ทำไมคนกรุงเทพเลือก ประชาธิปัตย์ มากกว่า พรรคอื่นครับ

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Judge truth., 12 Jan 2015

  1. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    7. Mathematical Mysteries: The Beauty and Magic of Numbers

    เขียนโดย Calvin C. Clawson หนังสือเกี่ยวกับเสน่ห์และความมหัศจรรย์ในตัวเลข หนังสือคณิตศาสตร์อีกเล่ม

    ที่นายกรัฐมนตรีชื่นชอบ
     
    AlbertEinsteins likes this.
  2. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    8.The Pig That Wants to be Eaten: And Ninety Nine Other Thought Experiments

    โดย Julian Baggini

    หนังสือแนวปรัชญา ที่ใช้เรื่องราวสั้นๆ จำนวน 100 เรื่อง เชื้อเชิญให้ผู้อ่านคิดตามและหาคำตอบ
     
  3. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    9.The Undercover Economist

    โดย Tim Harford แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “นักสืบเศรษฐศาสตร์” โดย อรนุช อนุศักดิ์เสถียร

    หนังสือที่ผู้เขียนนำผู้อ่านไปสืบค้นหลายๆเรื่องที่เรามองข้าม โดยใช้วิธีการทางเศรษฐศาสตร์ เช่น

    เรื่องราวของกาแฟเพียงถ้วยเดียว แต่อธิบายได้ตั้งแต่เรื่องการเลือกทำเล ไปจนถึงเศรษฐกิจโลก

    หรือเรื่องราวการพัฒนาประเทศ
     
    AlbertEinsteins likes this.
  4. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    10.The British Polity

    โดย Philip Norton หนังสือซึ่งบอกเรื่องราวของการเมืองและรัฐบาลอังกฤษ
     
  5. prathaya

    prathaya อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    4 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    507
    เพราะพรรคอื่นมันห่วย ไม่ก็เลือกพรรคอื่นไปก็เท่านั้น คนในสภาก็ไม่พอ แล้วก็เข้าสู่วงโคจรพร้อมเกี๊ยะเซี๊ยะกะพรรคอิทธิพล แล้วก็ช่วยกันทุจริต ผลาญงบ ตรวจสอบไม่ได้
    คนกรุง ตะวันออก เว้นชลที่มีพรรคถิ่น เค้าเลือก ปชป.เพื่อบ้านเมือง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมาก่อน
    มีบางส่วนก็เลือกเพราะรักพรรคเก่าแก่ บุคลากรมีคุณภาพ ไว้ใจได้ก็มี
    ส่วนภาคอื่นไม่แน่ใจ
     
    phoebus และ padd ถูกใจ.
  6. Judge truth.

    Judge truth. สมาชิกใหม่

    สมัคร:
    12 Jan 2015
    คะแนนถูกใจ:
    4
    ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ

    ผมสนใจข้อมูลของ คุณ hey guys ในยุคที่ประชาธิปัตย์ มีบทบาทเป็นรัฐบาลครับ เนื่องจากหลังจากช่วงดังกล่าว พรรคประชาธิปัตย์โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 17 ธันวาคม 2551 จวบจนมีการตัดสินใจยุบสภาของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 นั้น คะแนนเสียงของ พรรคในกรุงเทพก็สูงขึ้นเรื่อยๆ ครับ จนค่อยๆถูกตีตื้น 100000- 200000 เสียง แต่ต้องถือว่า ชาวกรุงยังคงให้ความไว้วางใจพรรค ตามที่เคยให้ข้อมูลไว้ครับ

    จึงสนใจอภิปราย กับคุณ hey guys ในเรื่องนี้ว่า ขณะที่ ประชาธิปัตย์ อยู่ในรัฐบาล มีโครงการ นโยบาย หรือ เหตุใดที่ทำให้ครองใจคนกรุงเรื่อยมาจน ปัจจุบันครับ

    ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  7. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    นโยบายก็คือนโยบาย โครงการก็คือประกาศไว้ล่วงหน้า
    ก็มีเท่านั้น จะให้ทำอะไรนอกเหนือ
    ถ้าไม่ใช่น้ำท่วม ก่อการร้าย สงคราม
    อ่อ ไอ้ที่ว่าคะแนนเสียงสูงขึ้น ลดลง ก็ไม่เห็น ว่าจะถึงผิดสังเกตุ
    ก็มีจริงๆอยู่ประมาณๆเนี้ยแต่ไหนแต่ไร
    คุณจะว่ามันสูงขึ้นอะไรของคุณก็ว่าไป ไม่อยากขัดใจ
    เออถ้าเป็นลิเวอร์พูลก็ว่าไปอย่าง
    ไอ้เรื่องเลือกตั้งนี่มันก็มีทฤษฏีต่างหากของมันอีกนะแล้วแต่สำนักคิด
    หมายถึงตรงนี้หรือเปล่า ที่เรียกว่าเหตุผลครองใจ
    ถ้าใช่ มันไม่ยาก เตรียมพูดถึงอยู่แล้ว
    แต่รอก่อน ตอบตามหัวข้อกระทู้จบแล้วจะบอก
    ที่ว่าใครเลือกเพราะนโยบายก็ดีอยู่ละมั้ง ตามใจแร
     
    Gop likes this.
  8. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ขอสอดแทรกนิดหน่อยก่อน
    บอกไปแล้วนะข้างต้น
    บอกอีกที สงสัยไม่เห็น
    แต่ก็หลายท่านนะพูดเหมือนผมนี่แหละ
    พรรคการเมืองนะไม่ต้องมาทำอะไรให้คนกรุงเทพฯร้อก
    สอดมายุ่งมากๆเดี๊ยะมึ้ง
     
  9. maya

    maya อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    14 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    447
    ข้อมูลยาวไปไม่อ่าน
     
    padd และ hey guys ถูกใจ.
  10. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ผมก็ยังคิดว่านี่ยังน้อยไป เห็นยังขอนโยบาย โครงการอยู่
    แหม่ไอ้ ประเภท หมื่นห้า ก็ไม่มีซะนี่
     
    padd และ maya ถูกใจ.
  11. maya

    maya อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    14 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    447
    น่าจะไม่ได้อ่าน
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
     
    hey guys likes this.
  12. Judge truth.

    Judge truth. สมาชิกใหม่

    สมัคร:
    12 Jan 2015
    คะแนนถูกใจ:
    4
    จริงๆ เข้าใจครับว่า มีหลายเหตุผลทางอารมณ์ ที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ แต่แปลกผมหาข้อมูลในเรื่องของเหตุผลได้น้อยมากครับ
    นโยบาย และ สิ่งที่พรรคทำสำเร็จ ลุล่วง น่าจะเป็น หลักฐานสนับสนุนของเหตุผล ที่ทำให้คนกรุงเลือกตัวแทนของเค้า บ้างไม่มากก็น้อยครับ

    จาก ความคิดเห็นของ คุณ hey guys " พรรคการเมืองนะไม่ต้องมาทำอะไรให้คนกรุงเทพฯร้อก " นั้นน่าเชื่อถือครึ่งเดียวครับ คือ ด้านอารมณ์ รักเลยเลือก ชอบเลยเลือก สวยเลยเลือก ขาวเลยเลือก นั้นเป็นเหตุผลทางอารมณ์ครับ

    แต่อีกด้านหนึ่งเลือกตัวแทนด้วยเหตุผล เลือกเพราะ ผู้แทนของผม ผลักดันเรื่องระบบการจราจรสำเร็จ บ้านผมรถติดน้อยลงมาก เลือกเพราะ ปลอดภัยมากขึ้นจาก ไฟฟ้า ส่องสว่าง และ CCTV จากที่มีขโมยบ่อยๆ ตอนนี้มีน้อยมากลที่ เลือกเพราะ ผู้แทนของผมพยายามผลักดัน สายรถไฟฟ้าสีนี้ตัดผ่านบ้าน หรืออีกร้อยเหตุผลครับ ชาวกรุงเทพน่าจะเจอกับตัวบ้างครับ ผู้แทนที่ท่านเลือกนั้น ทำอะไรให้เค้าบ้างครับ

    ขออภัยคุณ hey guys หากทำให้ขุ่นเคืองใจนะครับ
     
    hey guys likes this.
  13. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    อันนี้ออกแนวลดลงอย่างเดียวครัชชชช
    อิอิอิ
     
    hey guys likes this.
  14. TheGreatBeyond

    TheGreatBeyond อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    14 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    294

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ไม่รู้มาก่อนนะเนี่ย
    ผมเด็กใหม่ ตาสว่าง วาบวาบเลย
     
    hey guys likes this.
  15. Wisary

    Wisary อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    15 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    263
    ปรี๊ดดดดดดดดดดด a35009973f1ebbcb09bd8e3bb7f2b0b7.jpg
     
    hey guys และ AlbertEinsteins ถูกใจ.
  16. tonythebest

    tonythebest อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,730
    เหตุผลของผมง่ายดายที่สุดครับ

    อันแรก ผมไม่เอาระบอบทักษิณแน่ๆ ดังนั้น พรรคหมูหมากาไก่อะไรก็ได้ ที่เป็นตัวเลือก ผมก็จะมองทันที
    อันต่อไป พรรคที่เหลือ เว้นประชาธิปัตย์ มีใครบ้างที่พอจะเป็นตัวเลือกที่จะต่อกรกับระบอบทักษิณ

    สส ตอนนี้พรรคเคยใหญ่ต่างๆ ก็หดตัวไปเท่าขี้ตาแมว ไม่เหลือตัวเลือกอะไรอีก
    มีแค่ 2 พรรคใหญ่เท่านั้น ที่จะสามารถแข่งกันได้จริง

    ผู้ว่า เว้นจาก 2 พรรคใหญ่ จะมีใครได้อีกบ้าง
    เจ้าแม่มั๊ย หรือดอกเตอร์โสมม หรือใครดีล่ะ ผมไม่เห้นตัวเลือกอื่นอีกเลยตนับ

    ดังนั้น ผู้ว่าคุณชายหมู จะมีผลงานหรือไม่อย่างไร
    ผมไม่สนเท่าไหร่ หากท่านทำดีด้วยแล้ว ผมก็ดีใจด้วย
    หากไม่ แค่ไม่ให้พรรคเพื่อไทยมีที่ยืนแบบกร่างๆ ใน กทม ผมก็ดีใจแล้ว
     
    kokkai, maya, por และอีก 2 คน ถูกใจ
  17. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    อ่อ ไม่ขุ่นใจเลยครับ แบบท่านประยุทธพูด เนี่ยยังเงียะไมได้โกร๊ธ
    อ่อ เหตุผลยังน้อยอยู่อีกเหรอครับ ไม่น้อยใจนะครับ ผมยังไม่จบ
    เท่าที่เข้าใจก็ มีเรื่องนโยบาย เหตุผล
    ก็มีเยอะนี่ แต่คงยังไม่ใช่ที่คุณอยากได้ ก็ประชาธิปไตยดีแล้วนี่นา
    ไม่รู้คุณถามสมาชิกหรือคุณถามตัวเอง
    ไม่เป็นไรผมจะหาข้อมูลไปเรื่อย ถ้าขี้เกียจก็ได่แต่นอน ถ้าขยันก็ได้งาน
    ขยันดีกว่าเนาะ
    อย่าลืมว่าผมยังไม่จบ ที่คุณถามในโพสแรก

    บอกก่อน เลือกตั้งนะอย่าลืมนะ มันมากับประชาธิปไตย เอาประชาธิปไตยเป็นหลักยึด จะแน่นหนากว่านโยบายนะ
    แหม่ หูจะแตกเพราะเสียงประชาธิปไตยเนี่ย ไม่รู้ร้องหากันที่ไหน
    มันอยู่กับตัวเองแท้ ตะโกนใส่หัว ใส่หูตัวเองมั่งเฮอะ
     
    maya, Redbuffalo010 และ padd ถูกใจ
  18. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    ถ้าเลือกตัวแทนด้วยเหตุผล พรรคประชาธิปัตย์คงมีเสียงเกินครึ่งของสภา
    เพียงแต่พรรคนี้เขาไม่ค่อยคุยโตโอ้อวดเรื่องผลงานหรือขโมยผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง หรือโกหกเพื่อให้ได้คะแนนเสียง หรือออกนโยบายทำลายชาติเพื่อคะแนนเสียง แถมดันอ่อนในด้านการประชาสัมพันธ์

    แต่การเลือกตัวแทนที่ผ่านมามักเลือกด้วยอารมณ์กะปัจจัย
    เลือกโดยเชื่อคำโกหก คำลวง มากกว่าจะค้นหาความจริง
    เลือกโดยม่านสีเทาสีม่วง เลือกโดยเกรงใจเกรงกลัวอิทธิพล
    เลือกโดยเชื่อว่าจะมีอัศวินควายแดงรวยแล้วไม่โกง

    ประเทศวางรากฐานความเจริญมาในยุคพลเอกเปรมที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำร่วมรัฐบาล

    ประเทศพ้นเหวจากการล้มละลายในยุคท่านจิ๋วที่มีนักโทษหนีคดีหนีคุกทักษิณร่วมคณะ และตั้งลำได้ในยุคท่านชวน ก่อนโดนเคลมผลงานใช้หนี้ไอเอ็มเอฟโดยนักโทษหนีคดีหนีคุกทักษิณ

    ประเทศเดินหน้าเต็มกำลังได้ดีจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ด้วยฝีมือของเด็กสองคน
    ท่านอภิสิทธิและคุณกร แต่ต้องเสียโอกาสจากความแค้นทำลายประเทศของนักโทษหนีคดีหนีคุกทักษิณที่อยากกลับบ้านเท่ห์ๆ จนเราได้นายกโง่ๆที่เอาอยู่ น้ำท่วมประเทศไปครึ่งประเทศ เอาเงินไปจมและโกงกับจำนำข้าวร่วมล้านล้านบาท

    ประวัติศาสตร์ไม่เคยโกหก สืบค้นได้
    ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย

