ดังที่เป็นข่าว กลุ่มนักศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกลุ่มหนึ่ง กำลังเป็นที่โด่งดังจากกรณีออกมาแสดงตัวต่อต้านการรัฐประหาร ซึ่งแน่นอนว่า ต้องกลายเป็นกระแสวิพากษ์กันอย่างครึกครื้น ทั้งในส่วนของความเป็นมา ความคิด ความตั้งใจ หรือเบื้องลึกเบื้องหลัง ไปจนถึงการก่นด่าให้ให้กำลังใจ เราได้เห็นการส่งกำลังใจ จากกลุ่มคณาจารย์บางคน มาจนถึงผู้หลักผู้ใหญ่อย่าง ส ศิวลักษ์ มาจนถึงผมได้เห็นแชร์ภาพๆ นึง จากคนรู้จัก ผมเข้าไปอ่านเนื้อหา จึงได้รู้ว่า นักศึกษากลุ่มนี้ เป็นกลุ่มเดียวกันกับนักศึกษาที่เข้าขัดขวางเจ้าหน้าที่ บริเวณหน้าวัดโพนทอง ต.นาโป่ง อ.เมือง จ. เลย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2556 ไม่ให้ปะทะกับชาวบ้านที่เคลื่อนไหวกรณีการต่อต้านเหมืองทอง ซึ่งมีสารเคมีเป็นอันตรายต่อชีวิต เท่าที่พอผ่านตา จำได้ว่า พวกเขาเป็นที่ชื่นชมกันในวงกว้างทีเดียว กับภาพที่ออกมา
"จริงๆ กลุ่มของเราต่อสู้กับชาวบ้าน ยื่นหนังสือกับรัฐบาลมาตั้งหลายชุดแล้ว แต่มันไม่ดัง มาดังตอนเหมืองแร่เมืองเลยเนี่ยแหละ" ไผ่ หนึ่งในนักศึกษากลุ่มดาวดินกล่าว ก่อนเล่าประวัติความเป็นมาของกลุ่มดาวดินให้ฟัง 'ดาวดิน' คือ กลุ่มนักศึกษาซึ่งส่วนใหญ่เรียนอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พวกเขารวมตัวกันทำกิจกรรมลงพื้นที่เรียนรู้ปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดภาคอีกสาน กลุ่มดาวดินเกิดขึ้นมาพร้อมกับคณะนิติศาสตร์ มข. รุ่นที่ 1 ซึ่งเดือนกรกฎาคมปีนี้ กลุ่มดาวดินจะมีอายุครบ 12 ปีแล้ว ไผ่ ซึ่งปัจจุบันรับตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานกลุ่มดาวดิน เล่าให้ว่า ดาวดินเกิดจากการที่รุ่นพี่คณะนิติศาสตร์ มข. รุ่นที่ 1 ได้ไปลงพื้นที่ศึกษาปัญหาชาวบ้านในตอนนั้นเรื่องพืชจีเอ็มโอ สมัยนั้นรุ่นพี่ของเขาไปแบบนักศึกษาทั่วไป ไม่ได้รู้เรื่องอะไร แต่หลังกลับจากลงพื้นที่รุ่นพี่ของพวกเขาก็ตั้งคำถามกับความเดือดร้อนของชาวบ้าน รวมถึงตั้งคำถามกับกระบวนการยุติธรรม ตั้งคำถามกับทฤษฎีทางกฎหมายที่พวกเขาร่ำเรียนมาในชั้นเรียน พวกเขาสงสัยว่าทำไมวิชานิติศาสตร์ที่เขาเรียนจึงไม่ได้เชื่อมโยงกับสังคมและปัญหาของชาวบ้านที่พวกเขาได้สัมผัส ต่อมาจึงเกิด 'กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม' ซึ่งเริ่มแรกมีประมาณ 11 คน ใช้วิธีการทำงานแบบแบ่งกันลงพื้นที่ แล้วเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน ภายใต้หลักการของกลุ่ม คือ หนึ่ง เรียนรู้ปัญหาจากพื้นที่จริง สอง นำประเด็นปัญหามาแลกเปลี่ยน สาม นำปัญหามาเผยแพร่สู่สาธารณะ สี่ เป็นอิสระทั้งทางด้านความคิดและอิสระจากคณะ ส่วนชื่อ 'ดาวดิน' คือ ชื่อวารสารของกลุ่มกฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม เป็นวารสารที่มีมาตั้งแต่รุ่นแรก จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับรู้ถึงสิ่งที่กลุ่มได้จากการลงพื้นที่เรียนรู้ เมื่อถามถึงความหมายของดาวดิน พายุ สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มเล่าว่า ดาวดินเป็นชื่อที่รุ่นพี่ได้มาตอนพูดคุยกันในวงเหล้า ตอนนั้นถกเถียงกันเรื่องปัญหาสังคมแล้วมีพี่คนหนึ่งแหงนหน้ามองท้องฟ้าเห็นดาว แล้วก็บอกว่า "ดาวที่เห็นสวยงามอยู่บนท้องฟ้า ที่จริงแล้วก็คือก้อนดิน แต่มนุษย์เรากับให้คุณค่ามันมากเกินไป จริงๆ แล้ว ดาวกับดินก็ค่าเท่ากัน" สมาชิกกลุ่มดาวดินรุ่นแรกๆ เน้นการทำงานแบบลงพื้นที่และเรียนรู้ประเด็นปัญหาจากชาวบ้าน พวกเขามีชาวบ้านเป็นครู เมื่อเรียนรู้ปัญหาแล้ว สมาชิกกลุ่มก็ช่วยกันสรุปบทเรียน พอมาถึงดาวดินรุ่นที่ 4 พวกเขาเริ่มคิดว่า แค่การเรียนรู้จากชาวบ้านอย่างเดียวอาจไม่พอ จึงเริ่มให้คำปรึกษาด้านกฎหมายกับชาวบ้าน และพวกเขาก็ศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไปด้วย จึงทำให้ดาวดินรุ่นหลังๆ เริ่มขยับวิธีการทำงานไปเป็นการ์ดป้องกันชาวบ้าน และร่วมช่วยชาวบ้านเคลื่อนไหว “ทำก่อน คิดทีหลัง” คือ สไตล์การทำงานของดาวดิน ดาวดินทุกคนเป็น 'นักปฏิบัติ' ทุกครั้งที่จะจัดกิจกรรมใดๆ ก็ตาม สมาชิกจะช่วยกันคิดว่าอยากผลักดันประเด็นอะไร และจะทำออกมาในรูปแบบไหน หากมีคนเห็นด้วยก็ลงมือทำแล้วจึงมาสรุปบทเรียนทีหลัง