ดูภาพแฟชั่นดารา นางแบบ ในยุค 80-90 มั่ง จากนิตยสาร วัยน่ารัก เป็นหนังสือเล่มเบ้อเริ่ม หนักด้วย (ไม่แพ้สมุดหน้าเหลืองอ่ะ) เป็นแฟชั่นประเภทโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ ไม่ใช่แฟชั่นสยาม คือ ไม่ใช่เสื้อผ้าหรูหรา แพงอะไรมาก แบบวัยรุ่น วัยเรียนสามารถหาซื้อมาใส่กันได้ โดยไม่รบกวนเงินพ่อแม่มากนัก ใครเป็นใครดูกันได้เลย ขอบคุณภาพจาก พันติ๊ป นิออน อิศรา ครั้งนึงก็เป็นดารามีชื่อเหมือนกัน อาจจะไม่เปรี้ยงอะไรมากนัก น คนนี้ชื่อ จอย กิตติมา เป็นอดีตนางเอกละครช่อง 7 คนขวานั่น คือ มณีรัตน์ วงศ์จิรศักดิ์ ชื่อเล่น อุ๋ย ฉายา มาช่า 2 คนนี้คงไม่ต้องบอก จำดาราเด็กคนนี้ได้ไหม น้องแนน สกุลรัตน์ ครั้งนึงเล่นละครช่อง 7 ดังมาก เสื้อยี่ห้อ OLD WEST นี่ส่วนมากจะเป็นเสื้อแบบผู้ชาย ๆ หน่อย ถ้าเข้าใจไม่ผิด สามารถ พยัคฆ์อรุณ มีหุ้นส่วนอยู่ด้วย ขวาสุดนึกออกไหมใคร ต่อมาเธอคือนักร้องชื่อดังเลยไง ของแกรมมี่ นิโคล เทริโอ ไง ส่วนคนผมยาวนี่ ชื่อ ติ๊ดตี่ อรัญญา พงศ์ภัณฑารักษ์ ในปี 2536 มีผลงานเกิร์ลส์กรุ๊ปสังกัด นิธิทัศน์ วงแครอท มีผลงานออกมาชุดเดียวแล้วหาย "ไอ้เรามันเป็นแค่เซคคั่นแฮนด์...." อ่ะ
Fido Dido นี่ครั้งนึงก็เคยฮิตมาก กะการเป็นมาสคอตของเซเว่นอัพ อิอิ จำได้ว่าตอนนั้นอยู่ ป.6 ก็หาซื้อเสื้อรูปไอ้หัวฟูนี่แหละ กะกางเกงยีนส์ ถึงกะไปหาที่จตุจักรเลยแหละ คนนี้ก็ไม่ต้องบอก คนนีั้มะก่อนเป็นนางเอกช่อง 7 3 เรื่องที่จำได้ พี่เลี้ยง ภูติแม่น้ำโขง กระสือ ตอนนี้เล่นเป็นแม่แว้ว ติ๊ดตี่อีกครั้ง คนนี้เห็นว่าตอนนี้อายุ 40 ปลาย ๆ แล้ว ลูกกี่คนไม่รู้ แต่หุ่นยังเชี้ยะอยู่เลย แบบว่าสาว ๆ ต้องอิจฉา คนนี้หายหน้าหายตาไปเลย จอย จามจุรี เชิดโฉม ปิดด้วยภาพปกนี้แหละกัน
Suchat Chumchuea Amphoe Wang Saphung คลิปย้อนรอยอดีดบางกอกปี ค.ศ 1965 ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีเอื้อเฟื้อมาให้ชมกัน...ครับผม
รวมกันหลาย ๆ รูปเลย นี่อะไรเนี่ย...? Dang Bireley's & Young Gangsters เหรอ ? ไหน ใครแดง ไบเลย์ ใครจ๊อด เฮาดี้ เนี่ย บางกอกโพสต์ รถสองแถว ภูเก็ต-ป่าตอง ยุค'70 กางเกงขาบาน ห้างในตำนาน สถานที่ประวัติศาสตร์ ดูแล้วดูอีก มีหยั่งนี้ด้วยนะ เป็นสมัยนี้เป็นข่าวดังไปแล้ว นี่น่าจะภาคใต้ที่ไหนสักจังหวัด ดูราคาซะก่อนเดะ ใครมีปัญญาซื้อ เจ้าสัวดี ๆ นี่เอง นี่ก็สถานที่ท่องเที่ยวอีก
ไทยเริ่มจัดทัพแบบยุโรปตั้งแต่สงครามครั้งแรกกับพม่า! ส่งโปรตุเกสในกองทัพไทย ไปรบกับโปรตุเกสในกองทัพตะเบงชะเวตี้ !!โดย โรม บุนนาค กองทัพไทยแบบยุโรปในสงครามปราบฮ่อ มีปืนกลบนหลังช้างด้วยและ มี “หน่วยมะรีน” ที่เป็นทหารเรือแทรกอยู่ด้วย ตามหลักฐานในพงศาวดาร ได้มีชาวยุโรปเข้ามาเกี่ยวข้องกับกองทัพไทยตั้งแต่สงครามครั้งแรกกับพม่าใน พ.ศ.๒๐๒๔ แล้ว ครั้งนั้นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ กษัตริย์หนุ่มผู้กำลังคะนอง ได้ยกทัพมาตีเมืองมอญแล้วเลยมายึดเมืองเชียงกราน ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยทางด้านด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงยกกองทัพไปขับไล่ จดหมายเหตุของ เฟอร์เนา เมนเดช ปินโต ชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ได้บันทึกไว้ว่า ตอนนั้นมีชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งบ้านเรือนค้าขายอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ๑๓๐ คน ถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมกับกองทัพไทยไปรบที่เมืองกรานครั้งนี้ ๑๒๐ คน แต่ในกองทัพพม่าของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ก็มีทหารโปรตุเกสด้วยเช่นกัน เป็นทหารรักษาพระองค์ถึง ๕๐๐ คน เหตุที่ทั้งไทยกับพม่าต่างมีทหารโปรตุเกสร่วมอยู่ในกองทัพ ก็เพราะชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่ออกเผชิญโชคทางทะเล และมีความชำนาญในอาวุธปืนไฟ ซึ่งเป็นของใหม่สำหรับชาวตะวันออกในสมัยนั้น แต่ทว่าปืนไฟก็ไม่สามารถชี้ชะตาสงครามได้ แม้ในกองทัพพม่าจะมีทหารโปรตุเกสถือปืนไฟมามากกว่าในกองทัพไทยมาก แต่ก็ไม่อาจต้านทานกองทัพไทยได้ ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ถอยทัพไป สมเด็จพระไชยราชาทรงชื่นชมน้ำใจของชาวโปรตุเกสในครั้งนี้มาก พระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เป็นหมู่บ้านโปรตุเกส และให้สร้างโบสถ์สอนศาสนาได้ตามความพอใจ ทั้งยังทรงมอบหน้าที่ฝึกทหารแบบยุโรปขึ้น เรียกว่า “กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง” อ่านต่อตามลิ้ง http://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000051836 ขบวนทหารหน้าศาลายุทธนาธิการ ที่ตั้งกองทหารอย่างยุโรปที่สนามไชย ด้านหลังเห็นโบสถ์วัดสุทัศน์และภูเขาทองที่ยังก่อไม่ถึงยอด กองทัพไทยสมัย ร.๕ วางดาบแบกปืนกันเป็นขบวน http://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000051836
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ในตอนนั้น เข้าเฝ้าในหลวง ร.9 ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชวน หลีกภัย เป็นนายกฯ แทน พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ลาออกจากตำแหน่ง