    เพราะคนไทยส่วนมากเรายังเชื่อแบบงมงาย ใช้อารมณ์ความรู้สึกอยู่เหนือเหตุผล
    ลืมง่าย ลืมเร็ว ชอบสิ่งฉาบฉวย
    ไม่คิดไตร่ตรอง ชอบโฆษณาชวนเชื่อ
    ชอบคนรวยเพราะคนรวยทำอะไรก็ถูกแม้จะไปโกงประเทศชาติ
    จึงเป็นแบบนี้

    คุณภาพของผู้แทน ดูได้จากคุณภาพประชากรในประเทศ
    ประชากรส่วนมากเป็นแบบไหน ผู้แทนส่วนมากก็เป็นแบบนั้น
     
    Last edited: 13 Jan 2015
    ปางนู, Gop, bookmarks และอีก 6 คน ถูกใจ
  19. KKKKK

    KKKKK สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    27 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    163
    ผมคนกรุงเทพโดยกำเนิด

    ผมเลือกประชาธิปัตย์ เพราะจะเอาไปค้านพรรคชินวัตร

    ไม่มีอะไรไปมากกว่านั้นครับ
     
    kokkai, bookmarks, maya และอีก 5 คน ถูกใจ
  20. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ง่ายๆแบบนี้แหละประชาธิปไตย
     
    bookmarks, maya และ padd ถูกใจ
  21. padd

    padd อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    14 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,139
    เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิด (แม่อยากให้ลูกเป็นคนกรุงเทพฯ ก็เลยไปคลอดที่กรุงเทพฯ :rofl: ) แต่โตที่ต่างจังหวัด ก็เลือกประชาธิปัตย์เหมือนกันค่ะ ด้วยเหตุผลต่างๆกันไป
    บางครั้งตัวผู้สมัครน่าเกลียดจนเลือกไม่ลง ก็เลือกพรรคอื่นก็มีค่ะ แต่ถึงจะน่าเกลียดยังไง ถ้ามีตระกูลชั่ว ก็จะเลือกประชาธิปัตย์ค่ะ
    เพราะระบบพรรคของประชาธิปัตย์ค่อนข้างแข็งแรงกว่าพรรคที่มีเจ้าของเพียงตระกูลเดียวแบบบริษัทเอกชน ซึ่งวิสัยทัศน์ในการทำงานเพื่อชาติมันต่างกันลิบ
     
    kokkai, maya, Bayonet และอีก 1 คน ถูกใจ.
  22. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
     
  23. Bayonet

    Bayonet อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,804
    สำหรับผม พรรคที่ดี ผู้นำที่ดี ต้องให้ความสำคัญ 3 เรื่องหลักนี้ โดยที่สำคัญที่สุดคือ พัฒนาบุคคล ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิตและทักษะความรู้

    มองย้อนกลับไป 10 กว่าปีที่ผ่านมา ที่พรรคสมุนบริวารแม้วสับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลร่วม 3-4 สมัย ลองนับกฏหมายด้านสวัสดิการสังคม+พััฒนาคุณภาพชีวิต+พัฒนาศักยภาพของพลเมือง ที่คลอดผ่านสภาออกมามีกี่ฉบับ??? ทั้ง ๆ ที่มีเสียงเด็ดขาดถล่มทลาย แบบยกมือกี่ครั้งก็ชนะโหวต ขาดประชุมไป 60-70 คน ยังผ่านกฏหมายได้สบายมาก

    นอกจากแม้ว+สมุนจะไม่สนใจด้านพัฒนามนุษย์และคุณภาพชีวิตแล้ว ยังละเลยในการปฏิบัติและส่งเสริมกฏหมายด้านนี้ที่พรรคอื่นทำไว้ซะอีก ตัวอย่างประกันสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่งปิดการลงทะเบียนไปไม่กี่วันที่ผ่านมานั่นไง กฏหมายผ่านตั้งแต่ปี 53-54 เริ่มให้ลงทะเบียนปี 55 ที่ผ่านมามันให้ความสนใจ จัดสรรงบประมาณแค่ไหน? ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบมากน้อยเพียงใด ช่อง 11 ทีวีกรมประชาสัมพันธ์เอาเวลาไปอวยรัฐบาลไปวัน ๆ จนมีแต่รายการไร้สาระไปหมด
    เอา รมว. กากขยะสวะสถุน เปลี่ยนหน้ามานั่งคุมรวมทั้งไอ้เปรตเหลิม


    ส่วนสำหรับคุณชายเอาแค่ตัวอย่างง่าย ๆ ตอนน้ำจะเข้าท่วมกรุงเทพฯ ปี 54 นักข่าวถามอะไรตอบได้หมด ประตูน้ำตรงไหนมีปัญหา พื้นที่ตรงไหนเป็นจุดอ่อน จุดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง สถานการณ์ปริมาณน้ำ+ความแรงน้ำ วันต่อวัน ตอบได้หมด ในขณะที่ฟากรัฐบาลนังโง่ ถามห่าไรก็ไม่รู้ตอบแต่ บูรณาการบ้าบอน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง หาเนื้อหาสาระไม่ได้เลย มีคนตอบได้อยู่ 2 คน คือ ผู้อำนวยการโครงการอวกาศ (แต่ดันมาคุมน้ำท่วม) กับ ด๊อกรอย่นที่พล่ามแต่ศัพท์วิชาการที่คนฟังไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าจะให้ประชาชนตรียมรับมือยังไง เพราะไม่มีอำนาจสั่งการ ส่วนคนที่มีอำนาจสั่งการก็โง่เขลาปัญญาอ่อนติดอันดับผู้นำที่โง่ที่สุดในโลก ไอ้ที่มีอำนาจถัดมาก็ไอ้ปอดศพที่สวะสถุนที่เอาแต่เห่า+สำราก+โยนความผิดให้คนอื่นไปวัน ๆ ทั้งที่ตัวมันมีอำนาจสั่งการสูงสุด สุดท้ายเลยฉิบหายกันไปทั้งประเทศ
     
    ปางนู, Gop, AlbertEinsteins และอีก 5 คน ถูกใจ
  24. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    สัมภาษณ์พิเศษ/“ชวน หลีกภัย”หนุน “คนดี”อย่าหันหลังให้ “การเมือง”

    “ สำหรับผมนั้นไม่เห็นด้วย ว่าคนดีจะหนีจากวงการการเมือง คนดีที่ขี้ขลาดและไม่กล้าต่างหากที่ไม่อยากจะเข้ามาในวงการทางการเมือง คนดีที่กล้าจะเข้ามาเป็นนักการเมืองก็ยังคงมีอยู่”

    หมายเหตุ - การเมืองตลอดปี 2558 จะเต็มไปด้วยความเข้มข้น ทั้งกระแสที่เกิดจากการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน โดยแม่น้ำสายที่ชื่อ “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” หรือสปช. ขณะที่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แม่น้ำอีก 1 สายกำลังเข้าสู่โหมดที่เริ่มจะเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนมากขึ้น

    ทั้งนี้ท่ามกลางห้วงเวลาที่สำคัญทางการเมืองเช่นนี้ “สยามรัฐ” ได้รับเกียรติจาก “ชวน หลีกภัย” ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในการสัมภาษณ์พิเศษ ในฐานะผู้ซึ่งมีความสำคัญต่อพรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองใหญ่ที่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางการเมืองในรอบนี้ ทั้งในบริบทของการปฏิรูป ไปจนถึงการใช้กฎกติกาใหม่ เมื่อรัฐธรรมนูญถูกร่างออกมาเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

     
  25. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    - ในช่วงเวลาที่การเมืองไทยหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา คิดว่าบริบทของพรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลามากน้อยแค่ไหน

    สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ก็ความเปลี่ยนแปลงมาตลอดตามยุคสมัย ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงและหยุดนิ่งอยู่กับที่ พรรคก็คงไปไม่รอด หากลองสังเกตดูจะพบว่าพรรคการเมืองอื่นๆที่ตั้งมาในเวลาเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ ทำไมพรรคเหล่านั้นถึงไม่ได้อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งที่แสดงว่าทางพรรคนั้นได้มีการปรับปรุงให้มีความเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับและสอดคล้องสถานการณ์ของบ้านเมืองในแต่ละสมัย


    แต่อย่างไรก็ตามทางพรรคประชาธิปัตย์นั้นก็ยังคงยึดหลักสำคัญไว้อยู่ก็คือต้องแก้ปัญหาให้ประชาชน ยึดหลักในระบอบประชาธิปไตยและแสดงจุดยืนชัดเจนว่าจะปฏิเสธล้มล้างการทุจริต ไม่ใช่ว่าพรรคอื่นๆโกงกัน พรรคประชาธิปัตย์ก็โกงด้วยเพื่อจะได้มีเงินมาซื้อเสียง ตรงนี้ไม่ใช่แนวทางของพรรคอย่างแน่นอน

    ในสมัยที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็ได้มีส่งเสริมให้เกิดหลักธรรมาภิบาล หลักความถูกต้องขึ้น และพอเวลาล่วงมาจนถึงที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น หลักเหล่านี้ก็ความก้าวหน้าไปมากกว่าในสมัยที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอันมาก

    ในแวดวงการเมืองนั้น เวลาเราจะคิดอะไรนั้น ไม่ใช่ว่าจะได้แบบนั้นไปเสียทั้งหมด ต้องอยู่กับคนหมู่มาก แต่ละคนก็มีความคิดเป็นของตัวเอง อดีต ส.ส.ของพรรคนั้น แต่ละคนก็ถือได้ว่ามีความรู้ความสามารถมาก มิฉะนั้นก็คงจะไม่ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นการจะทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีเหตุมีผล ก็ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดี ที่ผมเรียนเรื่องนี้มาก็เพราะว่าบางทีบุคคลนอกพรรคนั้นอาจจะมองไม่เห็น และวิจารณ์ไปว่าทำไมพรรคถึงไม่เอาคนนั้นหรือคนนี้มาเข้าร่วมพรรค

    ที่ผ่านมานั้นผมเคยทาบทามคนหลายคนที่มองว่าเป็นคนดีมีความสามารถให้มาร่วมทำงานกับพรรค แม้แต่นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. หรือ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด ผมก็เคยทาบทามให้มาเล่นการเมือง แต่ต้องยอมรับว่างานการเมืองนั้น ผู้ที่จะเข้ามาทำต้องมีความต่อเนื่อง เราไม่ได้เป็นรัฐบาลไปตลอดชีวิต วันหนึ่งเมื่อต้องเป็นฝ่ายค้านเราก็ต้องเป็นให้ได้ด้วย ไม่ใช่ว่ารอเวลาแค่เป็นรัฐบาลอย่างเดียว เพราะฉะนั้นการจะพิจารณาบุคคลที่จะเข้ามาในพรรคนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าหากเราทางพรรคได้คนที่พร้อมจะสู้แม้ว่าในยามที่พรรคต้องมาเป็นฝ่ายค้าน พรรคก็จะทำงานได้อย่างดี และผมคิดว่าตรงจุดนี้เป็นจุดดึงดูดพรรคประชาธิปัตย์

    แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ก็อาจจะไม่ถูกใจคนที่นอกพรรค ซึ่งผมคิดว่าก็เป็นเรื่องธรรมดา ในฐานะผมที่ทำงานใกล้ชิดกับทั้งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคผมก็เชื่อว่าพวกเขาได้พยายามปรับปรุงพรรคให้มีความทันสมัย กับเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และผมก็เชื่อว่าผู้บริหารพรรคเหล่านี้ก็คงจะไม่ได้ล้าหลังไปกว่าคนนอกพรรคอย่างแน่นอน

    -พรรคประชาธิปัตย์จะมีการเตรียมตัวอย่างไร กับการปฏิรูปการเมืองในอนาคต

    จริงๆเรื่องนี้ทางหัวหน้าพรรค คุณอภิสิทธ์ก็ได้มีการชี้แจงให้ทราบอยู่แล้ว แต่ว่าเนื่องจากยังมีกฎห้ามไม่ให้พรรคการเมืองประชุมพรรคอยู่จึงไม่ได้มีการเรียกสมาชิกพรรคมาพบปะหารือกัน แต่โดยส่วนตัวเท่าที่ได้มีการติดตามนั้นก็พบว่าทั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคก็ไม่ได้ละทิ้งตรงนี้แต่ประการใด มีการเชิญข้าราชการจากหน่วยงานต่างๆให้มาอธิบายแนวทางอยู่เป็นระยะ

    เมื่อเดือนที่ผ่านมาก็มีการเชิญสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาให้ข้อมูล ซึ่งผมก็มีโอกาสได้เรียนกับรองเลขาสภาพัฒน์ ถึงปัญหาว่าถนนในภาคใต้นั้นไม่ได้รับการอนุมัติดูแลงบมา 10 กว่าปีแล้ว นับตั้งแต่ในสมัยที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถ้าหากข้าราชการคนไหนจัดงบให้ก็จะถูกย้ายไป และหลังจากนั้นไม่นาน คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาสภาพัฒน์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ(รมช.)กระทรวงคมนาคมด้วย ก็ได้ลงไปดูแลในส่วนนี้ทันที ซึ่งผมก็ชื่นชมว่าถ้าหากนักการเมืองที่มาจากการแต่งตั้งทำแบบนี้ ก็จะได้มองเห็นปัญหาของประชาชนบ้าง เพราะส่วนใหญ่ที่มาจากการแต่งตั้งกันนั้นก็จะไม่รับรู้ว่าชาวบ้านจะอยู่อย่างไร ซึ่งการที่ รมช.ลงพื้นที่แบบนี้ ถือว่านี่คือนิมิตรหมายที่ดี

    อย่างไรก็ตามก็หวังว่าแผนที่ทางรัฐบาลและ คสช.ได้เตรียมไว้ว่าจะทำนั้น ก็คงจะได้เป็นไปตามนั้น พูดง่ายๆก็คือหวังว่าจะมีความชัดเจนว่าจะคืนประชาธิปไตยเมื่อไรและระบบประชาธิปไตยคงจะได้มีความมั่นคงต่อไปในวันข้างหน้า