อะไรที่ทำแล้วไม่ดีก็นำมาปรับปรุง แม้หลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้ เพราะไม่ยอมคิดก่อนทำจึงทำให้ไม่เห็นผลที่จะตามมาว่ารุนแรงเพียงใด แต่ไผ่บอกว่า "ถ้าคิดก็ไม่ได้ทำ เพราะบางครั้งคิดมากเกินไปจนกลัว ข้อดีของการ 'ทำก่อน คิดทีหลัง' คืออย่างน้อยก็ได้ทำอะไรที่อยากทำ เราให้คุณค่ากับสิ่งที่เราจะทำอะไรก่อนเสมอ" แม้ว่าดาวดินจะเป็นสายปฏิบัติ แต่ก็มีการศึกษาการเคลื่อนไหวจากประสบการณ์ที่ทำและศึกษาทฤษฎีบ้าง แต่หากถามว่ากลุ่มดาวดินถือเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบไหนก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน "เราเป็นของเราแบบนี้ ใครอยากทำอะไรก็เสนอ ถ้ามีคนเอาด้วยก็ทำ แล้วค่อยมาสรุปบทเรียนกัน" ไผ่กล่าว "นอกจากนี้ดาวดินไม่เคยมีประธานรุ่น เราเชื่อเรื่องการสร้างประชาธิปไตยฐานล่าง ทุกคนมีสิทธิแสดงความเห็น มีสิทธิเสนอเรื่อง ดาวดินเพิ่งมีประธานรุ่นก็ตอนที่ทหารมาถามเนี่ยแหละ ก็เลยตอบๆ ไป" การที่ดาวดินเป็นนักปฏิบัติ จึงไม่ได้เน้นการหาทุนมาทำกิจกรรมมากนัก สมาชิกดาวดินเล่าว่า วิธีการหาทุนของกลุ่ม คือ การเปิดหมวก และหากไปลงพื้นที่ก็อาศัยวิธีการโบกรถไป สมาชิกคนหนึ่งยังเล่าแบบติดตลกว่า "อย่างกิจกรรมที่ไปชู 3 นิ้วหน้าประยุทธ์เนี่ย ก็ใช้งบแค่ 15 บาท เป็นค่าสติกเกอร์ติดคำว่า "ไม่-เอา-รัฐ-ประ-หาร" แค่นั้นเอง" "เราไม่ได้สู้เรื่องสิ่งแวดล้อม แต่เราสู้เรื่องความเป็นมนุษย์" แม้ว่าดาวดินตั้งแต่รุ่นแรกจะเกิดขึ้นมาเพราะปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และเรื่องราวของพวกเขาก็ถูกทำให้เด่นชัดด้วยการร่วมกันต่อสู้กับชาวบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกรณีเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย แต่สมาชิกดาวดินต่างย้ำเป็นเสียงเดียวกันว่า สิ่งที่พวกเขาทำไม่ใช่แค่ความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่พวกเขาสู้เพื่อความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ทุกครั้งหลังจากลงพื้นที่ สมาชิกจะมาสรุปบทเรียนกันเพื่อศึกษาว่าปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่หนึ่งๆ เกิดจากปัจจัยใดบ้าง และสิ่งที่พวกเขาค้นพบก็คือ ปัญหาเรื่องทรัพยากรเกิดจากการร่วมมือของรัฐและทุน ทำให้ชาวบ้านไม่มีสิทธิในการเข้าถึงและแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านอื่นๆ ด้วย เมื่อชาวบ้านไม่มีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง โอกาสในการกระจายทรัพยากรให้ตกถึงมือชาวบ้านก็ลดน้อยลง ดังนั้น เมื่อมีการรัฐประหาร และสมาชิกวางแผนจะจัดกิจกรรมไม่ยอมรับอำนาจรัฐประหาร จึงไม่มีสมาชิกคนใดไม่เห็นด้วย "ทำไมพวกคุณไม่ตั้งใจเรียน เรียนจบไปช่วยชาวบ้านได้เต็มที่" คือสิ่งที่อาจารย์ถามตลอดเวลา ภาพของดาวดินในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถูกมองว่า เป็นพวกเถื่อน ไม่มีระเบียบ ไม่ชอบเข้าเรียน ไปจนถึง เป็นคอมมิวนิสต์ ไผ่เล่าว่า อาจารย์มักบอกเขาและเพื่อนดาวดินคนอื่นๆ เสมอว่า "หากอยากช่วยชาวบ้านก็ขอให้ตั้งใจเรียนจะได้จบไปช่วยเหลือชาวบ้านได้" แต่ไผ่กลับเห็นว่า ช่วงชีวิตในมหาวิทยาลัยควรใช้ให้คุ้มค่า การออกไปทำกิจกรรม ลงพื้นที่ เรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนอื่น ทำให้ได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก และรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่ามากขึ้น "ผมมั่นใจว่า อย่างน้อยพวกพี่ที่ได้รับการบ่มเพาะจากดาวดิน จะไม่ไปกดขี่รังแกใคร" ไผ่กล่าว สมาชิกดาวดินส่วนใหญ่ที่เรียนจบจากคณะนิติศาสตร์ไปแล้วก็ล้วนเดินตามความฝันของตนเอง บางคนไปเป็นทนายความ เป็นอัยการ ผู้พิพากษา เพราะฉะนั้นการที่พวกเขาเคยได้มาอยู่กับชาวบ้าน เรียนรู้ปัญหาของชาวบ้าน ทำให้พวกเขาเห็นความเป็นมนุษย์มากขึ้น ทฤษฎีในห้อง กับการปฏิบัติมันไม่เหมือนกัน สมาชิกดาวดินเล่าต่อไปว่า ยังมีพี่บางคนที่เขายังอยากทำงานเป็นทนายความช่วยชาวบ้านแบบนี้อยู่ จึงตั้ง "ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม" อยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ดูแลเรื่องคดีความที่เกี่ยวกับปัญหาทรัพยากร ผู้ที่ตั้งศูนย์กฎหมายนี้เป็นสมาชิกดาวดิน