คืออยากขอความร่วมมือ ช่วยกันโพสต์บ้านเมืองไทยในอดีต ขอให้ย้อนหลังไปสัก 30 ปีขึ้นไปจะสวยมาก ไม่จำกัดที่มาและ ที่ไป ไม่จำกัดว่ากรุงเทพหรือต่างจังหวัด ผมขอเริ่มเลยนะครับ ภาพนี้ คือถนนเจริญกรุง ย่านเยาวราช กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2498 ภาพนี้ คืออนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2498
โรงแรมสยามอินเตอร์คอนฯ กรุงเทพฯ ปี พ.ศ.2514 ความคึกคักของย่านเยาวราช(จำชื่อโรงหนังไม่ได้) ปี พ.ศ. 2499
มาดูต่างจังหวัดบ้าง อำเภอเมืองฯ จ.นครราชสีมา ปี พ.ศ.2514 อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ.2514
เอกมัย 2511 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนามหลวงสมัยที่ยังมีตลาดนัดอยู่ 2525 ถนนพระราม 1 สยามสแควร์ ป๊าบบบบบเรยภาพนี้ มีรายละเอียดบอกเรื่องราวชัดเจนนนน นี่ก็อีกที่
มาบุญครองสมัยเพิ่งสร้างใหม่ ๆ ที่ตั้งของ JJ Market ในปัจจุบัน มะปี 2515 งานสมโภชน์รัตนโกสินทร์ 200 ปี 2525 มีแดนเนรมิตแร้ว ก็ต้องมีที่ีนี่ ท่าช้าง 2531 สนามมวยลุมพินี 2513 แร้วนี่ให้ดู ไอ้มดแดง in Thailand 2518
สมัยก่อนย่านที่เจริญสุด คึกคักสุดในกรุงเทพฯ คือ เยาวราช ไม่ใช่สยามสแควร์ หรือ สุขุมวิท ตึก 7 ชั้นเยาวราชก่อนที่จะทุบทิ้งในสมัยปัจจุบันนี้ ในช่วงร่วมสมัยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สุขุมวิทยังเป็นเพียงแค่ท้องทุ่งเรือกสวนไร่นา มีบ้านเรือนแค่หย่อม ๆ ไม่กี่หลัง เป็นสถานที่ ๆ ผู้คนใช้เป็นที่อพยพหลบระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีคำบรรยายว่า เยาวราชในสมัยนั้น แม้ราตรีแต่ก็สว่างไสวเหมือนกลางวัน ตี 1 ตี 2 ผู้คนก็ยังคึกคักกันต่อเนื่อง ตึกที่สูงที่สุดในเมืองไทยห่ะนั้น คือ ตึก 7 ชั้น ก็อยู่ที่นั่น โรงหนงโรงหนัง โรงมหรสพต่าง ๆ ก็ล้วนแต่อยู่ที่นั่น ที่มีชื่อเสียงก็เช่น พัฒนากร [ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองเลย หนังที่เข้าฉายในขณะนั้น คือ Playboy of Paris เป็นหนังเพลง-ตลก นำแสดงโดย ดาราฝรั่งเศส เมอรีซ เชวาลิเยร์ (Maurice Chevalier) เข้าฉายที่อเมริกา 1930 แต่มาบ้านเรา 2475 คือ 1932 อ๊ะจ๊ากกกก ตั้ง 2 ปี] Playboy of Paris ส่วนภัตตาคารต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง เช่น ห้อยเทียนเหลา ขี่จันเหลา เยาวยื่น ห้อยเทียนเหลา สมัยนั้น ค่าโดยสารแท็กซี่คิดเป็น ช.ม. ช.ม.ละ 1 บาท วิ่งตลอดทั้งคืน รวมถึงรถเจ๊ก รถลากด้วย รถสามล้อยังไม่มี รถรางซึ่งเป็นพาหนะหลักหยุดวิ่งตั้งกะ 4 ทุ่ม ฝั่งธนบุรี ความเจริญมาหยุดอยู่แค่แถว ๆ ที่เป็นวงเวียนเล็กหรือวงเวียนใหญ่ในปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีอนุสาวรีย์พระเจ้าตาก การจะข้ามมาฝั่งนี้ได้ถ้าใช้ถนน ก็ต้องใช้สะพานพุทธ ที่เปิดไปเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2475 ในวันฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี เท่านั้น นอกนั้นก็ต้องใช้เรือจ้าง วงเวียนใหญ่สมัยยังไม่มีพระบรมราชานุสาวรีย์