    -ในปัจจุบันนั้นภาพพจน์ของนักการเมืองดูไม่ค่อยดีในสังคม จนทำให้คนดีเลือกที่จะถอยห่างจากวงการการเมือง คิดว่าในอนาคตผู้ที่อยากจะเข้ามาในวงการการเมืองควรจะมีคุณลักษณะอย่างไร

    สำหรับผมนั้นไม่เห็นด้วยว่าคนดีจะหนีจากวงการการเมือง คนดีที่ขี้ขลาดและไม่กล้าต่างหากที่ไม่อยากจะเข้ามาในวงการทางการเมือง คนดีที่กล้าจะเข้ามาเป็นนักการเมืองก็ยังคงมีอยู่ แต่ผู้ที่จะเข้ามาเล่นการเมือง มากอบโกย ฉวยโอกาสจนทำให้ภาพพจน์นักการเมืองเสีย อันนี้ก็มีจริงเช่นกัน ดังนั้นเราก็จะต้องดูถึงคนดีๆที่จะตั้งใจจริงว่าจะทำงานให้ประเทศชาติ คนที่จะมาเล่นการเมืองนั้นก็ไม่ใช่ง่าย อนาคตคงจะหมดหากแพ้เลือกตั้ง สำหรับคนที่มีลักษณะพอดีพอร้ายก็คงไปหาตำแหน่งอื่น และหาจังหวะเข้ามาเป็นนักฉวยโอกาสมากกว่า

    ดังนั้นผมขอปกป้องคนที่ยอมแลกชีวิตเป็นนักการเมือง ซึ่งไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แทนที่จะเลือกตำแหน่งเดิมที่ควรจะเป็นก่อนจะมาเป็นนักการเมือง หลายๆคนที่ผมเห็นเป็นนักการเมืองนั้น ถ้าหากไปรับราชการก็คงจะมีตำแหน่งใหญ่โต แต่ก็เลือกที่จะลาออกมาเป็นนักการเมืองแทน ขอยกตัวอย่างเช่น คุณอภิสิทธ์ ที่ตั้งใจจะมาเรียนเป็นนักการเมืองโดยเฉพาะเลย หรือผมที่มีทางเลือกจะเป็นผู้พิพากษา แต่ก็เลือกจะมาเป็นนักการเมืองแทน ซึ่งขณะนั้นก็ถือว่าคิดสั้น เพราะดูไม่มีอนาคตเลย

    สำหรับคนที่จะเข้ามาเล่นการเมืองควรจะทำงานการเมืองแบบ มืออาชีพ แต่ไม่ได้เป็นอาชีพ กล่าวคือไม่มีงานอะไรจะทำแล้วก็เลยมาเล่นการเมือง หรือไปอยู่ที่ไหนไม่ได้ เกษียณอายุแล้วมาเล่นการเมือง มันไม่ควรจะเป็นแบบนั้น แต่มืออาชีพคือคนที่รู้ปัญหาสำคัญบ้านเมืองจริงๆ ปัญหาในหน่วยงาน และปัญหาของชาวบ้านว่าคืออะไร เพื่อจะมาทำงานการเมืองได้

    ในช่วงเวลาที่ผ่านมาถ้าหากมีนักการเมืองมืออาชีพที่มาจากการเลือกตั้งและไม่ใช่นักธุรกิจการเมือง เข้ามา บริหารประเทศ แนวทางการบริหารบ้านเมืองจะไม่ทำอะไรที่จะทำให้ประเทศเสียหาย มีการเคารพกฎเกณฑ์กติกาของบ้านเมือง และนโยบายที่ออกมาก็ไม่ทำบ้านเมืองเดือดร้อน ประชาชนได้ประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่นแนวนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก็ทำให้ในตอนนี้เด็กนักเรียนได้มีนมกิน ได้มีสิทธิ์กู้ยืมเงิน ผู้สูงอายุก็ได้เบี้ยยังชีพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มาจากนักการเมืองในระบบการเลือกตั้ง และฝ่ายการเมืองที่มามีอำนาจในภายหลังก็ไม่กล้าจะมายกเลิก เพราะถือว่าเป็นนโยบายที่มีประโยชน์ต่อประชาชนจริงๆ

    ถ้านักการเมืองจะเข้ามาทำนโยบายอะไรแล้วทำให้บ้านเมืองเสียหายนั้น ในส่วนนี้ทางพรรคก็คงไม่เห็นด้วยเช่นกัน นักการเมืองของพรรคไม่ได้คิดว่าจะเล่นการเมืองแค่เพียงสมัยเดียว เพราะฉะนั้นการจะทำงานให้ได้หลายสมัยนั้นก็คงต้องหมั่นทำความดีด้วยจึงจะอยู่ได้ ที่เรียนอย่างนี้ก็เพราะว่าคนมักจะอ้างว่าตนไม่ใช่นักการเมือง ดังนั้นสิ่งที่ตนกำลังจะทำจึงถูกต้องแน่นอน โดยการอ้างแบบนี้ก็ประหนึ่งว่าว่านักการเมืองจะต้องทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องเสมอไป ซึ่งความเป็นจริงผมว่าคงไม่ใช่ทั้งหมด ถ้าหากผมหรืออดีต ส.ส. ทำในสิ่งไม่ดีจริง ก็คงไม่สามารถอยู่มาได้หลายสมัย ในปัจจุบันประชาชนก็มีวิจารณญาณรู้ได้ว่าใครนั้นเป็นคนดีและใครไม่ใช่คนดี

    ผมเชื่อว่านักการเมืองที่ตั้งใจทำงานจริงๆเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้งจริงๆแล้วมีอยู่เยอะ และมีอยู่ในเกือบทุกพรรคการเมือง แต่อาจจะประสบปัญหากับการแสดงออกถึงจุดยืนของตนเอง บางคนมีความพร้อมแต่ก็เจอเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจ อาทิเช่นไม่สามารถจะไปคัดค้านกับทางรัฐบาลไม่ได้ เพราะกลัวว่าจะกระทบกับบริษัทของตนเป็นต้น เพราะฉะนั้นต้องแยกให้ออกโดยชัดเจนว่าใครคือคนที่จะทำงานให้กับประเทศชาติอย่างแท้จริง


    - หากการปฏิรูปสามารถทำได้สำเร็จจริง คิดว่าจะมีโอกาสไหมที่จะเปิดช่องทางให้คนดีที่ว่า จะได้ก้าวเข้ามาสู่วงการการเมืองมากขึ้น

    ผมว่ามีโอกาส เพียงแต่ต้องถามกลับไปว่าคนดีที่พูดถึงนั้น เขาพร้อมไหมที่จะเข้ามาเสี่ยง เพราะนักการเมืองไม่ใช่ตำแหน่งราชการที่มีตำแหน่งขึ้นไปทุกปี พร้อมไหมที่จะเป็น ส.ส.สอบตก ที่พูดอย่างนี้ก็เพราะว่ารู้ว่ามีคนดีประเภทหนึ่งที่เขาก็ไม่พร้อมที่จะเข้ามาเล่นการเมืองตรงนี้ แต่ก็ไม่ใช่ความผิดที่เขาไม่พร้อมจะเล่นการเมือง เพราะถ้าเป็นคนดีจริงๆก็สามารถไปทำหน้าที่อื่นที่สามารถทำประโยชน์ได้เช่นข้าราชการเป็นต้น แต่สำหรับนักการเมืองแล้วก็ควรจะได้คนดีเข้ามาเป็น และคนดีเหล่านั้นถือได้ว่าต้องเสี่ยงกว่าอาชีพอื่นด้วย หมายความว่าคุณจะอยู่แค่ 4 ปีนะ ถ้าสมัครแล้วเขาไม่เลือก คุณก็แพ้นะ ก็ต้อง
    กลับบ้านไป ซึ่งคนดีที่กล้าเสี่ยงแบบนี้จะมีสักกี่คน

    ทุกวันนี้ผมก็พยายามทาบทามคนที่น่าจะเป็นคนดี และดูมีแววว่าจะสนใจแวดวงการเมืองให้เข้ามาเป็นนักการเมืองเช่นกัน แต่ถ้าหากเป็นคนดีแต่ไม่ได้สนใจด้านการเมืองก็คงจะไม่ชวนเข้ามา เพราะไม่อยากจะไปฝืนความรู้สึกของเขา ต้องยอมรับว่าพวกผมอยู่ได้ก็เพราะว่ามีความรักในงานนี้จริงๆ ตัวผมเองอย่างที่เรียนไว้ว่าตั้งใจจะเป็น ส.ส.มาตั้งแต่ต้น อยากเป็นปากเสียงให้กับประชาชน แม้ว่าจะรับตำแหน่งอะไร ผมก็สามารถทำเพื่อประโยชน์ของชาวบ้านได้ตลอดเวลา ซึ่งก็อยากจะให้คนที่มีความรู้สึกแบบนี้นั้นได้เข้ามาทำงานการเมืองด้วยกันจะได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

    -ที่ผ่านมาภาคประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวกันมากมายนั้นคิดว่าคนเหล่านี้ในอนาคตจะเป็นคนดีที่ว่าได้หรือไม่

    ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่นั้นแท้จริงแล้วก็เป็นคนดี คนส่วนน้อยเท่านั้นที่เราไปเห็นตัวอย่างไม่ดี ซึ่งแท้จริงแล้วก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะโกง แต่ทั้งนี้ต้องอย่ามองข้ามปัญหาบ้านเมือง ในทุกองค์กรต้องมีคนดีอยู่ อย่าคิดว่านักการเมืองต้องดีฝ่ายเดียวและฝ่ายอื่นไม่สำคัญ ตรงนี้ผมว่าก็ไม่ถูก

    ผมอยากจะเรียนว่าในแง่ของประชาธิปไตยนั้นบทบาทของบ้านเมือง ทหารไม่ได้มีหน้าที่ต้องมาจับคนร้ายแบบในปัจจุบัน ภาระหน้าที่เหล่านี้จริงๆควรเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นช่วงเวลาที่เหลืออยู่ที่จะพัฒนาประชาธิปไตย คงจะต้องให้ความสำคัญกับองค์กรเหล่านี้มาก

    ในแง่ที่จะทำอย่างไรเราถึงจะมีผู้รักษากฎหมายที่มีความรับผิดชอบ ดำเนินการโดยอิสระ และไม่ต้องเกรงใจคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และในที่สุดก็จะละเลยจนนำไปสู่การยึดอำนาจแบบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าในวันที่ทหารยึดอำนาจนั้น ฝ่ายที่มีหน้าที่รักษากฎหมายก็ไม่ได้รักษากฎหมายแล้ว

    จุดนี้ผมคิดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปกครอง เพราะว่าระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นระบอบที่ปกครองด้วยหลักกฎหมาย เพราะฉะนั้นผู้รักษากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเหล่านี้นั้นจะต้องเป็นคนดีและตรงไปตรงมาด้วยเช่นกัน แล้วบ้านเมืองก็จะไม่เกิดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การยึดอำนาจขึ้น ทุกอย่างที่นำพาบ้านเมืองมาจนถึงจุดนี้ก็เกิดจากการละเมิดกฎหมาย แม้แต่ในเรื่องสถานการณ์ภาคใต้ก็เกิดจากวิธีการนอกกฎหมายด้วยเช่นกัน

    ดังนั้นผมคิดว่าถ้าจะให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย เราต้องอย่ามองแต่สภาผู้แทนฯหรือนักการเมือง แต่ต้องมองให้ครบทุกองค์กรว่าล้วนมีความสำคัญและต้องการคนดีด้วยกันทั้งสิ้น แม้กระทั่งองค์กรสื่อมวลชนก็เช่นเดียวกัน !


    เรื่อง : กิตติกร แสงทอง
     
    maya likes this.
  26. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    อภิสทธิ์แจงหน้าที่คนถอดถอนกึ่งตุลาการ อย่าใช้อารมณ์ความรู้สึก ผิดก็คือผิด ไม่ผิดก็คือไม่ผิด

    (5 ม.ค. 2558) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมพูดคุยในรายการ ต้องถาม ทางสถานีโทรทัศน์ฟ้าวันใหม่ ถึงกรณีการถอดถอนประธานสมศักดิ์ – นิคม และอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ว่า สำหรับคนที่ถูกกล่าวหานั้น ถ้าเห็นว่า ปปช. มีปัญหา ทำไม่ถูก ก็ควรใช้กระบวนการทางกฎหมายจัดการกับ ปปช. ว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ และมีสิทธิ์ในการไปต่อสู้ทุกประการ แต่ไม่ใช่มาดิสเครดิตกันเฉยๆ

    ส่วนคนที่เป็นผู้มีหน้าที่พิจารณา อย่าใช้อารมณ์ความรู้สึก เพราะเป็นกระบวนการที่จำกัดเอาไว้ว่า คุณถอดถอนเขาเมื่อเขากระทำความผิดฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือจงใจทุจริตอะไรก็ว่าไป ผิดก็คือผิด ไม่ผิดก็คือไม่ผิด เพราะอำนาจตรงนี้เป็นกึ่งตุลาการ หน้าที่ของ สนช. ในส่วนนี้ไม่ใช่ในลักษณะของการตัดสินใจทางการเมือง แต่เป็นการตัดสินใจเพื่อรักษา บังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัด ให้เที่ยงตรง

