http://thaipublica.org/2015/08/anik-3/ ปริญญาจอมปลอม? 16 สิงหาคม 2015 อานิก อัมระนันทน์ ได้ยินมานาน แต่เพิ่งได้อ่านเฟซบุ๊กที่คนบ่นว่า เขารับแปลงานวิจัยปริญญาเอกแต่ปวดหัวใจที่คุณภาพทางวิชาการต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ บางอันมีการลอกเลียนแบบจับได้ง่ายๆ บ่อยครั้งที่เขาต้องปฏิเสธงานเพราะรับแต่การแปล ไม่รับทำรายงานเนื่องจากผิดจรรยาบรรณ เขาสรุปว่าต้องปฏิรูปจิตสำนึกของคน โดยหวังว่า “สักวันจะเห็นคนส่วนใหญ่อายที่จะถือ“ปริญญาจอมปลอม” มากกว่าอายที่จะเรียนไม่จบ” อันที่จริงแม้ไม่จบหรือไม่ได้เรียนปริญญาก็ไม่ควรเป็นเรื่องน่าอับอาย ตราบใดที่คนเราประกอบอาชีพโดยสุจริต ก็ควรจะมีฉันทะและภาคภูมิที่มองเห็นคุณค่างานของตนต่อสังคม แม้จะเป็นเพียงงานเล็กๆ ก็มีความหมาย ที่สำคัญ ต้องปฏิรูปการศึกษาเพราะรัฐไม่ควรปล่อยให้ “ปริญญาจอมปลอม” เกิดขึ้นอีกต่อไป ส่วนการปลอมใบปริญญาก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ของปริญญา(ตรี) คือ ปลูกฝังความรู้ในสาขาวิชาหลักที่เรียน พัฒนาความคิดวิเคราะห์ ฝึกวินัยและความรับผิดชอบ ปริญญาที่ดีช่วยฝึกให้คนรู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ ปริญญาควรจะเปิดโลกทัศน์ ทั้งในแนวลึกของสายวิชาที่เลือกเรียน และโลกทัศน์ในแนวกว้างของความรู้รอบ ซึ่งนำร่องโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี 2504 นักศึกษาทุกคนไม่ว่าจะมุ่งเรียนคณะใด ต้องเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปที่คณะศิลปศาสตร์ก่อน เพื่อให้เข้าใจในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคม ตลอดจนความเชื่อมโยงของวิทยาการแขนงต่างๆ จะได้นำความรู้แขนงที่ตนจะศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและตนเองได้ดียิ่งขึ้น ปริญญาไม่เหมือนสินค้าทั่วไปที่ผลิตกันง่ายๆ แต่ต้องอาศัยกระบวนการที่ละเอียดอ่อน การบริหารอย่างมืออาชีพ ปริญญาควรจะยกระดับศักยภาพของคนอย่างมีนัยสำคัญ แต่ความสำคัญของปริญญามีนัยลึกซึ้ง เนื่องด้วยค่านิยมคือ ต้องได้ปริญญาชีวิตถึงจะได้ดิบได้ดี ปริญญาเป็นใบเบิกทางเข้าสู่งานที่มีค่าตอบแทนสูงและตำแหน่งที่ “ดูดี” การเติบโตของเศรษฐกิจทำให้ปริมาณงานที่ “ดูดี” มีมากขึ้น ภาครัฐเองก็สร้างมหาวิทยาลัยมากขึ้น ส่วนหนึ่งรองรับความต้องการทางเศรษฐกิจ อีกส่วนคงเป็นนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ และสนองค่านิยมปริญญาด้วย แต่..ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสเชิงการเมือง!!! ให้มีการเสนอและสร้างมหาวิทยาลัยเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศ ในขณะที่สายอาชีวะไม่ค่อยได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร ทั้งที่มีความต้องการทั่วไปในอุตสาหกรรมและสำนักงาน หลายครั้งนักการเมืองและผู้เกี่ยวข้องอยากสร้างผลงานว่ามีส่วนผลักดันให้เกิดมหาวิทยาลัยในจังหวัดนั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของตลาดและคุณภาพของปริญญา บางกรณีผลักดันเพราะมีที่ดินจะขาย หรืออยากได้งบก่อสร้างลงพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) มีหน้าที่กำหนดและกำกับมาตรฐานของปริญญา แต่ดูเหมือนจะไร้ผล ส่วนหนึ่งเพราะการกระจายอำนาจการศึกษา ทำให้อำนาจไปตกอยู่กับคนที่ไม่มีศักยภาพ หรือไม่เข้าใจเรื่องการบริหารคุณภาพการศึกษา บ้างก็เน้นเชิงพาณิชย์ สภามหาวิทยาลัยต่างๆเลือกทางเดินได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลพวง ไม่แปลกที่มี “ปริญญาจอมปลอม” เกิดขึ้นมากมาย ทำให้สังคมไม่ว่าจะนายจ้างภาครัฐหรือเอกชน หรือตัวนักศึกษาเอง ไม่สามารถใช้ปริญญาเป็นมาตรฐานวัดศักยภาพคนได้ และจะมีผลกระทบกว้างขวาง ปัญหาเริ่มตั้งแต่การศึกษาพื้นฐานที่อ่อนแอ ทำให้การคัดกรองรับนักศึกษาสำคัญมาก ซึ่งจำนวนไม่น้อยอาจเหมาะกับการศึกษาแบบอาชีวะมากกว่า การจัดการสอนการเรียนรู้แบบต่างๆ จนถึงการสอบและวัดผลการศึกษาเพื่อให้ “บัณฑิต” ทุกคนได้มาตรฐาน ..ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งก็มีมาตรฐานสูง นอกจากคุณภาพแล้วปริมาณก็เป็นปัญหา ในแต่ละปีประเทศไทยทั้งระบบเปิดรับนักศึกษากว่า 100,000 คนแต่มีผู้สมัครเพียงประมาณ 80,000 คน! โดยส่วนหนึ่งอาจไม่เหมาะกับการเรียนปริญญา ซึ่งแปลว่าปัญหาอุปทานล้น หรือ over supply นี้หนักหนากว่าตัวเลขที่เห็น ยังไม่นับ over supply เทียบกับงานที่ “ดูดี” หรือจำเป็นต้องใช้คนจบปริญญา ค่านิยมปริญญา – ซึ่งครอบงำผู้หางานและนายจ้างบางส่วน – จึงทำให้ต้องแห่กันไปเรียนปริญญาโทปริญญาเอก เพื่อ “ยกระดับ” ตนให้สูงกว่าคนอื่น เช่นมีอักษร “ดร.” นำหน้าชื่อ แต่ก็เกิดปัญหาคุณภาพอีก รัฐต้องหยุดสร้าง-ขยายมหาวิทยาลัยได้แล้ว! ต้องหันมาเน้นคุณภาพของปริญญาแม้จะยากและต้องใช้เวลานาน ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดในอนาคต ทั้งสาขาวิชาและปริมาณ มหาวิทยาลัยแห่งไหนหรือส่วนใดไปไม่ไหวก็ต้องล้มเลิก ไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ โดยใช้วัตถุและคนที่ค้างอยู่ให้เป็นประโยชน์ด้านอื่น นอกจากนี้ ต้องปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้นักเรียนพร้อมที่จะเป็นนักศึกษาปริญญาจริงๆ ..