ประเด็นมันอยู่ที่ แล้วคนที่ไม่ได้ขึ้น เงินเดือน ล่ะครับ แล้วคนที่ไม่มีรายได้ ล่ะครับ มันจะอยู่กันยังไง ในเมื่อของแพงไปแล้ว เงินที่มี ก็มีค่าน้อยลง แถมนายจ้าง ก็ไม่ง้อซะด้วยนะครับ คนที่ไม่เดือดร้อน ก็มีแต่คนเงินเดือนสูง ๆ หรือพวกที่มีเงินทองสะสม มากมายอยู่แล้ว นี่ล่ะ ทฤษฎีสองสูง ฝั่งหนึ่ง คือผู้ผลิต ตั้งราคาไว้สูง อีกฝั่งหนึ่ง คือ คนที่จำทนกับของแพง ทั้งที่รายได้ไม่เพิ่ม เท้ามันจะอยู่สูง (เพราะเอาขึ้นไปก่ายหน้าผาก)
กลัวเขาตามทัน... http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000037089 แรงงานกระอัก! ค่าครองชีพปี 58 พุ่ง ชงปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 360 บาท คสรท. เผยผลสำรวจค่าครองชีพแรงงานปี 58 ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเกือบเท่าตัวจากปี 56 เสนอให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวัน 360 บาท สร้างกลไกขึ้นเงินเดือนหลังทำงานครบ 1 ปี วันนี้ (31 มี.ค.) น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า จากผลสำรวจค่าครองชีพในปี 2558 จากกลุ่มตัวอย่าง 12 จังหวัด เช่น กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สระบุรี นนทบุรี โดยเปรียบเทียบค่าครองชีพในปี 2556 กับปี 2558 พบว่า ปี 2558 แรงงานต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเกือบเท่าตัว เช่น ค่าไฟจากเดิมแค่ 20 บาทต่อวัน แต่ตอนนี้เพิ่มมาเป็น 40 บาทต่อวัน ค่าโทรศัพท์เดิม 18 บาทต่อวัน มาเป็น 30 บาทต่อวัน ค่าของใช้ในครัวเรือน เช่น สบู่ ยาสีฟัน จากเดิม 23 บาท ขณะนี้เพิ่มเป็น 28 บาท ทำให้แรงงานต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อเพิ่มชั่วโมงทำโอที โดยเฉลี่ยแล้วแรงงานจะต้องมีรายได้ขั้นต่ำถึงวันละ 360 บาท จึงจะเพียงพอกับค่าครองชีพ ทั้งนี้ จากผลสำรวจค่าครองชีพดังกล่าว คสรท. ขอเสนอให้ยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด แล้วจัดทำโครงสร้างค่าจ้างให้ชัดเจน และสร้างกลไกในการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานที่ทำงานเกินหนึ่งปี ให้มีการปรับค่าจ้าง ว่าแต่... ไอ้ค่าไฟ กับค่าโทรศัพท์นี่มันสูงขึ้นเพราะมันขึ้นราคา หรือเพราะใช้เยอะขึ้นเองกันแน่นะ
แรงงานจะขอขึ้นค่าแรง พอสินค้าแพงตามค่าแรง แรงงานก็ขอขึ้นค่าแรงอีก เมื่อไหร่ที่สินค้าไทย ราคาแพง จนต่างชาติไม่ซื้อ ต้องลดแรงงาน ตอนนั้นคงได้รู้สึกกันล่ะ ว่าค่าแรงให้เท่าไหร่ก็เอา