การที่มีดาราอาบน้ำโชว์กลางห้างสรรพสินค้า สะท้อนถึงการขาด CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างรุนแรง มุ่งประโยชน์จากการโฆษณาเป็นหลัก ทำภาพพจน์ผลิตภัณฑ์ตกต่ำมากกว่าเป็นการส่งเสริม ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะอาจารย์ที่สอนวิชาความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) และ Soft Laws ในสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาเอกและบัณฑิตศึกษา และเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินด้าน "แบรนด์" หรือยี่ห้อสินค้า ให้ความเห็นว่าการพยายามโฆษณาขายสินค้าด้วยการนำดารามาอาบน้ำโชว์ในห้างสรรพสินค้า เป็นสิ่งที่ไม่สมควร เป็นการทำลายแบรนด์มากกว่าเป็นการสร้างแบรนด์ สำหรับการอาบน้ำในลักษณะนี้ ถ้าไม่ใช่การโฆษณา นับเป็นการกระทำอนาจาร เป็นการโชว์ของสงวนแบบวับแวม ๆ ต่อหน้าธารกำนัล และถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การแสดงแบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้วกับกรณีที่ดารากลุ่มหนึ่งโชว์การอาบน้ำบนรถที่นำไปจอดในสถานที่ต่าง ๆ หรือแบบแห่ ซึ่งก็เป็นการกระทำที่เข้าข่ายกรณีเดียวกัน ถือเป็นการพยายามโฆษณาสินค้าที่น่าจะขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณอันดีงามของสังคม ซึ่งปกติคงไม่มีใครกระทำเยี่ยงนี้ ในการอาบน้ำโชว์ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม ศกนี้ ณ ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและประทินผิวบริษัทหนึ่ง โดยเชิญดาราสาวสวยชื่อดังออกมาอาบน้ำดังกล่าว การอาบน้ำโชว์นี้ได้รับการวิจารณ์ว่าดูไม่อลังการเท่าที่ควร มีกลิ่นอายลูกทุ่ง รวมทั้งการร้องเพลง ก็ "ไม่ได้เรื่อง" เท่าที่ควร อย่างไรก็ตามข้อวิจารณ์เหล่านี้อาจเป็นแค่กลยุทธ์ในการให้คนติดตามดูงานโฆษณาชิ้นนี้ ก็เป็นไปได้ ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น แบ่งเป็น 1. ระดับที่กำหนดตามกฎหมาย (Hard Laws) เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายอาคารและผังเมือง ฯลฯ การไม่ทำตามถือเป็นการละเมิดต่อปัจเจกบุคคล กลุ่ม ชุมชนหรือความสงบสุขของสังคม ถือเป็นอาชญากรรม องค์กรที่มี CSR ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด การแสดงลักษณะ "อนาจาร" (แม้จะพยายามปิดป้องของสงวน) ย่อมหมิ่นเหม่ต่อข้อกฎหมาย 2. ระดับที่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณหรือจริยธรรม ซึ่งถือเป็น ‘ข้อกฎหมายอย่างอ่อน (Soft Laws) ข้อนี้หากไม่ปฏิบัติ อาจไม่ถึงขนาดติดคุก หรือถูกศาลสั่งปรับ แต่อาจถูกพักใบอนุญาตหรือกระทั่งถูกไล่ออกจากวงการ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ เช่น วงการผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน วงการแพทย์ วงการวิศวกร และวงการนายหน้า ฯลฯ ในกรณีนี้คนทำโฆษณา เจ้าของสถานที่ เจ้าของสินค้า ก็ควรมีจรรยาบรรณ ไม่ใช่มุ่งแต่ค้ากำไรท่าเดียว 3. ระดับอาสาสมัคร เช่น เป็นผู้อุปถัมภ์ ผู้บริจาค ผู้อาสาทำดีในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งต่อบุคคล กลุ่ม ชุมชนหรือสังคมโดยรวม สิ่งเหล่านี้จะทำหรือไม่ก็ได้ ไม่ได้มีกำหนดไว้ แต่หากทำดี สังคมก็จะยกย่องและชื่นชม กรณีการโฆษณาเพื่อการขายสินค้านี้ ไม่ได้ดำเนินการใด ที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทำให้ภาพพจน์เสียหายว่าไม่ใช่ผู้ที่ทำดีเพื่อส่วนรวมนั่นเอง การแสดงออกเพื่อหวังแต่จะสร้างการโฆษณาขายสินค้า โดยอาศัยดารามาประกอบ ทำให้ภาพพจน์ของสินค้าไม่ดีเท่าที่ควรไปด้วย เป็นการหวังเพียงผลโฆษณา การโฆษณาที่แท้ต้องชี้ให้เห็นว่า 1. สินค้าและบริการของเราดีกว่าคนอื่นอย่างไร 2. ราคาคุ้มค่ากว่าอย่างไร 3. มีหลักประกันที่ดีต่อผู้บริโภคอย่างไร 4. รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร 5. มีจรรยาบรรณและส่งเสริมศีลธรรมอันดีงามอย่างไร 6. ไม่ฉ้อฉลหรือข้องแวะกับการฉกฉวยผลประโยชน์หรือไม่ทุจริตอย่างไร ธุรกิจที่ดีจึงไม่ควร "ตีหัวเข้าบ้าน" ด้วยการโฆษณาหวังสร้างให้คนรู้จักโดยขาดความรับผิดชอบต่อการยั่วยุทางเพศ ขาดความรับผิดชอบต่อศีลธรรมจรรยาอันดีของสังคม ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement2015.htm
พูดถึงภาพพจน์หรือภาพลักษณ์ ผมว่า ไอ้ที่แอบไปขึ้นรถไฟอ่ะน่าจะโดนตำหนิมากกว่า อับอายขายขี้หน้าคนทั้งประเทศและเสียภาพลักษณ์ประเทศอีกด้วย...อายฉิบ
อึ้งกับ Profile ของ อาจารย์ ครับ "ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะอาจารย์ที่สอนวิชาความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) และ Soft Laws ในสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาเอกและบัณฑิตศึกษา"
เคยมีใครสงสับบ้างไม๊ว่าทำไมด็อกไม่เข้าไปโพสต์กระทู้ในพันดิพ ทั้งที่เป็นเวบใหญ่ ทำไมถึงมาหมกหมุ่นโพสต์อยู่แต่กับบอร์ดการเมือง ประชาไท ประชาทอล์ค ประชาธรรม ประชาชาติ ด็อกมันไปมาหมดแล้วแต่ไม่มีใครสนใจมัน เท่ากับบอร์ดเรามันเลยสนุกมีความสูขอยู่ที่นี้ถึงไม่มีใครชม แต่ก็ยังมีคนด่า