ประมวลชัดๆ 'ข้อมูลจัดซื้อ-เส้นทางสินบน' คดีโรลส์รอยซ์-บินไทย 1.2 พันล.

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย มือดี จากพระนคร, 19 Jan 2017

  1. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
    ศาลรับฟ้อง "12บิ๊กการบินไทย" ฐานละเว้นหน้าที่
    วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 18:47:00 น.




    จากกรณีนายวิสุทธิ์ สหะชาติมานพ และ น.ส.จินดาศรี สุดสวาท ผู้ถือหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นฟ้องนายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ประธานกรรมการบริษัท การบินไทยฯ จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 12 คน ต่อศาลอาญา ฐานเป็นพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลอาญาได้รับคำฟ้องแล้ว สำหรับคำฟ้องระบุว่า นายชัยสวัสดิ์ และเรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) รวมทั้งพนักงานระดับสูงอีกหลายคน ได้บิดเบือนข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการบริหาร เพื่อสั่งจ่ายเงินค่างวดล่วงหน้าการซื้อเครื่องบินให้แก่บริษัท แอร์บัส รุ่นเอ 330-300 กว่า 4,000 ล้านบาท ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าคณะรัฐมนตรีไม่ให้ซื้อแต่ให้เช่าแทน นอกจากนี้ ยังบิดเบือนข้อเท็จจริงต่อบอร์ดเพื่อให้คัดเลือกเครื่องยนต์โรลสลอยซ์มาติดตั้งเครื่องแอร์บัส เอ 330-300 ทั้งที่มีราคาสูงกว่ายี่ห้ออื่น
    C2rpryBUsAAr4VR.jpg
    C2rprx9UAAAuXq4.jpg
    C2rpryEUkAATPhB.jpg
     
  2. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    บลา บลา บลา มีแต่ขีดเส้นใต้วันที่กับชื่อบริษัท
     
    bookmarks likes this.
  3. HiddenMan

    HiddenMan อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,779
    :giggle: ฟ้องใครบ้าง... ฟ้องเมื่อไหร่...
     
    bookmarks likes this.
  4. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    เรื่องนี้บอกว่า บริษัทสมรู้ร่วมคิดการทุจริต แล้วศาลสั่งปรับ สามหมื่นล้าน แล้วสื่อของประเทศตนเองก็เอามาตีแผ่ว่าประเทศโน้นประเทศนี้รับเงินค่านายหน้า

    ผมสงสัยว่า มันบอกว่าทุจริตแล้วโทษมันแค่ปรับเท่านั้นหรือ บังเอิญไปเจอผู้รู้เข้า (ไม่รู้ว่ารู้จริงหรือเปล่า) แต่ที่เขาพูดมันน่าสนใจ เพราะเขาบอกว่า ไอ้ประเทศพวกนี้มันมีกฎหมายของมัน กรณีแบบนี้ ถ้าบริษัทยอมให้ปรับก็ถือว่าปิดคดีได้ โดยไม่ต้องไปสืบสาวเอาเรื่องในคดีอาญาต่อไปเพราะบริษัทยอมให้ปรับแล้ว ผมฟังแล้วชักเชื่อ เพราะเห็นพวกโกงบ้านโกงเมืองนิยมหลบหนีไปอยู่ประเทศเหล่านี้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นใครที่หวังว่ามันจะให้ข้อมูลมากกว่านี้ก็อาจต้องเตรียมใจผิดหวังไว้บ้าง มันอาจปฏิเสธหน้าตาเฉยก็ได้ เพราะเกรงว่าอาจไปกระทบบริษัทของประเทศตนเอง ทำให้ไปทำมาหากินกับประเทศต่าง ๆ ลำบากขึ้น

    สู้ทำตนเป็นผู้เสียสละดีกว่า คือเสียสละอันดับโลกคอรัปชั่นให้ประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศที่กำลังพัฒนาแย่งอันดับกัน ส่วนตนเองที่เป็นต้นตอคอรัปชั่น ยอมสละอันดับให้ประเทศเล็ก ๆ ที่เห็นแก่เงินไปชิงกันเอง น่าชื่นชมจริง ๆ
     
  5. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    แล้วที่ไก่อูพูดมันผิดตรงไหนละเนี่ย ????



    สถานการณ์คอร์รัปชั่นของไทย ล่าสุดพบว่าดีขึ้น มากสูงสุดในรอบ 6 ปี

    ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย ปี 59 พบว่า ความรุนแรงของปัญหาคอร์รัปชั่นลดลงอยู่ในระดับ 55 คะแนน เทียบจากกลางปี 59 อยู่ที่ระดับ 53 คะแนน โดยเฉพาะการจ่ายเงินสินบนพบว่า อยู่ที่ระดับ 1-15 เปอร์เซ็นต์ของเงินงบประมาณ หรือ ต่ำสุดในรอบ 6 ปี คิดเป็นจำนวนเงินความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยเฉลี่ย 120,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าดีขึ้นเช่นกัน

    อย่างไรก็ตาม พบว่า แนวโน้มความรุนแรงของการคอร์รัปชั่น มีสัญญาณกลับมารุนแรงอีกครั้ง ในช่วงปลายปี 59 โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 49 คะแนน เนื่องจากช่วงดังกล่าวเริ่มมีการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐกระจายลงสู่พื้นที่ ทำให้เกิดช่องทางในการเรียกรับสินบนมากขึ้น



    รายงานสด จาก หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเตรียมแถลงผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยครั้งที่ 2 ของปี 2559
     
    หนูอ้อย และ Alamos ถูกใจ.
  6. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    สำนักข่าวอิศราเค้าก็แปลละเอียดดีนะครับ ใครสนใจก็ลองไปอ่านต่อได้นะครับ

    สำนักข่าวอิศรา แปลคำแถลงสรุปคดีจาก STATEMENT OF FACTS PREPARED PURSUANT TO PARAGRAPH 5(1) OF SCHEDULE 17 TO THE CRIME AND COURTS ACT 2013 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย หน้า 9 -18

    ช่วงที่ 1 การจ่ายสินบนครั้งที่1 เกิดขึ้นระหว่าง 1 มิถุนายน 2534-30 มิถุนายน 2535 (1ปี)
    http://www.isranews.org/investigative/investigate-procure/item/53456-thaiairways-53456.html

    49. บริษัทโรลส์-รอยส์ (RR) ตกลงจ่ายเงิน 18.8 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่นายหน้าในภูมิภาค (Regional Intermediary) และนายหน้าคนอื่น หรือนายหน้า 3 (Intermediary 3) โดยเงินบางส่วนจ่ายให้แก่ ผู้แทน (Agents) ในประเทศไทย และพนักงานของการบินไทย โดยคาดหวังว่าบุคคลเหล่านี้จะให้ความช่วยเหลือ ให้การบินไทยเลือกซื้อเครื่องยนต์ T800 ของโรลส์-รอยส์

    ซึ่งตามข้อเท็จจริงที่มีการตรวจพบ พบว่า

    50. ในเดือนมิถุนายน 2534 สายการบินไทย (“ไทย”) ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำ ซึ่งหลังจากนั้นได้เพิ่มจำนวนการสั่งซื้อเป็น 8 ลำ โดยมีบริษัท RR เป็นผู้จำหน่าย เครื่องยนต์ Trent 800 (“T800”) ให้กับเครื่องบินของไทย ซึ่งในขณะที่ RR กำลังจัดสรรงบประมาณ ปรากฎว่า ได้มีการแบ่งเงินบางส่วนให้กับนายหน้า เป็นสินบนเพื่อชักจูงใจในการตัดสินใจซื้อขาย

    51. นายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary) ของ RR แจ้งว่า ค่าส่วนแบ่งจากราคาเครื่องบินที่ทางประเทศไทยสั่งซื้อตกอยู่ที่ 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อลำ หรือมากกว่านั้น

    52. ในเดือนกรกฎาคม 2534 มีบันทึกข้อความภายในของบริษัท RR ระบุว่า นายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary) แจ้งตัวเลขสุทธิ (the extent of the ‘demands' ) อยู่ที่ 8 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งบริษัท RR ได้จัดงบประมาณเพื่อจ่ายให้กับนายหน้า 3 (Intermediary 3) จำนวน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อลำ

    53. พนักงานที่เป็นคนบันทึกข้อความเสนอให้ ทำลายสำเนาทั้งหมด และเก็บไว้เพียงแต่ตัวต้นฉบับ

    54. สืบเนื่องจากสัญญาข้อ 2 ถึง 4 “เมื่อมีข้อตกลงหรือมีการจ่ายเงินใดใดให้กับนายหน้า 3 (Intermediary 3) จะต้องมีหนังสือขยายความสัญญาข้อตกลงระหว่างนายหน้า 3 (Intermediary 3)และทางบริษัท RR อย่างถูกต้องชัดเจน"

    55. จดหมายแนบฉบับนี้ระบุ ยอดเงินจำนวน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯต่อลำ ไว้ว่า เป็น “Success Fee” หรือค่าตอบแทนทางธุรกิจ ซึ่งในเอกสารดังกล่าวไม่มีการอ้างถึงบุคคลที่สามที่ได้รับเงินแต่อย่างใด

    56. ในเดือนสิงหาคม 2534 บันทึกข้อความอีกฉบับระบุว่า “ได้มีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม จากข้อตกลง ซึ่งได้แก่งบประมาณมูลค่าหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ต้องชำระให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการ ตามที่ระบุในสัญญาอย่างชัดเจนเพื่อซื้อเครื่องยนต์ Trent.” การแก้ไขร่างสัญญาให้เป็นเอกสารตัวจริงเพื่อระบุว่า ได้มีชำระเงินให้นายหน้า 3 (Intermediary 3) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งข้อตกลงค่าคอมมิสชั่นดังกล่าวได้รับการรับรองโดยพนักงานอาวุโสของบริษัท RR เรียบร้อยแล้ว

    57. ในเดือนตุลาคม 2534 มีการหารือกำหนดวันจ่ายเงินระหว่างบริษัท RR และนายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary).

    58. นายหน้า 3 (Intermediary 3)ยืนยันว่า ต้องได้รับเปอร์เซนต์ค่าคอมมิสชั่นต่างหาก นอกเหนือจากจำนวนเงินมหาศาลที่ทางบริษัท RR ต้องจ่ายให้นายหน้า3 อยู่แล้ว ทั้งนี้ พนักงานบริษัท RR ตกลงส่วนแบ่งของค่าคอมมิสชั่นไว้ว่า นายหน้า 3 (Intermediary 3)รับ 50% ของค่าคอมมิสชั่นทันทีในครั้งแรก ซึ่งเพิ่มจากที่ตกลงไว้แต่เดิมเพียง 25% ทั้งนี้รักษาความกระตือรือร้นของบุคลากรในภูมิภาคไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจร่วมกันในอนาคต ( “maintain local enthusiasm for further business”)

    59. 14 พฤศจิกายน 2534 บริษัท RR ชนะประมูลทำสัญญาซื้อขายเครื่องยนต์ให้เครื่องบินจำนวนทั้งสิ้น 6 ลำ โดยเริ่มจ่ายค่าคอมมิสชั่นตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2534 ถึง กุมภาพันธ์ 2535

    60. ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2535 ทางบริษัท RR ได้จ่ายเงินจำนวนทั้งสิ้น 4.75 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้กับนายหน้า 3 (Intermediary 3)โดยพบว่า การจ่ายเงินทั้งสองงวดรวม (1.9 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และ 2.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) ซึ่งได้รับการรับรองจากพนักงานอาวุโสของบริษัทRR .

    61. คำสั่งอนุมัติซื้อจากรัฐบาลไทยล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ เนื่องจากได้เปลี่ยนจำนวนเครื่องบินที่สั่งซื้อ จาก 6 ลำเป็น 8 ลำ ซึ่งคำสั่งซื้อจำนวน 8 ลำนั้น ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลไทยในเวลาต่อมา ในเดือนมีนาคม 2535

    62. เดือนมีนาคม ปี 2534 มีบันทึกภายในส่งถึงพนักงานอาวุโส 2 ท่านของบริษัท RR ระบุว่า มีการค้างจ่ายค่านายหน้า 3 (Intermediary 3)จำนวน 4.75 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยมีพนักงานอาวุโสเป็นผู้อนุมัติการเบิกจ่ายดังกล่าว

    ทั้งนี้ บันทึกข้อความระบุว่า “ ทางเราต้องปล่อยงบโดยทันทีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับ [เจ้าหน้าที่อาวุโสของการบินไทย] [a senior officer of Thai]”

    63. ในวันถัดมา มีบันทึกข้อความเพิ่มเติมส่งถึงพนักงานอาวุโสของบริษัท RR คนเดิม (2 ท่าน) กล่าวว่า สัญญาการซื้อขายกับนายหน้า 3 เป็นแบบลำต่อลำ จึงจำเป็นต้องทำเรื่องขออนุมัติการซื้อขายเพิ่มเติมเป็นยอดเงิน 2.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับเครื่องบินที่ทางการบินไทยต้องการซื้อเพิ่มเติม

    64. ยอดชำระสุดท้ายเป็นจำนวนเงิน 4.75 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และ 2.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้เสร็จสิ้นในเดือน มีนาคม 2535

    65. ในช่วงเดือนเมษายน 2535 บริษัท RR อนุมัติการชำระเงินเพิ่ม 1 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้กับนายหน้า 3 ซึ่งส่งผลให้นายหน้า 3 (Intermediary 3)สามารถจ่ายเงินให้กับ “disappointed recipients” ซึ่งได้รับเงินไปแล้ว แต่คาดหวังส่วนแบ่งเปอร์เซนต์ค่าคอมมิสชั่นจากนายหน้า 3

    66. วันที่ 15 พฤษภาคม 2535 มีการแก้ไขสัญญาอย่างเป็นทางการระหว่างบริษัท RR และไทย ซึ่งว่าด้วยเรื่องจำนวนการสั่งซื้อเครื่องบินและอะไหล่ต่างๆ

    67. วันที่ 18 มิถุนายน 2535 จดหมายถึงนายหน้า 3 (Intermediary 3)ซึ่งส่งไปยังนายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary)ด้วย ระบุว่าได้ชำระ ค่าความสำเร็จ “success fee”เรียบร้อยแล้ว

    68. อย่างไรก็ดี ในระหว่างวันที่ 22 - 26 มิถุนายน 2535 ทางนายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary )ได้ร้องเรียนว่า ลูกค้า(ของนายหน้า) รู้สึกว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับอะไหล่ สำรองที่ขายให้กับไทยคู่มากับอะไหล่ที่ติดตั้งมากับเครื่องบิน

    “[นายหน้าในภูมิภาค ( Regional Intermediary)] มีความกังวลเมื่อ เจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทัพอากาศไทย [a senior military officer in the Royal Thai AirForce] ถูกบีบให้ลาออก และบริษัท RR มีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการสนับสนุนในประเทศไทยต่อไป"

    69. ทาง RR ได้ออกมาตอบกลับเรื่องนี้ว่า ทางบริษัทจะจัดทำหนังสือขยายความสัญญา เพิ่มเติมไป ยังนายหน้า 3 (Intermediary 3)โดยมีเนื้อความว่า:

    "[...] สืบเนื่องจากการบวกเพิ่มการขายเครื่องบินโบอิ้ง 777เป็น 8ลำ และอะไหล่สำรองของบริษัท Rolls-Royce Trent ที่ต้องให้กับไทย ทางบริษัทพร้อมจ่ายค่าคอมมิสชั่นเพิ่มเติม"

    70. มีจดหมายส่งถึง นายหน้า ระบุการจ่ายเงิน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และค่าล่วงหน้า 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ สำหรับจากจัดซื้อในล็อตที่สอง ของการบินไทย สำหรับโบอิ้ง 777 หลังจากบรรลุข้อตกลงดังกล่าวเเล้ว ทางพนักงานอาวุโสของบริษัท RR ได้สั่งจ่ายเงินจำนวน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่ นายหน้า 3 (Intermediary 3)แล้ว

    นี่เป็นเพียงแค่การจัดซื้อครั้งแรก ระหว่างปี 2534-2535 ที่บริษัทโรลส์-รอยส์ ได้จ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐ และพนักงานการบินไทย ตอนต่อไป คือการติดสินบนครั้งที่ 2 และ 3 ซึ่งพบหลักฐานว่ามีรัฐมนตรีในยุคนั้นมีเอี่ยวด้วย
     
    หนูอ้อย, Alamos และ bookmarks ถูกใจ
  7. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ช่วงที่ 2 การจ่ายสินบนการจัดซื้อครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2535- 31 มีนาคม 2540 (5ปี)
    http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/53469-thaiairways-53469.html

    การจ่ายสินบนการจัดซื้อครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2535- 31 มีนาคม 2540 (5ปี) หน้า 11-15 โดยระบุว่า

