ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. - กรรมการพิจาณาจ่ายเงิน ส่วนมากไม่ใช้แพทย์ หรือมีความรู้ทางแพทย์ - กรรมการมีอำนาจเก็บเงินจาก ร.พ. เข้ากองทุน - กรรมการมีอำนาจพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย(ร.พ.ต้องทำตามที่กรรมการกำหนด) - จ่ายเงินทันที่โดยไม่ได้ดูว่าใครผิดถูก สรุปคนที่ร้องแทบทุกคนได้เงิน(ลองอ่านดูครับ) - หลังจากจ่ายเงินแล้วผู้ป่วยสามารถฟ้องหมอ-ร.พ ได้อีก ถ้าฟ้องแล้วแพ้หมอ คนไข้ไม่ต้องคืนเงิน - คดีอายุความยาวนานมาก คือ10ปีหลังเสียหาย ตรงนี้เขียนกำกวมมาก ดูๆแล้วเหมือนขยายอายุความได้ไม่สิ้นสุด http://ilaw.or.th/sites/default/files/ผู้เสียหายสาธารณสุข.pdf ------------------------------------- ผมคนกลาง กลัวแต่พรบ.นี้จะยิ่งทำให้ เจ๊งครับ วุ่นวายยิ่งกว่า30บาท แน่นวล เช่น เรื่อง รักษาความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย.. ถ้ากำหนดอะไรที่กำลังคนไม่พอ ปฎิบัติไม่ได้ ร.พ.เล็กๆ หรือสถานีอนามัยคงต้องปิดตัว
จากข้อถกเถียงทั้ง 2 ฝ่าย พรบ. นี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย - ข้อดี ต่อไปนี้ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทุกคน จะต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ รัดกุม จะทำชุ่ย ๆ แล้วปล่อยคนไข้ ทรุดหนักหรือเสียชีวิต โดยไร้ความผิดทั้งแพ่งและอาญาเหมือนแต่ก่อนยากแล้ว - ข้อเสีย ถ้าเจอคนป่วยเคสหนักถูกส่งมายังโรงพยาบาลขนาดเล็ก จากเดิมแพทย์และเจ้าหน้าที่ อาจจะรีบรักษาพยาบาลขั้นต้นเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยก่อนจะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าต่อไป แต่จากนี้ไปโรงพยาบาลขนาดเล็กอาจทำแค่ห้ามเลือดพันแผลโดยเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือมูลนิธิ โดยหมอจะไม่ยุ่ง (ถึงไม่ทำเลย) แล้วรีบส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงทันที ที่ต้องกลายเป็นแบบนี้ เพราะแพทย์ก็ต้องปกป้องตัวเองจากการถูกฟ้องร้องด้วยเช่นกัน ซึ่ง 2 ประเด็นนี้ยังเปรียบเสมือนมองต่างมุม ระหว่างมุมเจ้าหน้าที่ กับ มุมผู้ป่วย แต่เรื่องดีหลัก ๆ คือ จะต้องมีการตั้งกองทุนเพื่อรักษาเยียวยา+ชดเชยแก่ผู้ป่วยและญาติ กรณีที่ได้รับการรักษาชุ่ย ๆ เพราะที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่า แพทยสภา ไม่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายผู้เสียหายได้เลย (ก็คล้าย ๆ กับสภานักหนังสือพิมพ์ที่ไม่สามารถจัดการกับสื่อห่วย บิดเบือน ตอแหล ได้นั่นแหละ - เสือกระดาษไร้ประโยชน์)
ผมว่าอันตรายนะ จะบอกว่าเพื่อให้หมอไม่กล้าทำชุ่ยนี่ผมว่าไม่ค่อยแฟร์กับคนที่เป็นหมอใน รพ ขนาดเล็กเท่าไหร่ แค่นี้บุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่ค่อยจะพออยู่แล้ว ถ้าจะคุ้มครองผู้ป่วยแค่ด้วย พรบ นี้ ผมว่าแย่แน่ๆ ทุกวันนี้คนจบหมอมาก็พยายามหนีออกนอกระบบกันจะแย่อยู่แล้ว นี่ยังจะสูบเงินออกจาก รพ ไปตั้งกองทุนอีกนี่น่าจะลำบาก มีอะไรก็ไปฟ้องเป็นกรณีๆไปอย่างที่เป็นอยู่มันมีปัญหาอะไรยังไงกันเหรอครับ อันนี้ผมไม่เก็ตเท่าไหร่
เท่าที่ดูรู้ศึกสงสารหมอเลยครับ ทุกวันนี้ถ้าหลายๆท่านทราบ ว่าเงินเดือนหมอ(รัฐบาล) มีการข้างชำระหลายครั้งอยู่แล้ว ตั้งแต่สมัยรัฐบาลก่อน แล้วถ้ามี พรบ นี้เพิ่มอีก ......
