ปี 60 จะเกิดวิกฤตจริงหรือ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 25 Jan 2017

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    ในวันพุธที่ 25 มกราคม 2559 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) นำเสนอผลการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัย พ.ศ.2559 และแนวโน้มปี 2560 จึงขอสรุปไว้ดังนี้:
    ว่าด้วยการสำรวจ
    ศูนย์ข้อมูลฯ เป็นแหล่งข้อมูลแหล่งเดียวที่สามารถเจาะลึกข้อมูลที่ชัดเจนที่สุด โดยจะพบว่า
    1. สินค้าที่เปิดตัวสูงสุดก็คือห้องชุดราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท แถวทำเล G3 อ่อนนุช-ศรีนครินทร์ โดยเปิดขึ้นถึง 2,209 หน่วย และภายในห้วงเวลาเดียวกันก็สามารถขายได้สูงถึง 2,262 หน่วย เหลือเพียง 47 หน่วย นับเป็นการเปิดตัวถึง 5.1% ของทั้งหมด (110,577 หน่วย)
    2. อันดับสองเป็นห้องชุด ราคา 1-2 ล้านบาท แถวทำเล C1 รัตนาธิเบศร์-จัสโก้ โดยเปิดขายถึง 2,032 หน่วย ขายได้เร็วมากถึง 1,962 หน่วย เหลือเพียง 70 หน่วย นับว่าเปิดขายถึง 4.7% ของอุปทานทั้งปี 2559
    3. อันดับ 3 ก็คือห้องชุดราคา 2-3 ล้านบาท แถว F5 รัชดาภิเษก-ลาดพร้าว โดยเปิดถึง 1,911 หน่วย ขายได้แล้ว 1,203 หน่วย เหลือ 708 หน่วย นับว่าเปิดตัวรวมกันถึง 4.4%
    4. อันดับ 4 คือ ห้องชุดแถว G3 อ่อนนุฃ-ศรีนครินทร์ ทำเลเดิม แต่เป็น ณ ราคา 3-5 ล้านบาท เปิดขายถึง 1,880 หน่วย ขายได้แล้ว 1,294 หน่วย นับว่าเปิดถึง 4.3% ของทั้งหมด
    5. อันดับ 5 เป็นทำเล L3 บางพลัด เปิดขายห้องชุดราคา 2-3 ล้านบาท จำนวน 1,833 หน่วย ขายได้ดีมากถึง 1,448 หน่วย และกลุ่มนี้มีสัดส่วนในตลาดถึง 4.2%
    จะสังเกตได้ว่าใน 20 กลุ่มแรกของสินค้าแยกตามทำเล ประเภทและระดับราคาที่เปิดขายมากที่สุดนั้น เกือบทั้งหมดเป็นห้องชุดพักอาศัย มีเพียง ทาวน์เฮาส์ราคา 1-2 ล้านบาท แถว G5 ลาดกระบัง และแถว H8 บางนา-ตราด กม.10-30 ที่เปิดขายมากถึง 1,314 และ 1,308 หน่วย แต่การขายยังค่อนข้างช้าอยู่
    ภาพรวมของการขายสินค้า
    ศูนย์ข้อมูลฯ พบว่า อุปทานที่เปิดขายใหม่ ทั้งปี 59 จำนวนโครงการ จำนวนหน่วยขาย เพิ่มขึ้น แต่มูลค่า และราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับปี 58
    1. จำนวนโครงการเปิดใหม่ปี 59 จำนวน 453 โครงการ เพิ่ม 28 โครงการ (7%) จากปี 58
    2. จำนวนหน่วยขายเปิดใหม่ปี 59 จำนวน 110,577 หน่วย เพิ่ม 2,587 หน่วย (4%) จากปี 58
    3. มูลค่าโครงการปี 59 จำนวน 382,110 ล้านบาท ลดลง 52,946 ล้านบาท (-12%) จากปี 58
    4. ราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วย 3.456 ล้านบาท ลดลง (-14%) จากราคา 4.029 ล้านบาท ณ สิ้นปี 58
    ยอดซื้อ ปี 2559 จำนวน 98,408 หน่วย ลดลงจากปี 58 จำนวน 5,489 หน่วย หรือ (-5%) ทั้งนี้สามารถแยกแยะได้ดังนี้:
    บ้านเดี่ยว: หน่วยขายเปิดใหม่ทั้งปี 59 จำนวน 12,146 หน่วย ลด 418 หน่วย (-3%) จากปี 58
    อุปทานเหลือขาย 39,527 หน่วย ลดลง 299 หน่วย (-0.8%) จากสิ้นปี 58