    สรุป

    71. ทางบริษัท RR ตกลงจ่ายเงินสินบนให้กับนายหน้า (their intermediaries) จำนวน 10.38 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ส่วนแบ่งของเงินจำนวนนี้มีจุดประสงค์เพื่อแบ่งสรรปันส่วนให้กับพนักงานของการบินไทย ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการจัดซื้อเครื่องยนต์รุ่น T800 ล็อตที่สอง โดยพนักงานเหล่านั้นแสดงท่าทีพอใจต่อการใช้เครื่องยนต์รุ่นดังกล่าว

    ข้อเท็จจริง

    72. ทางการไทยได้ตกลงซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำ โดยที่ทางบริษัท RR ต้องการความมั่นใจว่า ทางการบินไทยจะเลือกใช้เครื่องยนต์รุ่น T800 ทางบริษัท RR ได้จ่ายสินบนให้กับนายหน้า 3 และนายหน้าในภูมิภาค เพื่อทำให้เกิดการซื้อขายครั้งนี้

    73. ในเดือนมีนาคม ปี 2535 เมื่อการจัดซื้อในล๊อตที่สองของการบินไทยเป็นไปตามคาดการณ์ของบริษัทRR พนักงานRR จึงตกลงจ่ายเงิน ให้นายหน้า 3 จำนวน 135 ล้านบาท(หรือคิดเป็นเงินประมาณ 5.29 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) โดยไทยสั่งซื้อโบอิ้ง 777 พร้อมเครื่องยนต์ T800 ซึ่งการสั่งซื้อครั้งนี้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในจดหมายแนบ ในข้อตกลงขอนายหน้า 3

    74. แต่อย่างไรก็ตาม การจัดซื้อครั้งนี้ไม่ได้รับการจัดการต่อในทันที สองปีต่อมา ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 บริษัท RR จ่ายสินบนอีกกว่า 5 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้กับนายหน้า3 โดยเงินจำนวนนี้ แยกออกมาต่างหากจากข้อตกลงเดิม

    ในเดือนเมษายน ปี2538 ขณะที่กระบวนการจัดซื้อยังไม่ได้ตกลง บริษัทRR ส่งจดหมายแนบไปยังนายหน้า3 โดยจดหมายครั้งนี้ได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มจากเดิมในปี 2535 ว่าจะจ่ายเงินสินบน (commission) อีก 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อลำ(ทั้งหมด6 ลำ)

    75. ในจดหมายที่แนบส่งให้นายหน้า3 ระบุว่า เงินจำนวน 5 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ นั้น เป็นค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่นล่วงหน้าที่จ่ายให้นายหน้า3

    ทางนายหน้า3 ได้ตอบจดหมายกลับทางบริษัท RR ในเดือนเมษายนปี 2538 ว่าข้อความที่ระบุในจดหมายแนบนั้นเป็นการเข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อตกลงเดิม ระบุว่า "การจ่ายสินบนครั้งนี้เพื่อล็อบบี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย [a senior officer of Thai] ไม่ใช่เงินล่วงหน้าใดๆ"

    76. ในเดือนกรกฏาคม 2538 ทางบริษัทRR ส่งจดหมายกลับมายืนยันว่าเงินจำนวน 5 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ นั้น ไม่ได้หัก (deducted) จากส่วนค่าคอมมิสชั่น แต่เป็นเงินที่ให้เพิ่มเติม

    77. นายหน้า 3 (Intermediary 3) แสดงท่าทีไม่พอ(complained)เกี่ยวกับค่าคอมมิสชั่น (the level of commission)

    บันทึกภายในเขียนระบุว่า รูปแบบการจ่ายส่วนแบ่งค่าคอมมิสชั่นให้กับนายหน้า 3 นั้น ไม่สามารถตอบสนองตามข้อตกลง (“would not meet his commitments) ขณะเดียวกันนายหน้าในภูมิภาคอยากได้เงินอัดฉีดเพิ่มเติมให้กับผู้สนับสนุน (nominees) ภายในองค์กรอีกด้วย

    78. ทางบริษัท RR ได้ส่งจดหมายถึง นายหน้า3 เนื้อความระบุว่า

    “ทางบริษัทRR มีความจำเป็นที่ต้องทราบว่า เงินเหล่านั้นถูกจัดสรรไปไว้ที่ไหนบ้าง และแม้จะระบุด้วยวาจาก็ตาม” (It is also important that we know where such funds are being placed, albeit that such
    information is best handled verbally.)

    79. จดหมายอีกฉบับนี้ได้ถูกส่งไปยังนายหน้าในภูมิภาคเช่นกัน โดยมีข้อความระบุว่า หากนายหน้า 3 กินเงินเกินกว่าร้อยละ 1 ของค่าคอมมิสชั่น จดหมายระบุว่า...

    “[…] สิ่งที่ทางบริษัท RR ต้องการคืออยากให้ท่านตรวจสอบยอดเงินที่ได้รับอีกครั้ง ทางเราอยากทราบเจตนาของนายหน้า3 ในการแบ่งสรรเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อที่ว่าทางเราจะได้มีหลักฐานยืนยันเป็นกรณีๆ ไป”

    80. ต่อมาพนักงานบริษัท RR เพิ่มค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่นให้นายหน้า3 จากร้อยละ 1 เป็น ร้อยละ 2

    81. ในวันที่ 30 ตุลาคม 2538 มีบันทึกภายในสอบถามถึง จำนวนเงินที่ระบุว่าค่าใช้จ่ายจำนวน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อลำนั้น ควรจ่ายภายในระยะเวลา7 วัน นับจากคำสั่งซื้อของไทย หรือภายใน 30 วันตามที่ได้ตกลงไว้ บันทึกได้ให้ความเห็นว่า

    “[ผู้บริหารระดับสูงของไทย the senior officer of Thai] อยู่ระหว่างการรอ ออก “คำสั่ง (Order)” ในการสั่งซื้อโบอิ้ง แต่ก่อนที่จะออกคำสั่งนั้นจำเป็นต้องมีหลักฐานจาก Rolls-Royce ว่า เขาจะได้รับเงินส่วนแบ่งภายใน 7 วัน โดยผ่าน [นายหน้า 3]”

    82. ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 มีเอกสารแนบ ระบุ ยินดีจ่ายเงินดังกล่าวตามที่ได้ตกลงผ่านทางนายหน้า3 ภายในระยะเวลา 7 วัน นับตั้งแต่มีการยืนยันคำสั่งซื้อ

    83. ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539 มีการบันทึกข้อตกลงที่จะทำการจ่ายเงินจำนวน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ล่วงหน้า แม้ว่าคำสั่งจะยังไม่ได้รับการยืนยันก็ตาม และได้มีการเบิกจ่ายเงินในวันดังกล่าว

    84. ภายหลังการจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐดังกล่าว คณะกรรมการของการบินไทย (the Board of Thai) อนุมัติการสั่งซื้อเครื่องยนต์ T800 สำหรับเครื่อง B777 ทั้งหมด 6 ลำ ในชั้นนี้การอนุมัติของรัฐบาลไทย ( At this stage Government of Thailand ) ยังคงไม่มีหลักประกันที่แน่นอน

    85. ในเดือนเมษายน 2539 พนักงานอาวุโสบริษัท RR และพนักงาน RR จำนวน 2 คนได้รับการเตือนเกี่ยวกับการจ่ายเงินเพิ่ม จำนวน 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ตามที่ได้ให้สัญญาไว้กับนายหน้า3 ในเดือนมิถุนายน 2535 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากการสั่งซื้อเครื่องยนต์ล็อตแรก

    86. ต่อมา ค่าส่วนแบ่งที่จ่ายทั้งหมดถูกตัดเหลือเพียง 1.14 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เนื่องจากทางการบินไทยสั่งซื้อเครื่องบินและเครื่องยนต์ลดลงจากข้อตกลงเดิม

    87. ในเดือนพฤษภาคม 2539 บันทึกภายในอ้างถึงการจ่ายเงินจำนวน 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงพนักงานของไทย ( an employee of Thai ) ว่า

    “ยอดเงินดังกล่าวถูกแบ่งสรรปันส่วนไปยังกลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการเมือง (the political helpers ) ที่ใช้มาตลอด จึงพอเข้าใจได้ว่า ทำไมถึงทำในนาม Power(plant) Group”

    88. ในเดือน พฤศจิกายน 2539 ในบันทึกภายในของบริษัท RR ระบุว่า พนักงานของไทย คนเดิม (the same employee of Thai ) เรียกร้องให้พนักงานระดับสูงของบริษัท RR “จ่าย” เงินจำนวน 1ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากทั้งหมด 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ค้างจ่ายให้นายหน้า 3 ในบันทึกระบุให้ดำเนินการจ่ายเงินนั้นโดยทันที:

    “ เพื่อให้ทางการไทยนำเงินดังกล่าวมาจัดการ ในกระบวนการจัดการขั้นตอนทางการเมือง” (so that Thai can use it to 'manage the political process.)

    89. พนักงานอาวุโสของบริษัท RR จำนวน 3 คน ตกลงที่จะทำตามข้อเสนอข้างต้น ซึ่งการจ่ายเงินล่วงหน้าในครั้งที่ 2 เป็นจำนวน 1ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ได้ถูกจ่ายไปให้นายหน้า 3 อีกครั้ง

    90. เดือนมกราคม 2540, บันทึกจากทางภายในได้ถูกส่งไปให้ พนักงานระดับสูงบริษัท RR 2คน โดยในบันทึกระบุไว้ว่า ทางไทยคอยการอนุมัติจากรัฐบาลไทย ระบุว่า:

    “สัญญาฉบับนี้เกี่ยวพันกับการจ่ายเงินมูลค่า 7.14ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้กับรัฐบาลไทยเพื่อให้ได้รับการอนุมัติในการสั่งซื้อ โดยเงินจำนวนเหล่านี้จะถูกส่งผ่านที่ปรึกษาทางการค้า (Commercial Adviser) ผู้ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบในการแบ่งจ่ายค่านายหน้าภายในประเทศ”

    91. จุดประสงค์ของบันทึกนี้เพื่อระบุถึงรายงานของสื่อมวลชน ที่แนะนำให้ทางรัฐบาลไทยควรเลือกเช่าเครื่องบินแทนการซื้อ และหากเป็นเช่นนั้นบริษัท RR จะมีความเสี่ยงต่อการต้องสูญเงินถึง 2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยปราศจากการรับประกันใดๆ จะมีการสั่งซื้อ แม้ว่านายหน้าทั้งสองคนให้คำมั่นแล้วก็ตาม

    92. เดือนกุมภาพันธ์ 2540, การจัดประชุม CRSC ของบริษัท RR มีพนักงานระดับสูงของบริษัท RR จำนวน 3 คนที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการจ่ายเงิน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ มาร่วมประชุมด้วย

    ทางCRSC อนุมัติรายงานที่มีการยืนยันว่า การจ่ายเงินให้กับตัวแทนจากทุกหน่วยงานธุรกิจของบริษัท RR “ไม่ขัดต่อระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” รายงานฉบับนี้มีส่วนสำคัญคือ คำสั่งซื้อครั้งที่ 1และ 2 ของเครื่องยนต์ รุ่นT800 จากทางไทย รวมไปถึงรายละเอียดการจ่ายเงินให้กับนายหน้า 3 และนายหน้าในภูมิภาค

    ต่อมารายงานฉบับดังกล่าวถูกส่งไปยังผู้สอบบัญชีภายนอกของบริษัท RR

    93. ในที่สุดในเดือนมีนาคม 2540, บันทึกภายในที่ส่งไปยังพนักงานระดับสูงของบริษัท RR ยืนยันว่ารัฐบาลไทยได้อนุมัติคำสั่งซื้อครั้งที่2 แล้ว และคำสั่งซื้อครั้งนี้นำมาซึ่งการจ่ายเงินให้กับนายหน้า3 เป็นจำนวนเงิน 5.14 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นอกจากนั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอีกจำนวนหนึ่ง ให้กับนายหน้า 3 และ นายหน้าในภูมิภาค โดยรายจ่ายรอบสองนี้ถูกเรียกว่า “ส่วนแบ่งค่าคอมมิสชั่น” และจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จ่ายให้กับนายหน้า ได้ถูกให้คำจัดความว่าเป็น “ค่าใช้จ่ายทางการตลาด (marketing expenses)”

    94. จำนวนเงิน 5.14 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่จ่ายให้นายหน้า 3 เงินจำนวนนี้แบ่งออกได้เป็นค่าส่วนเแบ่งจัดซื้อเครื่องบินลำละ 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ทั้งหมด6 ลำ รวมเป็นจำนวน 6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในส่วนที่หักจากนี้คือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าทั้งสองครั้ง ครั้งละ 1 ล้าน ดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยยอดคงเหลือทั้งหมด 4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อมามีการเรียกเก็บเพิ่มเป็นจำนวน 1.14 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการตัดจากราคาเดิมที่ 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

    95. การจ่ายค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่นให้กับนายหน้า3 และนายหน้าในภูมิภาค ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงกำหนดการส่งมอบเครื่องบิน นายหน้า3 และนายหน้าในภูมิภาคได้รับเงินทั้งหมดราว 1.37 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อคน

    การจ่ายสินบนครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2547-28 กุมภาพันธ์ 2548 โดยโรลส์-รอยซ์จ่ายเงินให้กับคนกลาง 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ซึ่งมีเงินบางส่วนตกไปสู่เจ้าหน้าที่รัฐในรายงานของSFO ระบุถึงรัฐมนตรีช่วยคนหนึ่งในรัฐบาลยุคนั้นมีเอี่ยว ต้องติดตาม ในรายงานตอนที่ 3 เร็วๆ นี้
     
  8. bookmarks

    bookmarks อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    23 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,447
    ระบุว่าจ่ายเดือนไหน ปีไหน ไม่น่าหาคนผิดยากเลยนะ
     
    หนูอ้อย และ Alamos ถูกใจ.
  9. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
  10. apollo

    apollo อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,703
    ทำปืนลั่นใส่ตัวเองอีกแล้วหรอ

    :D:D
     
    ridkun_user likes this.
  11. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
    หลักฐานเด็ด!มติ ครม.ปี 47 คดีสินบนโรลส์รอยส์-'สุริยะ'ชงเปลี่ยนซื้อ'B777' 6 ลำ
    เขียนวันที่
    วันจันทร์ ที่ 23 มกราคม 2560 เวลา 11:30 น.

    อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสอบสวนมิได้มีการระบุชื่อ ของนายสุริยะ นายกนก และนายทนง ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสินบนหรือไม่ นายสุริยะ นายกนก และนายทนง
    http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/53506-newoooo.html
     
    Last edited: 23 Jan 2017
  12. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
    phEDab.jpg
     
    Last edited: 23 Jan 2017
  13. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
    อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสอบสวนมิได้มีการระบุชื่อ ของนายสุริยะ นายกนก และนายทนง ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสินบนหรือไม่
    C20Y8-bUAAAMWBO.jpg
     
  14. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
    C2x_oT6VIAE1ezA.jpg
     
  15. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    บลา บลา บลา เหมือนเดิม คนเล่าว่าเขาเล่าลือ กับตัดส่วนตัวไม่ชอบออก เหมือนเพื่อนที่ไร้ประโยชน์
     
  16. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450
    แย่ชิบเป๋งเลยไม่มีแมงสาป 2 มาตรฐานแน่ ๆ


    [​IMG]
     
  17. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
    [​IMG]
     
  18. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    หรือจะเปลี่ยนเป็น มือด้วนผลักภาระ คนใจดำไม่รู้ไม่ชี้เสื้อแดงติดคุก
     
  19. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    หรือจะเปลี่ยนเป็น ทักกี้ไม่ใช่พ่อ มือด้วนไม่รับผิดชอบด้วย
     
  20. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450
    ถ้าเชื่อทุกเรื่องจาก ว้อยทีวี คงโดนไวรัสควายเข้ากระแสเลือด ขึ้นไปกินสมอง
    555
    เอามาแปะเองก็หัดอ่านซะมั่ง
    หรือมีหน้าที่แลบลิ้นเอาน้ำลายให้เค้าแปะอย่างเดียยว



    [​IMG]
     
  21. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ช่วงที่ 3 การจ่ายสินบนการจัดซื้อครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่าง 1 เมษายน 2547-28 กุมภาพันธ์ 2548
    http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-slide/item/53504-thaiairways-53504.html

    ในส่วนของตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของมหากาพย์สินบนยาวนานกว่า 20 ปีครั้งนี้ เป็นการจัดซื้อครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่าง 1 เมษายน 2547-28 กุมภาพันธ์ 2548 ในรายงานระบุว่า

    โดยสรุป

    96. บริษัทโรลส์-รอยส์ (RR)ตกลงจ่ายเงินเกือบ 7.2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ให้แก่กลุ่มนายหน้า (its intermediaries) โดยเงินบางส่วนจ่ายให้แก่ ผู้แทนของประเทศไทย พนักงานการบินไทย กลุ่มแสดงท่าทีสนับสนุนการจัดซื้อเครื่องยนต์ T800 ครั้งที่สาม ของการบินไทย

