สมกะชื่อ ดอนอีเหยี่ยว ในสมัยก่อนจริง ๆ เพราะที่นี่เต็มไปด้วยอีแร้ง อีเหยี่ยว ซึ่งสมัยนี้ไม่มีแร้ว งั้นมาดูภาพสนามบินดอนเมืองเก่า ๆ ดีกั่ว เปลี่ยนชื่อจาก สนามบินดอนเมือง (Don Mueang Airport) เป็น ท่าอากาศยานกรุงเทพ (Bangkok Airport) เมื่อปี 2498 มีร้านตัดผมด้วยนะ ออฟฟิศ บริษัท เดินอากาศไทย โหลดกระเป๋า แผงผังก่อนที่จะมีอาคารผู้โดยสารต่างประเทศ หรือ เทอร์มินัล 1 ด้านใน เคาน์เตอร์การบินไทย ร้านปลอดภาษี นั่งรอขึ้นเครื่อง หลังจากตรวจตั๋วแล้ว (ไม่บอกไม่เชื่อเลยนะเนี่ยว่านี่คือ สนามบิน ยังก๊ะหมอชิตก็ไม่ปาน)
ผู้โดยสารขาออก ลานบินมั่ง โหลดของขึ้นเครื่อง ร้านอาหาร คาร์โก รปภ. ครัวการบินไทยที่ขึ้นชื่อ ชัตเตอร์บัส ลีมูซีนก็มี
ช่วงนี้มีงานชุกมากๆ พอๆกับฝนหลงฤดู ทั้งงานหลวงงานราษฎร์ งานในบอร์ด งานนอกบอร์ด เฉพาะงานในบอร์ดเนี่ยแทบจะไม่ได้ เข้ามาเม้นท์อะไรเป็นชิ้นเป็นอันทางการเมือง ส่วนห้องนี้ก็มีโปเจ็คที่ ต้องเร่งให้เสร็จภายในวันที่ ๕ ธันวา ๕๘ ก็คือ นิทานเวตาล ซึ่งตอนนี้ (๑๙ พย.๕๘)ได้ลงไปถึงเรื่องที่ ๑๙ แล้ว ยังขาดอีก ๖ เรื่องก็จะครบ สมบูรณ์แบบ อยากให้ทุกๆท่านได้ลองอ่านดู แล้วจะรู้ว่าภูมิปัญญา ของชาวตะวันออกอุษาคเนย์อย่างเรา มีความสุขุมลุ่มลึกขนาดไหน งานชิ้นนี้ ทำเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่จะมีพระชนมายุครบ ๘๘ พรรษา ซึ่งพระอัจฉริยะภาพของพระองค์ท่าน มีความโดดเด่นไม่แพ้พระเจ้าตรีวิกรม ตัวเอกในเรื่องนี้ มาดูภาพกันต่อนะครับ สถานีบ้านชะอำ จ.เพชรบุรี ปี พ.ศ.2532 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเหลือแค่ "ชะอำ"
ที่ตั้งตลาดน้ำ เป็นสามแยกที่คลองบางมด กับคลองสนามชัยมาบรรจบกันที่วัดไทรอันเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีทางรถไฟสายแม่กลองช่วงวงเวียนใหญ่ - มหาชัย ผ่านอยู่ใกล้ๆ ซึ่งผู้มาเยือนใช้เวลาเดินเท้าจากที่หยุดรถวัดไทรอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็จะพบบรรดาพ่อค้าแม่ค้าพายเรือสำปั้นบรรทุกสินค้าในสวนมาชุมนุมค้าขายกันที่นี่ เป็นที่น่าตื่นใจของนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกยิ่งนัก ประมาณปี พ.ศ.2510
แยกบรมราชชนนี ปี 2525 ในยุคนั้นที่ยังเรียกกันว่า แยกปิ่นเกล้า หรือ แยก 35 โบลว์ ในมุมที่ถ่ายจากห้างพาต้า ซ้ายมือไปบางขุนนนท์ สายใต้เก่า ขวามือไปแยกบางพลัด สะพานพระราม 6 ถนนที่ตัดใหม่คือ ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี (ถ.บรมราชชนนี)
ส่งเข้าปลากวดต่อ Taken by King Chulalongkorn - one of his young sons - 1889 This image has been resized. Click this bar to view the full image. The original image is sized 960x844. 1897 Bangkok samlor [rickshaw] The King's Ayutthaya Round-Up, seen here in 1890 1895 Royal celebratory procession, Bangkok he 1935 Bachelor of Arts graduating class - Chulalongkorn University เห็นรูปนี้คิดถึงพี่พระฤาษีเลย