รุ่นที่ 1 ตอนนี้ที่ศูนย์ฯ มีคนทำงาน 4 คน ตั้งใจตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่รองรับความฝันของน้องๆ กลุ่มดาวดินต่อไป ในปี 2558 เมื่อกลุ่มดาวดินทำกิจกรรมคัดค้านการรัฐประหาร ชื่อของพวกเขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น และถูกป้ายสีทางการเมืองต่างๆ นานา ไปตามแต่จินตนาการของผู้รับสารที่จะวาดภาพพวกเขาเป็นคนอย่างไร หลังผ่านประสบการณ์การต่อสู้เรื่องความเป็นมนุษย์ ร่วมกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการแย่งชิงทรัพยากรมาหลายปี สมาชิก 7 คนของกลุ่มดาวดิน กำลังเดินหน้าเข้าสู่การเป็นผู้ต้องหาฐานฝ่าฝืนประกาศ คสช. ข้อหาทางการเมืองที่ต้องขึ้นศาลทหาร ซึ่งมีผลให้พวกเขามีพื้นที่มากขึ้นในการสื่อสารเรื่องประเด็นปัญหาที่พวกเขาติดตามมาตลอดออกไปในวงกว้าง ขณะที่ชีวิตของสมาชิกทั้ง 7 คน ก็กำลังจะเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคดีความของทั้ง 7 คนจะเป็นอย่างไร พวกเขาก็ยังหวังให้มีกลุ่มดาวดินต่อไป เพราะดาวดินคือแหล่งบ่มเพาะความฝันของเด็กๆ ที่เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัย และหวังที่จะสร้างสังคมที่งดงาม และมีความเท่าเทียม http://freedom.ilaw.or.th/blog/daodin_history
แล้วเพราะอะไร จึงเกิดเหตุการณ์ล่าสุด คือการแสดงสัญลักษณ์เพื่อต่อต้านการรัฐประหารของกลุ่มดาวดิน ที่บริเวณหอศิลป์ กรุงเทพฯ
เดี๋ยวไว้พรุ่งนี้มาต่อกันครับ หรือเพื่อนสมาชิกท่านใดมีข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็น ก็ร่วมแสดงกันได้ครับ กระทู้นี้ ผมยังไม่มีข้อมูลอะไรไปมากกว่านี้ เพียงแต่นึกแปลกใจ เลยลองตั้งกระทู้เพื่อมารวมรวมข้อมูล สำหรับการประมวลภาพและเหตุการณ์ นำไปสู่ข้อเท็จจริงที่อาจจะมีและเกิดขึ้น สิ่งที่ยังเป็นข้อสงสัยของผม มีอีกหลายข้อ เช่น การร่วมรวมตัวกันของกลุ่มดาวดินและกลุ่มนักศึกษาหน้าหอศิลป์ และข่าวลือเกี่ยวกับเงินทุนเบื้องหลังของกลุ่ม...จึง.... อยากจะรู้ประวัติของกลุ่มนักศึกษาทั้งหมด เท่าที่จะพอสืบค้นได้ ทั้งกลุ่มดาวดิน และกลุ่มหน้าหอศิลป โดยเฉพาะ นายโรมอะไรนั่น
กลุ่มดาวดินเคยได้รับคำชื่นชมจาก กปปส ในช่วงขับไล่เผด็จการยิ่งลักษณ์ ซึ่งช่วงนั้นกลุ่มนี้ช่วยชาวบ้าน กรณีเหมืองทองคำที่วังสะพุง จังหวัดเลย ในเพจกองทัพนิรนาม แต่เมื่อเหตุการณ์ล่าสุดโดนตำหนิต่ิว่า แต่ที่ผมสนใจคือ เมื่อตอนช่วงกลุ่มดาวดินต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมวันนั้น คือรัฐบาลประชาธิปไตยที่พวกคุณกำลังพยายามลากประเทศกลับไปในวันนี้ ใช่หรือไม่ เพื่อ?????
จริงๆแล้วถ้าอ่านแนวคิดและวิธีการของพวกเขาที่ผ่านๆมา การลงมือไปปฎิบัติในภาคสนาม ถือได้ทำได้ดีทีเดียว แต่น่าเสียดายที่มาตายตอนจบ ด้วยสิ่งที่น่าสงสัยว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังพวกเขาหรือเปล่า ในการแสดงออกครั้งนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบัน รัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อหยุดความรุนแรง และแก้ปัญหาที่มีมากมายให้กับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการทุจริต คอร์รัปชั่น การพยายามดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดที่มีคดีคงค้างอยู่มาก ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังจะทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ และยังมีกำหนดการที่จะกลับไปสู่ประชาธิปไตยด้วยการเลือกตั้งอีกไม่นาน คำถามก็คือ ในเมื่อพวกเขารู้ว่า กำลังกลับสู่ประชาธิปไตยอยู่แล้ว ทำไมพวกเขายังออกมาต่อต้าน และมีใครสนับสนุนพวกเขาให้กระทำการครั้งนี้หรือไม่
