พระไพศาล วิสาโล สอนผิด?

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 4 Aug 2017

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    พระไพศาลบอกว่าพระพุทธเจ้ามีความตั้งใจที่จะอยู่ป่าไปตลอดชีวิต สมัยออกบวช พระองค์ยังเคยกลัวป่า กลัวเสียงสัตว์ป่า กระทั่งนกยูง พระองค์ก็กลัวจนขนลุกชันเลย อันนี้ท่านกล่าวผิดความจริงไปไหม
    ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ขออนุญาตวิพากษ์การเทศน์ที่อาจผิดความจริงของพระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ซึ่งเป็นรุ่นพี่ของ ดร.โสภณ และท่านมีอายุ 60 ปี และบวชมาแล้วถึง 34 พรรษา (นับแต่ปี 2526) ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องต่อพระพุทธศาสนาและมุ่งขจัดความมัวหมองแก่พระศาสดา เป็นการวิพากษ์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้จาบจ้วงพระสงฆ์รูปใด
    ในคลิปใน Youtube เรื่อง "ฟื้นฟูป่า รักษาธรรม" โดย "zen sukato" เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 (http://bit.ly/2u5DQAj) ตั้งแต่นาทีที่ 4:34 พระไพศาลบอกว่าพระพุทธเจ้ามีความตั้งใจที่จะอยู่ป่าไปตลอดชีวิต ข้อนี้ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง เพราะครั้งหนึ่งพระเทวทัต ทูลขอให้ "ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ" แต่พระพุทธเจ้าตอบว่า "อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงอยู่ในบ้าน. . ." (http://bit.ly/2wqDkh9)
    พระไพศาลยังเล่าว่าขณะที่พระพุทธเจ้าสนทนากับชาณุโสณีพราหมณ์ผู้กลัวป่า พระองค์ก็บอกว่าสมัยออกบวชก่อนตรัสรู้ ก็เคยกลัวป่า เวลามีเสียงสัตว์ป่า ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ แม้กระทั่งเสียงนกยูง พระองค์ก็กลัวจนขนลุกชัน ข้อนี้ก็ไม่เป็นความจริง ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 4 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (http://bit.ly/2vxINGe) ไม่ได้เขียนไว้เลยว่าพราหมณ์ผู้นี้กลัวป่า
    พระองค์บอกว่า ". . .พระอริยะเหล่าใด มีกายกรรมบริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นพระอริยะองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีกายกรรมอันบริสุทธิ์นี้ในตนจึงถึงความเป็นผู้มีขนตก (ไม่ขนลุก) โดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า" ในพระไตรปิฎกยังบอกว่าความกลัวเกิดแต่คนที่มีกายกรรม-วจีกรรมไม่บริสุทธิ์ คนที่มีความอยากได้ มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจชั่ว มีถีนมิทธะกลุ้มรุม ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบระงับ มีความสงสัยเคลือบแคลง ยกตนข่มผู้อื่น เป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งคนขลาด ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด และมีปัญญาทราม เป็นใบ้นั่นเอง แต่พระองค์ไม่มีสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ก่อนออกบวชแล้ว
    พระพุทธเจ้าไม่มีความกลัวมาก่อนบวชแล้ว แต่พระไพศาล คงอ่านเพียงท่อนนี้ จึงเข้าใจผิด "อยู่ในเสนาสนะ คืออารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพรึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า. . .เนื้อมาก็ดี นกยูงทำไม้ให้ตกลงมาก็ดี หรือว่าลมพัดใบไม้ให้ตกลงมาก็ดี. . .ความกลัวและความขลาดนั่นนั้นมาเป็นแน่. เรานั้นได้มีความดำริว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้หวังภัยอยู่โดยแท้ ไฉนหนอ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้เป็นอยู่อย่างไรๆ เราผู้เป็นอยู่อย่างนั้นๆ แล พึงกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นเสีย" พระองค์รู้เท่าทันความกลัวและรู้วิธีกำจัดความกลัว
    ข้อสังเกตเกี่ยวกับเทศนาของพระไพศาลก็คือ
    1. การที่พระไพศาลมุ่งให้พระอยู่แต่ในป่า เป็นการคิดแบบพระเทวทัตหรือไม่
    2. การกล่าวว่าศาสดาของเรายังกลัวจนขนลุก อาจกลายเป็นการสร้างความมัวหมองแก่พระพุทธเจ้าหรือไม่
    3. พระไพศาลได้ชื่อว่าเป็น "พระป่า" จึงคงโปรดปรานการอยู่ป่า อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงท่านรับกิจนิมนต์ไปทั้งในและต่างประเทศ ปีหนึ่งๆ ท่านคงอยู่วัดไม่นาน ถ้าอยู่ป่าก็คงอยู่เฉพาะในบริเวณ 500 ไร่ของวัดที่เอาที่ป่ามาล้อมรั้วไว้เป็นวัด (โดยไม่ได้ซื้อหา http://bit.ly/2ufh3Bv และ http://bit.ly/2u6Y68H) และคงแทบไม่ได้ปลีกวิเวกเข้าป่าจริงๆ สักวันหรือไม่
    4. เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่พระไพศาลบวชมาถึง 34 ปี แต่กลับเข้าใจพระไตรปิฎกคลาดเคลื่อนหรือไม่
    โดยนัยนี้สิ่งที่พระไพศาลพูด หลายเรื่องอาจฟังดูดี แต่อาจขาดเหตุผล ทำให้ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงหรือไม่ ชาวพุทธพึงเคารพในพระสงฆ์ แต่ก็ต้องตรวจสอบคำสอน ยึดคำสอนของศาสดาเป็นหลัก ไม่ยึดติดหรือมีฉันทะกับตัวบุคคลโดยเฉพาะพระสงฆ์รูปใดจนขาดการใช้วิจารณญาณเท่าที่ควร
    ดูวิดิโอ: http://bit.ly/2u5DQAj
    ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement2042.htm
     