ดูมาตรา 6 ดี ๆ ครับ คนจะเข้าคุณสมบัติไม่ใช่ง่าย ๆ ขนาดนั้น คนที่จะเรียกค่าเสียหายได้มาจากความผิดพลาดของแพทย์ในการรักษาเท่านั้นนะครับ เช่น เป็นหวัดแต่โดนตัดขา อะไรพวกนี้ แต่ถ้าไปถึงโรงบาลตรวจเจอมะเร็งขั้นสุดท้าย แบบนี้ก็เรียกอะไรไม่ได้ครับ และคุณสมบัติข้อสองก็ยังกำหนดซ้ำไปด้วยว่า ถ้ารักษาจนเสร็จแล้วหายปกติก็เรียกค่าเสียหายไม่ได้เหมือนกันด้วย ดังนั้นผมคิดว่าต่อให้รักษาพลาด แต่ถ้าสามารถแก้ไขจนอาการกลับมาได้ ก้เอาผิดไม่ได้เหมือนกัน
ที่ไม่ชอบคือ ทำไมไม่เรียกค่าเสียหายกับผู้ทำผิดเอง แต่บังคับเอาเงินคนอื่นมาจ่ายแทน สุดท้ายแล้วที่แพงคือค่ารักษาพยาลบาล กลายเป็นคนอื่นต้องจ่ายเพิ่มขึ้น
ในฐานะประกอบอาชีพแพทย์โดยตรง ตอนนี้ในวงการกำลังพูดถึงเรื่องนี้อยู่ ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. นี้ แนวโน้มต่อไป ถ้า พ.ร.บ. นี้ ผ่าน ทางแพทย์จะเรียกร้องให้จำกัดเวลาการทำงานของแพทย์เพื่อลดความผิดพลาด ในขณะที่จำนวนแพทย์ในขณะนี้ไม่เพียงพออยู่แล้ว จะเป็นภาระหนักมากสำหรับโรงพยาบาลทุกระดับ เพราะจำนวนแพทย์ไม่เพียงพอทุกระดับ ประกันภัยวิชาชีพแพทย์จะขายได้ดีขึ้น แพทย์ส่วนใหญ่จะออกมาทำเอกชน เพราะอยู่ในราชการก็ไม่มีเกราะคุ้มครอง แล้วทำไมจะยอมเงินน้อยด้วยความเสี่ยงที่เท่ากัน นี่คือผลกระทบที่คิดกันอยู่ ส่วนตัวตอนนี้กำลังเรียนรู้การเป็นนักลงทุนที่ดีอยู่ ส่วนในอนาคตวางแผนไว้ว่า ถ้าลูกหลานคนไหนคิดจะเรียนแพทย์ จะขอตัดออกจากกองมรดกโดยไม่มีข้อยกเว้น
แค่นี้หมอเก่งๆก้อไปโรงพยาบาลเอกชนหมดแล้ว ทำไมไม่จัดการระบบที่จำเป็นก่อน หรือให้ความรู้แก่คนทั่วไปเรื่องอาหาร การดูแลสุขภาพ ทุบหม้อข้าวตัวเองแบบนี้ เดี๋ยวโรงพยาบาลก้อร้างสิ
อย่าตัดรอนวิชาชีพแพทย์ถึงขนาดนั้นเลยครับ ถึงยังไงสำหรับผม (และอีกหลายคน) ก็ยังมีความคิดว่า ในบรรดาวิชาชีพที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงในสังคม วิชาชีพแพทย์และผู้พิพากษา อยู่ในอันดับต้น นะครับ
มีใครจะรู้บ้างหรือไม่ว่าอาชีพแพทย์ในเมืองไทย โดนมัดมือชกข้างเดียวมาโดยตลอด กรณีถ้าผู้ป่วยฟ้องร้องแพทย์ ไปออกข่าวด่าว่าแพทย์ทางสื่อต่างๆ แล้วก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อหน้าที่การงานของแพทย์ผู้นั้น ต่อมาเมื่อศาลพิพากษาแล้วว่าแพทย์ไม่ได้กระทำผิดตามที่กล่าวหามา แพทย์ไม่มีโอกาสฟ้องร้องกลับเรียกค่าเสียหายหรือชื่อเสียงคืนมาได้เลย เพราะตามกฏหมายเมืองไทยถือว่าผู้ป่วยกล่าวหาด้วยความไม่รู้ จึงไม่มีความผิด อยากรู้ว่าจะมีอาชีพไหนในโลกที่ยอมโดนชกข้างเดียวแบบนี้ตลอดกาล สำหรับผม พ.ร.บ. นี้คงเป็นฟางเส้นสุดท้าย หาก พ.ร.บ. นี้ผ่าน ผมจะทำงานใช้ทุนที่เรียนมาอีก 5 ปี แล้วจะหาอาชีพอื่นต่อไป
พรบ นี้ น่าจะเป็นประโยชน์ทั้ง หมอ และคนไข้ นะ แต่จะเวิร์คหรือเปล่าไม่ค่อยแน่ใจ การจ่ายเงินไปเลยโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด น่าจะหมายถึงไม่ต้องไปคำนึงถึงว่า หมอ คนไหนทำคนไข้เดี้ยง ถ้าคนไข้เกิดอาการ เดี้ยง จากการรักษาก็จ่ายเลย ตรงนี้หมอรักษาคนไข้ก็ไม่ต้องมากังวลว่าคนไข้จะเดี้ยงหรือเปล่า เพราะ เดี้ยงเมื่อไร กองทุนก็จ่ายไป มีได้มีเสียนะเนี่ยะ เงินกองทุน เอามาจากงบประมาณของรัฐ และเงินสมทบจากสถานพยาบาล แล้วสถานพยาบาลที่เป็นของรัฐจะเอาเงินจากไหนมาจ่าย ก็เอามาจากงบประมาณรัฐ นั่นแหละ มันซ้ำซ้อนกันหรือเปล่า สถานพยาบาล ไม่รู้ว่ารวมเอกชนด้วยหรือเปล่า อ่านแล้วไม่แน่ใจว่ารวมด้วยหรือเปล่า ถ้าไม่รวมเอกชนก็น่าจะของบประมาณอุดหนุนจากรัฐอย่างเดียวไปเลย ไม่ต้องไปเก็บจากสถานพยาบาลของรัฐหรอกยุ่งยากเปล่า ๆ
ถ้าตาม พรบ.เคสนี้คนไข้ได้เงินแน่นอน แถมยังฟ้องหมอต่อได้อีก ------------------------------------------------------------ Pichaya Nimchindaรู้ทันหมอ By Dr.P หางดง ... เจ๊าาาาาา ...... (เครดิต ประชาทอล์ค) ..... เหตุเกิดที รพ.หางดง เชียงใหม่ บ่ายวันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน 2557 ดิฉันได้ประสบเหตุกับตาของตัวเอง จากการที่ได้ไปส่งเพื่อนตรวจ ซึ่งกว่าจะได้รับการตรวจใช้เวลาไปกว่า 1 ชั่วโมง แต่นั่นเป็นเรื่องปกติที่ต้องทนได้ในการใช้บริการ รพ.