    ข้อเท็จจริงดังนี้

    97. การจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง B777 ครั้งที่สามของสายการบินไทย ได้เริ่มหารือตั้งแต่ต้นปี 2539 แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปจนกระทั่งปลายปี 2547 ซึ่งในขณะนั้น บริษัทRR ยืนยันว่า มีงบประมาณเพียงพอสำหรับจ่ายให้นายหน้าในภูมิภาคและนายหน้า 3 ทั้งนี้ บริษัทได้ติดสินบนเงินจำนวนหนึ่งเพื่อจูงใจให้สายการบินไทยซื้อเครื่องบินพร้อมเครื่องยนต์รุ่นT800 เพิ่มเติมจากเดิม ส่วนแบ่งของเงินจำนวนนี้ได้ส่งต่อไปยัง คนในรัฐบาลไทย

    98. เมษายน 2547 อีเมล์ภายในของบริษัท RR ระบุว่า นายหน้าในภูมิภาคปฎิเสธค่าคอมมิสชั่น ที่บริษัทRR เสนอในการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง B777 และจะขอหารือกับพนักงานชั้นผู้ใหญ่ของบริษัท RR โดยตรง

    99. ทางนายหน้าในภูมิภาค ยื่นขอค่าคอมมิสชั่นเพิ่มเติมอีก 4% หรือคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 5 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อลำ ซึ่งทั้งนี้จะส่งผลให้มูลค่ารวมตลอดทั้งสัญญาเพิ่มถึง 8% ซึ่งถือว่า เกินกว่างบประมาณภายในของค่าคอมมิสชั่นสำหรับนายหน้า

    100. มีบันทึกข้อความส่งถึงพนักงานอาวุโสของบริษัทRR ระบุว่า:

    “ส่วนต่างค่าคอมมิสชั่นในซื้อขายครั้งก่อนของสายการบินไทยได้ชำระเรียบร้อยแล้ว นี่เป็นสองเท่าจากที่มีการเรียกร้องมา ยิ่งไปกว่านั้น ยังขัดกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำการค้าขององค์กรรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงระเบียบการใหม่ที่กำหนดไว้ การเจรจาทางการค้าที่ตกลงไว้ มีเงินทดรอง (margin) ไม่พอจ่ายให้กับข้อเรียกร้องดังกล่าว”

    101. พฤษภาคม 2547 บริษัทRR ส่งจดหมายชี้แจงรายละเอียดค่าคอมมิสชั่นครั้งใหม่ไปยังนายหน้าส่วนภูมิภาค ซึ่งค่าคอมมิชชั่นดังกล่าวต่ำกว่ามูลค่าที่นายหน้าส่วนภูมิภาคร้องขอ ทั้งยังเพิ่มเงื่อนไขในส่วนของค่าคอมมิสชั่น โดยให้ทางการบินไทยตกลงให้บริษัท RR ดูเเล ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ ( Total Care Agreement (“TCA”)) ตามข้อตกลงในสัญญา TCA ซึ่งเป็นสัญญาระยะยาวโดยขึ้นอยู่กับชั่วโมงบินของเครื่องยนต์ โดยการขายสัญญาดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่บริษัทRRให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

    102.นอกจากนี้ ในจดหมายฉบับเดิมยังระบุไว้ว่า นายหน้าส่วนภูมิภาคอาจขอความร่วมมือไปยังนายหน้า3ด้วย

    103.ในเดือนมิถุนายน 2547 หลังจากการประชุมกับนายหน้าส่วนภูมิภาค บริษัทRR ได้ส่งจดหมายภายในซึ่งมีใจความว่า :

    “[นายหน้าส่วนภูมิภาค] กล่าวว่า บริษัทRRมาถึงทางตันด้านการค้า กับสายการบินไทยแล้ว จากกรณีการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง B777 จำนวน 6 ลำ นอกจากนี้ ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า สายการบินไทย จะไม่มีการประนีประนอมใดๆ ให้กับข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องกับ TCA, และ [นายหน้าส่วนภูมิภาคบริษัท B][นายหน้า 3 บริษัท A] ทั้งนี้ การจ่ายค่าคอมมิสชั่นไม่เกี่ยวข้องกับ TCA, อย่างไรก็ดี ทางพนักงานอาวุโสของบริษัทRR ก็ยังคงยืนยันว่า จะไม่เปลี่ยนแปลง ข้อเสนอ ที่ได้ชี้แจงไปก่อนหน้านี้"

    104. ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการส่งบันทึกข้อความไปยังพนักงานชั้นผู้ใหญ่ของบริษัทRR โดยระบุไว้ในย่อหน้าที่100 ว่า ไม่เคยมีการอนุมัติค่าคอมมิสชั่นสำหรับนายหน้าส่วนภูมิภาคและนายหน้า 3 ดังรายละเอียดต่อไปนี้ :

    “[นายหน้าส่วนภูมิภาค] แนะนำว่า หากค่าคอมมิสชั่นของเครื่องยนต์ต่ำกว่า 8%ของมูลค่าสุทธิของรายได้การขาย(รวมกับ TCA)นั้น อาจมีแนวโน้มความเสี่ยงสูงว่า สายการบินจะเลือกซื้อ เครื่องบินแอร์บัส A330 ซึ่งใช้เครื่องยนต์ของบริษัท PW (PW/A330's) แทนการใช้โบอิ้ง B777 เครื่องยนต์ RR (RR/777's)

    อย่างไรก็ตามสายการบินมิได้ตกลงรับข้อเสนอดังกล่าว ในขณะที่ นายหน้าส่วนภูมิภาคก็ปฏิเสธข้อเสนอของสายการบินเช่นกัน ทั้งนี้ ข้อสรุปรวมสุดท้ายที่แจ้งไว้ในจดหมายคือ สายการบิน กำลังอยู่ในกระบวนการหารือเลือกซื้อเครื่องยนต์ RR/777s หรือ RR/A340s”.

    105. กลางเดือนกรกฏาคม 2547 นายหน้าส่วนภูมิภาค เขียนบันทึกการพูดคุย เรื่องจำนวนเงินที่ทางบริษัทเสนอให้

    106. 28 กรกฏาคม 2547 บอร์ดการบินไทย ตัดสินใจซื้อโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำ และ แอร์บัส A340 จำนวน2 ลำ ซึ่งเป็นการสั่งซื้อล่วงหน้า โดยที่ทางการบินไทยเลือกใช้เครื่องยนต์ของบริษัท RR สำหรับเครื่องโบอิ้ง ส่วนเครื่องแอร์บัสนั้นใช้เครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ รุ่น T500 อยู่เเล้ว (sole-source)

    107. อย่างไรก็ตาม ในจดหมายเดือนสิงหาคม 2547 มีบันทึกถึงการทำข้อตกลง การจ่ายค่าคอมมิสชั่น (commission levels) ระหว่าง นายหน้าส่วนภูมิภาค ลูกจ้างของบริษัท RR และพนักงานอาวุโสของบริษัท RR

    108. ปลายเดือนกันยายน 2547 บอร์ดการบินไทยยืนยันการจัดซื้อล่วงหน้าเครื่องยนต์สำรองรุ่น T500 จำนวน 5 เครื่อง สำหรับใช้กับเครื่องแอร์บัส A340 และ T800 จำนวน 2 เครื่อง สำหรับ โบอิ้ง B777

    109. 13 ตุลาคม 2547 มีบันทึกถึงพนักงานอาวุโสของบริษัท RR เสนอที่จะจ่ายค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่นจากการจัดซื้อเครื่องยนต์รุ่น T800 ให้กับนายหน้า 3 เป็น 4% และในส่วนของนายหน้าส่วนภูมิภาครับ 2%

    110. 15 ตุลาคม 2547 มีบันทึกส่งถึงพนักงานอาวุโสและผู้ดูเเลจัดการสั่งซื้อ แสดงถึงข้อกังวลจากสิ่งที่ทางนายหน้าส่วนภูมิภาคเรียกร้อง บันทึกระบุชัดเจนว่า

    ...ข้อเสนอส่วนแบ่งจำนวน 6% จากยอดสั่งซื้อทั้งหมดของเครื่องยนต์รุ่น T800 ที่จะแบ่งให้กับตัวกลางสองคน รวมไปถึงค่าคอมมิสชั่นเพิ่มเติมในการซื้อสัญญาTCA อย่างไรก็ดี ค่าคอมมิสชั่นที่เพิ่มเข้ามานั้น ทางพนักงานอาวุโสคนหนึ่งได้ทาบทามพนักงานอาวุโสอีกคนให้ติดต่อ สื่อสารเรื่องดังกล่าวไปนายหน้าภูมิภาค

    111. มีจดหมายแนบลงวันที่ 22 ตุลาคม 2547 ตกลงการจ่ายสินบนให้แก่นายหน้า3 เป็นจำนวน 2% จากการค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่นของการจัดซื้อเครื่องยนต์สำรองรุ่น T500 จำนวน 7 เครื่อง ซึ่งค่าคอมมิสชั่นครั้งนี้ถูกแบ่งเป็นสองงวด (payable in two parts)

    112. อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีข้อตกลงการจัดซื้อเครื่องยนต์สำรองทั้งหมด 7 เครื่อง แต่ไม่ได้มีการจัดซื้อดังกล่าวในทันทีในล็อตเดียว โดยที่หนึ่งปีก่อนหน้านั้น มีการซื้อขายเครื่องยนต์ในรุ่น T500 จำนวนสองเครื่อง หลังจากนั้นจึงมีการสั่งซื้อเครื่องยนต์สำรองเพิ่มอีกห้าเครื่องจากฝั่งไทย ซึ่งเป็นการตัดสินใจในช่วงหนึ่งเดือนก่อนที่จะมีข้อตกลงจ่ายค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่น ซึ่งค่าคอมมิสชั่นดังกล่าวถูกระบุว่า เป็นเงินซื้อขายเครื่องยนต์สำรองทั้ง 7 (seven spare engines)

    113. ค่าคอมมิสชั่นของนายหน้า3 จากการสั่งซื้อเครื่องยนต์รุ่น T800 แบ่งจ่ายเป็นทั้งหมด 3 ช่วง ใช้เวลา 7- 10 เดือน โดยที่สองครั้งแรกเกิดขึ้นทันทีภายใน 1-2 เดือน หลังจากรัฐบาลไทยอมุมัติการสั่งซื้อ และงวดสุดท้ายถูกจ่ายถัดจากนั้นอีก 6 เดือน

    114. มีการประชุมในวันที่ 11 พฤจิกายน 2547 โดยที่ทางนายหน้าส่วนภูมิภาคแสดงความผิดหวังในการจ่ายเงินค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่น โดยเขาระบุว่า เขาต้องใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเพื่อให้บรรลุข้อตกลงดังกล่าวด้วยตัวเขาเอง

    115. ทั้งนายหน้าส่วนภูมิภาคและนายหน้า 3 เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าคอมมิสชั่นล่วงหน้า (up front) ตามการสั่งซื้อเครื่องยนต์ T800 และ T500 (spare engines) ซึ่งการยื่นคำร้องครั้งนี้จำเป็นต้องรอให้ทางพนักงานอาวุโสของบริษัท RR เป็นคนอนุมัติ

    116. มีจดหมายส่งต่อมายังนายหน้า 3 โดยตกลงจ่ายค่าคอมมิสชั่นใน 3ส่วน ภายใน 7 มกราคม 2548 โดยต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และอีกส่วนนั้นยังคงรอให้มีการส่งมอบเครื่องบินให้เสร็จสิ้นก่อน จดหมายทำนองเดียวกันอีกฉบับหนึ่งระบุด้วยว่า ส่วนแบ่ง 2% ของการจัดซื้อเครื่องยนต์สำรองรุ่น T500 จะให้มีการจ่ายในวันเดียวกัน

    117. จดหมายภายในบริษัทRR ฉบับลงวันที่ 19 พฤจิกายน 2547 บันทึกการประชุมซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง นายหน้า 3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค และคนในรัฐบาลไทย (the Thai Government) ซึ่งระบุบรรยากาศการประชุมครั้งนั้นว่า

    “ช่างเป็นการประชุมที่ดีเหลือเกิน การจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ แอร์บัส A340 และ โบอิ้ง 777 กำลังอยู่ในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 23 พฤจิกายนนี้ (2547)”

    118. อีเมล์ฉบับเดียวกันยังพูดถึงเรื่องข้อตกลงค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่น โดยที่นายหน้า3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค ได้ปฏิเสธข้อเสนอของบริษัท RR โดยทั้งสองยื่นข้อเสนอใหม่ว่า

    “ต้องการส่วนแบ่งเป็น 4% จากการอนุมัติของรัฐบาลในครั้งนี้ ลงวันที่ ธันวาคม 2547” ("4% on Government approval, i.e. Dec 04".)

    119. มีการบันทึกว่า นายหน้าส่วนภูมิภาค ได้ข่มขู่ว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเกี่ยวกับเวลาในการชำระเงินไปบอกแก่เจ้าหน้าที่อาวุโสของ RR ซึ่งต่อมาในวันเดียวกัน อีเมล์ภายในของ RR ได้มีการบันทึกไว้ว่า

    “พวกเราคิดว่าจำนวนเงินทั้งหมด 4% (ของบริษัท A ที่เป็น คนกลาง 3) ได้โอนไปยัง... หรือเปล่า? ฉันคาดว่าไม่น่าจะโอนไปทั้งหมด”
     
  22. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    120. วันที่ 22 พฤศจิกายน 2547 ได้มีจดหมายอีกฉบับถูกส่งไปให้กับ นายหน้า 3 เพื่อเสนอที่จะจ่ายเงินทั้งหมด ยกเว้น 12.5% จากค่าคอมมิสชั่นที่จ่ายในวันที่ 7 มกราคม 2548 ทั้งนี้ เชื่อว่า (assume) รัฐบาลไทยอนุมัติแล้ว

    121. วันถัดมา (23 พฤศจิกายน 2547 ) เมื่อ คณะรัฐมนตรีของไทย (the Cabinet of the Government of Thailand) มีกำหนดที่ประชุม ได้มีจดหมายฉบับสุดท้ายส่งถึงนายหน้า 3 ซึ่งระบุว่าจะจ่ายค่าคอมมิสชั่น T 800 เต็มจำนวนในวันที่ 7 มกราคม 2548 ทั้งนี้ เชื่อว่ารัฐบาลไทยได้ทำการอนุมัติแล้วเช่นกัน

    122. วันที่ 4 ธันวาคม 2547 อีเมล์ภายในของ RR ฉบับหนึ่งระบุว่า คำสั่งซื้อ/ออเดอร์ของการบินไทย ได้รับการอนุมัติแล้ว

    "มีสายตรงระหว่าง (รัฐมนตรีท่านหนึ่งในรัฐบาลไทยกับพนักงานการบินไทย) เป็นไปด้วยดี ทางสายการบินยังไม่ได้รับทราบข่าวดีใดๆ และยังไม่มีท่าทีแน่ชัดถึงการเซ็นสัญญา POs (นายหน้า 3รวมทั้งนายหน้าส่วนภูมิภาค ) ได้รับคำมั่นสัญญา จากรัฐมนตรีช่วยว่าการของรัฐบาลไทย ซึ่งพวกเขาได้พบก่อนหน้านี้ ว่าจะเรื่องราวดังกล่าวจะถูกไล่เรียงความชัดเจนภายในวันรุ่งขึ้น"

    "Calls between [certain Thai Government ministers and a Thai Airways employee] yada, allpositive. Airline still not heard the good word yet and not clear if POs signed. [Intermediary 3 and the Regional Intermediary] have commitment from [the Thai Government deputy minister whom they had met] that it will be sorted by tomorrow."

    123. อย่างไรก็ตาม นายหน้า 3 ได้เรียกร้องให้ชำระค่าคอมมิสชั่น T800 จำนวนครึ่งหนึ่งภายในวันที่ 17 ธันวาคม 2547 ซึ่งอีเมล์ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม 2547 ลงท้ายว่า

    “- นายหน้าส่วนภูมิภาค กับ คนกลาง 3 ได้ร่วมรับประทานอาหารค่ำด้วยกันในวันที่ 18 ธันวาคม กับรัฐมนตรีช่วยว่าการของรัฐบาลไทยคนหนึ่งที่เคยพบกันมาก่อน และถ้าเป็นอย่างนั้น นายหน้าส่วนภูมิภาคอาจตัดสินใจกะทันหันเพื่อสนับสนุนคำขอของนายหน้า 3 ก็ได้”[ ] “พวกเราควรทำตามข้อเสนอ คิดเห็นว่ายังไง?”

    "WARNING:-[the Regional Intermediary and Intermediary 3] have dinner with [the Thai Government deputy minister whom they had met] on 18th Dec and hence [the Regional Intermediary] may suddenly decide to support [Intermediary 3]'s request." […] "we should be firm in my view. Comments?"

