กระทรวงการคลัง ปรับลดอัตราภาษีลงครึ่งหนึ่ง จากของเดิมที่เคยเสนอ ครม.พิจารณา พร้อมกับยกเว้นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าตามราคาประเมินไม่เกิน 1 ล้านบาท สำหรับอัตราใหม่จะกำหนด คือ -ที่ดินเพื่อการเกษตร มีเพดานสูงสุดอยู่ที่ 0.25 % จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ที่ 0.5% -ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย อัตราสูงสุดไม่เกิน 0.5% จากเดิมอยู่ที่ 1% -ที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์ อัตราสูงสุดไม่เกิน 2% จากเดิมเก็บสูงสุดไม่เกิน 4% -ส่วนที่ดินว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะจัดเก็บในอัตรา 0.5% และจะปรับเพิ่มเท่าตัวในทุก ๆ 3 ปี จากเดิมจัดเก็บสูงสุดที่ 4% โดยประชาชนที่มีมีบ้านและที่ดินมูลค่าไม่เกิน 1,000,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ราคาบ้านและที่ดินที่มีราคาเกินกว่า 1,000,000 บาทขึ้นไป จะอยู่ในข่ายของการเสียภาษีโดยบ้านและที่ดินที่มีมูลค่าตามราคาประเมิน หลังหักค่าเสื่อมมากกว่า 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท จะเสียภาษีในอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราที่ประกาศ คือ 0.25% หรือคิดเป็นภาษีที่ต้องจ่าย 2,500 - 7,500 บาท/ปี ส่วนบ้านและที่ดินที่มีมูลค่าเกินกว่า 3,000,000 บาท จ่ายเต็มตามอัตราที่ประกาศ คือ 0.5% หรือ คิดเป็นเงินภาษีที่ต้องจ่าย 15,000 บาท/ปี
งานงอก แต่คงเป็นความพยายามลดช่องว่าระหว่างฐานะ แต่น่าจะเพิ่มวงเงินหน่อย เดี๋ยวนี้บ้าน3ล้านยังผ่อนอวกอยู่เลย ผมว่าจะให้ดีเก็บเฉพาะ พวกที่มีที่ดินเกิน10ล้านดีกว่า กลุ่มนี้ส่วนมากไม่เดือดร้อน
1-3ล้าน น่าจะเก็บที่ 0.1% 3-5ล้าน 0.25% 5ล้านขึ้นไป 0.5% น่าจะเหมาสมกว่า คนกรุงเทพฯที่อาศัยบ้านและที่ดินของพ่อแม่ที่ิทิ้งไว้ให้ บางคนก็ไม่ได้ร่ำรวย แต่ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ มันขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าเก็บภาษีหนักๆ ก็เท่ากับบีบให้เขาต้องขายบ้านและที่ดิน แล้วไปหลบอยู่ตามคอนโดฯ
ตัวบ้านมันยังต่างกัน กับวัสดุก่อสร้างเลย ผนังก่ออิฐมอญชั้นเดียวกับสองชั้นทั้งค่าแรงค่าวัสดุยังต่างกันเกีอบเท่าตัว จะประเมินอย่างไง...
ปีนี้ใช้ของเดิมไปก่อน ปีหน้าค่อยว่ากันอีกที ********************************************************** สำหรับเหตุผลของการนำฐานราคาปานกลางที่ดินเฉลี่ยของปี 2521-2524 มาใช้ในปีนี้อีก เนื่องจากต้องรอการปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมินราคาที่ดินและอัตราภาษีบำรุงท้องที่ใหม่ ที่ยังไม่เสร็จแล้ว และ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนด้วย ทั้งนี้การคิดอัตราภาษีบำรุงท้องที่ในปัจจุบัน แบ่งอัตราภาษีตามชั้นราคาปานกลางของที่ดินเป็น 34 ชั้น โดยราคาปานกลางของที่ดิน ไม่เกินไร่ละ 200 บาท คิดอัตราภาษีไร่ละ 50 สตางค์ ส่วนสูงสุดไร่ละไม่เกิน 30,000 บาท คิดอัตราภาษีแรก ไร่ละ 70 บาท แต่ถ้าหากเกิน 30,000 บาท ทุกๆ 10,000 บาท คิดอัตราภาษี 25 บาท ซึ่งปัญหาของการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในปัจจุบันที่เก็บได้น้อยกว่าความเป็นจริงทั้งที่ที่ดินมีมูลค่าสูงนั้น เป็นที่มาของการผลักดันแนวความคิดของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาแทนที่ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือน โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตัวใหม่ จะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกแปลง โดยจะใช้ฐานราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ที่ตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินกำหนดโครงสร้างภาษีใน 3 อัตรา คือ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ เก็บในอัตราไม่เกิน 0.5% ของราคาประเมินที่ดิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย จะเก็บในอัตรา 0.1% และ ที่ดินเพื่อการเกษตร เก็บในอัตราไม่เกิน 0.05%
เฉพาะราคาที่ดิน ถ้าติดถนนสายหลักในกรุงเทพขี้หมูขี้หมาตอนนี้ก็ตารางวาละเกินแสนนึงแน่ๆ ที่กระจึ๋งเดียว 60 ตร.ว. ก็ทะลุหกล้านไปแล้ว จ่ายกันบานเลยครับทีนี้ บางคนไม่ได้ร่ำรวย แต่เขามีบ้านมีที่ดั้งเดิมอยู่ในกรุงเทพแบบนี้ ถ้าคิดฐานภาษีแบบใหม่นี่คงลำบากขึ้นพอสมควรเลย ทีบ้านผมตอนนี้จะทุละสองแสนต่อ ตร.ว. แล้ว T_T
ผมไม่เห็นด้วยนะ ที่จะเก็บภาษีบ้านถ้าเกินราคา 1 ล้าน คนจนๆ อีกหลายครอบครัว เขาเดือดร้อนแน่ พวกที่ออกกฎหมายนี้ คงอยู่บนหอคอยงาช้าง เลยไม่เคยเห็นบ้านหนึ่งหลัง มีหลายครอบครัวกระจุกอยู่ในนั้น
บ้านหลังแรกควรยกเว้น ขนาดที่ดินสำหรับอยู่อาศัยควร 100 ตรวา เก็บที่ดินรกร้างให้เยอะ ผมรู้สึกว่า มันเป๋ไปจากหลักการเยอะ
ภาษีที่ดินผมเห็นด้วยถ้าจะเอามาแก้ปัญหาพวกซื้อที่ดินสะสมไว้เยอะๆเพื่อเก็งกำไรโดยปล่อยให้เป็นที่ดินเปล่าไม่ทำประโยชน์อะไร ที่ดินที่ทำการเกษตรก็อาจจะมีขั้นต่ำระดับที่ช่วยเกษตรกรที่เป็นชาวบ้านปกติด้วย แต่ถ้าจะเก็บภาษีพวกที่อยู่อาศัยควรจะคิดให้ดีกว่านี้นะครับ ยังไงบ้านหลังที่อยู่อาศัยหลักก็ควรจะไม่เก็บเลยหรือถ้าเก็บก็ตั้งขั้นต่ำให้มันสูงๆหน่อย และอย่างน้อยก็ต้องดูราคาที่ดินในปัจจุบันด้วย เดี๋ยวนี้อย่าว่าแต่ กทม. เลย ต่างจังหวัดถ้าอยุ่ในเขตตัวเมืองหรืออำเภอใหญ่ๆก็ถือว่าราคาสูงกว่าสมัยก่อนมาก ขนาดที่ดินในตัวเมืองนราธิวาสยังไร่ละหลายล้าน ถ้าต้องเอามาเงินมาจ่ายภาษีนี้ผมว่าได้ลุกฮือกันทั้งประเทศแหละ ถ้าเป็นสมัยโบราณไอ้คนคิดเรื่องโง่ๆแบบนี้คงโดนเอาไปตัดหัวเรียบร้อยไปแล้ว
ประเทศไทยชอบเลียนแบบต่างชาติ แต่ไม่เคยศึกษาผลเสียของกฎหมายของเขา ผมเห็นฝรั่งบางคน มีบ้าน แต่ไม่มีเงินจ่ายภาษี จนต้องขายบ้านตัวเอง เพื่อมาจ่ายภาษี มันเจ็บปวดครับ ที่เห็นบ้านตัวเอง ที่เก็บหอมรอมริบมา โดนยึด กลัวประเทศไทยจะเป็นแบบนี้จริงๆ
ขั้นแรก ควรเริ่มทดลองจัดเก็บภาษีจากที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าก่อน (พูดแบบกลัวๆ เพราะตัวเองจะโดนด้วย ตอนนี้ก็กำลังรีบขาย) น่าจะเป็นธรรมที่สุด แล้วค่อยๆพิจารณาส่วนอื่นๆ
ตอนแรกคิดว่า กรูรอด พวกนายทุนที่ดินกระอัก กลายเป็นว่ากรูต่างหากที่กระอัก นายทุนแสบขนหน้าแข้งหน่อยๆ มันควร บ้านหลังแรก บ้านและที่ดินเพื่อการเกษตร ยกเว้นภาษี ที่ดินพานิชย์จะเก็บภาษีก็ได้ แต่วงเงินต้องสูงกว่านี้ ส่วนที่ดินเปล่าว เก็บอัตราก้าวหน้าสูงสุดไม่เกิน 10%
ที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้เอาไปสร้างรายได้ไม่ควรเสียครับ แต่เอ มีคนตั้งใจให้มีคนต้านหรือเปล่านี่ เอาเสียไปผสมกับดีจะได้เสียไปทั้งหมด
บ้านมรดก จะเก็บภาษีชาตินึงครั้งเดียว ตั้งไว้ที่ 50ล้าน ยังเถียงกันคิดไม่ตก บ้านอยู่ทุกวัน จะเก็บภาษีล่อกันรายปี เคาะฐานที่ล้านเดียว?? โทดทีครับ รมต.นามสกุลอะไรนะ????
อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเจ้าของบ้านและคอนโดมิเนียม จะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า “ภาษีที่อยู่อาศัย” เนื่องจากกระทรวงการคลังยืนยันจะเดินหน้าปรับโครงสร้างภาษี โดยจะยกเลิกภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบกับผู้มีรายได้น้อย แต่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เป็นห่วงว่าจะทำให้ราคาบ้านสูงขึ้น จึงแนะนำให้รัฐบาลพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจกำหนดนโยบายที่มีผลกระทบกับคนหมู่มาก นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง บอกว่า วันที่ 5 มีนาคม คณะกรรมการปฎิรูปภาษี จะหารือแนวทางการร่างจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้ได้ข้อสรุปอัตราภาษีที่จะจัดเก็บและให้การร่างกฎหมายเสร็จทันภายในปีนี้ ซึ่งจะเสนอที่ประชุมการลดเพดานการจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ประมาณครึ่งหนึ่ง ที่ดินสำหรับทำการเกษตรจากเดิมเพดานจัดเก็บอยู่ที่ร้อยละ 0.5 จะลดเหลือร้อยละ 0.25 ที่อยู่อาศัยเพดานเดิมร้อยละ 1 เหลือ ร้อยละ 0.5 ที่ดินพาณิชยกรรมและรกร้างว่างเปล่า เดิมมีเพดานจัดเก็บร้อยละ 4 ลดเหลือร้อยละ 2 ส่วนที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะกำหนดอัตราจัดเก็บในขั้นแรกคือร้อยละ 0.5 หลังจากนั้นจะเพิ่มอีก 1 เท่าทุก 3 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน ร้อยละ 2 การจัดเก็บในช่วงแรกจะออกกฎหมายลูก ประกาศอัตราการจัดเก็บทุกประเภท ใหม่ นอกจากนี้จะเก็บภาษีที่อยู่อาศัยแทนภาษีโรงเรือนและบำรุงท้องที่ โดยจะจัดเก็บจากเจ้าของบ้านและคอนโดมิเนียม กำหนดกรอบไว้สำหรับบ้านราคา 1-3 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 0.25 ของราคาประเมิน หากเป็นบ้านที่มีราคาเกินกว่า 3 ล้านบาทเสียในอัตราเต็มเพนดาน คือ ร้อยละ 0.50 โดยปลัดกระทรวงการคลังยืนยันว่า การจัดเก็บภาษีแบบใหม่ ไม่กระทบกับเจ้าของบ้านหรือผู้ที่ผ่อนชำระบ้าน หรือ คอนโดมิเนียม ความเห็นของกระทรวงการคลังสวนทางกับ ผู้ซื้อบ้าน ที่มองว่า แนวคิดการจัดเก็บภาษีบ้านและคอนโดมิเนียม หรือภาษีที่อยู่อาศัย มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้น แต่บางส่วน มองว่า รายได้ภาษีส่วนนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ อปท. นำไปพัฒนาชุมชนได้ จากเดิมที่เคยมีผู้หลบเลี่ยงภาษีโรงเรือน ส่วนผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ มองว่า การเก็บภาษีแบบใหม่จะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น ตามราคาประเมินที่ดิน ที่กรมธนารักษ์จะปรับสูงขึ้นทุก 3 ปี รายงานข้อมูลตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท มีอยู่ร้อยละ 20-25 ราคา 1-3 ล้านบาท มีร้อยละ 40-45 บ้านราคา 3-5 ล้านบาท มีร้อยละ 20-25 ที่เหลืออยู่ในกลุ่มระดับราคามากกว่า 5 ล้านบาท
เห้ยยย ถ้ามีบ้านหลังเดียวจะเก็บทำไมวะครับ ทั้งชีวิต ก็คงไม่บ้านเยอะไปกว่านี้ บ้านผมยังไงก็เกิน เสียเป็นหมื่นบาท ไม่เหมือนภาษีเงินได้ด้วยนะ ถึงยังไง ก็ต้องจ่าย แล้วมันก็ไม่ถกไม่ถามสุขภาพการเงินผ๊มซ้ากกคำ คือ ถ้าไม่เกินล้านเนี้ยยย ทุบบ้านผม แล้วปลูกกระต๊อบอยู่ ยังไม่ได้เลย คือรบ.ต้องการอะไรการครับ มีบ้านมูลค่าเยอะ แปลว่าผมรวยเหรออออ สิ่งประชาชนควรทำ คือขายบ้าน แล้วไปปลูกกระต๊อบอยู่ซะ ถ้าจะเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ก็เก็บแยกไปดีกว่า อย่ามาเหมารวมอย่างงี้ เช่น ภาษีค่าไฟฟ้า นํ้าประปา นํ้าเสีย มันกำหนดได้ ใครใช้มากก็จ่ายมาก ใครใช้น้อยก็จ่ายน้อย แบบนี้เหมือนลงโทษประชาชนที่มีที่อยู่อาศัยมากกว่า ถึงไม่อยู่บ้านตลอดปี ไม่ใช่สาธารณูปโภคอะไรเลย ก็ต้องจ่ายภาษี มันพิลึกครับ