ของรัฐในเบื้องต้น แต่ที่ไม่อาจทนได้คือสิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้ ระหว่างที่นั่งรอ มีผู้หญิงคนหนึ่งอุ้มลูกน้อยอายุประมาณขวบกว่านั่งรอตรวจอยู่เหมือนกัน ซึ่งน่าจะรอนานกว่าดิฉัน และในระหว่างรออยู่นั้น ได้มีเจ้าหน้าที่ของ รพ.มาบอกว่าให้พาน้องกลับไปก่อนเพราะหาเอกสารไม่พบ โดยไม่มีความสนใจที่จะดูแลหรือให้การพยาบาลเบื้องต้นแม้แต่น้อย แม่ของเด็กจึงต้องพาเด็กออกจากโรงพยาบาลไป คล้อยหลังไปไม่ถึง 20 นาที ก็อุ้มลูกวิ่งกลับเข้ามาในโรงพยาบาลด้วยน้ำตานองหน้าบอกว่ายังไม่ทันถึงบ้าน ลูกก็ไม่หายใจแล้ว และหลังจากนั้น สิ่งที่ควรทำจึงเกิดขึ้น มีการไล่ผู้ไม่เกี่ยวข้องออกนอกพื้นที่ เจ้าหน้าที่มารุมอยู่ 3-4 คน จากการแอบดูเห็นเครื่องตรวจวัดการเต้นของหัวใจแสดงผลเป็นเส้นตรง ไม่ทราบว่าหลังจากนั้นเด็กมีชีวิตรอดหรือเปล่า ความข้องใจที่มีอยู่คือ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทั้งหลายโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีสิทธิอันชอบธรรมมากน้อยเพียงใดในการที่จะไล่คนไข้กลับบ้าน ด้วยเหตุผลเดียวคือหาเอกสารไม่เจอ คุณธรรมและจิตสำนึกแห่งความเมตตาสำหรับเพื่อนมนุษย์ดัวยกัน ควรจะมีบ้างไหม สำหรับบุคคลกรทางการแพทย์ ดิฉันไม่แน่ในว่าแม่ของเด็กเป็นคนไทยหรือต่างด้าว เพราะดูจากสภาพก็ไม่น่าจะมีเงิน แต่เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องของคนที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน แล้วผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่จะไม่ลองตรวจสอบดูบ้างหรือคะ ว่ามีใครควรรับผิดชอบหรือไม่ แล้วจะยินยอมใหัมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำซากกันอีกหรือ ........... คำชี้แจงจากโรงพยาบาลหางดง คำชี้แจงผอ.รพ.หางดง โรงพยาบาลหางดง ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในรายละเอียด เรื่องการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ( ตามที่มีผู้โพสต์ข้อความพาดพิงถึง ) ผู้ป่วยเด็กรายนี้ เป็นผู้ป่วยโรคท่อทางเดินนำ้ดีอุดตันและมีภาวะโรคตับแข็ง ตั้งแต่อายุ 5 เดือน ซึ่งทางโรงพยาบาลหางดงได้ดูแลผู้ป่วยรายนี้ตั้งแต่แรกคลอด และได้มีการส่งตัวไปรักษากับแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ อย่างต่อเนื่อง ด้วยผู้ป่วยจะมีอาการอืดแน่นท้อง และต้องระบายน้ำออกจากช่องท้องเป็นระยะ ๆ ในวันที่ 9 พ.ย. 2557 ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการอืดแน่นท้อง และแพทย์ได้ทำการรักษา และให้สังเกตอาการที่ห้องฉุกเฉิน จนอาการแน่นท้องทุเลา แพทย์จึงเห็นควรให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ขณะที่ให้แม่ผู้ป่วยรอเอกสารชำระเงินที่หน้าห้องฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ได้บอกกับมารดาผู้ป่วยว่า "ให้พาน้องกลับบ้านไปก่อนเพราะหาเอกสารไม่พบ" ในความหมายของคำว่าหาเอกสารไม่พบคือ เอกสารที่จะต้องนำไปชำระเงิน หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยยังไม่ได้รับการรักษาตามที่มีผู้โพสต์ข้อความ กล่าวถึง ในกรณีสาเหตุที่เจ้าหน้าที่มาบอกกับมารดาผู้ป่วย ว่าหาเอกสารการชำระเงินไม่พบซึ่งเจ้าหน้าที่และมารดาผู้ป่วยมีความเข้าใจตรง กันในเรื่องเอกสาร ว่าเป็นใบชำระเงินเหมือนทุกครั้ง จึงไม่ได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม และในขณะนั้นมีผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องช่วยชีวิตและต้องส่งต่อการรักษาใน ห้องฉุกเฉิน จึงขอชี้แจงดังรายละเอียดที่กล่าวมา หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ของผู้ป่วยรายนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหางดง พญ.นลินทิพย์ ธรรมฤกษ์ฤทธิ์ - เบอร์โทรศัพท์ 053-442-390-93 ต่อ 511 หรือหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล คุณอุบล สิงห์แก้ว - เบอร์โทรศัพท์ 053-442-390-93 ต่อ522
