พรรคนี้ต้องมีนโยบายที่ดีมากแน่ๆ และ สามารถทำนโยบายได้ตรงใจคนกรุงเทพมากใช่ไหมครับ จึงอยากทราบว่า หากผมต้องการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในการลงเลือกตั้งครั้งหน้า ( ผมอยู่กทม ) ขอเหตุผลว่า ทำไมผม ( คนกรุง ) ต้องเลือก ประชาธิปัตย์ ครับ ขอเหตุผล และ หลักฐาน ประกอบการพิจารณาด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
กรุงเทพเนี่ยนะ เลือกประชาธิปัตย์มาก ???? อยากถามเหมือนความเห็นข้างบนเลย ว่าอายุเท่าไหร่แล้ว ติดตามการเมืองมากี่ปี
ถามคำเดียว ถ้าจะเลือกทักษิณ คุณเรื่องมากแบบนี้มั้ย พระคุณเจ้า ถึงกับต้องมีหลักฐานประกอบการพิจารณา อยากเป็นเป้าก็บอกเดี๋ยวส่องให้ไม่ต้องมาล่อ
ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะครับ ( ผมเกิด 2522 ครับ ) ผมเข้าใจมาตลอดว่า กรุงเทพเป็นเมือง Swing State คือสามารถเปลี่ยนใจไปมา ตามแต่นโยบายและผลการกระทำของพรรคนั้นๆ ในแต่ละปี แต่ที่ผมสนใจคือทำไม ช่วงหลังๆ ประชาธิปัตย์จึงครองใจ คนกรุง มากกว่าประมาณ 100,000 - 200,000 เสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โซนในเมืองและตะวันตกของกรุงเทพครับ ไม่เหมือนกับ เมื่อก่อน 10 - 20 ปีที่แล้วครับ จึงต้องการทราบว่าโครงการ หรือ นโยบายใดของประชาธิปัตย์ ที่เป็นรูปธรรม ที่ตรงใจคนกรุง และ ทำให้ผมต้องเลือกพรรคดังกล่าวครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ
ขอเดาคำตอบ ผมกาช่องไม่เลือกใครมาทุกครั้งครับ การที่ผมเคยเลือกพรรคไหน คงไม่เกี่ยวอะไรกับกระทู้นี้นะครับ เป็นครั้งแรกที่มีสิทธิเลือกตั้งครับเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ เลือก ปชป. มาตลอดครับเพราะที่บ้านเลือก ปชป. กัน
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ ผมตั้งใจมาถามเพราะต้องการข้อมูลจากบุคคลหลายหลาย ความคิด อาชีพ อายุ รวมถึง แนวคิด ครับ ( จริงๆ ก็ถามหลายที่ครับ ) เพื่อเป็นแนวทางของการวิเคราะห์ สาเหตุและที่มาของ คนกรุงเทพว่า ทำไมส่วนใหญ่ ( อย่างน้อยก็หลายปี ) จึงชื่นชอบ ผลงาน ของพรรคดังกล่าวครับ หลักฐานสำคัญที่เป็นตัวแปร และ อาจเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ ของผู้ที่ยังไม่เคยเลือกตั้งพรรคใดมาก่อน พลังเงียบ ที่มี จำนวนมากกว่า 1,000,000 เสียง ซึ่งเป็นตัวตัดสิน แพ้ ชนะ ได้เลยครับ
ขอเผือกหน่อยเหอะ บ้านไม่ได้อยู่ กทม เพราะ ปชป มีคนคุณภาพเหมาะสมกะระดับ สส ไม่ใช่คุณภาพระดับ อบต อัปเกรด
อธิบายง่ายๆ แบบนี้ละกัน จากประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของกรุงเทพฯ ปชป. ไม่เคยได้ ส.ส. ในกรุงเทพเกินครึ่งของทั้งหมด ก่อนมีทักษิณเป็นนายกฯ แต่หลังจากทักษิณเป็นนายกฯ ปชป. ได้รับความไว้วางใจจากคนกรุงเทพฯ เกินครึ่งจากจำนวน ส.ส. อย่างน่าสงสัยเลยทีเดียว
เมื่อก่อน กทม ก็สวิงครับ พวกไร้สังกัด ชนะเลือกตั่งผู้ว่าบ่อยครั้งอยู่ แต่หลังจากที่ ผู้ว่า กทม จากพรรคสีฟ้า สามารถผลักดันรถไฟฟ้า BTS ในนามของ กทม ให้เป็นรูปเป็นร่าง ได้สำเร็จ ผู้ว่าที่ชนะเลือกตั่งก็เป็น สมาชิกของพรรคสีฟ้ามาตลอด
พรรคจะดำเนินการเมืองโดยวิถีอันบริสุทธิ์ พรรคจะดำเนินการเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชน พรรคจะดำเนินการเมืองโดยอาศัยหลักกฏหมาย และเหตุผลเพื่อความศักดิ์สิทธิ์แห่งรัฐธรรมนูญ และเพื่อเป็นเยี่ยงอย่างแก่อนุชน รุ่นหลังให้มีความนับถือ และนิยมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พรรคจะไม่สนับสนุนระบบและวิธีแห่งเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นระบบและวิธีการของรัฐบาลใดๆ พรรคจะกระจายอำนาจการดำเนินการในท้องถิ่นให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้เนื่องจากความใกล้ชิด ขององค์กรในท้องถิ่นมีมากกว่าส่วนกลาง พรรคมีจุดประสงค์ที่จะให้คนไทยมี ที่ทำกิน-ที่อยู่และอาชีพ และจะเคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล แต่มิได้ละเลยที่จะคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม พรรคเชื่อว่า การแทรกแซงของรัฐเป็นสิ่งที่จำเป็น ในกิจการที่เห็นว่าการแทรกแซงจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น กิจการสาธารณูปโภค พรรคจะส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่ง การศึกษา, ศาสนา, สาธารณสุขและสาธารณูปการ, ศิลป,วรรณกรรม, จารีต ประเพณี, ธรรมเนียมอันดีของชาติ และความปลอดภัยของประชาชน พรรคเชื่อว่า การป้องกันประเทศนั้น ต้องอาศัยการก่อให้เกิดความร่วมมือพร้อมเพรียง ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของ ประเทศ และจะต้องให้มีการบำรุง กำลังหลัก คือ กองทัพให้ทันสมัยทั้งคุณภาพ และปริมาณเท่าที่จะเหมาะสมแก่แผนการ ทางยุทธศาสตร์ และนโยบายทางการเมือง พรรคจะส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างประเทศ
คำว่า “ประชาธิปัตย์” หรือ Democrat หมายถึง “ประชาชนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย” ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช พรรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2489 เป็นพรรคการเมืองที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย และยังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,874,860 คน และมีสาขาพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 195 สาขา นับแต่วันก่อตั้งพรรคจนถึงปัจจุบันมีหัวหน้าพรรคมาแล้วรวม 7 คน ในจำนวนนี้ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย 4 คน คือ พันตรีควง อภัยวงศ์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคคนแรก ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 สมัย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 สมัย นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย นายอภิสิทธ์ิ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 1 สมัย
พรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบันการเมือง ที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติพรรคการเมืองโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489 มีพันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น เลขาธิการพรรคคนแรก ตลอดระยะเวลา 65 ปีที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำแนกได้เป็น 5 ยุค คือ
ยุคที่หนึ่ง (พ.ศ. 2489-2501) : ยุคแห่งการสร้างพรรคและสร้างประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ในระยะแรกหลังการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยสภาพการเมืองของประเทศไทยมีความผันผวนเนื่องจากอยู่ในช่วงเริ่มต้น การดำเนินการทางการเมืองอยู่ในวงแคบ พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์ ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลรับเชิญของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยมีพันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลแห่งกลุ่มจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระหว่างปี 2501-2511 บทบาททางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยุติลงชั่วคราว เมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจ การปกครอง และเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จในปี 2501 ยุคที่สอง (พ.ศ. 2511-2519) : ยุคแห่งการฟื้นฟูพรรคและเชิดชูประชาธิปไตย ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511ทางพรรคฯ ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 โดยมี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายค้านรัฐบาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 โดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ยุคที่สาม (พ.ศ. 2522-2533) : ยุคแห่งการปรับปรุงนโยบายและเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง ในปี 2521 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน 2522 นับเป็น การเข้าสู่ยุคที่สามของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทางพรรคฯ ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (1, 2, 3, 4, 5) ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ยุคที่สี่ (ปลายปี พ.ศ. 2533-2544) : ยุคแห่งการเป็นรัฐบาลของประชาชนและฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2533 พรรคประชาธิปัตย์ได้ถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หลังจากนั้นได้เกิดผันผวนทางการเมืองอย่างรุนแรง นำไปสู่เหตุการณ์ยึดอำนาจของ “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.)” และเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในที่สุด ท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางการเมืองในยุคที่สี่นี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามามีบทบาทต่อต้านเผด็จการเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชน จนกระทั่งเหตุการณ์สงบและนำไปสู่การเลือกตั้งในเดือนกันยายน 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด จำนวน 79 คน และได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายชวน หลกีภัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้เ้ข้า้บริหารประเทศเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง จนถึงกลางปี 2538 เหตุการณ์ทางการเมืองได้เกิดพลิกผันอีกครั้ง และนำไปสู่การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ในครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 86 คน และดำเนินการทางการเมืองเป็นฝ่ายค้านรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพ ติดตามตรวจสอบการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลจนในที่สุดนายบรรหาร ศลิปอาชา ต้องประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 หลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่ โดยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศเป็นระยะเวลา 11 เดือนเศษ ในปี 2540 ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศ ที่เกิดจากความล้มเหลวในการปกป้องค่าเงินบาทจนในที่สุด พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในขณะนั้นต้องไปกู้เงินจาก “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)” เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ จึงประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์โดยนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของชาติในครั้งนั้น เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 ได้ปฏิบัติภารกิจจนครบวาระของรัฐบาลในปลายปี 2543 และจัดให้มีการเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 ยุคที่ห้า (พ.ศ. 2544-2551) : ยุคแห่งการต่อสู้เผด็จการรัฐสภา และต่อต้านการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อผลประโยชน์ทับซ้อน หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยนำโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลบริหาร ประเทศ โดยมีการยุบรวมพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็กกว่า อาทิพรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรมเข้าด้วย ทำให้พรรคไทยรักไทยมีเสียงในสภาจำนวน 294 เสียง ต่อมาภายหลังมีการยุบรวมพรรคชาติพัฒนาเข้าด้วยอีกทำให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส. ถึง 319 คน เมื่อไปร่วมกับพรรคชาติไทย 24 คน และพรรคความหวังใหม่ที่เหลืออีก 1 คน ทำให้ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงในสภามากถึง 344 เสียง คุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด พรรคประชาธิปัตย์มี ส.