รสนาโจมตีบิ๊กตู่

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย เผด็จการที่รัก, 16 พ.ย. 2014

  1. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    1966953_716609095082323_1891928394944883944_n.jpg
    10553525_670950459648187_1732517122351614741_n.jpg
    รสนา โตสิตระกูล

    11 ชม. ·



    เพื่อนที่ส่งรูปราคาน้ำมันจากอเมริกามาให้ เขียนมาเล่าให้ฟังว่า

    "อเมริกาเพิ่งจะเริ่มส่งออกน้ำมันได้ไม่นานครับและยังใช้ราคาอ้างอิงตลาดโลกขายในประเทศตัวเองเขาเปิดเสรี ประชาชนเริ่มบ่นว่าเดี๋ยวนี้เริ่มส่งออกผลิตเองได้แล้วทำไมต้องจ่ายราคาตลาดโลก ไม่เกี่ยวกันเลยว่าจะผลิตน้ำมันมากขึ้นกว่าเก่ามันอยู่ที่ราคาหน้าปั้มที่กำหนดตามราคาน้ำมันดิบโลก ราคาตลาดโลกลดลง หน้าปั้มก็ลดลงตามเป็นแบบนี้มานานแล้วครับ"

    แต่ประเทศไทย ผู้กุมรัฐาธิปัตย์ไม่ยอมลดราคาน้ำมันหน้าปั๊มให้ประชาชนตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ลดลง แต่กลับไปเพิ่มค่าการกลั่นให้โรงกลั่น และค่าการตลาด และกองทุนน้ำมัน ซึ่งล้วนเป็นการผ่องถ่ายกำไรให้เอกชนโดยล้วงกระเป๋าประชาชนแทน

    นายกฯยังไม่ตอบคำถามของอาจารย์เดชรัตน์ สุขกำเนิด และดิฉันว่าค่าการกลั่นขึ้นเพราะอะไร จากวันที่22พ.ค ถึง 10 พ.ย ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น 1.06 บาทต่อลิตร เพราะค่าใช้จ่ายอะไร หรือเพราะไม่รู้จะเอากำไรไปเก็บไว้ที่ไหน ขอให้นายกฯช่วยตอบในรายการพูดกับประชาชนวันศุกร์ที่ผ่านมา นายกฯก็ไม่ตอบ

    ต้นปีหน้าจะอนุมัติให้ขึ้นราคาน้ำมันดีเซล4บาทต่อลิตร ใช้หลักการตามกลไกตลาดอะไรไม่ทราบ? หรือเวลาจะล้วงกระเป๋าประชาชนก็อ้างราคาตลาดกำมะลอเพื่อขึ้นราคา แต่พอราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลดลง ก๋ไม่เคยลดราคาให้ประชาชนตามกลไกตลาดจริงเลย

    ตกลงบ้านเมืองนี้ปกครองกันด้วยอำนาจตามอำเภอใจจากการผลักดันของกลุ่มทุนพลังงานเท่านั้นกระมัง!?!
    /////////////////////////////////////////////////////////////////////////

    ผมละโครตเกลียดพวกNGOด่ามั่วๆ
    1 รสนาด่าน้ำมันหน้าปั๊มไม่ลด - น้ำมันหน้าปั๊มยังไม่ลดเพราะเราเอาส่วนต่างไปใช้หนี้กองทุนน้ำมัน

    2 ราคาหน้าโรงกลั่นเป็นราคาตลาดโลก - ราคาต้นทุนถูกเอามากลั่นขายราคาตลาด ถ้าส่วนต่างมากก็กำไรมาก ไม่เกี่ยวว่าใครจะเป็นรัฐบาล

    ไม่ใช้ว่าโรงกลั่นกำหนดราคาตามใจ **แต่เขาขายราคาตลาดโลก

    3 ที่ขึ้นคือภาษี ราคามันต่างกับเบนซินมากไป จนรถหรูๆคันละเกือบสิบล้าน ก็หันมาขายเครื่องเบนซินแล้ว

    - แล้วเจ๊เล่น เอากำไรการกลั่นวันนี้มาลบกำไรการกลั่นวันปฎิวัติ นี่เลวนะครับ บอกตรงๆ เสียดายคะแนนที่เคยเลือก พึ่งรู้ว่าเป็นคนชอบด่าแบบไรเหตุผล หวังแค่เอาดังจะได้ตำแหน่ง
     
    Last edited: 16 พ.ย. 2014
    Octavarium, Duke_th1, Words of the Buddha และอีก 6 คน ถูกใจ
  2. เช้าเม็ด..เย็นเม็ด

    เช้าเม็ด..เย็นเม็ด อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    362
    ถ้าเรด้าร์ผมไม่เสีย
    อิเจ๊นี่ต้องดูกันอีกแปป
     
    bigTeacher, kokkai, ปู่ยง และอีก 3 คน ถูกใจ
  3. Bayonet

    Bayonet อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,804
    ถ้าข้อมูลของ คุณรสนาถูกต้อง นายกฯ + รมต. ที่ดูแลด้านพลังงาน ก็ต้องตอบคำถามให้ประชาชนทราบแล้วล่ะว่าทำไม ต้นทุนค่าการกลั่นถึงเพิ่มสูงขึ้น

