หลังจาก สนช มีมติถอดถอน" ยิ่งลักษณ์ วีรสตรีประชาธิปไตย" ออกจากตำแหน่งด้วยคะแนนท่วมท้น ทางฝั่งขี้ข้าเพื่อไทยก็ได้เดินเกมส์ดาหน้ากันออกมาให้สัมภาษณ์สื่อ หรืออาจจะให้สื่อขี้ข้าเป็นปากเสียง วันนี้นายแดเนียล รัสเซล ผู้แทนรัฐบาลสหรัฐประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และพวกขี้ข้าก็ออกมาปล่อยข่าวว่าการมาเยือนของนายรัสเซลครั้งนี้เพื่อ นำสาสน์จากโอบามาถึงรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติถอนถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง ให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี แต่อย่างใด จากเวบไซต์อย่างเป็นทางการของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ นายรัสเซลจะเดินทางไปเยือนสี่ประเทศ โดยระบุจุดประสงค์ที่แน่นอน ซึ่งสื่อที่เสนอข่าวการเยือนครั้งนี้พูดถึงแต่ชื่อประเทศไทย สื่อเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงสามประเทศที่เหลือ เหมือนต้องการย้ำว่าเจตนามาประเทศไทย มันแปลกมั้ย
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1422248448 "ยิ่งลักษณ์"พบผู้แทนรบ.สหรัฐฯ บิ๊กตู่ ชี้ เป็นสิทธิ แจงไม่มาพบ เพราะรู้ที่มาของตน เวลา 08.30 น. วันที่ 26 ม.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล สุรนันทน์ เวชชาชีวะ เดินทางเข้าพบ นายแดเนียล รัสเซล ผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่บ้านพักเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ โดยใช้เวลา 30 นาที เพื่อสอบถามถึงสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ซึ่งล่าสุดมีการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในคดีรับจำนำข้าว จากนั้นนายแดเนียล เดินทางไปพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่พรรคประชาธิปัตย์ ก่อนไปพบ พล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ต่างประเทศ ที่กระทรวงต่างประเทศ ด้านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ระบุถึงการหารือครั้งนี้ว่า เหตุผลที่คณะทูตไม่ได้มาพบตน เนื่องจากรู้ว่าตนมาอย่างไร ซึ่งจะต้องแยกระหว่างการค้ากับกฎอัยการศึก แยกการค้าเศรษฐกิจ ประเทศที่ต่อต้านไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็ยังมีการติดต่อค้าขายตามปกติ ส่วนการพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวันนี้ ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล ไม่ได้ไปห้ามปราม
จะเห็นว่ากระทรวงการต่างประเทศอเมริกา ออกข่าวกำหนดการการเยือนไทยและอีกสามประเทศของนายรัสเซล ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม แต่ประชาไทมันบอกว่าอ้างแหล่งข่าวจากต่างประเทศ(ประเทศไหนฟะ) โอบามาสั่งให้มา
ผมว่า โอบาม่า มันก็ให้มาจริงๆ แหละครับ เรื่องเสือกประเทศอื่นก็ชอบ เรื่องหอยก็ชอบ ชีส่งซิกทางสายตาขนาดนั้น สำหรับอเมริกาเรื่องโกงกิน คอรัปชั่น ประเทศนี้ไม่สนใจอยู่แล้วครับ ผลประโยชน์ประเทศมันเท่านั้นที่มันต้องการ ไม่งั้น มากอส คงลี้ภัยไปประเทศมัน อยู่จนตายไม่ได้หรอกครับ
