจากไทยมาร่วมด้วย เพราะถือเป็นรางวัลของประเทศ และเป็นตอกย้ำถึงคุณภาพข้าวที่ดีของประเทศไทย



    ข่าว 7 สี - แม้รัฐบาลจะเปิดโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก หวังชะลอปริมาณข้าวในตลาด แต่ปรากฏว่า ชาวนาส่วนหนึ่งยังต้องการเร่งระบายข้าวที่มีอยู่ เพื่อนำเงินมาเป็นทุนหมุนเวียน ติดตามจากรายงาน ชาญวิทย์ ลัภโต

    ชาวนาจังหวัดร้อยเอ็ด ต่างนำข้าวเปลือกออกผึ่งแดด หวังให้ความชื้นต่ำกว่า 15% ก่อนเก็บขึ้นยุ้งฉาง ร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก หรือ โครงการจำนำยุ้งฉาง กับ ธ.ก.ส. หวังแก้ปัญหาข้าวล้นตลาด และทำให้ราคาขายดีกว่าโรงสี เฉลี่ย 500-1,000 บาทต่อตัน หรือมีโอกาสได้ราคาสูงถึง 11,000 บาทต่อตัน

    ชาวนาที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง และต้องการร่วมโครงการฯจะต้องมีข้าวเก็บในยุ้ง 1 ตันขึ้นไป หากต่ำกว่านั้นเจ้าหน้าที่ แนะนำให้ชาวนาเก็บข้าวไว้กินเอง

    สหกรณ์การเกษตรต่างๆ ที่รับซื้อข้าวเปลือก จะนำข้าวที่รับซื้อทั้งหมด ไปจำนำกับ ธ.ก.ส.ต่อไป อีกวิธีในการบริหารจัดการปริมาณข้าวเปลือก คือการประสานตัวแทนโรงสีเข้าประมูลข้าว เพื่อให้ได้ราคาสูงขึ้นแต่ก็ไม่ใช่ทุกรายไป

    แต่ก็มีชาวนาหลายรายที่ไม่มียุ้งฉาง เลือกวิธีนำข้าวเปลือกสดที่เพิ่งเกี่ยวไปขาย แม้ราคาจะไม่ถึง 10,000 บาทต่อตัน แต่ต้องตัดใจ เพราะดีกว่าการแบกรับต้นทุนในการจัดเก็บ ที่สำคัญ ชาวนาต้องการเงินทุนหมุนเวียน

    ปัญหาสภาพคล่องในครัวเรือน และเม็ดเงินหมุนเวียนในการเริ่มปลูกข้าวฤดูกาลใหม่ เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ชาวนาต้องเร่งระบายข้าที่มีอยู่ ซึ่งเร็วๆนี้ ภาครัฐจะออกมาตรการช่วยเหลือ โดยอาจจะมาในรูปแบบสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เปิดให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าลงทะเบียนก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะทำให้ปัญหาต่างๆ ผ่อนคลายลงได้
     
  21. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    จากปัญหา "ตั๋วปุ๋ย" ที่สหกรณ์การเกษตรหลายแห่ง ใช้สั่งซื้อปุ๋ยเคมีล่วงหน้าจากบริษัทเอกชน และทยอยส่งมอบให้สหกรณ์ จนเกิดปัญหาการร้องเรียน ว่าไม่ได้รับปุ๋ย หรือได้รับแต่ไม่มีคุณภาพ แม้ขณะนี้จะทยอยแก้ไขปัญหา จนสามารถส่งมอบปุ๋ยให้เกษตรกรนำไปใช้ได้กว่า 70 เปอร์เซ็นต์แล้ว หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาทแล้วก็ตาม

    นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า การซื้อ-ขายปุ๋ยด้วยระบบดังกล่าว เป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของระบบสหกรณ์ เนื่องจากไม่ได้มาจากความต้องการที่แท้จริงของสมาชิก หลังจากแก้ปัญหานี้เสร็จสิ้นแล้ว จะสั่งให้รื้อระบบการจัดซื้อปัจจัยการผลิตใหม่ ให้ยกเลิกระบบ "ตั๋วปุ๋ย" เพราะเป็นช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริตได้ โดยจะให้แต่ละสหกรณ์สำรวจความต้องการของสมาชิกทุกครั้ง ก่อนที่จะสั่งซื้อปุ๋ย ต้องทำสัญญาส่งมอบเป็นลายลักษณ์อักษร กำหนดระยะเวลาส่งมอบ รวมทั้งกำหนดคุณภาพปุ๋ยที่จะสั่งซื้อ และต้องซื้อจากโรงงานหรือบริษัทที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรแล้วเท่านั้น เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยคุณภาพดี





    ข่าวดีสำหรับชาวสวนยางพารา ที่ราคายางขยับขึ้นตามลำดับและดีที่สุดในรอบ 4 ปี

    นายนิพนธ์ เลาห์กิติกุล ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางจันทบุรี จำกัด เปิดเผยว่า เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ที่ราคายางพาราดี ทั้งยางก้อน หรือขี้ยาง และยางแผ่นรมควัน มีราคาสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงตลอดกว่า 1 เดือนนี้ ล่าสุด ราคายางก้อน ปรับสูงขึ้นถึงกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมก่อนที่ราคาจะปรับขึ้น เฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 25-26 บาท ขณะที่ยางแผ่นทุกชนิด ราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง จากกว่า 40 บาทในอดีต ณ วันนี้ ราคาขยับเป็นกว่า 70 บาทต่อ กิโลกรม และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นต่อเนื่อง

    นายบุญส่ง นับทอง ที่ปรึกษาสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ขณะนี้ราคายางกำลังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอด 2 วันที่ผ่านมาปรับสูงขึ้นมาถึง 5 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคายางแผ่นดิบรมควันคุณภาพ 3 ราคาอยู่ที่ 73.99 บาท น้ำยาง 66 บาท และยางก้นถ้วย 35 บาท ซึ่งถือเป็นเรื่องดีต่อเกษตรกรชาวสวนยาง

    ปัจจัยที่ทำให้ราคายางขยับขึ้นนั้น มีหลายปัจจัย เช่น ขณะนี้ปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้กรีดยางไม่ได้ ปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อย จีนมีความต้องการยางสูง หลังสต๊อคที่มีในจีนประมาณ 300,000 ตัน ขาดแคลนเหลือแค่แสนกว่า ทำให้ต้องเร่งกว้านซื้อยางเพื่อนำไปผลิตสินค้าซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ราคายางสูงขึ้น



    ไก่สดแช่เเข็งล๊อตเเรกได้ถูกส่งออกไปแล้ววันนี้ หลังจากที่เกาหลีใต้ไฟเขียวนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทย

    พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานปล่อยตู้คอนเทนเนอร์บรรจุผลิตภัณฑ์ไก่สด ขบวนปฐมฤกษ์ไปสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยไก่สดล็อตนี้ เป็นสินค้าชิ้นส่วนปีกไก่สดแช่แข็ง จำนวน 15,240 กิโลกรัม มูลค่า 1,733,550 บาท ซึ่งจะถึงเกาหลีใต้ช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้ และจากการหารือผู้ส่งออกไก่สดของไทย ทั้ง 12 บริษัท ในเดือนธันวาคมนี้ จะมีไก่ส่งไปเกาหลีใต้อีก 5 ตู้คอนเทนเนอร์ น้ำหนักรวม 106,644 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 12 ล้านบาท และจะทยอยส่งสินค้าไก่สดแช่เย็น แช่แข็งจากไทยไปเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป้าหมายในปี 2560 คาดว่าจะมีการส่งออกประมาณ 40,000 ตัน มูลค่า 3,600 ล้านบาท หรือขยายตัว 3%

    ขณะที่ภาพรวม ปี 2559 ไทยผลิตไก่เนื้อได้ 1,460 ล้านตัว โดยร้อยละ 82 ถูกส่งออกไปต่างประเทศ ตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป



    รายงานพิเศษ : รมว.เกษตรฯตั้งเป้าปี 60 ลดพื้นที่ปลูกข้าว 5.7 แสนไร่
     
    Last edited: 17 Dec 2016
  22. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    Smart Farmer (สมาร์ท ฟาร์เมอร์) กลายเป็นต้นแบบและความหวังในอนาคตของภาคการเกษตร หลายคนเคยได้ยินคำนี้ แต่คงไม่เข้าว่า เกษตรกรที่เป็น Smart Farmer อย่างเต็มตัวนั้น เขามีวิธีในการทำการเกษตรอย่างไร คุณมาสิรี กล่อมแก้ว ผู้สื่อข่าวไทยรัฐทีวี จะพาไปเรียนรู้องค์ประกอบผ่าน Smart Farmer ตัวจริง ติดตามจากรายงาน



    กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เผย ปีนี้การส่งออกอาหารขยายตัว 7% และมั่นใจขยายตัวต่อเนื่องปีหน้า ตั้งเป้าติดท็อป 10 ประเทศส่งออกอาหารมากที่สุดในโลก

    นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอาหารในปีนี้ ขยายตัว 7% จากปีก่อน มีมูลค่าอยู่ที่ 972,000 ล้านบาท โดยเป็นการเติบโตจากกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีสัดส่วนการส่งออก 15.2% มากเป็นอันดับ 1 แซงหน้าญี่ปุ่นที่มีสัดส่วน 13.9% ซึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพ เอื้อต่อการส่งออก และภัยแล้งในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ทำให้มีความต้องการสินค้าอาหารมากขึ้น

    ส่วนในปีหน้า (2560) คาดว่าแนวโน้มการบริโภคของประชากรในโลกสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะ ข้าว ที่คาดการณ์ส่งออกได้ 10 ล้านตัน และไก่ หลังเกาหลีใต้ปลดล็อคนำเข้าไก่จากไทย โดยตั้งเป้าให้ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารติดอันดับ 1 ใน 10 อันดับแรกของโลก จากปัจจุบันอยู่อันดับที่ 13 ภายใน 10 ปี และติด 1 ใน 5 ให้ได้ภายใน 20 ปี

    แต่ทั้งนี้ก็ต้องจับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐ หลังเปลี่ยนแปลงผู้นำ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และแนวโน้มราคาน้ำมันที่จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกับผู้ส่งออกอาหารทั้งสิ้น



    รัฐบาลเดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผ่านกลไกต่างๆหนึ่งในนั้นคือ"โครงการเกษตรแปลงใหญ่" ที่สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกร โดยปีที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้กว่า 4000 ล้านบาท ติดตามจากรายงาน



    ขอนแก่น 13 ก.พ. – อาชีพเลี้ยงโคนม เป็นอาชีพที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้กับคนไทย และมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้สืบสานพระราชปณิธาน เพื่อช่วยผู้เลี้ยงโคนม

    ปัญหาการผสมติดยากในโคนม ทำให้แม่โคท้องว่างนาน ส่งผลต่อคุณภาพน้ำนม เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนที่สูง แต่รายได้ต่ำ เกิดจากแม่โคขาดสมดุลของโภชนะ แม่โคมีความผิดปกติของรังไข่ และเป็นโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ทีมวิจัยจากภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงศึกษาวิจัยหาทางแก้ปัญหาดังกล่าว พัฒนาการเลี้ยงโคนมมานานกว่า 9 ปี เพื่อช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพน้ำนม

    จากการวิจัยได้เทคนิค 1 ลด 2 เพิ่ม คือ ลดวันท้องว่าง เพิ่มเนื้อนม ผสมติดง่ายได้ลูกเพศเมีย โดยการจัดการก่อนและหลังคลอด การเหนี่ยวนำการตกไข่ และผสมเทียม

    เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ทีมวิจัยเข้ามาช่วยพัฒนาการเลี้ยง พบว่า โคนมของเกษตรกรให้ผลผลิตเพิ่ม แม่โคผสมติดลูกง่าย เปอร์เซ็นต์ได้ลูกเพศเมียสูง

    ทีมวิจัยกำลังศึกษาการสืบพันธุ์โคนมให้ได้ลูกเพศเมีย 100% ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ระยะเวลาการผสมเทียม ความสมดุลของโภชนะ ช่วยให้โคนมผสมติดง่าย ได้ลูกเพศเมียถึงร้อยละ 80. – สำนักข่าวไทย

     
    Last edited: 18 Feb 2017
  23. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    การสร้างแก้มลิงเพื่อสู้ภัยแล้งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ต้องใช้งบประมาณในการขุดสระแม้แต่บาทเดียว

