สี่แยกราชเทวี สมัยก่อนเป็นวงเวียนน้ำพุ จะเห็นได้จากสมัยนี้ก็ยังมีน้ำพุปรากฏให้เห็นอยู่ทั้ง 4 มุมของทางแยก แต่ไม่สามารถเปิดได้แล้ว เงียบเหงาเศร้าสร้อยเหลือเกิน ยุคนั้น ราชเวทียังขึ้นต่อพญาไท ค่อยมาแยกตัวเอาเมื่อปี 32 นี่เอง ยุค 70 หน้า ร.ร.เอเชีย ยุคเดียวกัน ราวปี 18 เขาว่ารูปนี้จากสยามรัฐ ตอนกำลังสร้างสะพานข้ามทางแยก อีกสองรูป น่าจะเก่ากว่านั้น สมัยน้ำพุยังเปิดได้อยู่ ฟู่ ๆ มายุค 80 ปี 2531 หนังเรื่อง คู่กรรม ฉบับวรุต วรธรรม-จินตหรา สุขพัฒน์ ฉาย กำกับโดย รุจน์ รณภพ ผู้ล่วงลับ เข้าฉายที่โรงหนังเอเธนส์ ใกล้ ๆ ทางแยก
ต่ออีก 2 ภาพ มีป้อมอะไรสูง ๆ อยู่ตรงนี้ด้วย ป้อม ตร.รึเปล่า ??? อันนี้ตอนปี 22 ตอนสะพานลอบข้ามแยกเสร็จ มีการนำรถสิบล้อขนหินคลุกขึ้นไปจอดเรียง ๆ กัน ทดสอบความแข็งแกร่งของสะพานด้วย นี่ถ้าพังลงมาล่ะก็ บรึ๊ยยยยย ไม่อยากคิดภาพ
กลับมาอีกครั้ง ไม่ได้มาซะนานหลายเดือน ไปเจอภาพเก่า ๆ มาตามนี้ นี่คือ สภาพของเวิ้งนาครเขษม เมื่อปี 2493 ร้านนี้มีชื่อภาษาไทยว่า รัตนพันธ์ นี่คือ โรงภาพยนตร์เท็กซัส ในปีเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันได้กลายสภาพเป็นภัตตาคาร และชื่อซอยในปัจจุบัน โรงหนังเท็กซัส มีชื่อภาษาจีนว่า ซิงหน่ำแช ตอนนั้นกำลังฉายหนังเรื่อง กลองพิฆาต ภาค 3 (Drums of Fu Manchu 3) [น่าสนใจมาก ๆ หนังเรื่องนี้] โรงหนังแล้ว โรงงิ้วมั่ง นี่คือ หน้าโรงงิ้วตงเจ๊ก เป็นหนึ่งใน 5 โรงงิ้วใหญ่ที่สุดของเยาวราช คือ ตงเจ็ก, เล่าอีไล้, ตงเจี่ยสุง, บ๊วยเจี่ย และ เล่าป้อ ซึ่งโรงงิ้วเหล่านี้ไงที่เฉินหลง ตอนเด็ก ๆ เคยมาอาศัยและเป็นนักแสดงงิ้วอยู่ด้วยสมัยอยู่เมืองไทย ปัจจุบันที่ตั้งของโรงงิ้วนี้ คือ เป็นที่จอดรถไง ของเยาวราช ที่ด้านหน้าเป็นรถเข็นบะหมี่มังกรทอง ขายตลอด 24 ช.ม.
สมัยรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 มั่ง ภาพมุมสูง นี่คือ ซีี๊กั๊กพระยาศรี ทางแยกแรกของ New Road หรือ ซิงพ่ะโล่ว เจริญกรุง นั่นเอง เรียกชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาศรีทองเพ็ง ผู้เป็นขุนนางมอญ ที่เป็นแม่งาน (สมัยนี้ก็คง โฟร์แมน อ่ะนะ) ที่ก่อสร้างถนนเจริญกรุง (มีสะพานมอญ มีซอยพระยาศรี อยู่ใกล้ ๆ กันด้วย) เจริญกรุง, วรจักร, แยก เอส.เอ.บี. ถนนตีทอง ราชดำเนิน 80 ปีก่อน หัวลำโพง ขัวลำพุง วัวลำพอง สาทร สีลม สาทรเพียว ๆ (เห็นคลองสาทร หรือคลองเจ้าสัวยม ชัดเจน) อันนี้คงไม่ต้องบอก