ผมก็เชื่อนะว่า มาม่าสั่งให้มา เพราะกำหนดการต่างๆมันไม่น่าจะบังเอิญมาหลังการถอดถอน อย่างว่าเเหละใคร ประเทศไหน มีผลประโยชน์กับอเมริกา ก็จะเป็นเเบบนี้ ไม่สนใจดีชั่ว สนใจเเต่ผลประโยชน์ตัวเองเท่านั้น เพราะจะมีประเทศไหนในอาเซี่ยนยอมตั้งฐานทัพในประเทศได้มีเพี่ยงเเค่ไทยเหมาะสมที่สุดเเล้ว ผมอยากให้ทางการจีนมาเยี่ยม พลเอก เปรม หรือ มาพบกับท่านประยุทธ จริงๆ
กำหนดการการเยือนไทยและอีกสามประเทศของนายรัสเซล กระทรวงการต่างประเทศแจกจ่ายให้สื่อตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม แล้วครับ การมาเยือนระดับนี้ไม่ใช่อยากจะให้มาก็มา ต้องวางแผนกันเป็นเดือนนะผมว่า ในเวลาเดียวกันกับนายรัสเซลเยือนไทย ก็ยังมีผู้แทนรัฐบาลสหรัฐประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกท่านอื่นออกเดินทางไปเวียตนาม กับ พม่า อีกครับ ไม่ใช่เจาะจงมาไทยเพื่อเรื่องอีปูโดยเฉพาะอย่างที่เป็นข่าว
พอจะมีภาพให้ชื่นใจมั้ยครับ เพราะเห็นแต่ข่าวจากไทยรัฐ "...นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการเดินทางมาประเทศไทยของผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ว่า มาเพื่อเจรจาทางธุรกิจรวมถึงใช้โอกาสเข้าพบกับคนสำคัญ ทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส่วนที่ไม่เข้าพบตัวเองนั้น สหรัฐฯ เขาแยกแยะ เพราะรัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง"
เกลียดเมกา ชอบสาระแนเรื่องชาวบ้าน คิดว่าตัวเองเป็นจ้าวโลกหรือไง ถ้าไม่ใช่เพราะมัน ทั่วโลกก็ไม่ปั่นป่วนรุนแรงขนาดนี้. แต่ที่เกลียดที่สุดคือคนขายชาติ. ทําร้ายทําลายประเทศที่ให้กําเนิดมันมาแท้ๆ มันน่าจับไปขังลืมเจ็ดชั่วโคตรจริงเชียว. แว้กส์ เค้าให้ปรองดองกันนี่นา แต่เห็นแค่รูปอิโง่ก็ปรี๊ดทุ้กที ขออภัยค่ะ ว่าจะเลิกด่ามันแล้วนะเนี่ยTT_TT
ตอนเป็นนางโย๊ะยังไม่ปราศรัยด่าประเทศตัวเองให้จีนฟังมาแล้ว ตอนนี้แจ้นไปฟ้องเมกาว่าโดนแกล้งอีก ตอแหลไม่เลิก
ราดดำนาเขาเฮฮากันใหญ่ครับ... งามไส้ ไหมหละ .. อิอิ http://pantip.com/topic/33156319 สหรัฐฯ ส่งผู้แทนระดับสูง เข้าพบหารือ "ยิ่งลักษณ์" http://pantip.com/topic/33155897
กะลังจะเอามาแปะอยู่พอดี แถกันเลือดซิบๆ ปล จับได้คาหนังคาเขา ทีนี้ผมรู้แหละใครที่ทำให้ผมถูกฝั่งโน้นประจานว่า Redbuff จากสภากาแฟยานๆ
..อยากรู้แล้วหละ ว่าเค้าคุย เค้าปรึกษาเรื่องอะไรกันบ้าง ... จะหาว่า เราสอดรู้สอดเห็นก็ยอม... ......... ยิ่งลักษณ์ สุรพงษ์ สุรนันทน์ .... จะไปคุยกับเค้าเรื่องอะไร? ... ... แล้ว เค้าไปคุยกับ อภิสิทธิ์ เรื่องอะไรบ้าง?... . เพื่อนๆสมาชิกใครมีข้อมูล ช่วยเล่าแจ้งแถลงไขด้วยครับ .. ขอบคุณครับ
คนอื่นไม่แน่ใจ แต่สุรพงษ์ มันจะฟังภาษาที่เขาพูดรู้เรื่องรึไง เห็นนั่งเสนอหน้าอยู่ด้วย หรือไปนั่งเพื่อเป็นจานสะท้อนแสง
แล้วไอ้นกตะกรุมเข้าไปทำไมอ่ะ มันฟังเค้ารู้เรื่องเหรอ เดี๋ยวเกิดเค้าไปสร้างภาพหน้าตาคนไทยเหมือนมันหมด ผมก็ซวยไปด้วยอพดิ
เล่นผิดกติกา เล่นโกง โดนกรรมการลงโทษ ตรูไม่ยอม.....ไปฟ้อง "พ่องUSA" ดีก่า http://breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=749176
