รถสายกรุงเทพฯ-ระยอง จ.ระยอง ปี พ.ศ.2510 แม่น้ำท่าจีน จ.สุพรรณบุรี บริเวณท่าเรือจ้างวัดประตูสาร--วัดใหม่สุวรรณภูมิ พ.ศ. 2506
ขอบคุณ สำหรับภาพเก่าๆ ทำให้คิดถึงสมัยก่อน อย่างแรกก็เดินทางลำบากจริงๆ หมอชิต 1 คนแน่น ดมควันรถแทบตายกว่าจะได้ออก ร้อนก็ร้อน จะขึ้นรถไฟ ที่นั่งก็แข็งจนปวดหลัง อย่างที่สองคือความเงียบสมัยก่อน ที่มีแต่ป่ากับความมืด กลางคืนได้ยินแต่เสียงนกแสก ตุ๊กแก แต่เดียวนี้มีแต่แสงไฟกับเสียงเพลงจากร้านเหล้า
ดู นสพ.เก่า ๆ บ้างม่ะ ไทยรัฐ พฤษภาทมิฬ 2535 บ้านเมือง เหตุการณ์เดียวกัน แนวหน้า พฤษภาทมิฬเหมือนกัน ผู้จัดการ มติชน สมเด็จย่าสวรรคต 2538 ไทยรัฐ 14 ตุลา 2516 ความตื่นเต้นที่มนุษย์จะได้เหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก 2512 เดลินิวส์ ไทยรัฐ มักกะลีผล และเรื่องราวการเลือกตั้งปลายปีนั้น 2539 เดลิไทม์ 6 ตุลา 2519 ดาวสยาม จากเหตุการณ์เดียวกัน ไทยรัฐ 2532 เดลินิวส์ พุทธทาสละสังขาร 2536 ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ 2536 งดโป๊นะจ๊ะ ข่าวสด สุริยคราส 2538 ไทยรัฐ ข่าวเดียวกัน ข่าวสด 2540 รายงานข่าวการสิ่้นพระชมน์เจ้าหญิงไดอาน่า ปิดท้ายด้วย 2 คลิปรายงานข่าวช่อง 7 การเลือกตั้ง 2535 เข้าใจว่าน่าจะเป็นการเลือกตั้ง 35/2 13 กันยายน และก็ช่อง 11 2538 ข่าวการปรับปรุงพรรคความหวังใหม่และข่าวต่างประเทศสะหมัยนั้น หุหุ
ไปเจอคลิปนี้เข้า สุโก่ยยยยยยยอ่ะ ข่าวการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. มะปี 2528 ที่พล.ต.จำลอง ชนะถล่มทลาย ถือเป็นการแจ้งเกิดทางการเมืองอย่างเต็มตัวของมหาท่าน ยาว ๆ ไปเรย ช.ม.กว่า ๆ กะช่อง 9 มีต่อ ช่อง 5 ช่อง 7 มั่ง
การสวนสนามแสดงแสนยานุภาพกองทัพไทย วันที่ 8 มิ.ย. 2514 ในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 3 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2506 เสด็จออกมหาสมาคม 5 ธ.ค. 2506 พระราชพิธีช่วงบ่าย วันเดียวกัน สรงพระมุรธาภิเษก 6 ธ.ค. 2506
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 3 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2506 เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารค 7 ธ.ค. 2506
เพลงเชียร์โผน กิ่งเพชร ชิงแชมป์โลก 2503 การรายงานข่าวการประกวดนางงามจักรวาลช่อง 4 บางขุนพรหม อาภัสรา หงสกุล ได้เป็นนางงามจักรวาลคนแรกของไทย 2508 ไอ้แสบ แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ซัดเปริโก เฟอร์นันเดซ อาบเลือดได้แชมป์โลก 2518
วิ่งมาราธอนลอยฟ้า เปิดสะพานพระราม 9 2530 วิ่งครั้งประวัติศาสตร์ คนเข้าร่วมนับแสน เสื้อวิ่ง เหรียญรางวัล ผู้ชนะประเภทชายทั่วไป ชื่อ เอ็ดดี้ เฮลบุยค์ เป็นชาวเบลเยี่ยม ถ้าเป็นคนไทย ชื่อ ชูชัย สีหวงษ์ เข้าเป็นลำดับ 5 แต่เป็นที่ 1 ของไทย แบบฮาล์ฟก็มี ที่ 1 ชื่อ แมนดอน เบอร์นาร์ด ที่ 2 คือ สมพงษ์ โพธิ์งาม คนไทยเรานี่เอง ประเภทหญิง ที่ 1 คือ ยูโกะ กอร์ดอน คนญี่ปุ่น รายงานเต็ม ๆ จากรายการข่าวดังข้ามเวลา
มาดูเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การเมืองเก่า ๆ มั่ง รัฐประหาร 2490 ปืนใหญ่ที่หน้ากระทรวงกลาโหม ภาพยนตร์ 1 วันหลังรัฐประหาร ถ่ายและบรรยายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร ภาพการประท้วงการเลือกตั้งโคตรโกง 2500 ที่นำไปสู่การเดินขบวนประท้วง และจบลงที่รัฐประหารในปีเดียวกัน โดย จอมพล ส. การลดธงครึ่งเสาที่จุฬาฯ ปักหลักเริ่มต้นที่สนามหลวง เดินขบวนมุ่งหมายทำเนียบรัฐบาล สะพานมัฆวานก็เจอทหารกั้น แต่ ร.อ.อาทิตย์ กำลังเอก (ยศในขณะนั้น) ภายใต้ผู้บังคับบัญชาที่ชื่อ พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศในขณะนั้น) กลับให้ประชาชนผ่านไปโดยดี ท้ายที่สุดเมื่อประตูทำเนียบก็กั้นไม่อยู่ จอมพล ป.ต้องลงมาเจรจากับม็อบด้วยตนเองที่บันไดทางขึ้นตึกไทยคู่ฟ้า หรือ ทำเนียบสามัคคีชัย ชื่อที่เรียกในสมัยที่ท่านเป็นนายกฯสมัยแรกยุคสงครามโลก ปลายปีเดียวกันก็มีเลือกตั้ง ปีถัดมาก็มีการเลืิอกตั้งซ่อม นี่คือ โปสเตอร์หาเสียงเลือกตั้งซ่อมครั้งนั้น จังหวัดพระนคร 2501 ของพรรคประชาธิปัตย์ อันนี้เคยเอามาลงทีนึงแล้ว สมัยบอร์ดเก่า ก่อนโดนปิด ประวัติผู้สมัครทั้งหมด: หมายเลข 6 หลวงสินาดโยธารักษ์ ชื่อจริง ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ เป็นอดีต มท.1 ในช่วงปี 2490-91 สมัยรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ (ก็ใครเคยเห็นภาพพิธิฉลองรัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2475 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็น่าจะเป็นท่านผู้นี้แหละสมัยหนุ่ม ๆ ที่เป็นผู้อัญเชิญรัฐธรรมนูญ) หมายเลข 7 พล.ร.ต.แชน ปัจจุสานนท์ หรือที่ ทร.เขาเรียก "ครูแซน" เป็นนายทร. ชั้นผู้ใหญ่ ระดับผู้การเรือ เป็นบิดาของท่านองคมนตรีและอดีต ผบ.ทร. พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์ เป็นหนึ่งในบรรดานายทร. ที่เข้าประชุมเมื่อคราวกรณีแมนฮัตตัน หมายเลข 8 เล็ก นานา มุสลิมมหาเศรษฐี ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมากมายในกรุงเทพฯ จนได้รับฉายา "ราชาที่ดิน" เคยเป็นเลขาฯพรรคอยู่ช่วงหนึ่ง หมายเลข 9 หลวงนรอัฏบัญชา ท่านผู้นี้ยังหาประวัติไม่เจอ หมายเลข 10 ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ มธ. เป็นนักเขียนสารคดี เป็นหน้าที่...ถ้าปัจจุบันนี้ก็คือ โฆษกพรรค เป็น บก.สื่อสิ่งพิมพ์ฉบับแรนกของพรรค ปชป.อีกด้วย หมายเลข 11 สวาสดิ์ สุมาลย์ศักดิ์ ท่านผู้นี้รู้จักกันดี เป็นอดีตจุฬาราชมนตรีนั่นเอง หมายเลข 12 กมล จันทรสร เป็นชาวอยุธยา เป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมาย หมายเลข 13 เกษม บุญศรี เป็นอดีตท่านเจ้าคุณในพระราชาคณะ เรียกกันว่า "มหา" ท่านผู้นี้แหละที่เมื่อคราวจะตั้งพรรคประชาธิปัตย์ นายควง อภัยวงศ์ ที่บรรดาสมาชิกตกลงให้เป็นหัวหน้า เมื่อได้ยินชื่อพรรคจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ก็หันมาถามท่านว่าเห็นเป็นอย่างไร ท่านตอบว่า ในทางบาลีไม่มีความหมาย แต่ถ้าใช้เป็นชื่อเฉพาะก็พอไปได้ หมายเลข 14 หลวงประกอบนิติสาร เป็นนักกฎหมาย เป็นผู้ที่อุทิศที่ดินของตัวเองในซอยสุขุมวิท 19 หรือซอยวัฒนา ให้เป็นที่ทำพการพรรคในระยะแรก ๆ ที่พรรคยังไม่มีหลักแหล่งอย่างแท้จริง และเป็นผู้อบรมสมาชิกพรรครุ่นเยาวชน หรือก็คือ ยุวชน ปชป. เป็นรุ่นแรกด้วย