รู้ทันหมอ By Dr.P 12 ชม. · ลองวิเคราะห์เล่น ถ้า (ร่าง)พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ผ่านจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้น อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ก่อนที่จะเกิด พรบ.นี้ หลายๆคน คงคิดว่า หมอต้องออกมาประท้วงแน่ๆ เลย แต่มือที่มองไม่เห็น(ที่เกี่ยวข้องเอกชน)รู้ครับ ว่าหมอไม่ประท้วงหรอก ถ้าหยุดงานออกมาประท้วง เหล่าคนไข้และญาติ ได้รุมด่า รุมประณาม แน่นอน ทีนี้มาคิดกันเล่นๆ ดีกว่า ถ้าผ่านจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนครับ การฟ้องร้องเกิดมากขึ้นแน่ๆ ก็ลดแลก แจกแถม ขนาดนั้น ขนาดทุกวันนี้ ยังฟ้องด้วยกระแสสังคม ถ่ายรูป ถ่ายคลิป ประจานโซเชี่ยล หรือแม้กระทั่งฟ้องร้อง ร้องเรียนจริงๆ อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจาก "รักษาไม่ถูกใจ" มากกว่า "รักษาไม่ถูกต้อง" มากกกก แล้วส่วนหนึ่งเกิดจากประชาชนบางส่วน ที่มีความรู้พื้นฐานทางสุขภาพ(น้อยมากกกก) อันนี้ต้องยอมรับกันตามตรง แม้จะมีวิชาสุขศึกษาบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษาไทย (คุณจะโทษว่าการศึกษาล้มเหลว หรืออะไรก็แล้วแต่) ซึ่งจริงๆ ไม่รู้หรือลืม ไม่ผิดครับ แต่...ไม่รู้ก็ควรสอบถาม หาคำตอบ คำอธิบาย จากหมอ พยบ. จนท. เพื่อที่จะเข้าใจได้ถูกต้อง แต่สังคมปัจจุบัน เลือกที่จะ แชะ แชร์ แฉ เป็นคนดีหลังคีย์บอร์ดแทน แรกๆ หมอจะทำตามใจคนไข้มากขึ้นครับ เพราะไม่อยากมีปัญหา =>นำมาซึ่งการเสียงบประมาณ จ่ายยาและตรวจเพิ่มเติม โดยไม่จำเป็น "มหาศาล" เมื่อเริ่มมีหมอโดนฟ้อง+หมอที่ลาออกมากขึ้น คนที่ยังไปต่อ จะเริ่มไม่ไหว คนทำงานลด แต่ปริมาณงานเพิ่มมหาศาล และแน่นอน จะนำมาซึ่งความผิดพลาด ก็จะโดนฟ้องหนักเข้าไปอีก หมอกลุ่มที่ยังไปต่อก็จะเริ่มไม่ไหว ถ้าไม่โดนฟ้อง ก็ลาออกไปหมด "มือที่มองไม่เห็น" นั่งยิ้มเลยครับ ดูดหมอเข้าเอกชนแสนง่าย แค่อยู่เฉยๆ ก็มาหา เมื่อถึงจุดที่แทบไม่เหลือคนทำงาน รพ.รัฐ ถามว่าหมอ พยบ. จนท. เดือดร้อยมั้ย เค้าไปทำเอกชน ย้ายตามAEC ทำคลินิกความงาม เล่นหุ้นกันหมดแล้วครับ ส่วนคนมีเงิน ก็ไม่เคยเดือดร้อนอะไร ส่วนคนฐานะปานกลาง ก็จำเป็นต้องทำประกันสุขภาพ เพื่อจะรักษา รพ.เอกชน ได้ ส่วนชาวบ้านตาดำๆ ที่ได้ผลประโยชน์ช่วงแรก ใครฟ้องหมอทัน เงินยังเหลือ ก็โชคดีไป ใครฟ้องไม่ทัน ก็งานเข้าละครับ คิดว่าถึงตอนนั้น จะเหลือ รพ.รัฐ ที่ยังไหวกี่แห่ง ทุกวันนี้แต่ละที่ก็ขาดทุนหลายสิบล้านต่อปีแล้ว หลายๆ คนที่เคยรักษาฟรีจนชิน อาจจะไม่รู้ เอกชนบางแห่ง แค่เป็นหวัดก็จ่ายหลักพันละครับ ยิ่งถ้าผ่าตัดอย่างเช่น ไส้ติ่งอักเสบ รวมๆ ก็5-6 หมื่น บางที่เป็นแสน แล้วตอนนั้น จะไปฟ้องว่าโดนเก็บเงินแพง ไม่ยอมจ่ายเงิน เค้าก็ไม่มีใครสนหรอกครับ ไม่มีเงิน ไม่รักษา ก็มันเป็นธุรกิจนี่นา แล้วเมื่อไม่มี รพ.รัฐ จะขึ้นราคาเท่าไหร่ก็ได้ สุดท้าย คนที่ได้ผลประโยชน์จริงๆ จากนโยบายนี้ ก็คือ รพ.เอกชน และประกันสุขภาพ (ตรงนี้ อดคิดไม่ได้จริงๆ ว่ามือที่มองไม่เห็น ถือหุ้นอยู่เท่าไหร่) ส่วนชาวบ้านที่ได้รับเงินที่เค้าแจก(จริงๆก็เป็นเงินภาษีนะแหละ) สุดท้ายแล้วก็กลายเป็นคนที่เดือดร้อนที่สุดเหมือนเดิม ซึ่งคนที่จะเรียกร้องไม่ให้ร่างนี้ผ่านขึ้นมาจริงๆ ไม่ใช่ใครครับ นอกจากประชาชนทั่วไป อย่ายอมตกเป็นทาส ทุนนิยม แต่ถ้าพวกคุณสนับสนุนมันเองกับมือ สุดท้ายก็อย่าโทษใครเลยครับ ปล.ไม่ต้องเชื่อหมอนะครับ แค่อยากให้ลองคิดดูเอง ปล.2 เห็นบรรดาหมอเตรียมลาออกกัน ว่าแต่(คุณ)คนไข้ เตรียมเก็บเงินซื้อประกัน+จ่าย รพ.เอกชนหรือยังครับ ปล.3 อย่าลืมฝึกภาษาเพื่อนบ้านให้พร้อมคุยกับหมอAEC ด้วยนะครับ ^^ By Dr.P
ค่านิยมคนในเมืองส่วนใหญ่คิดว่า ทำงานหาเงิน เพื่อความสะดวกสะบาย มีโทรศัพท์รุ่นใหม่ มีเงินซื้อรถขับ ซื้อเครื่องประดับ ร่างกาย มีบ้านหลังใหญ่ กินของแพง โดยละเลยการดูแลตัวเอง ละเลยอาหารที่มีประโยชน์กับตัวเอง ดึกดื่นก้อยังทำงาน. หันมากินแต่อาหารที่เขาผูกขาดให้กินให้ซื้อ เช่นไก่เร่งเนื้อ ไข่เร่งโต หมูเร่งสี วัวเร่งนม ผักเคลือบยา ข้าวรมยา ขนมถุงใส่ยากันบูด เหล้ายาปลาปิ้ง......อาหารสำเร็จรูป เพียงเพื่อจะได้มีแรงทำงานไปวันๆ เป็นทาสอาหารนายทุน โดยไม่รู้ตัว.... สุดท้ายก้อป่วยเพราะสารพิษสะสม มะเร็ง กระดูกผุ โรคผิวหนัง ฯลฯ คนป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี โรคดื้อยาเพิ่มขึ้น เพราะยาปฎิชีวนะที่ฉีดไก่ ฉีดหมู ฉีดวัวนม ผสมอาหารปลา . ไม่น่าแปลก.....ที่หมอ พยาบาลจะต้องทำงานหนักขึ้น เพราะคนไข้ล้นโรพยาบาล หรือวินิจฉัยโรคผิดพลาดและ ใช้เวลารักษานาน ยาที่กินๆเข้าไป ก้อพอกที่ตับ ค้างที่ไต ดีก้อไม่ทำงาน(ดีซ่าน) เลือดเป็นพิษ ทีนี้ขี้ไม่ออก เยี่ยวไม่ออก ก้อบอกหมอๆๆๆๆ ทีนี้....ตังที่เก็บไว้ งัดออกมาฟอกไต ฟอกเลือด ทำคีโมเพราะมะเร็งจับไข่ จนหมดกระเป๋า มันเป็นวงจรลูกโซ่ ตราบใดที่คนยังหลงประชานิยม "กิน กาม เกียรติ " "กิน"อาหารพื้นบ้าน "ขี้"เป็นเวลา "ปี้"อย่าสำส่อน "นอน"อย่างพอเพียง อายุจะยืน ไม่ต้องหาหมอบ่อย นะจ๊ะ
ต่อไปเด็กจะไม่กล้าเรียนหมอเพราะจบมาทำงานเป็นหมอแล้วคนไข้ฟ้องหรือเปล่านะ ? ขออัพเดทข้อมูลข่าวสารสักเรื่องเนอะ http://www.komchadluek.net/detail/20141115/195970.html เสียงสะท้อน!ความหวังปฏิรูประบบสาธารณสุข หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับ ทีวีดิจิทัล NOW26 และ จ.สมุทรสาคร เปิดเวทีสัญจร “เวทีพลเมืองปฏิรูป” ครั้งที่ 8 วาระ “เดินหน้าใหม่ สาธารณสุขไทย” ที่โรงแรมเซ็นทรัลเพลส เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ระดมความคิดหาแนวทางปฏิรูปงานด้านสาธารณสุข เพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างมีคุณภาพ สุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น ผู้ดำเนินรายการ มองว่า ปัญหาสุขภาพเป็นวาระสำคัญของประเทศ ดังนั้น เวทีนี้จึงเป็นช่องทางสำคัญที่จะระดมสมองทุกฝ่าย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปงานสาธารณสุขของประเทศ ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ถ่ายทอดประสบการณ์ที่เธอต่อสู้เพื่อลูกมาตลอด 23 ปี ทำให้เห็นช่องว่างของปัญหา ทั้งการใช้บัตรทอง บัตรประกันสังคม ที่สำคัญคือความอ่อนด้อยทางด้านหลักประกันสุขภาพ จนทำให้มีคดีเข้าสู่ศาลจำนวนมาก และส่วนใหญ่คนไข้จะเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้ประชาชนได้รับความรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ปรียนันท์ มองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นสร้างความทุกข์ให้ทั้งคนไข้ และบุคลากรทางการแพทย์ จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลสานต่อการตั้งกองทุนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบทางการแพทย์ "การที่จะฝากความหวัง จากกระทรวงสาธารณสุข คงเป็นเรื่องยาก อยู่ในภาวะที่พึ่งพาไม่ได้ หลายรัฐบาลต่างก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อกองทุนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบทางการแพทย์ และคาดหวังว่ารัฐบาลชุดนี้จะหันมาให้ความสำคัญ" ปรียนันท์ ระบุ นพ.สมยศ ศรีจารนัย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข เห็นพ้องว่า อยากให้ พ.ร.บ.ชดเชยผลกระทบทางการแพทย์ ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะที่ผ่านมาบุคลากรทางด้านนี้ผิดพลาดจนถูกฟ้องร้อง และกลายเป็นช่องว่าง จะเห็นว่าในอดีตความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับแพทย์ ถือว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป ทำให้ปัจจุบันคนป่วยเสียค่ารักษาพยาบาลสูงมาก และมีความคาดหวังต่อการรักษาสูง ดังนั้น เมื่อได้รับผลกระทบจึงเกิดการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย นพ.สุรพงษ์ บุญประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การให้บริการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ที่ประสบความสำเร็จ เพราะมี พ.ร.บ.โรงพยาบาลมหาชน เข้ามารองรับ ถือเป็นกฎหมายในตัวเอง มีคณะกรรมการบริหารที่มาจากท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร ดังนั้น เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างคนไข้กับแพทย์ คณะกรรมการชุดนี้ก็จะเข้ามาดูแล หากพบว่าแพทย์ผิดก็จะสอบสวนว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น เครื่องมือไม่พร้อม คณะกรรมการก็จะประสานกับชุมชนจัดหาเครื่องมือให้ ถือเป็นการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ขณะที่ พ.ต.ท.สุรินทร์ ชัยพานิช รองประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า คณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นโดยรัฐมนตรี ควรยกเลิกให้หมด เพราะว่าที่ผ่านมาโรงพยาบาล แพทย์ เป็นเหยื่อความเสียหาย และเป็นจำเลยทางสังคม เวลามีเหตุความขัดแย้ง ที่สำคัญคือต้องปรับวิธีคิด ต่อ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ แพทย์จะต้องทบทวนเรื่องที่คิดว่าตัวเองเป็นบุคคลแตะต้องไม่ได้ ต้องยุติแนวคิดเช่นนี้ นพ.ประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านสาธารณสุข กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของสภาปฏิรูปฯ คือให้ความสำคัญต่อการให้คนมีสุขภาพที่ดี โดยได้กำหนดไว้ในหมวดว่าทุกคนต้องมีสุขภาพที่ดีทั้งกาย และใจ นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ประเด็นขัดแย้งระหว่างแพทย์กับคนไข้ เกิดจากมิจฉาทิฐิ ตอนนี้มีความหวาดกลัวต่อร่าง พ.ร.บ.ผลกระทบทางการแพทย์ ทั้งที่จะเป็นแนวทางแก้ปัญหา แต่ต้องมาตกม้าตาย เพราะแพทย์ไม่ศึกษา พ.ร.บ.นี้ กลายมาเป็นการต่อต้าน โดยไม่รู้ข้อมูล ซึ่งหากต้องการปฏิรูปต้องฟังความเห็นแพทย์ให้น้อยลง กฎหมายที่ล้มเพราะนักการเมืองไม่กล้าตัดสินใจ รวมทั้งมีแพทย์ไปเป็นนักการเมือง บุญยืน ศิริธรรม เครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพ ภาคตะวันตก มองว่า ระบบสาธารณสุขไทย ผิดพลาดตั้งแต่ให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าตลาดหลักทรัพย์ เมื่อเกิดความผิดพลาดมีกองทุนชดเชยเข้ามาดูแล ไม่สามารถที่จะปฏิรูปเพื่อยกระดับได้ นพ.โมลี วนิชสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร กล่าวว่า จ.สมุทรสาคร ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าว 2 กลุ่ม ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย กลุ่มที่ถูกกฎหมายจะได้รับการบริการด้านสาธารณสุข แต่กลุ่มที่ไม่ถูกกฎหมาย เมื่อเจ็บป่วยขึ้นมา น่าเป็นห่วงมาก เพราะเสี่ยงต่อการที่จะเป็นพาหะของโรค และที่ผ่านมาโรงพยาบาลสมุทรสาคร ต้องใช้จ่ายเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นคนต่างด้าว ผ่านไป 7 ปี เป็นวงเงินที่ 57 ล้านบาท ขณะเดียวกันการรวมกองทุน ต้องพิจารณาว่าประชาชนจะได้อะไร อองโกลัด ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวมีความพึงพอใจที่ได้เข้ากองทุนรักษา 30 บาท ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวภายในจังหวัด เข้าถึงบริการใน 2 แบบ คือ มีบัตรประกันสุขภาพ และบัตรประกันสังคม ปัญหาในขณะนี้อยู่ที่กลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข เพราะเมื่อป่วยเข้าโรงพยาบาล ก็ไม่มีเงินรักษา ไม่มีญาติ ทำให้ภาระตกอยู่กับทางโรงพยาบาล นพ.โมลี วนิชสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร กล่าวเสริมว่า กองทุนทางด้านสาธารณสุขทั้ง 3 กองทุน จะรวมหรือไม่ ก็ไม่มีผล เพราะแพทย์ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร ไม่ได้รักษาตามกองทุนทั่วไป แต่ทำด้วยบทบาทหน้าที่ ขณะเดียวกันการปฏิรูปก็ต้องเป็นการกระทำที่ไม่เกินเลยไป ระหว่างแพทย์กับผู้มาใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันกองทุนมีด้วยกัน 3 ส่วน คือ กองทุนของข้าราชการ กองทุนในส่วนของบัตรประกันสังคม และบัตรประกันสุขภาพ ตามลำดับ สำหรับที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร เมื่อคนป่วยมารับการรักษาก็ไม่ได้คำนึงว่ามาจากส่วนใด หรือต้องไปแยกแยะกลุ่ม ทัศนีย์ บัวคำ อุปนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขไม่ยอมยุบสถาบันวิชาชีพ และตลอดเวลาที่ผ่านมา การที่ไม่สามารถพัฒนาระบบประกันสุขภาพ เรื่องนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องมาทำความเข้าใจร่วมกัน สาเหตุที่กลายเป็นความขัดแย้ง เพราะต่างฝ่ายต้องการมีอำนาจ
ประชาชนจะยิ่งตายมากขึ้น เพราะ รพ. รัฐ จะเหลือแต่หมอจบใหม่ใช้ทุน หมอเป็นอาชีพที่ขาดแคลน พวกเขามีที่ไป ที่เขาต้องตรวจคนไข้วันละหลายร้อยคน ก็ทำด้วยใจกันทั้งนั้น หมอเก่งๆ เขาก็ไปอยู่เอกชนกันหมด เพราะ ตรวจรักษาได้เต็มที่ ชาร์จเงินได้แพงๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ คนจนเข้าโรงฆ่าสัตว์ คนรวยเท่านั้นถึงจะได้รับการรักษาที่ดี แทนที่จะออกข้อกำหนด เพื่อลดภาระการตรวจของหมอ ไม่ต้องให้หมอตรวจคนไข้เกินความสามารถ จะได้ตรวจแบบมีคุณภาพ ที่เมืองนอก คนไข้ จะใช้สิทธิสุขภาพ เขาจะใช้ได้ตาม รพ. ที่รัฐ กำหนดเท่านั้น ซึ่งรัฐก็จะกำหนดว่า ใครอยู่เขตไหนต้องไปลงทะเบียนกับ รพ. อะไร ไม่ใช่ทุกคนแห่กันมารักษา รพ. ที่ดังๆ แน่นไปหมด จะพบแพทย์เฉพาะทาง ก็ต้องให้ หมอ GP ตรวจเพื่อคัดกรองก่อน แต่ของไทย คัดกรองกันเองให้ นางพยาบาลคัดกรองบ้าง ของพวกนี้ไม่คิดจะปฏิรูป แต่เสือกไปปฏิรูปแบบทำลายแพทย์