    ราคาน้ำมันดิบ + ค่ากลั่น (รวมค่าขนส่งสู่โรงกลั่น) + ค่าการตลาด (รวมค่าขนส่งสู่ปั๊มขายปลีก) + ภาษี + เงินกองทุนน้ำมัน = ราคาขายปลีก

    ประโยคนี้คงไม่ถูกต้องในการ คำนวณต้นทุน แล้วมั๊งครับ เพราะถ้ามีการเก็บข้อมูล "ต้นทุนการกลั่น" ไว้แบบนี้ ย่อมต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อหา ต้นทุนการผลิตและต้นทุนการดำเนินงานที่แท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดราคาสินค้า

    ถ้าเอะอะอะไรก็อ้างราคาตลาดโลกซะทุกอย่าง ผมต้องซื้อ มะม่วง ทุเรียน ลำไย ในราคาตลาดโลกหรือในราคาที่ขายในญี่ปุ่นด้วยหรือไงครับ ทั้งที่ปลูก+ผลิตในเมืองไทย

    ผมไม่เพ้อเจ้อเรื่องข้อมูลพลังงานตาม ไอ้แป๊ะและพวกพ้อง และก็ไม่ได้เห็นว่า คุณรสนา ถูกต้องทุกเรื่อง แต่ถ้าข้อมูลในตารางเป็นตัวเลขข้อเท็จจริง ก็อยากจะฟังคำตอบจากรัฐบาลด้วยเหมือนกัน
     
  4. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    การตั้งราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นในประเทศไทย

    การตั้งราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯในประเทศไทยเป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างยาวนาน เริ่มตั้งแต่ว่าทำไมต้องไปอ้างอิงราคาน้ำมันที่ตลาดสิงคโปร์ เราตั้งราคาน้ำมันของเราเองไม่ได้หรือ

    พอได้รับคำตอบว่าเราตั้งราคาของเราเองก็ได้ แต่ในที่สุดราคาก็จะวิ่งไปหาราคาน้ำมันที่สิงคโปร์อยู่ดี เพราะถ้าเราตั้งราคาถูกจนเกินไป ก็จะมีคนนำน้ำมันจากบ้านเราไปขายที่สิงคโปร์ แต่ถ้าเราตั้งราคาแพงจนเกินไป คนก็จะไปนำน้ำมันจากสิงคโปร์เข้ามาขายแข่งกับโรงกลั่นฯในบ้านเรา

    ฉะนั้นถ้าระบบการค้าน้ำมันในบ้านเราเป็นระบบเสรีอย่างเช่นในปัจจุบัน คือไม่มีการจำกัดการนำเข้าและการส่งออก รวมทั้งไม่มีการเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสำหรับน้ำมัน ราคาหน้าโรงกลั่นฯของไทยย่อมจะต้องใกล้คียงกับราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์อยู่ดี

    อีกประการหนึ่ง การตั้งราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯโดยอ้างอิงราคาน้ำมันที่ตลาดสิงคโปร์นั้นจะทำให้โรงกลั่นฯในไทยต้องบริหารโรงกลั่นน้ำมันให้มีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับโรงกลั่นฯในสิงคโปร์หรือดีกว่า เพื่อให้ได้ค่าการกลั่น (Refining Margin) เท่ากับโรงกลั่นน้ำมันในสิงคโปร์ ซึ่งถือว่าเป็นโรงกลั่นฯที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และมีต้นทุนในการบริหารถูกกว่าโรงกลั่นฯในประเทศไทย เพราะมีท่าเรือขนส่งน้ำมันที่สะดวกกว่า ขั้นตอนและพิธีกรรมทางศุลกากรก็น้อยกว่า กฎระเบียบของทางราชการก็น้อยกว่า ดังนี้เป็นต้น

    นอกจากนั้น ตลาดสิงคโปร์ยังเป็นตลาดกลางซื้อขายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย และเป็นหนึ่งในสามของตลาดการซื้อขายน้ำมันสากลของโลกในขณะนี้ นั่นก็คือ ตลาดนิวยอร์ค (NYMEX) ตลาดลอนดอน (ICE) และตลาดสิงคโปร์ (SIMEX)

    ดังนั้นการตั้งราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯในประเทศไทยโดยอ้างอิงราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามหลักการที่นานาชาติยึดถือ และเป็นการส่งเสริมให้โรงกลั่นฯในประเทศต้องแข่งขันกับตลาดค้าน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งถ้าดำเนิงานไม่มีประสิทธิภาพก็จะอยู่ไม่ได้

    อย่างไรก็ตามถึงแม้ระยะหลังคำถามเกี่ยวกับเรื่องการอ้างอิงราคาน้ำมันที่ตลาดสิงคโปร์เริ่มลดน้อยลง อาจเป็นเพราะมีความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น แต่กลับมีคำถามใหม่เกิดขึ้นว่า ทำไมสูตรราคาหน้าโรงกลั่นที่อ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์นั้น จึงเป็นสูตรราคาที่อ้างอิงราคานำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์ (Import Parity) แทนที่จะเป็นราคาส่งออก (Export Parity)

    สูตรราคานำเข้า (Import Parity) หมายถึงสูตรมีการบวกค่าขนส่ง ค่าประกันสินค้า เข้าไปในราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์ที่ใช้อ้างอิงกันอยู่ในปัจจุบัน โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยระบุว่า ค่าใช้จ่ายนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง และทำให้ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯในบ้านเราแพงกว่าราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ที่เราใช้อ้างอิง โดยกลุ่มผู้คัดค้านเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนไปใช้สูตรราคาอ้างอิงการส่งออก (Export Parity) ที่มีการตัดค่าใชจ่ายส่วนนี้ออกไปแทน

