อันนี้คนที่พอมีสติปัญญานิดหน่อย ต้องบอกว่า คิดโง่ ๆ เพราะข้าวเอามาเก็บไว้เป็นภาระ ต้องเสียค่าบริหารจัดการ ต้องเสียค่าเช่าโกดังเก็บ แถมต้องนั่งดูข้าวเน่าอีก ต้องเก็บสต๊อคไว้ในโกดัง ให้ราคาตลาดตกลงไปอีก แล้วไอ้ที่บอก จ่ายเจ็ดพัน ไปมั่วเอาตัวเลขมาจากไหน อายหมามันบ้าง
อย่ามั่วข้อมูลเลยครับ โรงสี นี่ได้เพียวๆเลยนะครับ ทั้งค่าสีข้าว ค่าเช่าโกดัง ค่านู่นนี่จิปาถะ ปล เงินที่รัฐเอาไปจ่าย ภาษี ล้วนๆเลยนะครับ
นายเวร ผมถามว่า เหรอนายเวร นายจะให้อะไรเหรอ เห็นแต่โชว์โง่ ผมถามว่า จำนำข้าวเสียหายจะเอาคืนที่ใคร นายเวรยังไม่ตอบ เก่งจริงอย่าเอาแต่แปะรูปสิ ผมไม่ได้ถามเรื่องประกันกับจำนำข้าว แถมมั่วมาก จำนำข้าวนี่แหละผ่านโรงสี โรงสีได้เต็มๆ ชาวนาได้ที่ไหน ค้างจ่ายกี่งวด ก่อนชุมนุมกี่เดือน คิดได้ยังไง เอาข้าวมาเก็บกะจะอัพราคา แต่ข้าวมันเสื่อมสภาพ ยิ่งนานราคายิ่งตก แถมไม่ระบายออกอีก จีทูจีก็ปลอม นายเวรตอบคำถามให้ได้ก่อนเถอะ จะแถอะไรก็ว่ามา จะคอยดูปัญญานายเวร
ที่แปะไว้ไม่ได้มีอะไรมาก แปะเป็นเป้าไว้หลอกดูตรรกะความคิด จขกท. ผมทำอะไรมีเหตุผลรองรับเสมอ ขอเวลาผมจะกลับไปเขียนมาตอบกระทู้นี้แบบยาวๆ เห็นJSN,ตั้งกระทู้ถามท่านมหาปรมาจารย์นายเวร ซึ่งนิพพานแล้ว หลายครั้ง ผมเป็นศิษย์เหลนจะเข้ามาตอบแทนก็แล้วกัน !!แต่ผมจะตั้งกติกาไว้ว่า พอเขียนมาตอบแล้ว ให้JSNมาโต้แย้ง ซักถามคนเดียวเท่านั้น คนอื่นอย่าเพิ่งเข้ามา ให้จบกระทู้มีบทสรุป มันตกผลึกก่อน ค่อยเข้ามาโชว์พาว หรือwantมากก็ตั้งกระทู้ของตัวเองถาม หลายคนมาแย้งโต้ ไม่ได้ประหวั่นพรั่นพรึงใดๆ ผมตอบไม่ทันเท่านั้น ก่อนที่ผมจะกลับมาตอบ ใครจะโชว์พาว แสดงภูมิรู้ก่อนไม่ว่ากัน แต่พอผมเขียนมาโพสต์ตอบกระทู้แล้วห้ามเข้ามา ผิดกติกาผมจะไม่กลับเข้ามาตอบกระทู้นี้อีกเข้าใจตรงกันนะ เค……
จขกท.คือผม ผมเปิดโอกาสให้หลายๆท่านเข้ามาแสดงความคิดเห็นอยู่แล้ว นายเวรจะตอบหรือไม่ก็ได้ ผมไม่ได้บังคับ ผมแค่ถามนายเวร จะตอบก็ก็ตอบมาอย่าลีลา นี่เพจสาธารณะ จะมาตั้งกฎเองได้ยังไงกัน ทุเรศ ถ้านายเวรโพสท์แบบนี้ ความหมายคือ ผมไม่ตอบ ผมกลัวโดนรุม
มี งอลลลลลลลลลลลลลลลลลลล......กรั่ก กรั่ก กรั่ก...ขนาดคนที่ใหญ่โตยังไม่มีปัญญาหาเงินมาจ่ายค่าเสียหายของโครงการ ปัดไปมาว่าใครผิด...หาก ทั่นเจ้าพระยาตอบได้.....เพื่อทุยคงให้เป็นว่าที่นายกคนต่อไป......เชียร์ทั่นเจ้าพระยาฮัฟฟ ตอบให้ได้นะฮัฟฟว่าจะไปเอาเงินที่เสียหายได้จากใคร........
