... ประมาณว่า "ต้นไม้ทุกต้น เป็นสมบัติของรัฐ ไม่ว่าต้นไม้ต้นนั้นจะขึ้นในที่ดินของใคร ต้นไม้ต้นนั้นก็เป็นสมบัติของรัฐ ผู้ใดตัดลำต้น ทำลาย หรือตัดทอนกิ่งก้าน หรือทำให้ต้นไม้ตายโยเจตนาหรือไม่เจตนา โดยไม่ได้รับอนุญาติ มีโทษตามกฏหมาย" แล้วก็ออกกฏหมายลูกมาประมาณว่า... "แม้ต้นไม้นั้นจะขึ้นในที่ดินของตนเอง ผู้ใดตัดต้นไม้เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นตั้งแต่ 3 ซม. ถึง 5 ซม. โดยไม่ได้รับอนุญาติ มีโทษปรับ 5000 บาท" และเพิ่มอัตรโทษขึ้นไปเรื่อยๆ ไปสุดที่ ... "ผู้ใดตัดต้นไม้ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 20 ซม.ขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาติ มีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต" หลายคนอาจจะบอกว่าจะรู้ได้ไงว่าใครแอบตัดต้นไม้ ก็ไม่ยากครับ เจ้าของที่ดินทุกคนที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่ในที่ดิน มีหน้าที่มาแจ้งนายทะเบียนให้ขึ้นทะเบียนต้นไม้ เอากันเป็นต้นๆ กำหนดโดยพิกัดจีพีเอสโดยระเอียดระดับจุดทศนิยมกันไปเลยครับ ผมแค่จะขอน้ำใว้ดื่มกิน ขอน้ำใว้ให้ลูกหลานของผมได้ดื่มกิน ขอน้ำใว้ให้ลูกหลานของทุกๆคนได้ดื่มกิน แค่นี้ผมคงไม่ขอมากเกินไป
โอ้! ถ้าเขียนไว้คงได้ชื่อว่า รัฐธรรมนูญฉบับทาร์ซาน เอาเฉพาะป่าและแนวกันชนเถอะ เอาแนวป่าให้ชัดแล้วห้ามออกเอกสารสิทธิ์ใดๆก็หรูแล้ว
จริงๆไม่ใช่ของใหม่ครับ ญี่ปุ่นออกพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่สมัยโชกุนคนแรก ก็ประมาณกรุงศรีอยุทธยาตอนกลางโน่นละครับ อีกส่วนหนึ่ง ถ้าไม่ทำให้ชัดๆโทษแรงๆแบบนี้ ผืนป่าหลักๆแหล่งต้นน้ำลำธารของชาติก็จะค่อยๆหดหายลงไปเรื่อยๆ ปริมาณน้ำจืดที่จะมาดันน้ำทะเลใว้ก็จะลดน้อยลงเรื่อย พอน้ำจืดไม่มีปริมาณ-กำลังเพียงพอที่จะดันน้ำเค็มออกไปสู่ปากอ่าว น้ำเค็มก็จะล้นทะลักขึ้นมาถึงเขื่อนเจ้าพระยาที่ชัยนาท ทีนี้ละครับ พื้นที่ภาคกลางอันอุดมสมบูรณ์จะแปรสภาพกลายเป็นทะเลทรายภายในไม่เกินสิบปี อันเนื่องมาจากน้ำเค็มใหลทะลักจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่คูคลองระบบชลทานที่โยงใยกันเป็นตาข่ายอย่างทั่วถึง และเมื่อน้ำเค็มมาถึง พื้นที่ภาคกลางอันอุดมสมบูรณ์จะใช้เพาะปลูกอะไรไม่ได้อีกเลย ถ้าจะแก้ว่า ก็ปิดประตูระบายน้ำจากเจ้าพระยาที่เข้าสู่คูคลองต่างๆลงสิ ในเวลาปรกติทำได้ แต่ในฤดูน้ำหลาก บางครั้งระดับน้ำสูงกว่าระดับประตูระบายน้ำ ทีนี้จังหวะน้ำขึ้นน้ำลงของดวงจันทร์กับระดับน้ำที่สูงกว่าประตูระบายน้ำนี่แหละที่จะนำเอาเกลือจากทะเลเข้ามาทำหลายแหล่งเพาะปลูกอันอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ภาคกลางอย่างทั่วถึง ถึงตอนนั้น พอเข้าหน้าแล้ง พื้นที่ที่ใช้เพาะปลูกอะไรไม่ขึ้นนี้มันก็จะเป็นทะเลทรายเราดีๆนี่เอง ยังไม่พูดถึงถ้าน้ำเค็มขึ้นไปถึงชัยนาทแล้ว ประชากรของกรุงเทพและปริมลฑลกว่ายี่สิบล้านคนจะเอาน้ำที่ไหนดื่มกิน ไม่ต้องพูดถึงว่าจะเอาน้ำที่ไหนมาทำน้ำประปา