    ส่วนทางด้านผู้ประกอบการก็อ้างว่า สูตรอ้างอิงราคานำเข้านั้นได้มีการใช้มาตั้งแต่เริ่มมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทย เพราะแต่เดิมสมัยที่เราไม่มีโรงกลั่นฯ ไทยต้องนำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์ เมื่อรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้มีการลงทุนตั้งโรงกลั่นฯในไทย จึงมีการเจรจากันให้ใช้สูตรราคานำเข้าเป็นฐานในการตั้งราคาหน้าโรงกลั่นฯ เพราะการตั้งโรงกลั่นฯในไทยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตทดแทนการนำเข้าเป็นหลัก ไม่มีวัตถุประสงค์ในการผลิตเพื่อส่งออกเหมือนอย่างประเทศสิงคโปร์ อีกทั้งต้นทุนของโรงกลั่นฯในไทยก็สูงกว่าของสิงคโปร์อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ค่าขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางมายังสิงคโปร์ก็ถูกกว่ามายังประเทศไทย ดังนั้นการตั้งราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นโดยอ้างอิงราคานำเข้าจึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผลแล้ว ถ้าไปตั้งราคาอิงสูตรราคาการส่งออกก็จะทำให้การตั้งโรงกลั่นฯในประเทศไทยมีค่าการกลั่นต่ำกว่าโรงกลั่นฯในสิงคโปร์ ก็จะไม่มีแรงจูงใจให้มีผู้มาลงทุนสร้างโรงกลั่นฯในประเทศไทย

    เมื่อพิจารณาเหตุผลของทั้งสองฝ่าย ผมมีความเห็นว่าเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นว่า การตั้งราคาอ้างอิงการนำเข้า (Import Parity) เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นในระยะแรกๆที่เรายังไม่มีโรงกลั่นฯในประเทศ จึงจำเป็นต้องให้แรงจูงใจนักลงทุนมาลงทุนโรงกลั่นฯในบ้านเรา แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว เรามีโรงกลั่นมากถึง 6 แห่ง มีกำลังการกลั่นถึง 1 ล้านบารเรล/วัน มากกว่าความต้องการถึงสองแสนบาร์เรล/วัน ดังนั้นการเปลี่ยนสูตรราคาหน้าโรงกลั่นย่อมอยู่ในวิสัยที่จะทำได้

    แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราจะเปลี่ยนสูตรราคาหน้าโรงกลั่นฯไปเป็นอ้างอิงราคาส่งออก (Export Parity) เหมืนสิงคโปร์ เราก็ต้องมั่นใจว่าเราได้ปรับสภาพและความสะดวกในการดำเนินธุรกิจให้เหมือนกับประเทศสิงคโปร์ด้วย โดยเราต้องขจัดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจและแก้ไขกฏระเบียบยุ่งยากต่างๆที่ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงขึ้น เพื่อให้เขามีต้นทุนลดลงสามารถแข่งขันกับโรงกลั่นฯในสิงคโปร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องยกเลิกการให้โรงกลั่นฯเข้าไปแบกรับภาระในการอุดหนุนราคาพลังงานบางชนิด อย่างเช่น ก๊าซแอลพีจี ที่ทำกันอยู่อย่างทุกวันนี้ โดยให้โรงกลั่นขายแอลพีจีในราคา 333 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งเป็นราคาที่ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

    ถ้าทำได้อย่างนี้ก็คงไม่มีปัญหาที่จะมีการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นใหม่ให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น โดยยึดถือประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก แต่ก็ต้องให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ด้วย

    ประเทศไทยในปัจจุบันค่อนข้างจะแบ่งแยกกันอย่างรุนแรงในทุกๆเรื่อง ผมจึงอยากขอให้ทุกฝ่ายมองปัญหาพลังงานอย่างสร้างสรรค์และมุ่งแสวงหาทางออกร่วมกัน แทนนี่จะชี้นิ้วด่าว่าคนอื่น ถ้าทำได้อย่างนี้ผมเชื่อว่าทุกปัญหาย่อมมีทางออกครับ !!!​
     
  5. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :) ถ้ายังปฎิรูปไม่เสร็จแล้วจะเปลี่ยนแปลงทันทีได้ยังไงครับ? คุณรสนา เองก็เป็น สปช น่าจะใช้ตำแหน่งตรงนั้นให้เป็นประโยชน์ หรือถ้าคิดว่าไม่ทันใจ ไม่เป็นไปตามที่คิด ก็ลาออกมายืนฝ่ายปฏิรูปภาคประชาชนอย่างเดียวเลยครับ ยืน 2 ขาแบบนี้ ก็เหมือนด่าตัวเองไปในตัวด้วย​
     
