“คสรท.-เครือข่ายแรงงาน” ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ขอปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 360 บาทเท่ากันทุกจังหวัดในปี 2559 พร้อมขอรัฐบาลคุมราคาสินค้า วันนี้ (25 มิ.ย.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และเครือข่ายแรงงานทั่วประเทศ เดินทางมารวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างในปี 2559 เป็นวันละ 360 บาทเท่ากันทุกจังหวัด น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า คสรท.และเครือข่ายแรงงานมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง)พิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2559 เป็นวันละ 360 บาทเท่ากันทุกจังหวัดโดยขอให้บอร์ดค่าจ้างสรุปผลการพิจารณาภายในเดือนตุลาคมนี้ เพราะจากผลสำรวจค่าครองชีพแรงงานเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเดินทาง ค่าอาหาร พบว่าค่าใช้จ่ายแต่ละวันของแรงงานหนึ่งคนอยู่ในอัตรานี้ พร้อมกันนี้ขอให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ในขณะนี้ค่าครองชีพขยับขึ้นสูงมาก ทำให้ค่าจ้างวันละ300บาทไม่เพียงพอใช้จ่ายและเลี้ยงดูครอบครัว โดยมีนายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษาม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับหนังสือข้อเรียกร้องโดยนายกมล กล่าวว่า ตนจะนำหนังสือข้อเรียกร้องไปเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000071946 .......................................................................................... เพียงเพราะอยากชนะเลือกตั้ง ออกนโยบายหาเสียงโดยไม่สนผลกระทบที่ตามมาจึงเป็นอย่างนี้ ปัจจุบันนายจ้างก็เจอปัญหาเศรษฐกิจ หาทางลดต้นทุนอยู่ อาจมีการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ หรืออาจลดจำนวนพนักงานโดยเพิ่มเครื่องจักรเข้ามาแทน สุดท้ายผู้ได้รับผลกระทบคือ ผู้ใช้แรงงาน ปล.ผมไม่ตำหนิผู้เรียกร้อง เพราะเคยอ่านค่าครองชีพที่คำนวนออกมา/วัน เกือบ 300 บาทจริง กรณีนี้ เชื่อว่ารัฐฯ ให้ไม่ได้ และไม่สมควรให้ แต่อาจจะควบคุมราคาสินค้าแทน
ถูกต้องแล้วครับ แรงงานไทยเขาเดือดร้อน เขาไม่พอก็ต้องขอให้รัฐบาลช่วย พอช่วยแรงงานแล้วรัฐบาลควรช่วย เจ้าของสถานประกอบการด้วย ด้วยการเปิดรับแรงงานต่างชาติด้วยกระบวนการพิเศษที่ง่ายกว่าเดิม ให้เป็นทางเลือกแก่ผู้ประกอบการด้วยครับ win win ทุกฝ่าย