โอ้ ถ้าเป็นอย่างนั้นละก็ เดึ๋ยวโลต๊าสต้องขอเข้าพบแน่ ท่านมาอย่างถูกต้องชอบธรรม ไปไหนก็มีแต่คนต้อนรับ กล้าสู้หน้าฟ้าดินอย่างไม่ต้องอายใคร ไปไหนก็ไม่ต้องก้มหน้าเหมือนคนที่มาอย่างไม่ถูกต้อง
ไม่รู้ว่าใครมีศักดิ์ศรีมากกว่ากันนะ อดีตผู้นำฝ่ายค้าน กับ รมต. ที่มาจากรัฐประหาร นั่ง (กระดิกเท้า-ผมเดาเอง) รอให้ ตัวแทนรัฐบาลไอ้กันเข้าพบ ส่วนนังโง่ อดีตนายกฯ ยิ๋งขี้เท่อ กับ ไอ้กัปปะ แจ้นไปเสนอหน้าขอพบเค้าเอง สงสัยอยากถามข่าวคราวไอ้มืดบาม่าด้วยความคิดถึงงงงง ตอนคุยสงสัยเค้าคงรำคาญนังโง่อ่านโพยแย่เลย
แดเนียล รัสเซล ย้ำไม่มีสวิตซ์เปิดปิดประชาธิปไตยในขั้นตอนเดียว Mon, 2015-01-26 20:10 ผู้ช่วย รมว.ต่างประเทศ สหรัฐ ปาฐกถาที่จุฬาฯ ย้ำความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ 182 ปี ยืนยันไม่เข้าข้างฝ่ายใด แต่ห่วงการปลดผู้นำจากการเลือกตั้งด้วยรัฐประหาร-ถูกกล่าวหาทางอาญา ประชาคมโลกจะรู้สึกว่าเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง พร้อมเสนอให้ยกเลิกกฎอัยการศึก-เลิกจำกัดเสรีภาพ เชื่อว่าการปฏิรูปที่ครอบคลุมจากทุกภาคส่วนจะนำมาซึ่งประชาธิปไตยที่สะท้อน-ตอบสนองเจตนารมณ์ประชาชนไทย 26 ม.ค. 2557 - ในช่วงการเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 25-26 ม.ค. ของแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ในช่วงบ่ายวันนี้ (26 ม.ค.) รัสเซลมีกำหนดปาฐกถาที่สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร โดยมีนิสิตนักศึกษาโครงการ YSEALI ร่วมฟังปาฐกถาด้วย โดยตอนหนึ่ง รัสเซล กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ที่มียาวนานกว่า 182 ปี และระบุว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยมีขอบเขตกว้างไกลกว่าจำนวนปีที่เราทั้งสองเป็นพันธมิตรกันมา หรือ แม้กระทั่งผลประโยชน์และเจตจำนงที่เรามีร่วมกัน มิตรภาพของเราซึ่งมีจุดเริ่มต้นนานมาแล้วได้รับการกระชับไมตรีอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา อาทิ ด้วยการที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงพำนักในสหรัฐอเมริกาเพื่อ ศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชสมภพในรัฐแมสซาชูเซตส์ และด้วยการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีส่วนในการเกื้อหนุนวัฒนธรรมอเมริกัน" "มิตรภาพที่กว้างไกลและยั่งยืนของเราได้รับการกระชับสัมพันธ์ด้วยนักเรียนไทยหลายพันคนที่เดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐฯ ทุกปีและชาวอเมริกันที่เข้ามาศึกษาและท่องเที่ยวในไทย เป็นเวลากว่าสองศตวรรษที่ชาวอเมริกันได้ อาศัยอยู่ในไทยและมีส่วนเกื้อหนุนสังคมไทยในด้านต่างๆ มากมาย เช่นเดียวกับที่ชาวไทยได้มีส่วนในสังคมอเมริกัน" "ประเทศเราทั้งสองได้ยืนหยัดเคียงคู่กันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เราเป็นพันธมิตรที่สนับสนุนอุดมการณ์ประชาธิปไตยในช่วงความขัดแย้งในคาบสมุทรอินโดจีน เราได้ต่อสู้กับการแพร่ขยายของการก่อการร้ายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และเราเป็นประเทศคู่ความร่วมมือที่นำเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่คนไทยและ ภูมิภาคนี้" รัสเซลกล่าวด้วยว่าไทยและสหรัฐอเมริกา มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่ยาวนาน ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่ใหญ่อันดับสามของสหัฐ บริษัทอเมริกันจำนวนมากก็มาลงทุนในประเทศไทย ทำให้เกิดการจ้างงานหลายหมื่นตำแหน่ง และนำมาสู่เทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศไทย ไม่ใช่แค่ปริมาณ แต่ยังมีคุณภาพด้วย การดำเนินธุรกิจกับอเมริกาได้เพิ่มศักยภาพและทักษะสำหรับแรงงานไทย ซึ่งเป็นการช่วยประเทศไทยก้าวข้าม "กับดักประเทศรายได้ปานกลาง" และพัฒนาชีวิตของประชาชนทั่วไปให้ดีขึ้น ตอนหนึ่ง รัสเซล กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยว่า "น่าเสียดายว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยต้องเผชิญกับอุปสรรคและยังได้รับผลกระทบจากรัฐประหารโดยกองทัพเมื่อแปดเดือนก่อน ซึ่งได้ปลดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตย" "เมื่อเช้านี้ ผมได้พูดคุยกับอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศธนะศักดิ์ ผมหารือกับทั้งสามท่านเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน ทุกฝ่ายกล่าวถึงความสำคัญของการปรองดองและการดำเนินการสู่อนาคตที่เป็นประชาธิปไตยของประเทศไทย" "ผมเข้าใจดีว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง จึงขอยกประเด็นนี้ขึ้นมาด้วยความนอบน้อมและความเคารพต่อประชาชนชาวไทย สหรัฐฯ ไม่เข้าข้างฝ่ายใดในการเมืองไทย เราเชื่อว่า ประชาชนชาวไทยคือผู้กำหนดความชอบธรรมของกระบวนการทางการเมืองและกระบวนการทางทางกฎหมายของตน ทว่า สหรัฐฯ ยังคงกังวลเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่รัฐประหาร อันรวมถึงข้อจำกัดด้านการพูดและการชุมนุม" รัสเซล กล่าวด้วยว่า สหรัฐฯ ยังมีความกังวลเป็นพิเศษในประเด็นที่ว่า กระบวนการทางการเมืองนี้ไม่ได้เป็นตัวแทนทุกภาคส่วนของสังคมไทย "ผมขอย้ำอีกครั้งว่า สหรัฐฯ ไม่ได้กำลังบงการเส้นทางการเมืองที่ไทยควรดำเนินตามเพื่อกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยหรือกำลังเลือกข้างในการเมืองไทย แต่กระบวนการที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนนั้นจะส่งเสริมการปรองดองทางการเมือง ซึ่งสำคัญต่อความมั่นคงในระยะยาว กระบวนการในวงแคบที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนั้นเสี่ยงต่อการปล่อยให้คนไทยจำนวนมากรู้สึกถูกกีดกันจากระบบการเมือง" "นี่คือเหตุผลที่สหรัฐฯ ยังคงมุ่งสนับสนุนกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมในวงกว้างกว่า ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้รู้สึกว่า กระบวนการดังกล่าวเป็นตัวแทนของตนด้วย" "นอกจากนี้ มุมมองความเข้าใจเรื่องความเป็นธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญ ผมขอกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า เมื่อผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนโดยผู้มีอำนาจที่ก่อรัฐประหาร