จริงๆ กฎหมายฉบับนี้มีคนพูดถึงกันอยู่มาพอสมควร แต่ในที่สุด กฎหมายฉบับนี้ก็ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษามาได้ ในสมัยรัฐบาลนี้ บังคับใช้ถัดจากวันประกาศในราชกิจจาฯ 30 วัน นับจากเมื่อวานนี้ (14 ก.ค. 58) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/063/19.PDF กฎหมายฉบับนี้มี 35 มาตรา มีบทลงโทษกับผู้กระทำผิด เรามาถึงจุดที่เราต้องออกกฎหมายแบบนี้แล้ว หลังจากที่ประเทศของเราผ่านการชุมนุมมาราธอนนับสัปดาห์ หรือนานแรมเดือน ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการชุมนุมทางการเมือง หลายฝ่าย และหลายสีเสื้อ
ชุมนุมมาราธอนถ้าเจอพวกหน้าด้านมันก็ไร้ผล แต่เจอกฎหมายคอรัปชั่นประหาร+ไม่มีอายุความนี่พวกหน้าด้านมีร้อง
ความสำคัญของกฏหมาย อยู่ที่การบังคับใช้ เรื่องนี้กว่าจะเป็นจริงได้ คงต้องใช้เวลาพอสมควร (ขณะมีคสช.ยังพอทำได้ หลังจากมีปชต. คงบังคับใช้ยาก) เพราะเราปล่อยกันมานานมาก จนเป็นเรื่องปกติ และนักการเมืองเองนั่นแหละ ที่มักเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการชุมนุม
คิดว่าหลังมีรัฐบาลเลือกตั้งนี่ คงแก้กฎหมายกันสนุก หรือไม่ก็บังคับใช้แบบเล่นการเมือง คนที่ผลักดันแนวคิดการออกกฎหมายดูแลการชุมนุม ถ้าจำไม่ผิดคือ อ.ไชยันต์ ไชยพร (คงจำกันได้ เป็นคนที่เคยฉีกบัตรเลือกตั้งประท้วงเมื่อปี 49) แกยกตัวอย่างจากอังกฤษที่ทางการมีกฎหมายแบบนี้ นี่คือการให้สัมภาษณ์ของแกเมื่อปีที่แล้ว http://mcot-web.mcot.net/fm1005/content.php?id=5436450fbe04703f278b4576#.VaViy6Ttmko นักวิชาการหนุนร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ แนะควรทำประชาพิจารณ์ by Modern Radio - FM 100.5 10 ต.ค. 2557, 07:37 น.
เห็นด้วยกับ พรบ.นี้ครับ การชุมนุมควรจบภายในระยะเวลาสั้น เพื่อไม่ให้ผลกระทบกับผู้อื่น และเช่นกันผู้มีอำนาจและหน้าที่ ต้อง รับฟังและพิจารณาเรื่องราวที่ผู้ชุมนุมอย่างแท้จริง
ใช่ครับ เห็นว่าจะชุมนุมนี่ต้องกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดด้วย ต้องจบ แต่นั่งอ่านกฎหมายฉบับนี้ทีละมาตรา ผมล่ะหวั่นใจตำรวจและรัฐบาล ณ เวลานั้น ถ้ามีชุมนุมไล่รัฐบาลคอรัปชั่น ไล่แล้วหน้าหนา ไม่ไปซะที ... ไม่อยากนึก
หลังเลือกตั้งอาจมีการเสนอให้แก้ไขพรบ.ว่าบังคับใช้พรบ.นี้ได้กับคนไทยทุกคนยกเว้นนปช.และต่างด้าวที่ถูกนปช.ว่าจ้างให้มาร่วมชุมนุมและใช้ความรุนแรง