ตั้งเป็นตุ๊กตา หรือนี่คือจุดเริ่มของดาวดินในการก้าวขึ้นมามีบทบาททางเวทีระดับประเทศ เมื่อมหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบในปี 55 11 ปี กลุ่มดาวดิน ด้วยรักและศรัทธา หมวดหมู่: บล็อก | รายงานโดย ปลั๊ก เป็นชื่อเล่น เมื่อ 17 Jul 2014 - 06:54 มีสาวน้อยในกลุ่ม(เสรีนนทรี) ไลน์มาบอกว่า “วันที่16 ก.ค. ครบรอบ11ปีดาวดิน เขาชวนเขียนบทความเกี่ยวกับขบวนการอีสานใหม่หรือไม่ก็ให้กำลังใจก็ได้ค่ะ” ทีแรกผมโยนให้น้องสาวคนหนึ่งในกลุ่มไปเขียนมาก่อน เพราะเห็นว่ากำลังเริ่มรู้จักกับคนรุ่นใหม่ของกลุ่มดาวดินจะได้สานความสัมพันธ์ไปด้วย แต่น้องสาวคนนั้นก็ไม่ตอบกลับมา ภาระจึงต้องตกมาที่ผม อันที่จริงก็คงไม่น่าเรียกว่าภาระ แต่เป็นความเต็มใจที่อยากเขียนถึงมิตรสหาย นั่งคิดอยู่นานสองนาน จะเขียนอะไรดี แรกทีเดียวนึกถึงพล๊อตเรื่องความรักก้าวหน้าของนักกิจกรรม “นักกวีหนุ่มจากมอดินแดง กับ นักข่าวสาวลูกพระพิรุณ” แต่มันดูจะไกลตัวไป ไม่ค่อยอินกับเรื่องความรักสักเท่าไร นั่งพิจารณา(ต่อ)อยู่นานสองนาน จนกระทั้งนึกได้ว่าต้องส่งแล้ว เรื่องขบวนการอีสานใหม่ก็ยังคิดไม่ออก จะอวยพรก็กลัวจะสั้นไป เขียนอะไรลึกซึ้ง คมๆไม่ค่อยจะเป็น กวีก็ไม่ได้ นั่งเปิดรูปกิจกรรมเก่าๆ ที่เคยทำ ครั้งยังเคลื่อนไหวม.นอกระบบ ภาพสมาชิกกลุ่มดาวดิน ค่อยๆ ปรากฏ ความทรงจำแรกเริ่มกับกลุ่มดาวดิน “ม๊อบ ประท้วง คัดค้าน” ไม่มีอะไรเกินนี้สำหรับผม ไม่ว่าดาวดินจะมาเยือนที่กรุงเทพ หรือผมไปที่ขอนแก่น ก็หนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ ครั้งแรกที่ได้เจอดาวดิน ต้นเดือนมกราปี 55 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มมีกิจกรรมจัดเสวนาเรื่อง ม.นอกระบบ เริ่มมีการชักชวนกลุ่มกิจกรรมหลากหลายกลุ่มในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศมาร่วมเคลื่อนไหวด้วยกัน แน่นอนกลุ่มดาวดินก็เข้าร่วม ช่วงนั้นผมยังแทบไม่รู้จักใครในหมู่นักกิจกรรม แม้แต่ตัวผมเองเป็นก็ยังไม่รู้อะไร การได้พบกันในครั้งนั้น ความรู้สึกแรกก็คงไม่พ้น “แม่งหัวรุนแรงจังวะ” “นี่มันนักศึกษาเหรอวะ” รูปลักษณ์ภายนอกและความคิดของพวกเขา ชักชวนให้ต้องคิดแบบนี้ นั่นเป็นการพบกันครั้งแรกของผมกับกลุ่มดาวดิน การพบกันทุกครั้ง ต้องมีการกระทำอะไรบางอย่าง หรือที่นักกิจกรรมชอบพูดกันคือการแอคชั่น (action) ครั้งนั้นเราไปบุกยื่นหนังสือคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ในงานวันเด็กแห่งชาติให้กับนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร(ในขณะนั้น) และติดป้ายคัดค้าน ม.นอกระบบ ที่สะพานลอยข้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แถมท้ายด้วยการไปติดสติ๊กเกอร์สีชมพู พร้อมด้วยข้อความคัดค้านม.นอกระบบ ณ ป้ายกระทรวงศึกษาธิการ ครับนั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้ทำอะไรแบบนี้ และครั้งที่ผมจำได้แม่นและคงไม่มีวันลืม ต้นเดือนกรกฎาคม ในปีเดียวกัน กลุ่มดาวดินชวนไปประท้วงผู้บริหารมหาวิทยาลัย เรื่องการนำ ม.ออกนอกระบบ ผมและคนอื่นๆ ประมาณ 1 คันรถทัวร์ เดินทางจากกรุงเทพไปขอนแก่น เราถึงบ้านของกลุ่มดาวดิน เช้าตรู่ พูดคุยกำหนดการกันเรียบร้อย เดินเท้าออกจากบ้านดาวดิน เดินออกไปอย่างสันติ ปราศจากอาวุธ มีเพียงเสื่อ เต๊นท์ ป้ายกระดาษ เดินอย่างเงียบๆ ไม่พูดจากับใคร พอถึงหน้า Complex ของมหาวิทยาลัย เราประกาศเหตุผลที่เรามา และ ปูเสื่อ ตั้งเต๊นท์ เช็ตเครื่องเสียง ปิดถนนไปหนึ่งฝั่ง การประท้วงในวันนั้นคนมาน้อยไม่เป็นตามคาด และ ไม่สามารถกดดันผู้บริหารได้ เราจึงต้องเคลื่อนพลย้ายไปหน้ามหาวิทยาลัยด้านถนนมิตรภาพ ใช่ครับ เรากำลังทำการปิดประตูมหาวิทยาลัย การประท้วงเริ่มเข้มข้น ตึงเครียด ผมไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน แม้จะไปม๊อบชาวนามาบ้างปกติเป็นแค่คนสังเกตการณ์แต่ไม่เคยเป็นผู้ประท้วงเอง ตำรวจเริ่มมา ใจผมก็เริ่มสั่น ยอมรับว่ากลัว “แม่งมาได้เรื่องอีกแล้ว” ผมคิดในใจ ระหว่างนั้นฝนตกลงมา ดูเหมือนฟ้าฝนจะไม่เป็นใจให้กับเรา หลายคนเริ่มท้อเริ่มเหนื่อย ผู้บริหารไม่มีท่าทีจะยอมรับข้อเสนอที่ให้ยุติการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กลับมาทำประชาพิจารณ์ก่อน เรายกระดับการต่อสู้ ยกเต๊นท์ปิดถนนมิตรภาพ ครับ สิ่งที่ไม่เคยทำก็ได้ทำ ชีวิตในวัยนักศึกษาใครจะไปเชื่อว่าจะได้ทำอะไรที่เสี่ยงและท้าทายคุก ตาราง เราปิดถนนมิตรภาพไปหนึ่งช่องทาง มีการผลักกันไป-มาระหว่างเราและเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ ตำรวจเริ่มเข้ามาเจราจาตามข้อเสนอเรา โดยบอกว่า “อีก10 นาที อธิการบดีจะมาคุยกับเรา” แต่ก็นั้นแหละครับ คำพูดผู้ใหญ่เชื่อถือไม่ค่อยได้เท่าไร ไม่มีผู้บริหารมาพบกับเรา “ผู้ใหญ่หลอกเด็กๆ” เราตะโกนซ้ำๆ ให้ตำรวจและบุคลากรมหาวิทยาลัยได้ยิน จากนั้นเราจึงสลายตัว เหตุการณ์จบลง แต่ความทรงจำในตอนนั้นไม่เคยจบ สีหน้า ความรู้สึก ของแต่ละคนในวันนั้น ผมยังจำได้ ผู้หญิงนั่งลง มือคล้องกัน ไม่ให้เจ้าหน้าที่ดึงตัวออกไป เมื่อใครบางคนในหมู่เรากำลังจะถูกรวบตัว เราก็เข้าไปช่วย ผมทำเพื่ออะไร ดาวดินทำเพื่ออะไร เราที่มาประท้วงทำเพื่ออะไร ทำไมเราต้องมายอมเสี่ยงให้ติดคุกติดตะราง ให้คนมารุมด่าประนาม นี่เป็นคำถามที่ผมคิดระหว่างที่กำลังเผชิญหน้ากับตำรวจ ปิดถนนมิตรภาพ การจราจรติดขัด คำตอบนั้นต้องใช้ระยะเวลาเป็นตัวช่วย จากเหตุการณ์นั้นกระแสเรื่องม.