ประกันราคา รัฐจ่าย ส่วนต่างให้ชาวนาที่ขึ้นทะเบียนไว้ แล้วจะทำให้โรงสีได้กำไรทันที 7000 บาทได้ไงว้าาาาาาา เรื้อนขึ้นสมองนี่กระไร... สักแต่ว่าไปเอารูปที่ฝูงควายแดงทำมาแปะโดยไม่แหกตาดูให้ดีซะก่อน มั่วจริง ๆ เล้ยยยย
ข้าวนะครับไม่ใช่หุ้น ที่ไม่ขายจะไม่ขาดทุน ลองมาดูสิครับว่าการที่รัฐบาลเก็บข้าวไว้เองนั้น รัฐต้องแบกรับภาระค่าอะไรบ้าง 1. ค่าเช่าโกดัง 2. ค่าแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร 3. ค่าบริหารจัดการอื่นๆ จิปาถะ แถมการกักตุนไว้เป็นจำนวนมากมันส่งผลกระทบอะไรบ้าง 1. จำนวนข้าวมหาศาลที่เก็บในโกดังรัฐจากการจำนำครั้งก่อนและผลผลิตฤดูกาลใหม่มันทำให้ข้าวล้นตลาด ราคามันก็ตกลงไปเรื่อยๆ ตามกลไกตลาด 2. ข้าวเก่าที่เสื่อมสภาพตามกาลเวลา ที่ขายได้ในราคาต่ำกว่าข้าวคุณภาพ ไม่เหมาะสำหรับบริโภค ส่วนนี้ก็จำต้อง แค่นี้รัฐก็มีค่าใช้จ่ายบานปลายแล้วละครับ
ผมไม่ขอแทรกกระทู้ด้วยการตั้งคำถามต่อนายเวรซ้ำก็แล้วกัน แค่อยากรู้จากรูปที่นายเวรเอามาแปะ คำพูดสวยหรูที่ว่าชาวนาได้หมื่นห้า มีได้กันกี่คน มีผูกคอตายและไม่ได้กันกี่คนหนอ โรงสีและพ่อค้าคนกลางได้ 0 บาทจริงมั๊ยหนอ เข้าใจว่าภาพนี้ เป็นภาพสร้างฝันเพื่อเปรียบเทียบกับนโนบายประกันราคา ความจริง หากมีการจำนำข้าวแบบโปร่งใส คนดำเนินนโยบายตั้งใจจริง ไม่มีการโกง การโกหกตอแหล ไม่โกหก หลอกจนเค้าจับได้ งานนี้ แม้รัฐและประเทศเสียหาย ต้องสูญเงินไปแบบโง่ๆ อย่างน้อยชาวนาก็ยังน่าจะได้กินเค้กบ้าง ปัญหาก็คือ คนดำเนินนโยบายมันขี้โกง โกหก ตอแหล การดำเนินงานบ้านพ่อแม่มันเหรอ ที่ตรวจสบอะไรไม่ได้สักอย่าง มีลูกๆ มันเชื่อ และคอยมาตั้งหรือตอบกระทู้แก้ตัวตามเวปบอร์ดการเมือง ทั้งที่เห็นๆ เปิดโกดังไหนออกมา ก็เจอข้าวเน่า สอดไส้กระสอบข้าวด้วยโครงเหล้ก G2G ก็ไม่มีใครรู้ ว่าทำกับใคร แม้แต่กับประเทศที่อ้างถึง ดองข้าวไว้เต็มโกดัง เอาออกไปดังซักแสนสองแสนตัน ดีใจกันแทบตาย ทั้งที่ยังเหลืออีกเป็นสิบๆ ดัน คนเลวชาติ ดำเนินนโยบาย คนโง่คอยสนับสนุน และหลับหูหลับตาเชียร์ คนโง่กว่า คอยแก้ต่างให้ตามเวปบอร์ด ทั้งที่ไม่ได้อะไร แถมยังเสียภาษีตัวเองไปเข้ากระเป๋าไอ้คนเลวๆ พวกนั้น และชาวนาได้อากาศธาตุ มันก็ไม่เคยสำนึก ***ปล. ผมไม่ได้เข้ามาตั้งคำถามต่อนายเวรเช่นที่คุณ JSN ตั้งกระทู้นี้ และกระทู้นี้ถูกตั้งโดยคุณ JSN ผมคิดว่า ผมอยากมาบ่นให้คุณ JSN ฟังเฉยๆ ไม่เกี่ยวกับไอ้ควายแดงนายเวร ที่มีควายแดงนายเวร ยกย่องให้นายเวร เป็นปรมจารย์ที่ถึงนิพพาน (ขอโทษ... ถึงตอนนี้ กุขำ) ระวังขี้ติดโคนหางนะครับ
บ่นได้ครับ 5555555555 ตามสบายครับ แต่บ่นมากเดี๋ยวนายเวรใจฝ่อหรอกครับ อุ้ย นายเวรเขาเข้าขั้นนิพพานแล้วนิ เดี๋ยวเขาก็เหาะเหินเดินอากาศมาหาหรอก ก๊ากกกกกกกกกกกกกกกกก
อ่านสำนวนภาษาที่หนูอ้อยเพื่อนรักเขียน รู้สึกจิ๊ดปวดใจ ความที่คบหากับกลุ่มคนที่ห่างไกลศาสนา กปปส. เลยเข้าใจอะไรแบบผิดๆ ตั้งแต่มีการชุมนุมปิดประเทศเว็บโดนปิด ไอ้เราก็เป็นห่วงติดต่อถามข่าวคราวไมได้ ลุงกำนันแกใช้แผนฆ่าพวกเดียวกัน ทั้งยิงทั้งปาระเบิดตายรายวัน เราก็เป็นห่วง กลัวโดนลูกหลง พอเว็บเปิดกลับมา ดีใจหนูอ้อยยังเข้ามาโพสต์ จะทักแต่ยังไม่มีโอกาส สบายดีนะครับ ......หนูอ้อย พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการเท่าเทียม พุทธองค์ไม่ได้มีข้อบัญญัติ หรือการห้ามกีดกันใครจะบรรลุนิพพานนะ เป็นเรื่องยินดีอย่างยิ่งที่จะมีใครตามพระองค์ไปได้ พระอรหันต์เป็นล้านๆ รูปในสมัยพุทธกาลยังบรรลุนิพพานได้เลย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจอะไร ที่ท่านมหาปรมาจารย์นายเวรผู้มีจิตใจสูงส่ง รักความเป็นธรรมและความถูกต้องนิพพานได้ อย่างผมผู้เป็นศิษย์เหลนเคยบอกไว้ แต่อย่างนิสัย จิตใจใน kamol la sundan ของเพื่อนๆหนูอ้อย ในนี้หลายคน ผมว่าไปไกลก็แค่อเวจี นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่จิตมีความสงบสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ ไร้สุข เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ คำว่า "นิพพาน" มาจากภาษาบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ในทางมหายานได้กล่าวไว้ใน ธรฺม-ธาตุ-ปรกฺฤตย-อวตาร-สูตฺร (入法界體性經) โดยอธิบายว่า ธรรมธาตุ ของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึงไม่มีผู้ใดเกิด http://th.wikipedia.org/wiki/นิพพาน อวิจี (บาลี, สันสกฤต อวีจิ; จีน: 無間地獄 ตรงกับ ญี่ปุ่น: むげんじごく และ จีน: 阿鼻地獄 ตรงกับ ญี่ปุ่น: あびじごく) คือ ชื่อของนรกซึ่งเป็นหนึ่งใน มหานรก 8 ขุม มีปรากฏเป็นบันทึกในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา โดยอเวจีมหานรกนั้น เป็นนรกขุมลึกที่สุด[1] http://th.wikipedia.org/wiki/อเวจี