ยุคที่เด็กต้องอยู่อย่างยากลำบากและหวาดกลัว ยาเสพติด แก๊งรถตู้กับชาวต่างชาติลักเด็ก พ่อแม่ขายลูกกิน การคมนาคมที่ลำบาก โทรศัพท์สาธารณะเป็นที่พึ่งเดียว ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต กลางคืนที่มีแสงไฟน้อยนิดกับถนนที่มีแต่ดินลูกรัง ชนิดลิเบอร์รัลอยู่อาจตายในไม่กี่วัน
ยุคนั้นในความชั่วร้ายก็มีแสงแห่งความดีเล็ก ๆ ให้ชื่นใจ ข้างบ้านติดเฮโรอีน เข้าออกคุกเป็นว่าเล่น แต่เขาจะไม่ยอมให้พวกอื่นเข้ามาหาเรื่องคนแถวบ้าน หากใครจะมาต้องผ่านเขาก่อน ยุคนั้นโหดกว่าที่เจอทุกวันนี้เยอะ เจ็บจริง ตายจริง แต่แปลกนะ พวกนี้เดินผ่านกันก็รู้
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ถ่ายภาพร่วมกับ ครม. ตอนนั้นใช้สนามบินดอนเมืองเป็นทำเนียบรัฐบาล เพราะทำเนียบรัฐบาลมีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมอยู่
บิล คลินตัน ปธน.สหรัฐในขณะนั้น เยือนประเทศไทย ปี 2539 ทางจุฬาฯ มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้ และเข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 9 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ถ่ายภาพร่วมกับ ครม. ที่ทำเนียบรัฐบาล สัมภาษณ์สมัคร สุนทรเวช รมว.มหาดไทยในตอนนั้น เกี่ยวกับผู้อพยพชาวเวียดนาม ปี 2519
เลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม 2550 อภิสิทธิ์, นายกฯ สุรยุทธ์, สมัคร มาหย่อนบัตรเลือกตั้ง การประชุมอาเซียนที่พัทยา โดยมีเสื้อแดงและเสื้อน้ำเงินมาชุมนุม
สมัยก่อน สนามหลวงเคยเป็นพื้นที่ชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง ชุมนุมต่อต้านการกลับมาของจอมพลประภาส จารุเสถียร ปี 2519 พรรคประชาธิปัตย์ปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง ปี 2522 ในคลิปมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ให้สัมภาษณ์
เอาด้วย ๆ นี่คือ บรรยายกาศหลังจากปฏิวัติที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า เมื่อเดือนเมษายน 2524 หรือที่เรียกกันว่า "กบฏเมษาฮาวาย" [ขณะนั้นอายุอานามข้า'เจ้ายังไม่ถึงขวบด้วยซ้ำ] แล้วนี่คือ ปากคำของผู้ที่เข้าร่วมในการกบฏครั้งนั้นด้วย ก็คือ "ไอ้นาจ" ของพล.อ.อาทิตย์ หรือปัจจุบันก็คือ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี นั่นเอง แกบอกว่า "แกถูกหลอกให้ปฏิวัติ" ลองเข้าไปอ่านดู แซ่บอีหลี http://www.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?QNumber=113322&Mbrowse=9
นายกฯ จีน จ้าว จื่อหยาง เยือนไทย พบ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกฯ ไทยในตอนนั้น ปี 2524 พล.อ. สนธิ บุณยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตอบสัมภาษณ์นักข่าว ท้ายคลิปมีเสื้อเหลืองพันธมิตรฯ ตะโกนเชียร์
นายกฯ สิงคโปร์ ลี กวน ยู เยือนไทย นายกฯ ไทย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้การต้อนรับ มีม็อบต้านผู้นำสิงคโปร์มารอรับด้วย ปี 2519
ซัดกันในสภาฯ สมัยรัฐบาลน้าชาติ เข้าใจว่าน่าจะเป็นสมัยปลาย ๆ แระ ใกล้จะโดน รสช.ปฏิวัติแร้ว โดนพาดพิงก็ต้องลุกขึ้นมาโต้ดิ แล้วก็ต่อด้วยการประท้วง ผ่านมาอีกหลายปี พอหลังจากเหตุการณ์พ.ค.ทมิฬ ปี 35 ก็บังเกิดคน ๆ นี้ขึ้นมาในแวดวงการเมือง อี่ ๆ ยังจำโปสเตอร์นี้ได้ไหม ? ที่ตอนนั้นหลายคนชมนักหนาว่า "ล้ำสมัย" เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง รัฐบาลจิ๋ว อัลไซเมอร์ก็ไปไม่รอด เจ๊ลีน่านำประท้วงเองเลย ชวนก็คัมแบ็ก ด้วยตำนานงูเห่า
เพื่อนผมหลายคนเสียชีวิตไปในยุคนั้นเนื่องจากใช้เข็มร่วมกัน ทั้งในเรือนจำและข้างนอก ที่ซ้ำร้ายกว่าคือไปติดภรรยาด้วย บ้างคนตั้งใจกลับเนื้อกลับตัวตั้งใจเริ่มต้นชีวิตใหม่แต่หนีไม่พ้นโรคร้ายที่ติดมาแบบไม่รู้ตัว ชีวิตชาวสลัมหลายคนบอกว่ามีหนทางให้เลือกน้อย แต่ผมว่ามันมีหนทางให้เลือกมากขึ้นอยู่กับเราจะเลือกทางไหน บ้านเมตตา วัยหนุ่มมีน พิเศษกรุงเทพ หลายคนบอกว่ามันเป็นจุดจบแต่หลายคนบอกมันเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มต้นไปในทางที่ดีกว่าและเริ่มต้นไปในทางที่เลวกว่า "ชุบผีเป็นคน" เอราวัณ Cr : กรุงไทย มิวสิคออนไลน์ ในความรู้สึกของผม นักเลงจริงเป็นคนที่น่านับถือ พวกทำร้ายผู้หญิงเป็นพวกน่ารังเกียจและต้องได้รับบทเรียน คนติดยาเป็นพวกที่น่าสงสาร
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง อีกไม่กี่วันก็ไปเลือกตั้ง 4 เมษายน 2519
ห้าแยกลาดพร้าว หลายคนคงรู้จักกันดี เนื่องจากเป็นหนึ่งในแยกหลักของกรุงเทพ เป็นจุดตัดของถนนสายสำคัญ ได้แก่ ถ.วิภาวดีและถ.พหลโยธิน การเฉลิมฉลองการเปิดสะพานพระราม 9 ในปี 2530 มีการจัดงานวิ่งลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอนนานาชาติของประเทศไทย ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างเข้าร่วมการแข่งขันแน่นขนัด จนเกิดการเข้าใจผิดในเรื่องของผู้ชนะ จนกลายเป็นข่าวที่ทุกคนให้ความสนใจ http://www.jengmak.com/69894
เมื่อคืนได้ดูหนังเรื่อง โก๋หลังวัง ทางช่องมงคลแชนนอล (จริง ๆ แล้วเปิดผ่านไปเจอน่ะ ) หนังเก่าแล้ว ตั้งกะปี 45 สไตล์คล้าย ๆ 2499 อันธพาลครองเมือง เพิ่งได้ดู อยากบอกว่า โปรดักซ์เขาดีมากกกกก เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ของยุคสมัยนั้นได้ดี มีฉากนึง ที่ตัวละครหลายคนลงรถราง แล้วข้ามถนนไปฝั่งตรงข้ามเป็นโรงหนัง แล้วรถ ตร.ก็วิ่งมาจับพวกนี้ทั้งหมด เห็นรายละเอียดต่าง ๆ หมด ทั้งรถราง รถราที่วิ่งสัญจรไปมา มี ตร.จราจรยืนโบกอยู่โดยมีป้อมเล็ก ๆ เท่านั้นเอง ฯลฯ เรียกได้เลยว่า เป็นฉากโชว์องค์ประกอบศิลป์เลยทีเดียว (ดีกว่า 2499 ซะอีก) เรื่องนี้ง่ะ เสียดายที่ในเว็บดูหนัง หนังเรื่องนี้ดูไม่ได้เสียแล้ว เอารูปที่ไม่เคยลงมาลงกันบ้าง ก็หลากหลายที่ทั้ง ตจว. และกทม. อันนี้เขาว่า คือ วงเวียนน้ำพุ มหาชัย
