โผล่เข้ามาเกรียนอีก ด่าอีก กับพวกเกรียน มั่ว กวน ไม่เคยถกแย้งในเนื้อหา เอาแต่โพสต์เสียดสี ถากถาง มั่ว เกรียน ต้องด่ามันหนัก ๆ โดนแจ้งลบ โดนแบน ก็สมัครใหม่ ไม่เสียตังค์ เอาสักพันล็อคอินก็ได้ สุดคุ้ม เข้ามาเลย หล่อจะด่าให้หาทางกลับบ้านไม่เจอ ....................................... พักนี้เห็นขี้เมาเพี้ยนหนัก ดูมันไปขำๆ
แนวคิดในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองในกรุงเทพมหานครเริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เช่นเดียวกับการศึกษาของ บริษัทลิตช์ฟีลด์และองค์การบริหารการบินพลเรือนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่สองในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลจึงได้เริ่มเวนคืนและจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานกว่า 14 ปี ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ตำบลบางโฉลง และตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่ที่เวนคืนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ทำให้หมู่บ้านหายไปกว่า 7 หมู่ครึ่ง โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินให้ครอบครัวละ 800,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนย้ายศาสนสถาน 1 แห่ง และโรงเรียนอีก 3 แห่งไปสร้างบริเวณใหม่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ให้สัมปทานแก่ บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้างก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี พ.ศ. 2516 จนสัมปทานถูกยกเลิก ต่อมา รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาแทมส์เพื่อศึกษาพื้นที่ในการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ จนเมื่อ พ.ศ. 2521 ก็ได้ข้อสรุปตามเดิมว่าหนองงูเห่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดปี 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีก่อสร้างท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 ที่บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ (เป็นรัฐบาลของ "คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)" โดยมี พณ.ท่าน อานันท์ ปัณยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี (2 มีนาคม 2534 ถึง 7 เมษายน 2535)หลังจากความไม่แน่นอนมานานหลายทศวรรษ ในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการจัดตั้งบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (NBIA) ขึ้น เนื่องมาจากความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญ ได้แก่ วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 การก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยก่อนหน้านั้นได้มีการปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2540-2544) และต่อมา ในปี พ.ศ. 2548 ผู้อำนวยการก่อสร้างและการจัดการถูกโอนให้กับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ถูกปิดตัวลง สรุปว่าไอ้แม้วไม่เกี่ยวเพราะมาสร้างสมัยมันพอดี
พ.ศ. 2534 รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้าง ท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่สอง ณ บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) เป็นผู้ดำเนินการ ฉะนั้น ไม่ใช่ แม้ว เป็นคนสร้าง โปรดรับพิจารณาด้วย
พูดถึงชื่อนักการเมืองมาเป็นชื่อสถานที่เนี่ย อินดอร์ สเตเดี้ยม ที่หัวหมาก ตอนสร้างเสร็จใหม่ๆ เพื่อรองรับกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2509 ใช้ชื่อว่า สถานกีฬากิตติขจร แล้วก็เปลี่ยนมาใช้ อินดอร์ สเตเดี้ยม เมื่อปีไหนก็ไม่ทราบได้ ชื่อและนามสกุลคนในชื่อสถานที่ต่างๆ ส่วนมากตั้งให้เพื่อเป็นเกียรติ เพื่อเชิดชูบุคคลสำคัญในวาระพิเศษ หรือตั้งเพราะว่าเป็นคนริเริ่มให้สร้าง หรือออกเงินสร้างทั้งหมด(หรืองบประมาณส่วนใหญ่ที่เป็นเงินของเขา) อย่างพวกตึกโรงพยาบาล, กุฏิสงฆ์ อะไรแบบนี้ แล้วชื่อนี้จะติดอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน เพราะคนจะเรียกชื่อกัน แต่ถ้าไม่ได้เป็นต้นคิด ไม่ได้ออกเงินสร้าง แถมเจ้าของชื่อ นามสกุล ประวัติด่างพร้อยล่ะ ...