ที่ค่าครองชีพมันเพิ่มเพราะนโยบาย 300 บาทนี่แหละครับ เพราะนายจ้างต้องจ่ายค่าแรงเพิ่ม ดังนั้นราคาสินค้าจึงขึ้นแน่นอนครับ นอกจากช่วยแรงงานแล้ว รัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนมาช่วยสถานประกอบการครับ และยิ่งถ้ารับแรงงานต่างชาติมากขึ้น แรงงานไทยยิ่งตกงานสิครับ เพราะโดนแย่งงานหมด เพราะแรงงานต่างชาติจากประเทศข้างเคียงค่าแรงถูกกว่าจ้างคนไทย จริงมั้ยครับ
ก็รับประกันว่าได้ค่าแรง 360 แน่นอน แต่ไม่ได้รับประกันว่าจะไม่ตกงาน แต่สถานประกอบการนายจ้างต้องอยู่ได้ ไม่งั้นข้าวของก็แพงแบบที่คุณบอก
น่าจะต้องมีเวลาให้นะครับ พร้อมกับดำเนินการอนุญาติให้หาแรงงานต่างด้าวทดแทนด้วยในรายของผู้ประกอบการที่ไม่คุ้มต้นทุน
ฟังดูเหมือนเป็นเผด็จการ คอมมิวนิสส์นะ ถ้าเป็นประชาธิปไตย ต้องเป็น การเลือกเองอย่างเสรี ว่าค่าแรงตัวเราจะเป็นเท่าไหร่ เราต้องกำหนดเองซิ ทำไมต้อง 300 ทำไมต้อง 360 ทำไมต้องมากำหนดให้เรา เราต้องเลือกของเราเอง ทำไมเราไม่ตั้งค่าแรงเราเองที่ 1000 ถ้าไม่มีเงินมาจ้าง เราก็ไม่ทำให้นะ... นักประชาธิปไตยเขาว่าอย่างนั้น อิอิ
เอาอะไรมาวัดว่า ใครควรได้เท่านั้น ใครควรได้เท่านี้ ผลงานและฝีมือไงครับ ระหว่างมีผลงานแล้วได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น กับ ได้ค่าแรงเพิ่มพร้อมกันทั้งประเทศกับราคาหมูที่ขึ้นทั้งแผ่นดิน เมื่อก่อนค่าแรงไม่ถึง 300 เจ้าของร้านจ้างคนงานไว้ในร้านตัวเอง หนึ่งคนบ้างสองคนบ้าง เดี๋ยวนี้ค่าแรงกระชาก มีเหลือแต่เจ้าของ ร้านนั่งอยู่คนเดียว เจ้าของอู่รถลงมาซ่อมเอง เจ้าของร้านแก๊สลงมา ยกถังแก๊สเอง คนตกงานเองก็อยากทำงาน แต่ไม่มีใครเขาจ้าง เพราะจ้างมาแล้วไม่รู้จะคุ้มหรือเปล่า แล้วถ้าจ้างไม่ถึงค่าแรงขั้นต่ำก็ติดคุกอีก ผมก็งงนะบางคนนี่ไม่ยอมจะพัฒนาฝีมือตัวเองเลย แต่อยากได้ค่าแรง สูง ๆ ประหลาดไหม
เรื่องลอยตัวเคยมีข่าวมาแล้วครับ ไม่นานมานี้ ว่าหลังจากปี 59 จะปรับลอยตัวและกลุ่มผู้ใช้แรงงานก็ออกมาคัดค้าน
แรงงานไร้ฝีมือ ทางแก้คือแรงงานพม่า กัมพูชา ลาว ฯลฯ สุดท้ายจะขยายเผ่าพันธุ์ครองประเทศไทย แรงงานมีฝีมือ ทางแก้คือแรงงานพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม อินเดีย ฟิลิปินส์ ฯลฯ สุดท้ายจะขยายเผ่าพันธุ์ครองประเทศไทย ส่วนคนไทยก็แก่ตัวลง ขายที่ดิน ทรัพย์สิน ได้เงินมากินเหล้าเคร้านารีเงินหมดก็แบมือขอตังรัฐบาล แบบว่ามีเบี้ยให้คนสัญชาติไทยเดือนละห้าพัน 5555
ลูกน้องรายวันของผมตอนนี้ ผมให้ 400 บาท ทั้งๆที่ผมเองก็ลำบากเต็มทน เพราะขายของไม่ได้ สต๊อกเหลือบานเบอะ แต่ก็ต้องให้เขา 400 เพื่อให้เขาอยู่ได้ เพราะของกินของใช้ แพงทุกอย่าง หวังว่าอนาคตคงจะดีขึ้น.....เฮ้อ....เหนื่อยใจจริงๆครับ
