http://www.komchadluek.net/detail/20141009/193738.html มติป.ป.ช.ชง‘สนช.’ถอดถอน‘ปู’ ปมจำนำข้าวเหตุไม่ระงับโครงการ เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 9 ตุลาคม 2557 นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. ได้ชี้แจงกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติให้ส่งรายการไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ประชุมเพื่อพิจารณาว่า จะส่งรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง ที่ดำเนินการแล้วเสร็จดังกล่าวไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ดำเนินการถอด ถอนผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม แต่การที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีประกาศให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังมีผลใช้บังคับต่อไป ทั้งต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งมาตรา 6 ได้บัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสอง ร้อยยี่สิบคน ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 กำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตาม กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติด้วยเสียงข้างมากให้ส่งรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมเอกสารและความเห็นไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ทั้งนี้คดีดังกล่าวโดยมีรายละเอียดคือ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 มีมติชี้มูลความผิดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย มาตรา 178 และส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (1) กรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ของรัฐบาล อันเป็นมูลเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 270 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 58 ให้ส่งรายงานและเอกสาร ที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 273 ต่อไปนั้นในระหว่างการจัดทำรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อส่งไปยังประธาน วุฒิสภาเพื่อให้ดำเนินการถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 นั้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และได้มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์
เอ...ทำไมแม่มะนาวนึกถึงชื่อ Bangkok Connection คลับคล้ายคลับคลา แต่นึกมะออกว่าได้ยินจากไหน แม่มะนาวเป็นไทยแท้ๆเลยลืมเก่ง
สนช.เลื่อนพิจารณาวาระถอดถอนออกไปไม่มีกำหนด วันนี้ (17 ต.ค.2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ที่ได้มีการประชุมลับมาตั้งแต่เวลา 12.45 น. โดยที่ใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง ในการพิจารณารายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.กรณีการกล่าวหานายนิคม ไวยรัชพานิช และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ใช้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของ ส.ว.ขัดรัฐธรรมนูญ ว่าอยู่ในอำนาจของ สนช.ในการถอดถอนหรือไม่ โดยมีการหารือในรูปแบบการประชุมลับ โดยที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางแต่ไม่สามารถได้ข้อยุติได้ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ จึงเสนอให้เลื่อนการพิจารณาวาระดังกล่าวออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพื่อให้ สนช.ได้ศึกษาสำนวนที่ ป.ป.ช.ส่งให้กับ สนช.ซึ่งมีเนื้อหาและรายละเอียดเป็นจำนวนมาก โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นควรว่าให้เลื่อนการพิจารณาออกไป ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติเสียงข้างมาก 165 เสียง ให้งดเว้นข้อบังคับการประชุมที่กำหนดให้ต้องพิจารณาดำเนินการตามกรอบเวลา 30 วัน หลังจากที่ได้รับเรื่อง โดยให้เป็นดุตลยพินิจของนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ว่าจะพิจารณาวาระดังกล่าวกลับเข้าสู่การพิจารณาอีกครั้งเมื่อใด