เจอจากเว็บกีฬาอิหร่านครับ กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 5 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนธันวาคม 2509 พิธีเปิดที่สนามศุภชลาศัย นักกีฬาอิหร่านเดินเข้าสู่สนาม ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิด (เดี๋ยวนี้บ๊อกซ์ที่ประทับบนอัฒจันทร์ทำใหม่ มุงหลังคากระเบื้องดินเผาสองสี จั่วสีทอง ผมว่ามันขัดตา) รูปทรงเหรียญทอง - เหรียญเงินในตอนนั้น กรีฑา กระโดดสูง เพิ่งรู้ว่าสมัยนั้นที่รองรับนักกีฬาที่ตกลงมามันเป็นแบบนี้ พิธีปิดการแข่งขัน บนจอสกอร์บอร์ดบอกว่าพบกันอีกครั้งที่กรุงโซล 1970 แต่เนื่องจากมีเหตุผลบางอย่าง บ้างก็ว่าเป็นเพราะปัญหาทางการเงินในประเทศ บ้างก็ว่าเพราะปัญหาทางการเมือง ไทยเลยต้องมารับหน้าที่เป็นเจ้าภาพอีกครั้ง http://www.takhtejamshidcup.com/ind...&id=485:1966-asian-games&catid=78&Itemid=1018 http://takhtejamshidcup.com/index.p...-at-the-1966-asian-games&catid=78&Itemid=1018
พิธีปิดกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13 ณ สนามศุภชลาศัย 17 ธันวาคม 2528 อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรีในขณะนั้น ผู้แทนพระองค์ ประธานในพิธีปิด
อดีตวันวาน อุดรธานี ภาพเก่าเมืองไทย วันนี้นำภาพบรรยากาศในตัวเมืองนครราชสีมา มาให้ได้รับชมกันครับเป็นภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองโคราช เมื่อ ๕๒ ปีที่ผ่านมา # เก็บไว้ในความทรงจำ นครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๐๘ Cr. fescan on YouTube channel
แรกมีธงชาติไทย ย้อนดูประวัติศาสตร์ธงชาติไทยในวาระครบรอบ ‘100 ปี ธงไตรรงค์’ HIGHLIGHTS: จากบันทึกของเรือรบฝรั่งเศส ธงประจำชาติสยามถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2223 ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้น ทำให้สยามมีธงประจำชาติเป็นสีแดง ก่อนจะมีวิวัฒนาการมาเป็นช้างสีขาว สู่ธงสีแดงสลับขาว จนมาถึงธงไตรรงค์ในยุคสมัยของรัชกาลที่ 6 สี แดง ขาว น้ำเงิน เป็นพระประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้สยามมีสีคล้ายกับชาติพันธมิตร (สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และ สหรัฐอเมริกา) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ธงชาติไทยโบกสะบัดขึ้นทุกครั้งที่ฟุตบอลทีมชาติไทยยิงประตูใส่คู่แข่ง เช่นเดียวกับในการแข่งขันมหกรรมกีฬาต่างๆ ที่ธงไตรรงค์จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงความภูมิใจในตัวนักกีฬา ทีมงานสตาฟฟ์โค้ช และความเป็นชาติไทย แต่จุดเริ่มต้นของการใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ซึ่งเราต้องย้อนไปสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ‘ธงแดง’ ธงชาติแรกของไทย เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2223 ในช่วงที่กรุงศรีอยุธยา มีความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาค ซึ่งจากประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่เลื่องลือในพระราโชบายทางคบค้ากับชาวต่างประเทศ และการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาติมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งนำมาสู่จุดกำเนิดของ ‘ธงแดง’ ธงชาติยุคแรกของสยาม ประเทศฝรั่งเศส ในยุคสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้จัดส่งเรือรบมายังสยาม จากหนังสือจดหมายเหตุของประเทศฝรั่งเศสได้มีการบันทึกไว้ว่า เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2223 เรือเลอโวตูร์ เรือรบของฝรั่งเศสมีนายเรือชื่อ มองซิเออร์ คอนูแอน ได้นำเรือรบลำนี้เข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญพระราชไมตรี และเพื่อการค้ากับอยุธยา โดย มองซิเออร์ คอนูแอน ได้สอบถามไปทางฝ่ายอยุธยาว่าจะขอยิงสลุต (Salut) เมื่อเรือแล่นผ่านป้อมวิไชยเยนทร์ (ป้อมวิไชยประสิทธิ์ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นไปตามประเพณีของชาวยุโรป สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชานุญาตพร้อมกับรับสั่งให้ออกพระศักดิ์สงคราม (เชอวาเลีย เดอ ฟอร์บัง) กำกับให้ทางป้อมยิงสลุตตอบรับด้วย แต่ตามประเพณีแล้ว การตอบรับจะต้องชักธงชาติเป็นสัญลักษณ์ตอบรับด้วย ซึ่งสยาม ณ เวลานั้นยังไม่มีธงประจำชาติ ทางป้อมจึงตัดสินใจใช้ธงประเทศฮอลันดาแทน แต่ประเทศฝรั่งเศสไม่ยอมรับ ด้วยเหตุผลว่าไม่ใช่ธงประจำประเทศไทย จึงให้นำธงฮอลันดาลง ฝ่ายสยามออกพระศักดิ์สงคราม จึงแก้ปัญหาด้วยการนำเอาธงแดงที่มีอยู่ในขณะนั้นขึ้นแทนธงชาติ ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ยิงสลุตกันอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการแสดงการยอมรับดังกล่าว เหตุผลนี้ธงแดงจึงเป็นธงประจำชาติผืนแรกของไทยอย่างไม่เป็นทางการ การเปลี่ยนจากธงแดงสู่ ธงวงจักร และ ธงช้าง วิวัฒนาการของธงไทยได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปวงจักรสีขาวอยู่ตรงกลาง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเรือหลวง และเป็นการแยกระหว่าง ธงเรือหลวงกับเรือสินค้า เนื่องจากที่ผ่านมา เรือทั้ง 2 ชนิดใช้ธงสีแดงเหมือนกัน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงมีพระราชดำริให้นำเอารูปช้างเผือกสีขาววางไว้ตรงกลางวงจักรสีขาว เนื่องจากช้างคือสัญลักษณ์แห่งแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีการใช้ธงสี่เหลี่ยมผืนสีแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสาธง โดยไม่มีวงจักรล้อมรอบตัวช้าง ซึ่งในช่วงนั้นมีการพื้นฟูความสัมพันธ์และเริ่มต้นทำสนธิสัญญาต่างๆกับชาติมหาอำนาจตะวันตกมากขึ้น จึงทรงมีพระราชดำริว่าสยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมของชาติตะวันตก รัชกาลที่ 5 ในสมัย ร.ศ. 110 หรือหลังจากก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์มาได้ทั้งหมด 110 ปี ซึ่งตรงกับพุทธศักราช 2434 ได้มีการจัดทำพระราชบัญญัติธง ฉบับที่ 1 เป็นแบบอย่างธงสยามที่รับรองเป็นกฎหมายเล่มแรก ว่าธงชาติสยามเป็นแบบไหน โดยในพระราชบัญญัติธงฉบับที่ 1 ข้อที่ 13 ได้ระบุไว้ว่า “ข้อ 13 ธงชาติสยาม เป็นรูปช้างเผือกเปล่าพื้นแดง ใช้ในเรือกำปั่นและเรือทั้งหลายของพ่อค้าเรือกำปั่นแลเรือต่างๆ ของไปรเวตทั่วไปในชาวสยาม ประกาศมาแต่พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ลงวันที่ 25 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 110” เหตุเกิดที่อุทัยธานี การเปลี่ยนธงช้างสู่ธงแดงขาวห้าริ้ว หลายคนอาจสงสัยว่าจากธงช้างที่ดูเหมือนจะสามารถเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยมาถึงปัจจุบันได้ ถูกเปลี่ยนกลายมาเป็นธงไตรรงค์ได้อย่างไร แต่แท้จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นมีเหตุผลที่คาดไม่ถึงจากการที่ชาวจังหวัดอุทัยธานี รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2459 หลังจากที่มีการประกาศข่าวให้ประชาชนชาวเมืองทราบกันทั่วว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเยี่ยมราษฎรประจำจังหวัดอุทัยธานี และจะหยุดประทับแรมถึงสองราตรี ราษฎรจึงได้จัดเตรียมเคหสถานบ้านเรือนเป็นงานรับเสด็จเป็นการใหญ่ ส่งผลให้ตลอดข้างทางเสด็จในเมืองอุทัยธานี เต็มไปด้วยธงทิวผ้าเฟื่อง ซุ้มดอกไม้ และโต๊ะบูชา เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี แต่ในระหว่างที่รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินผ่านตัวเมืองอุทัยธานี ไปถึงแถบชุมชนที่ห่างจากบริเวณตัวเมือง ชาวบ้านในตัวชุมชนก็ได้พยายามติดธงช้างเพื่อให้การต้อนรับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน แต่มีบ้านหลังหนึ่งที่ได้ธงมาอย่างกะทันหัน จึงได้เอาธงช้างไปติดไว้บนยอดหน้าจั่วหลังคา แต่เมื่อขบวนเสด็จพระราชดำเนินมาหยุดลง สิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อล้นเกล้าล้นกระหม่อมทอดพระเนตรขึ้นไปเห็นธงช้างฝืนนั้น ก็มีอาการสะดุดพระเนตร เนื่องจากธงช้างติดอยู่ในลักษณะช้างนอนหงายเอาเท้าชี้ฟ้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่เป็นมงคล จากนั้นมา พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก จึงเป็นจุดกำเนิดของธงแดงขาวห้าริ้ว ซึ่งเป็นรูปแบบสมมาตร และไม่ว่าติดด้านไหนก็ไม่มีลักษณะกลับหัว โดยสีแดงนั้นมาจากสีเดิมของธง ส่วนสีขาวมาจากช้างเผือกนั้นเอง กำเนิดธงไตรรงค์ จากคำแนะนำของ อะแควเรียส หรือ อะแควริส ผู้ใช้นามแฝงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2460 ก่อนที่สยามจะประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศของเรายังคงอยู่ในช่วงทดลองใช้ธงห้าริ้ว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับฟังความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับธงชาติสยาม แต่แล้ว ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพฯ เดลิเมล์ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2460 ปรากฏว่ามีผู้ใช้นามแฝงว่า อะแควเรียส หรือ อะแควริส ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับธงชาติว่าควรเพิ่มสีน้ำเงิน เพื่อให้ธงชาติสยามมีสีน้ำเงิน แดง ขาว เหมือนกับชาติสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 นั่นเอง บันทึกจดหมายเหตุรายวันของพระองค์ระบุไว้ว่า “เพื่อนของผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นว่า ไม่สู้พอใจต่อรูปแบบของธงสยามที่ทำขึ้นใหม่ เพราะเห็นว่าไม่สง่างามพอสำหรับประเทศ และได้ออกความคิดเห็นว่าริ้วแดงกลางควรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ดังนี้ริ้วขาวที่กระหนาบสองข้างประกอบกับริ้วสีน้ำเงินกลางก็จะรวมกันเป็นสีส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสีแดงกับขาวที่ริมประกอบกันก็จะเป็นสีสำหรับชาติ และด้วยประการนี้ กรุงสยามก็จะได้มีธงสีแดง ขาว กับน้ำเงิน เช่นเดียวกับ ธงสามสี (ฝรั่งเศส) ธงยูเนี่ยนแจ็ค (อังกฤษ) และ ธงดาวและริ้ว (อเมริกัน)” ซึ่งพระองค์ทรงเห็นด้วย จึงได้เพิ่มสีน้ำเงิน สีทรงโปรดลงตรงกลาง ก่อนจะนำเรื่องเข้าประชุมลงมติเห็นชอบธงสามสีแบบที่คิดขึ้นใหม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ ธงไตรรงค์ เป็นธงประจำชาติ และได้พระราชทานธงไตรรงค์ เป็นธงชาติสยาม เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2460 ธงใหม่ของสยามภายใต้การปรับปรุงครั้งนี้ ตรงกับช่วงเวลาการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของสยามประเทศเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2461 ซึ่งหลังจากสงครามจบลง และสยามอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ชนะ ธงไตรรงค์ของสยามก็ได้เดินผ่านประตูชัยที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พร้อมกับคณะทหารอาสา ในการเฉลิมฉลองชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2462 ซึ่งนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชนะสงครามร่วมกับชาติมหาอำนาจในยุโรปแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ชาติมหาอำนาจในยุโรปให้การยอมรับสยามในเวทีโลก โดยสัญลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดคือการที่สยามได้เข้าร่วม สันนิบาตชาติ (League of Nations) องค์การระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2462 เพื่อป้องกันสงครามความขัดแย้งในอนาคต รวมถึงได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาต่างๆ ซึ่งสยามมีอำนาจในการต่อรองกับชาติมหาอำนาจมากขึ้น จากการตัดสินใจครั้งนั้น การเปลี่ยนแปลงของธงประจำชาติสยามหรือไทยเราในปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามีการพิจารณาตามความเหมาะสมของยุคสมัย และเมื่อใดก็ตามที่เห็นถึงความสำคัญที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยของโลก ไทยก็สามารถปรับตัวได้เสมอ ในแต่ละยุคสมัย ความหมายและบทบาทของธงไตรรงค์เปลี่ยนแปลงไปตามบทบาทของผู้นำในแต่ละยุค จนมาถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560 ธงไตรรงค์ของเราจะมีอายุครบ 100 ปี ซึ่งเมื่อกาลเวลาผ่านไป และธงไตรรงค์ถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า 100 ปีผ่านไป คนไทยมองธงไตรรงค์แล้วมีความรู้สึกอย่างไร อ้างอิง หนังสือ 10 ทศวรรษ ธงชาติไทย โดย ว.อำพรรณ www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/thaiflag/newsite/detail.php?id=22
พระราชดำริเกี่ยวกับธงไตรรงค์ของในหลวง ร.6 อยู่ในพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/436.PDF
ข่าวช่อง 9 กับ ช่อง 3 ออกอากาศร่วมกันในช่วงข่าวภาคค่ำ 2 ทุ่ม กับคุณแอ้ กรรณิการ์ ธรรมเกษร ปี 2527 และปีเดียวกันกับข่าวการชกโอลิมปิกของทวี อัมพรมหา ที่มีแต่ภาพนิ่งจาก นสพ. และไม่น่าเชื่อว่า ครั้งนึงบ้านเราจะมีโฆษณา นสพ.ทางทีวีด้วย บิ๊กเบิ้มไทยรัฐก่อนเลย เห็นว่าทำโดย อ.สรรพสิริ วิริยศิริ 2518 แนวหน้า 2528 โดม ปกรณ์ ลัม ตอนเด็ก ๆ
แนวหน้าอีกตัว อันนี้ิชิงโชค 2531 อันนี้ยังไม่เก่ามาก ราว ๆ ปี 2549 แต่อาจลืมเลือนกันไปแล้ว ตอนนั้นเดลินิวส์เริ่มที่จะใช้สโลแกน "อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์" คุณชายคึกฤทธิ์เคยโฆษณาอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ด้วย 2526 โฆษณา M-150 เขาทราย 2528 (พอมาดูอีกที พอจำ ๆ เพลงนี้ได้สมัยมีมวยชก)
นักมวยอีกคน สามารถ เข้าใจว่าตอนนั้นคงเป็นตอนที่แขวนนวมไปรอบแรก ผู้หญิงนั่นคือ กันตา ดานาว ที่ตอนนั้นมีข่าวว่าคบหากันอยู่ด้วย จำได้ว่าเพลงนี้ดังมาก ฮิตติดหู "จะรีบไป...รีบไป..เข้มแข็งไม่หวั่นกับเรื่องราวใด ๆ"
บทความนี้ขอนำภาพยนตร์โฆษณา 9 ชิ้น ที่หน่วยงานต่างๆ จัดทำขึ้นมาเพื่อเทดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช…พ่อ ที่เป็นแบบอย่าง พ่อที่ลงมือทำงานหนักมาตลอด 70 ปี ตลอดรัชสมัยของพระองค์ พ่อที่จะอยู่ในความทรงจำของคนไทยตลอดไป 1.เราจะทำแบบในหลวง ไม่ใช่แค่รักพระองค์ท่านเท่านั้น แต่ถ้าหากว่ารักพระองค์ท่าจริงต้องแอ็คชั่นลงมือ ทำเรื่องดีๆ แบบที่พระองค์ท่านทำเพื่อคนไทยมาตลอด เพราะถ้าหากว่าทุกคนทำได้เพียงแค่เศษเสี้ยวเดียวกับที่ท่านเคยทำ ก็พอแล้ว เรื่องราวของชายหนุ่มคนหนึ่งที่ตั้งใจทำเสื้อ “เรารักในหลวง” ออกขาย และอยากออกแบบให้ดีขึ้นเพื่อแสดงถึงความรักที่เขามาต่อในหลวง แต่คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออกสักทีว่าทำอย่างไร ในที่สุดเขาหาแรงบันดาลใจ โดยการติดตามข่าวพระราชกรณียกิจของในหลวง จนทำให้เขาค้นพบว่าความจริงแล้วพระองค์ท่านทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และพระราชดำรัสมากมาย ที่คนทั่วไปก็สามารถเอาทำตามได้ แต่ทุกวันนี้เรากลับไม่ได้นำมาปรับใช้กับชีวิตเลย ทั้งที่จริงๆ แล้ว เราสามารถบอกรักท่านได้ทุกวัน ผ่านการทำความดีตามรอยของท่าน แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ ตามกำลังของตัวเองก็ตาม ดังนั้นแทนที่ชายหนุ่มคนนี้จะก้มหน้าก้มตาทำเสื้อ “เรารักในหลวง” เขากลับออกเดินทางไปทำความดีต่างๆ มากมาย และในท้ายที่สุด เขาก็ค้นพบว่า จริงๆ แล้ว สิ่งที่คนไทยควรทำคือ “ทำแบบในหลวง” ต่างหาก 2. ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีไปทำไม หลายคนอาจจะลืมไปแล้วว่าทำไมเราต้องยืนสรรเสริญพระบารมีก่อนมหรสพจะเริ่มขึ้น “เหตุผล” (The Reason) เป็นคลิปที่เล่าเรื่อง ผ่านชายหนุ่มนิรนามเดินออกมาด้านหน้าจอภาพยนตร์ แล้วเขาจะเล่าให้เราฟังว่า เขากำลังยืนถวายความเคารพ “ในหลวง” ผู้ที่ไม่ใช่สมมติเทพ ไม่มีพลังวิเศษอะไร แต่กลับเดินทางไปทั่วประเทศไทยเพื่อทำงานช่วยเหลือประชาชาชนคนไทยอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ซึ่งไม่มีกษัตริย์ประเทศไหนบนโลกจะทำได้ขนาดนี้ ดังนั้นการยืนถวายความเคารพน่าจะเป็นสิ่งเล็กๆที่พวกเราพึงกระทำได้ เพื่อระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของท่าน 3. ยาสีพระทนต์ ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล จะเป็นถึงพระมหากษัตริย์ แต่พระองค์ท่านกลับทรงเป็นแบบอย่างในเรื่องความประหยัด ภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนี้เล่าเรื่องผ่านหมอฟันคนหนึ่งที่ชาวบ้านต่างก็ชื่นชม เหตุผลที่คุณหมอต้น กลายเป็นที่ชื่นชม ก็เพราะว่าเขาได้เห็นหลอดยาสีพระทนต์ของในหลวง ที่ถูกบีบจนแบน เพียงแค่เรื่องเล็กๆ ที่พระองค์ท่านทำ ก็กลายเป็นแบบอย่างให้ใครคนหนึ่งรู้จักตระหนักเรื่องการใช้พลังงาน 4. หมอตามรอยในหลวง เล่าเรื่องจริงของ พ.ต.นพ.สรวิชญ์ สุบุญ หรือหมอก้อง คุณหมอและนักแสดงหนุ่ม ที่เหนื่อย และท้อแท้กับการที่ต้องเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ทุรกันดาร จนกระทั่งมีคนบอกเขาว่าเส้นทางยากลำบากที่เขาพร่ำบ่นอยู่นี่ มีใครคนหนึ่งที่เดินขึ้นมาโดยไม่บ่นสักคำ 5. พ่อมองเห็นเราเสมอ มาลัยรัตน์ มั่นสัมฤทธิ์ เด็กสาวที่เผชิญชะตากรรมต้องเลี้ยงดูคุณแม่ที่พิการตั้งแต่อายุ 12 ปี วันหนึ่งเธอเขียนจดหมายขอความช่วยเหลือ โดยปราศจากซอง ไม่มีจ่าหน้า ไม่มีแสตมป์ แต่แล้วก็มีจดหมายตอบกลับจาก “ในหลวง” พร้อมกับความการุณย์ที่มอบให้ จนเธอและแม่มีชีวิตต่อไปได้ เพราะว่า “พ่อมองเห็นความยากลำบาก” ของประชาชนของพระองค์ท่าน 6. เหตุผล…ที่คนไทยรักในหลวง https://youtu.be/2K0qET70ZNw คุณว่า “ความกตัญญู” คืออะไร ถ้าเราบ่นกันว่าทำงานหนักจนไม่มีเวลาทานข้าวกับคุณพ่อ คุณแม่ โฆษณาเรื่องนี้จะทำให้คุณรู้ว่า มีคนๆ หนึ่งเขาไปทานข้าวกับคุณแม่เขาอาทิตย์ละ 5 วัน ทั้งๆ ที่เขาคนนั้นทำงานหนักกว่าเราเป็นร้อยเป็นพันเท่า คนๆ นั้นคือ ในหลวงภูมิพล ต้นแบบของคำว่า “กตัญญู” 7. “เพื่อคนข้างหลัง” https://youtu.be/tBawQA9Qvys มีหลายคนที่ออกกำลังกายเพื่อตัวเอง เขาเหล่านั้น บ้างเป็นนักกีฬาที่ต้องฟิตซ้อมอยู่เสมอ บ้างก็ใช้การออกกำลังกายเพื่อทำให้ร่างกายตัวเองแข็งแรงเอาชนะอาการเจ็บป่วย แต่ยังมีคนบางคนที่ออกกำลังกายเพื่อคนอื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ออกกำลังกายเพราะเชื่อว่าการออกกำลังกายเป็นรากฐานของประเทศ นี่จึงเป็นผลงานโฆษณาอีกชิ้น ที่น้อมนำเอาแนวคิดของพระองค์มาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม 8. ปิดทองหลังพระ https://youtu.be/Io5mPyX3rPQ พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สอนให้รู้ว่าในการทำงาน บางครั้งก็ต้อง “ปิดทองหลังพระ” เพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ที่ดี ถึงแม้ว่าจะไม่มีคนเห็นก็ตาม 9. In Your Heart https://youtu.be/kn7nB___yRs เล่าเรื่องผ่านฝรั่งคนหนึ่งที่เขาตั้งคำถามว่าทำไมคนไทยถึงได้แสดงความเคารพ รัก ต่อ “ในหลวง” จนกระทั่งเขาได้รับคำตอบว่า “ในหลวง” อาจแปลได้ว่า In Your Heart หมายถึงความรู้สึกที่พระองค์ประทับอยู่ในใจคนไทย และไม่ใช่แค่ในโฆษณา แค่รัชสมัยของพระองค์ หรือแค่ช่วงไว้อาลัย30 วัน, 1 ปีเท่านั้น แต่พระองค์ท่านจะสถิตอยู่ในใจของคนไทยทุกคนนับจากนี้ตลอดไป ที่มา https://www.brandbuffet.in.th/2016/10/9-memory-ads-for-beloved-king/
77PPP โรงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด (Hollywood Theatre) กรุงเทพมหานคร (นครหลวงกรุงเทพธนบุรี) | Bangkok ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1971 (พ.ศ.๒๕๑๔) Image Source: Wilbur E. Garrett, United States — กับ Mahitti Seriputra
ถนนบำรุงเมือง พ.ศ. 2448 ทำไมถนนสายนี้ถึงไม่มีฟุตบาท หรือบาทวิถี เขาว่ากันว่า มันมี แต่ว่าบาทวิถีอยู่ในตัวตึก ซึ่งสมัยก่อนตึกแต่ละตึกเขาสร้างถึงกัน แต่ปัจจุบันนี้มันปิดหมด เลยมองไม่เห็น จริง ๆ บาทวิถีมันก็ไม่มีเฉพาะส่วนที่มาจากเสาชิงช้าเท่านั้นแหละ สั้น ๆ พอมาถึงสี่กั๊กเสาชิงช้าก็มีแล้ว สมัย ร.6 สี่กั๊กเสาชิงช้า วงเวียนโอเดียน เยาวราชมั่ง จากเว็บไซด์เยาวราช จะเห็นโรงหนังโอเดียน อันเป็นที่มาของชื่อวงเวียน เพิ่งรู้เหมือนกันนะเนี่ยว่าสมัยก่อนมันเป็นน้ำพุ ไม่เคยเห็นนนน รูปพวกนี้เคยลง ๆ ไปมั่งยังนะ จำไม่ได้แระ ถ้าซ้ำก็ขออำพัย ห้างเซ็นทรัลและคาเธ่ย์ เปรียบเทียบกัน ที่เดียวกัน แต่คนละยุคสมัย ซ้ายคือ ห้างใต้ฟ้า ขวาคือ ปัจจุบัน ร.ร.แกรนด์ไชน่าปริ๊นเซส โรงหนังเฉลิมบุรี อันเป็นที่มาของแยกเฉลิมบุรี ซึ่งมีห่านพะโล้เล่าตั้งที่แสนอร่อยตั้งอยู่ในปัจจุบัน โรงหนังเฉลิมบุรีนี้อีกชื่อนึงคือ โรงหนังสิงคโปร์ และก็เป็นที่มาของชื่อ ลอดช่องสิงคโปร์ แต่ร้านลอดช่องจริง ๆ อยู่ฝั่งเจริญกรุง ตรง ๆ สามแยก หรือแยกหมอมีในปัจจุบัน (แยกนี้ก็แปลก ชื่อ สามแยก แต่จริง ๆ มันคือ ห้าแยก) พูดถึงลอดช่องสิงคโปร์แล้วก็ เพิ่งเจอคุณป้าคนนึงเมื่อวาน แกเล่าว่า ลอดช่องสิงคโปร์อร๊อย อร่อย สมัยแกสาว ๆ แกไปดูหนังที่โอเดียนเสร็จ ก็แวะมากิน กินตั้งหลายถ้วย ฮ่ะฮ่ะ ถนนเจริญกรุงมั่ง ปี 2503 แถว ๆ ไปรษณีย์กลางบางรัก ธงเขียว-แดง นั่น คือ จุดสับราง รถรางนี้วิ่งไปจนถึงพาหุรัด ซูเปอร์แมน มาร์เวลคอมมิคฮีโร่ ในยุคปัจจุบัน ในยุค 50 ก็เคยเข้ามาฉายในเมืองไทยแล้ว ณ โรงหนังแห่งนี้ ไซบู้ไท้ หรือชื่อภาษาไทย ศรีราชวงศ์ สังเกตชื่อภาษาไทย อันนี้ทันสมัยขึ้นมาหน่อย 2529 ว่ากันว่าคาเธ่ย์ตรงนี้ เคยเป็นที่ตั้งของโรงหนังแห่งนี้แหละ