ใจเย็นๆกำลังคิดกำลังเขียนอยู่ เดี๋ยวมาตอบ บอกแล้วไงโจทย์มันยาก ขอเวลาหน่อย จะเข้ามาตอบแบบเอามันส์อย่างพวกแกตอบกระทู้ข้าก็ไม่ได้ เรื่องนี้จะตอบแบบชุ่ยๆพล่อยๆผ่านๆแบบพวกแก มันจะไม่เป็นผลดีต่อพรรค ต่อท่านยิ่งลักษณ์ทักษิณนายกตลอดกาลของประชาชนคนไทย เดี๋ยวท่านจะไม่จ้างข้ามาโพสต์สามทู้ยี่สิบบาทอีกนะสิ
อะไรที่เป็นเรื่องจริง มันไม่ต้องคิดนานหรอก ไม่รู้เรื่องก็อย่าโม้มาก มีแต่เรื่องโกหกสิ ต้องใช้ความคิดหน่อย เห็นใจว่ะ ตามแก้ตัวให้นายกที่โง่ที่สุดในโลก มันยากน๊ะ ไอ้คนโกง มันก็เห็นนายกโง่ที่สุดในโลก มันเลยโกงสบายที่สุดใน 3 โลกเลย อ่ะ อ่ะ
เด็ดมาตอบแค่เนี้ย แถนานจังนะ ท่านอภิมหาอีเวรควายแดง กระทู้แกเขาเอาสาระมาตอบก็ไม่รู้จักอ่าน ไม่ไหว ไม่ไหว อีเวรนี่เก่งแต่ปากจริงๆ
5555 เข้ามาก็ไหลไปเรื่องนิพพานนู่นเลย เร็วๆ น่า รออ่านคำตอบนายเวรอย่างกระวนกระวายมา 2 วันแล้ว อยากได้ความรู้จากพหูมูตร เอ๊ย พหูสูตรเร็วๆ
เอ่อ เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่านายเวร ระดับความคิดของนายเวรนะเหรอ นิพพาน กิเลส ตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ นายเวรยังครบอยู่เลย แถมขาดหิริโอตัปปะ อีก จิตใจของนายเวรอยู่ในขุมนรกไปแล้ว นายเวรไม่ต้องไปว่าเขาหรอก ปัญญาของนายเวรยังไม่มีเลย แค่ตอนนี้นายเวรกล่าวหาใครต่อใคร กล่าวหาลุงกำนัน ว่าปาระเบิดยิงคนเอง หลักฐานก็ไม่มี แถมปรากฎหลักฐานมากมายว่า ฝีมือฝ่ายรัฐบาลเก่า จากการจับอาวุธครั้งใหญ่ที่ผ่านมา และอาวุธพวกนี้เชื่อมโยงกับชายชุดดำที่ยิงเสื้อแดง การกล่าวหาโดยปราศจากหลักฐาน เนี่ยเหรอบรรลุ ว่าแต่ ศาสนาของนายเวรนี่หมายถึงศาสนาจานบินใช่ป่ะ
ไม่มีรูปข้าว รูปอื่นแล้วหรือครับ ข้าวในจาน ทำไมสีหมองๆ เหลืองๆ แม้แต่ โทรศัพท์มือถือ สินค้าคงทน สินค้าเก็บไว้ได้นาน เขาก็ต้องรีบเอาออกมาขาย เพราะมีตกรุ่น หรือมีรุ่นที่ใหม่ ที่นิยมกว่า เพราะถ้าเก็บไว้คงขายไม่ได้แน่ แล้วข้าวหละครับ ก็เก็บไว้แปรรูป ทำปุ๋ยชีวภาพ อย่างเดียวเลย แล้วราคาที่รับมา กับค่าเก็บรักษา มันจะไม่เกินราคาข้าวที่15000หรือ
ป่าว มันล็อกอินไม่ติดเท่านั้นเอง ไปลงเครื่องใหม่ จำรหัสเดิมไม่ได้ ไม่เคยชื่อเน่า ไม่เคยต้องเปลี่ยนชื่อหลายชื่อ ไม่เหมือนพี่เวนหรอก ใช้ไปตั้งไม่รู้กี่ชื่อ ว่าแต่จะไม่ตอบคำถามเขาหน่อยหรออออออออออออออออออออออออ
ทำไมชาวนาจะยังไม่ได้เงินค่าจำนำข้าวครบตามที่รัฐบาลสัญญา: ใครต้องรับผิดชอบ? ณ วันที่ 8 มกราคม 2557 ชาวนาได้นำข้าวมาขายให้โครงการรับจำนำในปีการผลิต 2556/57 เป็นมูลค่าตามใบประทวนประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ได้รับเงินไปแล้ว 0.35 แสนล้านบาท ชาวนาจึงยังไม่ได้รับเงินอีก 1.246 แสนล้านบาท มาแรมเดือนแล้ว นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชาวนาทั่วประเทศขายข้าวแล้วไม่ได้เงิน ปัญหานี้ทำให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวว่าขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการหาเงินเพิ่มเติมมาจ่ายให้ชาวนาที่ได้นำข้าวมาเข้าโครงการจำนำแล้ว และคาดว่าชาวนาจะได้รับเงินครบภายในวันที่ 25 มกราคม 2557 เพื่อมิให้สูญเสียฐานเสียงของชาวนาฝ่ายการเมืองจึงต้องหันมากดดันให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังและธกส. หาเงินมาจ่ายให้ชาวนาก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง หนังสือพิมพ์และแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังรายงานว่ามีความพยายามที่จะหาเงินมาจ่ายให้ชาวนาหลายวิธี อาทิเช่น การใช้สภาพคล่องของธกส. (แต่ถูกสหภาพแรงงานธกส. สตง. และนักวิชาการคัดค้าน) การบังคับให้ธกส.ปรับโครงสร้างหนี้ที่จะถึงกำหนดในปี 2558-2560 การขอให้กองทุนของหน่วยงานรัฐโยกเงินฝากมาฝากกับธกส. ตลอดจนการให้ธกส.