อัพเดทข่าวที่เกี่ยวข้อง http://www.nationtv.tv/main/content/social/378433276/ ฟ้องชนะหมอรักษาผิดพลาด สู้คดี 10 ปี ศาลฎีกาสั่งจ่าย 3.1 ล้าน เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย ศุภชัย สินธ์ประเสริฐ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 16:32 น. นนทบุรี - ฟ้องชนะหมอรักษาผิดพลาด สู้คดี 10 ปี ศาลฎีกาสั่งจ่าย 3.1 ล้าน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เตรียมยื่นฟ้องบังคับคดีให้ทางกระทรวง สธ. จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งศาลฏีกาภายในระยะเวลา 30 วัน เมื่อวันที่ 19 พ.ย.57 ที่ศาลนนทบุรี นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขแดงที่ พ 1541/2549 ที่นางดวงนภา มารดาของนายยงยุทธ ปันนินา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุขในฐานะจำเลย ซึ่งเป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลร้องกวาง จ.แพร่ ได้ทำการรักษานายยงยุทธผู้เสียหายผิดพลาด จนทำให้นายยงยุทธกลายคนพิการทุพลภาพ ทำให้นางดวงนภาผู้เป็นมารดามาปรึกษากับทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และตัดสินใจฟ้องร้องกระทรวงสาธารณสุข ต้นสังกัดของโรงพยาบาลร้องกวาง เพื่อเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 47 นายยงยุทธ หรือ น้องโจ้ ซึ่งขณะนั้นอายุ 19 ปี เพิ่งสอบติดคณะวิศวกรรมเครื่องกล ม.นเรศวร จ.พะเยา ได้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ไปซื้อของและถูกรถกระบะเฉี่ยวชนล้มหมดสติ ก่อนจะถูกนำตัวส่ง รพ.ร้องกวางในเวลาต่อมา และถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ.แพร่ โดยต้องพักรักษาตัวอยู่ในห้อง ICU นานถึง 27 วัน อาการสมองบวมจึงเริ่มดีขึ้น และสมองเริ่มตอบสนอง ยกแขนขา เดินได้ สื่อสารกับแม่และหมอได้ ทานอาหารทางปาก พูดคำสั้น ๆ ได้ เขียนหนังสือ+นับเลขและแยกสีลูกบอลได้ แต่ต่อมา ในวันที่ 13 ก.พ. 48 ทางแพทย์ที่ทำการรักษาได้ทำการถอดท่อหายใจที่คอออก โดยที่อาการน้องโจ้ในขณะนั้น ยังไม่สามารถหายใจเองไม่ได้ ทางแพทย์จึงใส่ท่อช่วยหายใจกลับคืน แต่ต่อมาในวันที่ 14 ก.พ. 48 แพทย์ที่ทำการรักษากลับให้ถอดท่อหายใจอีกครั้ง โดยไม่ได้อยู่ดูแลอาการต่อ ทำให้น้องโจ้ดิ้นทุรนทุราย เพราะหายใจไม่ออก แม้ว่า นางดวงนภาผู้เป็นแม่ที่เฝ้าดูแลน้องโจ้ จะตามพยาบาลมาดูอาการที่เกิดขึ้น หลังการถอดเครื่องช่วยหายใจที่คอก็ตาม แต่พยาบาลกลับบอกว่า ปล่อยไว้สักพักเดี๋ยวก็หายใจได้เอง ทำให้น้องโจ้หัวใจหยุดเต้นในเวลาต่อมา และเมื่อปั๊มหัวใจกลับคืนมาได้ สมองก็ขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง และเกิดผลกระทบตามมา นอนไม่รู้ตัว ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แขนขาเกร็ง ทานอาหารเองไม่ได้ ถ่ายอุจจาระ-ปัสสาวะไม่รู้ตัว ส่งผลทำให้นางดวงนภาแม่ของน้องโจ้ ต้องตัดสินใจออกจากงานมา เพื่อดูแลลูกที่กลายเป็นคนทุพลภาพ ในขณะที่บิดาของน้องโจ้ทำงานก่อสร้างมีรายได้เพียงวันละ 200 บาท รายได้ไม่พอต่อค่าใช้จ่าย ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นอีก ทั้งค่าแพมเพิส อุปกรณ์ดูแลคนพิการ ตกเดือนละนับหมื่น ทำให้น้องคนเล็กต้องออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อทำงานหารายได้ ช่วยเหลือครอบครัว ต่อมาทาง รพ.ได้ยื่นข้อเสนอจะช่วยเหลือเงิน 5 หมื่นบาท และ 1.5 แสนบาทตามลำดับ เพื่อให้จบเรื่อง แต่แม่น้องโจ้ไม่ยินยอมตัดสินใจฟ้องร้องโรงพยาบาล และร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปหลายหน่วยงาน แต่เรื่องก็ไม่คืบหน้า จนกระทั่งตัดสินใจร้องขอความช่วยเหลือ จากทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ที่มีนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา เป็นประธานเครือข่ายและยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ หลังเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ในวันที่ 27 พ.