ผมนึกเอาแบบง่ายๆเลยนะ ปีก่อนนู้นโครงการซื้อบ้านหลังแรก ลดหย่อนภาษีได้ ตั้งไว้ที่บ้านราคาไม่เกิน 5ล้าน (เพิ่มจาก 3ล้าน) แปลว่า รัฐมองว่าบ้านราคาเนี้ยยังอยู่ในข่ายที่คนฐานะปกติซื้อมาอยู่อาศัย สมควรได้รับการช่วยเหลือค่าภาษี แต่พอจะเก็บภาษีการถือครอง ที่มีจุดประสงค์ปรับการถือครองส่วนเกิน/ปรับผังเมือง ไหงตั้งฐานแค่ล้านเดียว แม้จะเป็นบ้านหลังแรกหลังเดียวก็โดน? เอาที่5ล้านแบบเดิมดิครับ หรืออย่างแย่ก็3ล้านแบบนโยบายทีแรก แล้วกำหนดขนาดถือครอง&ทำเลที่ตั้ง อิงตามผังเมืองด้วย(มีรึยังหว่า?) ส่วนบ้านใจกลางเมืองไข่แดงธุรกิจ ประเมินราคายังไงก็เลข8หลักอยู่แล้ว ถ้าเจ้าของบางท่านไม่อยากจ่าย/ไม่ไหว ควรพิจารณาปล่อยออก เพื่อให้พื้นที่นั้นถูกใช้ตามศักยภาพทางเศรษฐศาสตร์ของมัน ให้คุ้มกับfacilitiesโดยรอบที่ทั้งรัฐและเอกชนลงทุนกันไปแล้ว(หลักๆก็เพื่อธุรกิจแหละ)
แทนที่จะเก็บภาษีเฉพาะที่ดินว่างเปล่า ดันมาเก็บภาษีบ้าน ต่อให้เขารวย มีบ้านหลังใหญ่ ก็ไม่ควรไปเก็บ เพราะมันเป็นที่อยู่อาศัยของเขา คนจะเบื่อที่จะต้องทำงานหนัก เพื่อสร้างบ้านให้ตัวเองอยู่สุขสบาย เพราะต้องมาจ่ายภาษีเพิ่ม
ยกมือ2แขน สนับสนุนให้จัดเก็บเลยครับ บ้านหลังเป็นล้านส้รางได้ ภาษีนิดหน่อย ขนหน้าแข้งไม่ร่วงมั้งครับ จะได้ไม่ต้องมานั่งอวดรวยกันนัก
เกณฑ์ยกเว้นที่หนึ่งล้าน โอ้ววว คนเขียนกฎหมายนี่มันมาจากพม่ารึไง สมัยนี้มันจะเหลือบ้าน+ที่ดินซักกี่หลังที่ราคาไม่ถึงล้าน คอนโดสตูดิโอยังเกินเลย
สมมุติเมื่อยี่สิบปีก่อน ผมเก็บหอมรอมริบจนซื้อบ้านถูก ๆ แถวซอยแบริ่งได้ วันนี้ราคาประเมินทะยานไปเป็นสิบ ๆ เท่า แล้วสมมุติตอนนี้ผมเกษียณไม่มีรายได้จะเสียภาษีแพง ๆ นี่เท่ากับบีบบังคับให้ผมขายบ้านเลยนะครับ ขอยืนยันว่าเรื่องแบบนี้คนพม่าไม่เข้าใจครับ คนไทยเท่านั้นที่เข้าใจ
ประยุทธ์สั่งคลังทบทวนภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง หามาตรการยกเว้น เผยบ้านหลังแรก-มรดกอาจยกเว้น ยันเป็นกฎหมายจำเป็นจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ แก้ปัญหาระยะยาวของประเทศ เผยด้านปรีดิยาธรคาดคลังเสนอครม.ใน 2 สัปดาห์ ยันเสียไม่มาก แม้กำหนดเพดานสูงสุด แต่ออกข้อยกเว้น ขณะสมหมายยันเดินหน้าเพื่อปฏิรูปประเทศ ชี้กว่า 40 ประเทศทั่วโลกมีการจัดเก็บ รัฐบาลเดินหน้าผลักดันกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่จะมีการปรับอัตราภาษีจากร่างกฎหมายเดิม และเกณฑ์การลดหย่อน หลังจากมีสเสียงคัดค้านจากหลายฝ่ายว่าเป็นอัตราที่สูงเกินไป รัฐบาลก่อนหน้านั้นพยายามผลักดันกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ แม้ว่าจะมีการร่างกฎหมายออกมานาน ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวเคยผ่านคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปแล้ว แต่ไปติดอยู่ที่ขั้นตอนของรัฐสภา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่ากระทรวงการคลังกำลังพิจารณาเรื่องอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะขูดรีดภาษีจากประชาชน เพราะการดำเนินการดังกล่าวจะมีมาตรการยกเว้น เช่น กรณีบ้านหลังแรกหรือบ้านที่ได้รับมรดกตกทอดมา อาจจะไม่ต้องเสียภาษี ผมไม่ได้หมายความว่าจะไปรีดเลือด นี่ไง ความตรงกันข้าม สองอย่างนี้ มันเป็นเส้นขีดอย่างหนึ่งว่ารัฐต้องการเดินหน้าพัฒนาประเทศ แต่งบประมาณภาครัฐนั้นตกลงไปเรื่อยๆ สินค้า การส่งออก ไม่เข้มแข็ง ภาคการเกษตร ภาคเศรษฐกิจ มันไม่เตรียมการไว้ล่วงหน้า วันนี้ถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องแสดงพิษภัยของมันแล้ว ซึ่งเรากำลังแก้ตรงนี้อยู่และต้องใช้เวลา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าภาษีถือเป็นรายได้ของรัฐ บางคนเสนอยกเลิกจัดเก็บภาษีน้ำมัน แต่จะเอางบมาจากไหนในการพัฒนาประเทศ "คุยกับปลัดกระทรวงการคลังแล้ว และเขาจะไปคุยกันต่อว่ามีมาตรการยกเว้นอะไรหรือไม่ ต้องฟังให้ทุกมิติ และผมกำลังให้ไปหารือว่า จะมีข้อยกเว้นไหม บ้านหลังแรกหรือหลังไหนไปว่ากันมา บางคนได้รับมรดกกลับมาแล้วยังไม่ได้ขาย ไม่อยากขาย ไม่อยากปรับปรุง ต้องเสียภาษีหรือเปล่า มันยกเว้นได้เยอะแยะไป ไม่ใช่คิดส่งเดชว่ารัฐเก็บภาษีอย่างเดียว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