    - คำต่อคำ –
    เรื่องรถไฟรางคู่ สมัยคุณอภิสิทธิ์เคยพูดว่า เราควรจะมีรถไฟเชื่อมต่อเป็น Connectivity เชื่อมระหว่าง จีน – ลาว – ไทย รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ บอกว่าตอนนี้ทำสัญญาความเข้าใจร่วมกันว่าจะทำ เท่าที่ฟังนี้เหมือนที่คุณอภิสิทธิ์ตั้งใจหรือไม่
    “ก็มีส่วนเหมือนอยู่มาก แต่อยากจะลำดับเหตุการณ์สักนิดนึงว่า คำว่า Connectivity ที่มีการหยิบยกขึ้นมาเมื่อสักครู่ ที่ใช้ภาษาอังกฤษกันเพราะว่ามันมีการไปนำเสนอในที่ประชุมของอาเซียน เรามองว่าการเป็นประชาคมอาเซียนที่เรากำลังพูดกันว่าปลายปีนี้ทุกประเทศเข้ามาเป็นประชาคมอาเซียนทั้งทางด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรืออะไรก็ตาม จริงอยู่เราอาจจะมีข้อตกลงเรื่องกฎระเบียบ ภาษี สุดแล้วแต่ แต่ว่าถ้าหากว่าความเชื่อมโยงในภูมิภาค การไปมาหาสู่ การเดินทาง การขนส่งมันยังมีอุปสรรคปัญหาอยู่เยอะ เอาเข้าจริงๆ หลายเรื่องมันก็ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร โดยเฉพาะถ้าพูดตรงๆ ก็คือว่า สำหรับประเทศไทยเองผมคิดว่าที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เราอยู่ในจุดที่ควรจะได้ประโยชน์อย่างมากจากการเป็นประชาคม เพราะถ้าไม่นับบรรดาประเทศที่เป็นเกาะในอาเซียนแล้ว ต้องถือว่าเราอยู่ตรงกลาง ทางใต้มีมาเลเซีย ทางตะวันตกมีพม่า ทางตะวันออกก็มีทั้งลาว เขมร แล้วก็เวียดนาม แล้วก็แน่นอนที่สุดก็คือว่าขึ้นไปทางเหนืออีกนิดนึงก็คือเศรษฐกิจซึ่งกำลังจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นับกันไปนับกันมาไม่ช้าก็เร็วแล้วนะครับเขาก็คือเศรษฐกิจที่อันดับ 1 ในโลก

     
  27. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    เพราะฉะนั้นเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ผมอยากให้มองในเชิงของยุทธศาสตร์ของการมีบทบาทของไทยในอาเซียนด้วย แล้วก็ไทยจะส่งเสริมการกระชับความร่วมมือในอาเซียนได้อย่างไร ทีนี้นอกจากเศรษฐกิจจีนจะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่แล้ว ก็ต้องยอมรับว่าการพัฒนาระบบรางของจีนในระยะหลังนี้ไปอย่างรวดเร็วมาก การก่อสร้างทางรถไฟผมว่าปีนึงๆ เรียกว่าถ้ามาสร้างประเทศไทยอาจจะครบทั้งโครงข่ายของเราก็เป็นได้ เทคโนโลยีก็ถือว่าอยู่ในระดับที่อยู่ในแนวหน้าด้วย โดยเฉพาะเรื่องรถไฟความเร็วสูงที่หลายคนก็ รวมทั้งท่านพล.อ.ประยุทธ์ก็คงเพิ่งไปนั่งมาเหมือนกัน 300 – 400 กม.ต่อชม.

    เพราะฉะนั้นเราจึงนำเสนอเรื่อง Connectivity ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะเรื่องราง มันจะมีเรื่องถนน มันจะมีเรื่องอื่นๆ ด้วย ผู้คนด้วยนะครับ แต่ว่าอันนี้ผมพูดถึงทางกายภาพก่อน แล้วก็ได้มีการไปมีการพูดคุยกันว่าความจริงแล้วแนวความคิดที่บอกว่าควรจะมีรถไฟจากคุนหมิงไปสิงคโปร์ มันเป็นแนวคิดที่พูดกันมานานแล้ว แล้วก็สามารถที่จะเชื่อมโยงจีนลงไปถึงเรียกว่าใต้สุดของอาเซียนที่อยู่ติดกับผืนแผ่นดินใหญ่นี้ ดังนั้นรัฐบาลผมก็เลยเริ่มต้นด้วยการไปทำข้อตกลงแล้วก็ไปเจรจา เอากรอบการเจรจาผ่านสภา รัฐสภาด้วยในขณะนั้น เพื่อที่ว่าจะไปเริ่มต้นเจรจาว่าจะร่วมทุนแล้วก็ทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร ก็อยู่ในช่วงระหว่างการเจรจาว่าตกลงจะเป็นรูปแบบการร่วมทุน สิทธิ เรื่องการถือหุ้น เรื่องผลประโยชน์อะไรก็กำลังเจรจากันอยู่ ก็มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล

    พอเปลี่ยนแปลงรัฐบาล รัฐบาลชุดต่อมาของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็ไม่ได้คุยเรื่องนี้ต่อกับจีน แต่เอาแผนเรื่องรถไฟกลับไปอยู่ในแผนที่เราเรียกว่า 2 ล้านล้านบาท เพื่อจะขอกู้เงิน ไม่พูดเรื่องของการความร่วมมือกับจีนแล้ว ไปพูดเรื่องกู้เงินมาทำเองพูดง่ายๆ แล้วก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์มากมาย แต่ว่าสิ่งสำคัญที่สุดขณะนั้นก็คือว่า เรามองว่าการกู้เงินนี้มันเป็นลักษณะของการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นการหลีกเลี่ยงกระบวนการจัดทำงบประมาณหรือการก่อหนี้ หรือการร่วมทุน ตามกฎหมายที่มันมีอยู่ สุดท้ายก็ยังไม่ได้เดิน ก็มาถึงรัฐบาลยุคปัจจุบัน ก็รื้อฟื้นในการคุยกับจีนขึ้นมาอีก”
     
  28. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ตกลงรัฐบาลปัจจุบันรื้อฟื้นโดยยึดแนวที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ทำไว้หรือเปล่า
    “ผมคิดว่าในแง่ที่ว่าเริ่มต้นในการพูดคุยกับจีนนั้นใช่ แล้วก็ทำไมถามว่าพูดคุยกับจีนนั้นนอกจากเหตุผลที่ผมให้ไปแล้ว ผมอยากให้มองในทางความเป็นจริงด้วยว่า ถ้าเราจะมีเครือข่ายรถไฟแบบนี้ ยิ่งเชื่อมต่อมากเท่าไหร่ยิ่งดี เป็นประโยชน์มากเท่านั้น มันหยุดที่หนองคายไม่ได้หรอก มันต้องไปจีน

    ทีนี้เส้นทางจากหนองคายไปจีนก็ต้องผ่านลาว ทุกคนก็คงทราบว่าเส้นทางที่ผ่านลาวมีลักษณะพิเศษหลายอย่าง 1. อย่าลืมว่าปัจจุบันเครือข่ายรถไฟลาวไม่มี 2. เส้นทางที่จะไปนี้จะต้องผ่านภูเขา เจาะอุโมงค์เยอะแยะมากนะครับ 3. ปริมาณคนที่จะใช้ในประเทศลาวน้อยเพราะประชากรน้อย ดังนั้นที่เขาจะทำนี้เขาหนีไม่พ้นในการที่จะต้องเจรจากับจีน แล้วมันต้องไปเชื่อมโยงกับรถไฟในจีนต่อไป (คือให้จีนช่วยลงทุนในลาว) ถูกต้องครับ

    เพราะฉะนั้นรถไฟของเราที่จะไปเชื่อมต่อที่หนองคายนี้ มันก็ต้องเป็นระบบที่ไปด้วยกันได้ แล้วก็สุดท้าย ที่ตอนนี้อาจารย์ใช้คำว่าความเร็วปานกลาง ก็เพราะส่วนหนึ่งไปประเมินแล้วขณะนี้ที่จะทำที่ลาวก็น่าจะต้องเป็นความเร็วปานกลาง ไม่งั้นแล้วต้นทุนจะสูงมาก”

    แต่ตอนคุณอภิสิทธิ์รู้สึกจะพูดถึงรถไฟความเร็วสูง
    “ดูทั้ง 2 แบบ ความเป็นไปได้ แล้วก็ตระหนักดีว่ามันจะต้องไปเชื่อมโยงกับโครงการที่ลาว คือเขาพูดคร่าวๆ นะครับว่า เปลี่ยนจากรถไฟความเร็วปานกลาง เป็นรถไฟความเร็วสูงนี้ ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัว เพราะฉะนั้นความคุ้มทุนก็จะเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นอันนี้คือความเหมือนในแง่ที่ว่ามีการเจรจากับจีน”
     
    padd likes this.
  29. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    เรื่องเส้นทางนั้นเหมือนหรือไม่
    “เส้นทางนั้นเป็นจุดแรกที่น่าจะมีความต่างอยู่ เพราะว่าเป้าหมายเดิมของเรานั้นคือการเชื่อมโยงในอาเซียน ดังนั้นพอลากมาจากหนองคายก็ต้องมากรุงเทพฯ แล้วก็ลงไปปาดังเบซาร์ ขณะที่ขณะนี้มาเลเซียกับสิงคโปร์ก็กำลังมีการพูดคุยเกี่ยวกับการทำรถไฟความเร็วสูง หรือจะปานกลางก็สุดแล้วแต่ ระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซียเอง ซึ่งก็ควรจะมาเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราทำอยู่ เพราะฉะนั้นตอนนั้นที่เราคุยกัน เอาละบอกเส้นแรกคือหนองคาย – กรุงเทพฯ แต่เรามองกรุงเทพฯ – ปาดังเบซาร์ต่อไป

    แต่ที่มาแตกต่างตอนนี้ก็คือรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ ขอให้เป็นหนองคาย แล้วมาที่แก่งคอย (แล้วก็เลี้ยวซ้าย) ถ้ามาจากทางเหนือก็เบนลงไปทางซ้ายลงไปที่มาบตาพุด แต่ขณะเดียวกันก็เป็นที่เข้าใจว่าจะทำแก่งคอย – กรุงเทพฯ ต่อไปในอนาคต อันนี้ก็ไม่ได้ขัดอะไร ส่วนใครจะทำในรูปแบบไหนก็ต้องไปว่ากันอีกที
    สำหรับผมนี้หนองคาย – แก่งคอย มันไม่ได้ต่างอะไรกัน มันใช่อยู่แล้ว แต่ว่าแก่งคอย – มาบตาพุดนี่ถ้ามองในแง่ของการที่จะไปเชื่อมโยงกับชายฝั่งทะเลฝั่งตะวันออกหรืออีสเทิร์นซีบอร์ดของเรานี้ก็คงจะใช่ ก็อาจจะมุ่งไปที่เรื่องสินค้า มากกว่าเรื่องคนนะครับอันที่ 1”

    เป็นไปได้หรือไม่ว่าจีนอาจจะหาช่องออกทะเลด้านนี้ด้วย
    “ก็มีส่วนนะครับ แต่ความจริงเขาก็สามารถที่จะไปได้หลายเส้นทางเหมือนกันจีน แต่ว่าแน่นอนจีนกว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่ละมณฑลก็ทางออกทางเลือกก็มี เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็สำหรับผม ผมก็ไม่ติดใจนะครับ ถ้าหากว่าสามารถตกลงกันได้ มีความคุ้มทุนก็ไปได้ แต่ก็ไม่อยากให้ทิ้งแนวความคิดว่ามันไม่ได้หยุดแค่นี้นะ มันไม่ใช่เรื่องของเราเชื่อมโยงระหว่างใต้ของจีนกับมาบตาพุด มันเป็นเรื่องของการเชื่อมโยงในอาเซียน”
     
  30. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    พูดง่ายๆ ว่าคุณอภิสิทธิ์อยากจะเห็นว่าต้องเชื่อมโยงลงไปถึงมาเลเซีย หรือสิงคโปร์
    “ถูกต้องครับ ส่วนในอนาคตอาจจะมีเส้นทางของจีนที่ลงมาผ่านพม่า แล้วเราจะไปเชื่อมโยงทางนั้นอย่างไรก็เปิดเอาไว้นะครับ เพราะเราก็เคยพูดถึงเรื่องของการเชื่อมโยงกับทวายด้วย

    ส่วนรถไฟไทย เอารถไฟไทยก่อน ทั้งหมดที่ทำนี้ก็ไม่ควรที่จะไปมองข้ามการปรับปรุงโครงข่ายรถไฟในปัจจุบันที่ควรจะต้องทำเป็นทางคู่ และก็ไม่ได้ไปตัดโอกาสการที่จะมีรถไฟความเร็วสูง หรือความเร็วปานกลางในเส้นทางอื่นที่คิดว่าจะมีความคุ้มทุน และมีประเทศอื่นสนใจที่จะมาทำ เช่น กรุงเทพฯ – ระยอง กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ กรุงเทพฯ – อุบลฯ อย่างนี้เป็นต้น เป็นสิ่งซึ่งผมคิดว่าอย่าไปมองว่ามีตรงนี้แล้วมันจบแค่นั้น

    แล้วก็ประการที่ 2 ผมคิดว่าจะมองแค่เพียงว่ามีเส้นนี้แล้วทำกับจีนแล้วไม่ไปดูรายละเอียดก็ไม่ได้อีก ซึ่งผมเข้าใจว่าอาจารย์กำลังจะมาถึงประเด็นนี้ว่า คำว่าความร่วมมือกับจีนนั้นจะเป็นอย่างไรเพราะว่ามันทำได้หลายรูปแบบ”
     
    padd และ maya ถูกใจ.
  31. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ตามข่าวบอกว่า รางจะเพิ่มความกว้างขนาดเป็น 1.435 ก็แสดงว่าเป็นรางระดับมาตรฐานสมัยใหม่ที่เชื่อมกับจีนได้พอดี อันนี้เป็นด้วยใช่หรือไม่ แล้วรางเก่าทำอย่างไร
    “ก็ยังใช้อยู่ คือต้องเรียนว่าหลายประเทศเขาใช้ 2 ระบบคู่ขนานกันไป อย่างประเทศญี่ปุ่นก็มี แล้วก็จริงๆ มันมีรถไฟที่ไม่ใช่ในส่วนนี้ที่จะไปเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ก็รางขนาด 1 เมตร อันนี้ก็ต้องตระหนักอยู่เช่นเดียวกัน”