ส. เพียง 128 คน ได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านต่อสู้กับระบอบเผด็จการรัฐสภาอย่างเข้มแข็ง เพื่อคัดค้านการใช้กลไกของรัฐสภาในการออกกฎหมายและต่อต้านการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมและเพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้อง จนเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน กระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 การเลือกตั้งในปี 2548 ถือเป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทยมีความฮึกเหิมเป็นอย่างยิ่ง การเลือกตั้งครั้งนั้นถูกครอบงำทั้งโดยอำนาจรัฐและอำนาจเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในขณะนั้น ถูกตั้งข้อ สังเกตในความไม่เ่ป็นกลาง และเอื้อประโยชน์ใ์ห้แ้ก่พรรคการเมืองบางพรรคหลังการเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้ง 377 คน พรรคประชาธิปัตย์ 96 คน พรรคชาติไทย 25 คน พรรคมหาชน 2 คน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น คือ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ได้เลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2548 นอกจากจะคุมเสียงเบ็ดเสร็จในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยังพยายามดึงสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนให้มาเป็นพวกเพื่อสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล มีการแทรกแซงสื่อสารมวลชน องค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในคดีต่างๆ อาทิ คดีซุกหุ้น คดียุบพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ด้วยความเข้มแข็ง ต่อสู้กับอำนาจทั้งในระบบและนอกระบบ อย่างกล้าหาญ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศยุบสภาเพื่อหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่กองทุนเทมาเส็ก และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2549 การเมืองในช่วงดังกล่าวมีความขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างหนักคดีการเลือกตั้งทุจริตของพรรคไทยรักไทยและคดีการเลือกตั้งในปี 2548 เกิดความไม่เป็นธรรมทั่วประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้ประท้วงการเลือกตั้งด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ต่อสู้ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่พรรคไทยรักไทยได้ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จนในที่สุดศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาให้ กกต. ทั้ง 3 คนมีความผิดทางอาญา ลงโทษจำคุก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะและให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่แล้วในที่สุดก็ได้เกิดการรัฐประหารขึ้น เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า ได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศส่วน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ต้องสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรี ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ กระทั่งตกเป็นนักโทษในคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจนปัจจุบัน เมื่อรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ บริหารประเทศได้ 1 ปีเศษ ก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคไทยรักไทยซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินและมีคำพิพากษาให้ยุบพรรคได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีกครั้งด้วยจำนวน ส.ส.232 คน พรรคพลังประชาชนได้ร่วมกับพรรคการเมืองต่างๆ จัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ โดยมีพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีจำนวน ส.ส. 164 คน เป็นฝ่ายค้านการบริหารประเทศโดยรัฐบาลที่เป็นตัวแทนกลุ่มอำนาจเก่า ถูกต่อต้านจากประชาชนเป็นวงกว้างจนเกิดการรวมตัวขึ้นเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อมานายกรัฐมนตรีของรัฐบาลพรรคพลังประชาชน 2 คน ต้องพ้นจากตำแหน่งไป พร้อมๆ กับการถูกยุบพรรคพลังประชาชนอีกครั้งด้วยคดีทุจริตการเลือกตั้ง แล้วเปลี่ยนไปใช้ชื่อพรรคเพื่อไทย เหตุการณ์ทางการเมืองที่ผันผวนทำให้เกิดการแตกแยกอย่างรุนแรงในประเทศ ความไม่ชอบธรรมในการบริหารบ้า้นเมืองของรัฐบาลทำให้เ้กิด วิกฤตนึ้กับประเทศไทยอีกครั้ง แต่ในที่สุดเมื่อพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในขณะนั้นประสบปัญหาจึงได้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ พรรคประชาธิปัตย์โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 17 ธันวาคม 2551จึงนับเป็นการยุติบทบาทการเป็นฝ่ายค้าน 8 ปี ของพรรคประชาธิปัตย์และกลับเข้าเป็นรัฐบาลของประชาชนเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศชาติในภาวะวิกฤติ มุ่งมั่นพัฒนาบ้านเมือง และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันนี้ จวบจนมีการตัดสินใจยุบสภาของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 และมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ 44 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 115 คน รวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 2 ระบบ 160 คน
เรื่องราวของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเรื่องราวที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องการยุทธ์ศาสตร์การปกครองประเทศไทย ที่ยาวนานมากว่า80ปี หลายเรื่องราวถูกจารึกในประวัติศาสตร์ หลายเรื่องราวมิได้ถูกจารึกกลับถูกเลือนหายไปในประวัติศาสตร์ จนคนรุ่นหลังไม่รู้ตัวคนการเป็น “ประชาธิปัตย์” จนต้องมีการกลับมาสร้างเอกลักษณ์ใหม่ ( อังกฤษ Rebranding ) อันที่จริงแล้วหากสืบค้นประวัติของพรรคประชาธิปัตย์จะพบว่า พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อ: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 2,869,753 คน นับเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย และมีสาขาพรรคจำนวน 177 สาขา