ผมสนับสนุนค่าแรงลอยตัวนะ เพราะผู้ประกอบการจะออกแบบสวัสดิการแรงงานยังไงก็ได้ สมมุติว่าผมไปตั้งโรงงานที่กันดารมากๆ แต่มีสวัดิการห้องพัก รถรับส่ง อาหาร 3 มื้อ มีแม้กระทั่ง โรงเรียนอนุบาล-ประถม แรงงานไม่ต้องจ่ายเงินสักบาทในดำรงชีพอยู่ในแต่ละวัน แต่จ่ายค่าแรง 200 บาทนะ แบบนี้คุณภาพชีวิตจะดีกว่าจ่าย 300 บาท แต่ไม่มีสวัสดิการอะไรเลยมั้ยครับ อาจะฟังดูเพ้อฝันนะครับ แต่ผมเชื่อว่าในตลาดแรงงานที่เสรีอย่างไทย ไม่มีใครกดค่าแรงไปได้นานหรอกครับ เพราะแรงงานหนีหมด ธุรกิจคงไม่ต้องไปไหนกันพอดี เดี๋ยวคนเก่าออก เดี๋ยวต้องรับคนใหม่ จริงๆแล้ว ผมไม่อยากให้ยกเลิกค่าแรงขั้นตํ่านะครับ แต่ให้เปลี่ยนรูปแบบแทน โดยเป็นเกณฑ์ที่ไม่ได้คำนวณจากค่าพื้นฐานการครองชีพใดๆทั้งสิ้น เป็นแค่เกณฑ์ที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายเป็นตัวเงินให้แรงงานเท่านั้น สรุปคือ ตรึงค่าแรง 300 บาทไว้อย่างนี้แหละ ตรึงไว้ให้นานที่สุด ใครจะพูดอะไรช่างหัวแม่มมัน และรัฐบาลต้องหาวิธีจูงใจ ให้เอกชน เพิ่มสวัสดิการแก่แรงงาน เช่น ลดภาษี มีเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยให้ รัฐต้องคำนึงคุณภาพชีวิตของแรงานที่ดีขึ้น แทนจะที่คิดเอาง่ายให้แรงงานได้เงินเพิ่มไปอย่างเดียว อย่างหวังว่าเรื่องนี้ จะเกิดในสมัยรัฐบาลมากการเลือกตั้ง เพราะแรงงานมีเยอะ พลังแห่งประชาธิปไตย 5 วินาที ก็มีเยอะด้วยเช่นกัน แต่แรงงานส่วนใหญ่ ก็ไม่รู้ว่าอะไรดีกับตัวเอง ดูจาก คสรท. เคยพูดในรายการอะไรสักอย่างนี่แหละครับ คือเขารู้ปัญหานะ แต่คิดแก้ปัญหาง่ายแต่โง่ที่สุด
นี่เลย ประเด็นสำคัญ เรื่องพัฒนาฝีมือแรงงาน อีกอย่างหนึ่งค่าแรงงานเท่ากันทั่วประเทศ เอาสมองส่วนไหนคิด สมมุติ ค่าครองชีพ กรุงเทพ ภุเก็ต หาดใหญ่ เท่ากับ ชุมแพ แพร่ น่าน ศีรษะเกษ หรือ
BREAKING NOW 08:15 "นายกฯ" ระบุข้อเรียกร้องขอปรับขึ้นค่าแรงจาก 300 เป็น 360 บาท ยังไม่สามารถทำได้ และไม่ควรนำมากดดัน http://www.now26.tv/breakingnow/44814
จากคนที่ได้เงินเดือนประจำ พอค่าแรง 300 ออกมา กลายเป็นพนักงานรายวันไปแล้ว วันหยุดก็ไม่ได้เงิน แล้วแถมจะโดนไล่ออกวันไหนก็ไม่รู้ แล้วที่อันตรายไปกว่านั้นคือ เด็กรุ่นใหม่ บางคนขยันนี่ขยันสุด ๆ แต่บางคนพอรู้ไม่มีงาน ก็อยู่บ้านเฉย ๆ รอเงินพ่อแม่
คนมักลืมคิดกันครับ ค่าแรง เงินเดือนต่างๆที่ปรับขึ้น มักตามมาด้วยราคาสินค้าที่ปรับตัวตาม แล้วก็วนต่อไปเรื่อยๆ