หรือรู้ตัวว่าตนเหมาะกับการพัฒนาด้านอื่นเช่นอาชีวะมากกว่า ขณะเดียวกันรัฐก็ต้องนำตลาดการจ้างในการให้คุณค่าวุฒิอาชีวะมากขึ้นด้วย ช่วง คสช.ในปัจจุบันเป็นโอกาสที่พิเศษ …อุทาหรณ์การปฏิรูประบบในปี 2504 นั้นเกิดขึ้นช่วงรัฐบาลสฤษดิ์ แม้นักศึกษา(และคณาจารย์)จำนวนมากจะต่อต้าน แต่เมื่อจบปริญญาไปทำงานแล้วกลับบอกกันว่าเป็นประโยชน์เกินคาดในอาชีพต่างๆของเขา มหาวิทยาลัยอื่นๆ จึงปรับหลักสูตรให้มีการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปตราบจนปัจจุบัน จึงขอฝากไปยังท่านผู้มีอำนาจให้กล้าทำในสิ่งที่ถูก ถึงแม้จะมีคนต่อต้าน ..เพราะถ้าไม่ทำตอนนี้แล้ว ยิ่งยากที่จะแก้ไขภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตย หมายเหตุ : ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน มิใช่ขององค์กรใด ตีพิมพ์ครั้งแรก นสพ. โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันพุธที่ 5 สิงหาคม 2558 ----------------------------------------------------------------------------- ก็ว่ากันไปครับ การปลอมวุฒิการศึกษาเป็นการคอรัปชั่นอีกอย่างหนึ่ง
เห็นด้วยกับบทความนี้ครับ ที่ผ่านมาคุณภาพของใบปริญญาดีพอหรือไม่ สถานศึกษาของเราเปิดกันจนเกินความต้องการไปใช่ไหม เพราะสุดท้ายแล้ว เรา ก็ได้คนที่ไม่มีคุณภาพพอ สำหรับพัฒนาประเทศชาติ นายกฯก็พูดถึงด้านอาชีวะที่ควรส่งเสริม รวมทางด้านครูเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาไทย ตอนนี้น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำที่สุดแล้ว
สิ่งหนึ่งที่ควรจะมีคือ แหล่งให้การศึกษาผู้มอบปริญญาแก่ผู้ใดแล้ว ต้องมีความผูกพันและรับผิดชอบต่อสังคมด้วย โดยเฉพาะผู้เซ็นรับรอง หากเห็นท่าไม่ดีควรมีการเรียกคืนปริญญาบัตรนั้น เพราะมิเช่นนั้นผู้อวดอ้างปริญญาบัตรที่ได้รับ ที่ผ่านมาหลายรายนำความรู้นั้นไปสร้างความเสียหายให้กับชาติบ้านเมืองได้ แต่ในกรณีที่มหาวิทยาลัยห้องแถว หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องไม่รับรองเพื่อไม่ให้สามารถนำสิทธินั้นออกใช้ได้
เฮ้อ....จี้ลงไปตรงไหนก็มีแต่ปัญหา ที่หมักหมมมานานทั้งนั้น สืบค้นไปเมื่อไหร่ จะพบว่าสาเหตุเกิดจากคนชั่วๆที่แอบแฝงอยู่ในวงการนั้นๆ คนเป็นนายกฯที่หวังดี อยากให้ประเทศไทยดีขึ้นเนี๊ยะ ช่างเป็นงานที่หนักหนาสากรรจ์จริงๆ