นอกระบบ กลับมาอีกครั้ง อาจพูดได้ว่า การประท้วงในครั้งนั้นคือ การประกาศศึกอย่างเป็นทางการ โดยกลุ่มดาวดิน และเครือข่ายนิสิตนักศึกษาคัดค้านม.นอกระบบ หลังจากนั้นผมและดาวดินเริ่มพบเจอกันในเส้นทางของนักกิจกรรม ผมเริ่มเรียนรู้ประเด็นทางสังคมอื่นๆ ติดตามการเคลื่อนไหวของดาวดิน เรียกได้ว่า มีดาวดินเป็น ไอดอล ถึงกับขนานนามว่า ดาวดิน คือ กลุ่มนักกิจกรรมที่แข็งแกร่งที่สุด ดาวดิน กลายเป็นดาวที่เจิดจรัสจากเหตุการณ์ที่มีนักศึกษากลุ่มดาวดินเข้าร่วมคัดค้านเวทีประชาพิจารณ์โครงการเหมืองทองคำกับชาวบ้านตำบลวังสะพุง ภาพถ่ายจากช่างกล้องอิสระ เพียงไม่กี่ภาพ สร้างผลสะเทือนสู่สังคมออนไลน์เป็นอย่างมาก เช่นกันกลุ่มดาวดินกลายเป็นดาวที่เปล่งแสงในหมู่นักกิจกรรม ไม่มีใครไม่รู้จัก การต่อสู้เคลื่อนไหวหลายๆ ครั้งของกลุ่มดาวดินทรงพลัง เสียสละ และดูเหมือนเกินวัย เกินความสามารถของนักศึกษา บางครั้งต้องเสี่ยงกับอำนาจผู้มีอิทธิพล ถูกขู่ คุกคาม ติดตาม และจับกุม แต่นั่นไม่ทำให้ดาวดินละทิ้งการต่อสู้กับชาวบ้าน ผมกลายเป็นเด็กทุกครั้งเมื่ออยู่กับดาวดิน เหมือนศิษย์น้องที่เรียนรู้วิชาจากศิษย์พี่ จากรุ่นเก่าสู้รุ่นต่อไปๆ ไม่มีใครปกติดีสักคน ตลก ฮา เกรียน จนถึง วิชาการ เคร่งเครียด สู่การลงสนามต่อสู้ภาคประชาชน ปกป้องสิทธิของชาวบ้าน มันก็คนนี่แหละเพียงแค่หัวใจมันใหญ่กว่าคนปกติแค่นั้นเอง!!! นั่นคือดาวดินที่ผมรู้จัก ในตอนที่ผมกลายเป็นอีกคนหลังจากเราพบกันครั้งแรก คำถามที่ผมสงสัยจากเหตุการณ์ประท้วงในวันนั้น เมื่อเรียนรู้ผ่านดาวดิน คำตอบจะเป็นอะไร ช่างแม่งมันเถอะ “ถ้าคุณเห็นความอยุติธรรมแล้วตัวสั่นเทา เราเป็นสหายกัน” เช เกบารา ที่มา http://www.citizenthaipbs.net/node/4266
ก็อาจเป็นไปได้ว่าถูกหลอก ขอนแก่นก็เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีนปช.มากและมีตัวเบื้องหลังอย่างขอนแก่นโมเดลอีก เด็กอาจทำตามชาวบ้านในพื้นที่ที่ไม่ชอบทหาร เพราะฝักใฝ่ยิ่งลักษณ์อยู่แล้ว ตามด้วยคำหลอกล่อว่า "สันติภาพ" และงบช่วยเหลือจากผู้ไม่หวังดีก็ได้
พูดถึงกรณีกลุ่มดาวดินมาร่วมประท้วง 14 คน โดนจับ ผมว่าเป็นเรื่องสิว ๆ เมื่อเทียบกับ กรณีนักศึกษาราม 2000 คน โดนตำรวจและเสื้อแดงล้อมยิงจนเสียชีวิต เมื่อ 30 พ.ย.56
ผมอ่านจากเนื้อหาคร่าวๆ เด็กบ่นไป ว่าเมื่อก่อน การเคลื่อนไหวของพวกเขา ไม่เป็นที่รู้จัก รับรู้กัน จนมาถึงการเคลื่อนไหวที่วังสะพุง จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก การเคลื่อนไหวที่ทำแต่ละครั้ง ไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ แต่กรณีที่มาเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มหน้าหอศิลป์ กลับเป็นที่โด่งดังในหมู่นักข่าว แม้ว่าจะไม่ถึงกับเห็นภาพออกสู่สายตาประชาชนทั่วไปมากนัก คำถามที่เป็นคำถามเดียวกันกับกลุ่มอะไรต่อมิอะไร ที่มาเคลื่อนไหวบริเวณหน้าหอศิลป์ ตั้งแต่กลุ่มจุดเทียนไว้อาลัยให้รถเบนซ์ (จะเดินตามหลังนักปฏิวัติ เสือกไม่รู้จักเครื่องหมายสันติภาพ) ว่าการเรียกนักข่าวออกมาจำนวนมากมาย มากไปกว่าผู้เคลื่อนไหว มันเป้นไปได้อย่างไร นักข่าวนะครับ ไม่ใช่ไทยมุง ในประเด็นที่ไม่ได้ร้อนแรง เพียงพอที่สำนักพิมพ์ใดๆ จะส่งนักข่าวมาติดตามได้มากขนาดนั้น ผมสงสัยไล่ไปถึงการเคลื่อนไหวในอดีต ตั้งแต่เรื่องวังสะพุงที่เราเคยเห็น มาจนถึงกรณีต่างๆ ตามที่ท่านอาวุโสโอเคได้เอามาให้ดู จะพบการเคลื่อนไหวที่เป็นไปโดยน่าเชื่อถือ มีประเด็น อาจจะเพื่อท้องถิ่น เพื่อการศึกษาของเขา เพื่ออะไรที่จับต้องได้ แต่กับการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การเลือกตั้ง ผมว่า มันแลดูจะเป็นคนละแนวทาง กับที่พวกเขาเคยทำกันมา สงสัยมาถึงการรวมตัวกัน กับกลุ่มนักศึกษาจากเมืองหลวง ว่ามาพบเจอกันอย่างไร ใครโหน ใครเกาะใคร แล้วการเปลี่ยนทิศทางของกลุ่มดาวดิน ไปเรียกร้องประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง ถือว่า กำลังจะเปลี่ยนแนวทางไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร นั่นคือข้อสงสัยครับ
