ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อและความศรัทธา นั่นหมายความว่า ไม่เป็นการบังคับ ส่วนครอบครัวกำเนิดก่อนศาสนา การเคารพ ตอบแทนพระคุณบุพการีจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง
ความคิดของคนห่างวัดแบบผม การใหว้บุพการีเป็นการแสดงความกตัญญู-กตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ผมถือว่าเป็นธรรมในจิตใจของมนุษย์อย่างหนึ่ง แล้วจะผิดบาปได้อย่างไร ยิ่งถ้าไม่ยึดติดอะไร ก็ยิ่งไม่มีเหตุที่จะเอ่ยถึง
ไม่รู้ว่าตัวผมเองจะเรียกว่ายังนับถือศาสนาพุทธอยู่หรือเปล่านะ ผมไม่สนหรอกว่าตามพระธรรมวินัยจะบอกว่าพระกราบแม่แล้วอาบัติหรือเปล่า แต่ถ้าพระกราบแม่แล้วผิด ก็คงเป็นเรื่องที่ปัญญาอ่อนมากกับการที่คนๆนึงโกนหัว ห่มผ้าเหลือง ถือศีลหลายๆข้อ แล้วอยู่ๆจะมาสูงส่งไปกว่าคนที่ให้กำเนิดตัวเองมา
ปัญหาอย่างหนึ่งของคนไทยคือ ไม่แยกความรู้สึกส่วนตัวกับ กฎการอยู่ร่วมกัน พระท่านที่กราบแม่ ท่านอาจยังไม่บรรลุคุณธรรมวิเศษอันใด กราบแม่ แม่ได้รับวิบากน้อย แต่ คุณลองคิดดู ถ้าพระรูปนี้ทำให้สังคมดูว่ากราบแม่ได้ แล้ว มีพระที่ท่านบวชมานานบรรลุธรรมขั้นต้นแล้ว ต้องโดนประชาชนตำหนิเพราะนั่งให้มารดากราบและไม่ยอมกราบมารดา ผมว่าถ้าท่านบวชแล้ว มันเป็นหน้าที่ที่ท่านต้องรักษาสังคมสงฆ์ รักษาธรรมวินัย อยากกราแม่ ก็กราบตอนบวชนาค หรือไม่ก็สึกไปกราบ จะงดงามกว่า
โกนหัว ห่มผ้า ศีลขาด ไม่ถือว่าสูง ทางศาสนาคือการปฎิบัติ ทำลายกิเลสจึงถือว่าสูง คนที่กิเลสยังหนาอยู่ แล้วไปรับไหว้บุคคลที่ปราศจากกิเลส ผลเสียจะตกอยู่กับผู้รับไหว้ ถ้าลึกกว่านี้ ที่ว่าทำไมจึงเป็นผลเสีย คร่าวๆคือบาปมันอยู่ที่เจตนาเป็นสำคัญ ขณะรับไหว้ ผู้รับไหว้คิดอะไร ความคิดมันไปไวและควบคุมไม่ได้ บาปมันอยู่ตรงนี้แหละ!
2558ถือว่าเลยกึ่งพุทธกาลมาพอควร ผมจึงพอเข้าใจได้ว่า คนสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับแก่นธรรมน้อยลง http://www.dhammahome.com/webboard/topic23645.html
เอาจริงๆผมเองอาจจะไม่ถือว่านับถือศาสนาพุทธด้วยซ้ำ ซึ่งผมก็บอกไว้ตั้งแต่ต้นความเห็นแล้ว เพราะฉะนั้นที่ผมแสดงความเห็นก็ในฐานะมนุษย์คนนึง ไม่ใช่ในฐานะพุทธศาสนิกชน สูง ต่ำ บุญ บาป เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเองทั้งนั้น การที่พระกราบแม่ ทางพระธรรมวินัยอาจจะผิดจริงก็ได้ ถ้ามีกฏนั้นจริง พระที่กราบแม่ก็คงผิด แต่มันคนละเรื่องกับความเห็นของผม ถ้าอ่านความเห็นผมดีๆจะเห็นว่าผมไม่ได้ไปโต้แย่งเรื่องพระธรรมวินัยเลย เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่ว่าผมไม่แยกความรู้สึกส่วนตัวกับกฏต่างๆของพระครับ