ถ้าต้นไม้นั้นทำความเสียหายแก่เจ้าของที่ดิน รัฐต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วยไหมในเมื่อรัฐเป็นเจ้าของ และแทนที่จะส่งเสริมให้คนปลูกต้นไม้กลับห้ามคนปลูกต้นไม้ เพราะขนาดจะตัดกิ่งก้านยังต้องขออนุญาตเนี่ย พวกเกษตรกรที่ปลุกพืชขายคงไม่ต้องทำมาหากินเพราะต้องไปขออนุญาตทุกวันกระมัง ขนาดแค่ 3 cm ยังต้องจะขุดหน่อไม้ก็ต้องขอ
คิดใว้แล้วครับ ผลประโยชน์จากต้นไม้นั้น เจ้าของที่ดินหรือผู้ได้รับอนุญาติจากเจ้าของที่ดินรับไปทั้งหมด รัฐไม่เอาอะไรครับ แต่ถ้าจะมีการลิดกิ่งตัดแต่งกิ่ง ก็ต้องดูด้วยว่ามีขนาดเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดหรือเปล่า ก็ไปขออนุญาติจากเจ้าหน้าที่ให้เป็นเรื่องเป็นราว ได้ใบอนุญาติมาแล้วก็ตัดแต่งได้ถ้ามันมีขนาดใหญ่มาก แต่ถ้ามันมีขนาดเล็กกว่าที่กฏหมายกำหนดก็ไม่ต้องขออนุญาติครับ หลักการง่ายๆ จากนี้ไปต้นไม้ทุกต้นในประเทศนี้จะได้รับการประกันชีวิตจากรัฐ ถ้าไม่ทำอย่างนี้เราก็จะไม่สามารถรักษาแหล่งต้นน้ำลำธารได้อีกต่อไปครับ
จริงๆก็ต้องขออนุญาติในการตัดนะครับ ลองคิดถึงต้นอ้อยดูนะครับ ลำต้นไม่ใช่เล็กๆ แต่พืชล้มลุกที่เป็นต้นใม้ในการเกษตร ส่วนนี้น่าจะอยู่ในบัญชียกเว้นครับ หรืออาจจะให้ขออนุญาติตัดกันเป็นแปลงๆก็ได้ครับ ดีด้วย จะได้เป็นการเก็บสถิติการผลิต - พื้นที่ผลิต ไปด้วยในตัว เอาไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการผลิตของประเทศได้ด้วย
ต้นไม้ในการเกษตรนี่กว้างมากนะครับ กฎหมายเดิมก็มีอยู่แล้ว แต่ขาดการบังคับใช้อย่างจริงจัง ยังไม่นับเรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานอีก ปกติก็ทำลายไม่ค่อยจะทันมันโตอยู่แล้ว เจอห้ามทำลายนี่ยิ่งไปกันใหญ่
ก่อนกฎหมายบังคับใช้ ที่ดินคงเหี้ยนเตียนหมด เพราะกลายเป็นว่าต้นไม้คือสิ่งที่จะทำให้ที่ดินใช้การไม่ได้ หรือใช้ได้ยากขึ้น แล้วถ้าต้องขออนุญาติก็คงหวานเจ้าหน้าที่รัฐอีก จริงอยู่ป่าต้นน้ำนั้นสำคัญต้องรักษาและเพิ่มพื้นที่ อาจเวนคืนพื้นที่รอบๆป่า แล้วปลูกป่าเพิ่ม แต่คงไม่แฟร์ถ้าจะบังคับให้ที่เรา บ้านเรา ต้องเป็นป่าไปด้วย
ไอเดียผมต้องการปลูกฝังให้ทุกคนรักต้นใม้ ลงไปในดีเอ็นเอของทุกคนครับ ถือว่าเป็นความเพ้อเจ้อของผมก็แล้วกัน อิอิอิ
กฎหมายที่มีอยู่ก็ห้ามตัดเป็นร้อยชนิด แล้วมีการบังคับใช้จริงจังซะที่ไหนล่ะครับ อย่างกระท้อน ขี้เหล็ก มะม่วง ถ้าขึ้นในป่าจะเป็นไม้หวงห้าม ห้ามตัดแต่ก็ไม่เห็นจะสนใจกัน