กู้เงินเพิ่มขึ้นโดยลดวงเงินกู้ของโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ วิธีการเหล่านี้ล้วนแต่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทำลายวินัยทางการคลัง และกระทบความมั่นคงทางการเงินของธกส. แม้กระทรวงการคลังจะพยายามทุกวิถีทางที่จะหาเงินมาจ่ายให้ชาวนา แต่ผมคิดว่ารัฐบาลคงไม่สามารถจ่ายเงินให้ชาวนาได้ตามสัญญา ยกเว้นว่ารัฐบาลจะกล้าเสี่ยงทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผมจึงขออนุญาตใช้พื้นที่สื่อมวลชนอธิบายให้พี่น้องชาวนาได้รับรู้เหตุผลแท้จริงที่ชาวนาอาจจะได้เงินค่าขายข้าวไม่ครบภายในวันที่รัฐบาลสัญญา และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ท่านใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ว่านโยบายที่พรรคการเมืองหาเสียงจะมีผลดีผลเสียอย่างไรต่อตัวท่านและต่อประเทศอย่างไร ก่อนอื่น ผมขอบอกพี่น้องชาวนาก่อนว่า ผมต้องการให้ท่านได้รับเงินค่าขายข้าวจากรัฐบาลโดยเร็วที่สุด และด้วยวิธีที่ถูกกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐบาลบอกว่าจะหาเงินมาจาก 3 แหล่งๆ แรก คือ เงินของกระทรวงการคลัง (ซึ่งจริงๆ แล้ว คือ เงินของประชาชน) เงินยืมจากธกส. และเงินที่ได้จากการขายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ เงินของกระทรวงการคลัง คือ เงินของบรรดากองทุนต่างๆ ของหน่วยราชการ โดยกระทรวงการคลังจะบังคับให้หน่วยราชการผู้บริหารกองทุนเหล่านั้นโอนเงินมาฝากที่ธกส. โดยมีเงื่อนไขพิเศษเรื่องกำหนดระยะเวลาการฝาก คือ ไม่ให้ถอนก่อนที่กระทรวงการคลังจะหาเงินจากแหล่งอื่นมาคืนให้ธกส. กองทุนเหล่านี้เช่น กองทุนสลากกินแบ่งรัฐบาล กองทุนของสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ ฯลฯ ศูนย์ข่าวอิศรารายงานว่ากระทรวงการคลังอาจจะหาเงินฝากมาได้55,000 ล้านบาท ธกส. ก็สามารถนำสภาพคล่องนี้จ่ายให้เกษตรกรได้ร้อยละ 88-94 ของเงินฝาก หรือประมาณ 48,400-51,700 ล้านบาท ซึ่งยังไม่พอจ่ายให้ชาวนา เงินก้อนที่สอง คือ รัฐบาลต้องขอกู้จากธกส. หรือให้ธกส.กู้แล้ว รัฐบาลค้ำประกัน แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเพดานการกู้เงินและการค้ำประกันเงินกู้ตามกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556/57 กระทรวงการคลังก็เลยต้องไปบังคับให้รัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่มีแผนการกู้เงินตามโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านๆ บาท ระงับหรือลดการกู้ลง แล้วโอนเงินกู้ดังกล่าวไปให้ธกส.กู้แทน (โดยรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน)ไทยพับบลิก้ารายงานว่ารัฐวิสาหกิจที่ถูกขอร้องแกมบังคับให้ลดวงเงินกู้ลงได้แก่ การไฟฟ้าผลิต (ลดวงเงินกู้ลง 120,000 ล้านบาท) การทางพิเศษฯ (8,000 ล้านบาท) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (10,000 ล้านบาท) รวม 138,000 ล้านบาท วงเงินกู้ที่ลดลงนี้มีมูลค่าสูงกว่าวงเงินกู้ที่กระทรวงการคลังต้องการให้ธกส.กู้เพื่อนำไปจ่ายให้ชาวนา (130,000 ล้านบาท)ถ้าได้วงเงินกู้ก้อนนี้ ก็จะมีเงินพอจ่ายให้ชาวนา แต่ปัญหาคือ เงินทั้งสองก้อนนี้อาจใช้ไม่ได้ เพราะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะขออธิบายภายหลัง ส่วนเงินก้อนที่สาม จากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์จะมีจำนวนเท่าไรเป็นเรื่องไม่แน่นอน และไม่มีใครรู้ว่าภายในสิ้นมกราคม 2557 นี้ พาณิชย์จะขายข้าวได้อีกเท่าไร จะส่งเงินคืนธกส.ได้เท่าไร แม้ว่ากกต.จะมีมติให้พาณิชย์ระบายข้าวได้ตามปกติแล้วตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2557 ก็ตาม ผมคาดว่าเงินขายข้าวที่จะส่งคืนให้ธกส.คงได้ไม่มาก อย่างมากพาณิชย์คงส่งเงินค่าระบายข้าวในเดือนมกราคม 2557 ให้ธกส.ได้เพียง 10,000 - 15,000 ล้านบาท แต่น่าแปลกใจว่าชาวนาไม่เคยเดินขบวนทวงถามเงินระบายข้าวจากกระทรวงพาณิชย์ ตลอดเวลามีแต่ข่าวว่ากระทรวงการคลังและธกส.ไม่มีเงินจ่ายค่าข้าวให้ชาวนา ทั้งๆที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบมากที่สุดเพราะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการรับจำนำข้าว และการระบายข้าวทุกเม็ดในโครงการฯ พี่น้องชาวนาครับ ถ้าท่านจะทวงถามเรื่องเงินค่าขายข้าวของท่าน ท่านจะต้องถามกระทรวงพาณิชย์ครับ ไม่ใช่ธกส. หรือกระทรวงการคลังที่ต้องหาเงินกู้จนตัวโก่ง บากหน้าไปขายพันธบัตรให้ใครในตลาดเงินก็ไม่มีเอกชนคนใดอยากซื้อ ยิ่งเวลานี้กำลังถูกแรงกดดันทางการเมืองให้ต้องเสี่ยงทำผิดกฎหมาย ยิ่งน่าเห็นใจ เดชะบุญ ที่ประเทศไทยสร้างระบบและกติกาการคลังที่มีวินัยไว้ตั้งแต่เมื่อ 53 ปีก่อน และกระทรวงการคลังยังมีข้าราชการส่วนใหญ่ที่ทนเห็นความเหลวแหลกของนักการเมืองบางคนไม่ได้ วิธีการหาเงินของกระทรวงการคลังสองวิธีแรกสุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายอย่างไร ขออนุญาตท้าวความหน่อยครับ เมื่อเริ่มมีโครงการรับจำนำข้าวแบบทุกเม็ด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 เป็นต้นมา