บริษัทมหาชนครอบงำตลาด?

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 21 Mar 2018

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    ความน่าหวาดวิตกประการหนึ่งก็คือ บริษัทมหาชนมีสัดส่วนใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตจะไม่เหลือบริษัทเล็ก ๆ หรือไม่ บริษัทเล็ก ๆ จะรอดหรือไม่
    ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) สำรวจพบว่าในช่วงก่อนปี 2540 บริษัทมหาชนมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1/3 แต่ปัจจุบันมีถึง 4/5 เข้าไปแล้ว แสดงว่าบริษัทมหาชนมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ใช่บริษัทเดียว มีบริษัทมหาชนมากขึ้นตามลำดับ
    ณ สิ้นปี 2560 บริษัทมหาชนและบริษัทในเครือครองส่วนแบ่งตลาดถึง 78% ของมูลค่าการพัฒนา และ 77% ของจำนวนหน่วยขาย แม้ราคาต่อหน่วยของสินค้าของบริษัทมหาชนจะแพงกว่า แต่กว่าไม่ได้แตกต่างกันมากนัก อย่างไรก็ตามบริษัทมหาชนขายได้ดีกว่า กล่าวคือในแต่ละเดือนขายได้ 15.4% ในขณะที่บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ขายได้เฉลี่ยเพียง 8.5% ทั้งนี้สำหรับสินค้าใหม่ในตลาดเป็นสำคัญ
    ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เชื่อว่าสถานการณ์เช่นนี้คงเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว เมื่อสถานการณ์ตลาดดีขึ้น เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น มีกำลังซื้อมากขึ้น พื้นที่ในแทบทุกทำเลก็ย่อมสามารถพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาใหม่ได้ เจ้าของที่ดินในแต่ละพื้นที่ก็อาจกลายเป็นนักพัฒนาที่ดินเอง หรืออาจร่วมทุนกับนักพัฒนาที่ดินเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาใหม่
    ในประเทศเล็ก ๆ เช่นบรูไน ซึ่งมีประชากรเพียง 400,000 คน ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินรายใดที่สามารถผูกขาดหรือครอบงำตลาดได้แต่อย่างใด ดังนั้นในกรณีของประเทศไทย โอกาสที่จะเกิดการผูกขาดจึงไม่น่าจะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีสังหาริมทรัพย์ หรือยี่ห้อสินค้านั้น มีโอกาสที่จะผูกขาดตลาด เช่น ยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ยี่ห้อที่สามารถขายได้ทั่วโลก หรือยี่ห้อน้ำอัดลม เช่น โค้ก มีราคาสูงถึงประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่างบประมาณแผ่นดินไทยที่ 1.8 ล้านล้านบาทเสียอีก ทั้งนี้ถือเป็นมูลค่าของกิจการ (Corporate Goodwill) ซึ่งมีมูลค่าที่สามารถวัดได้จากทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Assets)
    อาจกล่าวได้ว่า บริษัทพัฒนาที่ดินจะประสบความสำเร็จได้นั้นไม่ได้อยู่ที่เป็นบริษัทมหาชนหรือบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งส่วนมากเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แต่อยู่ที่ความเป็น “มืออาชีพ” หรือไม่มากกว่า หากมีความสามารถในลักษณะมืออาชีพ ก็ย่อมจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า
    นอกจากนี้หากวิสาหกิจใด ทำการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ทำสัญญามาตรฐาน ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค และที่สำคัญ มีมาตรการคุ้มครองเงินดาวน์แก่ผู้บริโภค ผู้บริโภคย่อมวางใจและซื้อสินค้าของบริษัทนั้น ๆ เอง การสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค จึงเป็นอาวุธสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจพัฒนาที่ดินในประเทศไทย
    ความเป็นมืออาชีพสำคัญกว่าขนาด

    ที่มา: https://goo.gl/ikskPC
     

Share This Page