นายควง อภัยวงศ์ หรือ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 ณ จังหวัดพระตะบอง ซึ่งขณะนั้นอยู่ใน มณฑลบูรพา ของราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา) เป็นบุตรของ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการจังหวัดพระตะบอง กับคุณหญิงรอด สมรสกับ คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ เคยรับราชการเป็น นายช่างผู้ช่วยโท แผนกกองช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และได้รับพระราชทานยศพันตรี (พ.ต.) ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์พิเศษ เมื่อคราวร่วมสงครามอินโดจีน พ.ศ. 2484 และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น หลวงโกวิทอภัยวงศ์ แต่ต่อมาได้ลาออกจาก บรรดาศักดิ์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งในสงครามครั้งนี้ ได้ทำหน้าที่เป็นนายทหารช่างผู้คุมงานก่อสร้างถนนไปเชียงตุง และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานการรับมอบดินแดนมณฑลบูรพาจากอินโดจีนฝรั่งเศสอีกด้วย ซึ่งพี่สาวของนายควง อภัยวงค์ คือพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สุวัทนาได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ในตำแหน่งเจ้าจอมสุวัทนา และได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามลำดับ มีพระธิดาคือพลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีไหวพริบปฏิญาณในการพูด การปราศรัยดีเยี่ยม อีกทั้งยังมีมุขตลกสนุกสนานเป็นที่รู้จักกันอย่างดี จนได้ฉายามากมาย เช่น "นายกฯ ผู้ร่ำรวยอารมณ์ขัน" หรือ "จอมตลก" หรือ "ตลกหลวง" ซึ่งบางครั้ง ไหวพริบปฏิญาณและมุขตลกเหล่านี้ได้ช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติมาแล้วด้วย จึงเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนในการปราศรัยอย่างมาก ตัวอย่างวาทะเด็ดของ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ เช่น “ ข้าพเจ้า นายควง อภัยวงศ์ เชื่อในพุทธภาษิตที่ว่า 'อฺปปาปิ สนฺตา พหเก ชินนฺติ ' คนดีถึงแม้มีน้อยก็เอาชนะคนชั่วหมู่มากได้ วาจาสัตย์เท่านั้น ที่จะไม่ทำให้เราตกต่ำ
การก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยการประชุมรวมตัวกันของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่บริษัทของนายควง ที่ย่านเยาวราช แต่ทางพรรคถือเอาวันที่ 6 เมษายน เป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อให้ตรงกับวันจักรี จึงเป็นพรรคการเมืองคู่ราชบัลลังค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฝ่ายค้านคานอำนาจของ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 — 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ฝ่าย(หัวนิยมใหม่) คอมมิวนิสต์ ที่ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ นิยมชมชอบในระบอบคอมิวนิสต์ เพราะ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดีเริ่มเรียนหนังสือที่บ้านครูแสง ตำบลท่าวาสุกรี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมที่โรงเรียนวัดศาลาปูนอำเภอกรุงเก่า จากนั้นไปศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย) จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับหัวเมือง แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภา กับอาจารย์เลเดแกร์ (E.Ladeker) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศกระทรวงยุติธรรม ต่อมาสอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตได้ในขณะมีอายุ 19 ปี แต่ตามข้อบังคับสมัยนั้นยังเป็นเนติบัณฑิตไม่ได้เพราะอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องรอจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้เป็นสมาชิกสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา ต่อมาได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2463 โดยเข้าศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Université de Caen) จนสอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "บาเชอลิเอร์" กฎหมาย (Bachelier en Droit) และได้ปริญญารัฐเป็น "ลิซองซิเอ" กฎหมาย (Licencié en Droit) ตามลำดับ
ในระหว่างที่ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ก่อนจะถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2511 รวมอายุได้ 66 ปี ด้วยโรคทางเดินหายใจขัดข้อง พันตรีควง อภัยวงค์ ได้ให้คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ ได้เรียก นายไกรสร ตันติพงศ์ สส.เชียงใหม่พรรคประชาธิปัติย์ ในสมัยนั้น เข้าพบและได้ฝากฝังพรรคประชาธิปัติย์ โดยสั่งเสียขอให้ไปเรียนเชิญ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช มาเป็นหัวหน้าพรรค เมื่อพ.ต.ควง อภัยวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรม นายไกรสร ได้ไปเรียนเชิญ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช มาเป็นหัวหน้าพรรคหลายครั้ง แต่ก็ได้รับการปฎิเสธ จึงได้ร่วมกับสมาชิกพรรคขอใช้สำนักงานกฎหมายเสนี ปราโมช 10 ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม.เป็นที่ทำการพรรคชั่วคราว เมื่อสบโอกาสก็เชิญ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช มานั่งหัวโต๊ะและยกมือให้รับเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแค่นั้นเป็นต้นมา ประวัติ นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ คือ 7 สมัย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ไว้ใจนายไกรสร ตันติพงศ์ เป็นอย่างมากจึงได้ส่งเสริมให้เรียนการกฎหมาย ยุทธศาสตร์การเมือง การปกครองประเทศ โหราศาสตน์ และการปฎิรูปที่ดิน นอกจากนี้ยังเป็นผู้รับนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาเป็นสส.ของพรรค สมัยเป็นรองหัวหน้าพรรค และประธานสส.