ข้าราชการกระทรวงการคลังเริ่มตระหนักว่าโครงการนี้จะก่อภาระหนี้สินจนเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตการคลังของประเทศได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงทำเรื่องเสนอให้รัฐบาลกำหนดวงเงินค้ำประกันเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการรับจำนำผลผลิตการเกษตร เพราะในแต่ละปีงบประมาณกระทรวงการคลังจะสามารถค้ำประกันเงินกู้ของหน่วยราชการทั้งหมดได้จำกัดไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หากปล่อยให้มีการใช้เงินในโครงการรับจำนำมากขึ้น รัฐก็ต้องลดวงเงินกู้ส่วนที่จะนำไปลงทุนพัฒนาประเทศ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2555 และ 10 มิถุนายน 2556 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดเพดานการกู้เงินเพื่อใช้จำนำข้าวจนถึงสิ้นปี 2556 ว่าต้องอยู่ภายใต้กรอบเงินกู้ 410,000 ล้านบาท และเงินทุนธกส. 90,000 ล้านบาท รวม 500,000 ล้านบาท และให้นำเงินจากการระบายข้าวมาใช้หมุนเวียนในการจำนำข้าว สังคมไทยต้องขอบคุณรัฐมนตรีและข้าราชการกระทรวงคลังที่นำเสนอเรื่องนี้ต่อรัฐบาล ในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตลอดปีการผลิต 2556/57 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 3 กันยายน 2556 ว่าจะใช้วงเงิน 270,000 ล้านบาท และวงเงินนี้จะต้องอยู่ภายใต้กรอบสินเชื่อ 410,000 ล้านบาท และเงินทุนธกส. 90,000 ล้านบาท ตามที่เคยมีมติอนุมัติ มตินี้สำคัญมากครับ ด้วยเหตุผล 2 ข้อ ข้อแรก หากโครงการรับจำนำข้าวในปี 2556/57 จะมีเงินพอจ่ายให้ชาวนา เงินส่วนใหญ่ก็จะต้องมาจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ เพราะการจำนำตลอดสองปีได้ใช้เงินกู้ไปจนเกือบเต็มวงเงินค้ำประกัน 500,000 ล้านบาทแล้ว ไม่สามารถกู้เพิ่มเติมได้ ทว่า กระทรวงพาณิชย์กลับไร้ความสามารถในการขายข้าวตลอดเวลา 2 ปีที่มีการจำนำข้าว (ตุลาคม 2554-22 ธันวาคม 2556) กระทรวงพาณิชย์ส่งเงินค่าระบายข้าวเพื่อใช้หนี้ธกส. แค่ 146,507 ล้านบาท ทั้งๆที่ธกส. จ่ายเงินสดค่าจำนำข้าวให้ชาวนาไปแล้ว 707,734 ล้านบาท ความสำคัญข้อสอง คือ มติกำหนดกรอบวงเงินสำหรับโครงการจำนำปี 2556/57 เมื่อ 3 กันยายน 2553 เกิดขึ้นหลังจากมีการผ่านกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556/57 ไปแล้ว รัฐบาลไม่สามารถกู้เงินเกินกว่าเพดาน 500,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในการจำนำข้าวปี 2556/57 หรือถ้าต้องการกู้เงินเพิ่มคณะรัฐมนตรีก็ต้องมีมติแก้ไขมติเดิมเมื่อ 3 กันยายน 2556 และลดวงเงินกู้ของโครงการพัฒนาของหน่วยงานรัฐอื่นๆ ลง ซึ่งหมายความว่าโครงการรับจำนำข้าวจะส่งผลลบต่อการพัฒนาประเทศแต่รัฐบาลก็ไม่ได้มีมติอย่างไร จนกระทั่งมีการยุบสภา การประท้วงของชาวนาที่ไม่ได้รับเงินค่าขายข้าวทำให้รัฐเกรงว่าจะสูญเสียฐานเสียงใหญ่ของชาวนา นักการเมืองจึงกดดันให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง และธกส. หาช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (3), (4) โดยรัฐบาลจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการเลือกตั้งตีความว่าการกู้เงิน 130,000 ล้านบาท หรือการให้ธกส.นำเงินฝากจากหน่วยงานของรัฐมาจ่ายเป็นค่าจำนำข้าวให้ชาวนาขัดกับหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการเลือกตั้งหรือไม่ รัฐบาลเชื่อว่าไม่ขัดหลักเกณฑ์เพราะป็นนโยบายต่อเนื่องที่ผ่านการอนุมัติของครม.แล้วเมื่อ 3 กันยายน 2556 (ถ้ากกต.มีมติว่าทำไม่ได้ ผมหวังว่ารัฐบาลจะไม่โยนความผิดให้กกต.) รัฐธรรมนูญมาตรา 181 (3) กำหนดว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรจะไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป จริงอยู่การสลับวงเงินค้ำประกันเงินกู้โดยลดการกู้ของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง เพื่อให้ธกส.สามารถกู้เงินจำนวน 130,000 ล้านบาท มีผลให้ยอดหนี้สาธารณะรวมไม่เพิ่มขึ้น และอาจลดลง 8,000 ล้านบาท แต่อย่าลืมว่าเมื่อ 3 กันยายน 2557 คณะรัฐมนตรีเคยมีมติว่าวงเงินของโครงการจำนำข้าวปี 2556/57 จะต้องอยู่ในกรอบวงเงินค้ำประกันของกระทรวงการคลัง 500,000 ล้านบาท แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะจะมีมติว่ากรอบวงเงิน 270,000 ล้านบาท สำหรับการจำนำปี 2556/57 เป็นกรอบใหม่ ไม่เกี่ยวกับกรอบวงเงิน 500,000 ล้านบาทเดิม และจะเสนอมตินี้ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ แต่มตินี้เกิดขึ้นเมื่อ 3 มกราคม 2557 หลังจากการยุบสภา คณะกรรมการนโยบายฯ และคณะรัฐมนตรีรักษาการไม่มีอำนาจเพิ่มกรอบวงเงินกู้ของโครงการจำนำข้าวเพราะจะเป็นภาระผูกพันต่อรัฐบาลชุดใหม่ แม้ว่ายอดหนี้สาธารณะของประเทศจะไม่เพิ่มขึ้น แต่ลำพังเฉพาะการให้ธกส. กู้เงินเพิ่มขึ้นอีก 130,000 ล้านบาท ก็เป็นการสร้างภาระผูกพันให้คณะรัฐมนตรีชุดต่อไป เพราะการกู้ดังกล่าวจะต้องมีการทำนิติกรรม ผู้ที่จะใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นรัฐบาลชุดต่อไป รัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจการกู้เพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 3 กันยายน 2556 ปัญหาประการสุดท้าย คือ การบังคับให้หน่วยงานรัฐโยกเงินฝากจากสถาบันการเงินอื่นมาฝากกับธกส. โดยมีเงื่อนไขพิเศษในการฝาก แล้วให้ธกส.