เด็กหญิงที่เกิดในช่วงนั้น ครอบครัวจะตั้งชื่อเล่นให้ว่า ปุ๋ย เป็นชื่อที่ฮิตในสมัยนั้นเลย ยุคหลังๆ ก็มีตอนที่ละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพกำลังดัง ที่ครอบครัวตั้งชื่อจริงให้เด็กชายที่เกิดตามชื่อคุณชายต่างๆ หนังสือวันเด็กแห่งชาติ 2532 แบบอีบุ๊ค ปกพระองค์ภาฯ กับปุ๋ย ภรณ์ทิพย์ มีบทสัมภาษณ์ในเล่ม http://www.lib.obec.go.th/e-book/2532/
การเสด็จออกมหาสมาคม พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธ.ค. 2540 สมัยชวน หลีกภัย เป็นนายกฯ และวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภาฯ เมื่อก่อน ช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ในหลวงจะมีพระราชดำรัส 2 วัน คือวันที่ 4 ธันวาคม ที่ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ซึ่งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ จะนำเทปมาออกอากาศหลัง 2 ทุ่ม และวันที่ 5 ธันวาคม ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง (กรณีวาระปกติ) เป็นการเสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ไม่มีถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ แต่ดูได้ที่ข่าวในพระราชสำนัก จนกระทั่ง ... ปี 2552 เป็นต้นมา หลังจากที่ในหลวงเข้ารับการรักษาพระอาการประชวร ที่ รพ.ศิริราช ก็ไม่มีพระราชดำรัสวันที่ 4 ธันวาคมอีก แต่มีการถ่ายทอดสดการเสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ทางโทรทัศน์ น่าจะเป็นปีแรกด้วย จำได้ว่าปีนั้นผมอาศัยดูที่ร้านโชห่วยในตลาด
หลวงประกอบนิติสาร ชื่อจริงคือ ประกอบ บุณยัษฐิติ เคยร่วมร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ คือฉบับปี 2492 และฉบับปี 2511 เคยเป็น ส.ว. สมัยรัฐบาลจอมพลถนอม
คลิปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเมืองไทยโดยตรง เพราะเป็นบรรยากาศที่ฟินแลนด์ แต่จะบอกว่า นี่คือโอลิมปิกครั้งแรกของทีมชาติไทย เป็นครั้งแรกที่ธงชาติไทยปลิวไสวอยู่ร่วมกับธงชาติประเทศต่างๆ ที่เข้าแข่งขัน ดูในนาทีที่ 0:06 และ 1:17 คลิปนี้คือพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกที่เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ปี 2495 ครั้งนั้นไทยไม่ได้เหรียญรางวัลเลย กว่าจะได้ก็ที่มอนทรีออล แคนาดา ปี 2519 จากพเยาว์ พูลธรัตน์ (เสียชีวิตแล้ว) เหรียญทองแดงมวยสากลสมัครเล่น
มวยสากลสมัครเล่น โอลิมปิก ปี 2527 ที่ลอสแองเจลิส สหรัฐ รอบชิงชนะเลิศ ไลท์เวลเตอร์เวท เจอร์รี่ เพจ จากสหรัฐ พบ ทวี อัมพรมหา(ขาวผ่อง สิทธิชูชัย) จากไทย ผลการชกในครั้งนั้น นักชกเจ้าภาพชกชนะได้เหรียญทอง ส่วนนักชกของเรา ได้เหรียญเงินเหรียญแรกของทีมชาติไทยในโอลิมปิก