    2 ระบบแปลว่ามีราง 2 ระบบวางคู่ขนาดนั้นใช่หรือไม่
    “คือก็มีทั้งรถไฟความเร็วปานกลาง กับไม่เร็ว ที่วิ่งกันอยู่ในขณะนี้ แต่ 60 – 70 นี้ถ้าเราทำรางคู่ แล้วก็ปรับปรุง ก็อาจจะไปได้ถึงสัก 120 แต่ว่าปานกลางที่เขาพูดว่าราง 1.4 เขาพูดว่าในอนาคตมันอาจจะสามารถที่จะยกระดับขึ้นมาเพื่อที่ไปสู่ความเร็วสูงได้ด้วย เพราะฉะนั้นก็เป็นการลงทุนที่ผมคิดว่าไม่ได้ขัดกัน ไปด้วยกันได้”

    ตอนนั้นคุณอภิสิทธิ์คิดในใจอย่างไรที่จะร่วมกับจีน จะร่วมในลักษณะไหน เพราะตอนนี้มีคนไปถาม พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประยุทธ์ก็บอกว่ายังไม่ได้ลงรายละเอียดกันว่าจะร่วมแบบไหน แต่ว่าก็มีบางคนก็เชียร์ว่ากู้เงินจากจีน แล้วเอาเงินนั้นไปขอให้จีนมาสำรวจ มาวางแผน จ้างเขาภายใน 10 เดือนวางแผนให้เสร็จ ให้เขามาช่วยสร้างด้วย สร้างเสร็จ เอารถมาใส่ เสร็จแล้วยกให้กับเรา โดยที่เราจ่ายเงินให้เขา 30 ปี ทยอยจ่ายหลายแสนล้าน แต่ฟังแล้วแปลกๆ ตอนนั้นมีอะไรอยู่ในใจ
    “ผมมองว่าอย่างนี้นะครับว่า ข้อแรกสิ่งที่ต้องคิดกันให้มากก็คือว่า เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะบริหารจัดการวิ่งรถกันอย่างไร ผมคิดว่ายิ่งถ้าเรามีเป้าหมายว่ารถไฟสายนี้ในที่สุดมันไม่ได้วิ่งอยู่ในเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เราไม่ได้กำลังอยากจะทำกรุงเทพฯ – หนองคายหรอก เรากำลังจะทำรถไฟกรุงเทพฯ – จีน กรุงเทพฯ – สิงคโปร์ ผมยังมีความรู้สึกว่าการที่เรามองว่าเราเพียงแต่ต้องการให้เขามาสร้างให้ แล้วก็ขอกู้เงินเขาด้วยนี้ ผมเป็นห่วงว่าการบริหารจัดการซึ่งเราก็ทราบดีว่า ปัจจุบันรถไฟไทยก็มีปัญหาอยู่เยอะอยู่แล้วนี้มันจะไปไหวหรือไม่ แล้วก็เรื่องนี้ถ้าเราไม่มองในเชิงของผลประโยชน์ในเชิงที่ว่ากู้เงิน ใช้เงิน คือคนกู้ก็อยากได้แหล่งเงิน คนให้กู้ก็อยากจะมีค่าตอบแทนจากการให้กู้เงิน หรือแค่ความสนใจที่จะมารับเหมาก่อสร้าง เอาอย่างนี้ดีกว่า
     
    padd likes this.
  32. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    แต่ถ้าเรามองว่าอยากจะให้มันเป็นเรื่องของหุ้นส่วนระหว่างจีน – ไทย และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงแล้ว ผมคิดว่ารูปแบบที่ทำนี้มันอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดมาเป็นลักษณะของการกำหนดรูปแบบของการบริหารจัดการที่เราจะมั่นใจว่ามันตอบสนองเป้าหมายนั้นมากกว่า ซึ่งอาจจะหมายถึงการสร้างองค์กรพิเศษขึ้นมา เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนก็ได้ ล้วนเข้ามาเป็นเจ้าของด้วยกัน แล้วก็ร่วมกันบริหาร ก็คือใช้ประโยชน์จากการมีประสบการณ์การบริหารรถไฟของจีน ซึ่งทำอยู่ในประเทศอย่างที่เห็นกันอยู่ในขณะนี้ว่าได้มีการส่งเสริมขยายกันมาก

    ผมอยากให้ดูในลักษณะนี้เป็นเป้าหมายมากกว่า เพราะผมคิดว่าถามว่าในแง่ของแหล่งเงิน ถ้าโครงการนี้มันมีผลตอบแทนคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งคนส่วนใหญ่เชื่อว่ามี ประเทศไทยก็สามารถหาแหล่งเงินจากที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นจากจีนก็ได้ การจะหาผู้รับเหมาก่อสร้างก็เช่นเดียวกัน มันก็มีที่อื่น แต่ผมกลับมองว่าเรื่องนี้ถ้าจะร่วมมือ โดยเราตั้งเป้าว่ามันเป็นเรื่องที่จีนต้องดึงให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมด้วยนี้มันน่าจะคิดในรูปแบบความร่วมมืออื่นมากกว่า”

    หมายความว่า คุณอภิสิทธิ์คิดตรงข้ามกับตัวอย่างที่เล่าเมื่อสักครู่ กลายเป็นว่าจีนน่าจะชวนมาร่วมกันบริหารจัดการ แต่ไม่ใช่ต้องเงินทุนจากจีน อาจจะที่ไหนก็ได้ การก่อสร้าง หัวรถจักรก็อาจจะที่ไหนก็ได้ที่เปรียบเทียบอะไรดีที่สุดเราก็ทำ แต่
    “แต่เราถือว่าอันนี้ผลประโยชน์จีน กับไทยร่วมกันในการเชื่อมโยงในภูมิภาค เพราะฉะนั้นต้องมาช่วยกันบริหารจัดการให้มันดีที่สุดในเป้าหมายนั้น ผมอยากให้แนวคิด หลักคิดมันเป็นไปในทางนั้นมากกว่า”

    ขณะนี้รัฐบาลประยุทธ์ก็บอกว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ ดังนั้นฟังตรงนี้ก็อาจจะได้ข้อคิดอีกมุมหนึ่งก็ได้
    “คือผมก็อยากจะให้ข้อคิดนะครับว่าถ้าเราไปมองว่านี่มันเป็นเรื่องเฉพาะของเรา หมายความว่าผมอยากจะสร้างรถไฟจากมาบตาพุดไปหนองคาย แล้วบังเอิญจีนมีเงินเยอะ ผมก็กู้ เขาอยากจะมาก่อสร้างผมก็คิดว่าราคาสมเหตุสมผลก็จ้างเขาแล้วก็มาวิ่งรถไฟ ผมว่าถ้าเราคิดในมุมนี้มันไม่ได้ตอบโจทย์ที่เราพูดตั้งแต่ต้น แล้วถ้าเกิดสมมติที่ลาวมันมีปัญหาขึ้นมา มันเชื่อมโยงไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น ความคุ้มค่าจะเป็นอย่างไร ผมว่าต้องคิดตรงนี้ให้มาก”
     
  33. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    คุณอภิสิทธิ์คิดว่าการบริหารจัดการรถไฟของเราก็มีปัญหาจริงๆ อยู่แล้วด้วย
    “ถูกต้องครับ ก็ต้องยอมรับว่าเป็นอย่างนั้น แล้วก็พูดกันมากว่านี่ก็เป็น 1 ด้านที่จะต้องมีการปฏิรูปกัน รัฐวิสาหกิจในภาพรวม แล้วก็การรถไฟโดยเฉพาะด้วย”

    ถ้าอย่างนี้ก็จะต้องเป็นองค์กรใหม่ เพราะว่าถ้าให้การรถไฟทำมันแกะยาก
    “มันก็จะมีปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาอีก แต่ว่าสิ่งหนึ่งซึ่งการรถไฟฯ อาจจะพูดได้เต็มปากเต็มคำก็คือ ความเป็นเจ้าของแนวที่ดินที่เป็นอยู่ตรงนั้น เพราะฉะนั้นองค์กรใหม่หรืออะไรก็ตามก็ต้องมามีกติกาในการที่จะใช้พื้นที่ตรงนี้ ทั้งในการก่อสร้าง ทั้งในการเดินรถ”

    คิดว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่
    “ผมคิดว่าจริงๆ ถ้าเกิดมันตกผลึกในเชิงความคิดแล้วมันก็เป็นเรื่องของการเจรจาเงื่อนไขเท่านั้นเอง ส่วนเทคนิคการก่อสร้างอะไรต่างๆ ผมว่ามันก็ตายตัวอยู่แล้วนะครับว่ากี่ปีๆ จะสร้างได้เท่าไหร่อย่างไร แล้วก็จะเริ่มจากตรงไหนไปตรงไหนก็ว่าไป”

    แต่ถ้าจีนบอกว่าเอาอย่างนี้ ถ้ายินดีจะร่วมมือด้วยต้องมาใช้เงินหยวน โดยให้กู้เป็นเงินหยวน แล้วอาจจะคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่เมื่อเงินหยวนที่ขอยืมไปแล้ว ก็ต้องเอาเงินหยวนมาซื้อจากจีน ดังนั้นจะซื้อรถจักร รางรถไฟ เดี๋ยวจีนทำให้อันนี้จะว่าอย่างไร
    “อันนี้เป็นคนละประเด็นแล้วนะครับ คือว่าเมื่อจะมีข้อตกลงทางการเงินในรูปแบบใดก็ตาม แล้วก็มาพูดว่าจะใช้สกุลเงินอะไรก็เป็นอีกเงื่อนไขนึงแล้ว แล้วก็ถ้าเกิดเราบริหารจัดการดี จะเป็นสกุลเงินอะไรก็ตามเราก็อาจจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยง ความเสี่ยงก็มีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เรื่องอะไรก็ว่าไป ซึ่งก็อาจจะบริหารจัดการได้อีกในแง่ของการซื้อประกันความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นผมว่ามันเป็นรายละเอียด

    แต่ผมเข้าใจว่าที่เรากำลังพูดถึงอยู่ใน MOU นั้นมันคงไม่ได้เฉพาะในโครงการนี้ แต่เรากำลังจะพูดถึงบทบาทของเงินหยวนที่จะเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาค แล้วประเทศไทยนั้นผมไม่แน่ใจจะใช้คำว่าอะไร รับเงื่อนไข หรือจะส่งเสริมสนับสนุนตรงนี้อย่างไร”
     
  34. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ประเด็นนี้ก็อยากจะถามคุณอภิสิทธิ์เพราะใน MOU ระหว่างไทย – จีน ก็บอกว่าต่อไปนี้ความสัมพันธ์ในการลงทุน หรือทำอะไรก็ตามจะใช้เงินหยวน และจีนจะมาเปิดธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างบาท กับหยวนในประเทศไทย แล้วกำลังคิดด้วยว่าจะเอาธนาคารอะไรต่ออะไร เราก็ไปลงนามกับเขาเรียกร้อย ถามกว้างๆ ว่าคุณอภิสิทธิ์ฟังแล้วคิดว่าใช่ หรือไม่ค่อยมั่นใจ
    “ผมคิดว่ามันใช่ในแง่ที่ว่า ผมว่าเราปฏิเสธบทบาทของจีนในทางเศรษฐกิจในภูมิภาค หรือในโลกต่อไปไม่ได้ ความหมายก็คือ 1. เขาจะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด 2. เขามีเงินสำรองมหาศาล 3. เขาแสดงท่าทีที่จะให้สกุลเงินของเขานั้นเป็นสกุลเงินสากลมากขึ้น อาจารย์อาจจะจำได้มียุคนึงมีคนคิดว่าญี่ปุ่นอาจจะอยู่ในฐานะนี้ แต่ต้องบอกว่าญี่ปุ่นนั้นแสดงท่าทีลังเลมากในการที่จะเอาสกุลเงินของเขานั้นออกมาเป็นสกุลเงินสากล แต่จีนในขณะนี้ท่าทีเท่าที่ฟังดูแล้วไม่เหมือนญี่ปุ่นในสมัยนั้น

    ผมว่าถ้าข้อเท็จจริงตรงนี้ประกอบกับที่ผ่านมา เราก็เคยมีปัญหาในแง่ของ ไม่มองเฉพาะการค้าการขายในภูมิภาคนะครับ แต่การค้าการขายของประเทศไทยกับโลกโดยรวม อาจารย์คงจำได้มีช่วงนึงเดี๋ยวก็บ่นกันว่าเงินบาทแข็ง เงินบาทค่ามันไม่สมดุล ซึ่งหลายครั้งทำไปทำมาผมต้องบอกไม่ใช่ปัญหาของเงินบาท จริงๆ คือเป็นปัญหาของเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือเงินเหรียญสหรัฐฯ เพราะว่าแข็งกันทั้งภูมิภาค ไอ้จากตรงนั้นมาสู่ความเชื่อมั่นที่มีมากขึ้นต่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจจีนในระยะหลังนี้ มันก็จึงเป็นเหตุผลว่าบทบาทของสกุลเงินจีนเทียบกับในอดีตมันคงต้องเพิ่มมากขึ้น และในเชิงทิศทางนั้นผมไม่ติดใจ

    แต่การบริหารจัดการนั้นก็ใช่ว่าจะแปลว่า เมื่อมีตรงนี้แล้วมันจะง่าย หรือทุกอย่างจะราบรื่นไปหมด คือพูดง่ายๆ แล้วผมคิดว่าทุกประเทศ เมื่อเริ่มปล่อยสกุลเงินตัวเองออกไปเป็นที่ใช้ในการค้าขายมากขึ้นๆ การควบคุมก็จะยากขึ้น เหมือนกับผมยกตัวอย่างว่า หลายคนก็บอก เอ๊ะ ไปประเทศเพื่อนบ้านนี่ เอาเงินบาทไปเขาก็ยังยอมรับเลย แต่ถ้าเงินบาทไปไหลหมุนเวียนอยู่ในประเทศอื่นมากๆ เข้า ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะบริหารเงินบาทยากขึ้น ฉันท์ใดฉันท์นั้นนะครับ จีนก็ เราก็ต้องจับตาดูในการบริหารงานของจีนเอง บริหารอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร บริหารเงินทุนสำรองอย่างไรก็ต้องว่าไปตามนั้น