ย. 49 เครือข่ายฯ ได้ช่วยนางดวงนภาแม่น้องโจ้ ยื่นฟ้องกระทรวง สธ.ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด จนในที่สุด เมื่อวันที่ 1 พ.ค.51 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นางดวงนภาชนะคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย โดยศาลชั้นต้นได้สั่งให้ กระทรวง สธ.จ่ายเงินจำนวน 3.9 ล้าน พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อย 7.5% ให้กับผู้เสียหาย สร้างความดีใจให้กับครอบครัวผู้เสียหาย โดยทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ได้พาแม่น้องโจ้ไปขอรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สธ.ทุกสมัย ให้ไม่อุทธรณ์ เพื่อไม่ให้คดียืดเยื้อต่อไปอีก โดยทางนางดวงนภาแม่ของน้องโจ้ยินดีรับเงินชดใช้ค่าเสียหายเพียง 3.9 ล้าน โดยไม่รับดอกเบี้ย แต่ต่อมาระหว่างที่ไกล่เกลี่ยเพื่อขอให้ทางกระทรวง สธ.ไม่ยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งนั้น คดีอาญาที่ไปแจ้งความ เพื่อเอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้ฟ้องคดีแพ่ง ศาลอาญารับฟ้องและนัดสืบพยาน ทางรพ.แพร่ ได้ยื่นเสนอเงิน 4 แสนให้แม่น้องโจ้ เพื่อขอให้ไปถอนฟ้องคดีอาญา ทำให้นางดวงนภาแม่น้องโจ้เกิดความเห็นใจและไม่อยากให้คดียืดเยื้อตามที่ได้ตกลงกับรัฐมนตรีกระทรวง สธ.ไว้ จึงตัดสินใจไปถอนฟ้องในคดีอาญา โดยปฏิเสธไม่รับเงิน 4 แสน ที่ทางโรงพยาบาลแพร่เสนอให้ เพราะเห็นว่าหมอคู่กรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้รับผิดชอบแทนควรเป็นกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด ตามพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 การรับเงินหมอหรือโรงพยาบาลของรัฐนั้น เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง แต่เมื่อแม่น้องโจ้ถอนฟ้องคดีอาญาให้แล้ว สธ.กลับผิดคำพูด และได้ยื่นอุทธรณ์คดีแพ่ง โดยให้เหตุผลว่า สธ.ไม่มีเงินและกระทรวงการคลังจะจ่ายเมื่อสิ้นสุดทั้ง 3 ศาล อีกทั้งเหตุที่แม่น้องโจ้ไปถอนฟ้องคดีอาญานั้น ก็เพราะคดีมีช่องโหว่และไม่มีทางชนะ ทำให้แม่น้องโจ้เสียใจมากที่ถูกเล่นแง่ แต่ทางนางดวงนภาและเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ยังคงเดินหน้าสู้คดีต่อไป จนกระทั่งต่อมา ในวันที่ 27 พ.ค. 53 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น สั่งให้กระทรวง สธ.จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 3.9 ล้าน พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อมาหลังคำตัดสินของศาลอุทรณ์ ทางกระทรวง สธ.กลับยื่นสู้คดีต่อในชั้นศาลฏีฎา จนกระทั่งในวันนี้ศาลฎีกาจึงมีคำพิพากษาตัดสินให้กระทรวง สธ. จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายให้กับนางดวงนภามารดาของนายยงยุทธหรือน้องโจ้ เป็นเงินจำนวน 3.1 ล้านบาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเวลาที่ครอบครัวผู้เสียหายเรียกร้องต่อสู้คดีมานับตั้งแต่เกิดเหตุเป็นเวลา 10 ปีพอดี ภายหลังทราบผลคำตัดสินของศาลฏีกาแล้ว นางดวงนภา มารดาของนายยงยุทธหรือน้องโจ้ กล่าวว่า รู้สึกพอใจที่ศาลยังพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทางครอบครัว และดีใจที่คดีนี้จะสิ้นสุดลงสักที หลังต่อสู้คดีมายาวนานนับ 10 ปี ทางครอบครัวต้องลำบากหารายได้มาประคับประคองระหว่างที่ต้องฟ้องร้องสู้คดีและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่เพิ่มขึ้น ตนและครอบครัวอยากให้เคสน้องโจ้บุตรชายของตนเป็นเคสสุดท้ายที่เกิดจากการรักษาโดยประมาท ผิดพลาด ของผู้เป็นหมอที่ควรระมัดระวังใส่ใจดูแลคนไข้เท่าที่ควรจะเป็น ทางด้านนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า หลังคำพิพากษาในชั้นศาลฏีกาสิ้นสุดลงแล้ว ทางทนายความของทางเครือข่ายจะยื่นฟ้องบังคับคดีให้ทางกระทรวง สธ. จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งศาลฏีกาภายในระยะเวลา 30 วันต่อไป นอกจากนี้ทางเครือข่ายยังได้ยื่นร่าง พรบ. ให้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมมูญ สภาปฏิรูปแห่งชาติ นำร่าง พรบ.ดังกล่าวที่ทางเครือข่ายเสนอ นำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดผลดีต่อทั้งคนไข้ แพทย์ โรงพยาบาลต่อไป