    Duke_th1, ปู่ยง, puggi และอีก 5 คน ถูกใจ
  6. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    มันเป็นคำถามที่ดูเหมือนไม่จริงจังที่ต้องการคำตอบเท่าไร เพราะรู้อยู่แก่ใจว่า นายกเขาจะรู้ได้อย่างไร การถามออกสู่สาธารณแบบนี้เหมือนมีเจตนาที่จะบอกสังคมว่า นายกตอบไม่ได้ในคำถามที่ถาม เป็นลักษณะที่ต้องการเอาชนะเท่านั้น ถ้านายกจะตอบคงหาคำตอบมาได้ไม่ยากหรอกครับ แต่ต้องถามตัวเองด้วยว่า นายกจะต้องมาคอยตอบคำถามคุณทุกครั้งหรือไม่ คุณอยู่ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ย่อมรู้ดีว่าคำถามที่คุณถามนั้น จะหาคำตอบได้จากที่ไหน แต่คุณเลือกที่จะให้นายกตอบต่อสาธารณ ในคณะปฏิรูปของคุณก็มีคนที่รู้เรื่องพลังงานดีและรู้สึกว่าจะมีความเห็นในทางตรงข้ามกับคุณด้วย แล้วไม่ได้คุยกันหรือครับถึงจะมาคาดคั้นให้นายกเป็นคนตอบ
     
    Kiriwian, AlbertEinsteins, kokkai และอีก 3 คน ถูกใจ
  7. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    คุยเฉพาะค่าการกลั่นนะครับ

    ค่าการกลั่น = ราคาหน้าโรงกลั่น - ราคาน้ำมันดิบ

    มันเป็นราคาตลาดโลกทั่งคู่ ไม่เกี่ยวกับใครมาเป็นรัฐบาลเลย

    ส่วนทำไมต้องราคาตลาดโลก บทความของคุณผู้ชายลึกลับเขียนไว้ดีมากครับ



    *ถ้าเราบีบให้โรงกลั่นขายในประเทศต่ำกว่าราคาตลาด น้ำมันก็จะถูกส่งออกไปไม่มีขายในประเทศ

    ถ้าบังคับให้ขายในประเทศก่อน ก็จะไม่มีการลงทุนสร้างโรงกลั่นเพิ่ม

    การบริโภคน้ำมันไทยเพิ่มทุกปี ถึงจุดๆหนึ่งเราก็ต้องนำน้ำมันสำเร็จรูปเข้าอยู่ดี

    จะเอาแนวคิดสังคมนิยมมาใช้ ผมว่าจะเจ๊งแบบเวเนซุเอลานะครับ


    พืชผลเกษตรเราผลิตเอง แต่น้ำมันต้องนำเข้าเกือบทั้งหมดครับ
     
    kokkai, ปู่ยง, puggi และอีก 1 คน ถูกใจ.
  8. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  9. Bayonet

    Bayonet อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,804
    เรื่องนี้แหละครับ ยิ่งฟังคำอธิบายของผู้ที่สนับสนุน ราคาหน้าโรงกลั่นตามราคาตลาดโลก ผมยิ่งรู้สึกว่ามันประหลาด+พิเรนท์ ยังไงไม่รู้

    1. ตั้งถูกไป แล้วมีคนมาช่วยเราขายน้ำมัน ... มันไม่ดีตรงไหน? การมีคนรับสินค้าเราไปช่วยขายเยอะ ๆ มันทำให้เราเสียหายตรงไหนเนี่ย?
    2. ตั้งแพงไป? เดี๋ยวนะ...ในเมื่อโรงกลั่นในเมืองไทย รู้อยู่แล้วว่าตนเองมี ต้นทุนจัดการการกลั่น อยู่ที่เท่าไหร่ เพราะฉะนั้นถ้าเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบ (ที่ส่วนใหญ่ต้องนำเข้า) มาบวกกับต้นทุนตัวเองแล้ว แพงกว่าสิงคโปร์ ก็ยังจะดันทุรังไปซื้อมากลั่น? ...เอ่อถ้าทีมผู้บริหารโรงกลั่นโง่ขนาดนั้น คงต้องปล่อยให้เจ๊งไปก็ดีกว่ามั๊งครับ ยิ่งในเมืองไทยกลุ่มที่เกือบจะผูกขาดการกลั่น+การขายน้ำมันสำเร็จรูป อยู่ในมือยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. ซะ 70-80% ยิ่งบริหารทั้ง 2 หน่วยงานง่ายเลย ถ้าราคาน้ำมันสำเร็จสิงคโปร์ถูกกว่า ก็นำเข้าสำเร็จรูปไปเลยซิ ปล่อยโรงกลั่นว่างงานไป แม้ว่าจะมีต้นทุนราคาแรง ค่าเสื่อม อยู่ แต่ก็ดีกว่าดันทุรังเดินหน้ากลั่นแล้วขายขาดทุนใช่มั๊ย? สำหรับความคิดผมนะ โอกาสจะเกิดเหตุการณ์ในข้อ 2 นี่แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าค่าแรงเงินเดือน ค่าก่อสร้าง ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่เป็นต้นทุนของโรงกลั่นเมืองไทย จะไปสูงกว่าสิงคโปร์ได้ยังไงผมนึกไม่ออก

    การใช้เหตุผลข้างต้นในการอ้างอิงราคาสิงคโปร์ .... สำหรับผมแล้ว ฟังไม่ขึ้นเลยครับ



    แล้วทำไมโรงงานผลิตรถยนตร์ในเมืองไทย ที่ต้องนำเข้าเครื่องยนตร์+ชิ้นส่วนหลักจากต่างประเทศ มาประกอบแปรรูปเป็นรถยนตร์สำเร็จรูป ไม่เห็นต้องไปอ้างอิง ราคาตลาดโลกที่ไหนเลย ถ้าใช้ตรรกะเดียวกันกับน้ำมันมิกลายเป็น...

