ผมกำลังค้นเรื่องสมณศักดิ์กับพระประวัติสมเด็จพระสังฆราชบางพระองค์ นึกขึ้นได้ว่าเคยเรียบเรียงเรื่องสนุกๆ เกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) จากที่มาต่างๆ เลยโพสต์ขัดตาทัพไปก่อน ประเด็๋ยวจะว่าด้วยสมณศักดิ์ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร พระประวัติสมด็จพระสังฆราชบางพระองค์หวือหวายิ่งกว่าเกจิอาจารย์เสียอีก แต่โดยเหตุที่ทรงอยู่ในฐานะสูงสุดจึงมักสำรวมพระองค์ยิ่งยวด มีแต่ศิษย์และคนใกล้ชิดเท่านั้นที่ระแคะระคาย ในยุคใกล้นี้ นอกจาก สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) แห่งวัดบวรนิเวศฯ ก็ยังมี สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ ซึ่งทรงขึ้นชื่อว่าเป็นยอดโหร แต่ก่อนจะรับตำแหน่งเคยทำนายว่าจะได้เลื่อนสมณศักดิ์อีกชั้นหนึ่ง แต่คราวนั้นพระชนม์มากถึง 88 พรรษาแล้ว สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภโณ) ได้ยินเข้าจึงเปรยว่าเห็นจะเลื่อนเข้าโกศล่ะสิ ปรากฎว่าไม่ถึงเดือนสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) สิ้นพระชนม์ สมเด็จฯ (อยู่) จึงเลื่อนขึ้นมาเป็นพระสังฆราชสมคำทำนายจริงๆ (เรื่องนี้ศ. เสถียรพงษ์ วรรณปกท่านเล่าไว้) กรณีวุ่นวายเกี่ยวกับการแต่งตั้งประมุขสงฆ์ตอนนี้ คล้ายๆกับคราวตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภโณ) เป็นสังฆนายก เมื่อ พ.ศ.2494 สังฆนายกตอนนั้นคือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ได้มรณภาพลง สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) จึงทรงตั้งพระศาสนโศภณ (จวน อุฏฺฐายี) ซึ่งมีอาวุโสตํ่ากว่า เป็นเพียงรองสมเด็จขึ้นมาดำรงตำแหน่งสังฆนายก แต่สังกัดธรรมยุติกนิกาย ข้ามสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) ซึ่งมีอาวุโสสูงกว่า แต่เป็นมหานิกาย สร้างความไม่พอใจแก่คณะพระมหานิกายอย่างรุนแรง ปรากฎว่าพระเถระผู้ใหญ่ของมหานิกาย 47 รูป ทำการเคลื่อนไหวยื่นจดหมายไปถึงสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) ตอนหนึ่งของจดหมายมีความว่าพระบัญชาแต่งตั้งพระธรรมยุตข้ามพระมหานิกายในครั้งนี้ " ... ย่อมเป็นชนวนชวนให้จิตใจของพระมหานิกาย ซึ่งเร่าร้อนอยู่แล้ว เพิ่มดีกรีมีความไวไฟขึ้นอีก อาจถึงขนาดไหม้สังฆมณฑล ให้มอดมิดก็ได้ ..." นับเป็นครั้งแรกที่มีการท้าทายสมเด็จพระสังฆราชถึงขนาดนี้ และทำให้พระศาสนโศภณ (จวน) ต้องลาออกจากตำแหน่ง ตามด้วยการหารือระหว่างพระเถระของธรรมยุตและมหานิกาย จนได้ "ข้อตกลงตำหนักเพชร 2494" ว่าด้วยปกครองศาสนจักรร่วมกันของ 2 นิกาย ส่วน สมเด็จพระวันรัต (ปลด) ก็ขึ้นมาเป็นสังฆนายก และในกาลต่อมาทั้งสมเด็จฯ ปลด และพระศาสนโศภณ (จวน) ก็กลายเป็นพระสังฆราชด้วยกันทั้งคู่ จะเห็นได้ว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่บ้านเมืองเราเกิดความโกลาหลในศาสนจักร แต่ก็สามารถแก้ไขให้ลุล่วงได้ เรื่องทำนองนี้สนุกเพลิดเพลิน ได้ศึกษาจริยวัตรของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ และมีประโยชน์ในทางธรรมเช่นกัน เหมือนอย่างคัมภีร์สังคีติยวงศ์ พงศาวดารพระศาสนาพรรณนาว่า บันทึกประวัติของผู้นำต่างๆ นั้นมีขึ้น " ... เพื่อจะให้เกิดความสังเวชสลดใจ และจะให้เกิดปลงพระไตรลักษณญาณ ... " ปราชญ์ชาวพุทธแต่โบราณไม่สนับสนุนให้บันทึกประวัติศาสตร์ เพราะเกรงว่าการบันทึกเรื่องผิดชอบชั่วดีของคนรุ่นก่อน จะทำให้คนรุ่นหลังปล่อยวางความแค้นของคนรุ่นก่อนไม่ได้ กลายเป็นการสืบทอดพยาบาทต่อๆ กันไปไม่สุด แต่บางท่านก็อุตส่าห์บันทึกไว้แต่กำกับไว้ว่าเรียนประวัติศาสตร์เพื่อให้ปลงอนิจจัง และปล่อยวาง ที่สำคัญคือศึกษาจากความผิดพลาดในอดีตเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ///////////////////////////////////////////////////////// เรื่องสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152830230841954&set=pb.719626953.-2207520000.1453177788.&type=3&theater by Kornkit Disthan ปล เล่าสู่กันฟังฮะ
พระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ หลายพระองค์ครองตำแหน่งได้ 2 ปีก็สิ้นพระชนม์ ส่วนความขัดแย้งในปัจจุบันนี้ ผมว่ามีเรื่องฝ่ายการเมืองสีเสื้่อเข้ามาปนด้วย