    คือจะไปบอกว่าไม่ต้องห่วงเลย จีนมีบทบาทแน่ ใช้อันนี้ไปเลยก็คงจะไปพูดอย่างนั้นไม่ได้ แต่ถามว่ามีประโยชน์มั้ย ผมคิดว่ามันก็เป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งแล้ว แทนที่เราจะต้องผูกทุกอย่างไว้กับเงินเหรียญสหรัฐฯ”
     
  35. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    จีนได้ผลประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่
    “อิทธิพลทางเศรษฐกิจก็มากับอิทธิพลทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมก็แหมพอใช้คำว่าอิทธิพลมันดูน่ากลัว คือผมก็ถือว่ามันเป็นการเพิ่มบทบาทตามศักยภาพของจีน ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับ”

    หมายความว่าจีนก็อยากจะเพิ่มบทบาทในอาเซียน เขตภูมิภาคทางนี้ แล้วจะเป็นการกันสหรัฐฯ และยุโรปด้วยบางส่วนหรือไม่
    “ปฏิเสธไม่ได้หรอกนะครับว่าลักษณะการช่วงชิงบทบาทในภูมิภาคเราระหว่างจีนกับทางโลกตะวันตกมันก็มีอยู่”

    แล้วเป็นความบังเอิญหรือไม่ที่จีนเชิญคุณอภิสิทธิ์ไป ไปสร้างความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ เป็นไปได้หรือไม่
    “ก็คงไม่ถึงกับบังเอิญหรอกครับ เพราะว่าจริงๆ การเชิญนี้ก็ทำอยู่เป็นประจำนะครับเป็นบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์ แล้วก็ไม่ใช่เชิญเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ เชิญพรรคการเมืองทั้งหลาย พรรคเพื่อไทยก็เชิญ พรรคอื่นๆ ก็เชิญ ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของเขาในการส่งเสริมความสัมพันธ์ ความเข้าใจระหว่างพรรคการเมือง และระหว่างประเทศ บทบาทนี้ก็เป็นบทบาทที่โลกตะวันตกก็ทำอยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน อาจารย์ก็ทราบดีว่าการแลกเปลี่ยนกับทางตะวันตกในทางการเมืองก็มี การมีมูลนิธิของหลายประเทศที่เข้ามาทำงานสนับสนุน ส่งเสริมงานทางด้านการเมืองของไทยก็มี

    คือวันนี้ผมว่าศักยภาพของจีน และบทบาทของจีน อย่างไรเขาขยายไปทุกด้านอยู่แล้ว ผมว่าประเทศไทยก็อาจจะแปลกอย่างนึง คือพูดตรงๆ เวลาผมเจอกับคนสหรัฐฯ หรือชาวตะวันตก เขามักจะถามผมว่า เอ๊ะ เรากลัวจีนมั้ย ในทางกลับกัน เวลาพบกับจีน บางทีจีนเขาก็ถามเราเหมือนกัน บอก เอ๊ะ สหรัฐฯ นี่บทบาท อิทธิพลมากเกินไปมั้ย ผมก็มักจะพูดเสมอนะครับว่า ผมมีความรู้สึกว่าคนไทย ประเทศไทยก็โชคดีอย่างนะครับ อาจจะเป็นโดยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ บวกกับความชาญฉลาดของนโยบายต่างประเทศตั้งแต่ยุคโบร่ำโบราณก็ได้ เรามองว่าทั้ง 2 ประเทศนี้เป็นมิตร แล้วก็เป็นมิตรที่เก่าแก่ด้วย ทางสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ทางการทูตก็ร้อยกว่าปีแล้ว จีนนั้นถึงแม้ความสัมพันธ์ทางการทูตอาจจะบอกว่า 40 ปี แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่าคนไทยเชื้อสายจีน หรือคนไทยกับคนจีนนั้นมีความรู้สึกว่ามีความเป็นพี่เป็นน้องกัน เราก็มีความรู้สึกว่า เพื่อนเราทั้งคู่

    ในขณะที่ผมมองว่าในบางประเทศในภูมิภาคกลับถูก คือหรือต้องแสดงตัวเหมือนกับจะต้องเลือกข้างหรือเปล่า ซึ่งผมคิดว่าเราอยู่ในฐานะที่ถ้ารักษาความสมดุลได้เราก็ยอมรับบทบาทที่จีนเขามีมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราปฏิเสธความสัมพันธ์ที่เรามีอยู่กับประเทศตะวันตก”
     
  36. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ฟังคุณอภิสิทธิ์ไม่ข้องใจที่เราจะเริ่มกระจายความเสี่ยงจากดอลล่าร์ มาทางหยวนมากขึ้น กระจายการค้าขายด้วยเงินหยวนมากขึ้นไม่ใช่ผูกกับดอลล่าร์ หรือยูโรตลอดไป แต่ถ้าสมมติว่าเราเพิ่มหยวนมากขึ้นๆ เรื่อยๆ คุณอภิสิทธิ์คิดว่ามันจะเป็นอย่างไร แล้วระดับไหนถึงจะเกิดความพอดี
    “คือสัดส่วนของการถือครองอาจจะเป็นเงินสำรองหรืออะไรก็ตาม อันนี้ก็เป็นเรื่องการบริหารในทางเทคนิคซึ่งผมไปตอบล่วงหน้าไม่ได้ เพราะผมไม่ทราบว่าสถานะทางเศรษฐกิจของบรรดาประเทศที่เป็นเจ้าของเงินนี้เขาจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหนอย่างไร แต่ต้องระวังแน่นอนครับ ผมถึงบอกเมื่อสักครู่ว่า ในขณะที่ผมมองว่าทิศทางมันใช่ แต่อย่าไปมองว่าไม่มีข้อห่วงใย ข้อกังวลอะไรเลย มันก็ต้องมีการติดตามดู”

    อะไรคือสิ่งที่ห่วงใย ถ้าเกิดหยวนเข้ามาเป็นเงินสำรอง
    “พูดตามจริงแล้ว ข้อแรกก็คือว่า เศรษฐกิจจีนขณะนี้ก็ถูกจับตาดูอยู่ว่าวันข้างหน้าจะเติบโตแบบที่เติบโตมาในอดีตได้หรือไม่ อันนี้ก็กล้าพูดได้เลยนะครับเพราะว่าจีนเขายอมรับเอง เขาบอกว่าถ้าไปมองว่าอีกกี่สิบปีข้างหน้าเขาจะยังสามารถเติบโตเลข 2 หลักได้ เขาก็ยอมรับว่ามันไม่ใช่แล้ว เพราะฉะนั้นเขาเองเขาก็ต้องมีการปรับตัวในทางเศรษฐกิจเหมือนกัน แล้วก็เป็นที่คาดหมายว่าการเติบโตก็จะชะลอตัวลง แล้วเขาก็ต้องพยายามไปแก้ปัญหาความไม่สมดุลที่มันมีอยู่ในประเทศของเขา ดังนั้นการที่จะไปประเมินว่าเงินหยวนจะเป็นเงินของประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเติบโตแบบที่ผ่านมา ก็ไม่ใช่เหมือนกัน ก็ต้องระวังทั้งนั้นนะครับ”
     
  37. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    เป็นห่วงค่าเงินหยวนหรือไม่ว่า จีนจะบริหารจัดการต่างกับดอลล่าร์สหรัฐฯ
    “ผมคิดว่าที่ผ่านมามันก็มีบางช่วงที่จีนถูกกล่าวหาว่าบริหารค่าเงินหยวนจงใจให้อ่อน เหมือนกับที่หลายคนชอบแนะว่ารัฐบาลไทยก็ควรจะจงใจทำเงินบาทให้อ่อนหรืออะไร ซึ่งผมยืนยันว่าจะจริงไม่จริงก็แล้วแต่ แทบไม่มีประเทศไหนเขาจะยอมรับหรอกนะว่าเขาจงใจทำให้เงินอ่อน เพราะมันจะส่งสัญญาณอะไรต่างๆ ที่มีปัญหามากมาย

    ประเด็นก็คือว่า ใช่ครับ ผมคิดว่าเราก็ต้องติดตามนโยบายของจีนอยู่ตลอดเวลา และอันนี้ก็คือจุดที่ผมบอกว่านโยบายการเงินเขา ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน เราก็จำเป็นต้องติดตาม และเราก็ต้องมองช่องทางในการประกันความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา แต่ผมก็เชื่อว่าถ้าจีนต้องการที่จะเห็นสกุลเงินของเขาเป็นสกุลเงินที่มีบทบาทในสากล สิ่งหนึ่งที่เขาต้องคำนึงถึงก็คือความน่าเชื่อถือ”

    คือเขาจะต้องไม่เข้าไป
    “เขาจะต้องไม่ทำอะไรที่ทำให้คนสูญเสียความเชื่อถือ เชื่อมั่นในสกุลเงินเขา ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่สามารถที่จะเล่นบทบาทนี้ได้ ซึ่งตรงนี้มันก็จะต้องมากับหลายสิ่งหลายอย่าง เหมือนกับที่สหรัฐฯ ก็ต้องสั่งสมสิ่งเหล่านี้มาจนทำให้ทุกคนยอมถือเงินดอลล่าร์ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร”

    ซึ่งประเด็นนี้สหรัฐฯ ตอนนี้ได้เปรียบกว่า เพราะเงินดอลล่าร์กระจายอยู่ทั่วโลก ดังนั้นสหรัฐฯ จะบริหารจัดการได้ยากลำบาก เพราะใหญ่โตมโหฬารในตลาดโลก ซึ่งหยวนยังไม่ถึงขั้นนั้น
    “แต่ว่าสหรัฐ เวลาที่มันมีปัญหา มันก็เกิดขึ้นได้อย่างเช่นเมื่อเกิดวิกฤติการเงิน แล้วก็ต้องเกิดการพิมพ์เงินออกมาโดยธนาคารกลางช่วงนั้นก็ส่งผลกระทบเหมือนกัน”
     
  38. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    คุณอภิสิทธิ์เห็นอย่างไรในทางเศรษฐศาสตร์ ที่มีนักเศรษฐศาสตร์มองว่าจีนก็อยากให้เราถือเงินหยวนไว้เยอะๆ ถ้าเราถือไว้เยอะก็เท่ากับว่าจีนได้กู้เงินจากประเทศไทยโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เราถือโดยไม่ได้อะไร คือเขาซื้อสินค้าและบริการจากเรา เขาเอาของไปใช้ แล้วมีเงินหยวนให้กับเราเอามาถือไว้เฉยๆ ไม่แลกกลับ เท่ากับว่าเขาได้สินค้าไปใช้โดยไม่เสียดอกเบี้ย เหมือนสหรัฐฯ ที่เราเอาดอลล่าร์มาถือไว้
    “คือถ้ามองในมุมนั้น ผมคิดว่าอาจารย์ก็มองตรงว่า ประเทศซึ่งคนพร้อมที่จะไปถือเงินของเขาโดยที่ไม่มีค่าตอบแทนนั้นเขาชอบอยู่แล้ว ทั้งในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ทั้งในแง่ของอิทธิพล หรือบทบาทในทางการเมืองก็ตาม แต่คงไม่ได้หมายความว่าคนที่ถือนี้เสียเปรียบหรืออะไรนะครับ มันเป็นเรื่องของความเป็นจริงว่า 1. เงินสำรองเราจะถือแค่ไหนนี่ก็เป็นนโยบายเรานะ ในการบริหารตัวเงินสำรองของเรา ถ้าเราเห็นว่าถือไว้เยอะแยะจนไม่มีประโยชน์เลย เราจะเปลี่ยนแนวคิดก็ทำได้ แต่ก็อันนี้ก็ต้องระวังนะครับ เพราะว่าทุกยุคก็รู้สึกว่าจะมีรัฐบาลที่จะมาพูดว่า อยากจะเอาออกมาใช้ โดยที่ไม่คำนึงว่าเวลามันเกิดวิกฤติมันไม่ใช่มาขอไปทีละนิดหรอกครับ มันจะลดฮวบลงไปเลยก็ได้ ก็ต้องมีไว้เพียงพอตามมาตรฐาน

    กับ 2. อย่างที่บอกคือผมคิดว่ามันต้องมีการเปลี่ยนแปลงประเมินได้ตลอดเวลา มันคงไม่ใช่ตายตัว การถือวันนี้ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีทางเลือกอื่น การถือวันนี้ไม่ได้หมายความว่าถ้าวันข้างหน้าสกุลเงินอื่นเหมาะสมกว่าเช่นอาจจะยูโร อาจจะพลิกฟื้นหรืออะไรขึ้นมา มันก็เปลี่ยนแปลงได้อีก”
     
  39. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    - พัก –
    การที่รัฐบาลไทยไปทำ MOU กับจีน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินหยวน หรือเรื่องรถไฟก็ดี ถ้ารัฐธรรมนูญปี 50 ยังอยู่มาตรา 190 บอกว่าเรื่องนี้จะต้องผ่านสภา แล้วครั้งนี้เขาผ่านหรือเปล่า
    “ครั้งนี้สนช. ได้ให้ความเห็นชอบต้นเดือน ธ.ค.”