ปัดคว่ำ'ถอดถอน' ไร้ใบสั่ง สนช.สายทหารแจง เมื่อวันที่ 18 ต.ค. พล.อ.นพดล อินทปัญญา หรือ “บิ๊กกี่” สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกรณีที่ สนช.เลื่อนการพิจารณาสำนวนถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภาและนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว.โดยมิชอบออกไปโดยไม่มีกำหนดว่า ขณะนี้ สนช.สายทหารยังไม่มีมติว่าจะไม่รับสำนวนถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภาและนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว.โดยมิชอบ ต้องขอรอดูสำนวนถอดถอนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีถึงกว่า 4,000 แผ่นก่อน เพราะในการประชุม สนช.เมื่อวันที่ 17 ต.ค. สมาชิก สนช.มีข้อมูลการถอดถอนอยู่ในมือไม่ถึง 10 แผ่น ส่วนที่เคยบอกว่า สนช.ไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องการถอดถอน เนื่องจากฐานความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว เป็นความเห็นเดิม ขณะนั้นยังไม่เห็นสำนวนถอดถอนอย่างเป็นทางการจาก ป.ป.ช.จำนวนกว่า 4,000 แผ่น ดังนั้น ต้องขอพิจารณารายละเอียดในสำนวน ป.ป.ช.ก่อน แล้วค่อยมาว่ากันอีกครั้ง ยืนยันว่าไม่มีการล็อบบี้ สนช.สายทหารเรื่องการลงมติ ที่ผ่านมามีเพียงแค่การคุยกันในวงเล็กๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นด้านข้อกฎหมายเท่านั้น ไม่ใช่การล็อบบี้เลย ปฏิเสธวุ่นเดินเกมตามใบสั่ง คสช. เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีใบสั่งจากบิ๊ก คสช.ให้ สนช.สายทหารลงมติไม่รับเรื่องการถอดถอนดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดแรงกระเพื่อมในสังคม พล.อ.นพดลตอบว่าไม่จริง ไม่มีใบสั่งจาก คสช.เลย ทุกคนมักไปมองว่าตนเป็นเพื่อนกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะประธานที่ปรึกษา คสช. แต่ความจริงแล้วทุกอย่างที่พูดเป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับ คสช.หรือ พล.อ.ประวิตร แต่ยังชอบไปมโนกันเอง ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย อย่าไปมอง คสช.เป็นผู้สั่งการ ไม่มีจริงๆ ตนพิจารณาทุกอย่างตามหลักกฎหมาย ไม่มี คสช.มาสั่ง ทุกคนที่มาเป็น สนช.ก็เป็นเพื่อนกัน มาทำงานเพื่อประเทศทั้งนั้น หลังจากที่ สนช.สายทหารเห็นสำนวนถอดถอนฉบับเต็มแล้ว เป็นดุลพินิจแต่ละคนจะพิจารณาลงมติเอง จะไม่มีการล็อบบี้ว่าต้องลงมติไปในทางใด “น้องบิ๊กป้อม” โต้โยนหินเลื่อนลงมติ พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ สนช. กล่าวว่า การประชุมลับเพื่อพิจารณาถอดถอนนายสมศักดิ์ และนายนิคม เมื่อวันที่ 17 ก.ย. ทันทีที่เข้าสู่วาระนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เปิดให้สมาชิก สนช.แสดงความคิดเห็นเต็มที่ แต่ละคนแสดงความเห็นแตกต่างหลากหลาย แต่ไม่ได้แตกแยกกัน เพราะบรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยดี และสาเหตุที่มีการขอมติให้งดเว้นข้อบังคับการประชุมเพราะ สมาชิก สนช.ส่วนใหญ่เห็นว่ารายละเอียดการพิจารณายังไม่เพียงพอ อยากเห็นสำนวน ป.ป.ช.อย่างครบถ้วน ไม่ใช่ว่าจะถอดถอนอย่างเดียว ทุกอย่างต้องมีกฎหมายรองรับ ควรส่งสำนวนให้สมาชิก สนช. ศึกษารายละเอียดประกอบกับข้อกฎหมายต่างๆ ก่อนตัดสินใจ ไม่ทราบว่าจะนำเรื่องดังกล่าวกลับเข้าที่ประชุมเมื่อใด เพราะเป็นดุลพินิจของประธาน สนช. ทั้งนี้ สนช.สายทหารไม่มีการล็อบบี้ให้ไม่รับสำนวนถอดถอน การลงมติเป็นดุลพินิจของแต่ละคน การเลื่อนลงมติถอดถอนไม่ใช่การหยั่งกระแสสังคม ไม่มีการโยนหินถามทาง แต่เพราะอยากเห็นสำนวนถอดถอนให้รอบด้าน ขณะนี้ สนช.