และตกเป็นเป้าด้วยข้อหาอาญาในขณะที่กระบวนการและสถาบันพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง ประชาคมโลกจึงเกิดความรู้สึกว่า ขั้นตอนเหล่านี้อาจเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง" "นี่คือเหตุผลที่สหรัฐฯ หวังว่าจะได้เห็นกระบวนการที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนไทยต่อรัฐบาลและสถาบันตุลาการของตน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นต่อนานาประเทศว่า ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและทุกฝ่ายมีส่วนร่วมด้วย" "การยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วประเทศและยกเลิกข้อจำกัดเสรีภาพในการพูดและการชุมนุมคือก้าวสำคัญอันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนอย่างแท้จริงซึ่งจะสะท้อนความหลากหลายของความคิดเห็นภายในประเทศ สหรัฐฯ หวังว่า ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้จะนำมาซึ่งสถาบันที่มั่นคงและเป็นประชาธิปไตยที่สะท้อนและตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทย" ในตอนท้าย รัสเซล กล่าวว่า "สารที่ผมได้สื่อถึงบุคคลที่ผมเข้าพบในวันนี้ ถึงทุกท่าน และถึงประชาชนชาวไทยทุกคนนั้นเป็นสารเดียวกัน นั่นคือ ประเทศไทยเป็นเพื่อนและพันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ เรามีประวัติศาสตร์ความร่วมมือกันมายาวนานในหลากหลายประเด็น ที่ไม่เพียงสำคัญกับทั้งสองประเทศเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อภูมิภาคนี้ตลอดจนอีกฟากหนึ่งของโลก สหรัฐฯ มีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อสายสัมพันธ์นี้ รวมทั้งต่อมิตรภาพระหว่างเรากับประชาชนทุกคนของประเทศอันแสนวิเศษนี้ สหรัฐฯ มีความห่วงใยอย่างยิ่งเกี่ยวกับโอกาสที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของประเทศไทย ขอให้ทุกท่านประสบแต่สิ่งดีงามครับ" ทั้งนี้เว็บไซต์สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เผยแพร่บทปาฐกถาของรัสเซลด้วย (อ่านเพิ่มเติม) ในช่วงตอบคำถาม แดเนียล รัสเซล กล่าวว่า "ผมมาประเทศไทยในฐานะตัวแทนของรัฐบาล เพื่อมาฟังผู้นำทางการเมือง และภาคประชาชน เพื่อที่จะพูดถึงมุมมองของเรา และความหวังของเราต่อประเทศไทย ฉันได้พูดกับ รมว.ต่างประเทศ และผู้นำทางการเมือง สหรัฐอเมริกามีความสนใจอย่างมากต่อประเทศไทย ประเทศไทยมีความสำคัญมากต่อการเติบโตของภูมิภาค เราเชื่อว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง และการจำกัด สิทธิสากลอย่างเช่น เสรีภาพในการแสดงความเห็น และเสรีภาพในการชุมนุม จะไม่นำไปสู่ความมั่นคงในระยะยาว เราเชื่อว่า การเริ่มยกเลิกกฎอัยการศึก เพื่อเปิดให้มีการแสดงความเห็นอย่างสงบ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และมีความไว้วางใจในสถาบันการเมืองและตุลาการ" "มันไม่มีสวิตซ์เปิดปิดสำหรับประชาธิปไตย ในขั้นตอนเดียว ประชาธิปไตยคือการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในการตัดสินใจและออกแบบอนาคตของประเทศของพวกเขาเอง มันเป็นงานยาก แต่พวกเราก็พยายามเสมอมาเพื่อที่จะทำให้ระบบนี้ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีระบบไหนดีสมบูรณ์ แม้แต่ระบบที่เรามีอยู่ในสหรัฐฯ การผลักดันให้เกิดความยุติธรรม ความโปร่งใส ความเท่าเทียม มันไม่ได้มาจากหนังสือเรียน มันมาจากหัวใจของผู้คน และความยึดมั่นว่า พวกเขาสามารถมีระบบที่ดีขึ้นสำหรับครอบครัวและลูกหลานของพวกเขา ผมเองเชื่อว่า การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและประชาธิปไตยนั้นต้องทำอย่างต่อเนื่อง หยุดไม่ได้ มันมีอุปสรรคและการถอยหลัง" ที่มา http://www.prachatai.com/journal/2015/01/57600
ว่ากันอย่างเป็นธรรม ถ้าพูดเต็ม ๆ แบบนี้ก็พอฟังได้ ถึงมันจะเป็นภาษาฑูตที่ฟังออกได้ง่ายว่าความจริงต้องการจะสั่งก็เถอะ แต่ก็นับได้ว่ามีพัฒนาการในการแสดงออกในมุมมองต่อการเมืองไทยที่ถูกต้องขึ้นมาบ้าง ไม่ใช่เห็นพวกเสื้อแดงเป็นประชาชน แต่พวกที่ไม่เอาทักษิณเป็นสลิ่มอำมาตย์ แล้วก็น่าวิเคราะห์ว่านี่จะเกิดจากปฏิกิริยาต่อสหรัฐของพวกเราในโซเชียลมีเดียด้วยหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ คือความสัมพันธ์ไทยจีน กับเรื่องรัสเซีย ก็มีส่วนอยู่ เพราะยามนี้สหรัฐต้องการพันธมิตรแล้วก็น่าจะเข้าใจแล้วว่าไทยอย่างไรก็ไม่มีทางเป็นประเทศลิ่วล้อของสหรัฐไปได้
จากสองรูปนี้ คิดว่าอันไหน น่าจะเป็นการพูดคุยหารือการงานแบบเท่าเทียมกัน อันไหนดูเป็นการเข้ารายงาน(ฟ้อง)ของลูกกระจ๊อก
สำหรับผม ใช่ครับเป็นภาษาการทูต ใน 2 กรณีที่คล้าย ๆ กัน ไทยกับยูเครน การแสดงออกของสหรัฐต่อ กลุ่มผู้ชุมนุมต่างกัน เป็นเพราะผลประโยชน์ของประเทศตัวเอง การที่เร่งรัดให้ปลดเงื่อนกฏอัยการศึก เพื่อให้การเคลื่อนไหวใต้ดินได้สดวกขึ้นหรือเปล่า ดีที่ประยุทธ์ถามตรง ๆ เลยต้องหาคำตอบ ท่าทีนี้ผมมองว่าสหรัฐเองก็ยังเลือกไม่ถูกระหว่างกลุ่มอำนาจเดิมกับกลุ่มอำนาจปัจจุบัน การเดินเกมส์ที่แรงไปก็จะเสียมากกว่าได้ อีกทั้งแถบนี้จีนเองก็มีเอี่ยว กลุ่มเชฟร่อนก็ลุ้นกับสัมปทานรอบใหม่ การที่ไทยวางตัวให้ ปลอดจากอิทธิพลกดดันแบบนี้จะเหมาะกว่า ยิ่งในสถานการณ์ประเทศยักษ์ใหญ่มองไทยเป็นเค๊กก้อนโตที่จะมีนัยยะต่อประชาคม อาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้
ใครมองเกาหลีเหนือเหรอครับ บอกหน่อย ขอหลักฐานด้วย ถึงจะไม่มองไอ้กันเป็นมิตรก็เถอะ ช่วงหลังไอ้กันไม่เคยชนะศึกเลยนะ อย่าลืม ที่ชนะก็ไม่เด็ดขาด โง่เป็นควายแบบนี้ถึงได้โดนเขาหลอก
เอามาแปะปลากรอบฮะ กรุงเทพโพลล์ ชี้ ปชช. เชื่อถอดถอน "ปู" ไม่กระทบปรองดอง เหตุเป็นเรื่องคอร์รัปชั่น โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 มกราคม 2558 09:29 น. กรุงเทพโพลล์ สำรวจพบประชาชนส่วนใหญ่เชื่อถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" ไม่ส่งผลกระทบต่อความปรองดอง เพราะเป็นเรื่องคอร์รัปชั่น เหตุปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต คาด พท.ยังใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงเหมือมเดิน โดยส่วนใหญ่พร้อมหนุนพรรคที่ชูโครงการจำนำข้าว แต่ต้องไม่มีการคอร์รัปชั่น กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “อนาคตพรรคเพื่อไทย อนาคตประชานิยม หลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกถอดถอน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 959 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 45.7 มีความเห็นว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ถูกถอดถอนมากที่สุด คือ การปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว รองลงมาร้อยละ 24.5 คิดว่าเป็นเกมการเมืองของฝ่ายตรงข้าม และร้อยละ 15.8 คิดว่าเกิดจากดำเนินโครงการขาดทุน ทำให้ประเทศเป็นหนี้ ที่เหลือร้อยละ 14.0 ไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยพบว่า ร้อยละ 41.0 คิดว่าสาเหตุหลักมาจากเกมการเมืองของฝ่ายตรงข้าม ขณะที่ผู้ที่ไม่ได้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยร้อยละ 62.9 คิดว่าสาเหตุหลักมาจากการปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 57.6 คิดว่าหากมีการเลือกตั้งสมัยหน้าพรรคเพื่อไทยจะยังคงใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงเหมือนเดิม และร้อยละ 30.5 คิดว่าพรรคเพื่อไทยคงจะลดการใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงลง ที่เหลือร้อยละ 11.9 ไม่แน่ใจ ส่วนการเลือกตั้งสมัยหน้าจะสนับสนุนพรรคการเมืองที่ใช้นโยบายประชานิยมอย่างโครงการรับจำนำข้าวในการหาเสียงหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 44.6 ระบุว่าจะยังสนับสนุนแต่ต้องไม่มีเรื่องทุจริต รองลงมาร้อยละ 21.1 จะไม่สนับสนุนเด็ดขาด และร้อยละ 17.6 ระบุว่าไม่สนับสนุน เพราะโอกาสขาดทุนสูง/ประเทศเป็นหนี้ มีเพียงร้อยละ 10.1 เท่านั้นที่จะสนับสนุนเหมือนเดิม สำหรับบุคคลที่อยากให้เป็นตัวแทนพรรคเพื่อไทยในการชิงตำแหน่งนายกฯ ในการเลือกตั้งสมัยหน้า ประชาชนร้อยละ 39.7 ระบุว่าให้ ใครก็ได้ที่ส่งในนามพรรคเพื่อไทยเพราะเชื่อมั่นในพรรคเพื่อไทย รองลงมาร้อยละ12.6 อยากให้เป็นนักการเมืองคนอื่นๆ ในพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 5.0 อยากให้เป็นคนในครอบครัว/คนในตระกูลชินวัตร ขณะที่ร้อยละ 38.3 ระบุว่าไม่ได้เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ด้าน ความเห็นต่อการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในครั้งนี้ว่าจะส่งผลต่อแผนการสร้างความปรองดองของ คสช. และรัฐบาล อย่างไร ประชาชนร้อยละ 46.5 ระบุว่าไม่ส่งผลเพราะการถอดถอนไม่เกี่ยวกับเรื่องการปรองดอง แต่เป็นเพราะการคอร์รัปชั่น รองลงมาร้อยละ 26.0 ระบุว่าอาจจะส่งผลบ้าง และร้อยละ 19.0 ระบุว่าส่งผลอย่างมากโดยคาดว่าความปรองดองจะเกิดขึ้นช้าไปอีก ที่เหลือร้อยละ 8.5 ไม่แน่ใจ ที่มา http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000010700
ไม่มีใครเค้าสนใจครับว่าจะพูดคุยกันเป็นทางการหรือไม่ เค้าสนใจแค่ว่า "ปู"เข้าพบอย่างมีศักดิ์ศรี น้ำ ขนม นมเนยต้อนรับเต็มโต๊ะ แต่อภิสิทธิ์ บนโต๊ะมีแต่ความว่างเปล่า
ใครปกครองประเทศ ปล่อยให้ข้าศึกเข้าบ้านอย่างสง่าผ่าเผย แถมปล่อยให้เข้าพบ ขุนนางฝ่ายต่างประเทศด้วย ไอ้พวกสลิ่มสาปคลั่งชาติ ต้องขับไล่ผู้ปกครองตัวนี้ออกไปเสียแล้ว มวลมะหมาประชาทุย ปรี๊ดๆๆๆๆๆ ยอมพลีเพื่อชาติจ้า 5555555