Thailand Police Story "เป็นกำลังใจให้ ด.ต.ภารเดช เดชโชติ" ด.ต.ภรเดช เดชโชติ (สภ.เมืองนครสวรรค์) ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ออกจากราชการแล้ว ด.ต.ภรเดช กล่าวว่า "ผมยอมรับผิดและขอโทษในสิ่งที่ผมได้ทำลงไป ผู้ต้องหาขับรถฝ่าไฟแดงพุ่งชนคนบริสุทธิ์บนท้องถนน มีเด็กนักเรียนบาดเจ็บถึง 3 คน และยังขัดขืนต่อสู้ เป่าแอลกอฮอล์พบสูงถึง 193 มก. ผมเพียงไม่อยากเห็นเหตุการณ์นี้ต้องมาเกิดขึ้นกับเด็กๆ" ด้านพ่อแม่ของเด็กนักเรียนที่บาดเจ็บได้ออกมาตัดพ้อว่าหลังเกิดเหตุ นายไกรสิทธิ์ วรเชษฐ์ (ผู้ต้องหา) ถูกประกันตัวไปแล้ว ไม่เคยมาขอโทษหรือมาเยี่ยมอาการน้องเลย มีแต่ตำรวจชุดจับกุมและตำรวจที่เตะคนเมา มาเยี่ยมและให้กำลังใจในฐานะเพื่อนข้าราชการตำรวจด้วยกัน หลายคนก็เห็นว่าคำสั่งให้ออกจากราชการถือว่ารุนแรงเกินไป ถ้าตกงานแล้วครอบครัวจะอยู่อย่างไร อยากให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาทบทวนใหม่ ใครเห็นด้วยช่วยกันกดไลค์ ลงชื่อเป็นกำลังใจให้ ด.ต.ภรเดช เดชโชติ ด้วยครับ เพราะอย่างนี้หรือเปล่ากฎมันถึงไม่เป็นกฎ แล้วพออีกพวกแหกกฎแล้วไปด่าเค้าทำไม? ... ทีคนคุ้ยขยะไปขาย ไปจับเค้าได้ ทำเรื่องส่งศาลตัดสินเค้าแบบตามระบบได้... แล้วทำไมหลักฐานภาพถ่ายชัดเจนขนาดนี้ ทั้งที่อยู่ในเครื่องแบบ ไม่ให้เป็นไปตามระบบ?
ก็น่าคิดน่ะครับ... ไม่ถึงขั้น 'วิสามัญ' ... ลงโทษขนาดนี้ นี่…!?! ถ้าไม่มีคนดูเยอะ ไม่มีกล้องนักข่าว ไม่ใช่ริมถนนใหญ่... ป่านนี้ผู้ต้องหา ได้ไปนอนคุยกับรากมะม่วงแล้ว...
โดนใส่ความเห็นๆ ผู้ต้องหาตั้งใส่พุ่งใส่เท้าพี่เค้าตะหาก อันที่จริง แกโดนไล่ออกเพราะทำผิดกติกา ล้มแล้วห้ามแตะซ้ำคัช
โดนวินัย ก็พอแล้วมั้ง สั่งขังแบบเต็มแมกซ์ ถ้าถึงกับออกจากราชการนี่ ผมไม่เห็นด้วยครับ มันมากไป ผมไม่รู้จะเอาอะไรมาวัด ออกจาการาชการนี่คือโทษสูงสุดของทางวินัยแล้ว เทียบได้ประหารชีวิตในคดีอาญาเลย เพราะมันคือประหารชีวิตราชการของ ด.ต.นายนั้นๆ ผมว่านี่มัน เป็นก็ใช้โทษสูงสุดทางวินัยโดนไร้เหตุผลหน่ะครับ ถ้าเป็นโทษทางอาญา ยังไม่เหมาะรวมทุกการกระทำผิด เป็นระดับเดียวกันเลย จะต้องความหนักเบาของโทษ มันต้องแบ่งตามระดับของเจตนาดังนี้ ขั้นที่ 1 ไม่เจตนา ประมาท ขั้นที่ 2 ลุแก่โทษะ หรือไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน ขั้นที่ 3 มีการไตร่ตรองไว้อย่างดีแล้ว ผมว่า ด.ต. คนดังกล่าว อยู่ในขั้นขั้นที่ 2 นะ ความผิดหน่ะมีแน่ครับ แต่ถ้าจะลงโทษสูงสุด ถึงกับให้ออกจากราชการนี่มันเกินไปครับ ผู้ต้องหา ก็มิได้ บาดเจ็บสาหัส หรือเป็นอันตรายร้ายแรงแต่งอย่างใด อีกตั้ง ด.ต. คงดังกล่าว มิได้ไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นเพียงแค่ลุแก่โทษะเท่านั้น ซึ่ง ด.ต. คนดังกล่าวทำผิดมาตรา 391 ไม่ใช่ มาตรา 295 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมาตรา 391 เป็นความผิดลหุโทษ นะครับ