    ต้นทุนการแปรรูป = ราคารถยนตร์หน้าโรงงาน(ตามตลาดโลก) - วัตถุดิบนำเข้า

    ในเมืองไทยมีสินค้ามากมายที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ไม่เว้นแม้กระทั่ง นมผงสำหรับทารก ถ้าใช้วิธีหาต้นทุนอย่างที่ บรรดาธุรกิจน้ำมันใช้ ...... ผมว่าราคาต้นทุนคงได้บิดเบี้ยว ผิดเพี้ยน เละเทะไปหมดแน่ ๆ

    ตอนนี้จึงเป็นคำถามที่ย้อนกลับมาว่า ในเมื่อสินค้าอื่น ๆ เค้ายังคำนวณต้นทุนที่แท้จริงได้ แล้วทำไมสำหรับ น้ำมันเชื้อเพลิงมันวิเศษวิริศมาหรายังไงหรือ ถึงต้องใช้วิธีอ้างอิงพิสดารแตกต่างออกไป?
     
    Last edited: 16 พ.ย. 2014
    temp, conservative และ กีรเต้ ถูกใจ
  10. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    ขอคุยแค่เรื่อง จะขึ้นดีเซล 4 บาทครับ

    รสนา ทำซะผมเบื่อไปแล้ว อีโก้ อัตตา ซะจนไม่มองความเป็นจริง ที่เค้าจะขึ้น 4 บาท เพราะว่าเค้าจะขึ้่นตัวภาษีเก็บจากดีเซล เพราะปัจจุบัน ดีเซล นี่แทบจะไม่ได้เก็บภาษี หรือเก็บก็ไม่ถึงบาท เพราะว่าเพื่อจะกดดีเซลไม่ให้เกิน 30 อย่างนี้ไม่แฟร์ กับน้ำมันเบนซิน ที่ต้องโดนเก็บภาษีเยอะ มาอุ้มดีเซล นโยบาย คสช คือต้องเก็บภาษีน้ำมันทุกประเภทไม่ใช่ เก็บแต่เบนซิน ไปอุ้มแก๊ส อุ้มดีเซล ไม่ถูกต้อง ถ้าทำให้ถูก คนใช้เบนซิน ได้ใช้น้ำมันถูกกว่านี้อีก เพราะ ทุกวันโดนทั้่งภาษี เพื่อไปอุ้ม แก๊ส และค่าการตลาดซะหลังแอ่น

    อีกอย่าง ตอนนี้ที่น้ำมันยังไม่ลง เพราะกองทุนน้ำมันยังติดลบ คิดว่า คงอยากให้เป็นบวก โดยมีเงินกองทุนในระดับนึง ซึ่งถ้าเกิดเงินกองทุนเป็นบวก เยอะ แล้วไม่ลดราคาน้ำมัน ไม่ต้องห่วงผมเป็นอีกคนที่จะมาด่ารัฐบาล นี้เอง
     
    temp, กระต่ายในจันทร์, kokkai และอีก 4 คน ถูกใจ
  11. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ข้อ 1 รัฐบาลบังคับราคาหน้าโรงกลั่นถูก โรงกลั่นที่เป็นเอกชนจะนำน้ำมันสำเร็จรูปไปขายในตลาดที่ได้ราคาดีกว่า ทำให้น้ำมันในประเทศขาดแคลน
    ข้อ 2 เป็นไปไม่ได้ เพราะถ้าราคาหน้าโรงกลั่นแพงกว่าตลาดโลก ก็จะมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเข้ามาขาย (เหมือนที่เกิดขึ้นที่เวเนซุเอลา)
    ------------------------------
    คุณเปรียบเทียบกับสินค้าทั่วๆไปไม่ได้ครับ เพราะน้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์
     
    padd, กีรเต้ และ ปู่ยง ถูกใจ
  12. Bayonet

    Bayonet อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,804
    ข้อ 1 ผมว่าสามารถจัดการโดยกฏหมายได้ ซึ่งไม่แตกต่างจากน้ำตาล ที่ราคาต่างประเทศสูงกว่าในเมืองไทย จึงมีการกำหนดสัดส่วนการใช้ในประเทศให้เพียงพอ และการส่งออกไว้อย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นการลักลอบนำออกไปขายเกินที่กฏหมายกำหนด นั่นเป็นหน้าที่ของรัฐแล้วล่ะครับ แล้วนั่นก็หมายถึงคุก เช่นกัน

    ข้อ 2 เอ่อ ผมอธิบายไปแล้วนะ กลับไปอ่านซ้ำอีกทีก็ได้ครับ

    แล้วก็กลับมาที่ข้อสังเกตุเดิม ข้ออ้างว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ เกลือ น้ำตาล ข้าวสาร ก็ใช่ แต่ไม่เห็นว่าจะต้องอ้างอิงราคาตลาดโลกเลย ข้ออ้างนี้สำหรับผม ฟังไม่ขึ้นครับ
    http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000057171
     
  13. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    ถ้าสิ่งที่คุณ Bayonet ว่ามาถูกต้องและเป็นประโยชน์ ผมคิดว่ามันก็คือ 1 ในสิ่งที่ต้องปฏิรูปครับ... แต่เปลี่ยนได้ทันทีตอนนี้โดยใช้คำสั่ง คสช... ผมว่าไม่ได้ครับ ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบ การเตรียมการเปลี่ยนแปลงใดๆเลย

