ยุคนี้ดีกว่ายุค ‘บุพเพสันนิวาส’ ตั้งเยอะ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 23 Mar 2018

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    ตอนนี้ละคร ‘บุพเพสันนิวาส’ กำลังดังกระฉ่อน ผมก็ขอร่วมชื่นชมในความสามารถของผู้เกี่ยวข้องด้วยแต่ขณะเดียวกันก็มีกระแสโหยหาอดีต ผมจึงขออนุญาตมองต่างมุมสักเล็กน้อย
    ปกติเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับไทยๆ มักจะถูกมองเป็นสิ่งเชยๆ ยกเว้นเวลาเราไปต่างประเทศ เขาให้แสดงความเป็นไทย เราก็อาจงัดเอามุกรำไทยพร้อมใส่ชุดไทยมาแสดงความเป็นไทยเป็นครั้งคราว อันที่จริงเสื้อผ้าแบบไทยๆ กลายเป็นความแปลกแยกในสังคมไทยยุคใหม่ไปแล้ว คนที่จะมีโอกาสแต่งได้บ่อยมักเป็นพวกกระฎุมพีที่พอมีเงิน มีเวลาที่จะทำอวดตัวเช่นนี้ ส่วนประชาชนที่ปากกัดตีนถีบง่วนอยู่กับการทำงานหาเลี้ยงชีพคงไม่มีเวลามาโหยหาอดีตมากนัก
    หลายคนมองว่าในอดีตไทยรุ่งเรืองมาก แต่ความเป็นจริงผ่านมาสามร้อยกว่าปี ประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าเดิมมากมายนัก เพียงแต่เราอาจไม่ทันสังเกต ในเบื้องต้น ผมจึงขอยกตัวอย่างบางข้อดังนี้:
    1. เดี๋ยวนี้เรามีประเทศไทยให้หวงแหนแล้ว มีอาณาเขตแน่นอน แต่ในสมัยนั้น เป็นแค่นครรัฐ เช่น กรุงศรีอยุธยา กรุงอังวะ นครเชียงใหม่ นครเวียงจันทน์ เป็นต้น
    2. สมัยนั้น ยังค่อนข้าง ‘เถื่อน’ เจ้าครองนครไหนรบชนะก็กวาดต้อนผู้คน ปล้นชิงเมืองที่อ่อนแอกว่าอยู่เนืองๆ
    3. สมัยนั้นการรบพุ่ง ฆ่าฟันเพื่อช่วงชิงอำนาจในแต่ละนครรัฐเป็นไปอย่างน่าละอายและปรากฏอยู่บ่อยๆ ในสมัยประชาธิปไตยยังดีกว่านี้ (แต่ตอนนี้อาจไม่เป็นประชาธิปไตยชั่วคราว) และในสมัยประชาธิปไตยอาจมีฆ่ากันบ้าง แต่ไม่โหดร้ายเท่าสมัยก่อน
    4. ประชาชนถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 3-6 เดือนไปรบ ไปสร้างปราสาทราชวัง วัดวาอารามเพื่อเป็นการเสริมบารมีผู้มีอำนาจ
    5. สมัยนั้นเหยียดเชื้อชาติกันมาก สมัยนี้ก็ยังมีอยู่บ้าง แต่เบาบางลงไปมากแล้ว หรืออย่างน้อยก็ไม่แสดงออกอย่างโจ๋งครึ่ม
    6. สมัยนั้นไม่มีคำว่าสิทธิมนุษยชน พวก ‘ขี้ข้า’ ถูกเหยียดหยามลงเป็นดั่งไม่ใช่คน ทางออกของบ่าวไพร่คือต้อง ‘เลีย สถานเดียว จึงมักมีคำว่า ‘นายว่าขี้ข้าพลอย’ ‘ขุนพลอยพยัก’ แต่คนสมัยนี้ (นางเอกตามท้องเรื่อง) ยังเรียกผู้ที่ต่ำต้อยแต่อาวุโสกว่าว่า ‘พี่’
    7. การใช้ความรุนแรงในกรณีต่างๆ โดยเฉพาะต่อผู้ที่ต่ำต้อยกว่า ปรากฏอยู่ทั่วไป เช่นการ ‘ตบ’ เป็นต้น แสดงถึงความล้าหลังทางวัฒนธรรมอย่างชัดแจ้ง
    8. สตรีในสมัยนั้นถูกกดขี่ทางเพศเป็นอย่างยิ่ง กลายเป็นพลเมืองชั้นสอง เป็นยุคที่ชายเท่านั้นที่มีสิทธิ์มีเสียง โดยเฉพาะชายที่เป็นไทแก่ตัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชายที่เป็นพวกศักดินา แต่ในสมัยใหม่นี้ ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน (แต่แน่นอน คนรวยจัดๆ ยังเป็นอภิสิทธิ์ชนอยู่มาก)
    9. สภาพแวดล้อมดีขึ้น บางคนอาจบอกว่าสมัยนั้นไม่มีมลพิษ แต่อายุขัยของผู้คนสมัยนั้นเฉลี่ยอาจตายตอนอายุ 40-50 ปีเพราะโรคภัย ความอดอยากและสงคราม สมัยนี้ที่ว่าแย่ๆ นั้น อายุขัยคนไทยก็เกือบ 80 ปีเข้าไปแล้ว
    อย่าโหยหาอดีตจนเกินไป ประเทศไทยมีพัฒนาการ คลื่นลูกหลังต้องไล่ทันคลื่นลูกหน้า ประเทศชาติจึงจะเจริญครับ

    ที่มา: https://goo.gl/YbF2kY
     

Share This Page