ห้องวิจัยประวัติศาสตร์ ข้อมูลจากหลายแหล่ง ไม่เคยระบุบริเวณที่โดนระเบิดครั้งแรก....บันทึกของบุคคลนิรนามข้างบน อาจเป็นการบ่งชี้บริเวณที่กรุงเทพฯถูกระเบิดครั้งแรกก็ได้
ไปเจอมาเว็บนึง เยาวราช (อีกแล้ว) เป็นกรณีจลาจลที่เทียนกัวเทียน (น่าจะแปลคร่าว ๆ ได้ว่า สวรรค์) หรือ ทีงั่วที เป็นโรงหนังอยู่แถว ๆ แยกราชวงศ์ในปัจจุบัน เหตุสืบเนื่องจากในสมัยรัฐบาลเผด็จการยุคเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย อย่างที่รู้ ๆ กัน ผู้หลักผู้ใหญ่ท่านชาตินิยม ท่านไม่นิยมจีน คนเจ๊กคนจีนจะพูดจะคุยจีนกันในที่สาธารณะยังต้องระวัง แต่พอสงครามโลกยุติ จีนเป็น 1 ใน 5 ชาติมหาอำนาจที่ชนะสงคราม คนจีนก็เลยฮึกเหิม โบกธงชาติจีนในยุคสาธารณรัฐ เปิดเพลงชาติจีน ชูรูปซุนยัดเซ็นขึ้นแทนพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 8 เลยก็มี ก็เลยทำให้ดินแดนแถบเยาวราชกลายเป็นเสมือนแดนสนธยาที่คนไทยเผลอเดินหลงไปเข้าก็จะเจอกับวิชากำลังภายใน ใช้สองนิ้วจิ้มพุงที่เรียกว่า เลี๊ยะพ่ะ เข้าให้ คือ ตีกันระหว่างคนจีนกับคนไทย ภาพชุดนี้ คือ ราว ๆ กลางปีเยื้องไปทางปลายปี ราว ๆ เดือน ก.ย.-ต.ค. 2488 หลังสงครามโลกยุติ ตร.ถึงกับต้องถือปืนยาวหรือตั้งรังปืนกลรักษาการกันเลยทีเดียว รูปใหญ่ใสสะอาดเห็นชัดเลยทีเดียว นาครสนุก นี่คือ โรงหนัง โรงมหรสพนั่นแหละ ซึ่งเคยมีร้านข้าวหมูแดงตั้งขายอยู่ ซึ่งปัจจุบันร้านนี้ก็คือ ร้านนายฮุย นาครสนุก เป็นรุ่นลูกแล้ว ก็ย้ายร้านไป 2-3 ครั้ง ปัจจุบันก็ร้านนี้อยู่ในซอยเจริญกรุง 6 (เชื่อมต่อกับซอยภาณุรังสีข้าง ๆ เมก้า สะพานเหล็กได้) ซึ่งป้ายร้านเขาก็ยังคงชื่อ นายฮุย นาครสนุก อยู่ (เป็นร้านอาหารเด็ดเจ้านึงที่เขาแนะนำกันแถววังบูรพา & เยาวราช สำเพ็ง) เอ้า ดูรูปต่อ การจลาจลครั้งนี้ ก็ยุติลงได้ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนสำเพ็งของรัชกาลที่ 8 และสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2489 อันเป็นวันประวัติศาสตร์วันนึงเลยทีเดียวในประวัติศาสตร์เยาวราช และประวัติความสัมพันธ์ไทย จีน คุณชายเสนีย์ ปราโมช เคยเล่าไว้ถึงความจลาจลหลังสงครามโลกว่า สมัยที่ท่านเป็นนายกฯครั้งแรกในช่วงหลังสงครามนั้น (ตอนนั้นยังไม่มีพรรค ปชป.) ท่านนั่งรถประจำตำแหน่งผ่านไปไหนนี่แหละ แล้วไปเจอคนไทยกลุ่มนึง เมาเหล้าเอาหินขว้างปาร้านคนจีน ท่านสั่งให้หยุดรถ แล้วลงไปห้ามบอกว่า เรื่องที่คนจีนกับคนไทยทะเลาะกันหรืออะไรกันนี่แหละ จำไม่ค่อยได้ละ อย่าถือเป็นเรื่องใหญ่ จะจัดการให้ หัวหน้ากลุ่มก็สั่งลูกน้องบอกว่า เฮ้ย หยุด ท่านนายกฯขอมา ว่าแล้วก็คนกลุ่มนี้ก็ไปเมาที่อื่นต่อ วันต่อมา บางกอกโพสต์ ซึ่ง สอ เสถบุตร เป็น บก. ก็เอาข่าวนี้ไปลงพาดหัวว่า ถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า "นายกฯห้ามจลาจล" แถบ ๆ เยาวราชนี่มีจลาจลเยอะ ราว ๆ ปี 2518 ยุค อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกฯ ก็มีจลาจลที่พลับพลาไชย เหตุเกิดจาก ตร.ไปจับกุมคนขับรถแท็กซี่คนนึงไปขังคุกแค่นั้นเอง ก็ลุกลามบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่เลย ถึงกับรัฐบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ตร.เอาไม่อยู่ ต้องให้ทหารเข้ามาจัดการจึงจะเอาอยู่ หลังผ่านไป 3-4 วัน มีคนบาดเจ็บและล้มตายด้วย เห็นว่าเบื้องหลังจริง ๆ แล้วมันเป็นการปะทะกันระหว่างมาเฟียสองแก๊งค์ แก๊งค์อีเกิ้ล กับแก๊งค์ดราก้อน หรือไงนี่แหละ (ยังกะหนังแน่ะ)
นาวาตรีพยงค์ มุกดาพันธ์ หรือ ครูพยงค์ มุกดา (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2469—12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) นักร้อง นักแสดง นักแต่งเพลง ที่มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแต่งเพลงเป็นจำนวนมาก ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2534 และได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550 พยงค์ มุกดา เป็นชาวจังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายแก้ว และนางบุญ มุกดา เกิดบนเรือกลางแม่น้ำแม่กลอง บริเวณตำบลท่าเสา จังหวัดราชบุรี จบชั้น ป.4 จากโรงเรียนเทศบาลวัดราชนัดดาราม และเข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้องวงดุริยางค์กองทัพบก โดยการสนับสนุนของครูจำปา เล้มสำราญ ต่อมาจึงก่อตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเองชื่อ วงพยงค์ มุกดา ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า "วงมุกดาพันธ์" และเป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชอีกด้วย ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก เคยเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ เคยแสดงภาพยนตร์ เช่นเรื่อง เสน่ห์บางกอก, ไซอิ๋ว เคยอยู่วงดุริยางค์กองทัพเรือ เป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ช เช่น "สหมาร์ชราชนาวี", "มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า", นาวีบลู ในฐานะนักแต่งเพลง ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงมาร์ช ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง "นกขมิ้น" (ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ) "ช่อทิพย์รวงทอง" (ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์) "นางรอง" และ "รักใครไม่เท่าน้อง" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "ลูกนอกกฎหมาย" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) "รอพี่กลับเมืองเหนือ" (ขับร้องโดย พรทิพย์ภา บูรกิจบำรุง) "เด็ดดอกรัก" (ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร) และ "ฝั่งหัวใจ" ขับร้องโดย บุษยา รังสี) ในปี พ.ศ. 2532 ครูพยงค์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย 2 รางวัล จากเพลง "สาวสวนแตง" (ขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ) และ "ล่องใต้" (ขับร้องโดย ชัยชนะ บุญนะโชติ) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทาน 3 รางวัล จากเพลง "ยอยศพระลอ" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "น้ำตาสาวตก" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) และ "ลูกทุ่งเสียงทอง" (ขับร้องโดย เพชร พนมรุ้ง) ในปี พ.ศ. 2534 พยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ประพันธ์เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง) นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของท่านถึง 2 คน ก็ได้รับเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติ เช่นกัน คือ ชัยชนะ บุญนะโชติ (พ.ศ. 2541) และ ชินกร ไกรลาศ (พ.ศ. 2542) ในปี พ.ศ. 2551 ครูพยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินอาวุโส รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2550 ครูพยงค์ มุกดา ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและไตวายที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553รวมอายุได้ 83 ปี
นอกจากตึก 7 ชั้นที่เยาวราชแล้ว ก็ยังมีตึก 7 ชั้นอีกแห่ง คือ ตึก 7 ชั้นของนายเลิศ (เศรษฐบุตร) หรือ ห้างนายเลิศด้วยนะ ก็อยู่เลยเยาวราชไปหน่อย คือ สะพานพิทยเสถียร หรือสะพานเหล็ก (ล่าง) ตรงตลาดน้อย ช่วงที่ติดกับบางรัก เห็นว่าชั้นล่างเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตด้วย สร้างปี 2470 ก็หลังจากตึก 7 ชั้นเยาวราชนิดหน่อย (ตึก 7 ชั้นเยาวราช 2466) ตึก 7 ชั้นนายเลิศ ในยุคปัจจุบันซึ่งก็ยังอยู่ กลายเป็น หจก.กัมมาราโฟโต้ สะพานพิทยเสถียร ไม่ทราบ พ.ศ. อีกรูปในอดีต เขาว่าเป็น พ.ศ. 2503 สี่แยกราชวงศ์ 2476 ตลาดน้ำคลองมหานาค ภาพชุดนี้ 2476 หมดเลยยยย วัดพระแก้ว สะพานเจริญราษฎร์ 72 คลองมหานาค ซ้ำเปล่าไม่รู้นะ ถ้าซ้ำก็ขออำไพด้วย ตลาดน้ำคลองมหานาคอีกรูป ประตูสามยอด ส่วนหนึ่งของประตูพระบรมมหาราชวังชั้นนอก เนื่องจากมีประตูสามช่อง และยอดสามยอด ชาวบ้านจึงเรียกว่า "ประตูสามยอด" ถูกรื้อถอนไปในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากมีการขยายถนนเจริญกรุง ปัจจุบันก็เหลือเพียงแค่ แยกสามยอด เท่านั้น (อีกไม่นานก็จะมีสถานี MRT แย้ว ด้วยรูปแบบสถาปัตย์แบบชิโน-โปรตุกีสด้วย) อันนี้คือ ตลาดสำเพ็งที่มองเห็นประตูสามยอด แยกเอสเอบี มองเห็นป้ายรถรางด้วย ซึ่งปัจจุบันก็มีร้านทรูคอฟฟี่ (แถมเลยไปหน่อยก่อนถึงวัดเล่งเน่ยหยี่ก็ยังมี สตาร์บั๊คอีกตะหาก) วงเวียนโอเดียนอีกซักครั้ง อันนี้เขาว่า ปี 2493 จะเห็นได้ว่าสมัยนั้นยังไม่มีน้ำพุ
วันสุดท้ายของรถรางไทย (11 ก.ย. 11) บรรยายและถ่ายทำโดย แท้ ประกาศชาติวุฒิ น่าเสียดายจัง เกิดไม่ทัน แม้ตอนหลัง กทม.เขาจะพยายามรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง แต่ก็เป็นรถรางแบบที่ใช้ "ล้อ" ไม่ใช่ "ราง" เหมือนของจริง ซ้ำที่หน้าตลาดน้อย ถนนเจริญกรุง ที่มีรางรถรางก็โดนราดทับไปแล้วเรียบโร้ยตั้งกะปี 58 ภาพจาก ผจก. สมัยยังมี กะไม่มีแล้ว ทำให้ร่องรอยรถรางเส้นสุดท้ายใน กทม. คือเหลือเพียงที่เดียวเท่านั้น คือ ข้าง ๆ ศาลหลักเมืองกับกระทรวงกลาโหม ภาพก็หยิบยืมมาจากของคนอื่นเขาแหละ ก็ถ้าใครอยากดูรถราง "ของจริง" ต้องไปดูที่การไฟฟ้านครหลวง เขตยานนาวา ที่ถนนตก มิน่า ทำไมรถเมล์สาย 1 เขาถึงให้วิ่งระหว่าง ท่าเตียน ไปถึง ถนนตก เหตุเพราะถนนตกเป็นปลายสุดของเจริญกรุง ถนนสายแรกของไทยนี่เอง เมื่อรถรางยกเลิกไป ก็เลยให้เป็นรถเมล์สาย 1 วิ่งเอง เพราะสาย 1 นี่ก็วิ่งถนนเจริญกรุงทั้งสายเลยนะ ท่าเตียนก็เป็นจุดเริ่มของเจริญกรุง และก็มีบางช่วงที่วิ่งเข้าถนนสี่พระยา แถวตรอกกัปตันบุชอะไรนั่นด้วย นั่นก็เป็นอีกย่านหนึ่งที่เคยรุ่งเรืองของพระนครในยุค ร.5 เหมือนเยาวราช เพลงประกอบ: รำวงรถราง โดย บังเละ วงศ์อาบู
สะพานกษัตริย์ศึก เมื่อครั้งซ่อมแซมและเปิดใช้ใหม่ ๆ ในปี 2471 ตะก่อนที่นี่มีชื่อเรียกว่า "สะพานยศเส" ทำให้ชื่อ ยศเส กลายเป็นชื่อที่เรียกติดปากจนถึงทุกวันนี้ แต่เดิม เป็นสะพานไม้เท่านั้นเอง ร.7 ท่านได้บูรณะซ่อมแซมให้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อให้ข้ามทางรถไฟจากหัวลำโพง และข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่อยู่ติดกันด้วย แล้วเสร็จเมื่อปี 2472