ขอสอดแทรกความคิดเห็นก่อน ไม่ต้องขอบคุณผมนะครับ ก็ไม่รู้เหมือนกัน คิดเอาเองว่า ไม่แน่ว่าจะเป็นความจริง หรือจริงก็ไม่เสมอไป เลือกพรรคเพื่อไทยก็เยอะมากขึ้นเรื่อยๆ
น่าจะพิจารณาร่วมกับ "ทำไมคนอิสาน/เหนือ ไม่เลือกพรรค ปชป." และ "ทำไมคนใต้เลือก ปชป." ไปพร้อมๆกันด้วยนะครับ จะเป็นประโยชน์ แก่พรรค ปชป. อย่างยิ่ง
ยิ่งคนอีสานอพยบเข้ามามากๆ คนเหนือก็ยิ่งเข้ามา พรรคเพื่อไทยก็ยิ่งได้รับความนิยม มียิ่งลักษณ์ก็ยิ่งรัก ผมก็เริ่มชอบ ยิ่งจำนำข้าว ยิ่งรถไฟความเร็วสูง ยิ่งรักมากเร
ไฟฟ้าฟรีถาวร สำหรับผู้ใช้ไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน จัดการปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาด จัดตั้งกองกำลังพิเศษ 2,500 นาย มอบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ทุกคนทุกเดือน โครงการบ้านมั่งคง (ซ่อมแซม จัดสาธารณูปโภค และสร้างบ้านใหม่) ของชุมชนแออัดในเมืองและหมู่บ้านทั่วประเทศ บัตรประชาชนใบเดียว รักษาฟรีอย่างมีคุณภาพ เพิ่มเงินทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำเพื่อการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 250,000 คน พัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพในทุกพื้นที่
เพิ่มเงินกำไรอีกร้อยละ 25 จากโครงการประกันรายได้เกษตรกร (ชาวนา ชาวไร่ข้าวโพด ชาวมันสำปะหลัง) ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 ในเวลา 2 ปี พร้อมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน จากต้นกล้าอาชีพ สู้ต้นกล้าธุรกิจ จัดโฉนดชุมชนให้เกษตรกรมีที่ทำกินอีก 250,000 คน บนที่ดินของรัฐ ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และสร้างโอกาสใหม่แก่ชีวิตของประชาชนให้ครบ 1 ล้านคน ขยายประกันสังคมสำหรับเกษตรกรและแรงงานนอกระบบให้ครอบคลุม 25 ล้านคน เพื่อรับเงินชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และบำเหน็จชราภาพ จัดให้มีบำนาญประชาชนหลังอายุ 60 ปี โดยรัฐร่วมสมทบในกองทุนการออมแห่งชาติ
รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เชื่อมคุณหมิง ภาคอีสานสู่ภาคใต้เชื่อมต่อไปยังมาเลเซียเพื่อพัฒนาการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว พลิกโฉมเมืองท่องเที่ยวตลอดชายฝั่งทะเลภาคใต้ และแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยเป็น “มนตร์เสน่ห์แห่งเอเชีย” (The Rhythm of Asia) ด้วยเงินลงทุน 10,000 ล้านบาทต่อปี สร้างแหลมฉบังให้เป็นเมืองท่าสมบูรณ์แบบ (Harbor City) พร้อมรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกรุงเทพ แหลมฉบังและระยอง และเครือข่ายโลจิสติกด้วยเงินลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท ขยายบรอดแบนด์แห่งชาติ 3G อินเตอร์เน็ทชุมชน สู่ทุกตำบลทั่วประเทศ ภายใน 4 ปี พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างสินค้าและบริการบนพื้นฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ สร้างเขตเศรษฐกิจเกษตรพิเศษ เพื่อจัดระบบการผลิต การแปรรูป และการตลาดสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพ และมูลค่าสูง เดินหน้าต่อในการบริหารจัดการแหล่งน้ำทั่วประเทศ ขยายพื้นที่ชลประทาน เพิ่มปริมาณน้ำอุตสาหกรรม และขยายประปาชุมชน
เป็น ASEAN GATEWAY นำไทยเข้าสู่ระบบการค้าเสรี ประชาคมอาเซียน และการแข่งขันสากล ลดต้นทุนการขนส่ง/โลจิสติกส์ สร้างโอกาสใหม่ๆให้ SME และแรงงานไทย สร้างแหลมฉบังเป็นเมืองท่าสมบูรณ์แบบ ( Harbour City ) พลิกโฉม มาบตาพุด เป็นเมืองอุตสาหกรรมสะอาด ( Eco-Town ) พัฒนาศักยภาพเมืองพัทยา เป็นศูนย์บริการครบวงจร รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจภาคตะวันออก พร้อมรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจากอู่ตะเภา และรถไฟความเร็วสูง ปฏิรูปผังเมืองและจัดสภาพแวดล้อมเมืองแหลมฉบังให้สะอาด ครบครัน ด้วยสาธารณูปโภค โรงเรียน โรงพยาบาล รถประจำทาง ระบบน้ำประปา ศูนย์การค้า สันทนาการ และที่อยู่อาศัยเป็นสัดส่วน ปรับโครงข่ายเชื่อมโยงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ทั้งถนน รถไฟรางคู่ เชื่อมโยงรถไฟไทย-จีน เพิ่มศูนย์บรรจุและคัดแยกสินค้า ( ICD ) เพิ่มศักยภาพท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังให้เป็นท่าเรือที่ใหญ่และทันสมัยระดับ มาตรฐานโลก ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยบริหารร่วมกับเอกชน สร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง โดยเชื่อมต่อจาก สุวรรณภูมิ และขั้นต่อไป ขยายสู่จันทบุรี-ตราด ( เอกชนลงทุน ) ปรับปรุงเสริมประสิทธิภาพสนามบินนานาชาติ อู่ตะเภา