    แต่ประเด็นของคุณรสนากับคำถามนี้คืออะไร? คุณรสนา น่าจะรู้อยู่แล้วว่าสิ่งนี้มันถูกกำหนดตามราคาตลาดโลกมาตั้งแต่แรก ก่อนที่จะมี คสช อีก ทำไมถึงตั้งคำถามนี้ ทั้งๆที่รู้ว่าเรายังอิงราคาตลาดโลกอยู่? คนทั่วไปทราบหรือไม่ ผมว่าไม่ ดังนั้นย่อมเข้าใจว่าบริษัทฯน้ำมันเอากำไรเกินควรโดยรัฐบาลไม่ทำอะไร

    ผลที่ตามมาคือการโจมตีว่าทั้งๆที่ราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง แต่ราคาน้ำมันหน้าปั๊มกลับลดลงไม่มาก ก็เพราะโรงกลั่นเอากำไรสูง ไม่ยอมลดค่าการกลั่น

    ภายใต้รัฐบาลนี้ทำไมโรงกลั่นถึงได้ค่าการกลั่นสูง ให้รัฐบาลตอบในวันศุกร์? ถ้ารัฐบาลตอบว่ายังลดค่าการกลั่นไม่ได้ จะตามมาด้วยการบอกว่ารัฐบาลเอาใจ ปตท (ทั้งๆที่โรงกลั่นในไทยไม่ได้มีแต่ปตท.) รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหาพลังงาน หรือรัฐบาลก็เป็นพวกเดียวกับทักษิณ

    ณ เวลานี้ ประเทศไทยเป็นสามารถเป็นผู้ที่กำหนดราคาหน้าโรงกลั่นได้หรือยังครับ? คุณรสนา น่าจะทราบคำตอบดีอยู่แล้วครับ ในฐานะ สปช คุณรสนาควรจะเป็นคนผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมเองด้วยซ้ำ ผมถึงบอกว่าถ้ายังยืน 2 ฝั่งแบบนี้ก็เหมือนด่าตัวเองไปในตัวครับ​
     
    kokkai, puggi, เผด็จการที่รัก และอีก 1 คน ถูกใจ.
  14. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    โรงกลั่นน้ำมันที่มีในประเทศไทยจำนวน 7 บริษัท
    1. ไทยออยล์ ปตทถือหุ้น 49.10% 1,001,647,483
    2. ไออาร์พีซี (IRPC) ปตทถือหุ้น 38.51% 7,869,694,600
    3. เอสโซ่(ESSO) ปตทไม่ได้ถือหุ้น
    4. สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง(SPRC) ปตทเจ้าของ
    5. ปตท. อะโรมาติกส์และการกลั่น(PTTAR) อันนี้คงไม่ต้องบอกว่าของใคร
    6. บางจาก (BCP) ปตทถือหุ้น 27.22% 374,748,571
    7. ระยองเพียวริฟายเออร์(RPC) ปตทไม่ได้ถือหุ้น
    ในจำนวนที่มี 7 บริษัทที่ทำโรงกลั่นน้ำมัน ปตท ถือหุ้นอยู่ 5 บริษัท ลองคิดดูแล้วกันครับว่า รัฐบาลเอาใจ ปตท โดยไม่ลดค่าการกลั่นหรือไม่ เพราะอะไร
     
  15. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ค่าการกลั่น = ราคาหน้าโรงกลั่น(อิงตลาดสิงค์โปร) ลบด้วย ราคาน้ำมันดิบ(ราคาตลาดโลก)

    สรุปว่า ค่าการกลั่นไม่เกี่ยวอะไรกับรัฐบาล

    * แต่เกี่ยวโดยอ้อมกับรสนา เพราะรสนาเป็นกรรมการปฎิรูปพลังงาน ถ้าเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ดี แล้วรสนาทำไม่ได้-แก้ไขไม่ได้ เพราะด่าผิดตัวหรือเพราะไม่มีความรู้พอ ก็ไม่ใช้ความผิดใคร นอกจากตัว รสนาเอง:banghead:
     
  16. joonkung

    joonkung สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    108
    ปตท มีรัฐถือหุ้นอยู่ 51.11% และปตท ยังไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัทโรงกลั่นน้ำมันถึง 5 บริษัทจาก 7 อีกทั้งรัฐฯมีกลไกลควบคุมราคาน้ำมันทั้ง บอร์ด ปตท และ คณะกรรมการ กพช หากต้องการลดราคาน้ำมันจริงๆใช่ว่าจะทำไม่ได้เพราะ ปตท เกือบจะผูกขาดตลาดอยู่แล้วและรัฐก็ถือหุ้นใหญ่ ปตท อยู่กลไกล ที่ทำให้เกิดนโยบายพลังงานก็น่าจะทำได้ไม่ยาก จึงทำให้เกิดคำถามจากประชาชนว่า รัฐอุ้มใคร ปตท หรือ ประชาชน
     
  17. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    นั่นก็อยู่ว่ารสนาจะทำหน้าที่ตัวเอง หรือมานั่งด่ามั่วๆครับ