รัฐบาลตู่ไม่รอดเพราะเรื่องนี้แน่ คนได้ลุกฮือกันทั้งประเทศถ้ามีคนจุดประเด็น และไฟมันติด เศรษฐกิจที่มันแย่ ๆ อยู่แล้ว ได้แย่ไปใหญ่ คนไม่กล้าจับจ่ายเพราะต้องเก็บเงินไว้เสียภาษี คนชั้นล่างชั้นกลางในเมือง คงได้ย้ายไปอยู่ชานเมืองหมดเพราะไม่มีปัญญาจ่าย ปล่อยให้คนรวยมีเงินซื้อที่สบาย ๆ แทนที่จะเก็บที่เดินรกร้างเยอะ ๆ อันนี้ดันเก็บหมด ที่ดินพาณิชย์ก็เหมือนกัน ไอ้เจ้าของมันไม่เดือดร้อนหรอก เดี๋ยวมันก็ไปขึ้นค่าเช่ากับคนเช่า ไอ้คนเช่าไม่มีปัญญาจ่าย มันก็ต้องขึ้นราคาสินค้า ราคาสินค้าแพงขึ้น คนชั้นล่างชั้นกลางคงได้เก็บเงินไม่กล้าใช้มากขึ้น ห่วยแท้ ๆ เริ่มไม่ชอบรัฐบาลชุดนี้ละ บริหารไม่เป็นเลย ตั้งแต่เรื่องขึ้นค่าแท๊กซี่แล้ว
ไม่นึกถึงหัวอก คนเกษียณเลย เก็บเงินซื้อบ้าน มีเงินก้อนสุดท้ายไว้เลี้ยงตัวยามแก่ กลับต้องมาจ่ายภาษีบ้าน รายได้เขาไม่มีแล้ว จะเอาจากไหนมาจ่ายล่ะท่าน
ใจเย็นๆค่ะ เห็นข่าวใหม่บอกว่าบ้านอยู่อาศัยไม่เกิน50ตรว.หรือคอนโดไม่เกิน50ตรม.ได้รับยกเว้น ถ้าเกินหนึ่ง-สามล้าน เก็บ 0.05% สูงสุด 1,500บาทต่อปี สาม-ห้าล้าน เก็บ 0.1% สูงสุด 5,000บาทต่อปี เกินห้าล้านไม่แน่ใจค่ะ
สาเหตุนะครับ ผมว่าทุกคนน่าจะเดาได้ เงินในคลังตอนนี้แทบไม่เหลือแล้วครับ ผลจากนโยบายคว้าเงินในอากาศของรัฐบาลที่แล้ว มันปฏิเสธไม่ได้จริงๆครับ สังเกตมั้ยครับพอหลังจำนำข้าวงวดที่สอง รัฐต้องไปกู้มาจ่าย
มาร์ค"ลั่นคลอดกม.ภาษี"ที่ดิน-มรดก"รบ.นี้ พท.ชี้พล่านหาเงิน"ถังแตก"เผยส.ส.ปชป.มีที่ดินรวมหมื่นไร่ "นายก"ฯ สนับสนุนออกกฎหมายภาษี "ที่ดิน-มรดก" ลั่นคลอดให้ทันรัฐบาลชุดนี้ เพื่อไทย กระหน่ำพล่านหาเงินเพราะถังแตก หมิ่นปชป.ไม่กล้าหักส.ส.-นายทุนพรรค เผยส.ส.ปชป.รวมกันที่ดินร่วมหมื่นไร่ ตระมึงลศิลปอาชา มี 243 แปลง 2 พันไร่ "นายกฯ"ประกาศเดินหน้าภาษี"ที่ดิน-มรดก" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้าร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และ พ.ร.บ.ภาษีมรดก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล ตามแนวคิดของนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยยอมรับว่าไม่สามารถดำเนินการได้ในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งนี้ อาจมีปรับเปลี่ยนในรายละเอียด เช่น ยกเว้นการเก็บภาษีสำหรับผู้ที่มีความจำเป็น เช่น ที่อยู่อาศัย และเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าสำหรับผู้มีที่ดินว่างเปล่าที่ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมรดก เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบภาษี แต่ทั้ง 2 เรื่องยังมีรายละเอียดที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ อย่างกรณีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจจะซับซ้อนมากนัก เพราะมีแนวคิดเดิมอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องดูให้รอบคอบเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด โดยหลักใหญ่อยู่ที่ว่าจะเป็นการทำให้ภาษีโรงเรือนกับภาษีบำรุงท้องที่มารวมกันและมีเหตุมีผลมากขึ้น เป็นรายได้ที่จะเป็นกอบเป็นกำมากขึ้นสำหรับท้องถิ่น แต่ต้องยกเว้นให้กับคนที่มีความจำเป็น