ขอสอดแทรกความคิดเห็นก่อนครับ คุณว่ามันง่ายไหมละจะเลือกพรรคประชาธิปัติ เอาแค่อยากเลือกก็ต้องอ่าน ก็ไม่รู้ว่ายากไปเปล่า
รักษาฟรีคนยากจน เด็ก ผู้สูงอายุ ประกันสุขภาพทั้งครอบครัว ๕๐๐ บ./ปี ขยายโรงพยาบาล สถานีอนามัยทั่วประเทศ โครงการ"กข.คจ."-กำเนิดกองทุนหมู่บ้าน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โครงการชุมชนพึ่งตนเอง/ชุมชนเข็มแข็ง
ถนน ๔ เลน ทุกภาคทั่วไทย กำเนิดรถไฟรางคู่ กระจายความเจริญ – BOI เขต ๓ ปฏิรูปที่ดิน กว่า ๑ ล้านครัวเรือน สนับสนุนธุรกิจขนาดกลาง/ย่อม (SMEs)
ขยายการศึกษาพื้นฐานถึง ๑๒ ปี ขยายมหาวิทยาลัยทุกภูมิภาค กู้ยืมเงินเพื่อเรียนต่อ นมดื่มและอาหารกลางวันฟรี ให้เด็กประถม-มัธยม อนุบาลชนบท
กระจายอำนาจ + เงิน สู่ท้องถิ่นยก อบจ./เทศบาล ตั้งอบต.ทั่วประเทศ ตั้งกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ระเบียบจริยธรรมข้าราชการ/นักการเมือง กฏหมายกัน+ปราบ ฮั้วประมูลงานของรัฐ องค์การมหาชน ราชการยุคใหม่
ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ เท่าที่ผมอภิปรายมาหลายบอร์ด นี่ถือเป็นคำตอบแรก ที่มีนโยบาย และ ผลงาน ชัดที่สุดของ พรรคประชาธิปัตย์ครับ อย่างไรก็ตาม เท่าที่หาข้อมูล ได้ พล.ต จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้อนุมัติโครงการตอนเป็นผู้ว่ากรุงเทพครับ หากท่านมีโครงการอื่น รบกวนด้วยนะครับ รถไฟฟ้า บีทีเอส เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจาก รถไฟฟ้ามหานคร โดยเกิดขึ้นจากการอนุมัติของกรุงเทพมหานคร ในสมัยพลตรี จำลอง ศรีเมืองเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากขณะนั้นในกรุงเทพมหานครไม่มีระบบขนส่งมวลชนทางรางมีการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าหลายระบบ เช่น รถไฟฟ้าลาวาลิน แต่มีแนวโน้มไม่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างจากคณะรัฐมนตรี ขณะที่การจราจรในกรุงเทพฯ ติดขัดอย่างหนัก เนื่องจากปริมาณรถยนต์เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเปิดเสรีให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน (ก่อนหน้านี้ การนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึงหลายเท่าของมูลค่ารถ)[ต้องการอ้างอิง] ต่อมา กรุงเทพมหานครอนุมัติสัมปทานการก่อสร้างและจัดการเดินรถให้กับบริษัท ธนายง จำกัด (ปัจจุบัน คือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)) ของคีรี กาญจนพาสน์ ทีแรกกำหนดให้สร้างอู่ซ่อมบำรุงบริเวณพื้นที่สวนลุมพินี แต่ประชาชนที่ใช้พื้นที่สวนลุมพินีเพื่อออกกำลังกายเป็นประจำได้รวมตัวประท้วงการเข้าใช้พื้นที่ ว่าขัดต่อพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานพระราชทรัพย์จัดสร้างเพื่อเป็นสวนสาธารณะของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการประท้วงขอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างรถไฟฟ้าจากโครงสร้างยกระดับลอยฟ้าเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ในที่สุดจึงได้มีการย้ายสถานที่ก่อสร้างอู่ซ่อมบำรุง ไปใช้ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นที่ทำการและสถานีขนส่งสายเหนือเดิม (สถานีหมอชิต) ใกล้กับสวนจตุจักร โดยในช่วงแรกก่อนเปิดทำการ รถไฟฟ้าสายนี้ใช้ชื่อว่า รถไฟฟ้าธนายง [2] ตามชื่อบริษัทที่ได้รับสัมปทาน ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย ในการโอนย้ายกิจการรถไฟฟ้าทั้งหมดจากเดิมที่เป็นสัมปทานและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครไปเป็นทรัพย์สินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยแทน[3] เนื่องจากกระทรวงคมนาคมเล็งเห็นว่า กรุงเทพมหานครไม่เหมาะสมที่จะดูแลโครงการใหญ่ ๆ เพราะอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเดินรถในส่วนต่อขยายของสายสุขุมวิท ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะไม่ใช้วิธีว่าจ้าง BTSC เข้าไปดำเนินการ แต่จะใช้วิธีการประมูลโครงการแบบ PPP Gross-Cost แบบเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ซึ่งอาจเกิดกรณีผู้ให้บริการอาจไม่ใช่ BTSC อีกต่อไปได้ และยังเพิ่มความสะดวกกับรัฐในการควบคุมค่าโดยสาร และการออกตั๋วร่วมที่จะไม่มีค่าแรกเข้าอีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้บริหารของกรุงเทพมหานครได้ตัดสินใจดำเนินการให้มีการจ้างเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 30 ปี เพื่อทำสัญญาแทนสัญญาเดินรถที่จะหมดอายุในวันที่ 7 พฤษภาคม 2555 และในวันที่ 11 สิงหาคม 2555[4] ซึ่งทำให้เกิดความสงสัยจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย พรรครัฐบาลในขณะนั้น[5] และการตอบโต้จากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้าน ประเด็นหลัก คือ เรื่องการได้หรือเสียประโยชน์ของภาครัฐและการได้หรือเสียประโยชน์ของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครซึ่งเรื่องนี้ทำให้บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติอนุญาตให้มีการแจกใบปลิวภายในสถานีรถไฟสถานีต่าง ๆ อีกด้วย จึงนับเป็นครั้งแรกที่มีการตอบโต้ที่เป็นความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)[6] ถึงผลได้ผลเสียในเรื่องนี้และเป็นการโต้ตอบพรรครัฐบาลในขณะนั้นที่ต้องการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาระงับการจ้างเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 30 ปี[ต้องการอ้างอิง] http://th.wikipedia.org/wiki/รถไฟฟ้าบีทีเอส
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะครับ คำตอบมีรายละเอียดมากๆครับ ขออนุญาตอ่านรายละเอียดก่อนครับ ข้อมูลเยอะมาก ขอลงรายละเอียดนโยบายส่วนที่เกี่ยวกับคนกรุงเทพนะครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ
โดยธรรมชาติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ข้อมูลก่อนการเลือกตั้งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่สุดในการตัดสินใจ หากการเลือกตั้งนั้นเป็นโดยสุจริต ยุติธรรม ผลงานในอดีตผมคิดว่าเป็นเพียงข้อมูลประกอบเท่านั้น หากไม่รุนแรงหรือรับไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่นเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม ที่ผ่านมา มีความผิดปกติคือ ผู้ลงสมัคร ทั้ง 2 พรรคใหญ่ได้รับคะแนนเกิน 1 ล้านทั้งคู่ ซึ่งทำให้ยอดผู้ใช้สิทธิสูงผิดปกติ คำถามคือ ทำไมคนถึงตื่นตัว มากขนาดนั้น ในความเห็นผม ไม่ใช่การเลือกระหว่าง ปชป กับ พท แต่เป็นเลือกระหว่าง เอาแม้ว กับ ไม่เอาแม้ว ซึ่งสถานการณ์ขณะนั้นคือ ต่างฝ่ายต่างพยายามเก็บคะแนนทุกคะแนนให้มากที่สุด แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ โพลต่าง ๆ เสนอเป็นทางเดียวกันว่า เอาแม้วมาแน่ ซึ่งสวนทางกับผลที่ออกมา ขณะเดียวกันมีการสร้างความเกลียดชัง ในการปราศรัยการเอาผลงานที่ผ่านมาอาจจะเป็นข้อมูลประกอบน้อยมาก ขออนุญาตออกความเห็นในส่วนของผมครับ ขอบคุณครับ
คนกรุงเทพเขาไม่ได้เลือก ส.ส. ให้มาพัฒนากรุงเทพครับ ดังนั้นไม่มีหรอกครับไอ้ที่เรียกว่า "นโยบายส่วนที่เกี่ยวกับคนกรุงเทพ" คุณคงเข้าใจอะไรผิดไปมั้ง
ขอชี้แจงหน่อยนึง ผมก็ใช้เกือบทั้งชีวิตอยู่ในกรุงเทพ ผมไม่เคยรู้สึกตัวว่า ผมได้รับประโยชน์อะไรจากนโยบายของพรรคการเมืองหน้าไหนทั้งสิ้น อยากทำอะไรทำไป จะบอกว่าผมได้ประโยชน์อะไรก็ว่าไป ผมไม่รับรู้ เพราะผมไม่อยากให้มายุ่งกับชีวิตผม ถ้าจะให้ดีนะ มารับเงินเดิอนไปฟรีๆเร อยากได้เท่าไรตั้งเอาเองเร แล้วกลับไปนอนอยู่บ้านเฉยๆ หรืออยากไปที่ชอบๆที่ไหนก็ไปไป๊ ไปให้พ้นๆหน้าไป อยากได้อะไรหาเองทำเอง เอากันอย่างนี้แร
ก็ปชป.ตั้งรัฐบาลในค่ายทหารไงคะ แล้วพท.ดันส่งตำหนวดมาลงผู้ว่ากทม. มันก็แพ้อะดิ ไมไม่คิดก่อนว้าาาาาา (ขอบคุณสำหรับการตั้งกระทู้นะคะ)
เบื่อพรรคการเมืองมาก ตอนนี้อยากได้ ส.ส. ที่ไม่สังกัดพรรคมากกว่า เผื่อคนดีคนเก่งจะได้มีโอกาสแสดงความสามารถพัฒนากรุงเทพฯให้ก้าวหน้า เจริญทัดเทียมเมืองใหญ่ๆ เช่น นิวโยร์ค ของอเม้ริกา หรือ โทเคียว ของประเทศเจแพน ถ้าท่านเหล่านี้ซึ่งเคยได้แสดงความจริงจังและจริงใจที่จะได้รับใช้ชาวกรุงเทพฯในฐานะผู้ว่าฯ กทม. แม้จะไม่ได้รับเลือกสมดังใจปราถนา แต่หากเปลี่ยนใจมาสมัคร ส.ส. ผมคิดว่าคงจะได้รับคะแนนเสียงท่วมท้นแน่นอน