    โครงการขุดดินแลกน้ำ ต้นแบบสร้างแก้มลิงขนาดใหญ่ 295 ไร่ หนองน้ำละหาร อำเภอนครหลวง แก้มลิงนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่ต้องใช้งบประมาณในการขุด แต่เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาประมูลซื้อขายดิน เบื้องต้นคิวละ 26 บาท 63 สตางค์ และขุดดินออกไปจนได้สระน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง และรองรับน้ำเหนือช่วงน้ำหลาก

    โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้นำแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งสร้างแก้มลิงบึงพระราม 9 มาดำเนินการ โดยให้ภาคเอกชนเข้ามาขุดและนำดินออกไป ทำให้ได้แก้มลิงกักเก็บน้ำ ซึ่งโครงการนี้ขุดครบทั้ง 16 อำเภอ จะประหยัดงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท

    ขณะที่สภาพอากาศในช่วงนี้ มีคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา ว่าตั้งแต่วันนี้ไปจนถึง 26 กุมภาพันธ์ อากาศแปรปรวน โดยมีฝนฟ้าคะนองและกระโชกแรงหลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาฯ ภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะได้รับผลกระทบตามลำดับ เนื่องจากมีความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีน แผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้



    วันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อติดตามงานการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เริ่มจากเยี่ยมชมศูนย์ส่งเสริมและผลิตภัณฑ์ข้าว ชุมชนอุ่มแสง ซึ่งเป็นการแสดงผลการดำเนินการทำการเกษตรแปลงใหญ่ด้วยกลไกประชารัฐ ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการกว่า 14,000 คน ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชใน 22 อำเภอ รวม 160,000 ไร่ เพื่อทำการเกษตรแปลงใหญ่ ทั้งปลูกข้าว ทุเรียน หอมแดง กระเทียม และปศุสัตว์ รวมถึงการแปรรูปผลผลิตออกจำหน่ายสร้างรายได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นและสร้างชุนชนให้เกิดความเข้มแข็ง

    นายกรัฐมนตรีได้บอกกับเกษตรกรและชาวศรีสะเกษว่า ดีใจที่เห็นความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงการทำการเกษตรแบบใหม่ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และอยากเห็นทุกคนยึดศาสตร์พระราชา และเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแบบอย่าง ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณเพื่อการพัฒนา 18 กลุ่มจังหวัดตามแนวทางนี้แล้ว







    จากของเหลือในภาคอุตสาหกรรม หรือ เวส ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จนเกิดการชุมนุมต่อต้านย่อมๆ รอบพื้นที่โรงงาน ตอนนี้ของเหลือใช้จากกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นน้ำเลือดปลา เศษไก่ กากอ้อย รากไม้ หรือแม้แต่กากกาแฟ กลับถูกนำมาคลุกเคล้าด้วยจุลินทรีย์หมัก และร่อนก่อนปั้นเป็นเม็ดกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีที่ช่วยปรับปรุงดิน เพิ่มผลผลิต จากการคลุกเคล้าไนโตรเจนโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสเข้าไป จนเป็นที่ต้องการของตลาด

    แปลงข้าวที่กำลังแตกรวงเต็มท้องทุ่งของลุงจิ่ม ยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงประสิทธิภาพของปุ๋ย ที่ลุงเพียรหว่านลงสู่แปลงนาและแปลงผัก ลุงบอกว่าไม่เพียงข้าวที่ปลูกจะเป็นที่ต้องการของตลาดคนรักสุขภาพ ดินที่เคยเป็นกรดจากการใช้ปุ๋ยเคมี ก็ได้รับการปรับสภาพจนมีความเป็นกลาง ร่วนซุย ซับน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ถึง 1 ใน 3

    ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รายใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี บอก ด้วยว่าความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ ที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ไม่เฉพาะในบ้านเราเท่านั้น แม้แต่ประเทศจีน ที่มีพลเมืองมากที่สุดในโลก ก็สั่งซื้อเข้ามาไม่ขาดสาย หากรัฐให้การสนับสนุนและวางแผนทำการเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ไทยอาจกลายเป็นผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ส่งออกอันดับ 1 ก็เป็นได้

    ทั้งนี้เนื่องจากไทย ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรกรรม หากนำของเหลือใช้จากปลายผลผลิต ทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมมาแปลงเป็นปุ๋ยได้ ไม่เพียงจะไร้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำและอากาศ ยังจะสร้างรายได้เข้าประเทศ ตอบโจทย์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วย