Japanese soldiers assemble at BKK station during surrender processing, 1945 same day and location....allied forces This image has been resized. Click this bar to view the full image. The original image is sized 801x607. ขอขบพระคุณเวบ http://teakdoor.com/famous-threads/39970-siam-thailand-bangkok-old-photo-thread-113.html
เอาที่เกี่ยวกะการเมือง เช้าวันที่ 24 มิ.ย. 2475 [เห็นว่าการปฏิวัติครั้งนี้เห็นว่ามีการบันทึกไว้เป็นภาพยนตร์ด้วยนะ แร้วมีการเข้าฉายในโรงหนังที่อเมริกาด้วย แต่ปรากฏว่าฉายได้ไม่เท่าไหร่ เจ้าของโรงก็ถอดออกหาว่า ปฏิวัติอะไรฟระ !?! มีแต่คนเดินไปมา แร้วก็เฮ ๆ กัน ฮ่วย !!! เอ้า ! ก็มันปฏิวัติแบบไทย ๆ ไง ฝะหรั่งมะเข้าจัยหร๊อก ปัจจุบันไม่ทราบว่าฟิล์มดังกล่าวยังเหลืออยู่ไหม ? สภาพสมบูรณ์แค่ไหน ? ใครเป็นเจ้าของ ??? น่าสืบค้นหาชะมัด ] อันนี้คงเคยเห็นกันแร้ว เจ้าคุณพหลฯ รูปนี้เห็นว่าถ่ายที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ในวันที่ 24 มิ.ย. 2475 เหมือนกัน กบฏบวรเดช 2476 [จะเห็นได้ว่า แม้แต่กบฏบวรเดชก็มีการบันทึกไว้เป็นภาพยนตร์ด้วยเหมือนกัน ถึงขนาดลงทุนไปถ่ายบนเรือ]
ต่อ ๆ ภาพสุดท้ายนี่น่าจะเป็นประตูเมืองโคราช ทหารเขมรภายใต้การบังคับบัญชาของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ที่สระแก้ว สงครามอินโดจีน 2484 การเดินขบวนเรียกร้องเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ช่วงสงครามโลกที่ต้องเป็น "มหามิตร" กับญี่ปุ่น
ฉลองในวันชาติ 24 มิ.ย. 2482 ครบ 7 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พร้อมเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ผู้สำเร็จราชการในวาระเดียวกัน คณะเสรีไทย บางกอกโพสต์ลงข่าวกบฏแมนฮัตตัน 2494 กบฏบวรเดชอีกรูป
การเมืองในอดีตต่ออีกนิ๊ด เช้าวันที่ 24 มิ.ย. 2475 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ท่ามกลางวงล้อมทหารคณะราษฎร หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ถ่ายจากด้านบนของพระที่นั่ง ก่อนการปฏิวัติ รัชกาลที่ ๗ เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๑ ในวาระฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๕๐ ปี ๖ เมษายน ๒๔๗๕ และพิธีฉลองเิปดสะพานปฐมราชานุสรณ์ หรือ สะพานพุทธ พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับตัวแทนของเยอรมนีและญี่ปุ่น ในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 2484 ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมให้บ้านเมืองเป็นอารยะ ต้องแต่งกายอย่างนี้ ๆ นะจ๊ะ รถถังญี่ปุ่นหน้าวัดพระแก้ว ธันวาคม 2484 จงเป็นมหามิตรกับญี่ปุ่นเพื่อความไพบูลย์ของมหาเอเชียอาคเนย์ สร้างทางรถไฟสายมรณะระหว่างสงครามโลก