ขอบคุณสำหรับคำตอบ แต่นี่มันโครงการทั่วประเทศครับไม่ใช่เฉพาะสำหรับคนกรุงเทพ ถ้าจะมาบอกว่าคนกรุงเทพเลือกเพราะนโยบายพวกนี้ผมว่าคงใช้ไม่ได้ ผมขออนุญาตผ่านนะครับ
แน่นอน เสนอข้อมูลด้านกลับให้ด้วย เผื่อไม่อยากเลือกประชาธิปัตย์ นายทวดเองคนนี้ก็ชัดเจนคล้ายผมอย่างคือไม่ได้สนใจนโยบาย แต่ไม่เหมือนผมแฮะ จะให้ผมเลือกพรรคไหนกันอีกล่ะครับ------------------------ทวดเอง กระทู้สนทนา การเมือง พรรคหนึ่ง หาเสียงด้วยการนำเสนอนโยบาย ส่วนอีกพรรค หาเสียงด้วยการใส่ร้าย พรรคหนึ่ง ยอมคืนอำนาจ เมื่อประชาชนเรียกร้อง ส่วนอีกพรรค ใช้การปราบปราม เพื่อรักษาอำนาจ พรรคหนึ่ง ประชาชนเดือดร้อน รีบลงพื้นที่แก้ปัญหา ส่วนอีกพรรค แก้ปัญหาความเดือดร้อน ผ่านจอทีวี พรรคหนึ่ง เร่งสร้างสนามบินสุวรรณภูมิไว้รองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาล ส่วนอีกพรรค สร้างสนามฟุตซอลเสร็จไม่ทันการแข่งขัน พรรคหนึ่ง ทำให้ประชาชนมากมายเข้าแถวใช้สิทธิสามสิบบาทรักษาทุกโรค ส่วนอีกพรรค ทำให้ประชาชนต่อคิวซื้อน้ำมันปาล์มมาปรุงอาหาร พรรคหนึ่ง ทำให้เสื้อเหลืองผลิตไม่ทันขาย ส่วนอีกพรรค ปล่อยให้น้ำมันปาล์มขาดตลาด พรรคหนึ่ง ใช้โครงการรับจำนำข้าวหวังยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนา ส่วนอีกพรรค ใช้โครงการประกันข้าวหวังแค่ให้ชาวนาพออยู่ได้ พรรคหนึ่ง ปราบปรามยาเสพติดจนแทบหมดประเทศ ส่วนอีกพรรค กลับมาเล่นเรื่องฆ่าตัดตอนหวังดิสเครดิต พรรคหนึ่ง หาเงินจากหวยบนดิน ส่งเด็กไทยเรียนเมืองนอก ส่วนอีกพรรค กลัวมอมเมาประชาชน ด้วยการเพิ่มสลากกินแบ่ง พรรคหนึ่ง จัดระเบียบสังคม ไม่ให้เยาวชนมัวเมากับอบายมุข ส่วนอีกพรรค มอมเมาเยาวชนให้เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ พรรคหนึ่ง มีกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน ส่วนอีกพรรค มีชุมชนพอเพียง ที่ให้น้ำดื่มพลังแสงอาทิตย์ที่ใช้ไม่ได้ พรรคหนึ่ง มีหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สร้างงานให้กับชนบท ส่วนอีกพรรค คอยแจกเงินสองพัน ให้กับคนมีเงินเดือน พรรคหนึ่ง องค์กรอนามัยโลกยกย่องให้เป็นรัฐบาลที่แก้ปัญหาไข้หวัดนกอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอีกพรรค ปล่อยให้ประชาชนเป็นไข้หวัดหมูเอง แล้วหายเอง เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน พรรคหนึ่ง แก้รัฐธรรมนูญหวังเป็นประชาธิปไตย ส่วนอีกพรรค แก้รัฐธรรมนูญหวังผลการเลือกตั้ง พรรคหนึ่ง หวังปรับโครงสร้างประเทศต้อนรับเออีซี ส่วนอีกพรรค กลัวเป็นหนี้ ยอมให้ประเทศอยู่ล้าหลัง พรรคหนึ่ง สร้างสัมพันธ์ไมตรีกับเพื่อนบ้าน หวังผลทางเศรษฐกิจ ส่วนอีกพรรค ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน หวังผลทางการเมือง พรรคหนึ่ง สร้างผลงานจนเห็นเป็นรูปธรรม ส่วนอีกพรรค สร้างวาทกรรมจนน้ำลายฟูฟ่อง พรรคหนึ่ง เสนอนโยบายใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศ ส่วนอีกพรรค คอยลอกเลียนแบบ แต่ทำไม่ไหว พรรคหนึ่ง อยากได้อำนาจ โดยผ่านประชาชน ส่วนอีกพรรค หวังได้อำนาจ โดยผ่านองค์กรอิสระ พรรคหนึ่ง ก้มหน้าทำงาน โดยไม่โจมตีใคร ส่วนอีกพรรค ตั้งหน้าโจมตี โดยไม่ทำงาน พรรคหนึ่ง พูดจริง แล้วก็ทำจริง ส่วนอีกพรรค พูดอย่าง แล้วก็ทำอย่าง พรรคหนึ่ง ถูกเล่นงานโดยอาศัยความเชื่อ ส่วนอีกพรรค กฎหมายไม่เคยเอื้อมถึง พรรคหนึ่ง ถูกกล่าวหาปล่อยปะละเลย ทั้งที่ยังไม่รู้ใครทุจริต ส่วนอีกพรรค มีคนทุจริต แต่กลับปล่อยปะละเลยจะคดีหมดอายุความ อย่างนี้แล้ว ถ้าผมอยากได้รัฐบาลที่ทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ยังมีพรรคไหนให้ผมเลือกอีกหรือครับ 104 สมาชิกหมายเลข 1661673 18 ธันวาคม 2557 เวลา 10:45 น.
ถ้างั้นเรามาช่วยกันสนับสนุนท่านผู้นี้ให้เป็น ส.ส. กทม. กันเถอะครับ ท่านจริงจังกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตของลูกหลานชาว กทม. ไม่มีผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคการเมืองไหนที่กล้าจะทุ่มเท เอาชีวิตเข้าเสี่ยง ให้กับชาว กทม. เท่ากับท่านอีกแล้วครับ