ยังไม่ตกลงใจว่าจะรับเรื่องถอดถอนดังกล่าวไว้พิจารณาหรือไม่ “ธานี” แจงไม่ได้เจตนายื้อเตะถ่วง ด้านนายธานี อ่อนละเอียด สนช. ให้สัมภาษณ์ว่าการพิจารณาเรื่องดังกล่าวของ สนช. เมื่อวันที่ 17 ต.ค.ส่วนใหญ่อ้างว่ายังไม่ได้ศึกษารายละเอียดของสำนวน และประเด็นที่ถกเถียงกันมีแค่ข้อหามีแค่ไหน และรายละเอียดยังไม่เพียงพอ ที่ประชุม สนช.จึงต้องปลดล็อกข้อบังคับการประชุม สนช.ที่ให้ประธาน สนช. บรรจุเรื่องถอดถอนเป็นวาระเรื่องด่วนภายใน 30 วัน ออกไปก่อน เพราะจะครบกำหนดวันที่ 7 พ.ย. ทั้งนี้ สนช.ไม่ได้มีเจตนาเตะถ่วงหรือยื้อเวลาออกไป เพียงแต่ สนช.บางคนไม่มีความคุ้นชินและไม่ถนัดเรื่องการถอดถอน ต้องการจะศึกษาพิจารณาสำนวนของ ป.ป.ช.ที่มีกว่า 4,000 แผ่นก่อนจึงต้องให้เวลา คาดว่าอีก 2 สัปดาห์น่าจะนำเข้าบรรจุวาระการประชุม สนช.อีกครั้งได้ เพราะไม่ต้องดูอะไรมาก แค่ดูบทสรุปของ ป.ป.ช. ที่แนบมาให้ก็รู้เรื่องแล้วว่าข้อหาคืออะไร พยานหลักฐานอย่างไรบ้าง ขณะนี้ข้อเท็จจริงและการตัดสินใจของตนนิ่งแล้ว “ครูหยุย” แนะรับเรื่องไว้ก่อน นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. กล่าวว่า เชื่อว่าเวลา 2 สัปดาห์ที่ให้ สนช.ไปศึกษารายละเอียดสำนวนถอดถอนดังกล่าวน่าจะเพียงพอที่จะนำบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมได้อีกครั้ง ซึ่งการประชุม สนช. เมื่อวันที่ 17 ต.ค. ตนเสนอต่อที่ประชุมให้เลื่อนการลงมติถอดถอนออกไปก่อน เพื่อให้ สนช.ไปศึกษารายละเอียดในสำนวนอย่างเป็นทางการของ ป.ป.ช.ที่มีอยู่กว่า 4,000 แผ่นให้รอบคอบ ส่วนตัวเห็นว่า สนช.คงต้องรับเรื่องไว้พิจารณาถอดถอนตามกระบวนการที่ ป.ป.ช.ส่งมาไว้ก่อน จากนั้นค่อยไปว่ากันเรื่องฐานความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 50 ว่า ยังมีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่ ซึ่งที่ประชุม สนช.คงต้องใช้ดุลพินิจหารือกันอีกครั้ง ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า สนช.สายทหารไม่อยากให้ สนช.รับเรื่องไว้พิจารณา เชื่อว่าไม่น่าจะจริง 100% เพราะหาก สนช.สายทหารไม่อยากให้รับเรื่องไว้พิจารณาจริง ทำไมจึงลงมติให้ยกเว้นข้อบังคับการประชุมเรื่องการบรรจุวาระถอดถอนภายใน 30 วัน “พีระศักดิ์” ชี้ภายใน พ.ย.ได้ข้อสรุป ขณะที่นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 ให้สัมภาษณ์ถึงการที่ สนช.เลื่อนการพิจารณาสำนวนถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภาและนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว.โดยมิชอบออกไปโดยไม่มีกำหนดว่า ยืนยัน สนช.พิจารณาตามกฎหมาย แต่การประชุมเมื่อวันที่ 17 ต.ค.ที่ต้องเลื่อนการพิจารณา เพราะมี สนช.เสนอแนวทางข้อกฎหมาย 2-3 ข้อ อีกทั้งวาระเป็นเพียงการหารือ และเอกสารแนบวาระมีเพียงไม่กี่แผ่น จึงต้องให้ สนช. ไปศึกษาสำนวนของ ป.ป.ช.ที่มีหลายพันแผ่นก่อน ยืนยันว่า สนช.ไม่ได้ทะเลาะกัน และผู้ที่เสนอความเห็นข้อกฎหมายต่อที่ประชุม สนช.ก็เป็นนักวิชาการ หลังจากนี้คงต้องอยู่ที่ประชุมจะพิจารณาอย่างไร คาดว่าเรื่องดังกล่าวจะมีความชัดเจนและสรุปได้ภายในเดือน พ.ย. รอ “พรเพชร” ชงเข้าวิปฯถกอีกรอบ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกวิป สนช. กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ประเด็นการเมืองใน สนช. แต่เป็นเพียงแค่หารือความคิดเห็นเท่านั้น และไม่ใช่เป็นวาระการประชุม ซึ่งสมาชิก สนช. มีความเห็นหลากหลายมาก จึงต้องให้สมาชิก สนช. ศึกษารายละเอียดฐานความผิดที่ ป.ป.ช. ส่งเป็นใบปะหน้ามาว่าผิด พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (พ.