เช่นที่อยู่อาศัย และบัญญัติให้เสียภาษีอัตราก้าวหน้าสำหรับคนที่มีที่ดินว่างเปล่าแต่ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ส่วนภาษีมรดกต้องมาดูว่าจะเก็บกันอย่างไร มีข้อยกเว้นอย่างไร เพราะในต่างประเทศมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภาษีมรดกตลอดเวลา แต่ในภาพรวมของการปฏิรูปภาษีนั้นจะเดินต่อ ซึ่งคงไม่สามารถดำเนินการได้ในระยะเวลาสั้นๆ "หลายๆ เรื่องที่หยิบยกขึ้นมาจะมีการดำเนินการ แต่อาจจะไม่รวดเร็ว เหมือนกับการพูดเรื่องปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเร่งรัดอะไรในช่วงนี้ เพราะต้องใช้เวลาดูให้รอบคอบ และไม่เกิดปัญหาตามมา"นายกฯระบุ "อภิสิทธิ์" บอกพร้อมอธิบายชนชั้นกลาง-สูง ผู้สื่อข่าวถามว่า หากกฎหมายตัวนี้ออกมาจะกระทบกับคนชั้นกลางและชนชั้นสูง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า มันมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างที่เราต้องทำหลายเรื่อง ซึ่งต้องอธิบาย และผมคิดว่าคนที่ไดรับผลกระทบจะเข้าใจว่าเราทำไมต้องทำแบบนี้ อย่างกรณีภาษีที่ดินหรือภาษีทรัพย์สินเราก็ต้องยอมรับว่า จุดสำคัญของความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมก็เริ่มจากการที่ทรัพย์สินกระจายไปไม่เท่าเทียมกัน หากได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงเราก็เข้าใจ แต่ถ้าได้มาในลักษณะของการสะสมเอาไว้เฉยๆ ในขณะที่คนจำนวนมากยังมีความต้องการ อาทิ คนมีที่ดินมหาศาลทิ้งไว้รกร้างว่างเป่า ในขณะที่เราต้องแก้ไขปัญหาเรื่องที่ทำกินให้กับประชาชน ก็ไม่เป็นธรรมกับสังคมโดยรวม "นายกฯ"บอกตั้งเป้าคลอดให้ทันรัฐบาลชุดนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่า ในขณะที่รัฐบาลเร่งนำเสนอนโยบาย แต่ในทางการเมืองดูเหมือนว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่สามารถจัดการได้ จนนโยบายหลายอย่างอาจจะไม่ได้ออกมาใช้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า กรณีผู้สูงอายุนั้นเราสามารถดำเนินการต่อได้ เพราะมีระเบียบอยู่ แต่ถ้าต้องแก้ไขกฎหมายก็จะเป็นการปรับโครงสร้าง ซึ่งในวันที่ 25 มกราคม จะมีการพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลก็คงจะย้ำให้มีความเข้มแข็งในการผลักดันเรื่องนี้ เพื่อให้การเมืองมีความเข้มแข็ง เมื่อเป็นสิ่งที่ดีก็ต้องพยายามทำ แต่จะทำได้หรือไม่ได้ ทุกคนก็ต้องรับผิดชอบทางการเมือง ในอดีตมีกฎหมายหลายฉบับที่บอกกันว่าอาถรรพ์ แต่สุดท้ายก็ผ่านได้ กฎหมาย 2 ฉบับนี้ตั้งเป้าหมายว่าจะให้ออกให้ทันในรัฐบาลชุดนี้แล้วเราก็ต้องเดินต่อ หากผลักดันไม่ได้ก็ต้องดูว่าเป็นเพราะเหตุผลอะไร หากกฎหมายสำคัญไม่ผ่านสภา รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบทางการเมืองอยู่แล้วและก็มีหลายวิธีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
แปลว่าไม่อ่านเลยสินะ คือไม่ได้บอกว่ารัฐที่แล้วจะขึ้นภาษี โอ๊ย อ่านภาษาไทยไม่ออกเหรอ หรือแค่เผาไทยพูดก็เชื่อหมด ไม่ไหว ไม่ไหว โง่จริงๆ
กรุงเทพฯ 7 มี.ค.-นายกฯ กำชับเก็บภาษีบ้าน-ที่ดิน ไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ยันพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย วอนอย่าสร้างปมความขัดแย้ง ขอประชาชนเชื่อมั่นในรัฐบาล ชี้งานกระจายอำนาจเริ่มดูดี ย้ำชัดไม่ปรับ ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้กับคนในชาติ ว่าเรื่องการเลือกตั้ง ประชาธิปไตย หากพูดว่าประชาชนเป็นใหญ่ เป็นเจ้าของประเทศอย่างเดียวบางครั้งก็ใช้ข้อเท็จจริง แต่มันอาจจะไม่เหมาะสมในช่วงเวลานี้ เพราะทุกคนต้องเรียนรู้ร่วมกัน มีจิตสำนึก มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎหมาย ตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วย ฝ่ายการเมืองต้องเป็นคนทำให้มันเกิดขึ้น ไม่ใช่ทำให้มันมีปัญหา มิฉะนั้นความขัดแย้งจะเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ วันนี้รัฐบาลนี้ วันหน้ารัฐบาลใหม่ รัฐบาลต่อไป มันก็เป็นอยู่แบบนี้ ตนยินดีรับฟังความเห็นทุกคน แต่มันก็จำเป็นต้องตัดสินใจเดินหน้าทำงาน ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาล ส่วนเรื่องการกระจายอำนาจ หลายอย่างดีขึ้น แต่ทุกเรื่องไม่สามารถนำงบประมาณลงไปกระจายได้ทั้งหมด ยืนยันโครงการต่างๆ ทำแล้วไม่ดีก็ยกเลิกได้ในวันหน้า อันไหนดีก็ต้องดำเนินการปรับแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป เพียงแต่อย่าให้เกิดปัญหากับประเทศชาติ ส่วนเรื่องปรับคณะรัฐมนตรี ขณะนี้ยังไม่มีความคิด โดยให้แต่ละกระทรวงกลับไปย้อนดูการทำงานของกระทวงว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ข้าราชการต้องแก้ไขตัวเองด้วย ส่วนจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น นายกฯ ย้ำว่าอย่าทำให้ประชาชนเดือดร้อน แต่ต้องคุยกัน และทำให้เกิดประสิทธิภาพ ด้านหนึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องมีเงิน จำเป็นต้องมีคนจ่ายภาษี ไม่เช่นนั้นไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนไปแก้ไขปัญหา แต่ขณะเดียวกันการเก็บภาษีก็จะต้องไม่ทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเดือดร้อน เพราะฉะนั้นให้กระทรวงการคลัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลองไปพิจารณาจะลดผลกระทบความเดือดร้อนของประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างไร.-สำนักข่าวไทย ********************************************************* กรุงเทพฯ 7 มี.ค.-ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ให้สัมภาษณ์เผยไทยมีภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ แต่ไม่ได้สร้างรายได้ให้รัฐบาล ไม่ได้แก้ปัญหาประเทศ ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. เปิดเผยว่า ภาษีที่ดินที่เกี่ยวกับบ้านของเราไม่ใช่ว่าไม่มี ไม่ว่าจะเป็นภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ เรามีใช้อยู่ เพียงแต่ปัญหาขณะนี้คือภาษีทั้ง 2 ตัวดังกล่าวไม่ได้แก้ปัญหาของประเทศ ปัญหาของภาษี 2 ตัวที่เราใช้อยู่นี้ไม่ได้สร้างรายได้ให้รัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีทั้ง 2 ตัวนี้มากมายนัก จากข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย การจัดเก็บข้อมูลว่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน และบำรุงท้องที่ ในปี 56 ทั้ง 2 ตัวจัดเก็บอยู่ที่ 24,000 ล้านบาทเท่านั้นเอง โดยครึ่งหนึ่้งอยู่ใน กทม. โดยมีจำนวนท้องถิ่นทั้งหมดทั่วประเทศประมาณ 7,800 กว่าแห่ง หมายความว่าแต่ละแห่งไม่สามารถเอาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในพื้นที่ตัวเองเป็นฐานรายได้ แต่ปัญหาใหญ่ของภาษีโรงเรือน และภาษีบำรุงท้องที่ ที่สำคัญที่สุดคือ เป็นการเก็บซ้ำซ้อน เพราะเวลาเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นการเก็บบนฐานของค่าเช่า เสมือนหนึ่งเอาบ้านและที่ดินที่เป็นภาษีไปตีราคาว่าถ้าจะให้เช่า เช่าในราคาเท่าไร จึงเป็นช่องโหว่ทำให้เกิดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการประเมินภาษีได้ อีกปัญหาคือ อัตราภาษีโรงเรือนสูงมาก ปัจจุบันโรงเรือนที่เก็บในอัตราร้อยละ 12.5 ซึ่งเรียกว่าสูงที่สุดในโลก เหตุที่เก็บภาษีสูงแต่รายได้น้อยเพราะมีปัญหาเรื่องของการยกเว้นและลหย่อน เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน บ้านอยู่อาศัยเองยกเว้นหมด ถามว่าสร้างความเป็นธรรมให้คนในประเทศหรือไม่ เศรษฐีมีบ้านราคา 200 ล้าน ก็ถูกยกเว้นเหมือนกับชาวบ้านธรรมดา ขณะเดียวกันภาษีบำรุงท้องที่ ที่ใช้คู่ขนานกับภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปัจจุบันราคาที่ใช้ในการประเมินภาษี เป็นฐานภาษีของปี 2521 ถามว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสมควรเก็บหรือไม่ ต้องบอกว่าสมควร จริงๆ อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ออกมายังเป็นอัตราที่พิจารณากันอยู่ ต้องทำความเข้าใจว่า อัตราดังกล่าวเป็นอัตราเพดาน ยังไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอัตราเพดานที่มีการบังคับใช้ ล่าสุดจากข้อมูลที่มีอยู่ อัตราเพดานสำหรับที่ดินเกษตรที่คิดว่าจะนำมาใช้คือ ร้อยละ 0.05 ที่อยู่อาศัยร้อยละ 0.1 ซึ่งอัตราตรงนี้อย่าลืมว่ามันเป็นร้อยละ การนำไปใช้นั้นอย่าลืมว่ามันเป็นเปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นต้องไปหารร้อย นั่นหมายความว่าถ้าเทียบเป็นบาท ง่ายๆ คือบ้านราคา 1 ล้าน จะเสียภาษีประมาณ 1,000 บาท ถามว่าหากประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้คิดว่าภาครัฐจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณเท่าไรนั้น จากการประเมินของกระทรวงการคลัง หากใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มรูปแบบคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณแสนล้านต่อปี ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายว่าจะมีการลดหย่อนเท่าไร จะมีการเก็บอัตราเท่าไร.-สำนักข่าวไทย
ใครช่วยตอบชัด ๆ ว่าตรรกะของการเก็บภาษีบ้านและที่ดินมันมีเหตุอันชอบตรงไหน ภาษีสรรพษามิต - จ่ายเพราะสร้างผลกระทบให้สิ่งแวดล้อม สังคมส่วนรวม ภาษีรถ - จ่ายเพราะใช้ถนนของส่วนรวม ภาษีเงินได้ - จ่ายเพราะประกอบอาชีพในแผ่นดินนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม - จ่ายเพราะซื้อขายในแผ่นดินนี้ "และจ่ายครั้งเดียวตอนซื้อขายเปลี่ยนมือ" ภาษีบ้านและที่ดินใหม่ - ทำไมผมต้องจ่าย ตอนซื้อผมก็จ่ายให้กรมที่ดินไปตั้งเท่าไหร่แล้ว บ้าน/ที่ดินผมก็ซื้อขาด จะมาเก็บภาษีราวกับผมเช่าแผ่นดินนี้อยู่ด้วยเหตุผลอะไร
บ้าน 50 ตารางวา พริตตี้เมียน้อยเสี่ยอยู่คนเดียว กับบ้าน 200 ตารางวา อยู่กันตั้งแต่ตายายยันหลาน 6-7 คน แบบไหนคือฟุ่มเฟือยครับ เกณฑ์ในการตัดสินเรื่องบ้านนี่มันซับซ้อนนะครับ เอาแค่มูลค่ากับพื้นที่มาคิดภาษีนี่ ผมว่ามักง่ายเกินไป
ถ้าเป็นในเมือง บ้าน 50 ตารางวาลงมามักเป็นตึกแถว ห้องแถว หรือทาวเฮ้าท์ ผมว่าถ้ากฏหมายออกมาจริงๆ คนไทยนิยมซื้ออาคารพาณิชย์แทนแน่ๆ ใจจริงอยากให้เก็บพวกที่ดินรกร้างว่างเปล่ามากกว่า
ข่าวล่าสุด จะปรับเป็นที่อยู่อาศัยไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี และเสียภาษีเฉพาะบ้านหลังแรก แต่หลังต่อๆ ไปไม่ต้องเสีย http://www.thairath.co.th/content/485839 แทนที่จะลดช่องว่าง บ้านหลังแรกไม่ต้องเสียเพราะถือเป็นปัจจัยสี่ แล้วจัดการพวกซื้อเก็งกำไร แต่ดันจะไปเอื้อประโยชน์ให้เสียนี่ รัฐมนตรีคลังและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ยิ่งทำยิ่งเละ อยากให้เปลี่ยนจัง
ภาษี ปีละพัน เดือนหนึ่งไม่เกิน 200 นั่นหมายถึง มีบ้านราคาเกิน สามล้าน ล้านห้า ไม่ต้องจ่าย การประเมินก็จากกรมที่ดิน ไม่ใช่ราคาประเมินจากธนาคารหรือกันเองไม่ใช่หรือ ผมไม่เข้าใจอะไรผิด..ดังนั้นมีบ้านราคาสามล้านจากราคาประเมินภาครัฐ ราคาตลาดจริงน่าไปถึง 4-6 ล้าน .. บ้านราคาขนาดนี้ คนจนหรือครับ
เช็คดูจากที่อื่นมีทั้งจะลดหย่อนแค่บ้านหลังแรก แต่บ้านถัดๆ ไป จะต้องเสียเต็มอัตรา และเสียแค่บ้านหลังแรก แต่หลังถัดไปไม่ต้องเสีย แต่ละที่ทำไมลงข่าวไม่เหมือนกันเลย http://www.dailynews.co.th/Content/economic/306345