ตามหลักแล้ว พระเป็นผู้ถือศีลมากกว่าฆารวาส หากวัดกันตรงนั้นตามหลักพุทธ พระจะอยู่ในที่สูงกว่าแม่ จึงเป็นการไม่เหมาะสมนัก ที่ผู้สูงศีลกว่า จะทำเช่นนั้นกับผู้ต่ำศีลกว่า แต่ผมมองไปที่อีกมุมหนึ่งที่ว่า การเป็นพระ น่าจะคิดถึงการปล่อยวาง การยึดติด การถือว่าแม่เป้นผู้มีพระคุณให้กำเนิด นั่นก็คือการยึดติด แต่การถือว่าพระมีศีลสูงกว่า นั่นก็น่าจะหมายถึงการยึดติด (ต่อตัวเอง) เช่นกัน นึกถึงกรณีพระที่จับหญิงผู้เป็นแม่อาบน้ำ ผมมองว่ากรณีนี้คล้ายกัน ต่างกันตรงที่ความจำเป็นที่ต้องทำ หากว่า พระสามารถจับเนื้อต้องตัวหญิงได้ (กรณีที่หญิงคือแม่ผู้ไม่สามารถช่วยตัวเอง) พระก็น่าจะกราบหญิงได้เช่นกัน (เฉพาะกรณี)
เรื่องต้องอาบัติหรือไม่ก็คงเป็นไปตามพระธรรมวินัยครับ... แต่ตลกที่สำนักพุทธฯดูจะเห็นเรื่องนี้สำคัญมากกว่า ไอ้พวกห่มเหลืองที่หลอกฆราวาสให้บูชาวัตถุ หลอกลวงญาติโยมว่ามีพลังวิเศษ ใบ้หวย มอมเมาด้วยอุบายต่างๆ เสียอีก หรือว่าถูกพระธรรมวินัยกัน
พระจับเงินจับทองอาบัติหนักกว่ายังทำกันหน้าสลอน พระอวดอุตริที่ไม่มีอยู่จริงก็ชาบูกันเข้าไป แค่พระไหว้ฆราวาสนี่อาบัติเบากว่าทำเป็นเดือดเป็นร้อนกันจัง
เรียนด้วยความเคารพครับ เฉพาะส่วนที่ทำตัวหนาไว้ครับ น่าจะต้องแยกเป็นสองกรณีคือ มีศีลบริสุทธิ์กับศีลไม่บริสุทธิ์ หากพระมีศีลอันบริสุทธิ์ย่อมมีภูมิธรรมสูงกว่า แม้ไม่ได้มีจิตยึดติดใดๆในศีลนะครับ การที่พระผู้มีธรรมสูงกว่าฆราวาส กลับทำความเคารพฆราวาส ส่วนที่เป็นกรรมไม่ดีจะเกิดแก่ฆราวาสเอง เรื่องนี้ไม่ได้ซับซ้อนมาก เป็นความแย้งกันในแง่รายละเอียดเท่านั้นครับ พระ หรือภิกษุผู้ออกบวชหากบรรลุธรรมสูงกว่าแล้ว ย่อมทราบเฉพาะตน ย่อมหลีกเลี่ยงการกระทำความเคารพฆราวาสอยู่แล้ว มันมีความแย้งกันในตัวอยู่เล็กน้อยตรงที่ว่า พ่อแม่เปรียบเหมือนพระอรหันต์ของลูก* พระ(ที่เพิ่งบวช หรือผู้บวชตามประเพณี) ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผลจึงทำความเคารพพ่อแม่ได้ (ผมถือคำว่าทำได้ แปลว่า "ไม่ก่อกรรมหนัก"กับพ่อแม่นะครับ) แต่ก็เป็นอาบัตินะครับ คือผิดพระวินัยครับ ถ้าถามความเห็นผมเรื่องนี้โดยเฉพาะก็ขอบอกว่า ให้ตามพระวินัยเป็นหลักครับ เพราะปกป้องความผิดพลาดกำกวมได้ ไม่ให้สิ่งไม่ดีเกิดขึ้นได้ การอนุโลมยอมตามผิดไปเป็นกรณีๆ ทำให้เกิดความสับสนได้ โดยเฉพาะการไม่เข้าใจ หรือเข้าใจคลาดเคลื่อนในธรรมขั้นสูง ภิกษุไม่ไหว้ฆราวาส ย่อมตัดปัญหาทั้งหยาบและละเอียดทิ้งไปครับ ขอบคุณครับ * http://www.dhammahome.com/webboard/topic/18917
พระยังไหว้ ฤาษี ชี พราหมณ์ ได้ตามสถานะการณ์ที่เหมาะสม แต่ที่ไม่ควร คือไหว้พระที่ได้ชื่อว่า ปาราชิกแล้ว พศ. ควรเร่งทำเป็นอย่างยิ่ง
555 สรุปได้งามมาก นี่คือตัวอย่างหนึ่งของผู้ที่ไม่รู้จักแยกแยะชั่วดี กรรมอยู่ที่เจตนามิใช่หรือ เราก็ไม่ได้จบเปรียญน่ะ ให้หลวงปู่พุทธฯ fight แล้วกัน