    124. พนักงานของบริษัท RR สองคนตอบกลับว่า เห็นด้วยที่บริษัท RR ไม่ควรดำเนินการอะไรต่อแล้ว

    125. วันที่ 20 ธันวาคม 2547 นายหน้า 3 ได้เซ็นสัญญา CAA ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และได้ส่งคืนใบเรียกเก็บเงิน( Invoice pro-forma) ที่บริษัท RR ค้างชำระ

    126. วันที่ 4 มกราคม 2548 บริษัทRR ได้จ่ายเงินจำนวน 3,797,718 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่นายหน้า 3 ซึ่งการชำระครั้งนี้ได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่อาวุโสของบริษัท RR รายหนึ่ง ซึ่งมีการระบุว่า การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นค่าเข้าทำสัญญา สำหรับการติดตั้งเครื่องยนต์ T800 ให้กับเครื่องบิน โบอิ้งB777 จำนวน 6 ลำ และค่าเครื่องยนต์สำรองอีกสองเครื่อง

    ในวันเดียวกันบริษัท RR ได้จ่ายเงินอีกจำนวน 1,497,339 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่เรียกกันภายในว่า เป็นค่า “ส่วนเพิ่ม 2% สำหรับการขายอะไหล่ T500 จำนวน 7 เครื่องให้กับการบินไทย" “Additional 2% for sale of seven (sic) spare T500s to Thai”.

    127. หนึ่งเดือนให้หลัง ปรากฏว่า มีการจ่ายเงินจำนวน 474,715 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งระบุว่ าเกี่ยวข้องกับการขายเครื่องยนต์ T800 ที่ได้ติดตั้งและเป็นอะไหล่ ให้กับนายหน้าส่วนภูมิภาค รวมถึงการจ่ายเงินครั้งถัดๆ มา ทำให้ยอดชำระรวมเป็นเงินจำนวนถึง 1,898,860 ดอลล่าร์สหรัฐฯ

    กล่าวคือ มีการจ่ายเงินที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งซื้อ เครื่องยนต์ T800 และเครื่องยนต์สำรอง T500 ให้แก่ คนนายหน้า 3 และ นายหน้าส่วนภูมิภาค เป็นจำนวนสุทธิ 7,193,917 ดอลล่าร์สหรัฐฯ

    128. 17 มกราคม 2548 การบินไทยสรุปสัญญาจัดซื้อเครื่องยนต์สำรองรุ่น T500 จำนวนห้าเครื่อง และในปีถัดมา 15 มิถุนายน 2549 การบินไทยได้สรุปสัญญาจัดซื้อเครื่องยนต์ รุ่น T800 จากบริษัท RR

    ทั้งหมดนี้คือ คำฟ้องจากศาลอังกฤษ ซึ่งภายหลังได้สั่งปรับบริษัทโรลส์-รอยซ์ เป็นจำนวนเงิน 671 ล้านปอนด์ หรือ ราว 3 หมื่นล้านบาท

    สำหรับในส่วนประเทศไทยคงต้องรอลุ้นชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง บอร์ดและพนักงานบริษัทการบินไทย ที่ถูกระบุว่า ได้รับสินบนว่า เป็นใครบ้าง ซึ่งในเอกสารก็ระบุ ช่วงวันเวลาปีพ.ศ.ไว้ชัดเจนแล้ว
     
  23. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    หลักฐานเด็ด!มติ ครม.ปี 47 คดีสินบนโรลส์รอยส์-'สุริยะ'ชงเปลี่ยนซื้อ'B777' 6 ลำ

    เปิดมติ ครม. 23 พ.ย.47 ในสำนวนสอบคดีสินบน'โรลส์-รอยซ์' จ่ายเงินก้อน 3 เผยชื่อ 'สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ' ในฐานะ รมว.คมนาคม ชงอนุมัติเปลี่ยนแผนซื้อเครื่องบิน 14 ลำ 9.6 หมื่นล.

    1.jpg

    จากกรณีสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้แปลเนื้อหาผลสอบสวนกรณีบริษัทโรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3 จำนวน 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ช่วงปี 2547-2548 ของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ประเทศอังกฤษ พบว่า มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 พ.ย.2547 เกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ แอร์บัส A340 และ โบอิ้ง 777 และส่วนแบ่งจำนวน 4 % จากการอนุมัติของของรัฐบาลด้วย

    โดยมีการระบุว่า " จดหมายภายในบริษัทRR ฉบับลงวันที่ 19 พฤจิกายน 2547 บันทึกการประชุมซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง นายหน้า 3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค และคนในรัฐบาลไทย (the Thai Government) ซึ่งระบุบรรยากาศการประชุมครั้งนั้นว่า

    “ช่างเป็นการประชุมที่ดีเหลือเกิน การจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ แอร์บัส A340 และ โบอิ้ง 777 กำลังอยู่ในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 23 พฤจิกายนนี้ (2547)”

    118. อีเมล์ฉบับเดียวกันยังพูดถึงเรื่องข้อตกลงค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่น โดยที่นายหน้า3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค ได้ปฏิเสธข้อเสนอของบริษัท RR โดยทั้งสองยื่นข้อเสนอใหม่ว่า

    “ต้องการส่วนแบ่งเป็น 4% จากการอนุมัติของรัฐบาลในครั้งนี้ ลงวันที่ ธันวาคม 2547” ("4% on Government approval, i.e. Dec 04".)

    (อ่านประกอบ : แกะรอย บ.โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 3 ช่วงปี 47-48 "ดินเนอร์กับคนในรัฐบาล" (จบ))
    ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา สืบค้นมติการประชุม ครม.ย้อนหลัง ในวันที่ 23 พ.ย.2547 พบว่า มีวาระการพิจารณาโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 ของบริษัทการบินไทย ของกระทรวงคมนาคม ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ลงนามในเอกสารเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม. ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53 จำนวน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท โดยจะลงทุนในปี 2547/2548 จำนวน 7,818 ล้านบาท

    ทั้งนี้ ในการนำเสนอครม.ขออนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดจากมติ ครม. เดิม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ที่ให้ การบินไทย ดำเนินโครงการจัดซื้อเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2545/2546-2549/2550 เพื่อจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม จำนวน 15 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินใช้แล้ว แบบ B747-400 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ จำนวน 7 ลำ เครื่องบิน แบบ A340-500 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินแบบA340-600 จำนวน 5 ลำ แต่การบินไทยไม่สามารถรับมอบเครื่องบินใช้แล้วแบบ B747-400 จำนวน 7 ลำ ทำให้การบินไทย ไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตในปี 2546/2547 -2547/2548 การบินไทย จึงได้เลื่อนการรับมอบเครื่องบิน แบบ A340-500/600 ให้เร็วขึ้น และปรับปรุงแผนวิสาหกิจฉบับเดิม (ปี 2545/46-2549/50)เป็นแผนวิสาหกิจฉบับใหม่ ปี 2548/49 -2552/53 ตามที่นำเสนอครม. เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547

    จึงเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53 จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท ดังกล่าว

    2.jpg

    3.jpg

    ขณะที่ผลการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547 มีมติอนุมัติหลักการให้การบินไทย ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี พ.ศ. 2548/49-2552/53 ของการบินไทย จำนวน 14 ลำ วงเงินลงทุน 96,355 ล้านบาท และดำเนินงานตามแผนการเงินและแผนเงินกู้ของการบินไทย ส่วนการจัดทำข้อตกลง หรือลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบิน ให้การบินไทยรายงานความคืบหน้าการดำเนินการดังกล่าวและนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการด้วย

    4.jpg

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ ในผลการสอบสอนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ระบุว่า การจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง B777 ครั้งที่สามของสายการบินไทย ได้เริ่มหารือตั้งแต่ต้นปี 2539 แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปจนกระทั่งปลายปี 2547 ซึ่งในขณะนั้น บริษัท โรลส์-รอยซ์ ยืนยันว่า มีงบประมาณเพียงพอสำหรับจ่ายให้นายหน้าในภูมิภาคและนายหน้า 3 ทั้งนี้ บริษัทได้ติดสินบนเงินจำนวนหนึ่งเพื่อจูงใจให้สายการบินไทยซื้อเครื่องบินพร้อมเครื่องยนต์รุ่นT-800 เพิ่มเติมจากเดิม ส่วนแบ่งของเงินจำนวนนี้ได้ส่งต่อไปยัง คนในรัฐบาลไทย และมีการระบุถึงการนำเรื่องเข้าเสนอที่ประชุมครม. ในวันที่ 23 พ.ย.2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่นายสุริยะ ดำรงตำแหน่งรมว.คมนาคม และเป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุม ส่วนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ในช่วงเวลาดังกล่าว คือ นายกนก อภิรดี (2545-2549) นายทนง พิทยะ เป็น ประธานบอร์ด ตั้งแต่ช่วงมิ.ย. 2545 - มี.ค. 2548

    อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสอบสวนมิได้มีการระบุชื่อ ของนายสุริยะ นายกนก และนายทนง ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสินบนหรือไม่ นายสุริยะ นายกนก และนายทนง จึงยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่

    http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/53506-newoooo.html
     
    Alamos และ apollo ถูกใจ.
  24. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ทีมข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์เกาะติดขบวนการรับสินบนจากการจัดซื้อเครื่องยนต์ของเครื่องบินโบอิ้ง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)



    คณะทำงาน ป.ป.ช.ขอเวลาประชุมทางไกลเทเลคอนเฟอเรนซ์กับ ป.ป.ช.อังกฤษเย็นนี้ ก่อนรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอที่ประชุมใหญ่ ตั้งอนุใต่สวนได้สัปดาห์หน้า

    นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท.ระบุว่า ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะบัญชี ประสานให้ข้อมูลว่าส่วนคำฟ้องเหตุการณ์สินบนโรลส์รอยส์ มีการระบุถึง 4 กลุ่ม ตั้งแต่บริษัทแม่ สำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ บริษัทลูกในสหรัฐฯ และกลุ่มบุคคลที่เชื่อมโยงกันในภูมิภาค ก่อนมาถึงกลุ่มบุคคลในไทย โดยถือเป็นความร่วมมือกันทำงานในเชิงเทคนิค ไม่ได้มุ่งเน้นคดีความเพียงอย่างเดียว

    ด้าน นายโยธิน ภมรมนตรี อดีตกัปตันการบินไทย ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ใช้มาตรา 44 ตรวจสอบภายในการบินไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลังพบข้อมูลผิดปกติกรณีกระบวนการจัดซื้อเครื่องบิน แอร์บัส A340-500, A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2545-2546 จำนวนเงิน 55,248 ล้านบาท ซึ่งพบว่านำมาจอดทิ้งไว้เพื่อรอการขายให้เสื่อมสภาพ ทั้งที่เครื่องบินรุ่นนี้ยังใช้ประจำการได้

    ส่วนปัญหาการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ยอมรับว่า การทุจริตจัดซื้อจัดจ้างรัฐวิสาหกิจ เป็นช่องโหว่จากอดีต โดยกรมบัญชีกลางจะออก พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างใหม่ เพื่อบังคับทุกหน่วยงานเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อฯ ตามมาตรฐานโลก ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2560 รัฐวิสาหกิจจำนวน 45 แห่ง มีการจัดสรรงบประมาณลงทุนรวม 370,000 ล้านบาท

    ซึ่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เห็นว่ารัฐบาลน่าจะใช้โอกาสนี้ แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในหน่วยงานรัฐทั้งระบบ เพราะแม้จะนำระบบ e-auction กับ e-bidding มาใช้ ก็ยังแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ จึงควรเร่งนำสัญญาคุณธรรมมาใช้ โดยให้เอกชนที่เป็นผู้เสนอขายสินค้าหรือบริการมาทำข้อตกลงเสนอราคาที่เป็นธรรม ไม่ติดสินบน และดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR) กำหนดราคากลาง



    เลขาธิการ ป.ป.ช. อังกฤษ ยินดีให้ข้อมูลกับ ป.ป.ช.ไทย กรณีสินบนโรลส์-รอยซ์ แต่ขอให้ไทยทำเอกสารยืนยันอย่างเป็นทางการ

    เลขาธิการ ป.ป.ช. สรรเสริญ พลเจียก บอกว่า การประสานงานกับ ป.ป.ช.ของอังกฤษเมื่อวานนี้ ได้รับคำตอบว่า ทางอังกฤษยินดีให้ข้อมูลกรณีสิบบนโรลส์รอยส์กับไทย เพียงแต่ขอให้ทำหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการ ว่า ป.ป.ช.ไทย เป็นหน่วยงานหลักและมีอำนาจตรวจสอบจริง เพราะเป็นกังวลว่า ไทยมีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้หลายหน่วยงาน เช่น สตง. และ ป.ป.ท. จึงอาจเกิดความสับสนได้

    นอกจากนี้ ยังขอให้ ป.ป.ช.ไทย ระบุในเอกสารให้ชัดเจนว่า ต้องการข้อมูลในเรื่องใดบ้าง และขอความร่วมมือให้ระมัดระวังในการให้ข่าวเรื่องนี้ เพราะคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอังกฤษ ซึ่งอาจมีผลต่อรูปคดีและข้อกฎหมายของทั้งสองประเทศ

    นายสรรเสริญ คาดว่า ป.ป.ช.จะสามารถทำเอกสารทั้งหมด จัดส่งไปยังอังกฤษได้ภายในสัปดาห์หน้า และเมื่อได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนแล้ว ป.ป.ช. จะตั้งอนุกรรมการสอบสวนตามขั้นตอนต่อไป แต่ยังไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาได้ เพราะต้องรอข้อมูลจากต่างประเทศก่อน

    เบื้องต้น เชื่อว่า ไม่จำเป็นต้องให้ คสช.ใช้มาตรา 44 หรือกฏหมายพิเศษดำเนินการในเรื่องนี้ / โดย ป.ป.ช.จะทำคดีนี้อย่างรอบคอบ เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ



    ความคืบหน้าการตรวจสอบกรณีรับสินบนบริษัทโรลส์-รอยซ์ หลังมีการหารือร่วมกันระหว่าง ป.ป.ช.ไทย กับ ป.ป.ช.อังกฤษเพื่อประสานขอข้อมูลในเรื่องนี้

    นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. บอกว่า ทางปปช.อังกฤษได้แสดงความกังวลต่อข้อกฎหมายของไทยที่มีโทษรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต ซึ่งโดยปกติอังกฤษจะไม่ส่งข้อมูลให้ประเทศที่มีโทษประหารชีวิต แต่เราได้ยืนยันไปว่าโทษประหารชีวิต ไม่สามารถใช้ได้จริงในประเทศไทยโดยในสัปดาห์หน้าจะทำหนังสือถึง ป.ป.ช.อังกฤษอีกครั้งเพื่อยืนยันในเรื่องข้อกฏหมายของไทย รวมทั้งยืนยันว่า ป.ป.ช.จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการตรวจสอบเรื่องนี้

    นายสรรเสริญย้ำว่า ป.ป.ช. มีอำนาจเต็มที่ในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ อำนาจตามมาตรา 44 เพราะจะทำให้ขาดความเชื่อมั่นในระบบสากลได้

    ส่วนที่สำนักงาน กกต.วันนี้มีการจัดอภิปรายในหัวข้อ คอรัปชั่นกับปัญหาการพัฒนาประเทศ ซึ่งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มองว่าปัญหาทุจริตฝังรากลึกในประเทศไทยมานาน โดยเฉพาะการทุจริตเชิงนโยบาย และระบบอุปภัมภ์ ที่ยากในการตรวจสอบ จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับหน่วยงานตรวจสอบต้นน้ำ เช่น สตง. และ ป.ป.ช.

