ต้นทุนก๊าซแอลพีจี ทำไมต้อง27บาท สัปดาห์ที่แล้วมีข่าวที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานจะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีทั้งภาคครัวเรือนและภาคขนส่งอีก 5.22-5.85 บาท/กก. โดยจะทยอยปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. เป็นเวลา 12 เดือนเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนในการจัดหาก๊าซแอลพีจีในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 27.85 บาท/กก. ข่าวนี้ทำให้มีผู้ออกมาตั้งข้อสงสัยกันมากว่าการคิดราคาต้นทุนในการจัดหาแอลพีจีของสนพ.เป็นอย่างไรและมีกูรูทางเศรษฐกิจบางท่านที่เป็นผู้จัดรายการทางวิทยุและโทรทัศน์ที่มีผู้ติดตามและเชื่อถือเป็นอันมากถึงกับฟันธงเลยว่าเป็นการขึ้นราคาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและต้นทุนในการจัดหาไม่น่าจะสูงถึง 27.85 บาท/กก.โดยยกเอาราคานำเข้าแอลพีจี ซึ่งมีต้นทุนแพงที่สุดแล้วยังมีราคาเพียง 750 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 24.50 บาท/กก. เท่านั้นเอง) เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ผมขอเรียนว่าก๊าซแอลพีจีในบ้านเรามีที่มาจาก 3 แหล่งคือ หนึ่ง นำเอาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมาแยกที่โรงแยกก๊าซจะได้ก๊าซแอลพีจีประมาณ 50% ส่วนนี้จะมีต้นทุนต่ำที่สุดประมาณ 555 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 18.10 บาท/กก.)แต่รัฐบาลบังคับให้ขายที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน(ประมาณ 10.75 บาท/กก.) โดยไม่ได้จ่ายเงินชดเชยให้โรงแยกก๊าซแต่อย่างใด สองนำเอาน้ำมันดิบมากลั่นที่โรงกลั่นน้ำมันจะได้ก๊าซแอลพีจีประมาณ 25% ส่วนนี้จะมีต้นทุนเทียบเท่าราคานำเข้าหักค่าขนส่งประมาณ 700 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน(ประมาณ 22.80 บาท/ก.ก.) แต่รัฐบาลก็ยังตรึงราคาขายอยู่ที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 10.75 บาท/ก.ก.) เช่นเดียวกันแต่จ่ายเงินชดเชยให้โรงกลั่นฯ บางส่วนโดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ สามนำเข้าจากต่างประเทศอีกประ มาณ 25% ส่วนนี้จะมีต้นทุนสูงที่สุดคือ เฉลี่ยประมาณ 750 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 24.50 บาท/กก.) ราคานำเข้าที่แท้จริงจะผันแปรไปตามฤดูกาลจาก 600-1,200 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 19.50-36.80 บาท/กก.)ส่วนนี้รัฐบาลอุดหนุนส่วนต่างทั้งหมด (เฉพาะที่สูงกว่า333ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) โดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ เช่นเดียวกัน จะเห็นว่าต้นทุนการจัดหาก๊าซในประเทศโดยเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักแล้วจะอยู่ที่ 19.84 บาท/กก. (65:35 ของการจัดหาในประเทศ) แต่รัฐบาลตรึงราคาขายไว้ที่ 10.75 บาท/กก. เท่ากับมีการอุดหนุนที่ต้นทาง 9.14 บาท/กก. โดยภาครัฐและเอกชน ดังนั้นเมื่อนำมาเฉลี่ยกับการนำเข้าอีก 25% ที่ราคา 24,50 บาท/กก. ราคาต้นทุนเฉลี่ยของก๊าซแอลพีจีในบ้านเราจึงควรจะอยู่ที่ 21.00 บาท/กก. (เฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 75:25) แล้วอย่างนี้กระทรวงพลังงานจะมา บอกว่าต้นทุนการจัดหาน้ำมันเป็น 27.85 บาท/กก. ได้อย่างไรล่ะครับ ก็อย่าลืมนะครับว่าต้นทุนการจัดหาที่ 21บาท/กก. นี่ยังไม่ได้รวมภาษีสรรพสามิตภาษีเทศบาลอีก 2.39 บาท/กก. ยังไม่ได้บวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีกอย่างน้อย 2.00 บาท/กก. และยังไม่ได้บวกค่าการตลาดของผู้ประกอบการ (ร้านค้าก๊าซ) อีก 3.25 บาท/กก. รวมแล้วก็ประมาณ 7.64 บาท/กก. เข้าไปแล้วซึ่งทั้งหมดนี้ก็ต้องบวกเข้าไปในต้นทุนกลายเป็นราคาขายปลีกที่ปลายทาง ดังนั้นถ้าคิดตามสูตรที่ผมว่ามาราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีมันจะไม่ใช่ 27.85 บาท/กก. อย่างที่ สนพ. เขาว่ามาเอาน่ะสิ!!!. ที่มา:เดลินิวส์ bit.ly/1zcueDV ---------------------------------- ไม่ควรให้ขายในราคามีกำไรนะฮะ ควรบังคับให้ขายในราคาต้นทุน
ใช่ขอรับ เอาทหารไปยึดกลับมาให้ ปชช.ให้หมดเลยขอรับ จับผู้ถือหุ้นเข้าค่าย ใครเกี่ยวกับตระกูลหนักแผ่นดิน ประหาร ยึดทรัพย์แม่มเก้าชั่วโคตร... เอาให้เต็มๆๆ คิกๆๆๆ
กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น PTT รายใหญ่ที่สุดกว่า 51 % ประชาชนอย่างเราๆมีหุ้นนี้ในสัดส่วนน้อยมากครับ http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=PTT&selectPage=5 การปรับขึ้นราคา LPG เป็นข่าวเชิงบวกและส่งผลดีกับ PTT แต่ช่วงนี้ราคานํ้ามันดิบ WTI เป็นช่วง downtrend หลังจากกลางปีนี้ขึ้นไปกว่า 107 USD ล่าสุดมีราคาประมาณ 80 USD ต้นๆ ก็น่าจะส่งผลเสียด้านผลประกอบการกับบริษัทในเครือ โดยเฉพาะ PTTEP,PTTGC,TOP