ทุกครั้งหลังจากลงพื้นที่ สมาชิกจะมาสรุปบทเรียนกันเพื่อศึกษาว่าปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่หนึ่งๆ เกิดจากปัจจัยใดบ้าง และสิ่งที่พวกเขาค้นพบก็คือ ปัญหาเรื่องทรัพยากรเกิดจากการร่วมมือของรัฐและทุน ทำให้ชาวบ้านไม่มีสิทธิในการเข้าถึงและแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจจากทรัพยากร ธรรมชาติ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านอื่นๆ ด้วย เมื่อชาวบ้านไม่มีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง โอกาสในการกระจายทรัพยากรให้ตกถึงมือชาวบ้านก็ลดน้อยลง ดังนั้น เมื่อมีการรัฐประหาร และสมาชิกวางแผนจะจัดกิจกรรมไม่ยอมรับอำนาจรัฐประหาร จึงไม่มีสมาชิกคนใดไม่เห็นด้วย การร่วมมือของรัฐและทุน ทุกคนจึงเห็นด้วยที่ไม่ยอมรับอำนาจรัฐประหาร ใช่เหรอ แล้ว รัฐ ก่อนหน้านี้ล่ะ จะไม่ทำให้ผู้คนเคลือบแคลงสงสัยพวกเขาได้อย่างไร
กลุ่มนักศึกษากลุ่มนี้ออกมาไม่รู้ว่าออกมาด้วยเหตุผลอะไร เพราะสมัย พรบ.ปรองดอง ออกมา พวกแดง ล้มเจ้า กับแดงก้าวหน้าเหียก ก็ออกมาประท้วงยิ่งลักษณ์เหมือนกัน แต่ตอนนี้ก็กลับไปจูบก้นกันละ โดยเฉพาะลายด่าง
ถ้าอ้างเรื่องชาวบ้านไม่มีสิทธิ์มีเสียงในทางการเมือง โดยเฉพาะเมื่อมีการรัฐประหาร ผมมองว่าเป็นมุมมองที่คับแคบไป เพราะก่อนมีรัฐประหาร ไม่นับการทำทุกอย่างเพื่อซื้อเสียงเชิงนโยบาย ชาวบ้านก็ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรอันใดมาก่อนเหมือนกัน ไหนจะนโยบายที่คณะ คสช ได้อธืบายเอาไว้ น่าจะเป็นความหวังไปเสียมากกว่า การยังอยู่กับนักการเมืองในรูปแบบเดิมๆ แม้ว่า การอยู่ภายใต้คณะรัฐประหาร ยังเป็นความเสี่ยงที่ว่า อาจไม่ทำตามที่พูดหรือรับปากไว้ก็ได้ แต่ในการรับรู้ของพวกเขา ยังอยู่ในแบบ 50:50 ไม่ใช่มองไม่เห็นเลย ดังเช่นนักการเมืองในอดีต (เดี๋ยวแดงไหนคงออกมาเถียงผมว่าไม่จริงอีกแหละ) ดังนั้น เหตุผลที่ว่ามาของเด็ก ผมว่าฟังไม่ขึ้น และดูค่อนไปทางแถไถเสียมากกว่า ย้อนกลับมาคำถามเดิมได้ว่า เพระาอะไร แนวทางเขาจึงเปลี่ยนไป ทั้งที่ การรัฐประหารครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก และแม้ทุกครั้งที่ผ่านมา แม้จะเป็นการรัฐประหารที่ดูจะเลวร้าย แต่ประเทศ กลับไม่ได้ย่อยยับ ไม่ได้ย่ำแย่เสียจนกู่ไม่กลับ เมื่อรัฐประหารผ่านไป ทหารคืนอำนาจให้ประชาชนแล้ว ทุกอย่างก็กลับมาปกติได้เร็ววัน ในขณะที่นักการเมืองเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย กลับสูบกินชาติแผ่นดินเสียจนซูบซีด ขายสมบัติแผ่นดิน สร้างหนี้ สร้างปัญหาการเสพติดประชานิยม สร้างนิสัยเห็นแก่ได้ รอแต่คนมาป้อน เอารัดเอาเปรียบ และเอาตัวเองเป็นใหญ่ อะไรเสียหายไปกว่ากัน ทั้งเรื่องเศรษฐกิจในระยะสั้น และแนวคิด การใช้ชีวิต วิถีความคิดของประชาชนในประเทศในระยะยาว
ถ้าติดตามการใช้เงินซื้อคน เพื่อรักษาผลประโยชน์ตัวเอง ของตระกูลแม้ว (ผมยกทั้งตระกูล เพราะมันเป็นไปในทางเดียวกัน ตั้งแต่หัวหน้าครอบครัว ยันลูก) มันจะมุ่งไปที่ คนที่โด่งดังไม่ว่าดังทางไหน ยิ่งดังเพราะต่อต้านมัน ยิ่งทุ่มเงินซื้อ เพราะเท่ากับได้ 3 เด้ง ***ได้กระบอกเสียง ที่คนรู้จักอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างใหม่ ***ลดศัตรูที่ตามจิกกัด ***เป็นตัวอย่าง ล่อใจศัตรูคนอื่นๆ ผมว่าเด็กกลุ่มนี้มีโอกาสสูง ที่จะโดนซื้อตัว เพราะพฤติกรรมในอดีต เด็กพวกนี้ทำไว้ดีพอประมาณ ปล.ผมอาจวิแคะผิด อาจจะไม่ได้โดนซื้อตัว แต่ ***ถูกชักจูง โดนเป่าหู โดยคนที่เก่งด้านมวลชนมากกว่า