นำเงินฝากดังกล่าวไปจ่ายให้แก่ชาวนาที่ได้รับใบประทวนแล้ว วิธีนี้ดูแนบเนียนดีเพราะธกส.เอาสภาพคล่องส่วนเกินมาให้ชาวนากู้ ภาระหนี้ของรัฐบาลไม่ได้เพิ่มขึ้น คำถามคือวิธีนี้จะมีปัญหาอะไร http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/555143
http://www.banmuang.co.th/oldweb/2014/02/วงแตก/ ม็อบชาวนาฮึ่ม บุกสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จี้ “นายกฯ ปู” จ่ายเงินจำนำข้าว ส่งตัวแทนนั่งโต๊ะถามรัฐบาล สุดท้ายเหลวรัฐตอบไม่รู้จ่ายเงินได้วันไหน “ณัฐวุฒิ” หน้าหงายกำลังจ้อเจอชาวนาวอล์กเอาท์ พร้อมยกระดับปิดคลังข้าวทั่วประเทศ กดดันรัฐเร่งขายข้าวหาเงิน พร้อมยื่น 6 ข้อเรียกร้องถึง ปลัด ยธ.-อัยการสูงสุด ฟัน “นายกฯ-ครม.-ผู้เกี่ยวข้อง” ทุจริตจำนำข้าว ยึดทรัพย์ผู้ที่เกี่ยวข้องมาชดใช้ให้ชาวนา ขีดเส้น 7 วันบุกมาทวงคำตอบ ทางด้านสุโขทัยสลดอีก สาวชาวนาเครียดจัดรอเงินกว่า 5 เดือนยังไม่ได้สักบาท ผูกคอดับอนาถ ขณะที่คลังแฉโกดังสต๊อกข้าวรัฐบาลล่องหนไปกว่า 4.5 ล้านตัน รัฐรู้แก่ใจแต่ไม่ตรวจสอบจริงจัง ชี้ขายข้าวเป็นหนทางดีที่สุดในการหาเงินใช้หนี้ชาวนา ม็อบชาวนา 20 จว.เคลื่อนพลบุก ยธ. เมื่อวันที่ 10 ก.พ.57 ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของชาวนาที่ปักหลักชุมนุมทวงเงินในโครงการจำนำข้าวที่กระทรวงพาณิชย์ว่า ชาวนาต่างตื่นขึ้นมาแต่เช้าเพื่อทำภารกิจส่วนตัว และรับประทานอาหาร พร้อมตั้งขบวนเคลื่อนจากกระทรวงพาณิชย์ไปยังกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้ดำเนินการต่อรัฐบาลที่ฉ้อโกงชาวนา นอกจากนี้ยังมีชาวนาจังหวัดต่างๆ ทยอยเดินทางมาสมทบด้วย อาทิ ชาวนาในพื้นที่ ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงได้มารวมตัวกันที่วัดอินทราราม (วัดหนองขาว) หมู่ 1 ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี โดยมีรถบัส 5 คันมาจอดรออยู่ เมื่อทุกคนมาถึงต่างทยอยกันขึ้นรถบัสให้เต็มทีละคัน โดยคันไหนเต็มให้ออกเดินทางทันที ชนิดเต็มออก จุดหมายอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ เพื่อทวงเงินค่าจำนำข้าวจากรัฐบาลรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยม็อบชาวนาเริ่มเคลื่อนขบวนออกจากกระทรวงพาณิชย์เวลา 08.00 น. ต่อมาเวลา 10.00 น. หลวงปู่พุทธะอิสระ แกนนำ กปปส.เเจ้งวัฒนะ นำชาวนาที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรับจำนำข้าวจำนวนมากเดินทางมารวมตัวที่หน้ากระทรวงยุติธรรม เพื่อเคลื่อนขบวนร่วมกับกลุ่ม กปปส. ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผ่านนายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยมีนายระวี รุ่งเรือง ลงนามในฐานะตัวแทนชาวนา ซึ่งหนังสือระบุข้อเรียกร้องชาวนา 6 ข้อ ประกอบด้วย 1.ขอให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมทวงถามเงินโครงการจำนำข้าวมาให้กับชาวนา ภายใน 7 วัน 2.ขอให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมตรวจสอบการทุจริตของโครงการจำนำข้าวอย่างโปร่งใส 3.ขอให้ตรวจสอบโครงการจำนำข้าวว่าเหลืออยู่ในสต๊อกเท่าใดขาดหายไปหรือไม่ 4.ขอให้ดำเนินการให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น 5.ขอให้ยึดทรัพย์นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวมาชดใช้เงินให้ชาวนา 6.ขอให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินคดีให้มีการชดใช้เงินแก่ชาวนาทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นที่เสียหายจากการจำนำข้าวแล้วไม่ได้เงิน ปลัด ยธ.