ส่วนพวกNGO ที่เสนอให้ขายพลังงานถูกๆคือพวกขายชาติเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตน -แนวคิดจากนอร์เวย์โมเดล ---------------------------- “นอร์เวย์เขาใช้วิธีนำเอาผลประโยชน์ที่ได้จากกิจการพลังงานมาตั้งเป็นกองทุน แล้วนำไปลงทุนสร้างดอกผลจนปัจจุบันกลายเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุด คิดง่ายๆ ตอนนี้คนนอร์เวย์มีประมาณ 5 ล้านคน เอากองทุนนี้มาแบ่งกัน หมายความว่า คนนอร์เวย์เกิดมามีเงินในกระเป๋าแล้วคนละ 30-40 ล้านบาท เพราะ ผลประโยชน์ประโยชน์จากน้ำมัน ก๊าซ หรือปันผลจาก สแตทออยล์ ก็เอามาใส่ในกองทุนนี้ทั้งหมด ที่เอ็นจีโอบ้านเราชอบตั้งคำถามว่า ก๊าซในอ่าวเป็นของคนไทย ทำไมคนไทยไม่ได้ใช้ราคาถูกๆ ที่นอร์เวย์เขาก็บอกว่าน้ำมันและก๊าซในทะเลเหนือก็เป็นของคนนอร์เวย์ แต่เป็นของคนรุ่นต่อไปนะไม่ใช่รุ่นนี้ คนปัจจุบันจะยอมใช้ราคาแพง เพื่อเก็บผลประโยชน์เอาไว้สำหรับคนในอนาคต” http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1413208702&grpid=03&catid=05
"ที่นอร์เวย์เขาก็บอกว่าน้ำมันและก๊าซในทะเลเหนือก็เป็นของคนนอร์เวย์ แต่เป็นของคนรุ่นต่อไปนะไม่ใช่รุ่นนี้ คนปัจจุบันจะยอมใช้ราคาแพง เพื่อเก็บผลประโยชน์เอาไว้สำหรับคนในอนาคต" ... o_O บริบทนี้มันเป็นแบบเดียวกับบ้านเราตอนนี้หรือไม่??? กระพ๊มไม่แน่ใจขอรับ หากยังไม่ทำความจริงให้ประจักษ์โดยทั่วกันเสียทีขอรับ
องค์ประกอบทางสังคม เศรษฐกิจต่างกันครับ ไม่ได้บอกว่าดีไม่ดี แต่ทำแล้วจะมีผลกระทบอย่างไรต่อคนทั้งประเทศอันนี้สำคัญกว่าครับ
จะถูกจะแพง ถ้าคนในประเทศมีปัญญาจ่ายผมไม่ว่าครับ แต่ผลประโยชน์ต้องไหลเข้าประเทศ 70-83% อย่างประเทศอื่น แต่เมืองไทยปัจจุบันที่ ปตท. รวยเอา รวยเอา ผู้ถือหุ้นรวยสะดือปลิ้น พนักงานได้โบนัสกันเฮฮาสนุกสนาน รัฐได้ผลประโยชน์แค่ครึ่งเดียว ส่วนประชาชนจ่ายค่าพลังงานหน้าเหี่ยวหน้าแห้ง แบบนี้ยังห่างไกลแนวคิดของ นอร์เวย์ สุดกู่เลยล่ะ
ถ้าลองศึกษาประวัติศาสตร์ดูคุณจะตลก ก่อนแปรรูปปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดแค่20% แถมโดนด่าว่าเป็นแดนสนธยา บริหารไม่ดี แปรรูปไปก็ดีแล้ว คือกระแสสังคมช่วงนั้นมันเป็นอย่างนี้ มาตอนนี้กลับตรงข้ามก็ตลกดี(รัฐถือหุ้นปตททั้งตรงและอ้อม65%)