หลักสูตร ป.ตรี หลายๆที่ยังพอทำใจได้อยู่นะ (หมายความว่าที่ดีๆมันก็ดีคงที่ ที่ห่วยๆก็ห่วยคงที่) แต่ผมว่าหลักสูตร โท และ เอก ของไทยโดยรวมคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆ หลักสูตรประเภทจ่ายครบจบแน่ มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกมหาลัยไม่ว่ารัฐหรือเอกชน แต่ขนาดมันห่วยและจบง่ายขนาดนี้ หลายๆคนยังไม่มีปัญญาทำงานวิจัยด้วยด้วยตัวเอง ถ้าแนวโน้มยังเป็นแบบนี้ผมก็มองไม่เห็นอนาคตของการศึกษาไทยเลย
ในฐานะที่คลุกคลีตีโมงกับแวดวงนักธุรกิจมาทุกรูปแบบ กับตำแหน่งหน้าที่ราชการ บอกได้คำเดียวว่าหากผม เป็นนายจ้างหรือนักธุรกิจ คนที่ผมจะจ้างหากจบมาจาก สายอาชีพผมรับแน่นอน ในส่วนสายปริญญา ผมจะดูจาก สถาบันการศึกษา เชื่อไหมว่าผมเลือ มสธ กับรามคำแหง เป็นตัวเลือกแรกๆเลยหละ ด้วยความมั่นใจส่วนตัวว่าคนที่จบ สถาบันทั้งสองข้างต้น มีคุณภาพในระดับหนึ่ง แต่เรื่องความ ใจสู้และสู้ชีวิต บวกกับการไม่เกี่ยงงาน ต้องยอมรับว่าสุดยอด ซึ่งผมเชื่อมั่นอย่างนั้นจริงๆ ว่าคนที่จบจากสองแห่งได้ ไม่เก๊ จริงไหมครับ
อ่านชื่อกระทู้แล้วง้างมาเลยครับ พออ่านเนื้อหา อ๋อ คนละปริญญากับที่นึก แต่วง"ธุรกิจ"การศึกษาทุกวันนี้นี่ จะแหกตรงไหนก็เจอเน่าตรงนั้นจริงๆแฮะ
อย่าง อดีต รมว. ดร. ปึ้ง จบ วิดหว้ะ เมกา 7ปี พูดไม่ได้ สื่อไม่ได้ ป.นี้ น่าจบจิงนะ อย่าถาม อดีต นรม. ญ. อีจบจิงๆเหมือนกัน ทำไม รร. ไม่เรียกไป ปฐมนิเทศน์เป็นตัวอย่างเด็กๆๆ ก้อไม่รู้
ขอบ่นด้วยคนค่ะ มอที่ผึ้งจบมาตอนนี้มีการเปิดรับภาคพิเศษ คณะอื่นเป็นยังไงไม่รู้หรอก แต่คณะศิลปกรรมที่ผึ้งจบมานี่ปัญหามากจริงๆ เด็กพวกนี้ไม่ค่อยตั้งใจเรียน มาเหมือนเล่นสนุก แล้วคณะผึึ้งนี่ต้องลุยๆ ต้องขยัน อาจารย์จะดุก็ต้องอดทน แต่เด็กพวกนี้ไม่เอาซักอย่างเลย จบออกมาก็ไม่มีคุณภาพ พวกเด็กภาคปกติเขาจะรวมตัวกันแน่น แต่พวกนี้ไม่ใช่ เป็นการทำลายวัฒนธรรมคณะมาก
พวกภาคพิเศษต่างๆนี่เปิดมาเพื่อหาเงินทั้งนั้น ผมยกตัวอย่าง ป.โท เกี่ยวกับบริหารธุรกิจของ ม. แห่งหนึ่งนะ ชื่อสาขาเป็นแนวๆสำหรับผู้บริหาร ผมเคยสงสัยว่าทำไมเกรดวิชาเศรษฐศาสตร์ กับ การเงิน ถึงได้ A กันเยอะผิดปกติ ซึ่งปกติแล้วคณะทางบริหารธุรกิจหรือการตลาดไม่น่าจะได้ A วิชาแนวๆนี้เทียบกับจำนวนผู้เรียนเยอะขนาดนี้ ด้วยความสงสัยเลยลองไปหาข้อมูลดู สรุปว่าการสอนและการสอบวัดผล ไม่มีการคำนวนเลย ยากสุดของข้อสอบก็แนวๆมีกราฟมาให้วิเคราะห์อะไรไปเรื่อย ส่วนข้ออ้างที่ใช้การเรียนและข้อสอบแบบนี้คือมันเป็นหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร ซึ่งปกติเขาไม่จำเป็นต้องมาคำนวนอะไรเองอยู่แล้ว ผมฟังแล้วก็เกิดอาการมึนงงไม่รู้จะพูดยังไงดี ซึ่งเรื่องพวกนี้ผมไม่โทษคนที่มาเรียนนะ แต่โทษคนที่คิดหลักสูตรขึ้นมาเพื่อเอาแต่เงิน ไม่สนใจคุณภาพมากกว่า