    ขายได้ปี 59 จำนวน 12,445 หน่วย เพิ่ม 327 หน่วย (3%) จากปี 58
    ทาวน์เฮ้าส์: หน่วยขายเปิดใหม่ทั้งปี 29,932 หน่วย เพิ่ม 4,932 หน่วย (20%) จากปี 58
    อุปทานเหลือขาย 54,654 หน่วย เพิ่ม 5,655 หน่วย (12%) จากสิ้นปี 58
    ขายได้ปี 59 จำนวน 24,277 หน่วย ลดลง 2,868 หน่วย (-11%) จากปี 58
    ห้องชุดพักอาศัย: หน่วยขายเปิดใหม่ 58,350 หน่วย ลด 4,483 หน่วย (-7%) จากปี 58
    อุปทานเหลือขาย 69,798 หน่วย เพิ่ม 2,449 หน่วย (4%) จากสื้นปี 58
    ขายได้ปี 59 จำนวน 55,901 หน่วย ลด 3,119 หน่วย (-5%) จากปี 58
    อาจกล่าวได้ว่าอุปสงค์ ทั้งปีโดยรวมลดลง 5,489 หน่วย หรือ -5.3% จากปี 2558 ยิ่งกว่านั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ อุปทานคงเหลือสะสม รวม ณ สิ้นปี 2559 เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 58 ประมาณ 7.2% จาก 171,905 หน่วย ณ สิ้นปี 58 เพิ่มเป็น 184,329 หน่วย (เพิ่ม 12,424 หน่วย)
    สัญญาณอันตราย สินค้าหยุดการขาย
    สินค้าที่หยุดการขาย คือสินค้าที่แสดงให้เห็นถึงภาวะที่ย่ำแย่ ไม่สามารถขายออกได้ เป็นดัชนีสำคัญอันหนึ่งของตลาดที่อยู่อาศัย จากการสำรวจของศูนย์ข้อมูลฯ พบว่า
    1. ณ สิ้นปี 2559 มีสินค้าที่หยุดการขายไปจำนวนรวม 165 โครงการ 47,256 หน่วย มูลค่า 118,155 ล้านบาท
    2. ณ กลางปี 259 มีจำนวน 150 โครงการ 38,647 หน่วย มูลค่า 105,973 ล้านบาท
    การนี้แสดงว่าจำนวนโครงการที่หยุดการขายเพิ่ม 15 โครงการ (8%) หน่วยขายเพิ่ม 8,609 หน่วย (22%) มูลค่าเพิ่ม 12,182 ล้านบาท (11%) ยิ่งหากเทียบทั้งปีคือเมื่อเดือนธันวาคม 2558 จะพบว่า สินค้าที่หยุดการขายมีเพียง 37,723 หน่วย ขณะนี้เพิ่มขึ้นถึง 25% ส่วนมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 99,499 ล้านบาท เป็น 118,155 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19%
    สำหรับเหตุผลที่โครงการเจ๊งไปเพราะสถานบันการเงินไม่อำนวยสินเชื่อ 26% ไม่ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 24% และขายไม่ออก 16% อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับอุปทานโดยรวมทั้งหมดแล้ว จะพบว่ายังไม่เป็นสัญญาณที่ถึงขีดอันตราย แต่หากในอนาคตยังพุ่งไม่หยุด ก็อาจเป็นปัญหาได้
    อันดับบริษัทพัฒนาที่ดิน
    อันดับของบริษัทพัฒนาที่ดิน 3 อันดับแรก เรียงเหมือนกันทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ดังนี้:
    1. บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ยังครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดโดยเปิดตัวโครงการจำนวนมากที่สุดถึง 42 โครงการ รวม 15,402 หน่วย รวมมูลค่า 37,673 ล้านบาท มีสัดส่วนในตลาด 14.3% ในแง่จำนวนหน่วย และ 8.7% ในแง่มูลค่าการพัฒนา
    2. อันดับสองคือ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) เปิดขาย 19 โครงการในปี 2559 รวมมูลค่า 25,098 ล้านบาท รวม 6,821 หน่วย มีสัดส่วนในตลาด 6.3% ในแง่จำนวนหน่วย และ 5.8% ในแง่มูลค่าการพัฒนา