    ขณะที่นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ยกตัวอย่างกรณีปัญหาสินบนโรลส์รอยซ์ ที่อังกฤษและสหรัฐตรวจสอบพบ แต่ในไทยกลับตรวจสอบหาคนผิดยาก ทั้งที่มีตัวผู้กระทำผิดชัดเจน เป็นเพราะหน่วยงานตรวจสอบกับอายัดทรัพย์ เป็นหน่วยงานเดียวกันคือ ป.ป.ง. และ ป.ป.ช. โดยในกรณีของสินบนโรลส์-รอยซ์ นายสังศิตเห็นว่า ต้องให้ ป.ป.ช., ป.ป.ท. และดีเอสไอ เข้ามาตรวจสอบเนื่องจากเข้าข่ายการฟอกเงินแล้ว เพื่อไม่ให้คดีหมดอายุความและให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยข้อมูลด้านการเงิน โดยยืนยันว่ารัฐบาลไทยมีอำนาจขอข้อมูลจากโรลส์รอยซ์ ในสหรัฐฯ และสิงคโปร์ เพราะเป็นสมาชิกของเอเชียแปซิฟิคกรุ๊ป หากไทยไม่ดำเนินการ อาจจะถูกตัดออกจากสมาชิกและกระทบกับความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ



    สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ : ผลหารือ "ป.ป.ช.-เอสเอฟโอ" ปมสินบน "โรลส์-รอยซ์"
     
    Alamos likes this.
  25. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ทีมข่าวได้รวบรวมข้อมูลการจัดซื้อเครื่องบินของการบินไทย หลายประเภทในช่วง 27 ปี มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

    โดยในช่วง 10 แรกตั้งแต่ปี 2533-2543 การบินไทยจัดซื้อเครื่องบิน ตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 47 ลำ จำนวน 101,110 ล้านบาท ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งจัดซื้อเครื่องบินพิสัยไกลตามมติคณะกรรมการบริษัท เป็นเครือง Airbus 8 ลำ สำหรับเส้นทางกรุงเทพ-นิวยอร์ก และกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส และในช่วงปลายปี ครม.อนุมัติให้การบินไทยจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติมจำนวน 15 ลำ เป็นเครื่องแบบโบอิ้ง เงินลงทุน 58,324 ล้านบาท

    ปี 2547 ครม.อนุมัติให้ซื้ออีก 14 ลำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องแอร์บัส ประกอบด้วย Airbus A380, A 340-500, A 340-600 และ Boeing 777-200ER วงเงินลงทุนรวม 96,355 ล้านบาท

    ส่วนแผนจัดหาเครื่องบินใหม่ตั้งแต่ปี 2550-2553 จำนวน 29 ลำ โดยการจัดซื้อในปี 2551 ได้จัดซื้อเครื่องยนต์ของบริษัท โรลส์-รอยซ์ 24 เครื่อง เพื่อใช้ติดตั้งในเครื่องบินแอร์บัส เอ 380

    ในปี 2554 การบินไทยมีแผนจัดซื้อเครื่องบิน มากที่สุด 75 ลำ เพื่อเข้าประจำการฝูงบิน มูลค่า 457,127 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ปี 2554-2560 จำนวน 37 ลำ และ ปี 2561-2565 จำนวน 38 ลำ

    โดยในปีนี้ การบินไทยตรียมแผนรับมอบเครื่องบินเพิ่ม 7 ลำ เป็นเครื่องแอร์บัส เอ 350 จำนวน 5 ลำ และโบอิ้ง 787 จำนวน 2 ลำ และในปีหน้าจะรับมอบเครื่องบินอีก 5 ลำ ได้ครบตามแผนจัดซื้อเครื่องบิน



    ป.ป.ช.ตั้งคณะกรรมการพิเศษแยกดูปมสินบนโรลส์รอยซ์แล้ว ขณะที่ สตง.ชงผู้ตรวจสอบพิเศษสายตรวจสอบรัฐสภา สอบปมสินบนกล้องซีซีทีวีอีกชุดหนึ่ง

    เริ่มจากสินบนบริษัทโรลส์รอยซ์ ที่พาดพิงการบินไทย และ ปตท.โดย ป.ป.ช.เปิดเผยกับช่อง 7 สี ว่าได้ให้กรรมการ ป.ป.ช. 3 คนเจาะประเด็นที่เชื่อมโยงกับกลุ่มการเมือง ภาครัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ และรัฐวิสาหกิจเป็นการเฉพาะ

    พร้อมร่วมกับอัยการสูงสุด หาข้อมูลในเชิงลึก และอาจต้องเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อหาหลักฐานนำไปสู่ชั้นการไต่สวนต่อไป ซึ่งอยู่ที่ทางต่างประเทศจะให้ความร่วมมือหรือไม่

    ส่วนกรณีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริการายงานว่าในปี 2547-2548 บริษัทลูกของบริษัทไทโคอินเตอร์เนชันแนล จ่ายสินบนเพื่อติดตั้งกล้องซีซีทีวีในรัฐสภา และสนามบินสุวรรณภูมินั้น

    เรื่องนี้บริษัทการท่าอากาศยานไทย ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว เบื้องต้นระบุสนามบินสุวรรณภูมิ ทำสัญญาติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยกับบริษัทอิตาเลียนไทย ไม่ใช่บริษัทไทโค ที่ถูกกล่าวหาว่าจ่ายสินบน

    ขณะที่ ผู้ว่าฯ สตง.บอกวันพรุ่งนี้ คณะทำงานสายตรวจสอบประจำรัฐสภา จะไปตรวจสอบหลักฐานว่า มีการเสนอราคาแพงเกินจริงหรือ มีการฮั้วประมูลหรือไม่ และบอกด้วยว่ากรณีสินบนที่พาดพิงหลายหน่วยงาน หากพบหลักฐานชัดเจนที่ใด สตง.ก็จะส่งดำเนินคดีก่อนทันที

    ส่วนนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.ก็เตรียมประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์วันพรุ่งนี้ เพื่อหารือปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน หลังดัชนีการทุจริตคอร์รัปชันของไทยลดลง รวมถึงถกแนวทางแก้ปัญหาที่ให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการกำหนดราคากลางให้เข้มงวด ป้องกันการทุจริตด้วย



    กรุงเทพฯ 29 ม.ค. – ปัญหาคดีสินบนโรลส์-รอยซ์ 1,300 ล้านบาท ที่กำลังถูกขยายผล ตรวจสอบ การจัดซื้อของหน่วยงานภาครัฐอีกหลายแห่ง สร้างความตื่นตัวต่อกระแสการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างกว้างขวาง ซึ่งหลังจากนี้ต้องติดตามผลสอบสวนที่เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการของ ป.ป.ช.จะพาดพิงบุคคลใดบ้าง. –สำนักข่าวไทย



    ยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสำหรับกรณีสินบนโรลส์รอยซ์ ซึ่งล่าสุดกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ออกมาเปิดเผยว่าการแกะรอย สินบน "โรลส์รอยซ์" อาจต้องสอบพยานหลักฐานเองถึงเมืองนอก และต้องตรวจสอบด้วยว่า ว่าเข้าข่ายฟอกเงินด้วยหรือไม่

    คณะกรรมการกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. มีการแต่งตั้ง กรรมการ ป.ป.ช. 3 คน เพื่อดูแลคณะทำงานการสอบสวนและรวบรวมข้อมูล สินบนโรลส์รอยซ์ ที่มีการจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทย และเจ้าหน้าที่บริษัท ปตท. รวมเงินกว่า 1,500 ล้านบาท โดยได้แบ่งหน้าที่กันทำงานดังนี้ นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รับผิดชอบประเด็นเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง, นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร รับผิดชอบในส่วนของศาล ความร่วมมือระหว่างประเทศ และ พลตำรวจเอกสถาพร หลาวทอง รับผิดชอบเรื่องรัฐวิสาหกิจ

    นอกจากนี้แหล่งข่าวจากกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยังระบุว่า เอสเอฟโอ รับทราบแล้วว่า ป.ป.ช. คือหน่วยงานหลักของประเทศไทยที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบกรณีดังกล่าว พร้อมยืนยันว่าข้อมูลที่มีการเผยแพร่ในขณะนี้ไม่ใช่ข้อมูลที่จะสามารถนำไปใช้ในทางนิตินัย เพราะไม่ใช่เอกสารที่ได้รับจากหน่วยงานอย่างเป็นทางการตามที่กฎหมายกำหนด

    แม้ ป.ป.ช.จะได้ข้อมูลเชิงลึกมาจากเอสเอฟโอ แต่ป.ป.ช.ก็จะต้องนำเข้ากระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเช่นเดียวกับการตรวจสอบคดีอื่น ๆ ตามปกติทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องของพยานบุคคล และ พยานเอกสารในประเทศ รวมถึงต่างประเทศหากมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปสืบพยานในต่างประเทศก็ต้องทำ

    นอกจากนี้จะพิจารณาด้วยว่านอกจากการรับสินบนแล้ว ยังมีพฤติกรรมเข้าข่ายการฟอกเงิน ซึ่งจะต้องตรวจสอบด้วยหรือไม่

    ป.ป.ท. พร้อมสอบข้อบกพร่องการจัดซื้อจัดจ้างรัฐวิสาหกิจ

    นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (ป.ป.ท.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ. (ศอตช.) เปิดเผยว่า ศอตช. ก็ได้รับนโยบายให้ตรวจสอบและได้มีการประสานพูดคุยเบื้องต้น แต่ยังไม่มีกำหนดว่าจะนัดประชุมศอตช.ในวันเวลาใด

    สำหรับป.ป.ท.แม้ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบประเด็นทุจริต แต่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อทำรายงานข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อบกพร่องในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้รัฐบาลนำไปวางแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอย

     
    Alamos likes this.
  26. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482






    ผู้ว่าฯ สตง.เผยตรวจสอบสินบนโรลส์-รอยซ์ในส่วนของ ปตท. และ การบินไทย พบมีกลุ่มการเมือง และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 20-30 คน รอข้อมูลจาก ป.ป.ช.อังกฤษ หาความเชื่อมโยง คาดใช้เวลา 1-2 เดือน ได้ข้อสรุป

    นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบสินบนโรลส์-รอยซ์ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานเส้นทางการเงิน กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งได้ข้อมูลจากการบริษัทบินไทยแล้ว ขณะที่ในส่วน ปตท.ยังรอข้อมูลอยู่ รวมถึงรอรายละเอียดจาก ป.ป.ช.อังกฤษ ซึ่งได้ประสานขอข้อมูลไปแล้วจึงไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาได้

    เบื้องต้นได้แบ่งกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการเมืองซึ่งเป็นระดับรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการ ที่กำกับดูแล และ ครม.ที่เข้าประชุมวันที่มีการพิจารณาให้จัดซื้อ

    และกลุ่มผู้บริหาร พนักงานของการบินไทย และ ปตท.ที่เกี่ยวข้องประมาณ 20-30 คน เพื่อนำรายชื่อเหล่านี้มาหาความเชื่อมโยงกับรายชื่อที่โรลส์-รอยซ์จ่ายสินบนให้ ซึ่งจะดูจากพฤติการณ์ที่มีการสนับสนุนให้ซื้อสินค้าของโรลส์-รอยซ์โดยไม่มีเหตุผล คาดว่ากระบวนการตรวจสอบทั้งหมดจะใช้เวลา ประมาณ 1-2 เดือน และ จะรายงานต่อที่ประชุมศูนย์อำนวยการต้อต้านการทุจริตแห่งชาติที่จะประชุมกันในสัปดาห์นี้

    ทั้งนี้ ในส่วน สตง. เมื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแล้วเสร็จ จะส่งข้อมูลให้ ป.ป.ช. , ป.ป.ท. และ ดีเอสไอ เพื่อดำเนินการเอาผิดต่อไป

    ส่วนการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างการติดกล้อง cctv รัฐสภา ขณะนี้ สตง. ประจำรัฐสภา อยู่ระหว่างขอข้อมูลจากสำนักที่เกี่ยวข้องของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อดำเนินการต่อไป

    ซึ่งล่าสุดนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ยอมรับว่ามีโครงการจัดซื้อนี้จริง เกิดขึ้น 2 ช่วงคือ ช่วงปี 48-49 มูลค่ากว่า 29 ล้านบาท และช่วงปี 50-52 มูลค่า 26 ล้านบาท ซึ่งบริษัท ไทโก้ ไฟร์ ซิเคียวริตี้ แอนด์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) เป็นผู้ชนะการประมูล โดยวันนี้ได้สั่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วและประสานกับปปช.เพื่อขอข้อมูลจากต่างประเทศด้วย

    สำหรับกล้องซีซีทีวีที่อาคารรัฐสภามีมากถึง 169 ตัว เฉพาะที่ประตูทางเข้ามีมากถึง 15 ตัว ประธานสนช.ยืนยันว่ามีความจำเป็นเพราะรัฐสภาต้องรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด แต่จะใช้ได้จริงกี่ตัวนั้น ไม่สามารถตอบได้
     
    Last edited: 9 Feb 2017
    Alamos likes this.
  27. คะยิ่นดง

    คะยิ่นดง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    19 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    827
    ผู้ถูกกล่าวหาพัวพันคดีรับสินบน “โรลส์-รอยซ์” กรณีการบินไทย ที่ปรากฏเป็นข่าว เชื่อมโยงและใช้อักษรย่อ บอกสัญลักษณ์ “เจ๊กระบังลม” ส่วนนอมินี เชื่อมโยงไปถึงคนในตำแหน่งรัฐมนตรี-รัฐมนตรีช่วย ในยุคไทยรักไทย กำลังนั่งไม่เป็นสุข ควานหา “ลอว์ เฟิร์ม” ซึ่งเป็นสาขาต่างประเทศเชี่ยวชาญคดีประเภทนี้ ให้ช่วยมากำจัดจุดอ่อนไม่ให้ข้อมูลทางการอังกฤษมาถึงตัวเอง หรือสามารถงัดข้อกฎหมายมาต่อสู้ได้ หากมีชื่อปรากฏเพราะวันนี้บรรดา “บิ๊ก ๆ” มืดแปดด้านไม่รู้ว่าทางการอังกฤษจะส่งข้อมูลอะไร จึงไม่รู้วิธีป้องกันตัวเอง ทั้งหมดต้องฝากชีวิตไว้กับ “ลอว์ เฟิร์ม”

    การออกมารับลูกตรวจสอบของหน่วยงานปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทย ทั้งจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในเรื่องสินบนข้ามชาติ โดยเฉพาะกรณีที่บริษัท โรลส์-รอยซ์ ยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องยนต์ ที่ออกมายอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของอังกฤษ (Serious Fraud Office : SFO) ว่าได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ได้ขายเครื่องยนต์ใน 3 ช่วงเวลา ระหว่างปี 2534-2548 เป็นเงิน 1,253 ล้านบาท และจ่ายสินบนให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) จำกัด (มหาชน) รวม 393 ล้านบาท ใน 6 โครงการระหว่างปี 2543-2556

    ดังนั้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวการจ่ายสินบนของบริษัท โรลส์-รอยซ์ ถือเป็นข่าวใหญ่ ข่าวดัง ที่ทำให้สังคมต่างจับตาดูว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือหน่วยงานของรัฐจะสามารถดำเนินการกับผู้ที่กินสินบนและเป็นต้นเหตุให้รัฐสูญเสียงบประมาณจำนวนมากไปกับการทุจริตได้หรือไม่?

    อีกทั้งสังคมก็ต้องการรู้ว่ามีนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐคนใดบ้างที่เข้าร่วมขบวนการกินสินบนในแต่ละช่วงเวลา!

    560000001069302.JPE
    นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
    [​IMG]
    ขณะเดียวกันการออกมาให้สัมภาษณ์และเปิดโปงของ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในทำนองว่า สตง.มีข้อมูลหลักฐานและรายชื่อผู้ต้องสงสัยที่มีโอกาสรับสินบนในแต่ละช่วงเวลาไว้ทั้งหมดแล้ว คือเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ซึ่งหมายถึงตั้งแต่คนกำหนดนโยบาย คนเสนอเรื่องเพื่อให้มีการจัดซื้อ คนกำหนดเงื่อนไข กำหนดสเปก คนที่มาทำหน้าที่คัดเลือกตัวเครื่องยนต์ คนที่มาทำหน้าที่อนุมัติ จนมาถึงขั้นการเซ็นสัญญา

    รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ สตง. ยังมีการสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องบางคนไว้เพื่อเป็นหลักฐานเช่นกัน

    แต่รายชื่อทั้งหมด สตง.ยังประกาศไม่ได้ เพราะต้องรอรายชื่อที่ทางการอังกฤษมีการสืบสวนและตรวจสอบมาแล้ว และถ้าได้รับรายชื่อที่ตรงกัน สตง.จะสามารถดำเนินการกับผู้รับสินบนได้อย่างรวดเร็ว ส่วนผู้ที่มีหลักฐานแต่สาวไปไม่ถึง ก็สามารถส่งให้หน่วยงาน ป.ป.ช. ตรวจสอบในเรื่องความร่ำรวยผิดปกติได้

    แหล่งข่าวจากพรรคการเมืองบอกว่า ข่าวที่ปรากฏบนสื่อในเรื่องสินบนข้ามชาติ ดูเหมือนจะพยายามเชื่อมโยงมาที่คนในพรรคเพื่อไทยไม่ว่าจะเป็นการบอกช่วงระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หรือการบอกตัวย่อ บอกคุณลักษณะเฉพาะ บอกถึงการไปเกี่ยวข้องกับงานเลี้ยงในต่างประเทศ ซึ่งผู้ที่ตกเป็นข่าวก็คงรู้สึกไม่สบายใจเพระไม่รู้ว่าหลักฐานที่ทางการอังกฤษจะส่งให้ ป.ป.ช หรือ สตง.มีชื่อของใครบ้าง

    โดยเฉพาะการที่มีการพาดพิงถึง “เจ๊กระบังลม” เชื่อว่าหลายคนรู้ว่าเธอคนนี้เป็นใคร ซึ่งอดีตผู้บริหารในการบินไทยก็มีการให้ข่าวในทำนองว่า เจ๊กระบังลม ได้ส่งคนไปคุมหน้าห้องของอดีตผู้บริหารการบินไทย เพื่อดูความเคลื่อนไหวของคนที่เข้ามาติดต่อและคอยตรวจสอบว่าผลการประชุมบอร์ดเป็นไปตามที่มีการตกลงกันไว้หรือไม่? และ ผู้บริหารหลายคนในนั้นที่ได้ดิบได้ดีก็เป็นฝีมือของเธอในการแต่งตั้ง บรรจุโยกย้าย

    ตอนนี้มีการพูดถึงนอมินี มีการพูดถึงส่วนแบ่ง มีการเชื่อมโยงถึงคนหิ้วเงิน พูดถึงการจัดสรร

    ทั้งหมดที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อ หรือ จากข้อมูลของ สตง.คงเป็นได้แค่การทำลายชื่อเสียงของคนในพรรคเท่านั้น หากไม่มีหลักฐานที่ทางการอังกฤษส่งมา

    ดังนั้นสิ่งที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือคนในพรรคต้องการรู้ก็คือ ทางการอังกฤษจะส่งหลักฐานอะไรมาบ้าง และหลักฐานนั้นจะมีชื่อบุคคลสำคัญเหล่านี้ตามที่เป็นข่าวหรือไม่?