รายชื่อนักศึกษาอีกกลุ่ม ที่ไม่ใช่กลุ่มดาวดิน ไม่แน่ใจว่า อยู่ในกลุ่ม “สมาชิกกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย” ด้วยกันทั้งหมดหรือไม่ นายพรชัย ยวนยี อายุ 24 ปี “พรชัย ยวนยี” นักศึกษาปริญญาตรี รหัสนิสิต 5241029624 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เลขาธิการ สนนท. ------ ไม่มีอะไรครับ พอดีในโพสของผมมีคนแจ้งมาให้ทราบว่า หนึ่งในนักศึกษา 14 คนที่โดนจับ ชื่อ "นายพรชัย ยวนยี" ซึ่งเค้าบอกว่าเป็นเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (คนนี้ก็ไม่ใช่กลุ่มดาวดินและก็ไม่ได้ออกมาเรียกร้อง เรื่องเหมืองแร่ แบบที่นักเขียนคนดังมโนไปเองคนเดียว) มีคนไปพบว่าเค้าเพิ่งโดนจับคาบ่อนแถวสุขุมวิท เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2558 ที่ผ่านมา (อาทิตย์ที่แล้ว) ตกลงว่านี่เค้าเข้าบ่อนเพื่อหาเงินทุน ก่อนจะไปประท้วงเพื่อประชาธิปไตยใช่ไหมครับ? *** ที่สำคัญคือ โดนจับคา #คอนโดหรู ในซอยสุขุมวิท 24 ด้วยนะครับ แหม...ปากก็ด่าชนชั้นกลาง ด่าชนชั้นสูง อ้างคนจน อ้างประชาธิปไตย แต่ไปเล่นในบ่อนย่านไฮโซซะด้วยสิ หุหุหุ ว่าแต่...อายุ 25 ปี ยังเรียนหนังสือไม่จบ แล้วเค้าเอาเงินที่ไหนมากมายไปเข้า #บ่อนไฮโซ ได้? อ้างอิงจาก: http://www.thairath.co.th/content/506887 http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx… http://www.komchadluek.net/detail/20150621/208386.html http://www.dailynews.co.th/crime/329709 เนื้อข่าวตอนหนึ่งระบุว่า... "จากการสอบสวน นายจตุพล ให้การว่า ตนมีหน้าที่รับดูแลสถานที่เท่านั้น โดยลักลอบเปิดบ่อนพนันไพ่โป๊กเกอร์จำนวน 2 วง เปิดมาได้ระยะเวลาเกือบ 1 เดือน เสียค่าเช่าห้องเดือนละ 100,000 บาท มีเงินหมุนเวียนวันละ 600,000 - 1,000,000 บาท ตนจะได้ส่วนแบ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของในแต่ละเดือน และมีการเรียกเก็บค่าสินน้ำใจ (ค่าต๋ง) ตกวันละ 30,000 บาท อีกด้วย ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจ ลูกหลานตระกูลไฮโซ ที่ชื่นชอบการเสี่ยงดวง โดยมีการชักชวนกันปากต่อปากโดยต้องเข้าระบบสมัครสมาชิกเท่านั้นถึงจะสามารถเข้ามาเล่นสถานที่แห่งนี้ได้ จะเปิดตลอด 24 ชม. และมีการย้ายสถานที่ไปเช่าตามคอนโดหรูต่างๆ ทั่วกรุงเทพ เนื่องจากระบบการรักษาความปลอดภัยดีและบุคคลอื่นไม่สามารถเข้าได้ เพื่อเป็นการป้องกันเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม..." นายทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ อายุ 23 ปี ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่ถูกนำส่งโรงพยาบาล ยืนยันว่าถูกทำร้ายร่างกายจริง แต่ไม่ได้โดนช็อตไฟฟ้าตามที่เป็นข่าวลือ 23 พ.ค. 2558 จากกรณีการสลายการชุมนุมของนักศึกษาที่บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา และมีรายงานว่า ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ นักศึกษากลุ่ม ศนปท. ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายนั้น นายณัชปกร นามเมือง เจ้าหน้าที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ซึ่งเดินทางไปโรงพยาบาลหัวเฉียวกับทรงธรรม ให้สัมภาษณ์เมื่อเวลา 23.10 น. ของวานนี้ (22 พ.ค.) ว่าก่อนหน้านี้ ทรงธรรมถูกนำตัวส่งห้องตรวจฉุกเฉิน ก่อนที่แพทย์จะส่งตรวจเอ็กซเรย์ และส่งตัวมา CT scan อีกที่หนึ่ง หลังจากนี้คาดว่าจะกลับไปแอดมิดที่ รพ. เพราะเจ้าตัวซึ่งขณะนี้หลับไปแล้ว มีอาการอ่อนเพลียมาก ทั้งนี้ ณัชปกร ระบุว่าทรงธรรมมีรอยถลอกและฟกช้ำตามร่างกาย ตาข้างหนึ่งลืมไม่ขึ้น แพทย์ยังไม่ได้วินิจฉัย แต่ระบุว่าจะให้แพทย์เฉพาะทางมาทำบันทึกแผลโดยละเอียดให้ ล่าสุดวันนี้ (23 พ.ค.) ณัชปกร ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวว่านายทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่ถูกนำส่งโรงพยาบาลนั้น ยืนยันว่าถูกทำร้ายร่างกายจริง แต่ไม่ได้โดนช็อตไฟฟ้าตามที่เป็นข่าวลือ http://www.prachatai.com/journal/2015/05/59435 นายรัฐพล ศุภโสภณ อายุ 22 ปี นายปกรณ์ อารีกุล อายุ 26 ปี นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ อายุ 29 ปี นายรังสิมันต์ โรม อายุ 22 ปี “รังสิมันต์ โรม” หรือ "โรม" นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี 4 หนึ่งในสมาชิกกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย(LLTD) นักกิจกรรมตัวยงที่เคลื่อนไหวในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่เข้า ปี 1 เมื่อ ปี 54 โดยอยู่ในกลุ่ม LLTD ตั้งแต่นั้น ในปีนี้ นับแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ 22 พฤษภาคม 2557 “โรม” เป็น 1 ใน 10 นักศึกษา ที่พยายามจะจัดกิจกรรมรับประทานแซนด์วิชหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ในนาม ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย หรือ ศนปท. ในวันที่ 22 มิ.