ภาพลูกช้างกำพร้ากำลังดูดนมผู้หญิงแม่ลูกอ่อน พ.ศ. 2446 สมัยรัชกาลที่5 ภาพนี้คือนางสุก ชาวจังหวัดตาก ที่ให้นมของตนแก่ลูกช้างหลงแม่ ลูกช้างกำลังเอางวงพาดบ่านางสุกดื่มนมเหมือนเด็ก ในขณะที่นางสุกใช้มืออีกข้างหนึ่งอุ้มลูกอ่อนไปด้วย รายละเอียดของเรื่องนี้มีอยู่ในนิทานโบราณคดีเรื่องที่ 20 พระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยสรุปคือ สามีของนางสุกเข้าป่าไปพบลูกช้างหลงแม่ มีความสงสารจึงเอามาเลี้ยง ลูกช้างรู้จักกินนมนางสุก จึงเป็นที่รักของทุกคน วันหนึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการ เห็นว่าเป็นเรื่องประหลาด จึงสั่งให้พาลงมาถวายรัชกาลที่5 ทอดพระเนตรทีกรุงเทพฯ บังเอิญมาถึงเมื่อใกล้งานวัดเบญจมบพิตร จึงได้กั้นม่านเก็บเงินคนดูที่ในงาน ได้เงินกลับไปเมืองตากมากมาย อนึ่งในงานนี้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงจัดห้องขายรูปถ่ายลูกช้างกินนมคนเป็นพิเศษอีกห้องหนึ่งด้วย (เชื่อว่าถ่ายในปี พ.ศ. 2446) รูปถ่ายนางสุกเลี้ยงลูกช้างจึงมีหลงเหลือมาให้เราได้เห็น ข้อมูลจาก : ภาพเก่าเล่าตำนาน เอนก นาวิกมูล
โรงภาพยนต์เฉลิมสิน อ.เมืองฯ จ.อุบลราชธานี ปี พ.ศ.2516 วงเวียนนำ้พุ อ.เมืองฯ จ.อุบลราชธานี ปี พ.ศ.2516
สารคดีขององค์การยูนิเซฟ ชีวิตเด็กราชบุรีสมัยก่อน ปัจจุบันโรงเรียนในคลิปคือ โรงเรียนอนุบาลเมืองราชบุรี ...
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ คนแก่ละเลงเลย หุหุหุ การได้แชมป์โลกมวยสากลครั้งแรกของโผน กิ่งเพชร เมื่อ 16 เม.ย. 2503 ในครั้งนั้น ในหลวงและพระราชินีเสด็จไปทอดพระเนตรด้วย
โฆษณา ไทยไดมารู เปิดกิจการปี พ.ศ.2507 จุดเด่นคือห้างแรกที่มีบันไดเลื่อน ไทยไดมารู เป็นห้างสรรพสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าราชประสงค์ (เซ็นทรัลเวิลด์ในปัจจุบัน) ต่อมา ห้างก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ราชดำริอาเขต ที่ตั้งปัจจุบันคือบริเวณบิ๊กซี ราชประสงค์ เปิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2507 โดยบริษัทไทยไดมารู จำกัด มีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท ถือเป็นห้างสรรพสินค้าที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งในสมัยนั้น มีแนวความคิดแบบห้างสรรพสินค้าจากญี่ปุ่นที่เปิดขึ้นเพื่อรองรับคนญี่ปุ่น ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ในบริเวณราชดำริที่มีสำนักงานบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นจำนวนมาก ไทยไดมารูยังเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีบันไดเลื่อนแห่งแรกของไทย ในวงการเมือง ห้างไทยไดมารู เคยเป็นจุดที่นิสิตนักศึกษา ใช้เป็นจุดรณรงค์ต่อต้านสินค้าจากต่างประเทศในช่วงปี 2516 ก่อนที่จะขยายตัวเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย จนเกิดความรุนแรงในวันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม ในปี 2537 เมื่อไทยไดมารู ที่อยู่บริเวณศูนย์การค้าราชดำริ อาเขต หมดสัญญาลงได้ย้ายมาอยู่ที่ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ ถนนศรีนครินทร์ (ปัจจุบันคือ พาราไดซ์ พาร์ค) ดำเนินการในนาม บริษัทไทยดีเอ็มอาร์ รีเทล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท มีบริษัทไดมารู อิงค์ จากญี่ปุ่น เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ถึงแม้ว่าเสรีเซ็นเตอร์จะอยู่ใกล้กับโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ หลายโครงการ และเป็นย่านที่มีกำลังซื้อสูง แต่ไม่ตรงกับความคิดที่รองรับคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ และยังมีคู่แข่งจำนวนมาก โดยเฉพาะซีคอนสแควร์และเซ็นทรัลพลาซา บางนาห้างไทยไดมารูที่เสรีเซ็นเตอร์ จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร หลังจากที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ จากการลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 ในปี 2541 ไดมารู อิงค์ จากญี่ปุ่นตัดสินใจขายหุ้นบริษัทไทยดีเอ็มอาร์ รีเทล ให้กับผู้ลงทุนชาวไทย คือ กลุ่มพรีเมียร์ ในเครือโอสถานุเคราะห์ แต่ให้สิทธิ์ชุดผู้บริหารให้ใช้ชื่อ ไดมารู ได้ แต่หลังจากนั้น 2 ปี การดำเนินการยังไม่ดี กลุ่มพรีเมียร์จึงตัดสินใจไม่ต่อสัญญาอีกต่อไป เพื่อเปิดห้างสรรพสินค้าใหม่ ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ในปัจจุบัน จึงไม่มีชื่อ ไทยไดมารู อยู่ในประเทศไทย
รัชกาลที่ 8 เสด็จฯออกรับการตรวจพลสวนสนามของกองกำลังทหารฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อปี พ.ศ. 2489 หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ขอนำเสนอบางส่วนจากภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จฯ ออกรับการตรวจพลสวนสนามของกองกำลังทหารอังกฤษและอินเดีย แห่งฝ่ายสัมพันธมิตร พร้อมด้วย ลอร์ดหลุยส์ เมานท์แบทเทน แม่ทัพใหญ่แห่งฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ บริเวณถนนราชดำเนิน และท้องสนามหลวง
ภาพยนต์ข่าวเมืองไทยในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ผมว่าเมืองไทยจะไม่มีวันได้เห็นภาพเหล่านี้อีก พ.ศ. 2483-2489
ประวัติท่าช้างวังหลวง หลายคนคงไม่รู้จักว่าจริง ๆ แล้วในสมัยโบราณเป็นท่าอาบน้ำช้างในวังหลวง กระผมเมื่อยังเยาว์วัยได้ยิน ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนพายเรือมาขายผลไม้ที่นี่ พอเวลาเย็นได้เวลาช้างอาบน้ำ แกขายเพลินไม่ทันระวังจนคนต้อง รีบผลักเรือแกออกไป ไม่ทันไรเสียงช้างวิ่งลงน้ำตังตูม คลื่นกระทบเรือแกแทบล่ม ............................ ท่าช้างยังคงเป็นท่าช้างอยู่จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ พระเศวตรที่ยังคงเหลือ คือ “พระเศวตรวชิรพ่าห์” กับ “พระเศวตรคชเดชน์ดิลก” ก็ยืนโรงอยู่เสียที่สวนดุสิต จึงมิได้ลงอาบที่ท่าช้างดังแต่ก่อน พระเศวตรเชือกสุดท้ายที่ยืนโรงในพระบรมมหาราชวังคือ “พระเศวตรรุจิราภาพรรณ” แกเป็นเพื่อนเล่นของชาวท่าช้างทุกคน เวลาที่อารมณ์ดีเมื่อมีคนเตรียมกล้วยอ้อยมะพร้าวอ่อนไว้ให้เวลามาอาบน้ำแกจะยกงวงขึ้นจบรับของจากมือคนโดยเรียบร้อย แต่บางทีถูกพรายกระซิบก็ตั้งตัวเป็นผู้มีอิทธิพล ยื่นงวงไปควานหยิบขวดเหล้าในร้านไปกำนัลควาญเอาดื้อๆ เจ้าของก็เพียงแต่โมโหแกมเอ็นดูไม่ถือสาอะไร แต่ถถึงเวลาที่ตกมัน หงุดหงิดทำอะไรแผลงๆ ต่างๆ ผู้คนตื่นเต้นห้อมล้อมกันอย่างสนุกสนาน วันไหนพระเศวตรตกมัน พอออกจากประตูวิเศษไชยศรีก็มีเสียงตะโกนบอกต่อๆกันว่า “พระเศวตรตกมัน” พวกแม่ค้าต้องรีบเก็บร้านเก็บกระจาดให้หมด แอบไปเสียให้พ้นหูพ้นตา มิฉะนั้นแกก็รี่เข้ามาคว้าไปโยนไปขยี้หมด รถรางแล่นมาดีๆ แกเกิดหมั่นไส้ขึ้นมาว่าทำไมถึงจะต้องแล่นในราง ก็จัดแจงเข็นออกเสีย เจ็กลากรถมาท่าทางเก้กังไม่ถูกใจก็แย่งรถเจ็กมาลากเสียเอง วันที่พระเศวตรล้มชาวท่าช้างเศร้ากันหนักหนา เวลาค่ำทหารรักษาวังนับร้อยลากตะเฆ่ใส่พระเศวตรออกจากประตูวิเศษไชยศรีไปทางท่าช้าง มีผ้าขาวคลุมสูงเป็นภูเขา สองข้างทางประชาชนย่านท่าช้างทุกคนและมาจากที่อื่นพากันมาคอยส่งมากมาย ยืนเงียบกริบน้ำตาไหลด้วยแสนอาลัย” ขอขอบคุณคุณหนุ่มรัตนะ จากพันทิพ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/12/K10021277/K10021277.html
ประวัติของถนนสี่พระยา ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นการรวมทุนกันสร้างของขุนนางชั้นพระยา ๔ ท่าน ๑. พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ๒. พระยาพิพัฒน์โกษา ๓. พระยานรฤทธิ์ราชหัช ๔. พระยานรนารถภักดี และขุนนางชั้นหลวงอีกท่าน ๑. หลวงมนัศมานิต มูลเหตุแห่งการตัดถนน เนื่องจากเจ้าของที่ดินบริเวณบางรัก ต้องการตัดถนนผ่านเข้าที่ดินของตนเอง ที่แบ่งเป็นแปลงๆ ซึ่งเดิมเป็นนาปลูกข้าว เพื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้นแล้ว ยังให้ที่ดินเปลี่ยนเป็นตึกแถว และบ้านพักสำหรับชาวต่างประเทศ (เรียกว่า การจัดสรรพัฒนาที่ดิน) อีกทั้งถนนสี่พระยา ถนนประมวญ ถนนสุรวงษ์ ล้วนต่างตัดเข้าเชื่อมถนนเจริญกรุง เพื่อให้ความเจริญเข้ามาสู่ที่ดินตนเองบ้าง ซึ่งที่ดินบริเวณนี้ไม่เหมาะกับการสร้างห้องแถวขายเหมือนอย่างเยาวราช แต่ควรเป็นบ้านย่อมๆ อย่างบ้านฝรั่งที่ดินบริเวณถนนเจริญกรุง - สี่พระยา เดิมเป็นหญ้าขึ้นรก ลึกเข้าไปเป็นสวน และพระคลังข้างที่ได้ซื้อที่ดินริมถนนสี่พระยาเชื่อมเจริญกรุง สร้างตึกแถว เป็นตึกมุมถนน ๑ ห้อง และยาวตามถนนสี่พระยา ๓ ห้อง / เสถียรโกเศศ ขอขอบคุณคุณหนุ่ม รัตนะจากพันทิพ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/01/K8824010/K8824010.html