    หรือเป็นเพียงแค่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ที่ได้รับแจกกันไปแล้วจากการจัดซื้อเครื่องยนต์ของการบินไทย

    [​IMG]
    [​IMG]
    แหล่งข่าวอีกคนหนึ่ง เล่าว่า ผู้ที่ถูกพาดพิงจำเป็นต้องดิ้นรน และต้องการรู้ว่าข้อมูลที่ต่างประเทศจะส่งมานั้นมีอะไรบ้าง และจะแก้ต่างอย่างไร เพื่อไม่ให้ถึงตัวบิ๊ก ๆ ได้ และคนที่จะช่วยเรื่องนี้ได้ดีคือทนายความระหว่างประเทศ

    “นายกำลังให้คนวิ่งหา Law firm ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเก่งเรื่องระหว่างประเทศ และเป็นไปได้ว่าควรจะได้ที่เป็นสาขาของ Law firm ในต่างประเทศจะดีที่สุด”

    ลอว์ เฟิร์ม จะช่วยในเรื่องของการหาข้อกฎหมายมาต่อสู้เพราะไม่รู้ว่าทางการต่างประเทศจะส่งอะไรมาบ้าง ซึ่งลอว์ เฟิร์ม ต้องทำทุกวิถีทางที่จะกำจัดจุดอ่อนไม่ให้มาถึงตัวเราได้

    “ตอนนี้เราไม่รู้อะไรเลย จึงไม่รู้ว่าจะป้องกันตัวอย่างไร เป็นเรื่องที่เราก็หนักใจ

    แหล่งข่าวด้านกฎหมายจาก สนช. บอกว่า จากระยะเวลาในการจ่ายสินบนโรลส์-รอยซ์ เงินที่ได้มานั้นจะถูกฟอกไปหมด และส่วนใหญ่คนพวกนี้จะนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน สนามกอล์ฟ อาคาร บ้าน คอนโดมิเนียม เก็บไว้ และจะใช้วิธีการทำสัญญาแบบมีส่วนลด ยกตัวอย่างสินทรัพย์ที่ตกลงซื้อขายและจ่ายจริงคือ 500 ล้านบาท แต่ในการทำสัญญาซื้อ-ขาย จะระบุไว้แค่ 200 ล้านบาท

    “เงินฟอกคือตัว 300 ล้านจะหายไปเพราะมีการจ่ายออกไปจริง”

    แต่ถ้ารัฐจะตรวจสอบเส้นทางการเงินแล้วถามว่าตรวจสอบได้ไหมเรื่องนี้สามารถตรวจสอบได้ คือต้องรู้ว่าช่วงที่มีการจ่ายจริง จ่ายมาเท่าไหร่ จ่ายให้ใครบ้าง จากนั้นไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำการตรวจสอบเส้นทางการเงินต่อไป

    ด้าน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการ สตง. บอกว่า เรื่องนี้ถ้าสามารถตรวจสอบได้และมีหลักฐานว่ามีการรับสินบนจริง จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 ในความผิดเป็นเจ้าพนักงาน เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต

    “โทษในการรับสินบนรุนแรงมากถึงประหารชีวิต เรื่องนี้บางช่วงเวลาหมดอายุความก็ได้แค่ประจาน แต่อายุความไม่ได้เป็นเหตุ แต่กลับทำให้เราขยันค้นหาความจริง อย่างน้อยต้องโทษตาม ม.149 เพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่งที่มีการรับสินบน ถ้าเราสามารถเอาคนผิดมารับโทษได้ก็ถือว่าได้ทำดีที่สุดแล้ว”

    ดังนั้นหากรัฐไทยสามารถจัดการคดีสินบนข้ามชาติ โดยเฉพาะกรณีการบินไทย ที่เป็นข่าวใหญ่ได้สำเร็จและขยายผลไปสู่หน่วยงานอื่น ๆ ที่ปรากฏเป็นข่าวในขณะนี้ จะส่งผลให้เกิดความเชื่อถือของทั้งองค์กรและประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่กำลังจะมีการจัดซื้อ จัดจ้าง จะเกิดความตระหนักไม่กล้าที่จะทุจริตกินสินบนเพราะต้องไม่ลืมว่าโทษของการกินสินบนถึงขึ้นประหารชีวิต

    http://manager.co.th/SpecialScoop/ViewNews.aspx?NewsID=9600000010243
     
    Anduril และ Alamos ถูกใจ.
  28. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    การบินไทยจะส่งผลการตรวจสอบปมการสินบน ให้รมว.คมนาคม หลังครบกำหนด15วัน รอรายละเอียดก่อนชี้แจงการดำเนินการ
     
    Alamos likes this.
  29. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    คนรับจ้างโพสท์ที่เปิดประเด็นRR ขอเสียงหน่อยครับ

    ผมจะแสดงความยินดีด้วยสักหน่อย

    คุณเล่นงานจนนายจ้างของคุณเข้าปิ้งสำเร็จแล้วครับ
     
  30. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    การบินไทยระบุโรลส์รอยส์ไม่ให้ข้อมูลการจ่ายสินบน ส่งผลให้การสอบสวนการจัดซื้อจัดจ้างทำได้แค่ช่วงปี 2555 ถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความโปร่งใสทุกขั้นตอน เพราะไม่มีนายหน้าเข้ามายุ่งเกี่ยว
     
  31. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    เป็นรูปเป็นร่างประมาณนี้สินะ

    ครั้งที่ 1 ยุค รสช. (รบ.อานันท์)
    ครั้งที่ 2 ชงมาตอนรัฐบาลบรรหาร อนุมัติยุคบิ๊กจิ๋ว
    ครั้งที่ 3 รัฐบาลพี่แม้วเต็มๆคำ
    ***********************************************************************
    ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ ข้อมูลซื้อเครื่องบินคดีโรลส์รอยซ์ช่วงสินบนก้อน 2

    เปิดข้อมูลคดีสินบนโรลส์-รอยซ์ก้อน 2 ปี’35-40 สำนวน SFO ระบุ พ.ค. 39 จนท.รัฐไทย ขอเงินค่านายหน้า ‘อิศรา’ พบ มิ.ย. 39 ‘วันนอร์’ อนุมัติตามแผนการบินไทยซื้อเครื่องบิน B777 6 ลำ ก่อน ‘บรรหาร’ ยุบสภา กระทั่ง มี.ค. 40 ครม.ชวลิต ไฟเขียวตามแผน เน้นเจรจากับผู้ขายต้องคำนึงถึงประโยชน์ราชการ

    1.jpg

    หลายคนอาจทราบกันไปแล้วว่า กรณีบริษัท โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่รัฐอื่น ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซื้อเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกปี 2534-2535 วงเงินประมาณ 663 ล้านบาท ช่วงที่สองปี 2534-2540 วงเงินประมาณ 336 ล้านบาท และช่วงที่สามปี 2547-2548 วงเงินประมาณ 264 ล้านบาท

    โดยการจ่ายสินบนช่วงแรกปี 2534-2535 และช่วงที่สามปี 2547-2548 สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้นำเสนอข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) การบินไทย รวมถึงหลักฐานเอกสารอื่น ๆ ให้ทราบไปแล้วก่อนหน้านี้

    (อ่านประกอบ : โชว์ชัดๆ 'INFO' ไทม์ไลน์คดีสินบน 'โรลส์รอยซ์-การบินไทย' 3 ยุค 1.2 พันล., โชว์ครบถ้วน!'รายชื่อบอร์ด-มติประชุมการบินไทย' จัดซื้อเครื่องโรลส์รอยซ์ปี 34-47)

    แต่ยังคงมีความไม่ชัดเจนว่าตกลงแล้วการอนุมัติจัดซื้อเครื่องบิน ที่คาบเกี่ยวกับการจ่ายสินบนช่วงที่สองปี 2535-2540 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

    ตามสำนวนสอบสวนของสำนักงานปราบปรามการทุจริตของสหราชอาณาจักร (SFO) ระบุว่า บริษัท โรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินสินบนให้กับนายหน้ารวมทั้งสิ้น 10.38 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (ราว 336 ล้านบาท) โดยเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2539 มีการทำบันทึกข้อตกลงจะจ่ายล่วงหน้า 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หลังจากจ่ายเงินแล้ว บอร์ดการบินไทย อนุมัติการสั่งซื้อเครื่องยนต์ T-800 สำหรับเครื่อง B777 ทั้งหมด 6 ลำ แต่ในชั้นนี้การอนุมัติของรัฐบาลไทยยังคงไม่มีหลักประกันแน่นอน

    ต่อมาในเดือน พ.ค. 2539 มีบันทึกอ้างการจ่ายเงินอีกครั้งจำนวน 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงพนักงานของไทย โดยระบุว่า ยอดเงินดังกล่าวถูกแบ่งสรรไปยัง “กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการเมืองที่ใช้มาตลอด” หลังจากนั้นในเดือน พ.ย. 2539 พนักงานของไทยคนเดิม เรียกร้องให้พนักงานระดับสูงของโรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินอีก 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากทั้งหมด 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ค้างจ่ายเพื่อให้ทางการไทยนำเงินดังกล่าวมาจัดการ “ในกระบวนการจัดการขั้นตอนทางการเมือง”

    (อ่านประกอบ : แกะรอยจากเอกสาร โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 2 ช่วงปี 35-40 "จัดการขั้นตอนทางการเมือง")

    เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สืบค้นมติคณะรัฐมนตรีระหว่างปี 2535-2540 พบว่า การบินไทยทำแผนวิสาหกิจปี 2538/39-2542/43 ถึงกระทรวงคมนาคมขออนุมัติการจัดซื้อเครื่องบินล็อตใหม่ จำนวน 21 ลำ

    โดยบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อ้างถึงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2535 ที่มีการอนุมัติแผนวิสาหกิจการบินไทยปี 2534-2541 ซึ่งขณะนั้นได้จัดซื้อเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่ง รวม 8 ลำ (ข้อมูลสอดคล้องกับสำนวนสอบ SFO ในช่วงสินบนก้อนแรก) และให้ยกเลิกการจัดซื้อเครื่องบินขนาด 300 ที่นั่ง รวม 7 ลำ ดังนั้นจึงต้องการปรับปรุงฝูงบินตามแผนวิสาหกิจปี 2538/39-2542/43 โดยขอให้กระทรวงคมนาคมอนุมัติการจัดซื้อเครื่องบินล็อตใหม่รวม 21 ลำ พร้อมด้วยอะไหล่เครื่องบิน รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรอื่น ๆ

    พร้อมกันนี้ได้ขอให้ยกเว้นเงื่อนไขการทำการค้าต่างตอบแทนสำหรับการจัดซื้อเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเครื่องฝึกบินจำลองแบบ A300 และ B777 เพราะเป็นการจัดหาเครื่องบินที่มีแบบเฉพาะที่เหมาะสมกับแผนการบิน โดยกำหนดเงื่อนไขการจัดหาเครื่องบินตามแผนปรับปรุงลดแบบเครื่องบิน/เครื่องยนต์/นักบิน และเงื่อนไขให้ผู้ขายรับซื้อหรือรับประกันการขายเครื่องบินที่ต้องการปลดจากฝูงบิน รวมทั้งขอส่วนลดการสั่งซื้อเครื่องบินได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขการจัดซื้อที่จะเป็นประโยชน์แก่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยตรง ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศ นอกจากนี้การขยายบริการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังช่วยให้ดุลการค้าบริการเพิ่มขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศโดยรวมด้วย

    ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2539 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.คมนาคม (ขณะนั้น) สมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบตามแผนวิสาหกิจของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยให้จัดซื้อเครื่องบินเพิ่มในระหว่างปี 2538/39-2542/43 จำนวน 21 ลำ ประกอบด้วย

    B737-400/500 จำนวน 4 ลำ A300-600R จำนวน 5 ลำ A330-300 จำนวน 4 ลำ B777-300 จำนวน 6 ลำ B747-400 จำนวน 2 ลำ รวมวงเงิน 68,794 ล้านบาท พร้อมให้จัดหา และจัดซื้ออะไหล่เครื่องบินระหว่างปี 2538/39-2542/43 ในวงเงินลงทุน 13,649 ล้านบาท รวมถึงให้ความเห็นชอบการขอยกเว้นการทำการค้าต่างตอบแทนสำหรับการจัดซื้อเครื่องบินและเครื่องฝึกจำลองตามแผนวิสาหกิจดังกล่าว (ดูเอกสารประกอบ)

    น่าสังเกตว่า หากเทียบช่วเวลาการอนุมัติของกระทรวงคมนาคมกับสำนวนการสอบสวนของ SFO มีความใกล้เคียงกันมาก เนื่องจาก นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา รมว.คมนาคม ได้อนุมัติตามแผนวิสาหกิจของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือน มิ.ย. 2539 โดยมีการจัดซื้อเครื่องบิน B777 จำนวน 6 ลำ ซึ่งคล้อยหลังเพียง 1 เดือน ที่ SFO พบว่า เมื่อเดือน พ.ค. 2539 มีบันทึกการจ่ายเงินจำนวน 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงพนักงานของไทย โดยระบุว่า ยอดเงินดังกล่าวถูกแบ่งสรรไปยัง “กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการเมืองที่ใช้มาตลอด”

    อย่างไรก็ดีรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ในช่วงเดือน ก.ย. 2539 นอกจากนี้พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน ได้กดดันนายบรรหาร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายบรรหาร ตัดสินใจยุบสภา เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2539 ส่งผลให้การอนุมัติเครื่องบินดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้

    กระทั่งเดือน พ.ย. 2539 พรรความหวังใหม่ ที่มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ชนะการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล และ พล.อ.ชวลิต ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี แผนวิสาหกิจการบินไทยได้ถูกกระทรวงคมนาคม (ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ระบุว่า นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็น รมว.คมนาคม ขณะนั้น แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นผู้นำเสนอเรื่องต่อที่ประชุมเองหรือไม่) นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง และได้รับการอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2540

    โดยมีการระบุว่า ในการเจรจาต่อรองในเรื่องการค้าต่างตอบแทน หรือการเจรจาต่อรองกับบริษัทผู้ขายในรูปอื่นใด ให้คำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการให้มากที่สุด (ดูเอกสารประกอบ)

    ซึ่งในช่วงเวลาที่นายบรรหาร ยุบสภา กระทั่งพรรคความหวังใหม่ ได้รับการเลือกตั้ง ระหว่างเดือน ก.ย.-พ.ย. 2539 ในสำนวนสอบของ SFO ระบุว่า เมื่อเดือน พ.ย. 2539 มีพนักงานของไทย เรียกร้องให้พนักงานระดับสูงของโรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินอีก 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากทั้งหมด 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ค้างจ่ายเพื่อให้ทางการไทยนำเงินดังกล่าวมาจัดการ “ในกระบวนการจัดการขั้นตอนทางการเมือง”

    อย่างไรก็ดี สำนวนการสอบสวนของ SFO ไม่ได้ระบุชื่อว่า ใครเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีรับสินบนแต่อย่างใด

    เอกสารกระทรวงคมนาคมอนุมัติตามแผนการบินไทยปี'39

    2.jpg

    3.jpg

    4.jpg

    5.jpg

    6.jpg

    7.jpg

    เอกสาร ครม.ชวลิต อนุมัติตามกระทรวงคมนาคมปี'40

    8.jpg

    9.jpg

    http://www.isranews.org/investigative/investigate-private-crime/item/53776-wannor.html
     
  32. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    โชว์ชัดๆ 'INFO' ไทม์ไลน์คดีสินบน 'โรลส์รอยซ์-การบินไทย' 3 ยุค 1.2 พันล.