    ส่วนผมเห็นด้วยกับแนวทางให้เป็นไปตามราคาตลาดโลก

    ถ้าคุณรสนาเห็นต่าง ต้องการให้รัฐกดดันให้เอกชนกำไรน้อยๆหรือไม่มีกำไรเลย ก็ลองดูได้ครับ ให้เป็นไปตามกระบวนการ
     
  18. Garfield

    Garfield อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,407
    คือถ้าได้เข้าไปเป็น สปช แล้วอยากจะทำอะไรก็ควรจะทำไปตามระบบ ไม่ควรจะออกมาเห่าหอนด่าชาวบ้านข้างเดียวแบบนี้
     
  19. ryukendo

    ryukendo สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    44
    พอเค้าตอบเสร็จเคลียร์เรียบร้อย แม่ก็จะเปลี่ยนเรื่องเล่นไปเรื่อยๆ เรื่องที่ผ่านมาก็ลืมๆไปเสีย :yawn:
     
  20. puggi

    puggi อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    616
    http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428314954

    NOWญาญ่า โร่ขอโทษ-รู้สึกผิด โหนราวรถไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น เหตุไม่รู้



    ก๊าซจะหมด ใน 6-7 ปีหรือ 20 ปี กันแน่? ใครชัวร์ ... ใคร (แกล้ง) มั่วนิ่ม

    ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

    โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน

    ที่มา นสพ.มติชนรายวัน


    มีผู้ให้ข้อมูลอยู่เป็นระยะๆ ซ้ำซากว่า ประเทศไทยมีน้ำมันเยอะแยะ หรือปริมาณสำรองปิโตรเลียมในประเทศไทยยังคงมีสำรองใช้ได้อีกนาน ในขณะที่กระทรวงพลังงานยืนยันว่า ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว (Proven Reserve) เหลือไม่ถึง 7 ปี

    ฤๅ กระทรวงพลังงานจะรีบร้อน สำรวจเปิดสัมปทานปิโตรเลียมไปไย?

    โดยผู้อ้างว่าเราจะมีปิโตรเลียมใช้ได้อีกนานนั้น ให้เหตุผลทำนองว่า

    หนึ่ง ประเทศไทยมีทรัพยากรปิโตรเลียมมากมายมหาศาล แต่กระทรวงพลังงานนั่นแหละที่หมกเม็ด บอกความจริงไม่หมด หรือกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมาแล้วว่า ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว ถึงจะมีทรัพยากรแต่เมื่อยังไม่ขุดเจาะสำรวจ ก็จะถือว่าปริมาณสำรอง = 0

    ดังนั้นปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว จึงไม่ได้ครอบคลุมถึงปริมาณทรัพยากรปิโตรเลียมที่มีอยู่จริง

    สอง ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้วเท่ากับปีที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทาน นั่นคือ ไม่ได้นับรวมปริมาณปิโตรเลียมที่มีอยู่จริง

    เป็นที่มาของวลีเด็ด "ก๊าซไม่ได้หมด แต่สัญญาสัมปทาน" หมด

    ใครชัวร์ ใครมั่วนิ่ม? ผมจะขอค่อยๆ อธิบายเชิงเปรียบเทียบ ดังนี้

    ปริมาณสำรองปิโตรเลียมก็เหมือนจำนวนลูกค้าในธุรกิจ

    สมมุติ ว่าเราขายกาแฟ เราสามารถพูดได้หรือเปล่าว่า จำนวนลูกค้าที่เรามี คือ จำนวนคนทั้งหมดที่ดื่มกาแฟ หรือคนทั้งซอยที่ร้านกาแฟเราตั้งอยู่

    แน่ นอนว่า เราพูดมั่วแบบนั้นไม่ได้ เพราะเป็นการหลอกทั้งตนเอง หลอกทั้งผู้อื่น แต่เราอาจจะบอกว่า นอกจากลูกค้าประจำของเราแล้ว เราหมายตาให้ใครมาเป็นลูกค้าเพิ่มเติมบ้าง

    ปริมาณสำรองปิโตรเลียม ก็เป็นเช่นนั้น



    การประเมินปริมาณสำรองปิโตรเลียมแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

    1) ปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้แล้ว (Proved หรือ P1) ซึ่งถือเป็นระดับที่มีความมั่นใจได้สูงถึง 90% นั่นคือ คนที่มาสั่งกาแฟเราแล้ว วางมัดจำหรือจ่ายเงินแล้ว

    2) ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบ (Probable หรือ P2) ซึ่งมีระดับความมั่นใจว่าจะพบ 50% คือ เดินผ่านร้านกาแฟเราเป็นประจำ ไม่เคยแวะเข้าร้านเรา แต่อาจไปร้านอื่น

    3) ปริมาณสำรองที่น่าจะพบ (Possible หรือ P3) มีระดับความมั่นใจว่าจะพบ 10% คือ เดินผ่านร้านเราประจำก็จริง แต่อาจไม่ดื่มกาแฟหรือเรามีข้อมูลของลูกค้ากลุ่มนี้น้อยไป

    ตัวเลขและ วิธีการคำนวณปริมาณสำรองปิโตรเลียมของไทย เป็นไปตามมาตรฐานสากล Petroleum Resources Management System หรือ PRMS ซึ่งหลายๆ ประเทศใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องที่กระทรวงพลังงานปลุกเสกขึ้นมาเอง