ขอเสนอมั่งครับ ฮิฮิ 1. ราษฎรต้องสามารถตรวจสอบแนวเขต ด้วยแผนที่ดาวเดียวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือแผนที่ปกติจากสำนักงานเจตอำเถอ หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันได้ในทุกท้องที่ จากนั้นเขียนกฎหมายกำกับไว้ ในพระราชบัญญัติที่่เกี่ยวข้อง ให้ระบุไปให้ชัดว่า " การซื้อขายที่ดินทุกครั้ง ให้ถือว่าผู้ซื้อได้ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว ว่าสามารถครอบครองได้ตามกฎหมาย " ถ้ากฎหมายเขียนไว้เช่นนี้ ใครจะซื้อที่ดินที่ผิดกฎหมาย ก็ต้องรับผิดทางอาญาไปเต็มที่ จะอ้างไม่ทราบมาก่อนไม่ได้ และจะใช้สิทธิ์ฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายกับใครไม่ได้ เพราะถือว่าทราบมาก่อนแล้วว่า ที่ดินที่เข้าไปครอบครองนั้นผิดกฎหมาย เจตนารมณ์ : กำหนดหน้าที่ของผู้ซื้อที่ดิน ให้ตรวจสอบที่ดินให้ดีเสียก่อนทำการซื้อขาย และลดข้อต่อสู้ทางคดีของผู้ที่่ตั้งใจกระทำผิด 2. ตามหลักกฎหมาย กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง หากเป็นโทษต่อผู้กระทำผิดนั้น แต่เขียนบังคับการกระทำของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ ฉะนั้นในเรื่องนี้ ให้ออกกฎหมายนริโทษกรรมสำหรับผู้ที่กระทำผิด แต่มีเงื่อนไขจะต้องเข้าแสดงตน และขอบเขตที่ดินตนเข้าทำประโยชน์นั้น และต้องทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทันที หากเป็นที่ดินที่ใช้ทำการเกษตรอาจจะเว้นระยะให้สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้ระยะเวลาหนึ่ง และหากมีการโต้แย้งในสิทธิ์การครอบครองที่ดินนั้น ให้นำเรื่องขึ้นสู่ศาลพิจารณาตัดสินต่อไป หากผู้ใดครอบครองที่ดินที่ไม่สามารถครอบครองได้ตามกฎหมายแล้ว หรือต้องสงสัยว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ไม่ชัดเจนในสิทธิ์การครอบครอง แล้วยังละเลย หรือหลีกเลี่ยง ไม่เข้าแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ภายในระยะเวลที่กำหนดไว้ ภายหลังยังมีเข้าทำประโยชน์ให้ที่ดินนั้น ต้องระวางโทษอาญาทั้งจำ ทั้งปรับ เจตนารมณ์ : ลดภาระการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่รัฐ และหากทางออกให้ผู้กระทำผิด เพื่อไม่ให้กระทำผิดต่อไป
จริงๆ ผมอยากให้มีกฏหมายเอาจริงเอาจังกับพวกเผาขยะ เผาใบไม้มากกว่า อยากให้บ้านตัวเองสวยสะอาด แต่สร้างความรำคาญให้ชาวบ้าน
ในรัฐธรรมนูญคงเขียนไว้กว้างๆ ว่ารัฐต้องมีหน้าที่ดูแลป่า ต้นไม้ ตามสภาพธรรมชาติ การลักลอบตัดโค่นต้นไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายจะดำเนินการมิได้ ฯลฯ แล้วค่อยออกกฎหมายตามมาอีกที เขียนนิยาม กฎเกณฑ์ อัตราโทษ ฯลฯ
ปฏิบัติยากครับ เพราะมันจะต้องมีรายละเอียดของกฎเกณฑ์เยอะ เท่าที่เห็นในปัจจุบัน เฉพาะบริเวณรอบๆที่ทำการหน่วยรักษาป่าไม้ ก็ไม่เห็นมีป่าแล้วอะครับ บางที่ก็มีต้นยูคาฯ ต้นกระถินณรงค์ ป่าละเมาะ
เขาเขียนเสร็จแล้วทำไมเพิ่งมาบอก ตอนเค้าเขียนใหม่ๆ ไปหลบลงรูของกะลาไหนมา แหม... คนพวกนี้ มันโง่ได้ใจจริงๆ
ผมว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวบทกฎหมายนะครับ ต่อให้ออกกฎหมายประกันต้นไม้ ถ้าคนจะลักลอบตัด มันก็ลักลอบตัดได้อยู่ดี มันน่าจะอยู่ที่คนบังคับใช้กฎหมายมากกว่า ว่าจริงจังแค่ไหน แค่ไหนเรียกจริงจัง