นายกฯไทยกับน้ำท่วมแต่ละยุคสมัย ป๋าเปรม 2527 น้าชาติที่ปะทิว 2532 คุณชวน 2537 เติ้งเสี่ยวหาร ที่พิษณุโลก 2538
ต่อ ๆ อันนี้ 2515 น้ำอัดลม 2516 เป๊ปซี่กระป๋อง 2531 ถนนศรีอยุธยา 2518 ประตูน้ำ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ปีเดียวกัน หน้าราชดำริอาเขต ปีเดียวกัน สะพานเฉลิมโลก
มาดู อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มั่ง 252... พูดง่าย ๆ ยุค'80 นั่นแล อันนี้ก็คือ ก๋วยเตี๋ยวเรือ อันลือชื่อนั่นเอง
ถึงจะไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ลงกัน แต่เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์ ขออนุญาตเอาตำนานดาวยั่วย้อนยุคในเมืองไทยมาลงนะครับ
เห็นข่าวบรรหารสิ้นแล้ว เมื่อเช้านี้ ก็เลยไปหาภาพเก่า ๆ สมัยที่แกยังมีบทบาทสำคัญอยู่ และก็มีวาสนาได้เป็นถึงนายกฯ ก็ราว ๆ ปี 37-38-39 ช่วงนั้น ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งก็ไม่ได้มีแต่ภาพบรรหารคนเดียว นี่หาเสียงเลือกตั้ง 2538 (ท้องฟ้าเหมือนฝนจะตกเลยนะ) ทักษิณ สมัยเข้ามาในบทบาททางการเมืองแรก ๆ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังธรรม หาเสียงที่วงเวียนใหญ่ ในการเลือกตั้งปีเดียวกัน คนเสื้อซาฟารีที่อยู่ข้าง ๆ นั้นคือ แสวง ฤกษ์จรัล ซึ่งก็ตายไปแล้วเมื่อปีที่แล้ว เดินหาเสียง สังเกตป้ายมีหมวยเหน่ง อรทัย สมัยที่ยังใช้นามสกุลเดิม "กาญจนชูศักดิ์" อยู่ กับปุ้ม สุรนันท์ (ผลการเลือกตั้ง หมวยเหน่ง ได้รับเลือกเป็น ส.ส.สมัยแรก ส่วนสุรนันท์นี่ลงเลือกตั้งเขตทีไร ตกตาหลอด ซึ่งแตกต่างจากลูกพี่ลูกน้องที่อยู่กับ ปชป.เหลือเกิน) คุณชายสุขุมพันธ์ สมัยอยู่กับพรรคนำไทย ของ ดร.อำนวย วีรวรรณ อันนี้ข้ามมาปี 39 หาเสียงช่วย จำลอง ศรีเมือง ลงผู้ว่าฯอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งครั้งนี้แพ้ ดร.พิจิตต์ พอสมควร
ค้นไปค้นมา ก็ปรากฏว่าพบภาพของ พล.ต.จำลอง หรือ ลุงจำลอง ของพธม. โอ๊ย เยอะเลย น่าเอามาลงให้ดูกัน สมัยเป็นผู้ว่าฯ (ไม่รู้ว่าสมัยแรกหรือสมัยสอง ยังหนุ่มเฟี้ยวอยู่เลย) อ๋อ พบแล้ว เป็นสมัยแรก ปี 2532 เป็นวัดแถวฝั่งธนฯ นมัสการเจ้าอาวาส ส่วนรูปนี้ปี 2531 ใครบอก พลังธรรม มีแต่ป้ายหาเสียงแบบฝาเข่ง นี่ดูนี่ซะก่อน เท่ม่ะ รูปนี้ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 35/1 หาเสียงคราวเดียวกัน เป็นแกนนำพฤษภาทมิฬ 2535 จากซ้าย ครูประทีป, หมอเหวง แล้วก็ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ซึ่งตอนนั้นยังเป็น นศ.อยู่ เป็นเลขาสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. รูปนี้เข้าใจว่าน่าจะเป็นตอนที่ ส.ส. "พรรคเทพ" ทั้งหมดพร้อมใจกันนัดใส่ชุดดำ เพื่อไว้อาลัยคนที่ "เสียสัจจะเพื่อชาติ" ที่รัฐสภา ก่อนจะมีการชุมนุม หลังเหตุการณ์ ก็เลือกตั้ง 2538 ส่วนนี้หาเสียงให้ตัวเอง คราวเลือกตั้งผู้ว่าฯ 2539 ดร.มานะ มหาสุวีระชัย ตามหลัง ข้าง ๆ เด็กปั้น เจ๊หน่อย (แต่เด็กปั้นของแกแต่ละคน แสบ ๆ ทั้งนั้น )
มีรายละเอียดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ ๑๕๐ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มาฝาก ในคราวนั้นวันเปลี่ยนศักราช หรือวันขึ้นปีใหม่ของสยามประเทศยังยึดเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันเปลี่ยนศักราชอยู่ ฉะนั้น งานเฉลิมฉลองครั้งนี้ก็เริ่มขึ้นหลังวันปีใหม่ได้ไม่กี่วันเอง ถือเป็นงานใหญ่ ทางราชการแบ่งงานออกเป็น ๓ ส่วนดังนี้ ภาค ๑ งานฉลองพระนคร มี ๓ ตอน แบ่งออกเป็น ก. บูชาบวงสรวงบูรพมหากษัตริยาธิราช ข. ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ค. เปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ ภาค ๒ งานเฉลิมสิริราชสมบัติ แบ่งออกเป็น ๒ ตอน ก. เฉลิมสิริราชสมบัติ ข. ตรวจพลสวนสนาม ภาค ๓ งานพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ก. งานในภาคที่ ๑ ทั้งหมด ข. งานบวงสรวง งานนั้นเริ่มตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ด้วยพระราชพิธีสวดรตนัตตยาภิสดุดี โดย นักเรียนนายร้อยทั้งโรงเรียน และมีพระราชพิธีบูชาบวงสวรวง ณ พลับพลาท้องสนามหลวง ตั้งแต่เวลาบ่ายจนถึง ๑๖.๐๐ น. รัชกาลที่ ๗ เสด็จโดยรถม้าพระที่นั่ง กองพันทหารม้ารักษาพระองค์แห่นำตามเสด็จ มีทั้งทหารบก ทหารเรือ ลูกเสือและนักเรียนรอรับเสด็จมากกว่า ๒๐,๐๐๐ คน ท้องฟ้าก็มีเครื่องบินฝูงจู่โจมและฝูงรักษาพระนครจากกรมอากาศยานทหารบก (เวลานั้น กองทัพอากาศยังมีสถานะเป็นกรมอากาศทหารบก ขึ้นกับกองทัพบก) ภายใต้การบังคับบัญชาของ พ.อ.ม.จ.วิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์ ได้แปรขบวนโปรยดอกไม้เป็นทักษิณาวัตรเหนือท้องฟ้ากรุงเทพฯ ต่อจากนั้นพระราชพิธีก็เริ่มขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๗ ทรงจุดธูปเทียนสักการะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและอดีตมหาราชแห่งพระราชวงศ์จักรี พล.ท.พระยาสีหราชเดโชชัย (สวาท บุนนาค) เสนาธิการทหารบกนำทหารในท้องสนามหลวงสวดมนต์ วันที่ ๕ เมษายน ตามกำหนดเดิม เป็นวันตรวจพลสวนสนาม แต่แล้วในเช้าวันนั้นก็ได้มีกำหนดเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน ให้เลื่อนไปเป็นวันที่ ๙ เมษายน เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ องค์อภิรัฐมนตรี ได้ถึงแก่ทิวงคตด้วยพระโรคนิวมอเนีย แต่อย่างไรก็ดีงานเฉลิมฉลองก็ยังดำเนินต่อไป ในช่วงกลางคืน มีประชาชนคนทั่วไปเข้าร่วมนับหมื่น กลางแม่น้ำเจ้าพระยาก็มีเรือรบทอดสมอผูกทุ่นตกแต่งธงทิวและประดับไฟอย่างงดงาม ตามรายงานข่าวของสื่อหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นว่า แท็กซี่ฉวยโอกาสเพิ่มค่าโดยสารจากชั่วโมงละ ๑ บาท เป็น ๖ สลึง ในวันที่ ๖ เมษายน เป็นวันเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า พระราชพิธีดำเนินไปตามหมายกำหนดการเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง รัชกาลที่ ๗ ทรงพระที่นั่งราชยานพุดตาลทอง เสด็จพระราชดำเนินเป็นกระบวนพยุหยาตราใหญ่ มีกระบวนพระราชอิสริยยศและกองทหารแห่นำตามเสด็จไปตามถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ถนนเจริญกรุง เลี้ยวขวาเข้าถนนตรีเพชร เทียบพระราชยานพุดตาลทองหน้าเกยปฐมบรมราชานุสรณ์ เสด็จลงพระราชดำเนินตามลาดพระบาทไปยังโรงพระราชพิธี ทรงจุดเทียนนมัสการทรงศีลเสร็จแล้ว จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต องค์ประธานคณะกรรมการจัดงาน กราบบังคมทูลรายงานการก่อสร้าง และมีพระราชดำรัสตอบ ครั้นถึงเวลาอุดมมงคลฤกษ์ ๐๘.๐๕ น. ทรงเปิดแพรคลุมพระบรมราชานุสาวรีย์ และเปิดวิถีสะพานพระพุทธยอดฟ้า แล้วเสด็จพระราชดำเนินทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมพระบรมรูปและทรงจุดเทียนเครื่องราชสักการะถวายบังคม จากนั้นจึงเสด็จออกจากโรงพระราชพิธี ทรงพระราชดำเนินไปประทับเหนือเกยโปรดเกล้าฯ ให้กระบวนพยุหยาตราเดินผ่านพระที่นั่งถวายตัว เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานพระพุทธยอดฟ้า ทุกหน่วยเดินผ่านพระที่นั่งถวายตัวแล้วเดินเลี้ยวซ้ายขึ้นสะพาน เมื่อข้ามฟากแล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าพักในวัดประยุรวงศาวาส มีบันทึกของนักเรียนนายร้อยผู้หนึ่งซึ่งเข้าร่วมในพระราชพิธีนั้นด้วย บันทึกว่า เกือบ ๑๐ โมงเช้านั่นแหละจึงจะได้รับประทานอาหารมื้อเช้าในวัดประยุรฯ เคราะห์ดีที่ตอนตี ๕ ได้ข้าวต้มมารองท้องไว้บ้างแล้ว ในวันที่ ๙ เมษายน ซึ่งเลื่อนมาจากวันที่ ๕ วันเฉลิมราชสิริสมบัติ เสด็จตรวจพลสวนสนาม ณ ท้องสนามหลวง หลังจากทหารเหล่าต่าง ๆ พากันเดินสวนสนามผ่านหน้าพระที่นั่งถวายตัว รัชกาลที่ ๗ เสด็จทรงม้าพระที่นั่ง พล.ต.พระยาเสนาสงคราม (ม.ร.ว.อี๋ นพวงศ์) ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ ขี่ม้าตามเสด็จมาในท่าสลุตกระบี่บนหลังม้า เมื่อเสด็จถึงหัวแถวแต่ละหน่วยจะทรงตรัสถามว่า "เป็นสุขสบายดีหรือทหาร" ทหารในแถวจะร้องตอบกราบทูลว่า "เดชะพระบารมีปกเกล้า" เป็นอย่างนี้จนครบทุกหน่วย
มีเกร็ดเล่าอีกเล็กน้อย ต่อจากข้างบน ในงานสมโภชน์ครั้งนั้น คณะราษฎรได้ปล่อยข่าวออกมาว่าจะมีการก่อการในระหว่างการจัดงาน ก็ปรากฏว่ารัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็มิได้นิ่งนอนใจ ตำรวจได้ออกตรวจตรารักษาการอย่างเข้มงวด ทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมทั้งยังมีทหารด้วย ซ้ำยังแจกจ่ายกระสุนจริง เผื่อเกิดเหตุอันใดอันหนึ่งขึ้น แต่ก็มิได้เกิดเหตุขึ้น เพราะคณะราษฎรต้องการจะเพียงหยั่งท่าทีดูเชิงของรัฐบาลเท่านั้น น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2485 ภาพน้ำท่วมหน้าที่ทำการรับส่งสินค้า หัวลำโพง เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ คราวนี้มาเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเอาในช่วงที่ประเทศชาติกำลังอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่สองอยู่พอดีเลย ราวปลายปีนั้น กรุมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนให้รับมือน้ำท่วมขึ้นสูง ระดับน้ำที่สูงที่สุดในแม่น้ำเจ้าพระยาวัดได้ 2.27 เมตร ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า กระทรวงมหาดไทยได้ให้ทุกจังหวัดรายงานสถานการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้น พร้อมให้การช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย นี่เป็นข่าวสารประชาสัมพันธ์จากรัฐบาลในช่วงนั้น สะกดตามมาตราที่กำหนดสมัยนั้นเลยนะ อุทกภัยคราวนี้ "สามัคคีชัย" พูดเมื่อวันที่ 1 เดือนนี้ ไนเรื่อง "ฉันไม่กลัวอุทกภัยแล้ว" มีความสำคัญตอนหนึ่งว่า "เดชะบุญ แควป่าสักปีนี้มีน้ำขึ้นน้อยกว่า พ.ส. 2460 เกือบ 5 เมตร และเวลานี้ก็เริ่มลดลงมากแล้ว แสดงไห้เห็นว่า ลดลงมาตามลำดับจากเหนือ บัดนี้มาถึงชาวเรากรุงเทพฯ ธนบุรี แล้วก็ไปสู่ทะเล ฉันจึงคิดว่าปีนี้น้ำอาดไม่มากเท่าปี 2460 ก็ได้ และผลเสียหายก็คงมีไม่มากนัก คงไม่ถึงปี พ.ส. 2460 ที่ฉันพูดนี้ชักกลัวๆ เหมือนกัน เพราะเล่นกับธัมชาติเอาแน่ไม่ไคร่ได้ ข้อสำคันที่พี่น้องทั้งหลายหย่าไปดื่มท่าน หย่าไปอาบเล่นบนถนน หย่าพายเรือเล่นไห้มากนัก ประเดี๋ยวท่านนึกว่า เราชอบมาก ท่านอาดหยู่กับเรา ไม่ไหลไปทเล เราจะลำบากไม่น้อยเลย" เราขอขอบใจ "สามัคคีชัย" ที่ไห้ข่าวดีแก่ประชาชน และยังให้คำแนะนำตักเตือนที่ดีแก่ประชาชนอีกด้วย บัดนี้ ชายพระนครและธนบุรี ได้ประสบพบเห็นอุทกภัยหย่างเต็มหน้าแล้ว ถนนสายต่างๆ ได้กลายเปนลำคลองไปบ้างแล้วก็มี แต่ก็เปนส่วนน้อย ส่วนไหย่ยังคงเปนปรกติ ถนนสายจเรินกรุงยังเงียบอยู่ อุทกภัยที่มาถึงพระนครและธนบุรีคราวนี้ กำลังผ่านไปสู่ทเลไหย่จิง หย่างที่ "สามัคคีชัย" ว่า แม้จะเอาแน่กับธัมชาติไม่ได้ ก็ขอไห้เราช่วยกันเล็งในแง่ดีกันไว้ เมื่อภัยยังไม่ถึงตัวก็ควนกลัว เมื่อภัยมาหยู่ฉเพาะหน้าแล้ว ถึงจะกลัวสักเท่าไรก็หาประโยชน์มิได้ รังแต่จะต้องเสียหายมากขึ้นโดยไช่เหตุ เราผ่อนหนักไห้เปนเบากันไห้มากที่สุดดีกว่า วิธีผ่อนหนักไห้เปนเบาไนเวลานี้ ไม่มีอะไรประเสิดเท่ากับทำทำนบ เจาะรางน้ำ ขนย้ายข้าวของและทรัพย์สมบัติไห้พ้นอุทกภัยไห้มากที่สุดที่จะมากได้ อะไรไม่ควนเสียหายก็หย่าไห้เสีย แน่นอน เมื่อภัยมาถึงแล้ว จะไม่ไห้เสียหายอะไรบ้างเลยนั้น เปนไปไม่ได้ แต่ต้องช่วยกันประคับประคองไห้เสียหายน้อยที่สุด ไม่ใช่แตกตื่นกันเปนโกลาหล หรือคิดแต่จะไห้คนอื่นช่วยตัวเองร่ำไป อีกหย่างหนึ่ง ก็คือ หย่าถือโอกาส แห่งภัยมาถึงตัวนี้เปนการแสวงหา ความสุขส่วนตัว โดยไร้ประโยชน์ เช่น พายเรือเล่น ตามแม่น้ำลำคลอง ดังที่ "สามัคคีชัย" เตือนไว้นั้น เวลานี้ ทั่วท้องน้ำเต็มไปด้วยภยันตรายร้อยแปด กระแสน้ำไหลเชี่ยวหย่างยิ่งแล้ว สัตวร้ายต่างๆ ยังระบาดไปทั่ว เราเห็นพวกหนุ่มๆ สาวๆ ถือโอกาสนี้ไปลอยลำ เกี้ยวพาราสีกันตามท้องน้ำ แล้วแกล้งทำเรือล่ม รู้สึกปลงสังเวชหยู่ไม่รู้หาย พวกนี้ ก็เช่นเดียวกับพวกนักขี่จักรยาน ลอยชายตามถนนหนทาง ไนยามที่บ้านเมืองกำลังขาดแคลนยาง แม้ท่านผู้นำจะกล่าวคำเตือนไว้แล้ว ก็ยังคงเอาหูทวนลมหยู่นั่นเอง ควนที่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลายจะตักเตือน และกวดขันไห้ช่วยกันไช้เวลาว่างไห้เกิดประโยชน์ ไนยามที่บ้านเมืองได้รับความทุขร้อนนี้ ............. โดยใช่เหตุ และเอาตัวเข้าเสี่ยงกับอันตรายโดยไม่มีความจำเปนอะไรแม้แต่น้อย อุทกภัยคราวนี้ จะร้ายแรงเพียงใด ขอเราหย่าเปนทุขเปนร้อนกันเกิดควน มันเปนเรื่องของธัมชาติ ใครๆ ก็ห้ามไม่ได้นอกจากอำนาดคุณพระสรีรัตนตรัยเท่านั้น เวลานี้ทางฝ่ายบ้านเมืองทำงานกันตัวเปนเกลียว เพื่อผ่อนหนักเปนเบา พี่น้องร่วมชาติควนฟังเสียงทางราชการเท่านั้น หาควนเชื่อฟังคำร่ำลือต่างๆ นานาที่ปราสจากเหตุผล พวกฉวยโอกาสทำนาบนหลังคน มักจะถือเอาความเปลี่ยนแปลงต่างๆของชุมชนเปนเครื่องมือหากินของเขาเสมอ เช่นเวลานี้ พากันยุว่า ข้าวสารจะขึ้นราคาเปนต้น ซึ่งหาเปนความจิงไม่ บริสัทข้าวไทยได้ไห้คำชี้แจงแล้วว่า เราจะไม่ขาดแคลนข้าวสาร ข้าวสารจะไม่ขึ้นราคา บริสัทข้าวไทยได้เตรียมการช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติไว้พร้อมสรรพแล้ว ไครจะซื้อข้าวสารสักเท่าไรก็ได้ ไม่จำกัดจำนวน ดังนี้เปนต้น ในสมัยนั้น ราคาข้าวสารขึ้นสูงถึงถังละ 6 บาท จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้จัดให้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่สำหรับแจกข้าวสารแก่ประชาชน โดยแจกให้ครอบครัวละ 1 ถังต่อสัปดาห์ มีนักเรียนนายร้อยเป็นผู้ทำการแจก เคยอ่านบันทึกของชาวบ้านคนนึงที่อยู่ในเหตุการณ์ยุคนั้น แกเล่าว่าแกลุยน้ำเข้าไปรับแจกข้าวสารถึงในพระที่นั่งฯ ภาพที่แกประทับใจคือ บรรดานักเรียนนายร้อยที่ตัดผมสั้นเกรียน ท่าทางทะมัดทะแมง แจกข้าวสารให้กับผู้ประสบภัยอย่างแข็งขัน ชาวบ้านบางคนจะยกมือไหว้ นักเรียนนายร้อยคนนั้นรีบยกมือขึ้นห้าม แล้วชี้ไปที่ห้องด้านบน คล้ายกับจะบอกว่า ถ้าจะไหว้ ให้ไหว้ขอบคุณท่านจอมพลเถอะ แต่กระนั้น ก็ไม่มีใครพบเห็นตัวจอมพล ป. มาดูหรือมาสังเกตการณ์แต่อย่างใด ภาพยนตร์บันทึกน้ำท่วมคราวนั้น ถ่ายและบรรยายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร หลายคนคงเคยเห็นมาแล้ว
เนื่องในโอกาสครบรอบ 24 ปี พฤษภาทมิฬ บิ๊กจ๊อด ประธาน รสช. ก่อนการปฏิวัติ 2534 ยังอี๋อ๋อดีอยู่กับน้าชาติ บิ๊กเต้ บิ๊กสุ รสช.ทั้งคณะ ตอนปฏิบัติหน้าที่นายกฯ
มาดูกิจการต่าง ๆ บ้าง สมัยนั้น ท่านเจ้าคุณพหลฯเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นาน
รายงานข่าวงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาพหลฯ ภาพนี้สุดยอดมากกกกก ภาพสีด้วย ขวา: หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรี) ซ้าย: หลวงอดุลเดชจรัส (ขณะนั้นเป็นทั้ง ผบ.ทบ.และ อ.ตร.)