    โดยไม่มีกระบวนการตามมาตรา 190 เหมือนรัฐธรรมนูญปี 50
    “คือในรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้จะเขียนเรื่องของข้อตกลงระหว่างประเทศไว้อยู่บ้าง แล้วก็ผมเพียงแต่เข้าใจว่ามันจะไม่เหมือนกันในแง่ที่ว่า เดิมนั้นตามมาตรา 190 มันมีตั้งแต่เรื่องกรอบการเจรจา เสร็จแล้วก็จะต้องว่าไปจนกระทั่งลงนาม ให้สัตยาบันอะไรก็ว่าไป แต่อันนี้น่าจะเป็นการขอความเห็นชอบในตัวนี้ที่จะไปทำ”

    แต่ขอความเห็นชอบทีเดียวแล้วจบเลย มติเอกฉันท์
    “และผมเข้าใจว่าถ้ามันมีประเด็นเพิ่มเติมนอกเหนือจากตรงนี้ไปแล้วไปกระทบกระเทือนตามหลักเกณฑ์ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญก็ต้องเข้าอีก คือพูดง่ายๆ นั้นผมคิดว่ายังผ่านสภาอยู่แต่ว่าไม่เข้มข้นและละเอียดเท่าเดิม ไม่นับในประเด็นที่ว่าการพิจารณาค่อนข้างจะรวดเร็วนะครับ เข้าใจว่าหลายคนยังไม่ทราบเลยว่าพิจารณาไปแล้ว”

    ในฐานะที่เป็นคนที่เคยร่างมาตรา 190 เก่า ในรัฐธรรมนูญปี 50 เห็นความแตกต่างเยอะ อันที่ 1 มาตรา 190 บอกว่าก่อนจะไปเจรจาต้องไปขอกรอบการเจรจาจากตัวแทนของประชาชน ตอนที่ไปเจรจาแล้วจะต้องมาเปิดความเห็น รับฟังความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ว่าในเรื่องนี้อาจกระทบอะไรต่ออะไรอย่างไร และหลังจากที่รับฟังความเห็นเสร็จ ไปเจรจาแล้ว กลับมาก็ต้องมาขอความเห็นชอบ แต่ก่อนที่จะขอความเห็นชอบก็จะต้องเอาสิ่งที่ไปตกลงไปไว้เป็นการเบื้องต้นเปิดเผยต่อสาธารณะแล้วรับฟังความเห็นทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าครั้งนี้วันเดียวจบเลย คุณอภิสิทธิ์ชอบแบบไหน
    “อย่างที่บอกครับ มันเข้มข้นน้อยกว่ากันเยอะ ใจผมนั้นหลักการในมาตรา 190 เดิม ซึ่งหลายคนชอบบ่นว่ามันยุ่งยากเกินไป ผมคิดว่าเป็นเพราะว่าบางทีเราก็ตีความหรือไปใช้กฎหมายในทางที่กลัวจนเกินไป จริงๆ แล้วผมคิดว่าในหลายๆ เรื่องการรับฟังความคิดเห็นหรือการมีกรอบเจรจานั้นผมคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์ในการที่จะให้ฝ่ายบริหารต้องมีความรัดกุม บังเอิญเรื่องนี้มันพูดยากนิดนึงเพราะว่าในแง่นึงมันเหมือนกับว่าเอาของเก่ามาทำต่อ เพราะมันเคยผ่านกรอบการเจรจาไปแล้วเหมือนกัน แต่ว่าถ้าเป็นโครงการที่เริ่มต้นใหม่ ใจผมคิดว่ามาตรา 190 เดิมนั้นไปได้ เพียงแต่ว่าอย่างนี้ครับ มี 2 – 3 ประเด็นเท่านั้นเองที่ผมคิดว่าอาจจะต้องปรับปรุง
     
  40. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    อันแรกก็คือว่า ซึ่งไม่ใช่กรณีนี้นะคัรบ เวลาที่มันเป็นข้อตกลงที่เราเรียกว่าพหุภาคี สมมติอาเซียน 10 ประเทศ WTO ร้อยกว่าประเทศ พูดตามตรงเราจะมากำหนดรายละเอียดอะไรเยอะแยะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าหากว่าทุกคนเขาเห็นพ้อง ประชุมร่วมกัน มีมติลงนามไปแล้ว เขาไม่มาแก้อะไรให้กับประเทศไทยประเทศเดียวหรอก ยกเว้นมันเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ เพราะฉะนั้นผมว่ากรอบของพหุภาคีบางเรื่องมันจะไปใช้วิธีคิด วิธีทำงานแบบทวิภาคีนั้นไม่ได้ แล้วอันนี้เป็นเรื่องจริงว่าในยุคที่มี 190 ขณะนั้นบางครั้งกลายเป็นประเทศไทยนี่ยังทำไม่เสร็จอยู่ประเทศเดียว อาจารย์อาจจะเคยได้ยินนะว่าตัวแทนประเทศไทยก็ขึ้นไปกับเขาด้วย แต่ว่าไม่เซ็น หรือทำเป็นเซ็น แต่ไม่เซ็น เพราะว่ายังเซ็นไม่ได้ คืออันนี้ก็เป็นประเด็นนึงที่อาจจะต้องแก้

    2. คงจะต้องพูดกันให้ชัดว่าหนังสือสัญญาประเภทไหน อะไรบ้าง เพราะว่ามันมีตั้งแต่สนธิสัญญา ไปจนถึงสัญญาระหว่างหน่วยงาน หรืออาจจะเป็น MOU สถานะนั้นต้องเอาให้ชัดว่าอันไหนผ่านขั้นตอนไหน”

    ส่วนที่บอกว่าถ้ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง อันนี้จะเอาไว้หรือไม่เอาไว้
    “ผมว่าเอาไว้แล้วก็อาจจะกำหนดอยู่ในกฎหมายลำดับรองได้ว่าแค่ไหน เช่น เป็นเรื่องที่มีมูลค่าการค้าการลงทุนเป็นสัดส่วนเป็นอะไรเท่าไหร่อย่างไรก็เขียนได้”

    ตอนนี้มีการล็อบบี้ไปที่กรรมาธิการยกร่างว่าจะเอาออก ส่วนที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างกว้างขวาง หรือมีระดับที่รุนแรง
    “คือรัฐบาลที่แล้วก็แก้ไปแล้ว ขอให้เหลือแต่เฉพาะเรื่องการค้าเสรี”

    แต่เที่ยวนี้จะเอาตรงนั้นออกให้เหลือแต่เรื่องที่มีผลกระทบต่อเขตแดน หรือต้องมาแก้ไข อนุวัติกฎหมายภายในให้เป็นไปตามที่ไปตกลงกัน
    “อันนี้คือก่อน 190 แล้วก็ก่อนๆ นั้น ผมไม่เห็นด้วยหรอกครับ จริงๆ ผมยืนยันเลยนะครับว่า ฝ่ายบริหารนั้นถ้าหาก 1. มีความชัดเจนทางกฎหมายมากขึ้น แล้วก็จริงๆ ที่ผ่านมาเราแก้ไปแล้วรอบนึง มาตรา 190 โดยให้ฝ่ายบริหารนั้นไปออกกฎหมายกำหนดประเภทของหนังสือสัญญาได้ เพียงแต่ว่าหลังจากนั้นมารัฐบาลต่อมาไม่ยอมเสนอกฎหมายนี้ เพราะอยากจะล้มมาตรา 190 พูดง่ายๆ ทีนี้อย่างที่ผมบอก ถ้าเว้นเรื่องพหุภาคีให้มันเป็นเรื่องพิเศษ ถ้ากำหนดให้ชัดนะครับ ที่มันมีปัญหามากยุคนึงไปตีความกันว่า คือกลัวกันจนบอกว่าแม้แต่ประชุมกัน บันทึกการประชุมก็เป็นหนังสือสัญญา จนกระทั่งตอนหลังเราต้องส่งให้มีการตีความแล้วก็บอกว่ามันไม่ใช่ คือพอเริ่มทำชัดเจนอย่างนี้ผมว่า เราน่าจะอยู่ในฐานะที่มีมาตราแบบ 190 ได้ เพียงแต่มีกฎหมายลูกที่ออกมากำกับให้มันชัดว่าแต่ละประเภทหนังสือสัญญานั้นกระบวนการอาจจะต้องมีความแตกต่างกัน”

    ที่เขากลัวนั้นเพราะเขากลัวจริงๆ หรือเขาแกล้งกลัวเพราะจะล้ม
    “คือมันไม่สะดวกเขา ซึ่งตอนนั้นตอนที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีก็บอกไปหลายครั้งนะครับบอก คุณไม่ต้องไปกลัว ถ้ามันไม่เข้ามันก็คือไม่เข้า มันเข้าก็คือเข้า ขอให้เราทำโดยสุจริตใจเท่านั้นเอง ไม่ใช่ว่าเรื่องนี้มุบมิบไปเพราะไม่อยากที่จะให้มันเป็นเรื่องที่เปิดเผยต่อสาธารณะหรืออะไรก็ตาม”

    ตอนนี้มีข่าวเรื่องการถอดถอน นายสมศักดิ์ กับนายนิคม มีคนบอกว่าไม่กลัวหรือ สนช. ที่จะทำการถอดถอนนี้ บอกว่าถ้าสนช. ไปถอดถอนอาจจะต้องไปขึ้นศาลเมื่อยามแก่เฒ่า คุณอภิสิทธิ์ฟังแล้วคิดว่าอย่างไร
    “คือตอนจั่วหัวรายการอาจารย์ก็พูดมาประเด็นนี้กับประเด็นเรื่องปรองดอง ผมก็ยืนยันเหมือนเดิมนะครับว่า เรื่องนี้ 1.โดยพื้นฐานพอมีการรัฐประหารนั้นมันมีปัญหาอยู่แล้ว ออกทางไหนก็มีข้อโต้แย้งได้ทั้งนั้น แต่ว่าสิ่งสำคัญที่สุดก็คือว่า ในการพิจารณาว่าจะทำหรือไม่ทำนั้นมันควรจะเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมายเท่านั้น ความหมายของผมก็คือว่า จะถอดถอน หรือไม่ถอดถอนนั้น 1. ต้องดูว่าเขาทำผิดหรือไม่ผิด ถ้าเขาทำผิดก็ต้องเดิน ถ้าข้อกฎหมายไปได้ ถ้าเขาทำไม่ผิด ไม่มีสิทธิ์ไปกลั่นแกล้งไปถอดถอนเขา อันที่ 1 นะครับ

    อันที่ 2 ข้อกฎหมายก็มาดูว่า การใช้อำนาจของแต่ละองค์กรอะไรต่างๆ มันถูกต้องหรือเปล่า ถ้ามันมีกฎหมายรองรับถูกต้องก็เดินหน้า ถ้ามันไม่มีก็ต้องบอกว่ามันไม่มี เพราะฉะนั้นตรงนี้คือสิ่งที่จะต้องทำ และผมก็อยากจะเห็นว่าฝ่ายที่ถูกกล่าวหานี้ก็ต้องมาชี้แจงสิว่า 1.ไม่ได้ทำผิด หรือ 2.กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้เพราะอะไร ก็ว่าไป ไม่ใช่มาพูด 2 เรื่องที่อาจารย์พูดเมื่อสักครู่ ความจริงเข้าใจว่าคุณยิ่งลักษณ์มีออกแถลงการณ์หรืออะไรอีก ผมได้ยินมานะครับว่า แต่เขาบอกว่ามันเหมือนเดิมก็คือโต้แย้ง ปปช. ทำไมคดีของคุณยิ่งลักษณ์ทำเร็ว ทั้งๆ ที่ความจริง แถลงการณ์ออกมาเหมือนกับไม่เคยฟังคำชี้แจงครั้งก่อน ก็ยืนยันเหมือนเดิมเข้าใจว่าเป็นการพยายามผลิตวาทกรรมซ้ำเพื่อให้คนไปจำว่าถูกกลั่นแกล้งหรืออะไร คือจริงๆ แล้วคุณยิ่งลักษณ์ หรือคุณนิคม หรือคุณสมศักดิ์ก็ไปชี้แจงสิครับว่า ที่ทำไปนี้มันไม่ผิดเพราะอะไร เอาข้อเท็จจริงออกมา
    อันที่ 2 ข้อกฎหมายก็อย่างที่ว่า ถ้ามันมีข้อกฎหมายตรงไหนที่หยิบยกขึ้นมาได้ที่บอกว่าไม่สมควรที่จะเข้าสู่กระบวนการนี้ก็ว่าไป แต่ว่าถ้าใช้วิธีการดิสเครดิต ปปช. แล้วเอาข้อเท็จจริงซึ่งไม่จริงด้วย หรือบางทีพาดพิงมาถึงอีกว่าทำไมคดีพรรคประชาธิปัตย์ช้าหรืออะไร ซึ่ง ปปช. เขาก็อธิบายของเขาไปอยู่ แล้วมันมีเหตุผลของมันที่เป็นคำตอบเป็นเหตุเป็นผลอยู่ก็ว่ากันไป”

    ถ้ามีคนวิเคราะห์ว่าคุณอภิสิทธิ์ใช้หลักการเหมือนตะวันตก ใช้ตรรกะ ใช้เหตุใช้ผล แต่คนไทยเวลาจะโหวตว่าจะถอดถอนหรือไม่นั้น เขาดูข้อมูลนิดหน่อย ฟังข้อกฎหมายนิดหน่อย แต่ใช้ความรู้สึกว่า นี่มันควรจะถอดถอนหรือไม่ ในแบบไทยๆ ตกลงว่าเขานั้นจับได้ว่า 1. ดิสเครดิต ปปช. ซะว่า ปปช. บางคนขาดคุณสมบัติ 3 – 4 คนอะไรต่อมิอะไร 2.ปปช. เลือกปฏิบัติ กลั่นแกล้งให้คนรู้สึก อันที่ 3. อีกฝ่ายนึงบอกถ้าคุณถอดถอน คุณระวังนะ คุณแก่แล้วนะ อีกคนก็ออกมาอีกมุมนึง พยายามขู่ พยายามหว่านล้อม
    “ข้อแรกนะครับ คืออย่างนี้ครับ ถ้า ปปช. มีปัญหา ถ้า ปปช. ทำไม่ถูก คุณก็ควรใช้กระบวนการทางกฎหมายจัดการกับ ปปช. ว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ มีสิทธิ์ในการไปต่อสู้ทุกประการ แต่ไม่ใช่มาดิสเครดิตกันเฉยๆ ทางกฎหมายก็จริงเท็จก็ไม่รู้ แล้วก็หวังผลว่าถ้าอย่างนั้นก็อย่ามาเอาผิดในสิ่งที่ตัวเองกระทำผิด อันนั้นผมยอมรับไม่ได้