ก่อนฟองสบู่แตกเมื่อปี40 ลูกน้องคนหนึ่งไปสมัครเรียนป.โทบริหารธุรกิจที่ม.ดังแห่งหนึ่ง พอจบปุ๊บก็ลาออก บอกว่าบริษัทแห่งหนึงเสนอเงินเดือนมากกว่าที่ได้เกือบสองเท่า ผมไม่ได้ยับยั้งเพราะเชื่อว่าเงินเดือนที่ลูกน้องได้รับสมน้ำสมเนื้อกับความสามารถของเขาแล้ว และปริญญามหาบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจที่เขาเพิ่งได้รับมาหมาดๆน่าจะเป็นประโยชน์กับที่ทำงานแห่งใหม่มากกว่า ด้วยสัมพันธ์ที่ดีที่มีต่อกัน ลูกน้องบอกว่าวิชาความรู้ที่ได้มากับปริญญาโทก็งั้นๆ ที่ได้มาจริงๆคือความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เมื่อใครได้งานใหม่ก็จะชักชวนกันไปทำงานร่วมกันด้วยค่าตอบแทนที่สูงกว่าเดิม และการไปทำงานกับองค์กรแบบยกแผงจะเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับกลุ่มที่เหนียวแน่นนี้ด้วย หลังจากนั้นผมได้ข่าวการเปลี่ยนงานของอดีตลูกน้องคนนี้อยู่บ่อยๆซึ่งภายหลังเงินเดือนที่ได้รับมากกว่าที่เคยทำงานอยู่กับผมหลายเท่า แต่หลังฟองสบู่แตกได้ทราบว่าเขาตกงานสักพักใหญ่แล้วและกำลังหางานทำ ผมคาดว่านายจ้างใหม่ๆของเขาอาจประเมินแล้วว่าประสิทธิภาพของเขาคงไม่คุ้มค่าผลตอบแทนที่จ่ายไป ผมทราบว่าเรามีคนอย่างอดีตลูกน้องผมคนนี้อยู่มากมาย และกรณี"สายสัมพันธ์สำคัญกว่าวิชาความรู้"ยังเป็นประเด็นอยู่ในสถาบันการศึกษาและหลักสูตรพิเศษทั้งหลาย เช่นการเอาทหาร ตำรวจ อัยการ ข้าราชการประจำและพ่อค้านักธุรกิจไปนั่งเรียนและใช้ชีวิตร่วมกันในสถาบันเช่นวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จะว่าผมเป็นคนมองโลกแง่ร้ายก็แล้วแต่ แต่ผมคิดว่าสายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนนั้นไม่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เสียภาษีอย่างเราๆ
เรื่องเข้าเรียนเพื่อหาคอนเนคชั่นไม่สนใจเรื่องวิชาการนี่ผมเข้าใจนะครับ คือคนที่เรียน ป.โท ในปัจจุบันจะมีซักกี่ % ที่อยากได้ความรู้จริงๆ เท่าที่เห็นคือ หาคอนเนคชั่น เอาไว้เพื่มเงินเดือน หรือบางคนก็เอาไว้โชว์ว่าจบ ป.โทมานะ ซึ่งจากมุมคนที่สมัครเรียนเราก็ไปว่าเขาไม่ได้ เพราะเราดันปล่อยให้มีหลักสูตรและการวัดผลแบบห่วยๆพวกนี้เกิดขึ้นมาเอง แต่ที่ผมห่วงคือคุณภาพทางวิชาการของคนในประเทศเราเมื่อเทียบกับชาติอื่นมากกว่า เพราะถ้ายังเป็นแบบนี้ ศักยภาพในการแข่งขันของคนไทยก็จะลดลงไปเรื่อยๆด้วยความเฮงซวยของระบบต่างๆที่เราสร้างขึ้นเอง