  2. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    ดร โสภณ ขอพระไพศาล วัดป่าสุคะโต รักษาป่า
    กระทู้นี้ ไม่เอาแล้วเหรอ ด็อกเตอร์ ?

    ผมไม่ได้ฟังที่พระไพศาล ท่านเทศน์หรอกว่าท่านเทศน์อย่างที่ด็อกเตอร์เอามากล่าวหาท่านหรือเปล่า ได้แต่อาศัยอ่านตามที่ด็อกเตอร์เขียนมา จริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ เพราะด็อกเตอร์เป็นประเภทชอบตัดตอนเอามาเขียนให้คนอ่านเข้าใจไขว้เขวเป็นประจำ

    ด็อกเตอร์บอกว่าวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้จาบจ้วงพระสงฆ์รูปใด ถ้ามันเป็นอย่างที่ด็อกเตอร์พูดจริง ก็แสดงว่าด็อกเตอร์เป็นคนที่อ่านหนังสือไม่แตก หรือเป็นคนประเภทฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียดหรือเปล่า เพราะด็อกเตอร์บอกว่า พระไพศาลท่านเทศน์ว่า พระพุทธเจ้าตั้งใจจะอยู่ป่าตลอดชีวิต ซึ่งด็อกเตอร์แย้งว่าไม่จริง แล้วยกตัวอย่างเทวทัต ทูลขอให้พระพุทธเจ้ากำหนดให้พระสงฆ์ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต เพียงให้เป็นดุลยพินิจของสงฆ์เองว่าใครจะอยู่ป่า หรืออยู่บ้าน ซึ่งอันนี้จริงที่พระพุทธเจ้ากำหนดอย่างนั้น แต่ผมอยากถามด็อกเตอร์ว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการที่พระไพศาลท่านบอกว่าพระพุทธเจ้าประสงค์ที่จะอยู่ป่าตลอดชีวิต ด็อกเตอร์จึงยกมาอ้าง

    พระพุทธเจ้าอยู่ป่า กลัวหรือไม่ อันนี้พระพุทธเจ้าท่านเล่าให้ฟังเอง ว่าสมัยท่านเป็นพระโพธิสัตว์ เวลาอยู่ป่าท่านก็กลัว แต่กลัวจนขนลุกหรือเปล่าไม่รู้ แต่ท่านมีวิธีกำจัดความกลัว เช่นเดินจงกรมอยู่เกิดกลัวขึ้นมา ท่านก็จะเดินจงกรมอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะกำจัดความกลัวได้ หรือ นั่งอยู่ นอนอยู่ แล้วเกิดความกลัวขึ้นมา ท่านก็จะอยู่ในอิริยาบทนั้น ๆ จนกว่าจะกำจัดความกลัวได้ ที่ท่านเลิกกลัวนั้น ท่านก็บอกแล้วว่าเพราะท่านเป็นพระอริยะองค์หนึ่ง ซึ่งพระอริยะ ท่านไม่มีความกลัวอะไรแล้วด็อกเตอร์ลองไปอ่านดูดี ๆ ครับ

    ส่วนเรื่องพราหมณ์อะไรของด็อกเตอร์ที่กลัวป่าหรือไม่กลัวป่านั้น อาจไม่มีเขียนไว้ในพระไตรปิฎก หรือมีเขียนไว้ผมไม่รู้ แต่ถ้าด็อกเตอร์อ่านแล้วลองประเมินดูว่าเขากลัวหรือเปล่า เพราะเขาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า บรรดาพระสงฆ์นี่ ให้พระพุทธเจ้าเป็นผู้นำหรือ พระพุทธเจ้าทำอะไรก็ต้องทำตามหรือ และมันก็ไปถึงเรื่องถ้าพระพุทธเจ้าอยู่ป่าก็ต้องอยู่หรือ ไม่กลัวกันหรือ นั่นแหละ ผมมองว่าถ้าคนไม่กลัวการอยู่ป่า จะไปถามทำไม ซึ่งผมไม่รู้ว่าพระไพศาลท่านประเมินอย่างไร หรือไปอ่านเจอที่ไหน เพราะท่านอ่านคัมภีร์มามากกว่าด็อกเตอร์เยอะ (อันนี้ชัวร์)

    เรื่องอยู่ป่านี้ อยากให้ด็อกเตอร์ทำความเข้าใจให้ดี เพราะพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า

    "ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฎก็ปรากฎ จิตที่ยังไม่ตั้งมันก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิตคือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาลที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้น ควรอยู่ ณ ป่าทึบนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไป"
     

Share This Page