การฝึกซ้อมพิธีเปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 ณ สนามศุภชลาศัย 3 ธ.ค. 2513 (วันจริง 9 ธ.ค. 2513) สมัยนั้นอิสราเอลเข้าแข่งขันด้วย ซูฮาร์โต้ ปธน.อินโดนีเซียในขณะนั้น เยือนไทย ในหลวงและพระราชินีทรงต้อนรับ 21 มี.ค. 2513 เป็นภาพกลับข้าง
ว่าด้วยเรื่อง เมืองไทยในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ลงนามเป็นพันธมิตรร่วมรบ ไทย - ญี่ปุ่น ที่วัดพระแก้ว ในคลิปมีเพลงมหาชัยของไทยเป็นซาวด์ประกอบ การเดินสวนสนามของทหารไทยเพื่อเฉลิมฉลองการเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นาทีที่ 2.44 - 5.06 ยุวชนทหารสวนสนาม, ธนาคารออมสิน, วิทยาลัยนาฏศิลป์ นาทีที่ 5.08 - 9.39
ในหลวงเปิดประชุมรัฐสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม 23 พ.ย. 2539 บันทึกรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2539 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/D/095/142.PDF รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาของพระมหากษัตริย์ไทยมีมานานหลายสิบปีแล้ว ตั้งแต่สมัยที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นรัฐสภา แม้จะย้ายรัฐสภาไปยังตึกปัจจุบัน ก็ยังกระทำรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาที่พระที่นั่งอนันตสมาคมตามเดิม
พิธีเปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 6 ธ.ค. 2541 เป็นคลิปอย่างย่อ จากยูทูปของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ผู้จัดกีฬารายการนี้ รู้สึกว่าคลิปพิธีเปิดตัวเต็มจะเคยมีคนมาลงไว้นะครับ ในหลวงเสด็จเปิดสนามราชมังคลาฯ สนามกีฬาสร้างใหม่เพื่อรองรับกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งนั้น และเสด็จฯ มาทำพิธีเปิดการแข่งขันด้วย งานแรกของสนามราชมังคลาฯ มีโมเมนท์ประทับใจหลายอย่าง รวมถึงฟุตบอลรอบก่อนรองชนะเลิศ ที่ทีมชาติไทยเจอเกาหลีใต้ ...
ตัวอย่างหนังฮ่องกงของบริษัทชอว์ บราเดอร์ส ที่มาถ่ายทำในไทย The Golden Buddha ปี 2509 Duel Of Fist ปี 2514 ฉายในไทยใช้ชื่อเรื่องว่า ไอ้หนุ่มหมัดสั่ง เดวิดเจียง กับ ตี้หลุง แสดงนำ มีภาวนา ชนะจิต ผู้ล่วงลับ ร่วมแสดงด้วย (ฉากเวทีมวย และฉากหมู่บ้าน น่าจะเซ็ตขึ้นมาใหม่ในโรงถ่าย)
มีใครรู้บ้างว่า นี่ สะพานไหน ? บ้างก็ว่าประตูน้ำบ้าง บ้างก็ว่าเป็นสะพานเหล็ก บ้างก็ว่าแถวฝั่งธนฯ บ้างก็ว่าคลองลาดพร้าว
ร้าน KFC ร้านแรกในประเทศไทย แถวสุขุมวิท 21 ตัดกับอโศกมนตรี พ.ศ.2513 ร้านขายเครื่องจิวเวลลี่แถวสีลม-สุรวงศ์ พ.ศ.2513
มอเตอร์ไซด์CB450จอดหน้าร้านสังฆภัณฑ์ ย่าน เสาชิงช้า ปี พ.ศ.2515 *มอเตอร์ไซค์ HONDA CB175 จอดที่กรุงเทพ พ.ศ. 2513 ทั้ง 2 รุ่น ถ้าใครมีและสภาพเหมือนในรูป เอามาขายเลยให้ห้าหมื่น
ร้านชำทางเข้าแคมป์ทหาร GI. ที่โคราช ปี พ.ศ.2511 แม่ค้าหาบน้ำตาลสดที่เดินเร่ขายตามชายหาดกับนักท่องเที่ยวที่ยืนคู่กับรถคลาสสิค ..ที่ริมหาดบางแสนปี 2507
รถโดยสาร(สองแถว)สายสะพานใหม่-รังสิต. ปี พ.ศ.2515 รถสวัสดิการทหารอากาศวิ่งวน สะพานใหม่ กม.26 ดอนเมือง หลักสี่ สะพานใหม่ ปี พ.ศ.2515