    3. อันดับที่สามก็คือ บมจ.ศุภาลัย โดยเปิดพัฒนาถึง 14 โครงการ รวม 5,514 หน่วย รวมมูลค่า 20,824 ล้านบาท โดยอาจกล่าวได้ว่าบริษัทนี้มีสัดส่วนในตลาด 5.1% ในแง่จำนวนหน่วย และ 4.8% ในแง่ของมูลค่า
    อาจกล่าวได้ว่าบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์จำนวนกว่า 50 แห่ง ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ 2/3 ของทั้งตลาดที่เหลืออีก 200 บริษัทครองส่วนแบ่งตลาดเพียง 1/3 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่มีบริษัทใดที่จะสามารถเป็นผู้ชี้นำตลาดได้โดยตรง เพราะสัดส่วนทางการตลาดยังไม่สูงมากนัก
    บทสรุป
    อาจสรุปได้ว่า จำนวนอุปทานเปิดตัวใหม่ปี 2559 จำนวนหน่วย 110,577 หน่วย เพิ่ม (2.4%) จากปี 2558 มูลค่าการเปิดตัว จำนวน 382,110 ล้านบาท ลด (-12.2%) จากปี 2558 ราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยลดเป็น 3.456 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2558 ที่ราคา 4.029 ล้านบาท (ลด 14.2%) อุปทานคงเหลือทั้งตลาดเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2558 ประมาณ 7.2% จาก 171,905 หน่วย ณ สิ้นปี 2558 เป็น 184,329 หน่วย (เพิ่ม 12,424)
    1. บ้านเดี่ยว อุปทานคงเหลือ 39,527 หน่วย ลดลง -0.8% จากสิ้นปี 2558 มียอดขายได้ปี 2559 จำนวน 12,455 หน่วย เพิ่ม 2.7% จากปี 55 มีอุปทานเปิดใหม่ 12,146 หน่วย หากเทียบยอดขายแล้วอาจต้องใช้เวลาประมาณ 56 เดือน ซึ่งลดลงจากกลางปี 2559 เล็กน้อย
    2. ทาวน์เฮ้าส์ อุปทานคงเหลือ 54,654 หน่วย เพิ่ม 11.5% จากสิ้นปี 2558 มียอดขายปี 2559 จำนวน 24,277 หน่วย ลดลงจากปี 2558 จำนวน 2,868 หน่วย (-10.6%) มีอุปทานเปิดใหม่ 29,932 หน่วย หากเทียบยอดขายอาจต้องใช้เวลา 34 เดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากกลางปี 2559 เล็กน้อย
    3. ห้องชุดพักอาศัย อุปทานคงเหลือมากที่สุด 69,798 หน่วย เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2558 (3.6%) มียอดขายปี 2559 จำนวน 55,901 หน่วย ลดลง -5.3% จากปี 2558 มีอุปทานเปิดใหม่ 58,350 หน่วย หากพิจารณายอดขายต่อปี ต้องใช้เวลาขายอีกประมาณ 18 เดือน (ซึ่งใกล้เคียงกับกลางปี 2559)
    ด้านอุปทานใหม่ปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2558 จำนวนโครงการ และจำนวนหน่วยขายเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าโครงการ และราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยลดลง (เนื่องจากสินค้าราคาแพงเข้าสู่ตลาดน้อยลง) อุปทานคงเหลือทั้งตลาดเพิ่มขึ้น 12,424 หน่วย (7.2%) เนื่องจากมีจำนวนอุปทานเปิดใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น แต่มียอดซื้อลดลง จึงทำให้อุปทานเหลือสะสมเพิ่มขึ้น
    ด้านอุปสงค์/ยอดซื้อทั้งปี 2559 มีจำนวน 98,153 หน่วย ลดลงจากปี 2559 จำนวน 5,489 หน่วย หรือลด (-5.3%) โดยยอดที่ขายได้ส่วนใหญ่ 57% ยังเป็นคอนโด รองลงมาคือทาวน์เฮ้าส์ 24.7% และอันดับ 3 คือบ้านเดี่ยว 12.7% ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 5.6% จะเป็นที่อยู่อาศัยอื่นๆ (บ้านแฝด อาคารพาณิชย์ และที่ดินจัดสรร)