ศ.2542) ที่มีเอกสารกว่า 4,000 หน้าที่ยังไม่มีสมาชิก สนช. เห็นและศึกษารายละเอียด โดยหลังจากนี้คาดว่านายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. จะนำเรื่อง ดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม วิป สนช. ก่อนที่จะนำเข้าที่ประชุม สนช.อีกครั้ง สำหรับ สนช.สายทหาร ลังเลว่าควรถอดถอนหรือไม่ เพราะอาจไม่มั่นใจและไม่มีประสบการณ์ด้านกฎหมาย ต้องเห็นใจพวกเขา อย่างไรก็ตาม อยากให้ สนช.สายทหาร ที่ไม่เคยเป็นนักกฎหมายควรรับฟังความคิดเห็นเพื่อนสมาชิกว่าคิดเห็นอย่างไร เด็ก ปชป.เฉ่งก๊วนนายพลส่อล้มมวย นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่ สนช.เลื่อนพิจารณารับเรื่องถอดถอนนายสมศักดิ์ และนายนิคมออกไปว่า เป็นวิธีการโยนหินถามทาง หยั่งกระแสสังคมของกลุ่มนายพลการเมือง อ้างว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ถูกยกเลิกไปแล้ว ทั้งที่รัฐธรรมนูญปี 50 ยังไม่ได้ถูกยกเลิกทั้งหมด เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ยังระบุให้ใช้หมวด 2 ของพระมหากษัตริย์ให้มีผลบังคับใช้อยู่ ดังนั้นกลุ่มนายพลการเมืองเหล่านี้เป็นทหารเศรษฐีที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจึงไม่อยากเปลืองตัว ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ มาตรา 6 ระบุชัดเจนว่าให้ สนช.ทำหน้าที่ ส.ส. ส.ว.และรัฐสภา และ ม.11 ก็ระบุอีกว่าให้ สนช.ย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย ต้องอุทิศตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนชาวไทย ดังนั้น กลุ่มนายพลการเมืองเหล่านี้เป็นทหารเศรษฐีที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจึงไม่อยากเปลืองตัว ขอให้ สนช.กลับไปอ่านรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ ให้ครบถ้วนทุกมาตราจะทราบถึงหน้าที่ของตัวเอง เตือน “ประยุทธ์” ระวังถูกแปลงสาร “การเตะถ่วงยื้อเวลากรณีนี้สังคมมองว่าอาจมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง แต่ที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.จะดำเนินการอย่างไร จะเป็นไปตามสคริปต์ในคลิปเสียงถั่งเช่าที่เคยระบุไว้ว่าสั่งได้ หรือจะคืนความสุขให้ประชาชนอย่างแท้จริง ขอเสนอให้นายกฯและหัวหน้า คสช.ส่งโพยให้ สนช.ที่ตั้งขึ้นให้ชัดเจนทุกเรื่องที่จะพิจารณา อย่าใช้วิธีการกระซิบแค่บางคน เพราะอาจถูกเปลี่ยนสารได้ ผลเสียสุดท้ายจะตกอยู่ที่นายกฯและหัวหน้า คสช.เอง และหาก สนช.ยังเล่นบทบาทเช่นนี้ในคดีนำร่องถอดถอน เชื่อว่าคดีถอดถอนอื่นๆ เช่น 308 ส.ส. และ ส.ว. รวมถึงคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในโครงการจำนำข้าวก็ส่อเป็นมวยล้มต้มประชาชนคนไทยทั้งประเทศ” นายวัชระกล่าว สอนเชิง รธน.ม.5—13 ให้อำนาจแล้ว นายวิรัตน์ กัลยาศิริ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีข้อถกเถียงกรณีการถอดถอนบุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ระบุชัดให้ สนช.ทำหน้าที่เป็นทั้ง ส.ส. ส.ว. แต่เพราะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จึงไม่สามารถเขียนรายละเอียดได้ทั้งหมด อีกทั้งมาตรา 13 ก็ระบุว่า สนช.มีอำนาจออกข้อบังคับเพื่อการนั้น เพราะฉะนั้นการที่ สนช. ออกข้อบังคับให้ถอดถอนได้ตามที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย หรือนายสมชาย แสวงการ และ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิก สนช.พูดไว้หมายความว่า อำนาจการถอดถอนอยู่ที่ สนช.ชัดเจน แต่ที่ยังถกเถียงกันเพราะมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนกรณีที่นายอำนวย คลังผา และอดีต ส.ส.เพื่อไทยร่วมลงชื่อราว 100 คน ยื่นหนังสือต่อประธาน สนช.ขอให้ยุติกระบวนการถอดถอน เป็นสิทธิที่จะดำเนินการ แต่จะทำได้หรือไม่อยู่ที่ข้อกฎหมายด้วย http://www.thairath.co.th/content/457702