    INFOGRAPHIC : ไทม์ไลน์คดีสินบน ‘โรลส์-รอยซ์’ รวมหมด 3 ก้อน ช่วงปี’34-35 ครม.อานันท์ อนุมัติ ซื้อ 8 ลำ บอร์ดให้ใส่เครื่องยนต์ T-800 ช่วงปี’35-40 สืบเนื่องจากก้อนแรก RR จ่ายล่วงหน้าก่อน-ล็อบบี้ จนท. ให้ซื้อล็อตสอง ก่อน ครม.ชวลิต ไฟเขียว ก้อนสามปี’47-48 บอร์ดยุค ‘ทนง-กนก’ จัดซื้อ B777 พร้อมเครื่องยนต์ T-800 ‘สุริยะ’ คนชงเข้า ครม.ทักษิณ

    1.jpg

    หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : รวบรวมข้อมูล มติคณะรัฐมนตรี และมติคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กรณีที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเครื่องบิน และเครื่องยนต์จากบริษัท โรลส์-รอยซ์ ที่ให้การยอมรับต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตของสหราชอาณาจักร (SFO) ว่า จ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทยฯ ตั้งแต่ปี 2534-2548 รวม 3 ครั้ง วงเงินรวมประมาณ 1.2 พันล้านบาท

    ก้อนแรก ระหว่างปี 2534-2535 วงเงิน 18.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (USD) หรือราว 663 ล้านบาท

    เกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีช่วงต้นปี 2534 คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) มีมติอนุมัติตามที่นายนุกูล ประจวบเหมาะ รมว.คมนาคม (ขณะนั้น) เสนอเปลี่ยนแผนวิสาหกิจบริษัท การบินไทยฯ พ.ศ.2534-2541 ซื้อเครื่องบินเพิ่มอีก 19 ลำ (รวมของเดิมเป็น 42 ลำ) วงเงินรวมประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยให้จำกัดประเภทของเครื่องยนต์ โดยมีการระบุถึงการซื้อเครื่องบินขนาด 380 ที่นั่ง เบื้องต้น 6 ลำ ก่อนจัดซื้อเพิ่มอีก 2 ลำ (รวม 8 ลำ) โดยกรณีนี้สอดคล้องกับมติบอร์ดการบินไทย ที่มี พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ. ขณะนั้น) เป็นประธานบอร์ดการบินไทยฯ และ พล.อ.อ.วีระ กิจจาทร เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทยฯ

    โดยสอดคล้องกับสำนวนการสอบสวน SFO ที่ระบุว่า เดือนมิถุนายน 2534 สายการบินไทย (“ไทย”) ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำ ซึ่งหลังจากนั้นได้เพิ่มจำนวนการสั่งซื้อเป็น 8 ลำ โดยมีบริษัท RR (โรลส์-รอยซ์) เป็นผู้จำหน่าย เครื่องยนต์ Trent 800 (“T800”) ให้กับเครื่องบินของไทย ซึ่งในขณะที่ RR กำลังจัดสรรงบประมาณ ปรากฎว่า ได้มีการแบ่งเงินบางส่วนให้กับนายหน้า เป็นสินบนเพื่อชักจูงใจในการตัดสินใจซื้อขาย

    ก้อนที่สอง ระหว่างปี 2535-2540 วงเงิน 10.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 336 ล้านบาท

    สำนวนการสอบสวนของ SFO ระบุว่า กรณีนี้สืบเนื่องจากการจัดซื้อเครื่องบิน และเครื่องยนต์ T-800 ในล็อตแรก โดยในช่วงเวลาคาบเกี่ยวระหว่างปี 2535-2536 บริษัท โรลส์-รอยซ์ ได้จ่ายค่านายหน้าล่วงหน้า เพื่อให้ดำเนินการให้บริษัท การบินไทยฯ จัดซื้อเครื่องบิน และเครื่องยนต์ในล็อตที่สอง ต่อมาสำนักข่าวอิศราตรวจสอบพบว่า เมื่อปี 2536 บอร์ดการบินไทย มีมติเปลี่ยนให้ใช้เครื่องยนต์ T-875 แทน T-870

    หลังจากนั้นระหว่างปี 2537-2539 บริษัท โรลส์-รอยซ์ จ่ายค่านายหน้าเพิ่มเติมอีกประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อล็อบบี้เจ้าหน้าที่การบินไทย ต่อมาบอร์ดการบินไทย มีมติอนุมัติจัดซื้อเครื่องบิน B777 ให้ใส่เครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่บริษัทการบินไทยรายหนึ่ง ขอให้จ่ายค่านายหน้าเพิ่มอีก เพื่อในไป “จัดการขั้นตอนทางการเมือง” กระทั่งเมื่อปี 2540 คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ มีมติอนุมัติจัดซื้อตามข้อเสนอของการบินไทย

    ก้อนที่สาม ระหว่างปี 2547-2548 วงเงิน 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 254 ล้านบาท
    สำนวนการสอบสวนของ SFO ระบุว่า กรณีนี้เริ่มมีการหารือตั้งแต่ปลายปี 2539 แต่เริ่มดำเนินกาจริงประมาณ 2547 โดยบอร์ดการบินไทย เตรียมจัดซื้อเครื่องบิน B777 และเครื่องยนต์ T-800 พร้อมอะไหล่สำรอง T-800 (สำนักข่าวอิศราตรวจสอบพบว่า ช่วงระหว่างปี 2547 มีนายทนง พิทยะ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานบอร์ดการบินไทย นายกนก อภิรดี ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย)

    ต่อมาในเดือน พ.ย. 2547 บริษัท โรลส์-รอยซ์ ได้จ่ายค่านายหน้าเพิ่มเติม และมีการนัดประชุมระหว่างนายหน้า เจ้าหน้าที่บริษัทการบินไทย และเจ้าหน้าที่จากรัฐบาลไทย กระทั่งปลายเดือน พ.ย. 2547 คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร (2) มีมติอนุมัติจัดซื้อตามข้อเสนอของการบินไทย ต่อมาในเดือน ธ.ค. 2547 มีการนัดกินข้าวกันระหว่างนายหน้า เจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการรายหนึ่ง กระทั่งเดือน ม.ค. 2548-มิ.ย. 2549 บริษัท การบินไทยฯ มีมติจัดซื้ออะไหล่สำรอง และลงมติรับรองการจัดซื้อเครื่องยนต์ T-800 (ดูภาพประกอบ)

    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการระบุรายชื่อว่า ใครเป็นผู้ถูกกล่าวหารับสินบนในคดีนี้แต่อย่างใด

    2.jpg

    http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/53727-infoisranews-53727xxll.html
     
  33. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    การบินไทยเผยบริษัทโรลส์-รอยซ์ ปฏิเสธการให้ข้อมูลจ่ายสินบน โยนป.ป.ช.ดำเนินการ สอบต่อ



    ข่าว 7 สี - เข้มข้นขึ้นมาทุกที สำหรับกรณีสินบนข้ามชาติ หลังมีความเป็นไปได้ที่จะรู้ชื่อผู้พัวพันสินบนฉาวในสัปดาห์นี้ ขณะที่หัวหน้า คสช.เตรียมใช้มาตรา 44 เร่งรัดคดีทุจริตให้เร็วขึ้น ติตตามจากคุณชาดา สมบูรณ์ผล มีรายงาน



    ข่าว 7 สี - หลายฝ่ายกังวลสอบกรณีสินบน โรลส์-รอยซ์ อาจไม่คืบหน้า หลังต่างประเทศไม่เปิดข้อมูล ขณะที่ ป.ป.ช.ยืนยันได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี

    ในเวทีเสวนา "แก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ชาตินี้หรือชาติหน้า" หลายฝ่ายเห็นว่าสังคมต้องช่วยกดดันผู้มีอำนาจให้เอาผิดกับผู้ทุจริตในชาตินี้ให้ได้ เพราะขณะนี้มีความกังวลว่า การตรวจสอบกรณีทุจริต โดยเฉพาะสินบน "โรลส์-รอยซ์" ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่คืบหน้าและอาจเงียบหาย และไม่สามารถเอาผิดใคร เช่นกรณีทุจริตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจ เพราะมีข้อมูลว่าทางอังกฤษอาจไม่ส่งมอบข้อมูล เกรงเกิดการแทรกแซงทางการเมือง

    ขณะที่ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่า สตง.ยืนยันคดีทุจริตต่างๆ มีความคืบหน้าเป็นระยะ ไม่ต้องรอชาติหน้า เช่นกรณีการจัดซื้อเครื่องจีที 200 ที่เตรียมเผยผู้กระทำผิด และร่ำรวยผิดปกติด้วย

    ส่วนกรณีองค์การทหารผ่านศึก ใช้วิธีพิเศษโดยไม่ต้องเปิดประมูลงานขุดลอกคูคลองนั้น ผู้ว่า สตง.ชี้แจงองค์การทหารผ่านศึก มีสิทธิพิเศษเป็นคู่สัญญาและตรวจสอบแล้วไม่พบกรณีทุจริต หรือหักค่าหัวคิวในงานประมูลแต่อย่างใด

    สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบสินบนโรลส์-รอยซ์ของ ป.ป.ช.นั้น นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. และประธานคณะทำงานบอกขณะนี้อยู่ในชั้นการแสวงหาข้อมูล โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในและต่างประเทศเป็นอย่างดี

    ทั้งนี้ได้ประสาน ป.ป.ง. ติดตามเส้นทางทางการเงิน และประสานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ หรือ ศอตช.เพื่อบูรณาการข้อมูลร่วมกัน พร้อมยังเห็นด้วยในการใช้มาตรา 44 เพื่อให้ตรวจสอบการทุจริตได้รวดเร็วขึ้น





    ป.ป.ช.ยอมรับอักษรย่อ “2ก.-1ส.” พัวพันขั้นตอนจัดซื้อเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ รอป.ป.ช.อังกฤษ ให้ส่งข้อมูลผู้ที่รับสินบน

    วันนี้ (6ก.พ.60) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือ ป.ป.ช. เปิดเผยถึงกรณีนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสตง)ระบุข้อมูลชื่ออักษรย่อ 2 ก. กับ 1ส.เกี่ยวพันการรับสินบนโครงการจัดซื้อเครื่องยนต์จากบริษัท โรลส์รอยซ์ จำกัด ปี 2534ว่า เป็นข้อมูลตรงกับที่ ป.ป.ช.ซึ่งเป็นบุคคลที่รับผิดชอบการจัดซื้อเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ ป.ป.ช.ไม่มีข้อมูล พฤติการณ์การหารือในโรงแรมแห่งหนึ่งในวันลอยกระทง

    อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช.มีข้อมูลอยู่พอสมควรแล้ว ขณะนี้กำลังรอข้อมูลจากสำนักงานปราบปรามการฉ้อฉลร้ายแรง (เอสเอฟโอ) ของอังกฤษ ซึ่งยังคาดเดาไม่ได้ว่า เอสเอฟโอจะส่งรายชื่อผู้ได้รับสินบนจากบริษัท โรลส์รอยซ์ ให้ ป.ป.ช.หรือไม่ ซึ่งถ้าหากเอสเอฟโอไม่ส่งข้อมูลรายชื่อผู้รับสินบนมาให้ ก็เป็นหน้าที่ป.ป.ช.ต้องไปสืบหาหลักฐานเองว่า ผู้ใดเป็นผู้เกี่ยวข้องรับสินบน โดยมั่นใจ จะสามารถหาตัวผู้รับสินบนได้ เพื่อนำไปสู่การตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพราะขณะนี้ป.ป.ช.พอมีข้อมูลเชิงลึกส่วนหนึ่งแล้ว

    ทางด้านพล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 7 ก.พ.นี้ ยังไม่มีการเสนอบริษัทโรลส์รอยซ์ให้สินบนเจ้าหน้าที่ไทยเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมข้อมูล เพื่อพิจารณาว่าจะเข้าสู่กระบวนการไต่สวนต่อไปได้หรือไม่ อีกทั้ง การให้ข้อมูลป.ป.ช.ต้องมีความระมัดระวัง ต้องให้แน่ใจ มีการกระทำผิดจริงเสียก่อน เพราะป.ป.ช.ถูกฟ้องคดีจากผู้ที่ถูกกล่าวหามาแล้ว 1 คดี
     
    Last edited: 7 Feb 2017
  34. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    สตง.ตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องบินการบินไทย 6 ลำ มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท ที่จอดรอขายในสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา



    ปัญหาสินบนโรลส์รอยซ์ ยังคงเป็นที่จับตาของหลายฝ่าย จากการตรวจสอบพบตัวละครสำคัญอยู่ 3 ราย ซึ่งทั้งหมดล้วนมีอำนาจในการกำหนดนโยบายจัดซื้อจัดจ้าง ตกเป็นผู้ต้องสงสัยครั้งนี้ ประกอบด้วยบุคคลที่มีอักษรย่อ ก นำหน้า 2 ราย และ ส. 1 ราย แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชี้ชัดได้ว่าทั้ง 3 ราย กระทำการทุจริต

    แม้ล่าสุดจาก สตง.และ ป.ป.ช.จะมีข้อมูลตรงกันว่าปี 2534 ผู้บริหารทั้ง 3 คนเกี่ยวข้องโดยมีการนัดรับประทานอาหารร่วมกับผู้บริหารโรลส์รอยซ์ ที่ภัตาคารของโรงแรมริมแม่น้ำเจ้าพระยาในคืนวันลอยกระทง และ เปิดบ้านพักตากอากาศชายทะเลที่มีชื่อเสียงทางจังหวัดภาคใต้ตอนบนให้ตัวแทนโรลส์รอยซ์เข้าพัก ซึ่งทั้ง 3 คน ล้วนแต่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย และตัดสินใจซื้อ แม้จะต้องขออนุมัติซื้อจากบอร์ดบริหารก่อนส่งให้ที่ประชุม ครม.รับทราบก็ตาม

    แต่จากการตรวจสอบของ สตง.เบื้องต้น ขณะนี้ยังเป็นเพียงแค่สงสัยในพฤติการณ์ จึงยังไม่สามารถแจ้งข้อกล่าวหาได้ เว้นแต่จะได้หลักฐานข้อมูลจาก ป.ป.ช.อังกฤษ และมีหลักฐานเชื่อมโยงเส้นทางการเงิน เพื่อหาคนผิดมาลงโทษ โดยจะใช้กฎหมายฟอกเงินแทนกฎหมายอาญาและแพ่งที่หมดอายุความแล้ว

    แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้ เลขาธิการ ป.ป.ช.มั่นใจว่าจะสามารถตั้งคณะกรรมการไต่สวนเพื่อเอาผิดกับคนที่เกี่ยวข้องได้ แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากกว่านี้ จึงต้องรอข้อมูลจาก ป.ป.ช.อังกฤษก่อน

    สำหรับการจัดซื้อ-จัดจ้างครั้งนี้ เริ่มต้นจากฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและพัฒนาอย่างยั่งยืน เสนอแผนจัดซื้ออุปกรณ์ โดยรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายช่าง จะเป็นผู้ตั้งเรื่องเสนอซื้อและให้ความเห็นในทางเทคนิค จากนั้นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่รับมาดำเนินการ เพื่อบอร์ดบริหารเป็นผู้ตัดสินใจ และส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รายงานให้ ครม.รับทราบ

    ทั้งนี้ ที่ผ่านมาภาครัฐพยายามแก้ไขปัญหาการทุจริต รับสินบน ล่าสุด สนช.ได้ให้ความเห็นชอบ พ.ร.บ.ซื้อจัดจ้าง ฉบับใหม่ไปแล้ว โดยขยายการบังคับใช้จากเดิมเฉพาะส่วนราชการเป็นรวมถึงรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระต่างๆ รวมทั้งยังกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างเหลือเพียงแค่ ประกาศเชิญชวนทั่วไป คัดเลือก และเฉพาะเจาะจง ส่วนผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนไว้กับ "กรมบัญชีกลาง" อีกทั้้งการคัดเลือกให้คำนึงถึง "คุณภาพ" ไม่ใช่พิจารณาแค่ "ราคาต่ำสุด" เท่านั้น ผู้ใดละเว้นจะต้องโทษจำคุก 1-10 ปี และปรับ 20,000-200,000 บาท



    ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ หรือ ศอตช.นัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการตรวจสอบ เป็นครั้งแรก เพื่อติดตามความคืบหน้าคดีสินบนโรลสรอยซ์ ไปทันเหตุการณ์สด คุณนิกร ยิ้มสวัสดิ์ ผู้สื่อข่าวสายการเมือง รายงานมาจากกระทรวงยุติธรรม

    ประเด็นหลัก นอกจากเป็นการรายงานหลักฐานการตรวจสอบที่ได้ของแต่ละหน่วยงานแล้ว อีกด้านยังเป็นการวางทิศทางการทำงาน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะตั้งคณะทำงานชุดเล็กมาประสานเชื่อมโยงข้อมูล