    ราคาขายเฉลี่ยปี 2559 ลดลง 14.2% เมื่อเทียบกับปี 2558 เนื่องมาจากมีการพัฒนาสินค้าราคาแพงลดลง โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นราคาค่อนข้างถูกถึงปานกลางเป็นสำคัญ จึงมีราคาขายเฉลี่ยต่อยูนิตที่ลดลง คือ ราคา 3.456 ล้านบาท จากเดิม ราคา 4.029 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2558
    แนวโน้มสำคัญ
    ผู้ประกอบการรายใหญ่จะครองส่วนแบ่งการตลาดสินค้าใหม่เพิ่มมากขึ้น (ปี 2559 มีสัดส่วนของยูนิตมากถึง 84%) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (รายใหญ่เป็นพันธมิตรกับรายใหญ่) การพัฒนาโครงการเน้นซื้อที่ดินแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนที่ดิน และแบ่งเฟสพัฒนาออกเป็นหลายโครงการ (Mixed Product) ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการรายเล็ก-รายกลาง จะชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และส่วนหนึ่งยังมี Stock รอการขายเหลืออยู่
    กลุ่มผู้ซื้อเพื่อเก็งกำไร-ลงทุน จะลดลง เพราะต้นทุนในการซื้อสูงขึ้น และโอกาสในการขายดาวน์ได้ยากขึ้น หรืออาจจะปล่อยเช่าได้ยากขึ้น เนื่องจากมีอุปทานออกมาสู่ตลาดมากขึ้น ในปี 2560 การพัฒนาห้องชุดพักอาศัยยังคงมีการพัฒนามากเป็น อันดับ 1 แต่ในลักษณะที่ชะลอตัว (ลดจำนวนลง) ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งปรับแผนพัฒนาแนวราบมากขึ้น เพราะผู้ซื้อส่วนใหญ่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง
    การตลาดมีการแข่งขันสูง เนื่องจากอุปทานรอการขายเพิ่มขึ้น (ลด แลก แจก แถม มากขึ้น) ปัญหาหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินค้าราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาท จะถูกปฏิเสธสินเชื่อสูง 30-50% ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ชะลอการตัดสินใจซื้อออกไป
    ดังนั้นศูนย์ข้อมูลฯ จึงเชื่อว่าปี 2560 สถานการณ์จะยังเป็นเช่นเดียวกับปี 2559 คือคล้ายปีก่อนหน้าและอาจเพิ่มขึ้นบ้าง ส่วนในปี 2561 สถานการณ์น่าจะกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ อย่างไรก็ตามหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่เกิดขึ้นจริง ก็จะส่งผลให้กำลังซื้อลดลง การพัฒนาที่อยู่อาศัยก็อาจลดลงได้เช่นกัน
    ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1785.htm
     
  2. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    น่าจะวิกฤติจริง ขนาดมีคนที่บอกว่าได้ 15,000 ยังต้องหักหลังเพื่อนเพียงเงิน 20 บาท ขนาดคนที่บอกว่าจะช่วยปูคดีจำนำข้าวนับคนได้
     
    apollo likes this.
  3. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ไร้ราคา

    IMG_5527.PNG
     
  4. เสียของ

    เสียของ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    752
    ถ้าอยากพูดแล้วมีคนฟังก็ต้องมีความน่าเชื่อถือมีประวัติดีไม่เคยทำเรื่องอุบาทว์ชาติชั่วมาก่อน

    #พูดลอยๆ
     

Share This Page