รับเดินเรื่องฟันทุจริตข้าว ด้านนายธวัชชัย กล่าวว่า หลังจากรับหนังสือข้อเรียกร้องจากชาวนาแล้ว ตามขั้นตอนกระทรวงยุติธรรมจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมากลั่นกรองประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมดำเนินการได้ทันที หากชาวนาต้องการดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง หรือขอเข้าเป็นคดีพิเศษก็ต้องให้ชาวนาไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนเพื่อให้คดีเข้าสู่ศาล ส่วนจะเป็นคดีพิเศษหรือไม่ต้องนำเข้าคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) พิจารณา เพราะกรณีนี้เป็นโครงการตามนโยบายรัฐบาล สำหรับการช่วยเหลือกระทรวงยุติธรรมจะเป็นตัวกลางประสานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อหาแนวทางการใช้เงินกองทุนเกษตรฯ เข้ามาช่วยเบื้องต้น นอกจากนี้ชาวนายังสามารถขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมได้ด้วย ขณะที่หลวงปู่ กล่าวว่า ขณะนี้มีชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อนเข้ามาแสดงตัวลงชื่อกับกลุ่ม กปปส.เวทีศูนย์ราชการแล้วกว่า 100 ราย ทั้งนี้ขอให้ชาวนาที่ยังไม่ได้ลงนามเข้าร่วมกันลงชื่อให้มากที่สุดเพื่อจะได้ขับเคลื่อนการดำเนินคดีเป็นกลุ่มเดียวกันเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว โดยต้องนำหลักฐานใบประทวนและเอกสารสำคัญอื่นมาประกอบการยื่นคำร้องด้วย โดยจะเร่งให้มีการฟ้องร้องเอาผิดทางแพ่งก่อนเพื่อนำเงินมาบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวนา ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากยื่นหนังสือถึงปลัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว ชาวนาได้รวมตัวกันไปยื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด โดยมีนายวินัย ดำรงมงคลกุล ผู้ตรวจการอัยการและนายพิบูลย์ จตุพัฒนกุล รองเลขานุการอัยการสูงสุดรับเรื่องจากชาวนา โดยเนื้อหาข้อเรียกร้องเดียวกันกับที่ยื่นต่อกระทรวงยุติธรรม โดยชาวนาประกาศจะมาขอคำตอบจากอัยการสูงสุดในอีก 7 วัน ด้านนายวินัย กล่าวว่า อัยการสูงสุดมีกรอบอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ หลังจากรับหนังสือจากชาวนาจะเสนอเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป รัฐบ่อท่าไม่มีเงินจ่ายชาวนา ต่อมาเวลาประมาณ 14.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มเกษตรกรชาวนาได้เคลื่อนขบวนมาถึงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานีแล้ว เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง แสดงความรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินที่ยังค้างชำระค่าข้าวชาวนา หรือไม่ก็ควรลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารจัดการต่อ โดยมีทหารจำนวนหนึ่งมาตั้งกำแพงคอยคุมเชิงอยู่ด้านใน รวมทั้งนำลวดหนามมาทำเป็นรั้วกั้นด้วย ต่อมาเวลา 14.30 น. นายระวี รุ่งเรือง ประธานศูนย์ข้าวชุมชนภาคตะวันตก พร้อมด้วยตัวแทนชาวนา 20 คน ได้เข้าหารือกับกับฝ่ายรัฐบาลรักษาการ นำโดยนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ พร้อมด้วยนายวราเทพ รัตนากร ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ปฏิบัติหน้าที่ รมช.พาณิชย์ และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) สุดท้ายไม่ได้ข้อสรุปใดๆ “เต้น” หน้าหวายเจอวอล์กเอาท์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการเจรจาตัวแทนชาวนาได้ยื่นข้อเรียกร้องขอให้รัฐบาลรับปากชัดเจนว่าจะจ่ายเงินจำนำข้าว ซึ่งหากได้ตามข้อเรียกร้องจะยุติการชุมนุมทันที แต่นายนิวัฒน์ธำรงอธิบายว่า รัฐบาลจ่ายเงินชาวนาต่อเนื่องไปแล้วบางส่วน แต่ใครมาก่อนได้ก่อน ทำตามขั้นตอน ซึ่งยอมรับว่าการที่รัฐบาลยุบสภาทำให้ติดขัดเรื่องข้อกฎหมาย แต่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจพร้อมจ่ายเงิน แต่อาจช้าเพราะต้องทำตามขั้นตอน ขณะเดียวกัน ชาวนาที่เข้าร่วมวงเจรจาต่างมีสีหน้าสิ้นหวัง บางคนกล่าวว่าถ้าไม่มีเงินก็เอาข้าวคืนพวกตนมา อย่างไรก็ตาม เมื่อนายณัฐวุฒิกำลังอธิบายต่อจากนายนิวัฒน์ธำรง ระบุว่ายอดค้างจ่ายกว่า 700 ล้านบาท จะนำเข้าที่ประชุม ครม.วันที่ 11 ก.พ.นี้ แต่ยอดใหญ่ยังติดเรื่องข้อกฎหมาย ตัวแทนชาวนาบางส่วนลุกออกจากวงเจรจา เพราะเห็นว่ารัฐบาลพูดแต่เรื่องเดิม ไม่ได้รับคำตอบว่าจะจ่ายเงินเมื่อใด และกล่าวว่ามีอะไรไปคุยกันข้างนอกที่ผู้ชุมนุมรออยู่ กระทั่งชาวนาลุกออกจากวงเจรจาทั้งหมด ต่อมาแกนนำชาวนาได้ปราศรัยที่ด้านหน้าอาคาร ระบุว่า รัฐบาลบอกว่าไม่มีเงินเพราะม็อบไปปิดธนาคาร และบอกให้ชาวนาช่วยไปเจรจากับธนาคาร พร้อมประกาศยกระดับจะปิดคลังข้าวทั่วประเทศ ไม่ให้รัฐบาลเข้ามาแตะต้องข้าวได้ เนื่องจากรัฐบาลโกงชาวนา จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับข้าวอีกต่อไป พร้อมเชิญชาวนาทั้งประเทศออกมาร่วมแสดงพลัง กระทั่งเวลา 15.00 น. ผู้ชุมนุมชาวนาได้เคลื่อนขบวนกลับกระทรวงพาณิชย์เพื่อปักหลักพักค้างต่อไป สลดชาวนาสุโขทัยผูกคอดับอีก วันเดียวกัน กลุ่มชาวนาใน อ.