ที่คุณเผด็จการกล่าวไว้สมบรูณ์ คนควรจะรู้จุดที่ตนยืน และผมกลับตำหนิด้วยซ่ำว่า สิ่งที่ท่านทำโดยใช้ความสำนึกอยู่สูงกว่าพระธรรมวินัย (ท่านอยู่ในเครืองแบบสงฆ์) นั้นไม่งาม และการเผยแพร่ภาพเพื่อแสดงความกัตญญู และสำนึกในพระคุณแม่อย่างนี้ ยิ่งไม่สมควร ท่านควรคิดก่อนว่าท่านบวชเพื่ออะไร หากจะบวชเพียงเพื่อเอาเครืองแบบสงฆ์(จีวร)มาแสดงความกัตญญูให้ดูสูงส่งกว่าบุคลธรรมดาแล้ว ท่านควรสึกไปทำมาหากินทางโลก เลี้ยงดูมารดาให้มีดวามเป็นอยู่สุขสบายดีกว่า การกระทำอย่างนี้ในความเห็นผม ขาดการอบรม ขาดวุฒิภาวะ แสดงถึงการด้อยความรู้ ความเข้าใจ หากผมเป็นมารดาท่าน(พระรูปนั้น) ผมจะวิงวอนให้ท่านอย่าได้ทำและรีบลุกขึ้น และกล่าวกับท่านว่า ท่านจะยิ่งทำมารดา(คือผมในสมมุติ)ทุกข์ร้อนทั้งกายทั้งใจ ดั่งจะถูกไฟนรกเผาทั้งเป็น(ความหมายคือผู้เป็นแม่ เมือเดินผ่านหรีอพบเจอพระรูปอื่น จิตใจอาจผูกติด เห็นสีจีวรพระอยู่ต่ำกว่าสถานะของความเป็นมารดา) ภาพเหล่านี้ไม่ทราบว่ามีที่มาไหมว่าเป็นใคร การสร้างความแปดเปื้อน ต่อพุทธมีเป็นขบวนการต้องระมัดระวัง
ผมยังยึดถือเรื่องภิกษุใหว้คฤหัส ว่าไม่เหมาะสมอยู่นะครับ พระไตรปิฎกประกอบด้วย พระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม ในพระวินัย มีข้อกล่าวถึงบุคคลที่ภิกษุไม่ควรกราบไหว้ ๑๐ จำพวก ลองหาอ่านดู ถ้าภิกษุทั้งหลาย ตั้งใจ.ไม่ประพฤติตามวินัย ....และ.....คฤหัสไม่ทำตามกฎหมาย แม้เพียงความผิดเล็กๆน้อยๆ......มันถูกต้องใหม? ถ้าจะอ้างว่าอาบัติเล็กน้อย เช่นอาบัติทุกกฎ หากแต่เจตนากระทำลงไปทั้งที่รู้ว่าผิด ครั้งต่อไปก้อจะกระทำอาบัติอื่นๆได้ โดยไม่ละอายใจ ใช่ใหม? หากจะอ้างว่า เอาเวลาไปจับคนปาราชิกหรือสังฆาทิเสสดีกว่ามั้ย? ผมขอบอกเลยว่า มันคนละเรื่องประเด็นกัน ให้ตั้งกระทู้ใหม่เรื่องวินัยนั้นๆ
เรื่องแบบนี้เถียงกันจนตีกันตายก็ไม่จบ เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตุว่า เรื่องหลายๆเรื่องที่เกั่ยวกับความอยู่รอดผลประโยชน์เห็นบิดกันได้ อีกอย่างสิ่งที่สืบต่อกันมา ถูกต้อง 100%รึเปล่า? พออธิบายไม่ได้ก็บอกว่า "มันเป็นธรรมชั้นสูง คนธรรมดาไม่เข้าใจ" ขอโทษน่ะครับ ผมนับถือพุทธในเชิงวิทย์เท่านั้น
กาลามสูตร : พระพุทธโอวาทสู่อิสรภาพทางความคิด พุทธดำรัสที่ว่า ‘เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน...’ การที่พระองค์ใช้คำว่า ‘พึงรู้ได้ด้วยตนเอง’ นั้น เท่ากับเป็นการแนะให้มนุษย์ทั้งหลายรู้จักสถาปนาเสรีภาพทางความคิดของตนเอง รู้จักพิสูจน์ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ทรงนำความคิดเห็นส่วนพระองค์มามีอิทธิพลด้วย ในทางปฏิบัติ คือ การทรงยอมรับเสรีภาพทางความคิด และการใช้วิจารณญาณของมนุษย์แต่ละคน...อาจเรียกได้ว่า กาลามสูตรนี้เป็นพุทธวิธีในการพัฒนาภูมิปัญญาของมนุษยชาติอย่างประเสริฐ”..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/153597 -----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระที่ไหว้ อยากไม่อยากไหว้ ถ้ารู้พฤติกรรมความอยู่ในเพศอาศม พ่อแม่ เป็นสิ่งประเสร็ฐ ทำไมไหว้ไม่ได้ https://fbcdn-video-i-a.akamaihd.ne..._=1439761265_4930082e39254c2036b076f25c92bafb