นอร์เวย์โมเดล.... การปฏิรูปพลังงาน เป็นประเด็นร้อนที่ถูกจับตา จากข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ประเด็นที่น่าจะตั้งหลักให้ดีก็คือ แนวทางนโยบายพลังงานเพื่ออนาคตและความยั่งยืน หลายๆ ประเทศ อาทิ นอร์เวย์ วางรากฐานนโยบายพลังงานอย่างน่าสนใจ สร้างความมั่งคั่งไม่รู้จบ นอร์เวย์เคยเป็นประเทศที่ยากจน แต่ก็พลิกฟื้นจากค้นพบแหล่งน้ำมันเมื่อปี 2512 ไล่เลี่ยกับไทยที่พบก๊าซในอ่าวไทยเมื่อปี 2516 และที่แตกต่างกันก็คือ นอร์เวย์วางนโยบายพลังงานเพื่ออนาคต โดยนำค่าภาคหลวง ภาษีน้ำมัน ฯลฯ มาตั้งเป็นกองทุนน้ำมัน ขณะเดียวกัน แม้จะมีแหล่งน้ำมันและส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ราคาน้ำมันขายปลีกของนอร์เวย์กลับแพงลิ่ว อาทิ ดีเซลขายลิตรละ 68 บาท เบนซิน 95 ลิตรละ 75 บาท จากการที่เก็บภาษีในอัตราสูง มองเผินๆ ชาวนอร์เวย์จะขาดทุนที่ต้องใช้น้ำมันราคาแพง เพราะก๊าซหรือน้ำมันที่ใช้ มีแต่จะหมดไป แต่เมื่อมีการเก็บภาษีน้ำมัน ก็เท่ากับว่าทุกๆ ลิตรที่มีการเผาผลาญน้ำมัน ก็จะมีเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมัน พลังงานที่ใช้ไปก็จะไม่สูญเปล่า เพราะมีเงินภาษีเข้ามาแทนที่ เป็นการขาดทุนคือกำไรโดยแท้ นอกจากนั้น สิ่งที่ตามมาอีกก็คือ การใช้พลังงานอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ กองทุนน้ำมันนอร์เวย์ เพิ่มความมั่งคั่งขึ้นเรื่อยๆ ดยมีมูลค่าถึง 8.89 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะนี้ และอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นอร์เวย์นำเงินกองทุนน้ำมัน นำไปลงทุนออกดอกออกผล แต่ละปีจะนำดอกผลบางส่วนสมทบเข้างบประมาณแผ่นดิน รวมถึงลงทุนพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยได้มีการเปลี่ยนชื่อกองทุนน้ำมันเป็น The Government Pension Fund Global แม้ในปัจจุบันการขุดเจาะก๊าซและน้ำมันของนอร์เวย์จะทำได้น้อยลง แต่ความมั่งคั่งก็ยังคงอยู่ จากกองทุนที่ตั้งขึ้น เหลียวมาดูเมืองไทยหลังการพบแหล่งก๊าซและขุดเจาะขึ้นมาใช้ บรรดาภาษีปิโตรเลียม รวมถึงภาษีน้ำมันก็ถูกนำไปใช้ในงบประมาณประจำปีทั้งหมด ไม่เหลือหลอ ซ้ำร้ายยังมีการใช้เงินในการตรึงราคาพลังงานบางชนิดเสียอีก กลายเป็นภาระดินพอกหางหมู สุดท้ายพลังงานก็หมดไปเรื่อยๆ ... http://www.posttoday.com/คอลัมน์นิสต์ออนไลน์/324293/นอร์เวย์โมเดล เรื่องเดียวกันป่าวหว่าขอรับ???
ก็ยังคงเป็นแดนสนธยาอยู่ระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องยอมรับว่าถ้า ปตท. ไม่แปรรูป คงสภาพดูไม่จืด ไม่เหมือนกับทุกวันนี้ แต่ ultimate question ก็ยังคงอยู่ว่า สุดท้ายแล้วประเทศชาติได้อะไร
ใช้ครับ กระทู้นี้ก็อยากนำเสนอเรื่องประเทศชาติได้อะไร น่าคิดเหมือนกันว่าบ้านเราอุ้มราคาพลังงานขนาดนี้ จริงๆแล้วมันเป็นผลดีหรือเสียกันแน่