    ส่วนคนที่เป็นผู้มีหน้าที่พิจารณา เมื่อกี้พูดถึงคนถูกกล่าวหา ถ้าอาจารย์บอกว่า ข้อเท็จจริงก็ดูนิดหน่อย เอาใช้อารมณ์ความรู้สึก ผมต้องบอกว่าอย่านะครับ คืออารมณ์ความรู้สึกอย่างนี้ได้อาจารย์ ถ้าบอกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ชื่อมันบอกว่าคุณไว้ใจ หรือคุณไม่ไว้ใจ ผมเชื่ออย่างนี้ผมลงคะแนนอย่างนี้ยังพอได้ แต่เรากำลังพูดถึงกระบวนการที่มันจำกัดเอาไว้ว่า คุณถอดถอนเขาเมื่อเขากระทำความผิดคือฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนกฎหมาย จงใจทุจริตอะไรก็ว่าไป มันเป็นข้อเท็จจริง ผิดก็คือผิด ไม่ผิดก็คือไม่ผิด เพราะอำนาจตรงนี้จะใช้คำว่าอะไรดีคือ กึ่งตุลาการ

    เพราะฉะนั้นคนทำจะไปคิดถึงเรื่องของสภาพแวดล้อม การเมืองอะไรนั้น ผมว่ามันไม่ใช่ มันไม่ใช่การลงคะแนนแบบเห็นชอบ ไม่เห็นชอบ ไว้วางใจ ไม่ไว้วางใจ”

    ถ้าเป็น สนช. จะคิดได้หรือไม่ว่า ตอนนี้เขาบอกว่าเราต้องปรองดอง เพราะฉะนั้นปรองดอง
    “ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน ก็อย่างที่ผมบอกก็คือว่า คุณมีหน้าที่เหมือนกับเป็นคนที่จะต้องมาตัดสินคดี ความรับผิดชอบตรงนี้ต้องมากับความหนักแน่น และความเที่ยงตรง ส่วนถ้าคุณบอกว่าตัดสินไปแล้ว แล้วใครจะมีแนวคิดเรื่องปรองดอง เป็นหน้าที่ของคนอื่น ไม่ใช่หน้าที่คุณ หน้าที่คุณคือคุณพิจารณาเลยว่าบุคคลที่ถูกกล่าวหานี้ทำผิดหรือไม่ ไม่งั้นต่อไปนี้ยุ่งครับ ต่อไปก็หมายความว่าฝ่ายที่บังคับใช้กฎหมายทั้งหลายก็เอาอารมณ์ความรู้สึก การเมืองอะไรเข้ามา วุ่นกันไปหมด ขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองเองก็จะตัดสินในทางกฎหมายเสียอีกว่า ถ้าเป็นเสียงข้างมากแล้วคือความถูกต้อง นี่แหละครับคือบ่อเกิดของวิกฤติการเมืองไทยทั้งหมดที่เอา 2 เรื่องนี้มาปนกัน เอาการเมืองไปปนกับกฎหมาย เอากฎหมายมาปนกับการเมือง

    ผมก็ต้องบอกว่า หน้าที่ของ สนช. ในส่วนนี้ไม่ใช่ในลักษณะของการตัดสินใจทางการเมือง แต่เป็นการตัดสินใจเพื่อรักษา บังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัด ให้เที่ยงตรง”
     
  41. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    คุณอภิสิทธิ์เห็นอย่างไรที่ นายสุริยะใส โพสต์เฟสบุคทำนองว่า ถ้าเรื่องนี้ไม่ถอดถอน ก็เท่ากับว่านิรโทษกรรม
    “ผมถึงบอกว่า คือต้องพูดอย่างนี้ก่อนนะครับ ถอดถอนหรือไม่ถอดถอนนี้ก็ต้องให้เห็นผลกันให้ชัดว่าผิดหรือไม่ผิด ถ้ามติของ สนช. บอกไม่ถอดถอน แล้วให้เหตุผลได้ว่าเขาไม่ผิดเพราะอะไร หรือมันมีข้อกฎหมายที่ไปไม่ได้ อาจารย์จะเห็นนะมันมีคดีที่ ปปช. เขาบอกเขาไม่สามารถเดินต่อได้ในบางเรื่อง เพราะมันเป็นการกระทำฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปแล้วไม่สามารถเอาผิดทางกฎหมายได้ ถ้าอย่างนี้จะถามว่านิรโทษกรรมมั้ยมันก็พูดได้ แต่มันมีเหตุผลของมัน

    ก็ต้องไปโทษว่าคนที่ไปยกเลิกรัฐธรรมนูญนั่นแหละ เป็นคนนิรโทษกรรมให้ ถ้ากรณีคุณสมศักดิ์ก็ดี คุณนิคม หรือคุณยิ่งลักษณ์ก็ดี สนช. บอกว่า ที่ไม่ผิดเพราะมีข้อเท็จจริงอย่างนี้ ที่ไม่ผิดเพราะข้อกฎหมายว่าอย่างนี้ – ได้ครับ ผมก็จะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยอีกเรื่องนึง

    แต่ถ้าบอกว่าที่ไม่ถอดถอนนี้เพราะว่าจะได้สามัคคีกันนะ ปรองดองกันนะ หรือที่ไม่ถอดถอนเพราะผมแก่แล้ว ผมกลัวผมขึ้นโรงขึ้นศาลอย่างนี้ใช้ไม่ได้”
     
  42. -3-

    -3- อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    17 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    890
    ไม่ทราบครับ ผมไม่ใช่คนกรุงเทพ :D:D
     
    padd และ AlbertEinsteins ถูกใจ.
  43. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย (Thailand Political Base)

    อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

    Abhisit.gif
    อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร 6 สมัย อดีตผู้นำฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สนง. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , สนง. คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน , สนง. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในวงราชการ และ สนง. คณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    นายอภิสิทธิ์ เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นนักการเมืองที่มีบุคลิกหน้าตาดี ได้รับสมญานาม จากสื่อมวลชนว่า "หล่อใหญ่" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกัน กับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นใหม่คนอื่นๆ เช่น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อเล็ก" และนายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นเจ้าของสมญานาม "หล่อโย่ง" เป็นต้น
     
    padd likes this.
  44. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำ ครม.ลาออกทั้งคณะ แล้วกราบบังคมทูลขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีรักษาการ เพื่อแก้ปัญหาทางตันทางการเมือง ภายหลังจาก นักวิชาการ นักการเมืองและประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวาย ฎีกาขอนายกรัฐมตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอาศัยความตาม มาตรา 7 (ม.7) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งต่อมาได้มี พระราชดำรัสในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ว่าการขอนายกพระราชทาน ไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้จำสับสนว่า นายอภิสิทธิ์ร่วมลงนามถวายฎีกา ในความเป็นจริงนายอภิสิทธิ์ เพียงยื่นข้อเสนอ ให้รักษาการนายกฯ นำ ครม.ลาออก ไม่ได้ร่วมลงนามถวายฎีกาแต่อย่างใด ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการรับรองจาก ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ว่าสามารถดำเนินการได้จริง และถูกต้องตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญทุกประการ อย่างไรก็ตามหลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ถูกกลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งฉายาให้ว่า "มาร์ค ม.7"
     
    por และ padd ถูกใจ.
  45. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขต ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดี ทุจริตในการเลือกตั้งและต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "คดียุบพรรค"

    ช่วงปี พ.ศ. 2550 นายอภิสิทธิ์ถูกอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยโจมตีทางการเมืองว่าหนีทหาร ดู (ข้อโจมตีอภิสิทธิ์หนีทหาร)[1] ซึ่งในอีกทางหนึ่งนายอภิสิทธิ์ เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี มีสิทธิใช้คำนำหน้านามว่า ร้อยตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือในตัวย่อ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เนื่องจากเคยรับราชการเป็นอาจารย์ที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อยู่ประมาณ 2 ปี ซึ่งต้องผ่านหลักสูตรการฝึกทหาร 6 เดือน และนายอภิสิทธิ์ยังเคยได้รับรางวัล นายทหารดีเด่น อีกด้วย[2]

    ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ประกาศเสนอตัวเป็น นายกรัฐมนตรี คนใหม่ของไทย โดยชูนโยบายวาระประชาชน ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มนโยบาย 4 หัวข้อใหญ่ คือ (1) การพัฒนาคน (2) กอบกู้เศรษฐกิจ (3) ใต้สันติ และ (4) ฟื้นฟูประชาธิปไตย
     
    por และ padd ถูกใจ.
  46. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
    มื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1/2551 โดยระเบียบวาระสำคัญ คือการเลือกนายกรัฐมนตรีแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก คดียุบพรรคการเมือง โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ และนายเสนาะ เทียนทอง เสนอชื่อพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก

    โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าประชุมจำนวนทั้งสิ้น 435 คน จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละพรรคการเมือง 437 คน โดยแบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย(พรรคพลังประชาชนเดิม) 212 คน พรรคชาติไทยพัฒนา (พรรคชาติไทยเดิม) 15 คนพรรคเพื่อแผ่นดิน 21 คน พรรคภูมิใจไทย (พรรคมัชฌิมาธิปไตยเดิม) 11 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 คน พรรคประชาราช 5 และพรรคประชาธิปัตย์ 164 คน (นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ ส.ส.นนทบุรี เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ เสียชีวิต[3], นพ.ไกร ดาบธรรม ส.ส.เชียงใหม่ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ไม่ได้ลงชื่อเข้าประชุม)

    ต่อมา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้อ่านรายนามสมาชิกเรียงตามหมายเลขประจำตัวเพื่อลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี โดยนายอภิสิทธิ์มีคะแนนเสียงสนับสนุน 235 เสียง ขณะที่พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก มีเสียงสนับสนุน 198 เสียง

    จำนวนที่เข้าร่วมลงมติ จาก 63 ครั้ง นายอภิสิทธ์มาลงมติจำนวน 38 ครั้ง คิดเป็น 60.31 เปอร์เซ็นต์
    .............................
    (ความเห็น........เสียงที่เพิ่มขี้นตรงนี้ไม่ใช่เฉพาะคนกรุงเทพฯนี่เนาะ..............)
     
    por และ padd ถูกใจ.
  47. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ข้อมูลส่วนตัว
    ประวัติ
    นายอภิสิทธิ์ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านจิตเวชเด็ก และ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549

    เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธร และระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษา ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน และได้เข้าศึกษาต่อในระดับ ปริญญาตรีสาขาวิชา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดสำเร็จการศึกษาด้วยเวลาเพียง 3 ปี และได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง [5] ซึ่งนับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขานี้ จากมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด[6]

    สาขาวิชา "ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์" (Philosophy, Politics and Economics,P.P.E.) ที่นายอภิสิทธิ์เลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เป็นสาขาวิชาสำหรับนักการเมือง ที่ นายบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เคยสำเร็จการศึกษา

    หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการ เป็นอาจารย์ที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลา เกือบ 2 ปี และได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อ ระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด อีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วได้กลับมาเป็น อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติม จนสำเร็จปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง อีกด้วย

    ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ทำให้บางครั้งสื่อมวลชนเรียก นายอภิสิทธิ์ ตามศักดิ์และสิทธิ์ แห่งวุฒิกิตติมศักดิ์นี้ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
     
    padd likes this.
  48. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    การรับราชการทหาร
    ช่วงปี 2550 นายอภิสิทธิ์ถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองว่าหนีทหารโดยไม่ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร ที่เขตพระโขนง[1] แต่ความจริงนายอภิสิทธิ์ มียศทางทหาร โดยเป็นทหารบกยศร้อยตรี มีสิทธิใช้คำนำหน้านามว่า ร้อยตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือในตัวย่อ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เนื่องจากเคยรับราชการ เป็นอาจารย์สอนที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชะโงก ซึ่งต้องผ่านหลักสูตรการฝึกทหารก่อน 6 เดือน และยังเคยได้รับรางวัลนายทหารดีเด่นด้วย อย่างไรก็ตามนายอภิสิทธิ์ไม่เคยใช้คำนำหน้านามนี้เลย[2]



    ประวัติการทำงาน
     
    por และ padd ถูกใจ.
  49. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    [[ภาพ:300707 stw04.jpg|frame|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หน้าอาคาร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ที่ทำการพรรค]]

    นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ นายพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส. เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

    สามารถลำดับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ได้ดังนี้

    • พ.ศ. 2535
      • ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 (สาธร ยานนาวา บางคอแหลม) 2 สมัย (2535/1 และ 2535/2)
      • ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535-2537)
    • พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์)
    • พ.ศ. 2538 ส.ส. เขต 5 (ดินแดน ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
      • ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2538-2539)
      • โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2538-2540)
    • พ.ศ. 2539 ส.ส. เขต 5 (ดินแดน ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
    • พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกฯ ชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540-2544)
      • กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
      • กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
      • กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
      • กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    • พ.ศ. 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
    • พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2542-2548)
    • พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2544-2548)
    • พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548-2549)
      • ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
      • ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (28 เมษายน พ.ศ. 2548)
     
    por และ padd ถูกใจ.
  50. hey guys

    hey guys อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,066
    ผลงานทางการเมือง
    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมีผลงานทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[7] ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[8] ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทย ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 43 โดยนายอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแล ทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดัน ให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกาศใช้

    ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า นายอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง

    นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก[2] อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช. , ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม

    จากผลงานการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองดังกล่าว ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2549
     
    por และ padd ถูกใจ.

Share This Page