งานสงกรานต์ประจำปีมีจัดที่เขาดินปี 2502 ประชาชนจะนำลูกหลานมาเที่ยวชมและสนุกสนานกันอย่างเต็มที่ ฉันท์ สุวรรณะบุณย์ ช่างภาพยนตร์สมัครเล่นนำครอบครัวลูกชายลูกสาวไปเที่ยวชมพร้อมกับบันทึกภาพบรรยากาศเขาดินในเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อนไว้ สัตว์ทั้งหลายมากมายมีให้เด็ก ๆ ได้ชม ไม่ว่าจะเป็นฮิปโปโปเตมัส,หมี,เต่า,ยีราฟ,ชะนี,ค่าง,เสือลาย ปูลู ยุคนั้นเขาดินกลิ่นขี้สัตว์แรงมาก หลายกรงแทบไม่อยากเข้าใกล้เลย
พระอุโบสถวัดชนะสงคราม ด้านหน้าพระอุโบสถวัดชนะสงคราม หน้าซุ้มประตูคือเกยลา ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕ พระอุโบสถวัดชนะสงคราม เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงโรง ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายนอกมีกำแพงแก้วโดยรอบเชื่อมต่อระหว่างพระเจดีย์และศาลาราย มีซุ้มประตูเข้าทั้ง ๔ ด้าน กว้างประมาณ ๑.๔๐ เมตร รูปแบบของซุ้มประตูเป็นศิลปะตะวันตก ปัจจุบันเหลือ ๒ ด้าน คือด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถ ด้านข้างทั้ง ๒ ด้านได้สร้างศาลารายครอบแล้ว รวมภายในกำแพงแก้วพระอุโบสถมีขนาดพื้นที่ประมาณ ๗๕.๐๐ x ๑๒๗.๐๐ เมตร ตรงกลางเป็นพระอุโบสถ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยรอบมีพระเจดีย์ ด้านหน้า ๒ องค์ ด้านหลัง ๒ องค์ มีศาลาราย ๑๐ หลัง ตัวอาคารพระอุโบสถ มีความกว้าง ๒๗.๕๐ เมตร ยาว ๔๑.๔๒ เมตร แบ่งเป็น ๑๓ ห้องเสา ไม่มีพะไล มีซุ้มประตูทางเข้า ๒ ด้าน ด้านละ ๒ ทาง รวมซุ้มประตู ๔ ซุ้ม ขนาดทางเข้ากว้างประมาณ ๑.๙๐ เมตร มีบันได ๓ ขั้น ฐานพระอุโบสถ เป็นฐานบัวลูกแก้ว ซุ้มประตูหน้าต่างทำด้วยปูนปั้นประดับลวดลายแบบบันแถลง มีหน้าต่างด้านข้างด้านละ ๑๓ ช่อง ด้านหน้าและด้านหลังด้านละ ๖ ช่อง รวมซุ้มหน้าต่าง ๓๘ ช่อง กรอบประตูและหน้าต่างประดับด้วยลวดลายตลอดทั้งกรอบ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วปูนปั้นเป็นลายกนกประดับด้วยกระจกสีต่างๆ ภายในซุ้มประตูเขียนเป็นภาพสี ภาพเทพทวารบาล ด้านนอกแกะเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง ด้านในหน้าต่างเป็นภาพเขียนสี ภาพเทพทวารบาลเช่นกัน ต่อมา ลบแล้วเขียนเป็นรูปเวสสันดรชาดก ด้านนอกเขียนเป็นลายรดนํ้าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง ปัจจุบันได้ลบไปแล้ว พระอุโบสถวัดชนะสงครามในปัจจุบัน ภายในพระอุโบสถมีใบเสมาติดที่ฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน ภายนอกมีใบเสมาติดที่ผนังด้านนอกตรงมุมพระอุโบสถทั้ง ๔ มุม และยังมีใบเสมาตั้งบนแท่นอีก ๑ แห่ง หน้าพระอุโบสถ เป็นใบเสมาคอดตอนเอว มีลายที่กลางอก ๔ ใบตั้งบนฐานบัวรองรับด้วยฐานบัวอีกชั้นหนึ่ง รวมใบเสมา ๙ แห่ง หลังคาพระอุโบสถทำเป็นชั้นลดลั่นกัน ๓ ชั้น ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ไม่มีนาคสะดุ้ง มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันทำลวดลายลงรักปิดทองและประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ เป็นภาพพระนารายณ์ทรงครุฑ ประดับฉัตร ๕ ชั้น มีลายกนกเปลวประกอบ เรียงรายข้าง ๆ ด้วยเทพชุมนุมทั้ง ๒ ข้าง ข้างละ ๙ องค์ รวมเป็น ๑๘ องค์ มีหน้าต่างอยู่ที่หน้าบันพระอุโบสถด้านละ ๑ บาน ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชีองค์ใหญ่ ๑ องค์ และองค์เล็กอีก ๑๕ องค์ มีอัครสาวกด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน พระอุโบสถมีขนาดใหญ่ มีเสาร่วมในด้านละ ๑๐ ต้น ด้านหน้าและด้านหลังมีด้านละ ๓ ต้น รวมเป็น ๒๖ ต้น ขนาดของเสากว้างประมาณต้นละ ๑.๔๐ เมตร ด้านหลังพระประธานเป็นเฉลียงกั้นห้องทำเป็นคูหาที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) เจาะเป็นช่อง ๆ จัดเป็น ๕ รัชกาลตามลำดับ ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระบวรราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑ ด้านหลังพระอุโบสถเป็นเขามอ บนเขามอมีพระเจดีย์ทรงกลม และมีเจดีย์บรรจุอัฐิราชสกุลจรูญโรจน์ ที่มา http://watchanasongkram.com/?p=987
ปัจจุบันคือ อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก สมัยนั้นสร้างเพื่อรองรับกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2509 ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเกือบ 50 ปี จัดกีฬาและคอนเสิร์ตมาแล้วหลายรายการ ปรับปรุงใหญ่ครั้งล่าสุดเพื่อรองรับฟุตซอลโลกเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ต่อเติมคลุมหลังคาจนเกือบจำเค้าเดิมไม่ได้
ถ่ายภาพโดย ฉันท์ สุวรรณะบุณย์ นี่คือจุดกำเนิดของกีฬาซีเกมส์ เริ่มต้นที่ประเทศไทยในกีฬาแหลมทองครั้งแรก สมัยนั้นสนามศุภชลาศัยมีอัฒจันทร์คอนกรีตแค่ 2 ฝั่ง คือฝั่งมีหลังคากับฝั่งสกอร์บอร์ดเก่า
ไม่ได้เข้ามาดูหลายวันเคลื่อนไหวไปพอควร มาชมกันต่อ สภาพบ้านเรือน เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2502 ภาพการประกวดสาวงามเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2508 (ในภาพคงจะหนาวมากๆถึงขนาดต้องพึ่งเจ้าเตาอั้งโล่)
แม่ค้ากำลังแคะขนมครก (เตาแบบโบราณ)ที่ตลาดปราจีนบุรี ปี พ.ศ.2516 ชีวิตการจับจ่ายยามเช้าที่ตลาดประจวบคีรีขันท์ ปี พ.ศ.2509
บริเวณสะพานข้ามใกล้สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ปี พ.ศ.2512 จังหวัด ลำปาง ที่ถนนบุญวาทย์แลเห็นวัดสวนดอก ในปี พ.ศ.2515
สยามสแควร์ ซอย 1 แถวโรงหนังสกาล่า ปี พ.ศ. 2522 ถนนเพลินจิต เห็นเซ็นทรัลสาขาชิดลม รูปโฉมเก่า และอาคารของการไฟฟ้านครหลวงอยู่ติดริมถนน ในภาพรถเมล์สาย 25 สีส้ม ยังดูเหมือนรถ บขส.อยู่ ส่วนรถคันสีน้ำเงินที่อยู่ติดกับรถบัส เป็นเหมือน รถส่งนักเรียนที่นิยมรถรูปทรงแบบนี้..ภาพปี พ.ศ.2518
บริเวณตลาดเก่านาเกลือ ทางที่จะม่งไปสะพานนาเกลือ พัทยา ปี พ.ศ. 2511 คิวสามล้อ อ.เมืองฯ จ.นครพนม ปี พ.ศ. 2513
ในสมัยก่อนกว่าทุเรียนเมืองนนท์จะดังและเป็นที่ยอมรับ ต้องโปรโมทหลายอย่าง เช่นจัดงานจนกระทั่งเป็นที่เลื่องลือ ในคลิปเป็นการจัดงานทุเรียนเมืองนนท์ปี 2510 มีกิจกรรมมากมาย