คีรีมาศ และ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ประมาณ 400 คนเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบโครงการรับจำนำข้าวผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเรียกร้อง 5 ข้อ คือ 1.ให้จ่ายเงินจำนำข้าวแก่ชาวนาที่ยังค้างอยู่ 41,374 ราย เป็นเงิน 4,218 ล้านบาทให้เสร็จภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ รวมทั้งยืดเวลาเปิดโครงการรับจำนำข้าวนาปีออกไปถึงวันที่ 15 มี.ค. เพราะชาวนาประสบภัยหนาวรุนแรงจนนาข้าวเสียหาย ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตรงตามกำหนด 2.ให้รัฐบาลรับผิดชอบเรื่องจ่ายเงินล่าช้า และจ่ายเงินชดเชยแก่ชาวนา 3.ให้รัฐบาลรับผิดชอบเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ 20% จากใบประทวนที่ชาวนากู้ไป และให้ ธ.ก.ส.เลื่อนชำระหนี้ออกไปอีก 1 ปี 4.ให้ ธ.ก.ส.รับทำสัญญาใบประทวนที่ตกค้างให้หมดทุกรายโดยไม่มีข้อแม้ และ 5.ถ้ารัฐบาลไม่รีบแก้ปัญหา ชาวนาไม่ได้รับเงินตามข้อเรียกร้องก็จะยกระดับการชุมนุมต่อไป นายพิชัย อำนาจศักดิ์ กำนันตำบลบ้านใหม่สุขเกษม อ.กงไกรลาศ กล่าวว่า ตอนนี้ชาวนาเดือดร้อนกันมาก เพราะกว่า 5 เดือนแล้วยังไม่ได้เงิน ล่าสุดเช้าวันนี้เกิดเหตุสลดใจขึ้น เพราะมีชาวนาเครียดจัดจนผูกคอตายแล้ว คือ นางเพ็ญศินี ทองช้อย อายุ 38 ปี ชาวนาหมู่ 3 ต.บ้านใหม่สุขเกษม “ตอนนี้ชาวนาลำบากถึงที่สุดแล้ว เงินใช้หนี้เก่าก็ไม่มี กินแต่ละวัน รวมทั้งทุนทำนารอบใหม่ก็ต้องไปกู้นอกระบบมา แต่ก็ยังไม่พอใช้ จะให้เงินลูกหลานไปโรงเรียนก็ไม่มี บางคนทนเครียดไม่ไหวจนต้องผูกคอตาย ซึ่งพวกเราเสียใจมาก ส่วนผู้ว่าฯ พยายามช่วยเหลือทุกทางอย่างเต็มที่แล้ว เราเข้าใจและขอขอบคุณ” มอบยาเบื่อปูให้นายกฯ ไว้กิน นางแก้วลำ ชำนาญ อายุ 64 ปี ชาวนา ต.บ้านใหม่สุขเกษม กล่าวทั้งน้ำตาว่า ตนทำนา 130 ไร่ โดยให้ลูกทั้ง 5 คนช่วยกันทำ ผ่านมานาน 5 เดือนแล้วได้แต่ใบประทวน ยังไม่ได้เงินจำนำข้าว 1,300,000 บาท เพื่อจะเอาไปใช้หนี้ ธ.ก.ส. ซึ่งตนค้างชำระกว่า 2 ล้านบาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกลุ่มชาวนาได้ยื่นหนังสือร้องเรียนให้นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ทางผู้ว่าฯ ได้มอบเงินที่ได้รับบริจาคมาช่วยเหลือชาวนาเบื้องต้นกว่า 70,000 บาทแก่ตัวแทนชาวนาครั้งนี้ด้วย พร้อมรับปากจะหาเงินบริจาคมาช่วยให้อีก จากนั้นกลุ่มตัวแทนชาวนาสุโขทัยได้มีการนำกล่องยาเบื่อปูยี่ห้อพาราดอน ตราปูแดงมาโชว์ต่อสื่อมวลชน เพื่อมอบแก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไว้กินเพื่อยุติปัญหาเงินจำนำข้าวครั้งนี้ รวมทั้งมีการรวบรวมเอกสารใบประทวนเพื่อมอบแก่สภาทนายความเตรียมฟ้องเอาผิดรัฐบาลต่อไป คลังชี้ขายข้าวหาเงินดีที่สุด แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงการบริหารจัดการและการหาเงินมาใช้หนี้ให้เกษตรกรที่นำข้าวมาจำนำโครงการรับจำนำข้าวของ รัฐบาลว่า ขณะนี้การระบายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลนั้น ดูจะเป็นหนทางเดียวในการที่รัฐบาลจะสามารถหาเงินเพื่อมาใช้หนี้ให้กับเกษตรกรที่นำข้าวมาเข้าร่วมโครงการฯ และยังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากปัจจุบันนี้ช่องทางในการหาเงินโดยการกู้มานั้น ยังติดข้อกฎหมายหลายประการ “ในด้านการหาแหล่งเงินกู้ เพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมีภาระค้างจ่ายชาวนา ประมาณ 1.2 แสนล้านบาทนั้น เห็นว่าการกู้เงินของกระทรวงการคลัง ในขณะนี้แทบเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากติดปัญหาว่าอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 วงเล็บ 3 และวงเล็บ 4 ที่ห้ามรัฐบาลรักษาการ ทำงานหรือโครงการที่มีผลผูกพันรัฐบาลชุดต่อไป และห้ามใช้ทรัพยากรของรัฐ หรือบุคคลากรของรัฐ ที่ทำให้มีผลต่อการเลือกตั้ง” แหล่งข่าวระบุและว่า ก่อนหน้านี้ ทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้เปิดประมูล Bridge loan วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท แต่ปรากฏว่า ไม่มีสถาบันการเงินใดให้ความสนใจที่จะเสนออัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีเพียงธนาคารต่างชาติที่มีสาขาในไทย เพียงรายเดียวที่เสนออัตราดอกเบี้ยสูงถึง 18% ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทาง สบน. จะสามารถรับได้