    เราคงไปมั่วนิ่มว่า P2, P3 เป็นลูกค้าของเราทันทีไม่ได้ ตราบใดที่เขายังไม่มาสั่งกาแฟจากเรา ซึ่งถ้าอยากได้คนกลุ่มนี้มาเป็นลูกค้าก็ต้อง "ออกแรง" ไปชักชวน ทำโปรโมชั่น



    การ จะทราบว่าเราจะมีก๊าซเหลือใช้ไปอีกกี่ปี ก็โดยนำปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้ (P1) มาหารด้วยอัตราการผลิต (การใช้) ในปัจจุบันเรียกว่า R/P ratio มีหน่วยเป็น "ปี"

    เมื่อยอดขายจริง อยู่ที่ "ลูกค้าตัวจริง" คือ (P1) ปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้แล้ว เหลืออยู่กี่ปี ที่ไหนบ้าง

    คำ ตอบคือ ปริมาณสำรองที่เหลืออยู่ในแหล่งปิโตรเลียมที่ถูกค้นพบแล้ว และสามารถผลิตอย่างคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ ล่าสุดจะเหลือเพียง 6 ปีเศษๆ ไม่เต็ม 7 ปีเสียด้วยซ้ำ หากยังไม่มีกิจกรรมสำรวจในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่ เช่น การเปิดให้สัมปทานสำรวจปิโตรเลียมในประเทศ ปริมาณเหล่านี้ก็น่าจะมีทิศทางที่ลดลงเรื่อยๆ

    สามารถจำแนกแยกแยะเป็นแหล่งๆ ให้เห็นดังนี้ (ดูตารางประกอบ)

    จะ เห็นว่าแต่ละแหล่งจะเหลือมากบ้างน้อยบ้าง ตั้งแต่ 2.86-9.73 ปี เฉลี่ยออกมาได้ราวๆ 6 ปีเศษ แล้วก็จะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับการหมดอายุสัมปทานเลย เพราะบางรายยังเหลืออายุสัมปทานผลิต 8-20 ปี หากแต่สำคัญว่า ต้องส่งเสริมให้มีกิจกรรมการสำรวจทั้งใน

    แปลงใหม่ๆ หรือแปลงเดิมที่ยังมีปริมาณสำรองที่เป็นระดับ P2 และ P3 อยู่

    เช่น เดียวกับคนที่เราหมายตาที่จะให้เป็นลูกค้ากาแฟรายใหม่ที่ต้องไปลงทุนดึงเข้า ร้าน ปริมาณสำรองปิโตรเลียม ระดับ P2 และ P3 ดังกล่าวจำเป็นจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่ายังมีปริมาณสำรองปิโตรเลียม P1 รวมกับ P2 ได้อีกประมาณ 13-14 ปี

    จากปริมาณสำรองที่ยังไม่ได้พิสูจน์และคาดว่า จะมีตามระดับ P2 และ P3 นี้ ซึ่งถือเป็นส่วนที่เพิ่มจากที่ได้สำรวจและพิสูจน์ได้แล้วในปัจจุบัน (P1)

    ยังไม่ชัวร์ แต่ไม่ถึงกับมั่วนิ่ม

    ที่เรียกว่ามั่วนิ่ม ตาใส คือ การเอา P1+P2+P3 = 20 ปี แล้วก็ป่าวประกาศว่า คือ "ปริมาณปิโตรเลียมที่มีอยู่จริง"

    ลูกค้ามาสั่งกาแฟ + คนเดินผ่านไปผ่านมา + คนในซอยที่อาจดื่มหรือไม่ดื่มกาแฟ = ลูกค้าที่มีอยู่จริง

    เหมือนกับที่บอกว่าประเทศไทยเป็นเศรษฐีน้ำมันแบบซาอุดีอาระเบีย ก็มาจากการมโนแบบนี้

    ก็ดีนะ ถ้าเราจะมีปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้แล้ว 20 ปีจริง แต่จะเกิดขึ้นได้จริงต้องแปลง P2, P3 เป็น P1

    แต่ ไม่ใช่ด้วยมโน บวกโครมลงไปบนแผ่นกระดาษ หรือลมปาก แต่ด้วยการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อจะยืนยันว่าประเทศไทยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมหรือไม่

    เหมือนกับเราต้องลงทุนออกแรงดึงคนที่เราหมายตาเป็นลูกค้า แต่ผลที่สุดใครจะเป็นลูกค้าจริงก็ต่อเมื่อเขาเดินเข้ามาสั่งกาแฟจากเรา

    หยุดหลอกคนไทยด้วยกัน เพื่อให้ตกอยู่ในความประมาท ทำให้ชาติตกอยู่ในความเสี่ยงด้านพลังงาน

    เราเหลือเวลาอีกไม่มากอย่างที่คิด


    บทความของ รองปลัดกระทรวงพลังงาน นี่ ชัดเจน ไม่รู้ว่า พวก ทวงคืน ยังมโนแบบงี่เง่าอีกหรือเปล่า หรือก็ยังกระโหลกกระลาเหมือนเดิม
     
  21. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    ^
    ^
    น่าส่งสานน้องญาญ่าน่ะฮะ โดนแก๊งน้ำแข็งลากมาหวังกลบกระแส

    ปล ขอบคุณสำหรับบทความคนับ
     
  22. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    จบครับ
    ถ้าจ่ายค่าโฆษณา
     

Share This Page