CFO กลุ่มบริษัทผมจบป.ตรีจากสถาบันเก่าแก่ เธอไปอยู่บ.ตรวจสอบบัญชีและสอบได้CPA เธอไม่ได้เรียนต่อแต่งานของเธอหาจุดบกพร่องไม่ได้เลย เธอมีผู้ช่วยจบป.โทหลายคน หลายครั้งที่เธอบ่นกับผมว่าเบื่อพวกจบป.โท ลูกน้องจบป.ตรีหรืออาชีวะทำงานผิดแต่พอถูกตักเตือนก็รีบปรับปรุงตัว แต่พวกจบป.โทนี่ผิดในจุดที่ไม่น่าจะผิด เมื่อถูกเรียกมาให้ดูที่ผิดกลับแสดงอีโก้ของป.โทออกมา ประมาณว่าพี่จบแค่ป.ตรีจะมารู้เท่าหนูได้ไง
ด้านอาชีวะที่ควรส่งเสริม น่าจะทดลองเปิดโรงเรียนอาชีวศึกษาแบบเยอรมัน ที่เรียก ระบบ dual System คืออาทิตย์หนึ่งเรียนภาคทฤษฏีที่โรงเรียน 1 วัน อีก 4 วันไปฝึกงาน ตามสถานที่ประกอบการตามวิชาที่เรียน เช่น พนักงานธนาคาร ก็ไปฝึกงานที่ธนาคารอาทิตย์หนึ่ง 4 วัน เรียนภาคทฤษฏีที่โรงเรียน 1 วัน การเรียนรับผู้จบชั้น 10 เรียนปีแรก มีเงินเดือนให้ แต่น้อย พอเรียนปีสอง ปีสาม เงินเดือนจะเพิ่มขึ้น เพราะเริ่มทำงานเป็น
เป็นทั้งระบบ ผมคิดว่าเป็นผลจากนโยบายปล่อยผ่าน ประถม มัธยม ไม่มีการสอบตก เด็กทุกคนผ่านหมด มหาลัย ก่อนสอบอาจารย์ก็มาใบ้ข้อสอบ บอกให้อ่านหน้านั้นหน้านี้ กระผมว่า ต้องเอาระบบสอบตกกลับมา แล้วใครหัวไม่ถึงให้ไปสายอาชีวะแทน ดันปริญญาตรีมาก พอคุณภาพไม่ได้ เงินเดือนคุณแย่กว่าคนจบอาชีวะอีก ผมว่าจัดสอบรวมเด็กจบปริญญาตรีก็ดีนะ มหาลัยไหนเด็กสอบไม่ผ่านเยอะๆก็ยุบมันไป
แหะ คนนี้คงไม่ขาวครับ เห็นใส่แต่สีดำ ปีก่อนนู้นเคยจะมีแล้วครับ U-net โดนค้านหนัก เลยชะลอไว้ http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000046277 http://education.kapook.com/view87604.html http://education.kapook.com/view89719.html ส่วนตัว ผมว่าวิชาที่จะจัดสอบนี่ ไม่เหมาะนะครับ ไม่เกี่ยวกับเอกที่เรียนเลย อารมณ์เดียวกับสมัยก่อนที่เรียนม.ปลาย สายวิทย์-ติด0สุขศึกษา/พละ ไม่จบม.6เพราะเป็นวิชาบังคับ(เลข-ไทย-สังคม-สุขศึกษา-พละ) ส่วนคนตกฟิเค็มชีวะไม่เป็นไรเพราะเป็นวิชาเลือก ถ้าจะว่าวัดภาษาอังกฤษ มีข้อสอบระดับInternationalตั้งหลายค่ายครับ ที่จริงแล้วฝ่ายคัดค้าน หลายๆกลุ่มก็คงกลัว"ใต้พรม"จะโผล่ด้วยแหละ แต่องค์กรที่ดูแลนี่ก็"ยอดเยี่ยมชั้นหนึ่งเลย" สทศ.,สมศ ผลงานที่ผ่านๆมาก็การันตี
ผมรู้จักรร.นึงในกทม.ทดลองแล้วครับ รร.ค่อนข้างเล็กมัธยม6ชั้นมีราว500คนเอง ห้องพิเศษ เรียนสายสามัญ4วัน ส่งไปเรียนที่อาชีวะ1วัน(ที่จริงก็ครึ่งวัน) เห็นทีแรกผมยังชมว่าผอ.วิสัยทัศน์ดีจริงแฮะ ทำก่อนคสช./สปช.