    สิ่งที่ยังขาดตอนนี้ คือ การเชื่อมโยงของภาคอุตสาหกรรม ที่จะมาต่อยอดความต้องการของตลาด เพราะแม้จะมีวัตถุดิบมาก แต่หากขาดการส่งเสริมและร่วมมือ โอกาสก็อาจไม่ช่วยให้ไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์อันดับ 1 ในภูมิภาคได้
     
  24. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    รัฐบาลหนุนมาตรฐาน ThaiGAP สร้างระบบผลิตผักผลไม้ปลอดภัยครบวงจร ผลักดันงานวิจัยและเทคโนโลยีสู่ภาคเกษตร ยกระดับสู่ประเทศไทย 4.0

    พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลสนับสนุนการยกระดับระบบการผลิตในภาคเกษตรกรรมให้ได้มาตรฐาน ThaiGAP และก้าวสู่การเป็นเกษตรอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยงานวิจัยและเทคโนโลยี ซึ่งเบื้องต้นมีผู้ประกอบการได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว 26 ราย และตั้งเป้าหมายในปี 2560 นี้ จะพัฒนาให้ได้เพิ่มขึ้นอีก 50 ราย

    ซึ่ง ThaiGAP เป็นมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีภาคภาษาไทย พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ใช้วิธีการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP ซึ่งเป็นสากล โดยมีการกำหนดระบบควบคุมคุณภาพตั้งแต่การบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก ดิน เมล็ดพันธุ์ น้ำ ปุ๋ย การจัดการศัตรูพืช ให้มีความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

    ทั้งนี้ รัฐบาลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้นำนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อให้ประยุกต์ใช้แนวทางของ ThaiGAP และสนับสนุนเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น โรงเรือนปลูกอัจฉริยะ ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของผักผลไม้ ไม่ต้องใช้สารเคมีในการเร่งโต หรือกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น โดยเมื่อเกษตรกรได้รับรองมาตรฐาน ThaiGAP แล้ว จะได้ QR Code ประจำตัว ให้ผู้บริโภคสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสแกน Code เพื่อตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของผลผลิต วิธีการปลูก ทุกขั้นตอนกระบวนการก่อนมาถึงมือผู้บริโภค ช่วยให้ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจในสุขภาพ นิยมบริโภคผักผลไม้ปลอดสาร สามารถมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย

    นอกจากนี้ มาตรฐาน ThaiGAP จะช่วยให้ผู้ประกอบการพยายามพัฒนากระบวนการผลิตให้มีคุณภาพและมีความปลอดภัยตามมาตรฐาน ทำให้ผู้บริโภคมีแหล่งอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกในการบริโภคมากขึ้น โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำว่าเกษตรกรยุคใหม่จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ประกอบการจะได้สร้างมูลค่าให้แก่ผลผลิตและสร้างรายได้อย่างครบวงจร พร้อมกำชับให้ วท.ประสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เพื่อเร่งขยายพื้นที่ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร ต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร หรือ SMEs เกษตร ที่ใช้งานวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ช่วยลดต้นทุน เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต สร้างอำนาจต่อรอง และแข่งขันได้ในตลาดโลกตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล



    สุพรรณบุรี 1 มี.ค.-ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กรมส่งเสริมการเกษตรจัดตั้งให้เป็นกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ขณะนี้พวกเขาเตรียมปุ๋ยและสารชีวภาพใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิต

    สมาชิกกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ บางงาม-บ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กำลังรับฟังแผนการเตรียมเพาะปลูกนาปี จากเกษตรอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    ที่กรมส่งเสริมการเกษตร เลือกพื้นที่นี้เป็นเกษตรแปลงใหญ่ เนื่องจากพื้นที่ 3,400 ไร่ มีสภาพดินเหมาะสมต่อการทำนา หน้าฝนชลประทานส่งน้ำเข้าถึง สมาชิก 200 กว่าราย พร้อมเข้าสู่ระบบ GAP ปลูกข้าวแบบปลอดภัยจากสารพิษ