จอมพล ป. สมัยยังเป็น หลวงพิบูลสงครามอยู่ ภาพนี้เข้าใจว่าจะเป็นพิธีเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรือต่อมาก็คือ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือ อนุสาวรีย์หลักสี่ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็รื้อถอนออกไปแล้ว รูปนี้เขาบรรยายว่าเป็น พระตะบองในปี 2489 แต่คิดว่าไม่น่าใช่ เพราะว่าตอนนี้ยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอยู่ ไม่ใช่ปี 2489 แน่ ๆ ต้องเป็นปีก่อนสงครามโลกด้วยซ้ำ รูปนี้คราวเดียวกัน เข้าใจว่าจะเป็น หลวงโกวิทอภัยวงศ์ หรือ นายควง อภัยวงศ์ ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลไทย เป็นผู้รับมอบคืนดินแดนพระตะบองนี้แก่ราชอาณาจักรไทย บางกอกโพสต์ลงข่าวรัฐประหาร 2500 พิบูล, เผ่า หนีไปแล้ว ตลาดน้ำ (ไม่รู้ที่ไหน) 2476 ร.ร.สวนกุหลาบ ปีเดียวกัน เยาวราช ปีเดียวกัน สมัยนั้นถือว่าเป็นย่านที่คึกคักสุดและเจริญในกรุงเทพฯ ศาลาเฉลิมกรุง ปีเดียวกัน เพิ่งเปิด สมัยนั้นเขาเรียกว่า "โรงหนังใหม่" ตัวอย่างหนังใหม่ หลายคนคงเคยเห็นภาพรัชกาลที่ี ๗ ท่านเช็คแฮนด์ จับมือกับฮิตเลอร์มาแล้ว (รูปนั้นปี 2477 ทรงสละสิริราชสมบัติแล้ว) มาดูรูปนี้มั่ง กับกองยุวชนนาซี ในวาระเดียวกัน ลงพระนามในสมุดโกลเด้นเบอร์ลิน วันที่ 4 กรกฎาคม 2477 เสด็จขบวนรถไฟด่วนที่สถานีรถไฟกลางเบอร์ลิน เสวยพระกระยาหารที่บัดฮอมเบิร์ก
กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2500 ตรงกับวาระกึ่งพุทธกาล ในสมัยนั้น ยังคงมีฐานะเป็นจังหวัดพระนครอยู่ มีหลายสถานที่ให้ดูกัน แล้วเสียงลือ เสียงเล่าถึงความเฮี้ยบของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของความเด็ดขาด ในการกำราบโจรผู้ร้าย หรือผู้ก่อความไม่สงบต่าง ๆ ด้วย มาตรา 17 ด้วยการประหารชีวิตกันในสาธารณะเลยด้วยซ้ำ ทำนองเชือดไก่ให้ลิงดู นี่คือ รูปในเหตุการณ์นั้น เป็นการยิงเป้าโจรปล้นตลาดท่าเรือ ที่อยุธยา ด้วยมาตรา 17 ในปี 2509 ซึ่งเป็นปีที่หลังจากท่านถึงแก่อสัญกรรมไปแล้วด้วยซ้ำ เป็นจอมพลถนอมขึ้นเป็นนายกฯต่อ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบรรยายกาศร่วมสมัย นสพ.ลงข่าว