    สำหรับแนวทางการตรวจสอบสินบนโรลส์รอยซ์ จะแบ่งเป็น 2 ส่วนตามข้อมูลจากต่างประเทศ กรณีแรกเกี่ยวข้องกับ การบินไทย ตั้งแต่ปี 2534-2548 จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงินกว่า 1,253 ล้านบาท และ กรณีที่ 2 เกี่ยวข้องกับ ปตท. ระหว่างปี 2546-2555 จำนวน 6 โครงการ เป็นเงินกว่า 385 ล้านบาท

    ซึ่งการประชุมศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ หรือ ศอตช.วันนี้ ถือเป็นครั้งแรกหลังจากนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เข้ามาเป็นประธาน ที่จะหยิบเรื่องนี้มาเป็นวาระสำคัญ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง คณะกรรมการ ป.ป.ช. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ มาบูรณาการข้อมูลที่ได้จากแต่ละหน่วยงาน พร้อมนำรายละเอียดมาศึกษาเป็นแนวทางป้องกัน โดยเฉพาะข้อเสนอมาตรา 44 ของกระทรวงการคลัง ในเรื่องการเว้นโทษทางอาญาผู้ให้สินบนที่รับสารภาพ

    ด้านนายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการ ป.ป.ท.ในฐานะเลขานุการ ศอตช.บอกก่อนการประชุมว่า เรื่องสินบนโรลส์รอยซ์ วันนี้ยังไม่ลงลึกรายละเอียดตัวบุคคล แต่ยืนยัน ศอตช.มีเป้าหมายจะนำตัวคนผิดมาลงโทษให้ได้ พร้อมระบุถึงทิศทางการทำงานจากนี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะตั้งคณะทำงานชุดเล็ก มาเชื่อมโยงข้อมูลให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น

    ขณะเดียวกันอีกประเด็นสำคัญที่ยังเกิดความล่าช้า คือ การประสานข้อมูลจากต่างประเทศ ซึ่งจะโยงพฤติการณ์ผู้กระทำความผิดในแต่ละช่วงเวลา คาดว่าวันนี้จะมีแนวทางที่ชัดเจนออกมา



    มาดูเบื้องลึกของกฎหมายต่อต้านการให้หรือรับสินบนของประเทศอังกฤษ ในคดีสินบนโรลส์รอยซ์ว่าบทลงโทษบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นถึงขั้นไหน

    หลังจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2544 สหรัฐฯ สั่งแก้ไขกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชั่นเพื่อป้องกันเงินทุนตกไปอยู่ในมือผู้ก่อการร้าย ต่อมาอังกฤษได้รับกฎหมายฉบับดังกล่าวของสหรัฐฯมาปรับเปลี่ยนเนื้อหาจนกลายเป็นกฎหมายต่อต้านการให้ หรือรับสินบน แต่มีการเพิ่มเติมเนื้อหาให้รุนแรงขึ้นทำให้กฎหมายฉบับนี้ของอังกฤษ เป็นกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชั่นที่มีบทลงโทษรุนแรงที่สุดในโลกฉบับหนึ่ง

    โดยระบุว่าการติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐของต่างชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือ สิทธิประโยชน์พิเศษถือเป็นความผิดอาญาทั้งคนให้และคนรับ มีบทลงโทษรุนแรงทั้งติดคุก และถูกปรับ เป็นเงินสูงถึง 10 เท่าของผลประโยชน์ที่ได้รับจากสินบน

    อย่างไรก็ตาม หากผู้กระทำผิดยอมรับสารภาพ และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างครบถ้วนสาวไปถึงผู้เกี่ยวข้อง ศาลอังกฤษ อาจลดโทษให้ซึ่งส่วนใหญ่จะลดลงกึ่งหนึ่ง ซึ่งในกรณีของสินบนโรลส์รอยซ์นั้นทางโรลส์รอยซ์รู้ตัวดีว่ากำลังจะถูกไต่สวน จึงได้ยอมเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด รวมทั้งจำนวนเงินและผู้เกี่ยวข้องในอินเดีย ไทย อินโดนีเซีย และ อีกหลายประเทศ จึงเป็นที่มาของการเปิดโปงครั้งนี้



    ข่าว 7 สี - ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ หรือ ศอตช.เตรียมใช้กฎหมายความร่วมมือระหว่างประเทศ เร่งรัดนำหลักฐานสินบนจากทั้งอังกฤษและสหรัฐเพื่อดำเนินคดีผู้ที่เกี่ยวข้อง

    ที่ประชุม ศอตช.ซึ่งมี ป.ป.ช., สตง., ป.ป.ง., ป.ป.ท. และดีเอสไอเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ได้ติดตามความคืบหน้าการตรวจสอบปมสินบนข้ามชาติ โดยจะเพิ่มช่องทางประสานหาข้อมูลจากต่างประเทศ ด้วยการให้อัยการสูงสุดใช้กฎหมายความร่วมมือระหว่างประเทศ ประสานกับหน่วยงานกลางของอังกฤษ และสหรัฐเพื่อขอหลักฐานใช้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้รวดเร็วขึ้น หลัง ป.ป.ช.ประสานกับ ป.ป.ช.อังกฤษ และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐแล้ว

    สำหรับคดีสินบนโรลส์รอยซ์ นั้น ป.ป.ช.รายงานว่าอยู่ในชั้นแสวงหาข้อเท็จจริง ยังไม่สามารถระบุบุคคลได้ แต่กรณีสินบนสายเคเบิลไฟฟ้า และสินบนสุรานั้น ได้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว หากพบตรงกับความผิดตามกฎหมายใดก็สามารถดำเนินการทันที

    ส่วนการสอบสวนกรณีสินบนติดตั้ง cctv ของรัฐสภา คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง พบพิรุธสินบนจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเตรียมขอข้อมูลจากสหรัฐผ่าน ป.ป.ช.เช่นกัน พร้อมเชิญ ป.ป.ช., ป.ป.ง. และ สตง.ร่วมประชุมในสัปดาห์หน้าด้วย
     
    Last edited: 10 Feb 2017
  35. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ยังไม่ชัด
     
  36. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    น่าสนใจ
     
  37. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ข่าว 7 สี - มีความคืบหน้ากรณีการค้นหาผู้อยู่เบื้องหลัง และรับสินบน โรลส์-รอยซ์ แล้ว หลังมีคำยืนยันจากทางอังกฤษ ว่าพร้อมให้ความร่วมมือ ติดตามรายงานของคุณชาดา สมบูรณ์ผล

    ถึงยังไม่ชัดเจนว่าบุคคลที่เป็นไอ้โม่งรับสินบน โรลส์-รอยซ์ เป็นใคร แต่หนทางการตรวจสอบก็ยังพอมีลู่ทาง เพราะอุปทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ได้ยืนยันกลางวงเสวนา "อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในการบินไทย ปตท. และประเทศไทยกรณีสินบน Rolls Royce ภาคบทลงโทษ" ที่จัดโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ประเทศไทย ระบุว่า อังกฤษพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศในการตรวจสอบการทุจริต

    แต่นั่นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ต้องเป็นบทสรุปที่ไม่รุนแรง ไม่นำไปสู่โทษประหารชีวิต เพราะโทษดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับในสากล ดังนั้น หากยังมีกฎหมายนี้ ก็อาจทำให้ขอข้อมูลจาก ป.ป.ช.อังกฤษ และกระทรวงยุติธรรมทำได้ยากขึ้น

    นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. แนะนำว่า นอกจากใช้กฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ป.ป.ช. ยังมีไม้เด็ดอีกอย่างคือ กฎหมาย ป.ป.ช. ฉบับล่าสุดปี 2558 ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช. มากขึ้นด้วย ดังนั้น ป.ป.ช. สามารถตั้งข้อกล่าวหาและเอาผิดผู้ให้สินบนกับโรลส์-รอยซ์ ในประเทศไทยได้

    นอกจากนี้ หากรัฐบาลเร่งบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยเร็วและจริงจัง ประสานกับระดับสากลอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากกว่านี้ ก็เชื่อรายชื่อของคนที่รับสินบน คงไม่ยากเกินกว่าจะค้นหา

    ทีมข่าวการเมือง-ความมั่นคง รายงาน
     
    Alamos และ ชายน้ำ ถูกใจ.
  38. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ขอบคุณครับ
     
  39. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    เสวนา แก้คอร์รัปชัน ชาตินี้หรือชาติหน้า

    ในเวทีเสวนาสาธารณะ "แก้ปัญหาคอร์รัปชัน ชาตินี้หรือชาติหน้า ?" นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโลภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. กล่าวอภิปรายว่า การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ต้องแก้ไขให้ได้ในชาตินี้ ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ก็ต้องทำ พร้อมรายงานความคืบหน้างานที่ สตง.ได้ดำเนินการตรวจสอบ เช่น การจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT 200 สตง. ส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการ เพราะการซื้อขายที่ฉ้อฉลกับต่างประเทศมีความเกี่ยวโยงหลายหน่วยงาน และขณะนี้ได้รวบรวมส่งต่อให้อัยการแล้ว

    ส่วนการตรวจสอบกรณีนำจ่ายสินบนของบริษัทโรลส์-รอยซ์นั้น แม้ต่างประเทศจะยังไม่ส่งรายชื่อผู้เกี่ยวข้องให้ แต่ สตง.กำลังตรวจสอบว่าใครละเลยหรือละเว้นการดำเนินการ จนนำไปสู่การทุจริต หรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ทั้งที่ได้มีการแจ้งเตือนแล้ว เพื่อเอาผิดตามกฎหมายต่อไป

    นอกจากนี้ ยังเชิญชวนให้สังคมร่วมทวงคืนท่อก๊าซธรรมชาติที่ ปตท. ยังส่งคืนไม่ครบถ้วน ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดมูลค่า 3.2 หมื่นล้านบาทด้วย

    สำหรับการป้องกันปัญหาทุจริตในอนาคต หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ จะเปิดโอกาสให้การป้องกันความเสียหายมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะประชุมหารือร่วมกัน หากแจ้งเตือนโครงการใดที่สุ่มเสี่ยงจะนำไปสู่การสร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติ แล้วไม่ปฏิบัติตาม ก็จะสั่งให้ยุติการดำเนินการทันที
     
    Alamos likes this.
  40. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ขอบคุณครับ
     
  41. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    ผมเชื่อว่าจขกท.อยากให้กระทู้นี้ตกไปเร็วๆ

    แต่ดูเหมือนจะยากแล้วละครับ

    จขกท.จุดไฟเผานายตัวเองสำเร็จแล้ว
     
  42. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น และติดสินบน ถือเป็นปัญหาที่บั่นทอนสังคมไทยมายาวนาน และไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จนเกิดกรณีสินบนข้ามชาติล่าสุด ทำให้หลายฝ่ายออกมากระตุ้นให้สังคมตระหนัก และเร่งแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง
     
  43. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ขอบคุณครับ
     
  44. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
  45. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450
    ไอ้มือดี มันจะกลับมาประมวลใหม่ป่าว
     
  46. baboon

    baboon สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    4 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    41
    ใครมีบ้านอยู่ที่ฝรั่งเศสก็คนนั้นละครับ
     
  47. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ขอบคุณครับ
     
  48. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482


    หลังบริษัทโรลส์รอยซ์ ออกมารับสารภาพกับสำนักงานปราบปรามการทุจริตอังกฤษ บราซิล และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐว่า ได้จ่ายสินบนให้คนของรัฐบาลทั้ง 7 ประเทศ เพื่อแลกกับสัญญาซื้อขายเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบิน หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย เราตั้งคำถามว่า เหตุใดบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโรลส์รอยซ์ ที่มีสินค้าที่ดีที่สุดในโลก ยังต้องจ่ายสินบนให้คนของบริษัทการบินไทย และปตท. ไปหาคำตอบเรื่องนี้ในรายการ Nation X Files ตอนสินบนโรลส์รอยซ์...บทเรียนสู่อนาคต



    ป.ป.ช.เร่งติดตามคดีสินบน โรลส์-รอยซ์ เตรียมขอข้อมูลอย่างเป็นทางการจากอังกฤษ ย้ำทำงานเต็มที่

    วันนี้ (27ก.พ.60) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการประสานและเร่งรัดการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศนัดแรกถึงความคืบหน้าการติดตามคดีสินบนข้ามชาติ ว่าขณะนี้ อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ทั้งหมด 12 คดี

    ส่วนคดีสินบนโรลส์-รอยซ์ ขณะนี้ ได้ประสานขอข้อมูลจากต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และบริษัทการบินไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในชั้นของการแสวงหาข้อเท็จจริงหากมีความชัดเจนในความผิดแล้ว ทางอัยการสูงสุด จะประสานขอความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับประเทศอังกฤษต่อไป โดยยืนยันว่าทุกหน่วยงานร่วมมือทำงานเรื่องนี้อย่างเต็มที่

    สำหรับ 12 คดีสินบน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการที่กำลังดำเนินการตรวจสอบ อาทิ คดีบริษัทเจเนอรัล เคเบิล คอร์ปอเรชั่น จ่ายสินบน ToT และการไฟฟ้านครหลวง ติดตั้งสายเคเบิล คดีจัดซื้อเครื่องตรวจวินิจฉัยโรค กระทรวงสาธารณสุข คดีจัดซื้อใบยาสูบจากเอกชนสหรัฐของโรงงานยาสูบ คดีกรมศุลกากร หลีกเลี่ยงภาษีนำเข้ารถหรู คดีทุจริตก่อสร้างสนามฟุตซอล แบงค์กอก อารีน่าของ กรุงเทพมหานคร คดีทุจริตสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ - คลองลาดพร้าว ของกรุงเทพมหานคร



    ป.ป.ช.ตั้งคณะกรรมการบูรณาการข้อมูลเป็นหน่วยงานเดียว เพื่อจัดระบบตรวจสอบและขอข้อมูลจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ ยอมรับขณะนี้ตรวจสอบสินบน "โรลส์-รอยซ์" สะดุด

    คณะกรรมการประสานงาน และเร่งรัดการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศ ซึ่งมี ป.ป.ช.และ 14 หน่วยงานได้ประชุมนัดแรก เพื่อบูรณาการข้อมูลกรณีสินบนข้ามชาติอย่างเป็นระบบ และเป็นเอกภาพ หลัง ป.ป.ช.อังกฤษ และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐปฏิเสธให้ข้อมูลผู้รับสินบน โดยที่ประชุมมีมติให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ประสานข้อมูล และหลักฐานอย่างเป็นทางการ และต้องดำเนินคดีในประเทศแล้วเท่านั้น

    โดยกรณีสินบนการบินไทยนั้นช่วงที่ 1 และ 2 มีข้อมูลเกือบสมบูรณ์แล้ว แต่ต้องวิเคราะห์เพิ่มเติม ว่าเอาผิดได้หรือไม่ ส่วนช่วงที่ 3 ปี 2546-2548 ยังต้องประสานขอข้อมูลจากการบินไทยเพิ่มเติม

    ทั้งนี้ สตง.เปิดเผยกับช่อง 7 สีว่าช่วงเวลาที่ 3 ของการจ่ายสินบนตรงกับการจัดซื้อเครื่องบิน A340-500 4 ลำ และเครื่องอะไหล่ 7 เครื่อง ที่มีปัญหาอาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงเตรียมส่งสำนวนให้ ป.ป.ช.สอบเพิ่มเติม ส่วน ป.ป.ช.ก็พร้อมรับไม้ต่อทันที

    ส่วนการประเมินผลแผนบูรณาการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ประจำปี 2560 นั้นมีการชื่นชม ป.ป.ช. และ ป.ป.ท.หลังทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง มุ่งเน้นเอาคนผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะใน อบต.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ลดการทุจริตได้มาก
     
  49. มือดี จากพระนคร

    มือดี จากพระนคร อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    3 Jun 2016
    คะแนนถูกใจ:
    64
    ตรูว่าแล้ว มันจะออกมามุกแบบนี้ เหมือน จีที 200 ไม้ล้างป่าช้า มิมีผิด


    เจอพวกเดียวกัน ก็สะดุดสิครับ เดี๋ยวก็น้ำท่วมเอกสารหาย เดี๋ยวก็ขาดเจตนา
    เดี๋ยวก็ขาดอายุความ เดี๋ยวก็การไต่สวนคดีนี้ข้างลำบาก เนื่องจากเป็นเรื่องลึกลับ:sick:
     
    hey guys likes this.
  50. Alamos

    Alamos อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    7,052
    ผิดครับ ต้องแก้ข้อความนี้ว่า บอกว่าเหมือนมือด้วน เจอพวกเดียวกัน ก็สะดุด เดียวก็หายตัว เดียวก็แถ เดียวก็หนีไม่ช่วยเพื่อนที่ลำบาก เนื่องจากเป็นเรื่องมือด้วนเห็นแก่ตัว
     

Share This Page