    กลุ่มนาแปลงใหญ่ทำนาแล้ว ในฤดูเพาะปลูกที่แล้ว สำนักงานเกษตรอำเภอ นำนวัตกรรมการปลูกข้าวแบบใช้เครื่องหยอดเพาะกล้า แล้วนำมาดำ ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยกว่าวิธีหว่าน 3 เท่าตัว

    กรมพัฒนาดินเข้ามาส่งเสริมการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ปรับปรุงคุณภาพดิน ตั้งแต่ก่อนดำนา ระหว่างข้าวกำลังเติบโตจนออกรวง ลดการใช้ปุ๋ยเคยมี รวมถึงยาฆ่าแมลง ลุงเจน ศรีเมือง ผู้ดูแลโรงปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน กล่าวว่า การใช้สารชีวภาพถูกกว่าการซื้อยาเคมีใช้มากกว่าเท่าตัว

    ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ฤดูกาลผลิตปี 2560 เป็นต้นไป พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำนาตาม agri map เกษตรกรจะได้รับการส่งเสริมให้ได้รับความรู้เรื่องการลดต้นทุนการผลิตให้ได้ร้อยละ 20 เพิ่มผลผลิตให้ได้ร้อยละ 20 และเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปีถัดไป พันธุ์ข้าวที่ปลูกเกษตรกรเลือกปลูกได้ แต่ต้องเป็นพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากกรมการข้าว

    สำหรับนาแปลงใหญ่ ผลผลิตข้าวนาปีจะเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลจะสนับสนุนเงินเพิ่ม จากราคาขายตันละ 300 บาท เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรรวมตัวกันทำนาแปลงใหญ่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และเป็นนา GAP เพื่อให้ขายในตลาดโลกได้ราคาสูงขึ้น.-สำนักข่าวไทย



    ผลงานวิจัยการเกษตรสู่ไทยแลนด์ 4.0 เปิดตัวนวัตกรรมทางการเกษตรหลายชิ้นที่น่าสนใจ เช่น เครื่องกำจัดมอด และไข่มอด ชิ้นแรกของโลกโดยนักวิจัยไทยที่ปลอดภัยจากสารเคมี

    ตู้ขนาดใหญ่ที่มีความกว้างเกือบ 2 เมตรครึ่ง สูง 2 เมตร คือเครื่องกำจัดมอดและไข่มอดด้วยคลื่นวิทยุที่ใช้ความร้อนแบบไดดิเล็กทริก ชื่อ RW-X3 ใช้กับโรงสีข้าว และใช้ได้ดีทั้งกับข้าวกล้อง และข้าวขาว เป็นผลงานนักวิจัยไทยที่ต่อยอด และพัฒนามานานถึง 3 ปี จนผลิตขายได้แล้วในราคาเครื่องละ 800,000 บาท ปัจจุบันมีโรงสีหลายแห่งนำไปติดตั้งแล้ว ประสิทธิภาพของเครื่องว่ากันว่ากำจัดมอดได้ถึง 99 เปอร์เซนต์

    นอกจากนี้ยังมีอีกหลายนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงในงานการขับเคลื่อนผลงานวิจัยการเกษตรสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ สวก. อย่างเครื่องล้างผักอัลตร้าโซนิค ที่ใช้คลื่นเสียงในการสร้างฟองในน้ำแบบ"ปิปเปอร์"เข้าไปชะล้างผักได้สะอาดมากขึ้น และฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลงานวิจัยของสำนักงานวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    ส่วนแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดไพล ก็เป็นนวัตกรรมด้านสมุนไพร โดยนำเมือกหุ้มเม็ดแมงลักที่มีสรรพคุณให้ความเย็น มาอยู่ในแผ่นเดียวกัน ช่วยให้ผู้มีอาการปวดเมื่อยมีความสดชื่น และบรรเทาปวดภายในครึ่งชั่วโมง เป็นผลงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



    กรุงเทพฯ 16 มี.ค. – ระบบอะกรีแมป (Agri-Map) หรือระบบแผนที่เกษตร เป็นระบบที่ ก.เกษตรฯ นำมาใช้ เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้นในช่วงหน้าแล้ง และตั้งเป้าหมายการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้นในอนาคต ติดตามจากรายงาน “เกษตรสร้างชาติ” – สำนักข่าวไทย
     
    Last edited: 28 Mar 2017

Share This Page