พูดเรื่องส่งเสริมอาชีวะนะครับ (คือคนในวงการนี้คงเห็นกันอยู่แล้วแหละ เหลือแค่คิด-กล้า-ลอง) แต่สุดท้ายทำได้ปีเดียวก็เลิกแล้ว คงติดขัดเกี่ยวกับการบริหารและเดินเรื่องน่ะครับ ทีแรกคงกะจะให้ได้วุฒิพิเศษอะไรซักอย่าง แต่เหมือนจะเดินเรื่องกันไม่ต่อเนื่อง สุดท้ายก็จบเป็นสายสามัญเพียว แต่ก็ยังได้ใบรับรองจากทางสถาบันว่าได้ผ่านการเรียนวิชานี้ๆๆครับ แม้ได้แค่ใบรับรองนี้ เด็ก-ผู้ปกครองก็สนใจกันนะครับ แต่ไม่ได้ทำต่อแล้ว น่าเสียดาย แต่ห้องGiftedเนี่ย เห็นแต่ละรร.เปิดกันจังเลย พอดูความรู้เด็กแล้วยังไม่น่าจะถึงขั้นเรียกว่ากิฟท์ แต่ก็เก่งกว่าห้องธรรมดาจริงนะ ห้องธรรมดาสอบผ่าน5คนจาก20 ห้องกิฟท์สอบผ่าน10คนจาก20 สัดส่วนโดยประมาณนะครับไม่ใช่ตัวเลขจริง แต่เห็นประเด็นข้อนึงก็คือ "ห้องพิเศษ ย่อมไม่เรียนฟรี"
อยากตอบเป็นรายๆเหมือนกันนะครับแต่คงไม่ไหว เอาสรุปๆสั้นๆอ่านง่ายๆแล้วกัน ก่อนอื่น ผมเองจบ ปโท ภาคพิเศษครับ สถาบันแถวบางกะปิ ที่นี่เค้าสอนให้เข้าใจเนื้อหาก่อนแล้วใช้ประสบการณ์ประยุกต์ใช้เอง การสอบจะต้องแม่นทฤษฎีและแสดงความเห็นการประยุกต์ใช้ เรียนไม่ง่ายเลยครับ ต้องมีเวลามากพอในการเตรียมตัวสอบด้วย การที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ กะ การเงิน แล้วไม่มีสอบเนื้อหาการคำนวณนั้น วิชาทั้งหมดเกี่ยวกะการบริหารครับ คือ ต้องอ่านรายงานและผลการคำนวณเป็น เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของฝ่ายบริหารครับ ไม่ใช่ฝ่ายปฎิบัติการ ตอนเข้าเรียน อจ เค้าชี้แจงประเด็นนี้ก่อนเลย ว่าเราเรียนเพื่อทำงานด้านบริหารไม่ใช่ด้านปฎิบัติการ แต่ผู้เรียนส่วนใหญ่เค้ารับจากผู้ปฎิบัติงานที่ต้องการเปลี่ยนสายขึ้นมาทำงานด้านบริหาร มีทั้งหมอ พยาบาล ทหาร วิศวกร นักบัญชี สถาปนิก ฯลฯ ดังนั้น ทุกคนมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน ข้อดีคือมีการแลกเปลี่ยนความรู้ข้ามสายอาชีพกันครับ ความรู้ ความฉลาดที่ไม่เท่ากัน ทำให้การเรียนไม่อาจทำให้ทุกคนมีความสามารถเพิ่มขึ้นเท่ากัน แต่ผมคิดว่าทุกคนที่จบมานั้นมีความเหมาะสมที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารในอนาคต มันคือแนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ใช้เวลาแค่ประมาณ 3 ปี ที่เหลือต้องไปเก็บเกี่ยวและฝ่าฟันตอนทำงานครับ
มาเจอห้อง วมว แบบลูกผมมั๊ยครับ วิชาวิทย์เกณฑ์ผ่าน 80 % เฉพาะ ฟิสิคส์เสริม 100 % เรียน ม4 เทอม1 เรียนควบไปถึงเทอม2 ต้องจบ ม6 ตอนจบ ม5 ม6 เรียนหลักสูตร ปี1 สอบไม่ผ่าน ซ่อมกันอ้วกไปข้างนึง เรียนมาได้ครึ่งเทอมตาดำเป็นแพนด้าเลยครับ โหด หิน สุดๆ ต้องแกร่ง ต้องอึด เรียนฟรี มีทุนให้ทุกคน แต่ใครยอมแพ้ ออกก่อนจบ โดนปรับอาน ใครสนใจก็เตรียมสมัครได้เลยครับ จะเริ่มรับรุ่นต่อไปเร็วๆนี้ สอบรอบแรก ธค รอบสอง กพ