ย. ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 1 เดือน คสช. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409630352 อันนี้ แสดงความเป็นไม้เบื่อไม้เมากับทหารมาแต่ไหนแต่ไร http://franquiciaglobal.net/en/video/mXjh_7QF-ao/รดรอเกณฑ์- นายชาติชาย แกดำ อายุ 31 ปี นายนัชชชา กองอุดม อายุ 21 ปี และน.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว อายุ 22 ปี
ตามรายชื่อและอายุ นายปกรณ์ อารีกุล อายุ 26 ปี นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ อายุ 29 ปี นายชาติชาย แกดำ อายุ 31 ปี นักฉึกฉา ทำไมอายุมากจัง
ก็เหมือนเดิม พอไปถึงเรื่องรัฐเรื่องทุน สักพักก็ไปเรื่องเจ้า มีอยู่แคนิ พล็อตเดียวเล่นเป็น100ปี สลับไปสลับมา เดี๋ยวทุน เด๋วรัฐ เด๋วเจ้า สุดท้าย ท้ายสุด แม่นสามัคคีทุน พวกท่านทั้งหลายไม่ต้องวิเคราะห์กันมาก มันซ้ำซาก คนหลงผิด หลงถูก ไม่ใข่มีคนสองคน ไม่ใช่พ่อใช่แม่ ไม่ต้องช่วยปกป้องกัน ปล่อยๆมัน มันมีกฏเกณท์ใดในโลกนี้ ที่มีเพื่อใส่ใจพวกที่ไม่อยู่ในร่องในรอย ถ้ารัฐใดเอาใจใส่พวกนอกกฏหมายมากกว่าพวกในกฏหมาย นั่นเท่ากับรับรองสิทธิ์หรือก็สัมปทานอาชญากรรมให้พวกแม่นมัน คนดีๆก็ระวังตัวเอาเอง เด๋อ
ผมเห็นว่า การแสดงออกของกลุ่มดาวดินนี้สับสน แยกไม่ออกระหว่างการทำกิจกรรม การออกค่าย การอนุรักษ์ NGO กลุ่มอุดมการณ์ ซ้ายหรือขวา หรือกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ดูมันมั่วๆไปหมด ยิ่งมาแสดงออกทางการต้านรัฐประหารด้วยแล้ว ผมไม่เห็นจุดเด่นของวัตถุประสงค์อะไรเลย อาศัยแค่กระแสทางสื่อเท่านั้น (คือสื่อหิวข่าวการเมือง และเน้นข่าวทางการเมือง มากกว่า 70% ของหน้า 1 ถ้าจะดังก็เพราะอย่างนี้ ไม่ใช่การมีประเด็นเด่นชัดอะไร ) การใช้ยุทธวิธีในการต่อต้านก็ออกแนวการก่อกวน ซึ่งหาเจอการรับมือโดยทหารในขั้นจริงจังแล้ว กลุ่มดาวดินไม่มีทางต่อกร และทหารอาจจะกลับสามารถเรียกคะแนนเห็นใจจากประชาชนได้มากกว่ากลุ่มดาวดินเสียอีก
จะดาวดินหรือดาวบนบ่า ก็จะค้นพบสัจธรรมที่ไม่น่าเอาอย่างคือ เงินจ้างผีโม่แป้งได้ฉันใด เงินจ้างคนชั่วให้ทำลายชาติได้ฉันนั้น
สิ่งที่เราได้เห็นเพิ่มเติมมา ก็คือ กลุ่มที่ถูกจับไป คือกลุ่มที่ทำกิจกรรมต้านรัฐบาลทหาร ซึ่งไม่ใช่กลุ่มดาวดินแต่เพียงกลุ่มเดียว รวมทั้ง กลุ่มดาวดินที่มา ก็ไม่ใช่กลุ่มดาวดินทั้งหมด เห็นมาจากคุณ sigree นะครับ กลุ่มที่มาชุมนุม ทำกิจกรรม ถูกแยกออกเป้น 5 กลุ่มหลัก คำถามเล็กๆ เกิดขึ้นก่อนเลยว่า 5 กลุ่ม บางกลุ่มมีครึ่งคนหรืออย่างไร จึงมีกันน้อยเหลือเกิน
สิ่งนึง ที่ผมอยากแยกออกจากกันให้เด็ดขาด คือความดีงามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเด้กกลุ่มนี้ในอดีตที่วังสะพุง กับเรื่องใหม่ ที่เด็กกลุ่มนี้ทำกัน แน่นอน ถ้าถามผม ผมไม่เห็นด้วยกับกรณีม็อบชาววังสะพุงที่มาต่อต้านเด้ก เพราะดูเหมือนจัดม็อบชนม็อบ แม้ความจริงจะเป็นเช่นไร รวมถึงเมื่ออยู่ในนามของม็อบ มันก้กลายเป็นเรื่อง 2 มาตรฐานในการจัดการทันที กลับมาที่เรื่องของการมีอีกม็อบ ที่เป็นชาววังสะพุง ผมมองว่า มันเป็นคนละเรื่องกัน ในการรับรู้ของเรา เด็กทีวังสะพุง กับเด้กที่หอศิลป์ เหมือนมาจากคนละกลุ่ม คนละเรื่องด้วยซ้ำ ฝั่งด่า ก็มักจะเอาความคาดหวังมาจากกรณ๊ช่วยชาวบ้านที่วังสะพุง ทำไมถึงกลับกลายเป็นแบบนี้ ขณะที่ฝั่งเชียร์ (อย่างนิ้วกลม, สุหฤท หรือคณาจารย์และบุคคลผู้มีชื่อเสียงบางคน) ก็สามารถนำมาเป็นข้อคิดได้เช่นกันว่า ทำไมรัฐบาล ถึงทำกับเด็กดีๆ แบบนั้น คำถามมีว่า เด็กกลุ่มที่วังสะพุง กับเด็กกลุ่มที่หอศิลป์ เป็นกลุ่มเดียวเดิมอยู่ หรือเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน หากมองว่า กรณีการเกิดของเรื่องที่วังสะพุง เป็นเรื่องในสมัยรัฐบาลเก่า แล้วเหตุใด จึงกลับมาเรียกร้องเอาการเลือกตั้ง ที่สุ่มเสี่ยงที่จะได้รัฐบาลกลุ่มที่พวกเขาต่อต้านกลับมา หรืออาจเพราะอิทธิพลทางความคิด ที่ได้รับจากอีกหลายๆ กลุ่มตามภาพ แม้ฟังดู ออกจะตื้นเขินไปมากก็ตาม